แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๑๓ ใช้ทรัพยากรสังขารที่ไม่เกินร้อยปีนี้ ให้เกิดคุณภาพ ให้เกิดประโยชน์ เพื่อมรรค ผล นิพพาน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันพุธที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕
การนั่งสมาธิ ให้เรารู้จัก เรานั่งสมาธิ เราอย่าไปอยากให้มันสงบ เราทำหน้าที่ของเราให้มันสมบูรณ์ เช่น หายใจก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้ายาวก็รู้ชัดเจน หายใจออกยาวก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ชัดเจน หายใจออกสั้นก็รู้ชัดเจน ลมหยาบก็รู้ชัดเจน ลมละเอียดก็รู้ชัดเจน เราไม่มีสิทธิ์ที่อยากจะให้สงบอย่างนี้ ความอยากที่จะให้มันสงบ เราอย่าให้มันมีเลยในใจ เรามีหน้าที่ทำอย่างเดียว เรามีความสุขในการกระทำ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าสมาธิ เราไม่ต้องว่า ฌานโน้น ฌานนี้ การเดินจงกรมก็เหมือนกัน ขาขวาก็รู้ชัดเจน ขาซ้ายก็รู้ชัดเจน ให้มีสติอยู่อย่างนี้ อย่าไปคิดอยากให้มันสงบ เพราะความอยากเราต้องไม่มี ถ้ามีมันก็เป็นนิวรณ์ มันจับลำบากเอาอยู่ที่ลมหายใจก็ได้ ลมหายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน เค้าเรียกว่า เดินสมาธิ
เวลาทำงานอย่างนี้ เราจะทำงานอะไรอย่างนี้ เราต้องมีความสุขในการทำงาน เราอย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างโน้น อย่าให้มันเป็นอย่างนี้ ต้องตั้งใจทำงานให้ใจเรามีความสุข ใจของเราอยู่อย่างนี้ จิตของเราก็จะว่างจากความคิด ว่างจากความปรุงเเต่ง ในชีวิตของเรา มันยังไม่ตาย มันก็จะคิด อย่างโน้น คิดอย่างนี้ คิดทั้งดีทั้งชั่ว เราต้องรู้จักความคิด เราคิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เรารู้ว่ามันไม่ดี เราก็อย่าไปคิดมัน เช่นว่า คิดไม่ดียังไง เราบวชเป็นพระ คิดเรื่องกิน เรื่องเที่ยว เรื่องเล่น คิดอะไรอย่างนี้เรียกว่าคิดไม่ดี ถ้าคิดไม่ดี เราก็ไม่ต้องไปคิดมัน เพราะคนไม่ตาย มันก็ยังมีความหลง มันก็คิด เราก็ไม่ไปคิดมัน ไม่ให้อาหารมัน ถ้าเราไม่คิด ก็เท่ากับเราไม่ไปเติมเชื้อ
เราจะได้มีความสุขในชีวิตของเรา เราทำตามหน้าที่อย่างมีความสุขอย่างนี้เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เราจะเป็นคนหัวไม่ดีก็ไม่สำคัญ หัวดีก็ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีการปฏิบัติ มีสติ มีสัมปชัญญะ การทำอย่างนี้มันดี มันจะทำให้เราสงบ ทำให้เราไม่ฟุ้งซ่าน ใจของเราจะไม่อยู่กับอดีต ไม่อยู่กับอนาคต ใจมันจะอยู่กับปัจจุบัน อันนี้มันเป็นการดับทุกข์ได้ ไม่อยู่กับความรวยความจน มันเกี่ยวกับการประพฤติการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่คนมีความทุกข์เพราะว่ามันไม่รู้จักปฏิบัติไม่รู้จักภาวนา เราต้องทำอย่างนี้
ทำอย่างนี้เค้าเรียกว่าเป็นความดี มันเป็นบุญ มันเป็นกุศล มันฉลาด ไม่หาเรื่องหาราวให้เครียด ให้ทุกข์ ข้อสำคัญเราอย่าไปติดสุขติดสบาย เราต้องเสียสละไป ถ้าเราไม่เสียสละเเล้ว มันไม่เป็นธรรม ไม่เป็นปัจจุบัน ชีวิตของเราต้องทำอย่างนี้ สู่มรรคผล สู่พระนิพพาน ถ้าเราทำอย่างนี้มันจะสงบ มันจะมีปัญญา ทุกท่านทุกคนต้องทำอย่างนี้ ที่ว่าเมื่อใจมันสงบเเล้วก็ให้เจริญภาวนาวิปัสสนา วิปัสสนาก็คือน้อมเข้ามาหาความไม่เที่ยง น้อมเข้ามาหาความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนทุกอย่าง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้มันถึงมี เพราะเรามีลมหายใจอย่างนี้ เราถึงไม่ตาย การที่เราหายใจเข้าหายใจออก มันถึงไม่ตาย ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราไม่ควรมีความทุกข์ทางจิตใจ เพราะเราทานอาหาร อาหารเข้าไปย่อย แล้วหล่อเลี้ยงร่างกาย อาหารเก่าก็ออกไป อาหารใหม่เราก็ทานไว้ ชีวิตของเรามันก็ไม่มีเรา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ถึงมีอย่างนี้ ใจของเรามันต้องมีสติ มีปัญญาอย่างนี้ เราทำบ่อยๆ มันจะค่อยๆ ดีขึ้น เราสามารถปฏิบัติเป็นวงจร เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ได้
เราต้องรู้จักความเป็นพระ พระมันจะเกิดขึ้นได้ เพราะเรามีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติที่ถูกต้อง มันจะเกิดที่ใจของเราเอง เราจะรู้จักความเป็นพระ พระนี้คือ ความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง คือเป็นการเสียสละทางจิตใจ เราไม่หลงงมงายว่า ของเรา ตัวตนของเรา ชีวิตของเราก็เข้าถึงที่สุดเเห่งความดับทุกข์ในปัจจุบัน ทุกท่านทุกคนอย่าพากันติดในความสุข ต้องทำงาน ต้องเสียสละ ถ้าเราไม่เสียสละใจเราก็ไม่เเข็งเเรง ร่างกายเราก็ไม่เเข็งเเรง เรามาบวช เราก็ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ได้บวชก็ต้องประพฤติพรหมจรรย์ พรหมจรรย์หมายถึงผู้ไม่เอาตัวตน เอาธรรมะ ชีวิตของเราก็จะมีเครื่องอยู่ดีดีในชีวิตประจำวัน การที่เราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ มีความสุขนะ เพราะใจของเรามันจะได้สงบ ใจของเราเย็น ใจของเราจะไม่มีปัญหา ใจของเราจะหมดปัญหา
ที่เรามีความทุกข์กันอยู่ เพราะเราตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง ตามความรู้สึก เราก็ไม่รู้วิธีดับทุกข์ ทีนี้พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จัก รู้จักว่าความดับทุกข์ อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน อย่าไปตามความอยาก ทุกคนต้องพากันมาเสียสละ มีความสุขในการเสียสละ เน้นที่ปัจจุบัน อดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ เราทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงความดับทุกข์ได้ ไม่จำเป็นต้องซัดเซพเนจรเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร เมื่อมันมีความสุข มีความสงบ มีสะดวกสบาย เราก็อย่าพากันไปติดสุข ติดขี้เกียจขี้คร้าน เพราะความสุขกับสงบ ของสมาธิ ยังไม่ยิ่งเท่ากับปัญญา เพราะคนเรามีความสุขในความสงบนึกว่าพอเเล้ว ยังไม่พอ เราต้องเอาวิปัสสนามาใช้ ว่าทุกอย่างไม่เเน่ไม่เที่ยงเราต้องผ่านไป เรามาติด มายึด มาหลง มาอะไรอย่างนี้ไม่ได้
เราทุกคนต้องมีความสุขในการดำรงชีพ ที่ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำเเต่บุญเเต่กุศลให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ต้องมาเสียสละ ละความเห็นเเก่ตัว เรื่องง่ายๆ อย่างนี้ปฏิบัติง่ายๆ อย่างนี้ น่าจะประพฤติปฏิบัติ เราน่ะ พากันไปขี้เกียจขี้คร้านไม่ประพฤติปฏิบัติ มันเป็นมาตั้งเเต่เด็กน้อยเเล้ว เราเกิดมาทำงานยากลำบาก ก็ไปโอ๋ลูกเรา กลัวลูกยากลำบากก็ไม่ได้สอนเรื่องความดับทุกข์ เรื่องการเสียสละ มีเเต่จะเอา ชีวิตของเราก็อยู่ด้วยการเบียดเบียน มีเเต่จะเอาจะเอา มันไม่ได้ พระพุทธเจ้าให้เรามีความเห็นอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้
บางทีตามไปเรื่อย บางทีตามมือถือไป ตามวิทยุไป ตามโทรทัศน์ไป เพลิดเพลินไปเรื่อย เล่นไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ พระพุทธเจ้าถึงสอนความดับทุกข์ระดับสูงขึ้น ว่าไม่ให้หลงในเรื่องอยู่เรื่องกิน เรื่องเเต่งตัว เรื่องอาภรณ์เสริมตา เสริมจมูก เสริมอะไร สารพัดจะเสริม ไปหลงในเรื่องการอยู่การกิน เพราะการอยู่การกิน พวกนั้นเป็นยารักษาโรคเฉยๆ เป็นเเต่ทำอร่อยเพื่อให้มันทานอาหารได้พอปริมาณเฉยๆ แต่เมื่อไม่รู้จัก มันก็เลยพาให้หลง อยู่ในโทรทัศน์ในสื่อก็เพื่อหาผลประโยชน์จากผู้อื่น เค้าก็โฆษณาให้เราหลง อาหารการกินมันคือยารักษาโรค ไม่ใช่หลงนะ อร่อยหรือไม่อร่อยก็ต้องอดทน ถ้าอันไหนมันได้ เเคลอรี่ ปริมาณพันห้า ถึง สองพันกว่าแคลอรี่ต่อวัน
ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์ โภชะเน มัญตัญญุตา หมายถึง ให้รู้จักประมาณในการบริโภค รวมถึง การบริโภคความคิด เราบริโภคความคิดที่เป็นกาม รู้จักว่าอันไหนความคิด อันไหนไม่ควรคิด อันไหนควรหยุด ควรเบรค เค้าเรียกว่ารู้จักว่าของอันไหนบริโภคได้บริโภคไม่ได้ เพราะการเสพ การที่ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ถ้าเราไม่หยุดเอง ไม่พิจารณาให้เกิดปัญญา เค้าเรียกว่ามีเพศสัมพันธ์ทางจิตใจ เราพากันเข้าใจแต่เรื่องภายนอกแล้วก็ไม่รู้เรื่องทางจิตใจ ใจของเรามันไม่มีเพศสัมพันธ์ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ลาภ ยศ สรรเสริญ
เราต้องรู้จัก ว่าอันนี้ทุกข์ อันนี้เหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราต้องหยุดเราด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา เพราะเราโชคดี เราเป็นคนตาดี หูดี เรามีตาดีไม่บอดไม่ฝ้าไม่ฟาง เรามีหูดีไม่หนวก อันนี้เป็นอุปกรณ์ ที่ให้เราได้พิจารณาให้เกิดสติปัญญา ให้เกิดวิปัสสนา ให้เกิดพระกรรมฐาน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็เราจะไปรักษาศีลที่ไหน ไปทำสมาธิที่ไหน เจริญปัญญาที่ไหน เรามีสนามสอบในชีวิตประจำวัน ชีวิตของเราเป็นปัจจุบันปฏิบัติธรรม ต้องเปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ พวกนักบวชต้องเปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ ถ้าไม่เปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ไม่ได้นะ เรามีอุปกรณ์ เราต้องเอามาใช้เอามาปฏิบัติ อุปกรณ์คือศีล อุปกรณ์คือสมาธิ อุปกรณ์คือการฝึกเจริญปัญญา
พระพุทธเจ้าวางศีลในพระปาฏิโมกข์ไว้ ๒๒๗ ข้อ แล้วก็วางศีลไว้ในพระไตรปิฏก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ทุกคนสละเสียซึ่งกาม เมื่อมีกามก็ย่อมมีพยาบาท ถ้าเราไม่ปฏิบัติอย่างนี้ บวชก็เหมือนกับไม่ได้บวช พระถึงเรียกว่าพระธรรมพระวินัย ผู้ที่มาบวชถึงเป็นเพียงภิกษุ หยุดคิดเรื่องนี้ยังไม่พอ เพราะยังยินดี พระพุทธเจ้าก็ให้พิจารณาพระกรรมฐาน ฐานแห่งความคิดเพื่อให้เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ แยกแยะ พระอุปัชฌาย์ที่บวชมาต้องบอกผู้เข้ามาบวชตั้งแต่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พระเราตั้งแต่บวชมาบางคนนะ พุทโธยังไม่ค่อยได้ท่องได้ภาวนา พิจารณาก็ยังไม่ค่อยทำ อย่างนี้ก็ไปคิดเอาว่ามรรคผลนิพพานมันหมดสมัยแล้ว มรรคผลนิพพานนั้นไม่หมดสมัย ไม่ล้าสมัย ที่มันหมดก็เพราะว่าเรามีความเห็นผิด เข้าใจผิด ปฏิบัติผิด แล้วก็ยังไปบอกประชาชนผิดๆ อยู่ ให้ประชาชนพากันสร้างแต่บารมี ไม่เข้าภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพราะตัวพระคุณเจ้าเองไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ
รถยนต์มันวิ่งเร็ว วิ่งก็ไปง่าย มันต้องระมัดระวังอุบัติเหตุ พวกโทรศัพท์มือถือมันก็อุบัติเหตุ เพราะว่าใจของปุถุชน มันหลงในกาม ชอบในกาม พระผู้ที่จะมาบวชก็ต้องปฏิบัติให้ได้ พวกที่บวชอยู่ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ ที่ผ่านมาปฏิบัติไม่ได้ ก็ต้องตั้งใจใหม่ แต่พวกที่เคยทำเคยย่อหย่อนอ่อนแอ นี่ก็ยากที่จะประพฤติปฏิบัติได้ เขาถึงไปรวมกันปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ที่เคร่งครัดไปถือนิสัยให้ท่านบังคับ เขาเรียกว่า ปฏิบัติในที่ที่มีครูมีอาจารย์
ครูบาอาจารย์ทุกวันก็หายาก เพราะว่าพากันย่อหย่อนอ่อนแอ ขนาดอยู่ให้วัดครูบาอาจารย์ห้ามไม่ให้มีโทรศัพท์ ก็ยังลักมีกัน แอบมีกัน นี่ครูบาอาจารย์ไม่ห้ามมันจะขนาดไหน พระกรรมฐานสายต่างๆ ที่ไปไม่ได้ ก็อยู่ที่โทรศัพท์มือถือพวกคอมพิวเตอร์นี่แหละ องค์หลวงปู่ชา, หลวงตามหาบัว, ท่านเจ้าคุณพุทธทาส ท่านถึงเห็นความสำคัญเพราะอันนี้เป็นเรื่องของพรหมจรรย์ เมื่อพระไม่ได้เป็นพระ เป็นแต่เพียงภิกษุอย่างนี้ พระศาสนาในประเทศเราก็ไปไม่ได้ ไปไม่รอด เมื่อผู้ปฏิบัติปฏิบัติไม่ได้แล้ว ก็ไปบอกผู้อื่น มันก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ยิ่งเป็นเพราะวัดบ้านบางองค์ก็มีโทรศัพท์สองอันสามอัน แถมยังโทรทัศน์อีก คอมพิวเตอร์อีก มันอันตราย ถ้าเรายังมีโทรศัพท์มือถือมีอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค อย่างนี้มันจะเอาความวิเวกมาจากไหน เพราะความวุ่นวายมันอยู่ที่เรารับเอาสิ่งที่ในโทรศัพท์ในอินเตอร์เน็ตมาใส่ใจของเรา มาทำร้ายมรรคผลนิพพานของเราเอง เราก็ไม่ได้เจริญอานาปานสติ ไม่ได้เขาฌานที่๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ มันฟุ้งซ่านมันขนาดนี้เพราะศีลเราไม่ดี เรายังไม่รู้จักว่าศีลเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก เรายังมีความรู้สึกว่า มันยังเป็นเรื่องเฉยๆ
พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เป็นเรื่องของมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องกฎหมายบ้านเมือง ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายบ้านเมือง มันมีการแต่งสำนวนแต่งอะไรได้ แต่ธรรมวินัยถ้าต้องอาบัติแล้วคือต้องแล้ว ถ้าเป็นอาบัติใหญ่เยียวยาไม่ได้ ต้องขาดจากความเป็นพระ ถ้าเป็นอาบัติใหญ่รองลงมาก็เข้ากรรม ต้องมาสมาทานต่อหน้าภิกษุสงฆ์เพื่อที่จะไม่ทำอีก เราจะไม่ให้ใครรู้ไม่ให้ใครเห็น ก็ไม่พ้นอาบัติ ทุกคนต้องพึงสำรวม พึงระวัง เพราะเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา เพื่อกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า เพื่อทรงไว้ซึ่งมรรคผลนิพพาน
เพราะเราจะมองเห็นที่พระภิกษุทำอย่างนั้น อยู่ที่สองต่อสองกับผู้หญิง อยู่ที่ลับหูลับตา อย่างนี้ไม่ใช่ถูกพระวินัยของพระพุทธเจ้า พระที่บวชใหม่ บวชปานกลาง บวชเก่า ก็ไม่มีใครยกเว้น เพราะเราจะเห็นเป็นพระทั่วๆ ไปทำอย่างนี้ ก็ถือว่าสิ่งเหล่านี้มันผิด ไม่ถูกต้อง ถ้าเราไม่ละอายต่อบาปไม่เกรงกลัวต่อบาป เราก็เป็นพระหัวดื้อ ว่ายากสอนยาก เราไปคิดว่า เราเป็นพระที่บวชมานานแล้วไม่เป็นไร อินทรีย์บารีเราแก่กล้าไม่เป็นไร จิตใจของเราไม่เสื่อม ไปคิดอย่างนั้นก็ไม่ได้ เพราะว่ามันทำตามกัน เห็นพระผู้บวชก่อนทำยังไง พระผู้บวชหลังก็ทำอย่างนั้น พระผู้ใหญ่นี้แหละสำคัญ ความเสื่อมมันมาจากพระผู้ใหญ่ ไม่ตั้งมั่นไม่เข้มงวด ไม่เห็นความสำคัญ ธรรมกับวินัยต้องไปพร้อมๆ กัน เราจะเอาแต่เรื่องจิตเรื่องใจไม่ได้ เพราะคนเราไม่ใช่มีใจอย่างเดียวมีกายด้วย ไม่ใช่ปล่อยวางแล้วไม่ทานข้าว ทานอาหาร พักผ่อน มันไม่ใช่ มันต้องมีทั้งสมมติมีทั้งวิมุตติ
การปฏิบัติธรรม จะว่าปล่อยก็ไม่ใช่ จะว่ายึดก็ไม่ใช่ จะว่าเดินก็ไม่ใช่ ถอยหลังก็ไม่ใช่ เพราะการปฏิบัติมัน ไม่เป็นไปเหมือนในตำรา ถ้าเราปฏิบัติเคร่งเครียด เราก็ปวดหัว คำว่า "ปล่อยวาง" ก็ยังมีการปรุงแต่งอยู่ คำว่า "ยึดถือ" ก็ยังมีการปรุงแต่งอยู่ แม้แต่เราคิดว่าจะไม่ยึดถือ จะไม่ปรุงแต่ง แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสังขารอยู่ ให้เรารู้จัก ว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ข์อย่างยิ่ง อันนี้หมายถึงสังขารในจิตใจ สังขารภายนอกมันทุกข์อยู่แล้ว ให้ละเสีย
การปฏิบัติต้องเข้าหาหลักสภาวธรรมความเป็นจริงทุกๆ อิริยาบถ เพราะเรื่องจิตใจไม่มีอิริยาบถ ตอนนั้นแหละเราต้องมีศีล ตอนนั้นแหละเราต้องมีสมาธิ ตอนนั้นแหละเราต้องมีปัญญา เราต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้น เราปฏิบัติอย่างนี้ธรรมะมันถึงจะเกิดได้ ต้องปฏิบัติติดต่อกันสม่ำเสมอจนกว่าเราจะหมดกิเลส เหมือนเราตักน้ำใส่ตุ่ม ก็ให้ตักไปเรื่อยจนมันเต็ม เราจะปฏิบัติได้ทุกเมื่อ ทุกแห่งทุกหน ทุกกาลทุกเวลา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะไปเลือกไม่ได้ ส่วนมากเราไม่ได้ปฏิบัติอย่างนี้เลย เราไปอยู่แต่ในอนาคต คิดอยู่แต่ในอนาคตว่า สิ่งโน้นแหละจะดับทุกข์ จะได้ตามปรารถนา ตามใจ ตามอารมณ์ จิตใจของเราก็เอาแต่เรื่องเก่า หนังเรื่องเก่า เทปม้วนเก่ามาฉายอยู่นั้นแหละ ฉายแล้วฉายอีกไม่อยู่กับสภาวะความเป็นจริงในการดับทุกข์ในปัจจุบัน
นักปฏิบัติธรรมต้องดับทุกข์ในปัจจุบันไปเรื่อยๆ "ถ้าใจของเราอยู่ในปัจจุบันเราก็แก้ปัญหาได้ทั้งวัน เมื่อเราแก้ปัญหาได้ทั้งวัน ปัญญาเราก็เกิดทั้งวันไม่หยุด" เราอย่าไปประมาทในการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เราอย่าประมาทอย่าเพลิน เพราะความประมาทความเพลิดเพลินนั่นแหละ คือ ความพินาศ
ส่วนมากเราอยู่ด้วยอำนาจของความเพลิน เพลินแล้วก็ไม่รู้ว่าตัวเองเพลิน หลงก็ไม่รู้ว่าตัวเองหลง แต่ถ้าเรานั้นกลับมาหาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน อันนี้เราก็จะรู้ นักปฏิบัตินั้นท่านให้เราฉลาดให้รู้จักผิดรู้จักถูก ให้ละผิด ปฏิบัติสิ่งที่ถูก ก็เพียงแต่ละผิดมันก็เป็นสิ่งถูกเท่านั้น
ไม่ให้โทษสิ่งภายนอก ไม่ให้โทษว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกไม่อำนวย ไม่ดี ที่จริงสิ่งภายนอกก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ใจของเรามันคิดไปให้โทษสิ่งภายนอกเอง สิ่งภายนอกมันไม่ดี ไม่ชั่ว ส่วนมากถ้าได้ถูกใจก็ว่าดี ไม่ถูกใจก็ว่าไม่ดี ต้องการยาวมันก็ว่าสั้น ต้องการสั้นมันก็ว่ายาว เท่านั้นเอง นักปฏิบัติถ้าเข้าใจแล้วล่ะก็ ธรรมะมันจะเกิดขึ้นตลอดเลย
มันต้องหนักแน่น ต้องอด ต้องทน ทนขนาดไหน ทนขนาดว่าถึงมันจะตายก็ให้มันตายไป ถ้าเราไม่อดไม่ทน สมาธิ ปัญญาก็เกิดไม่ได้ อย่าไปเชื่อมัน คนไม่ตายก็ต้องคิดต้องปรุง ถ้าไม่คิดไม่ปรุงก็แสดงว่าไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ให้เราเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า ในพระวินัย ในพระธรรม ต้องหนักแน่น นักปฏิบัติถ้าไปเหลาะแหละ หวั่นไหว ตามสิ่งต่างๆ ก็ทำให้เราทรงพลังจิตไม่ได้
การปฏิบัตินี้เหมือนกับว่า เดินหน้าก็ไม่ใช่ เหมือนว่าหยุดอยู่ก็ไม่ใช่ ถอยหลังก็ยังไม่ใช่ การปฏิบัติมันต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา
การปฏิบัตินี้ต้องอาศัยข้อวัตรปฏิบัติในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นยานนำเราออกไปให้ถึงสมาธิ เมื่อถึงสมาธิมันสบาย เราก็ไม่ติดในความสบาย เราเจริญให้เกิดปัญญาและเราก็ไม่ติดอะไร เพราะถ้าเราติดอยู่ก็ยังไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นเพียงสภาวธรรมอันหนึ่งเท่านั้นเอง
การปฏิบัติมันต้องค่อยทำไปเรื่อยๆ จะไปเร่งผลของการปฏิบัติไม่ได้ ให้เหมือนน้ำไหลนิ่ง ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ คนเราไม่จำเป็นต้องไปรู้หนังสือมาก ในด้านจิตใจเรื่องความซื่อสัตย์นี้สำคัญ ถ้าเราเป็นคนซื่อสัตย์ เพราะว่าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญพุทธบารมีมาตั้งหลายล้านชาติ ไม่มีอะไรที่เรามาวิจิกิจฉา ลังเลหรือสงสัย เราทำตามพระพุทธเจ้า ทั้งระบบความคิด คำพูด การกระทำ ความซื่อสัตย์นี้เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเรามีความซื่อสัตย์ มันจะฉลาด เขาเรียกว่ามันจะเป็นพรหมจรรย์
ความซื่อสัตย์เขาเรียกว่ามันจะเป็นธรรม เป็นพระวินัย เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา คนเราเนี้ยะเรียนเก่ง หัวอัจฉริยะ ถ้าไม่ซื่อสัตย์ มันไม่ไปตาม สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง คนไม่ซื่อสัตย์นี่มันทำบาปเยอะ มันซิกแซกเยอะ อะไรเยอะ คนที่ดูหน้าตาซื่อๆ แต่ว่าใจมันไม่ซื่อ ต้องแก้ไขตัวเองนะ
ที่จริงมันไม่ยากอะไรหรอก ถ้าจะไม่โกหกมันไม่ยากหรอก แต่ที่จะโกหกมันยาก เพราะว่าต้องวางแผนเยอะ คิดเยอะ แต่งเรื่องเยอะ คนไม่ซื่อสัตย์ ฟังครูบาอาจารย์พูด มันก็มีอะไรอยู่ในใจ มันซิกแซกเยอะ
พวกการเรียน การศึกษา มันดี แต่ว่าเรียนมาเพื่อซื่อสัตย์เพื่อสุจริต เห็นไหมประเทศไทยเรามันพังเพราะ พวกเรียนมาก รู้มาก แต่ไม่มีความซื่อสัตย์ เอาปัญญาไปใช้ในทางที่ผิด มันหาวิธีออกเยอะ เพราะว่าพวกนี้มันซิกแซกเยอะ อะไรเยอะ มันคิดหลายชั้น เพราะว่ามันเห็นคนที่เป็นตัวอย่างแบบอย่าง เพราะว่ามันไม่ได้มีความตั้งมั่น ไม่มีความซื่อสัตย์ ปัญญามันก็เป็นปัญญาทางการทำลายโลก
เราดูสิพวกนี้ มันไปไม่ได้หรอก มันซิกแซกเยอะก็ไปไม่ได้ เพราะว่ามันไม่ซื่อสัตย์ มันจะไปหาธรรมะที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะเราไม่ซื่อสัตย์ อย่างไปธุดงค์ให้ ยุงกัด ทากกัด เป็นไข้มาลาเรียตายหลายชาติ มันก็ไม่ได้ เพราะไม่ซื่อสัตย์ จะไปกราบพระพุทธเจ้าที่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน มันก็ไม่ได้ เพราะว่ามันไม่ซื่อสัตย์สุจริต ครูบาอาจารย์ห้ามมันก็ไม่ฟัง เพราะว่ามันไม่ได้เชื่อพระพุทธเจ้า และตั้งมั่นในพระธรรม เพราะความไม่ซื่อสัตย์ เพราะมันไม่รู้จักอริยสัจ ๔
ใจเรานี้คือเมล็ดพันธุ์คือปลูกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดีไม่บริสุทธิ์เอาไว้สิ่งไม่ดีสิ่ง ไม่บริสุทธิ์จะไปคิดมันทําไม จะไปติดใจ จะไปติดอกติดใจอยู่ในเรื่องกามคุณไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ ทางแห่งพรหมจรรย์จึงต้องสมาทานไม่คิดไม่พูดไม่ทำ ต้องมาสมาทานให้เป็นผู้ที่มีศีลงดงาม ให้เป็นผู้ที่งดงามด้วยศีลด้วยสมาธิและปัญญาที่เสมอกัน เราจึงต้องมาสมาทานเพื่อเป็นผู้ที่มีศีล มีสมาธิมีปัญญา เสมอกันทั้งอาราม มีปัญญาสละคืนความขี้เกียจขี้คร้าน ความเห็นแก่ตัว ทุกคนต้องเป็นหนึ่ง ต้องเป็น เอกไม่เป็นรองใคร เพราะธรรมะเป็นหนึ่งเป็นเอกไม่ได้เป็นรอง ถ้าทำอยางนี้ไม่ต้องกลัวใครว่าเพราะเอาธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะเป็นใหญ่ไม่ต้องระแวงภัยจากที่ไหนๆ เราบวชมาเพื่อเสียสละจึงต้อง ตามรอยพระพุทธเจ้าเอาอยางพระอรหันต์ผู้เป็นต้นแบบให้เรา เราต้องพัฒนาตนเองเช่นนี้ปฏิบัติเช่นนี้ อย่าไปคิดว่าทำไม่ได้สมองไม่ดี มันไม่เกี่ยวกันเลย อยู่ที่ความซื่อสัตย์ถ้าคิดพูดทำในสิ่งดีๆ สิ่งที่ออกมาก็จะมีแต่ธรรมะจะได้เป็นพืชพันธุ์ สร้างความดีให้แก่ตนเอง สร้างที่พึ่งให้แก่ตนเองและก็ยังสร้างที่พึ่งให้แก่พระศาสนาให้แก่ญาติพี่น้องแล้วก็ศรัทธาประชาชน ไม่เกี่ยวกับรู้มากรู้น้อย ขึ้นอยู่ที่ความซื่อสัตย์ต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระอริยสงฆ์ เอาธรรมะเป็นหลักเอาธรรมะเป็นใหญ่ อย่าไป เก็บโจรมหาโจรเอาไว้ในใจ ต้องเอาธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นหลักเป็นใหญ่เอาไว้ในใจ ต้องพากนทำอย่างนี้ ปฏิบัติอยางนี้ พระพุทธเจ้าจึงจะไว้วางใจเรา ครูบาอาจารย์จึงจะไว้วางใจเรา
การปฏิบัติมันต้องค่อยทำไปเรื่อยๆ จะไปเร่งผลของการปฏิบัติไม่ได้ ให้เหมือนน้ำไหลนิ่ง ต้องอาศัยความซื่อสัตย์ ความอดทน นั่งสมาธิหายใจเข้าออกสบายๆ อยู่กับพุทโธ เมื่อจิตใจของเราสงบก็มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ สมาธิภาวนาก็ทำได้ทุกคน บริกรรมพุทโธ ให้จิตใจเป็นหนึ่ง หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ หรือนึกพุทโธๆๆๆ ให้กายตรง ตัวตรง เริ่มแรกก็ให้กายนั่งนิ่งก่อน ๑๕ นาที ๓๐ นาที ก็ค่อยขยับครั้งหนึ่ง ทำจิตใจให้สบายถึงจะมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เบื้องแรกต้องยึดพุทโธเป็นหลักทุกอิริยาบถเลย ถ้าเราจะเจริญวิปัสสนาเลย ก็จะทำข้ามขั้นตอนไป ให้เรานึกพุทโธฯๆๆ เดินบิณฑบาตก็พุทโธ ทำอะไรอยู่ก็ให้พุทโธ สิ่งเหล่านี้เราต้องปฏิบัติเอง เราต้องขยัน อดทน เข้มแข็ง
ให้พิจารณาร่างกายของเราสู่พระไตรลักษณ์ ร่างกายของเราประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ อาหารเก่า อาหารใหม่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หาใช่ตัวตนของเราจริงๆ ถ้าเรานั่งนานก็ปวดเมื่อย ยืนนานก็ปวดเมื่อย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ใช่ตัวตน
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ เรามาสร้างบารมีเพื่อออกจากวัฏสงสาร แผ่เมตตาให้พ่อแม่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวรทุกวัน วันละหลายๆ รอบให้ได้รับบุญกุศลจากการที่เราได้มาบวชมาสร้างบุญบารมี ความกตัญญูกตเวทีทำให้มีความเจริญ
หมั่นสร้างความดีด้วยการกราบพระ ไหว้พระ สวดมนต์ทุกวัน น้อมใจกราบให้ถึงจิตถึงใจ ตั้งจิตตั้งใจปฏิบัติตามพระอริยเจ้า ไม่ใช่สักแต่ว่ากราบ สักแต่ว่าสวดมนต์ ทำแต่กิริยาภายนอก อย่างนี้ไม่ได้บุญเลย
เมื่อสมาทานศีล ๕ ต้องตั้งใจรักษาให้ดี มีโอกาสก็รักษาศีล ๘ บวชเนกขัมมะเพื่อเพิ่มคุณธรรมเพิ่มบารมีให้เราอย่างนี้ทุกวัน เหมือนกับชีวิตของเรามีแต่ลมหายใจเข้าออก หรือเหมือนชีวิตของเรามีเวลาอยู่เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่งเท่านั้นเพื่อทำแต่ความดี
นั่งสมาธิให้จิตใจสงบตั้งมั่นอยู่ในความดี อยู่กับพระพุทธเจ้า หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ก็เป็นบุญทุกลมหายใจเข้าออก
การปฏิบัติธรรมต้องมีความตั้งมั่นหนักแน่นทุกวันทุกเวลา เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนกับลมหายใจเข้าออก คนเราต้องมีลมหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ ถึงมีชีวิตอยู่ได้ การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันต้องปฏิบัติสม่ำเสมอคุณธรรมถึงเกิดได้ ไม่ใช่ขยันถึงทำ ไม่ขยันก็ไม่ทำ เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ใช่สิ่งที่ตามใจ คนเราชอบทำตามใจ ถ้าทำตามใจก็ว่าดี ไม่ได้ตามใจก็ว่าไม่ดี มันมีอยู่เท่านี้เอง
คนเราถ้าเรามีความสุข เราก็มีความดับทุกข์ การนอนเราก็นอนได้ดี เราต้องมีเครื่องอยู่ คือสติ สัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม อยู่กับงาน อยู่กับลมหายใจ อยู่กับสติสัมปชัญญะ อยู่กับศีลสมาธิปัญญา อยู่ในปัจจุบัน ใจของเรามันก็จะเย็นเเล้ว สิ่งต่างๆ ถึงมันจะเเปรปรวนไปทั้งกายทั้งสิ่งเเวดล้อมให้เราได้มาพัฒนาใจของเราเท่านั้นเอง ใช้ชีวิต ใช้สังขารที่ไม่เกิน ๑๐๐ ปี ให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดคุณภาพ ในการใช้ทรัพยากร เพื่อมรรคผลนิพพาน เราไม่ต้องถามใครว่าตายเเล้วเกิด หรือ ตายเเล้วสูญ ต้องเข้าถึงปัจจุบันนี้ เข้าถึงมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ตั้งเเต่ปัจจุบัน มันถึงจะมี พื้นฐานรองรับกันไป