แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๑๖ มีพระรัตนตรัยเป็นเป็นที่พึ่ง ไม่ต้องไปคิดที่จะเป็นมหาเศรษฐีทางวัตถุหรอก ต้องคิดที่จะเป็นมหาเศรษฐีทางธรรมะ
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
ชีวิตของเรา คือชีวิตที่ประเสริฐ ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ ที่จะได้รู้จักคุณค่าในความประเสริฐที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เราเป็นผู้ที่โชคดี ที่เราเกิดมานี้ ได้พบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าคือผู้ที่บำเพ็ญพุทธบารมีหลายล้านชาติ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทางที่ประเสริฐก็คือเอาธรรมะจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่ท่านมาบอกมาสอนเรา ทุกๆ คนพากันเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนับล้านๆ ชาติ อย่างนี้ ให้ทุกคนพากันเข้าใจ เราจะใช้โอกาส ใช้เวลาที่อายุขัยของเราไม่ถึงร้อยปี ที่ต้องจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีเงื่อนไข
ให้ทุกคนรู้จักพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่นิติบุคคลตัวตน คือท่านผู้หนึ่งได้บำเพ็ญพุทธบารมี ที่เอาธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะเป็นใหญ่ เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง คือบุญบารมีได้เป็นพระพุทธเจ้า เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นพระอริยเจ้า พระอรหันต์ขีณาสพได้เหมือนกัน เเต่เราก็เป็นได้เพียงสาวก การที่เราได้พบพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เราอย่ามัวเเต่ทำมาหากินโดยที่ไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การเรียนหนังสือ การทำงาน การเเสวงหาอาชีพ มันก็เป็นส่วนที่สำคัญที่เราจะดำรงธาตุขันธ์ เราถึงต้องพัฒนาทั้งอาชีพ หน้าที่การงาน ต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน คนเราความสุขความดับทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ไกล อยู่ที่อริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องในปัจจุบัน ถ้าเราคิดเเต่เรื่องความสุขทางร่างกาย เอาเเต่ความสะดวกสบาย เราก็จะไม่ได้พัฒนาใจเลย เราจะทำบาปทำกรรมด้วยการปาณาติบาต เเล้วก็โลภ ในชีวิตของเราก็มีเเต่ทุจริต บางที่เรารู้เราเห็นเป็นอยู่อย่างนี้ เราเกิดมาเเทนที่เราจะเกิดสติเกิดปัญญา เรากับมาซ้ำเติม มาหลง มาโลภ เเล้วก็มาโกรธอย่างนี้ไม่ได้
ทุกคนต้องเอาพระรัตนตรัยเป็นหลัก เป็นที่พึ่ง ไม่ต้องไปคิดที่จะเป็นมหาเศรษฐีทางวัตถุหรอก ต้องคิดที่จะเป็นมหาเศรษฐีทางธรรมะ
"เศรษฐี" คำนี้แปลว่า ผู้ประเสริฐที่สุด เพราะมีหลักว่า ผลิตช่วยกัน ผลิตมากที่สุด ได้ผลมากที่สุดแล้วก็ใช้แต่น้อย กินแต่น้อยเท่าที่พอดี มันก็เหลือมาก แล้วก็ ไปช่วยสังคม. ทำอย่างนี้จึงจะเรียกว่าเศรษฐี คือผู้ประเสริฐที่สุด.
ปุถุชน คือ ผู้เห็นแก่ตัว ผลิตมากก็กินมาก กินจนหมด จนไม่มีเหลือสำหรับจะช่วยสังคมเลยเรียกว่าเศรษฐีไม่ได้ ควรจะเรียกว่านายทุนมากกว่า เศรษฐีผลิตมาก กินแต่พอดี เหลือไปช่วยสังคม อย่างน้อยก็มีโรงทาน เป็นเศรษฐีใหญ่ก็มีโรงทานหลายโรง แล้วยังฝังทรัพย์สมบัติซ่อนไว้ใต้ดิน เพื่อจะเอามาช่วยยามฉุกเฉิน เผื่อเหลือ เผื่อขาด อย่าให้โรงทานนั้นล้มไป. จิตใจอย่างนี้ จะไม่เรียกว่าประเสริฐที่สุด แล้วจะเรียกจิตใจ อย่างไหนว่าประเสริฐที่สุด ? ช่วยกันผลิตให้มาก ใช้แต่พอดี เหลือช่วยสังคม นี้เรียกว่าเศรษฐีตามคำในภาษาบาลี.
ส่วนนายทุนสมัยนี้เป็นอย่างนี้หรือเปล่า ? ว่า ช่วยกันผลิตให้มาก ใช้แต่น้อย เหลือเท่าไรเอาไปช่วยสังคม หรือช่วยโลก ช่วยโดยตรง เช่นมีโรงทาน ช่วยโดยอ้อม เช่นสร้างวัดวาอาราม. เศรษฐีสมัยก่อนในเมืองไทยเรา ก็ช่วยกันสร้างวัดวาอาราม เศรษฐีต้องมีการสร้างวัดทั้งนั้น เป็นธรรมเนียมไปเลย แต่นายทุนไม่มีธรรมเนียมเช่นนั้นจึงต่างกัน .
อวิชชา ทำให้เราเห็นแก่ตัว รักตัวเรา ไม่รักผู้อื่น. วิชชาทำให้เราไม่เห็นแก่ตัว เรารักผู้อื่นได้. อวิชชาไม่สามารถจะแก้ปัญหาของโลกได้. ขอให้ วิชชา กลับมาโดยเร็วเถิด. - พุทธทาส อินฺทปญฺโญ .
ต้องคิดที่จะเป็นมหาเศรษฐีทางธรรมะ เราจะได้มีความสุขในลูกในหลาน เราจะได้ไม่มีความเข้าใจผิด มีความเห็นผิดเหมือนเเต่ก่อน ทุกคนต้องสมาทาน ถ้าไม่ได้สมาทานมันก็จะไม่ได้เป็นศีล ทุกคนต้องตั้งใจ ถ้าไม่ได้สมาทาน เหมือนเห็นอาหารเยอะเเยะ เราไม่ตั้งใจกิน เหมือนเด็กบางคน เป็นคนกินยาก ถ้าเราสมาทาน ถึงจะสิกขาบทน้อยใหญ่ต้องสมาทาน มันถึงจะได้ตัดปลิโพธกังวล ว่าอันนี้ไม่คิดไม่พูดไม่ทำ ต้องสมาทานความถูกต้อง ความเป็นธรรมความยุติธรรม เราจะได้ไม่เอาเปรียบสัตว์อื่น เพราะสัตว์นี้ก็เป็นตัวของเค้า ของคนอื่นก็เป็นของคนอื่น เราจะได้ไม่ต้องมาหลงในกาม ไม่ต้องมาหลงในเหยื่อ
ทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าเป็นเพียงยาเป็นสิ่งที่บรรเทา ชีวิตของเราถึงเราจะทำยังไง เค้าก็ต้องเเก่ ต้องเจ็บต้องตายต้องพลัดพราก เเต่ร่างกายของเราก็เป็นเหมือนเครื่องยนต์เครื่องจักร ต้องดูเเลเค้าให้ดีใช้เค้าให้ถูกต้อง เราอย่าเอาชอบความไม่ชอบเป็นที่ตั้ง ทำไมในหลวงท่านเน้นให้ทำนา ทำเกษตร ก็เพราะว่าคนเราถ้ามีอาหารกิน มีบ้านมีที่อยู่มีที่อาศัย เเล้วก็พัฒนาใจ ทุกคนก็ต้องมีความสุขอยู่เเล้ว เพราะความสุขอยู่ที่เรามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เพราะทุกอย่างต้องมาปรับที่จิตที่ใจของเรา ต้องเน้นที่ปัจจุบัน
เราถึงจำเป็นต้องมีพระศาสนาอยู่ในใจของเรา เพราะชีวิตของเรามันมีกายเเล้วก็มีใจ กายกับใจก็ต้องไปพร้อมกัน สมดุลกัน ถ้าเราไปเน้นรูปเสียงกลิ่นรสลาภยศสรรเสริญความสะดวกสบาย มันก็ทำลายจิตใจของเรา ทำลายสติปัญญาที่ประเสริฐ เมื่อเรายังไม่เข้าใจ เราก็ต้องฟังพระพุทธเจ้าก่อน ถึงมีคำว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ทุกคนอย่าไปน้อยอกน้อยใจว่า เราไม่ร่ำรวย เราไม่มีโภคทรัพย์ อย่าไปคิด ถ้ามีได้ก็ดี เราเป็นคนต้องเสียสละอยู่เเล้ว ถ้าเราเสียสละก็รู้จักวางเเผนในการใช้เงิน ไม่มีหนี้ไม่มีสิน เราก็มีความสุขอยู่เเล้ว เราไม่รู้กัน ก็พากันไปเเย่งของกันสนั่นหวั่นไหว แย่งทรัพยากร เเย่งเก้าอี้กันเหมือนที่เป็นอยู่ ชีวิตก็ไม่สงบ ให้เข้าใจวัด ก็คือ สมาทานศีลห้า ไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิ มีความสุขในการทำงาน ขยันเสียสละรับผิดชอบ เราอย่าไปกลัวหน้าดำ อย่าไปกลัวผอม อย่าไปกลัว เราจะมีสักกายทิฏฐิ เราเน้นเข้าถึงธรรมะ
คนเราอย่างติดเหล้า ติดบุหรี่ หรือว่าติดอะไร มันต้องสมาทาน การสมาทานมันต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ เพื่อที่จะไม่คิดอย่างนั้น ไม่พูดอย่างนั้น ไม่ทำอย่างนั้น ใจของเราก็จะเย็น ถ้าเราสมาทานเเข็งเเรง สมาธิของเราก็เเข็งเเรง มันจะรู้อยู่ในใจ ถ้ามันคิดไปก็ไม่ได้บริโภค ไม่ได้กินหรอก มันก็ไม่คิด ถ้าเราลูบคลำอย่างนี้ มันไม่ตั้งมั่นอย่างนี้ มันทำให้กิเลสมันหัวเราะ เป็นผู้ที่ล้มเหลวในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้มีเเต่การประพฤตการปฏิบัติของเรา ทุกคนทำได้ ปฏิบัติได้ ไม่ต้องไปเรียนในหนังสือ มันเป็นเรื่องจิต เรื่องใจ เรื่องความรู้สึกของเรา
ทำไมวันเสาร์วันอาทิตย์วันหยุดเราถึงมาวัด เพราะจะได้มาพบกับผู้ที่ท่านเอามรรคผลพระนิพพาน ผู้ตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า การที่เราให้ของหรือถวายทานมีอานิสงส์ใหญ่ เพราะท่านเหล่านั้นไม่มีความโลภความโกรธ ความหลง เราสมควรที่จะไปกราบท่านไหว้ท่าน เพื่อท่านจะได้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เเล้วเราก็จะได้อุทิศบุญกุศลให้พ่อให้เเม่ให้ญาติบรรพบุรุษของเรา เพราะเราที่เวียนว่ายตายเกิดก็ต้องมีพ่อมีเเม่มีบรรพบุรุษผู้คอยรับส่วนบุญส่วนกุศล เพื่อเราจะได้เป็นคนกตัญญูกตเวที หรือบำรุงพระศาสนา
วันธรรมดาเราก็มีความสุขในการทำงาน เเล้วปฏิบัติธรรมให้มันเป็นอันเดียวกัน เราจะไปเเยกไม่ได้เด็ดขาด เราะจะได้งานเเต่ไม่ได้คุณธรรมชีวิตของเราก็ล้มเหลว เหมือนเราเกิดมา ถ้าลูกหลานเราไม่มีศีลมีธรรม ไม่มีคุณธรรม ถึงเราจะหาทรัพย์สมบัติเยอะ ลูกหลานเราก็จะทะเลาะกัน ตระกูลมันก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะมันมาจากพ่อเเม่ พ่อเเม่ไม่ได้เอามรรคผลนิพพาน ทำไมลูกเราหลานเราเค้าไม่เคารพนับถือเรา เค้าเคารพไม่ได้ เพราะว่าเราเป็นคนไม่มีศีลห้า เป็นคนที่ไม่ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เเม้ตัวเราเองยังไม่เชื่อมั่นในตัวเราเอง ทำดีไปก็ยังมาถามพระว่าเค้าได้บุญไหม ญาติเค้าจะได้รับไหม เค้ายังไม่มีความตั้งมั่นอยู่ ต้องให้มันชัดเจน เหมือนกับรู้ลมเข้าก็ชัดเจน รู้ลมออกก็ชัดเจน รู้ว่าอันนี้ไม่ดี ก็อย่าไปคิดมัน รู้ว่าอันนี้ไม่ดี ก็อย่าไปพูดมัน รู้ว่าเราขี้เกียจก็ต้องขยัน รู้ชัดเจน ต้องควบคุมตัวเองในปัจจุบันให้ได้ เดี๋ยวบารมีอินทรัย์ก็จะค่อยๆ เต็มขึ้น
ทุกคนต้องให้ศีล ๕ ตัวเองสมบูรณ์ สมบูรณ์ไม่สมบูรณ์มันก็รู้อยู่เเก่ใจอยู่เเล้วเพราะมันอยู่ที่เจตนา เราไม่ต้องไปถามพระหรอก เพราะอันนี้ไม่ใช่เรื่องวัตถุ มันเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เราก็พยายามทิ้งอดีตไปให้เป็นเลขศูนย์ ถึงอดีตมันจะโผล่มาก็อย่าให้มันโผ่ลมาครั้งเดียว พอได้รู้เเล้วไม่ต้องไปปรุงเเต่งต่อ เราพัฒนาใจของเรา พัฒนาทำความสะอาดใจของเรา ทำความสะอาดบ้านก็สะอาด ห้องอยู่ห้องนอนห้องสุขาก็ให้สะอาด ต้องพัฒนาที่ทำงานให้สะอาด เพื่อเสียสละทางจิตใจ ใจไม่สะอาดมันขี้เกียจ บ้านก็สกปรก ที่ไร่ที่นาที่สวนก็สกปรก เอาเเต่ความขี้เกียจ เอาเเต่ความฟุ้งซ่าน เป็นที่ตั้งไม่ได้ ต้องกลับมาหาสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้เเล้วว่าทุกคนต้องเเก้ที่ตัวเอง วางเเผนในการใช้เงินใช้ตังค์ คิดก่อนใช้เงินคิดก่อนพูด คิดก่อนทำ เค้าเรียกว่าเรามีข้อสอบในปัจจุบัน
เราเป็นสามีภรรยาเราไม่มีสิทธิ์จะไปทะเลาะวิวาทกัน มันไม่ได้ เพราะอันนี้คือความเเตกเเยกกัน ครอบครัวเราเป็นสังฆเภท เราไม่ต้องเอาเเพ้เอาชนะ เอาความสมัครสามานสามัคคี ที่มันเคยมีเคยเป็นก็ให้เเล้วไป เอาใหม่สมาทานไป สมาทานหยุดทะเลาะกัน สมาทานไม่พูดร้าย สมาทานไม่นินทา ถ้าเราเจริญอานาปานสติเยอะๆ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ มันจะควบคุมกายวาจาของเราให้สงบ เป็นคนไม่ฟุ้งซ่าน เราจะได้เข้าถึงความละเอียด พวกที่ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากเเก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากพลัดพราก อันนี้มันเป็นคนบ้า คนไม่ปรกติ
ในหลวงมหาภูมิพล ท่านได้พัฒนาทั้งบ้านเกิดท่าน พัฒนาดิน ปรับปรุงนา ทำฝาย ทำเศรษฐีกิจพอเพียง ไม่ให้พสกนิกรชาวไทยหลงไปมา ศาสนาก็จะเข้าถึงจิตถึงใจ ให้เรารู้จักหน้าที่ของเราว่า เราจะต้องประพฤติปฏิบัติ ต้องตั้งใจ ทุกๆ คนจะได้พัฒนาตัวเอง ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งใจเต็มที่ก็ถือว่าเราเสียหาย ถ้าเราทำดีๆ ส่วนใหญ่ไม่อยากทำ เราคิดดีๆ ไม่อยากคิด เราพูดดีๆ ไม่อยากพูด ทุกชีวิตต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ต้องประพฤติปฏิบัติ หยุดทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง หยุดทำตามความรู้สึก ให้มีสติสัมปชัญญะ เราต้องรู้จัก อย่าปล่อยเวลา อย่าปล่อยให้จิตใจของเรามีเซ็กซ์ มีเพศสัมพันธ์กับอวิชชาอย่างนี้ มันเสียหาย ยิ่งหลายวันหลายเดือน หลายปี มันจะหลง เราจะได้มีอินทรีย์บารมีเเก่กล้า เราถึงจะได้ส่งไม้ผลัดให้ลูกให้หลานของเรา ลูกหลานเค้าจะได้มีความสุขว่าพ่อเเม่เค้าเป็นพระที่บ้าน เป็นพระประจำบ้าน เค้าจะได้มีความสุข เราไปบอกไปสอนเค้ายังไง เค้าก็ไม่เชื่อหรอก ถ้าเราไม่มีศีล ๕ เราเป็นพระ เราไปบอกไปสอนยังไงเค้าก็ไม่ฟัง เราไม่มีศีล ๒๒๗ เพราะทุกคนต้องทำอย่างนี้ ถือว่าทุกคนมีลมหายใจ ถือว่าโชคดี เรายังไม่ตาย จะได้เข้าถึงจิตเข้าถึงใจ เข้าถึงปัญญา เราทุกคนก็สามารถที่จะเป็นพระอริยเจ้าได้ ประชาชนก็เป็นพระอริยเจ้าได้ตั้งเเต่พระโสดาบัน จนถึงพระอนาคามี พระที่มาบวชก็จะได้เป็นพระตั้งเเต่พระโสดาบัน ถึงพระอรหันต์ ที่ทุกวันนี้มันไม่มีใครได้บรรลุอะไร ก็เพราะว่าทำตามใจตัวเองทำตามอารมณ์ตัวเอง ทำตามความรู้สึก
คนเราทุกๆ คนนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเราต้องปฏิบัติธรรม เราต้องมาแก้ไขที่ตัวเรา สิ่งภายนอกนั้นเราคงแก้ได้บ้าง...แก้ไม่ได้บ้าง สิ่งภายนอกน่ะที่มันไม่ได้ตามใจเรานั้น พระพุทธเจ้าท่านให้เราขอบคุณ สิ่งเหล่านั้นนะ คนเราน่ะถ้ามันได้ตามใจแล้วมันชอบหลง คนอื่นเค้าจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นเรื่องของเค้า เป็นหน้าที่ของเค้า เราต้องมาแก้ที่จิตที่ใจ ของเราให้ได้
คนเราคนหนึ่งๆ น่ะถ้ามีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ถือโอกาสถือเวลา เป็นการสร้างความดีสร้างบารมี พยายามมาแก้ที่จิตที่ใจ คนนั้นๆ ไม่นานก็จะเข้าถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน
เราดูๆ ถ้าไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ถ้าไม่มีความตายอย่างนี้ เราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ปฏิบัติธรรม บรรลุธรรม
คนเรามีทุกข์มาก มีปัญหามาก พยายามที่จะไปแก้บุคคลอื่น พยายามที่จะไปแก้ปัญหาภายนอก เรื่องจิตเรื่องใจน่ะ...ไม่ค่อยจะมีใครแก้กัน
ทุกคนน่ะ สมาธินี้ต้องแข็งแรงแข็งแกร่ง พยายามอย่าไปวิ่งตามสิ่งภายนอก ทุกอย่างมันก็แค่นั้นแหละ เดี๋ยวมันเกิดขึ้น เดี๋ยวมันตั้งอยู่เดี๋ยวมันก็ดับไป เหมือนเหตุการณ์ทุกวันนี้ ที่มันเกิดขึ้น ทุกอย่างมันเกิดขึ้น...มันตั้งอยู่ไม่ได้หรอก มันก็ต้องจากไป ไม่มีอะไรที่จะจีรังยั่งยืน
พยายามอด พยายามทน พยายามหนักแน่น พระพุทธเจ้าท่านให้เรามีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อสร้างสติ เพื่อสร้างสมาธิ เพื่อเจริญปัญญา เรายังไม่เก่งนะ... เรายังไม่ฉลาดนะ...
เราไปเสียอกเสียใจกับสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง สิ่งที่คนนั้นเค้าว่าเราไม่ดี เค้าว่า เราไม่เก่ง เค้าว่าเราเชื่องช้า เค้าว่าเราไม่รู้จักคิดไม่รู้จักใช้สมอง ถ้าเรา ฉลาดหน่อยก็เอาสิ่งนี้แหละมาประพฤติปฏิบัติ ถือว่าเค้าเอาทรัพย์สมบัติ มาให้เรา เอาอริยรัพย์มาให้เราได้ฝึก ถ้าเรายังมีความไม่พออกไม่พอใจ ก็แสดงว่าเรายังมีความทุกข์อยู่น่ะ แสดงว่าเรายังมีอัตตาตัวตน เรายังมีปัญหา เราไม่รู้จักพระนิพพานเอาเสียเลย ยังไม่เข้าใจโลกเลย
ทุกท่านทุกคนพระพุทธเจ้าท่านให้เราตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ไม่ต้องหนีรูป หนีเสียง หนีหน้าที่ หนีการงาน หนีที่จะพบปะพบเจอกับ สิ่งที่เราไม่รักไม่ชอบ พระพุทธเจ้าท่านให้เราหนีด้วยสติ หนีด้วยปัญญา ให้เอาธรรมะมาใช้งาน มาประพฤติมาปฏิบัติ
เราหันมามองตัวเองว่าเรานี้เป็นอย่างไร เราเป็นคนเห็นแก่ตัวมั้ย เป็นคนขยันมั้ย เป็นคนเสียสละมั้ย รักษาศลดีมั้ย ทำข้อวัตรปฏิบัติดีหรือเปล่า ต้องกลับมาหาตัวเอง พยายามมาแก้ไขตัวเองอย่างนี้แหละ ในอนาคตข้างหน้าหลายเดือนทุกอย่างมันจะดีเอง ถ้าเราไม่แก้ไข ถ้าเราไม่ปรับปรุง ถือว่าเราตั้งอยู่ในความเพลิดเพลินตั้งอยู่ในความประมาท มันประมาทแล้วก็แล้วไป เอาใหม่ตั้งใจใหม่ เรามีลมหายใจอยู่เรามีโอกาสมีเวลา
ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก คิดมากมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร คิดมาก แต่จะทำให้เรานอนไม่หลับ ศักยภาพในการทำงานของเรามันก็ไม่ได้ดี เพราะว่าเราเป็นคนนอนไม่หลับสนิท ทำจิตใจให้ปล่อยให้วางมันจะรวยก็ให้มันรวย มันจะจนก็ให้มันจน คิดอย่างนั้นนะ
มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็นสิ... ถ้าเราไปกลัวมันยากมันจน กลัวมันเจริญกลัวมันเสื่อมอยู่อย่างนี้ เราก็เป็นคนเครียด คนเครียดก็คือคนที่มีความทุกข์ ไม่ต้องไปเครียดมันอีกแล้ว ไม่ต้องไปวิตกกังวลมันอีกแล้ว
ธรรมะมันจะเกิดขึ้นที่ใจเรา แต่เราพากันกลัว กลัวมันจะกระทบกระเทือนใจเรา กลัวใจของเราจะเป็นทุกข์ ถ้าเราไม่กลัวความเจริญ ไม่กลัวความเสื่อม ไม่กลัวความมีความจน อาการทางใจของเราที่มันมี ความกลัวมันก็ไม่มี
ปฏิปทาการประพฤติปฏิบัติของเราน่ะ พระพุทธเจ้าท่านให้เราหันมามองตัวเอง หันกลับมาตรวจดูตัวเอง ความขาดตกบกพร่องนั้น มันอยู่ตรงไหน ต้องแก้มันให้ได้ ต้องปฏิบัติมันให้ได้ ความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในทางร่างกาย หรือทางที่เราไม่ได้พักผ่อนหลับนอนเพียงพอน่ะ พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราวิตกกังวล อย่าได้ไปสนใจมันความสุขทางกายนี้
ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน มันครอบงำเราอยู่ ๒๔ ชั่วโมง มันทำให้เราเป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน มันทำให้เราติดสุขติดสบาย พาให้เราตั้งอยู่ในความประมาท เราพากันหลงความสุขหลงประเด็น เราไปเอาความสุขในทางร่างกาย เราไม่ได้เอาความสุขทางจิตใจ ที่เราฝืน เราทน เราเสียสละ
ท่านว่า... เราถูกกิเลสมันครอบงำย่ำยีมาหลายภพหลายชาติแล้ว ด้วยเหตุนี้ท่านถึงไม่ให้เราซบเซากับความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบาก ให้ใจเข้มแข็ง ให้รู้ซะเลยว่า ปัญหาเรื่องจิตเรื่องใจตัวนี้ ทุกคนต้องผ่าน อย่าไปสนใจมัน อย่าไปว่าเราไม่มีความสุขเลย เราไม่ได้พักผ่อนเลย
การพักผ่อนพระพุทธเจ้าท่านให้เราปราศจากนิวรณ์ ไม่ให้กิเลสมันครอบงำใจของเรา มันจะเอาแต่หลับเอาแต่ความสงบ ไม่ได้..! เดี๋ยวมันจะหลงทาง เพราะว่าการหลับหรือว่าการขี้เกียจ ถ้าเราเข้าใจว่าเป็นการปล่อยวาง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเรากำลังหลงประเด็นนะ ต้องกลับมาแก้ที่ใจ สมมุติว่าเราเจ็บป่วยอย่างนี้แหละ ก็ให้มันเจ็บป่วยตั้งแต่ทางกาย ใจของเราก็ต้องให้มันมีความสุข ถ้ามันเหน็ดเหนื่อยก็ให้มันเหน็ดเหนื่อยแต่ทางร่างกาย ใจของเราต้องให้มันมีความสุข
เมื่อเรามีร่างกายอยู่ เรามีธาตุขันธ์อยู่ มันก็เป็นอย่างนี้แหละ... มันก็มีความเหนื่อย... มีความง่วงเหงาหาวนอน มีอาการอย่างนี้แหละ... อย่าไปสนใจมันเลย พยายามทำใจของเราให้มันสบายให้ได้ ทำใจของเราให้มันสงบให้ได้ พอใจในสิ่งที่มันกำลังเป็นอยู่ ถ้าเราไม่พอใจเราก็ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราจะเอาแต่หลบหลีกเอาแต่หนี หนีด้วยการไม่เจ็บไม่ปวด หนีด้วยการหลับ เราไม่ได้หนีด้วยการทำจิตใจให้มันสงบ ทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นกับชีวิตประจำวันของเราน่ะ เราต้องทำใจให้มันสงบให้ได้ เราจะได้มีความสุขมีความดับทุกข์อยู่ทุกหนทุกแห่ง
สมาธิ คือความไม่หวั่นไหว ไม่อ่อนแอท้อแท้ เหมือนเราจะสร้างอาคารใหญ่ๆ นี้ เราต้องปักเสาเข็มใหญ่ๆ ลึกๆ หลายๆ ต้น ถ้าเรามีความตั้งใจ ถ้าเราทำใจหนักแน่นน่ะปัญญาของเรามันจะค่อยๆ เกิดไปเรื่อยๆ คนเรานี้ถ้าไม่มีสมาธิมันใช้ไม่ค่อยจะได้นะ
สมาธิมันจะเกิดได้มันก็ต้องมีระเบียบมีวินัยนะ วินัยในความคิด สิ่งไหนมันดีถึงคิด สิ่งไหนไม่ดีเราก็ไม่คิด ถึงแม้แต่สิ่งที่มันดีถ้ามันคิดมากเกิน...เราก็อย่าไปคิด เพราะว่าปัญญามันจะไม่เสมอกันกับสมาธิ ความฟุ้งซ่านมันอาจจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีระเบียบในการคิดมีวินัยในการคิด พระพุทธเจ้าท่านให้เราตั้งไว้เลยนะ ต้องมีระเบียบในความคิด มีวินัยในความคิด
การทำงานก็เหมือนกัน ต้องมีระเบียบ...มีวินัยในการทำงาน ถึงเวลาเข้างานก็เข้าตรงเป๊ะเลยอย่างนี้ ถึงเวลาหยุดงานก็หยุด ถึงเวลาหยุดงาน...ก็ไม่ต้องไปคิดเรื่องงานอีก ให้พยายามทำจิตใจอย่างนั้น... ถ้าไม่อย่างนั้น...เรามันจะเครียด ถึงเวลาให้หยุด ก็ไม่หยุด ถึงเวลาให้พักผ่อน ก็ไม่พักผ่อน หมายถึงทางด้านจิตใจนะ
ความเพียรของเราก็เหมือนกันนะ ปกติคนเรามันติดสุข ติดสบาย ติดความง่วงเหงาหาวนอน ติดเล่น ติดเที่ยว มันต้องฝืนตัวเองทำความดีฝืนตัวเองให้มันไปตามเป้าหมาย ต้องมีระเบียบมีวินัยบังคับตัวเอง
ในการพูดก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านให้เรามีระเบียบมีวินัยในการพูด การพูดนี้ เวลาพูดออกมาต้องมีประโยชน์ พยายามแก้ไขคำพูด คำพูดนี้สำคัญ... คนเราน่ะ เรื่องพูดนี้สำคัญเพราะมันเกี่ยวข้องกับคนอื่น แม้แต่พูดดีพูดถูกต้องถ้าเราพูดมากเกิน มันก็ยังไม่ได้ ต้องปรับปรุงทางคำพูดนะ เพราะว่าใจของเรายังไม่ใช่ใจพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ใจพระอรหันต์ เราจะไปพูดตามใจของเราไม่ได้ ต้องตามสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง
ต้องเพิ่มวินัยให้กับตัวเองนะ... ถ้าเราไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย ภาคปฏิบัติของเรามันจะไม่มี การประพฤติปฏิบัติของเรามันจะไม่ต่อเนื่อง สมาธิมันจะไม่เกิด ความผิดพลาดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่มีระเบียบ ไม่มีวินัย การมีระเบียบมีวินัยนี้ก็เพื่อที่จะเน้นเรื่องจิตเรื่องใจ ไม่ใช่เรื่องอื่น
พยายามบังคับตัวเองให้เป็นคนมีระเบียบมีวินัย ทั้งในการทานอาหาร การนอน การพักผ่อนก็ต้องบังคับตัวเอง
พระพุทธเจ้าท่านให้เราตั้งใจ ถ้าไม่ตั้งใจมันไม่ได้นะ ต้องตั้งใจ มันถึงจะเกิดศีล สมาธิ ปัญญาได้ เราจะได้ไม่ต้องไปโทษสิ่งอื่น เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่จิตที่ใจ อยู่ที่ปฏิปทา ที่การปฏิบัติของเรา
พระพุทธเจ้าท่านให้เราปิดกั้นความเสื่อมที่จะเกิดแก่เรา ได้แก่ การเป็นผู้ที่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ชื่อว่า บาป' นี้ต้องละอายต้องเกรงกลัว ถ้าเราไม่ละอายต่อบาปไม่เกรงกลัวต่อบาป ตัวเราก็เดือดร้อน คนอื่นก็เดือดร้อน รู้ว่าอันไหน มันผิดก็อย่าได้ไปคิด รู้ว่าอันไหนมันผิดก็อย่าได้ไปทำ ให้มีความเคารพ ให้มีความคารวะในตัวเอง ในสถานที่ ในพระพุทธเจ้า เพราะการประพฤติการปฏิบัติธรรมนี้ มันเน้นเข้ามาที่จิตที่ใจ ใครมันไม่เห็น ใครมันไม่รู้แต่ตัวเรามันรู้มันเห็น
ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่เกรงกลัวต่อบาปนี้แหละ มันกั้นมรรคผลนิพพาน อย่าเป็นคนเห็นแก่กินนะ เห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแก่หลับแก่นอน เห็นแก่ลูกแก่หลาน เห็นแก่ญาติพี่น้องวงศ์ตระกูล ต้องเป็นคนละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป เคารพในสิ่งที่ถูกต้อง
เรื่องละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปนี้สำคัญมากนะ คนเรานี้...ถึงจะไม่เก่ง ไม่ฉลาด แต่ถ้าเป็นคนละอายต่อบาป เป็นคนเกรงกลัวต่อบาป เค้าก็เรียกว่า เป็นคนเก่งคนฉลาดนะ ให้ทุกท่านทุกคนตรวจตราตัวเองว่า ตัวเองมันละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปมั้ย ไม่มาทำวัตรสวดมนต์มันละอายมั้ย ไม่บิณฑบาต มันอายมั้ย มันอยากจะพูดคุยกับนารีสีกา หรือว่าโทรศัพท์ไปหาผู้หญิงมันละอายมั้ย สิ่งเหล่านี้แหละทำให้จิตใจของเรามันเสื่อม ทำให้วัดวาพระศาสนามันเสื่อม... เพราะว่ามีผู้ไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปขาดความเคารพ ขาดการคารวะ
อย่างวัดเรานี้ก็ไม่ให้เอาอาหารเนื้อมาทำที่โรงครัว หรือไม่ให้เอามาทานที่โรงครัว เราเป็นคนละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปมั้ย อย่างนี้มันทำให้เจริญหรือว่าทำให้เสื่อม ต้องละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเราเป็นคนใจกล้าหน้าด้าน ไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ทำให้ส่วนรวมมันเสื่อม ความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปนี้ ถึงเป็น 'ธรรมะ' ที่ปิดประตูนรก
พระพุทธเจ้าท่านให้ทุกคนเข้าใจอย่างนี้นะ ความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปมันต้องมีมากๆ มันต้องให้เต็มที่เต็มร้อย มันถึงจะคุ้มครองตัวเรา คุ้มครองประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ได้
ประเทศชาติไม่เจริญก็เพราะมีคนไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป มีการคอรัปชั่นต่างๆ นานา
ศาสนาไม่เจริญ ก็เพราะมีพระไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป เห็นแก่ตัว เห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแก่ความสะดวกสบาย ไม่ได้มุ่งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ถ้าใครทำผิดทำไม่ถูกต้องก็ให้แก้ไข ให้ปรับปรุงเป็นคนละอายต่อบาปเป็นคนเกรงกลัวต่อบาป เพราะคนเรามันทำผิดพลาดได้ มันก็ต้องแก้ไขได้ ถ้าเราส่งเสริมกิเลส ส่งเสริมความไม่ละอายต่อบาปมันก็ไปกันใหญ่เรื่อยๆ
ปัญหาต่างๆ นี้ ล้วนแต่เกิดจากที่เราตามใจตัวเองตามกิเลสตัวเอง เป็นปัญหาที่เราไม่ได้มาแก้ไขตัวเอง เนื่องมาจากเราเป็นคนไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปนะ ตั้งอยู่ในความประมาทมาก คิดว่า ความผิดเล็กๆ น้อยๆ มันจะไม่มีปัญหา ทุกอย่างมันมีปัญหานะ พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราทุกๆ คน ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท