แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันศุกร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๒ การปฏิบัติต้องตั้งใจ ต้องสมาทาน เพื่อดับกองไฟ ๓ ที่เผาผลาญใจอยู่
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การปฏิบัติมันต้องตั้งใจ มันต้องสมาทาน เหมือนกับเราจะเดินทางไกลอย่างนี้ เราต้องรถ ขึ้นเครื่องบิน หรือจะข้ามทะเล ก็ต้องขึ้นเรือยนต์ เพื่อเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ถ้าเราไม่สมาทาน เราไม่ตั้งใจ มันไม่ได้ เราต้องเข้าสู่ไลน์ของพระพุทธเจ้า เข้าสู่ธรรมวินัย การปฏิบัติธรรมะ ไม่ใช่ของยาก ที่ตามใจตัวเอง ที่ตามอารมณ์ตัวเอง ที่เราอยากตามใจตัวเอง อยากตามอารมณ์ตัวเอง มันเลยยากเฉยๆ เราต้องปรับตัวเองเข้าหาธรรม เข้าหาพระวินัยเข้าหาเวลา เพราะว่ากาลเวลาคือการที่ฝึกตัวเอง การปฏิบัติตัวเอง ต้องทำติดต่อต่อกัน ให้ทุกท่านทุกคนรู้ว่าเวลามันเป็นของมีค่า มีราคา
เราจะปฏิบัติที่วัด ที่บ้าน ที่ทำงานก็ได้ ทุกคนปฏิบัติได้หมด การปฏิบัติธรรมกับการทำงานต้องไปพร้อมกัน เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ เราต้องเข้าใจการปฏิบัติธรรมคือการเสียสละ เราไม่เอาที่เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏกะสงสาร เพราะเราจะเอา เรามีความสุขเช่นในการเรียนหนังสือ มีความสุขในการทำงาน มีความสุขในการขยันรับผิดชอบ เรื่องสตางค์ ความรู้มันเป็นของมันเอง ทุกท่านต้องมีสติมีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าต้องชัดเจน หายใจออกต้องชัดเจน ทุกคนต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัยเพื่อมาเปลี่ยนเเปลงจากที่มันคว่ำ มันหงายขึ้น มันมืดจะได้สว่าง เราต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เอาพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เราทุกคนต้องพากันประพฤติปฏิบัติเอง เริ่มต้นจากความคิดก่อน เราไปตามใจตัวเองตามอารมณ์ตัวเอง ตามความอยากความหลงไม่ได้ ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติทางจิตใจ เราหยุดมี sex ทางกาย หยุดมี sex ทางวาจา หยุดมี sex ทางจิตใจ เพื่อที่จะได้ประพฤติปฏิบัติ
เราจะพากันอยู่ลอยๆโดยบริโภคความสุขในเรื่องการอยู่การกินการนอน เรื่องอาหาร เรื่องความอยู่สุขอยู่สบาย มันไม่ได้ เพราะนี้เป็นเรื่องบรรเทาทุกข์เฉยๆ มันไม่ใช่การดับทุกข์ที่เเท้จริง มันเป็นเรื่องทางกาย ทางจิตใจเราจะมาหลงในสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เราต้องมีสติมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าต้องรู้ชัดเจน หายใจออกต้องรู้ชัดเจน
อย่างเราอยู่วัดปรับตัวเข้าหาพระวินัย ตั้งเเต่ระบบความคิดคำพูดการกระทำ ข้อวัตรกิจวัตร เราถึงจะจัดการกับตัวเอง เลิกจากศาลา เรากลับกุฏิ ฝึกนั่งสมาธิที่กุฏิของเรา หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย เราไม่ต้องเอาอะไร ฝึกมีสติมีสัมปชัญญะ คนเรามันตามอารมณ์ตามความคิดไปใจมันไม่สงบ ใจมันเป็นสัมภเวสี การประพฤติการปฏิบัติให้มันเน้นที่ปัจจุบัน เห็นความสุข เห็นอนิจจัง ว่าทุกอย่างมันผ่านมา เเล้วก็ผ่านไปไม่มีอะไรเเน่ ไม่มีอะไรเที่ยงพิจารณาร่างกายของเราสู่พระไตรลักษณ์ เพราะร่างกายของเราเอามาใช้เเค่ชั่วคราว พระใหม่ก็พากันประพฤติปฏิบัติทางใจพากันปฏิบัติเต็มที่ สมาทาน พระเก่าก็พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ โยมที่พากันมาอยู่วัด พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ เเล้วผู้ที่อยู่ทางบ้านก็พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ ทุกคนรู้ว่ามันดีอยู่ เเต่ว่ามันก็ไม่อยากปฏิบัติ อย่าไปเชื่อความคิด อย่าไปเชื่ออารมณ์
เราอย่าไปคิดว่าการปฏิบัติมันเป็นการทำให้ตัวเองยากลำบาก อันนี้มันเป็นความเห็นเเก่ตัว การรักษาศีลคิดว่ายากลำบาก มันเป็นความเห็นเเก่ตัว เราไม่อยากมีปัญหาอะไร ปัญหาต่างๆมันดี เพื่อให้เราทำใจ รูปสวยๆมันดีให้เราทำใจ เสียงเพราะๆ ให้เราทำใจ ทุกอย่าง ในชีวิตประจำวันให้เราทำใจ ทำใจเสียสละปล่อยวาง ทิ้งสู่พระไตรลัษณ์ว่าอันนี้มันไม่เเน่ มันไม่เที่ยง เราต้องเสียสละ เราต้องปล่อยมัน เราต้องวาง บางคนไม่อยากเหนื่อยอย่างนี้ มันก็ไม่ได้ทำใจ ถ้าเราคิดอย่างนั้น ไม่อยากหิว ไม่อยากร้อน มันก็ไม่ดี ไม่ได้ทำใจ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือธรรมะ เราจะได้พัฒนาใจ เหมือนเเตนมันต่อยพระ ต่อยโยม ร้องใหญ่เลย ก็คิดว่าดวงไม่ดี เเต่เรามาคิดอีกเเง่นึงดีมาก เราจะได้สร้างบารมี เราจะได้พัฒนาใจของเรา ทุกคนไม่อยากให้มันต่อย ฉันใด ก็เหมือนกัน เราก็ไม่อยากให้เเก่ ไม่อยากให้เจ็บ ไม่อยากให้ตาย ไม่อยากให้เป็นอย่างโน่น เป็นอย่างนี้ มันล้วนเเต่เป็นอาการของจิตใจที่เห็นเเก่ตัว เพราะว่าเราทุกคนต้องพากันมาเสียสละ จะเป็นคนไม่เสียสละได้ยังไง
พระใหม่พระเก่าก็พากันทำงานเป็นทีม ตอนเช้าใครอยู่ใกล้กันก็ปลุกกัน ให้ไปทำวัตรพร้อมๆ กัน ความสมัครสมานสามัคคีสำคัญ ทุกท่านทุกคนต้องรักกัน ปฏิบัติไปในเเนวเดียวกัน วัดนี้ คือข้อวัตรข้อปฏิบัติ วัดนี้คือศูนย์เราผู้ไปมรรคผลพระนิพพาน ไม่ใช่ที่อาศัยของผู้ขี้เกียจขี้ค้าน ของพวกเห็นเเก่ตัว ต้องมาเสียสละปรับตัวเข้าหา เราตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง เราจะเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจ เป็นบุคคลที่มีทิฏฐิมานะมาก จะเอาอย่างโน่น จะเอาอย่างนี้ เอาเเต่ใจตัวเอง บุคคลนั้นก็นเป็นบุคคลที่น่าเกียจ ถ้าใครไปคบค้าสมาคมกับคนนั้นก็เสียคนไปเลย คนที่มีทิฏฐิมานะมาก มันเเสดงถึงความขี้เกียจขี้คร้าน มันเป็นคนเอาประโยชน์เเต่ตัวเอง เป็นคนไม่มีศีล เป็นคนไม่มีสมาธิ เป็นคนไม่มีปัญญา เป็นพวกที่มีทิฏฐิมานะอัตตาตัวตน
ที่เรามาบวช คือเรามาละทิฏฐิมานะอัตตาตัวตน จำได้ไหมที่เทศน์เมื่อวาน ทีมที่เป็นเจ้าชายจากศากยวงศ์มาผนวช ให้ผู้ที่เป็นลูกจ้างมาบวชก่อน คือให้นายอุบาลีบวชก่อน เพื่อจะลดมานะละทิฏฐิ ทุกท่านทุกคนต้องน้อมใจเข้าหาธรรมะ ข้อวัตรปฏิบัติ เราอย่าไปเอามาตรฐานของที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้า เรามีเจตนา เรามีความตั้งใตต้องสมาทาน สมาทานให้เป็นสมุจเฉทวิรัติไปเลย
ศีลนั้นสำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลจึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ “ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว” นี่เอง คือความหมายของคำว่า เวรมณี หรือ วิรัติ วิรัติจึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตามจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีลก็ต่อเมื่อมีวิรัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
๑) สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมที่นั้นไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึงชาติ ตระกูล การศึกษาหรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
๒) สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด
๓) สมุจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้าซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เสตุฆาตวิรัติ
เรามีความตั้งใตต้องสมาทาน สมาทานให้เป็นสมุจเฉทวิรัติไปเลย ว่าอันนี้ไม่ดี อันนี้ไม่คิด อันนี้ไม่พูด อันนี้ไม่ทำ อันนี้ต้องคิด อันนี้ต้องรีบพูด อันนี้ต้องรีบทำ เราต้องเสียสละอย่างนี้ ต้องทำติดต่อต่อเนื่องเหมือนไก่ฟักไข่สามอาทิตย์ ตามหลักการเเล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ข้าราชการลาบวชในพรรษา ให้ขอลาบวชได้ ๑๒๐ วัน ๔ เดือน ต้องทำติดต่อต่อเนื่อง เเล้วอย่ามาถือนิสัยของตัวเอง ต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า มันจะได้ปฏิบัติง่ายๆ ปฏิบัติซื่อๆ อย่างนี้ หยุดซิกเเซก เราก็จะพลิกล็อคจากมืดเป็นสว่างได้ ต้องเเข่งขันกันทำความดี ดูเเล้วหลายคนยังทำอะไรยังเก้อเขินอยู่ เพราะว่ายังมีทิฏฐิมานะตัวตนเยอะ ยังเป็นคนมีสักกายทิฏฐิอยู่มาก เป็นคนขี้เกียจอยู่เยอะ เรามาบวช 2 เดือน 3 เดือนต้องเอาตัวเองให้เปลี่ยนเเปลงไปเลย มันจะได้มีความถาวร ความมั่นคงในความดี คนนิสัยขี้เกียจ นิสัยเห็นเเก่ตัวมันเข้าข้างตัวเองนะ เราก็อย่าไปเชื่อตัวเอง เชื่อตัวเองเราถึงเวียนว่ายตายเกิด
ทุกชีวิตที่เกิดมานี้ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร พระพุทธเจ้าถึงให้เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เราจะได้ประพฤติปฏิบัติของเราให้ถูกที่ เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารคือเรายังเป็นผู้มีอวิชชา ผู้ที่ไม่มีอวิชชาก็คือพระอรหันต์ เราต้องปฏิบัติกับจิตใจของเราให้ถูกต้องเพราะที่เราเวียนว่ายตายเกิด เพราะความไม่รู้ความไม่เข้าใจ ให้ทุกคนทุกท่านพากันเข้าใจ ว่าทุกคนเกิดมาที่ยังมีอวิชชา มันมีจิตแต่จิตนั้นยังประกอบด้วยความหลงอยู่ เราเป็นผู้ที่ประเสริฐเกิดมาเพื่อที่ประพฤติปฏิบัติตัวเองให้บรรลุถึงมรรคผลพระนิพพาน เราทำตามใจตัวเองทำตามอารมณ์ทำตามความรู้สึกตัวเอง เราก็เป็นได้แต่เพียงคน เราทำตามสัญชาตญาณเราต้องพัฒนา เพราะว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง ไม่แน่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน โดยเอาธรรมะเป็นหลักเอาธรรมะเป็นใหญ่ ตั้งอยู่ในความถูกต้อง ความปฏิบัติทุกท่านมีอยู่ในปัจจุบัน อดีตทุกคนปฏิบัติไม่ได้ อนาคตทุกคนก็ปฏิบัติไม่ได้ ทุกคนต้องกลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน
ที่ผ่านมามันทำให้เราเป็นว่ายตายเกิด ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันกี่หมื่นกี่ล้านชาติ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติ ทุกคนต้องพากันประพฤติปฏิบัติเพื่อจะได้ทันท่วงที พระพุทธเจ้าก่อนท่านจะเสด็จดับขันธปรินิพพานท่านสอนไม่ให้เราประมาทไม่ให้เพลิดเพลิน เพราะว่าทางที่เราจะได้ไปนั้นมันมีหลายภพหลายกลุ่มหลายชาติ ให้ถือว่าเรามีภาระมีหน้าที่ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ เดินทางด้วยสติด้วยปัญญา เรารู้เราเข้าใจแล้วเราก็ต้องประพฤติปฏิบัติ ให้ทุกท่านทุกคนมีสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ ด้วยความตั้งใจด้วยเจตนา เพราะรูปมันก็ไม่เที่ยง เวทนามันก็ไม่เที่ยงอะไรมันก็ไม่เที่ยง ทุกอย่างมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันตามเราไปไม่ได้ เราต้องรู้จักใจของเรา เราต้องปฏิบัติเพราะความทุกข์ความดับทุกข์ มันอยู่ในตัวของเราในปัจจุบันนี้แหละ เราเป็นผู้ที่ประเสริฐเกิดมาได้พบพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราต้องเดินตามพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้านั้นคือธรรมะที่มีความเห็นถูกต้อง เขาจะต้องปฏิบัติถูกต้อง สละคืนแล้วซึ่งตัวซึ่งตนถึงเรียกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือธรรมะ ธรรมะก็คือพระพุทธเจ้า ก็คือที่เราไม่ทำตามใจตัวเองไม่ทำตามอารมณ์ตัวเองไม่ทำตามความรู้สึกตัวเอง พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตั้งมั่นในธรรม
ศาสนาพุทธไม่ใช่โบสถ์ไม่ใช่วิหารไม่ใช่วัด อยู่ที่ใจทุกคนที่มีความเห็นถูกต้องต้องปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน เราจะเป็นพระเป็นนักบวชเป็นประชาชนเราก็ประพฤติปฏิบัติได้หมด เรามันเจ็บปวดขนาดไหน มันเกิดแก่เจ็บตายทำให้เรามีหนี้มีสินทำให้เราต้องไปสู่อบายภูมิ เพราะการดำรงชีวิตเรามันเป็นอบายมุข เพราะความเห็นแก่ตัวเราต้องพากันรู้จักจิต เราต้องให้จิตของเรามีปัญญาอย่าไปหลง ต้องใจเข้มแข็ง เอาตัวเองมาประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน เพราะว่าเราก็สงสารตัวเองสงสารคนอื่นทั่วไปหมด มันเป็นความพินาศความฉิบหายที่เราไม่เห็นถูกต้องไม่เข้าใจถูกต้อง เรายังไม่เข้าใจความดับทุกข์ที่แท้จริง เราเอาเพียงสวรรค์เพียงความสุขความสะดวกความสบาย เราดูตัวอย่างประเทศที่เจริญแล้ว เอาแต่วัตถุหรือเอาแต่อารมณ์ต่างๆ เป็นแค่สวรรค์ เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สวรรค์เราก็ต้องผ่านอยู่แล้ว เราต้องใจเข้มแข็ง เพราะเทวดาจะเกิดมาเป็นมนุษย์มันไม่ได้ เพราะใจมันตกต่ำ มันหลงประเด็น
เราถึงรู้จักอาการของจิตใจ แต่ไม่รู้จักตัวเองหรอก ปล่อยให้ตัวเองคิดไป ไม่มีระเบียบในการคิด ว่า อันนี้คิดไม่ได้ อันนี้ตามอารมณ์ไม่ได้ อันนี้คนคิดอย่างนี้มันไม่มีระเบียบในการคิด มันเหมือนเด็กไม่รู้จักไฟ มันไม่รู้จักไฟ ไปจับมันก็ร้อน เขาเรียกว่าไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราทุกคนมาใช้สังขารร่างกายนี้ส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยปีก็ต้องจากโลกนี้ไป เราจะได้พัฒนาเผ่าพันธุ์มนุษย์ เราจะพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นบาป พัฒนาทั้งใจหรือว่าจิตของเรานี้ไป ชีวิตของเราต้องดีต้องสง่างาม
เพราะคนเราไม่ตายมันต้องเป็นอย่างนี้ๆ น่ะ เราจะไปเร้าใจของเราทำไม เร้าอารมณ์ของเราทำไม เราทำไปปฏิบัติไป เดินไปทีละก้าว ทานข้าวไปทีละคำ นำตัวเองออกจากวัฏสงสาร ทำไปอย่างนี้ๆ จากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลานเหลน โลกมันก็จะน่าอยู่ ไม่ใช่พากันตกนรก เปรียบเสมือนคนมีหูก็อันตราย มีตาก็อันตราย พระพุทธเจ้าถึงสอนชฎิลสามพี่น้องว่า ตาก็เป็นไฟ หูก็เป็นไฟ จมูกลิ้นกายใจก็เป็นไฟ ไฟที่ไหม้ในภายนอก แม้จะรุนแรงแค่ไหน ก็ไม่อันตรายเท่ากับไฟภายใน ความรัก ความหึงหวง ความผูกพัน (ราคะ) ความหงุดหงิด วู่วามง่าย ความโกรธ ผูกใจเจ็บ อาฆาตพยาบาท (โกรธ) และความหลงงมงาย ขาดสติ (โมหะ) จัดเป็นไฟภายใน ไฟชนิดนี้แหละที่อันตรายและเป็นไฟไหม้ฟางที่ค่อยๆ เผาใจเราโดยไม่รู้ตัว
พระพุทธองค์ตรัสว่า "กิเลสทั้งสามประการนี้ย่อมเผาบุคคลผู้ยอมอยู่ใต้อำนาจของมัน ให้รุ่มร้อนกระวนกระวายเหมือนไฟเผาไหม้ท่อนไม้และแกลบให้แห้งเกรียม ข้อแตกต่างแห่งกิเลสทั้งสามประการนี้ก็คือ ราคะนั้นมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วยคลายช้าด้วย บุคคลซึ่งออกบวชแล้วประพฤติตนเป็นผู้ไม่มีเรือนเรียกว่า ได้ชักกายออกห่างจากกามราคะ แต่ถ้าใจยังหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามก็หาสำเร็จประโยชน์แห่งการบวชไม่ คือเขาไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้ อุปมาเหมือนไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบก บุคคลผู้ต้องการไฟก็ไม่อาจนำมาสีให้เกิดไฟได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุ ภิกษุณีผู้ชักกายออกจากกามแล้ว พยายามชักใจออกจากกามความเพลิดเพลินหลงใหลเสียด้วย"
จริงทีเดียวในจักรวาลนี้ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและดับยากเท่าไฟรัก ความรักเป็นความเรียกร้องของหัวใจ มนุษย์เราทำอะไรลงไปเพราะเหตุเพียงสองอย่างเท่านั้น คือเพราะหน้าที่อย่างหนึ่ง และเพราะความเรียกร้องของหัวใจอีกอย่างหนึ่ง ประการแรกแม้จะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง มนุษย์ก็ไม่ค่อยจะเดือนร้อนเท่าใดนัก เพราะคนส่วนมากหาได้รักหน้าที่เท่ากับความสุขส่วนตัวไม่ แต่สิ่งที่หัวใจเรียกร้องนี่ซิ ถ้าไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถสนองได้ หัวใจจะร่ำร้องอยู่ตลอดเวลา มันจะทรมานไปจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของมัน หรือมนุษย์ผู้นั้นตายจากไป
พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความรัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นเรื่องทรมาน และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพรากก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง"
ขณะนี้ เรากำลังถูกเผาอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดเราหยุดดิ้นรนให้อภัย ฝึกใจให้สงบ มีสติอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั้นไฟย่อมดับไป แต่ยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีก ไฟชนิดนี้แหละที่ร้ายแรงที่สุด อย่าปล่อยให้มันไหม้จนลุกลามไปทั่ว
อุปกรณ์ดับไฟภายในต้องใช้ธรรมะ คือ การให้อภัย มีสติ มีเมตตา ไม่ใช่น้ำที่ไหน เมื่อมีธรรมะก็เหมือนน้ำเย็นชนิดวิเศษที่ช่วยดับไฟประเภทนี้ได้
ตื่นอยู่ทำการภาวนา ก็สามารถดับทุกข์ร้อนทั้งปวงได้ ส่วนผู้ที่หลับใหลอยู่ในกามคุณอันมืดมัว ยุ่งเหยิงด้วยเรื่องต่างๆ วุ่นวายสับสนอยู่กับเรื่องของบุคคลอื่น ไม่มีโอกาสได้พบแสงธรรม แต่กำลังถูกแผดเผาอยู่ ด้วยความร้อนจากไฟกามคุณอารมณ์
พระพุทธเจ้าทรงข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแล้ว ตรัสไว้ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ว่า
“ดูก่อน! ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ได้แก่ ไฟราคะ ๑ ไฟโทสะ ๑ ไฟโมะ ๑ ดูก่อน! ภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้แล ย่อมเผาผลาญสัตว์ทั้งหลาย”
“ไฟคือราคะ ย่อมเผาผลาญสัตว์ทั้งหลายผู้กำหนัดแล้วหมกมุ่นอยู่แล้วในกามทั้งหลาย ยังติดใจ ยินดีในรสกาม”
แต่ไฟคือโทสะ ย่อมเผาผลาญนรชนทั้งหลาย ผู้อาฆาตพยาบาทซึ่งชอบฆ่าสัตว์ ชอบรังแกข่มเหงทรมาน
ส่วนไฟคือโมหะ ย่อมเผานรชนทั้งหลาย ผู้หลงงมงายหลงยึดถือตัวตนเราเขา อันขัดกับอริยสัจจธรรม
ไฟทั้ง ๓ กองนี้แล! ย่อมเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้สึกว่าเป็นไฟ ผู้หลงใหลหมกมุ่นยินดียิ่งในร่างกายของตน สัตว์เหล่านั้นพอกพูนนรก กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย และเปรตวิสัยอยู่ (ทำผู้ที่เกิดในอบายทั้ง ๔ ให้มีปริมาณมากขึ้น) จึงไม่อาจพ้นจากบ่วงแห่งมาร (กิเลสมาร) ไปได้”
ส่วนชนทั้งหลายผู้หมั่นอบรมตนในศาสนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน หมั่นเจริญอสุภสัญญาเป็นนิตย์ ย่อมทำไฟคือราคะให้ดับลงได้
ชนทั้งหลายที่มีคุณธรรมสูง ย่อมดับไฟคือโทสะลงได้ ด้วยเมตตา และย่อมดับไฟคือโมหะ ด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายกิเลสได้เด็ดขาด
ชนผู้มีปัญญารักษาตนเหล่านั้น ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ดับไฟทั้ง ๓ กองนั้นได้แล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น
เพราะเราไม่รู้จัก เราไม่มีสัมมาทิฏฐิ เราก็ตามอารมณ์ตามอะไรไป อย่างนี้เราก็อันตราย เราต้องพัฒนาจิตใจของเราไป คนไม่มีพลังสิ่งภายนอกก็ดึงไป เพราะภาคปฏิบัติของเรายังอ่อนอยู่ รู้อยู่แต่มันยังทำไม่ได้ แสดงว่าการประพฤติปฏิบัติของเรามันยังไม่ชำนาญ สติสัมปชัญญะเรายังไม่พอ ใจของเรายังเข้มแข็งไม่พอ ต้องอาศัยการอาศัยเวลา ถ้าอย่างนั้นเราจะมีประโยชน์อะไรที่เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราก็เสียชาติเกิดที่ประเสริฐ
จิตมาจากอาการของขันธ์ทั้ง 5 ที่ทำหน้าที่ของเขา ตาก็ทำหน้าที่ของเขาคือเห็น หูก็ทำหน้าที่ในการฟัง ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราก็จะได้พัฒนาจิตให้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเขาไม่ได้พัฒนาจิตเลย ปล่อยไปตามสัญชาตญาณ แถมยังเร้าใจเร้าอารมณ์ ยังไปเสพสมอารมณ์นั้นๆ เพราะการเสพเริ่มจากจิตนี้แหละไป กรรมต่างๆ มาจากที่ผัสสะไม่มีปัญญา ผัสสะไม่มีสัมมาทิฏฐิ จิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันก็เอากายวาจาใจนี้ไป ไปสร้างบาปสร้างกรรมสร้างเวรสร้างภัย แล้วก็เห็นเป็นเรื่องดี เห็นผิดเป็นถูก มีแต่จะสร้างปัญหา การกระทำของเรา การเดินทางของเรา คือ ที่สุดแห่งความไม่มีทุกข์ เรียกว่า พรหมจรรย์
พระพุทธเจ้าทรงรู้จักทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ และทรงรู้ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ไม่ให้เราทำตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง ตามความรู้สึกตัวเอง เพราะคนเรามันสร้างวัฏสงสาร ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คิดว่าตามใจตัวเองตามอารมณ์ตัวเองตามความรู้สึกของตัวเอง มันจะเป็นความสุข ที่ไหนได้มันเป็นความทุกข์ มันเป็นสัญชาตญาณที่มันมีอยู่ พระพุทธเจ้าได้มาบอกมาสอน เราทุกคนต้องมาจากตัวเอง หยุดเวียนว่ายตายเกิด ต้องพากันทำหมันตัวเอง ความคิดความปรุงแต่ง ที่มันส่งผลออกมาเป็นความประพฤติ เป็นจริตต่างๆ เป็นเพราะมาจากเราไม่รู้จักอารมณ์ แล้วก็ไปตามความปรุงแต่งต่างๆ ที่คนเราร้องไห้ก็เพราะดีใจเสียใจ เพราะความคิด อันนี้มันเป็นเรื่องความรู้สึก เรื่องสัญชาตญาณ ความคิดความปรุงแต่งจึงมีอิทธิพลต่อเราทุกคน พระพุทธเจ้าทรงรู้วงจรของสิ่งนี้ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้มาบอกมาสอนเราด้วยวิธีง่ายๆ แต่ทุกท่านทุกคนต้องพากันประพฤติปฏิบัติ ต้องหยุดตัวเอง
จะไปคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ มันทำให้เราต้องเรียนว่ายตายเกิด ไม่ใช่เรื่องธรรมดานะ อะไรที่เป็นตัวทำให้เราเกิด ก็คือการที่เราเอาตัวตนเป็นใหญ่ เราจึงต้องมารู้จักกลไกรู้จักวงจร รู้จักต้นสายปลายเหตุ ที่คนทั้งโลกพากันทุกข์ ไม่มีปัญหาก็พากันสร้างปัญหา ไม่ว่าจะเป็นคนเป็นสัตว์ แม้จะเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ เป็นพรหมก็ยังมีความทุกข์ เราทุกคนเป็นผู้โชคดีได้ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เพราะเราจะไปหาแก้ภายนอกมันแก้ไม่ได้หรอก เพราะปัญหามันอยู่ที่เรา
การที่แก้ปัญหาของเราทุกคน ถึงต้องแก้ที่ตัวเราเอง ไม่ได้ไปแก้ปัญหาที่คนอื่น ทุกท่านทุกคนต้องพากันทำอย่างนี้ ปัญหาของตนเองถึงจะคลี่คลายและหมดปัญหาไปในที่สุด เราทุกคนต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าไปทำอย่างอื่นเรียกว่าไม่ถูกต้อง เราทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ใจของเราก็จะเข้าสู่กายวิเวก คือกายที่สงบวิเวกอันมาจากใจที่มีความเห็นถูกต้อง ที่ไม่คิดไม่พูดไม่ทำ จึงนำเราสู่กายวิเวก พัฒนาสู่จิตวิเวก และอุปธิวิเวกในที่สุด