แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันจันทร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๔๐ ให้เราสมาทานตั้งใจ ตั้งอยู่ในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะความสุขความดับทุกข์จะอยู่ที่ปัจจุบัน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เรื่องใจนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเราทุกๆ คนที่เวียนว่ายตายเกิดนี้ มันเรื่องของจิตของใจ เราต้องรู้จัก กายของเรามันเป็นเพียงยานพาหนะ พาเราคิดนี้พูดนี้ทำนี้ เราต้องรู้จัก เราต้องมีสัมมาทิฏฐิ ต้องมีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูก ต้องรู้ว่าอันไหนคิดได้ อันไหนคิดไม่ได้ ความคิดนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ พระพุทธเจ้าถึงให้เรามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง เราจะได้ปฏิบัติถูกต้อง คือการไม่ทำบาปทั้งปวง ทำเเต่บุญเเต่บุญเเต่กุศล เเละถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ชีวิตของเราต้องเข้าสู่ระบบของธรรมะ
ที่มันพาเรา เวลานั่งเวลานอน มันพาเราไปอย่างโน่นอย่างนี้ ล้วนเเต่เป็นอาหารทางจิตใจ ความคิดนี้ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ความคิดมันก็เร็ว เราถึงต้องมีสติมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าก็สบาย ออกสบาย ถ้าเราไม่รู้จักความคิด ไม่รู้จักอารมณ์เราก็มี เซ็กซ์ทางจิตใจ มีเซ็กซ์ทางอารมณ์ทั้งวันทั้งคืนเลย พระพุทธเจ้าถึงให้เราสมาทานตั้งใจ ตั้งอยู่ในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ
เมื่อพูดถึงบารมี หลายคนคงนึกถึงตำแหน่ง อำนาจ ยศฐาบรรดาศักดิ์ที่ยิ่งใหญ่ จึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีบารมี แต่ในทางศาสนาพุทธแล้ว คำว่าบารมีที่ถูกต้องตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้ คือ การใช้กำลังใจให้เต็มในความดี ๑๐ ประการ ฉะนั้น บารมี ๑๐ ก็คือ กำลังใจ ๑๐ ประการ ที่เราควรสร้างกำลังใจ ให้มันเต็มครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อความสุขความดับทุกข์ บารมี ๑๐ ประการ มี
๑. "ทานบารมี" เป็นการตัดความโลภ โดยจิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ ไม่ใช่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย หรือฐานะ
๒. "ศีลบารมี" ช่วยตัดความโกรธ การที่จิตของเราพร้อมในการรักษาศีล ศีลไม่บกพร่อง ไม่ทำศีลให้ขาด หรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล
๓. "เนกขัมมบารมี" เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ คือการที่จิตพร้อมในการถือเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช
๔. "ปัญญาบารมี" ช่วยตัดความโง่เขลา การที่จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหาร และ มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎสามัญลักษณะ ได้แก่ กรเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
๕. "วิริยบารมี" มีไว้ตัดความขี้เกียจ การที่มีความเพียรทุกขณะ ในการที่จะทำความดีประหารกิเลส
๖. "ขันติบารมี" ช่วยตัดความไม่รู้จักอดทน การที่มีความอดทน และอดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
๗. "สัจจะบารมี" ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก การที่ตั้งมั่นในคำพูดที่ได้รับปากไว้แล้ว เช่น ผู้ที่มีสัจจะบารมีเต็ม สิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือตรงต่อเวลา ถ้าหากว่าใครนัดแล้วยังผิดนัด ไม่ตรงต่อเวลา ถือว่าสัจจะบารมียังพร่องอยู่
๘. "อธิษฐานบารมี" อธิษฐาน คือการทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์ การที่ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ ตั้งใจว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร อธิษฐานบารมีถ้าเปรียบแล้ว ก็เหมือนกับการยิงปืนแล้วเล็งเป้า จะไม่ถูกเป้าแน่นอน
๙. "เมตตาบารมี" สร้างความเยือกเย็นของใจ การที่มีความเมตตา ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
๑๐. "อุเบกขาบารมี" คือ การวางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา และอารมณ์ที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ
พระพุทธเจ้าถึงให้เราสมาทานตั้งใจ ตั้งอยู่ในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะความสุขความดับทุกข์มันจะอยู่ที่ปัจจุบัน คือเราต้องเเก้ปัญหาใจของเรา เเก้ปัญหาจิตของเราให้
ความมั่นคงของมนุษย์มันอยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เเล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้องในปัจจุบัน เราปฏิบัติไปเเล้วมันจะเจริญ มันจะก้าวหน้าไปเอง เหมือนเราปลูกต้นไม้ คนไม่เข้าใจ คิดว่าความมั่นคง มันอยู่ที่มีเงินมีสตางค์มีบ้าน มีรถ มีลาภยศ สรรเสริญ สิ่งที่ถูกต้องมันต้องเกิดจากความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เเล้วปฏิบัติถูกต้อง มันถึงจะมีความมั่นคง มันจะได้พัฒนาทั้งเทคโนโลยี พัฒนาทั้งใจไปพร้อมๆ กัน เราจะได้ทิ้งอดีตให้เป็นเลขศูนย์ มีบาทมีฐาน เป็นสิ่งที่ก้าวไป ดำเนินไป ทุกคนต้องเข้าใจอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ทุกคนต้องเข้าใจอย่างนี้
คนเราเกิดมามันต้องมีตัวอย่างมีเเบบอย่าง เค้าเรียกว่า "ผู้เก่า" ตามหลักเหตุผล ตามหลักวิทยาศาสตร์ไว้ชัดเจน ผู้มาภายหลังจะได้ต่อยอดในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เราคิดว่าประเทศไทยเราต้องมีความมั่นคงต้องมีตำรวจ กี่เเสนคน กี่หมื่น มีทหารกี่หมื่นกี่เเสน อันนั้นมันเเค่ความมั่นคงภายนอก เเต่ถ้าเราไม่รู้จักความมั่นคง เราจะพัฒนาก็เเต่บ้านก็เเต่รถลาภยศสรรเสริญ ก็เเต่ระเบิดอะไรอย่างนี้มันไม่ใช่ความมั่นคง เราต้องพัฒนาจิตใจไปพร้อมๆ กัน ทุกท่านทุกคนต้องหยุดเป็น ปล่อยเป็น วางเป็น ทุกคนต้องรู้จัก ไวรัส รู้จักโควิด ทุกอย่างมันอยู่ที่เรา อยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็จะไปเเก้ไขเเต่คนอื่น เราจะไปหาเเต่ความสุขข้างนอก ไม่ได้เอาความสุขจากการเสียสละ ไม่มีความสุขในการเรียนหนังสือ ในการทำงาน ขยัน รับผิดชอบอย่างนี้เเย่เลย ความมั่นคงย่อมไม่มี ต่อให้มีกี่สภาก็เเก้ปัญหาไม่ได้ เพราะประเทศเราต้องเอาธรรมาธิปไตย ต้องปฏิบัติ ต้องมีศีลเหมือนกัน ปฏิบัติเหมือนกันทั้งประเทศ ถึงจะเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้อง อยู่ในโครงสร้าง ตำรวจเค้าก็มีอนุศาสนาจารย์ ทหารมีอนุศาสนาจารย์ พัฒนาคุณธรรมไปพร้อมกัน บ้านกับวัด บ้านกับโรงเรียน บ้านกับวัดถึงไปพร้อมๆ กัน เราถึงจะเข้าถึงเศรษฐกิจพอเพียงได้
ศาสนาทุกศาสนาก็คืออันเดียวกันเนี่ยแหละ คือเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ ศาสนาต้องไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวตน คือเป็นธรรม คือ คุณธรรม คือ การละความเห็นเเก่ตัว เราปฏิบัติ ทุกคนก็เป็นอย่างนี้ ครอบครัวคนอื่นก็เป็นอย่างนี้ น้ำตาลมันก็หวานเหมือนกัน พริกมันก็เผ็ดเหมือนกัน เกลือก็เค็มเหมือนกัน ต้องทำหน้าของความเป็นมนุษย์ที่ให้สมบูรณ์ ความมั่นคงมันถึงจะเกิดขึ้นเเก่เรา ความอบอุ่นเกิดขึ้นเเก่เรา เพราะขึ้นอยู่ที่เราทุกๆ คน
ทุกท่านทุกคนก็พากันประพฤติปฏิบัติเอาเอง อย่าเข้าใจผิด อาศัยเเต่พ่ออาศัยเเม่ ถ้าเราต้องการนักการเมืองอย่างนี้ ไม่ใช่ ทุกท่านทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติเอง ความมั่นคงของวัด ของบ้าน ของครอบครัว มันอยู่ที่ใจของเรามีพระนิพพาน เรามาคิดดูเเล้ว ตำรวจ ทหาร ไม่ใช่จะเเก้ปัญหาได้ กฏหมายมันก็ไม่ใช่จะเเก้ปัญหาได้ มันก็ต้อง เกิดมาเพื่อพากันซิกเเซก เราพากันซิกเเซกไป ซิกเเซกมา เราต้องมาพลิกล็อคจากคว่ำเป็นหงาย จากดำเป็นขาว จากที่ยึดมั่นถือมั่น มาเสียสละ ในคณะครู มันก็ผิดพลาด มันจะไปสอนเเต่หลักการ เเต่วิชาการ ทำมาหากิน ไม่ได้สอนจิตใจไปด้วยกัน เป็นการศึกษาที่ล้มเหลว เพื่อทำลายโลก เพื่อวิบัติ มันไม่ได้สู่สันติภาพ สู่ความเป็นธรรม ยุติธรรม ไม่เเตกต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉาน เพราะมันทำบาปเยอะกว่า
เราก็ดูตัวอย่างตระกูลทุกตระกูลไม่เอาธรรมะ นี้มันจะตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะว่าไม่เอาธรรมะเป็นหลัก ในครอบครัวเราถ้าไม่พัฒนาใจ ลูกหลานก็ต้องทะเลาะเรื่องข้าวของเงินทอง ทุกสถาบันก็ไปไม่ได้ เท่ากับพากันเกิดมาเป็นโจร ทหารถือปืนยิงกันสนั่นหวั่นไหวไม่ใช่ความมั่นคง ถ้าไม่ได้พัฒนาจิตใจ ตำรวจถึงเป็นโจรเยอะ เพราะว่าไม่ได้พัฒนาใจ ทำไมนักการเมืองถึงเป็นโจรเยอะ เพราะว่าไม่ได้พัฒนาใจ ทำไมสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ทำไมการศึกษาล่มจม มันไม่ได้เอาคุณธรรมไปพร้อมกัน มันศึกษาไปทางกินเมือง โกงเมือง ส่วนราชการเอาเปรียบชาวบ้าน ประเทศไทยเราถึงอยู่ไม่ได้ ธรรมะไม่กลับมาโลกาจะวินาศ
ถ้าจะให้มีการก้าวหน้าไปตามทางธรรม ก็จะต้องพิจารณาธรรม จะต้องรู้จักธรรม รู้จักสิ่งที่เรียกว่าธรรม แล้วก็รู้ได้ว่าตนเองกำลังมีธรรมหรือไม่มี กำลังเจริญไปในทางธรรมหรือไม่มี ทีนี้จะเอาอะไรเป็นเครื่องวัด ก็ยังคงใช้เวลานั่นเองเป็นเครื่องวัด ถ้าเราก้าวหน้า เวลาก็แพ้ ถ้าเราไม่ก้าวหน้า เวลาก็ชนะ สำหรับบุคคลทั่วๆไปในประเทศไทยเรา ซึ่งถือวัฒนธรรมอินเดียมาแต่โบราณกาลนั้น ก็น่าจะได้ใช้หลัก ๔ ประการของชาวอินเดียมาเป็นเครื่องวัดดูบ้างก็ได้ นั่นคือ หลักอาศรม ๔ หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ ๑๐๐ ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิตไว้ ๔ ช่วง ช่วงละ ๒๕ ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม (วัย) อาศรมทั้ง ๔ ช่วงนี้มีอยู่ว่า ตั้งแต่เกิดจนตายแบ่งเป็น ๔ วัย ดังนี้
วัยที่ ๑ เรียกว่า พรหมจารี (อัตถะ) คือ เป็นเด็กขึ้นมาจนถึงเป็นหนุ่มเป็นสาว ช่วงเวลาแห่งการศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนความชำนาญทางโลก ‘พรหมจรรย์’ ที่ไม่ได้มีความหมายอย่างที่คนทั่วไปว่ากัน หากหมายถึงการประพฤติอย่างพรหม คือบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ยังไม่มีสิ่งใดมาทำให้มัวหมอง เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตพร้อมซึมซับความรู้ ประสบการณ์ พร้อมบ่มเพาะเติมโตไปในทิศทางที่ถูกหล่อเลี้ยงในช่วงนี้
วัยที่ ๒ เรียกว่า คฤหัสถ์ (กามะ) คือ เป็นผู้ครองเรือน เป็นภรรยาสามี เป็นบิดามารดา ประกอบการงานเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างเต็มที่ ช่วงเวลาแห่งการครองเรือน สร้างฐานะ อาชีพการงาน ความรับผิดชอบที่เปลี่ยนไป มีบทบาทหน้าที่เป็นเงาติดตัวตามมา มีชีวิตอื่นที่ต้องดูแลนอกเหนือไปจากชีวิตของตนเอง
วัยที่ ๓ เรียกว่า วนปรัสถ์ (ธรรมะ) คือ ผู้หลีกออกหาความสงบ รู้สึกว่าพอกันทีกับเรื่องธุระการงาน ก็หลีกออกหาความสงบอยู่ เป็นช่วงเวลาที่ปฏิบัติตน เพื่อสังคมและประเทศ เมื่อครอบครัวเป็นปึกแผ่น และบุตรได้ออกเรือนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวจะออกป่า เพื่อแสวงหาความวิเวกและฝึกจิตของตน ซึ่งอาจกระทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนก็ได้ ซึ่งคล้ายกับชาวไทยในพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อแก่เฒ่าลง ก็จะหันหน้าเข้าหาวัด ช่วงชีวิตหลังเกษียณ ส่งต่อภาระทางเรือนให้แก่ผู้คนในรุ่นถัดไป แล้วค่อยๆ ถอนตัวออกจากชีวิตทางโลก วานปรัสถ์เป็นช่วงชีวิตแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นซึ่งอรรถะ และ กามะ ไปสู่การมุ่งเน้นยังโมกษะ (การหลุดพ้น) จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยวาง ละทิ้งชานเรือน ออกไปอุทิศความรู้และประสบการณ์ที่สะสมไปทำงานให้แก่สังคม อาจารย์ประมวลเองก็ได้ออก ‘เดินสู่อิสรภาพ’ ในวันที่อยู่ในอาศรมนี้ โดยการใช้การเดินเพื่อสลัดความยึดติดจากสภาวะที่เป็นอยู่
ตอนที่ ๔ เรียกว่า สันยาสี (โมกษะ) คือ ทำตนให้เป็นแสงสว่างแก่ผู้อื่น เป็นระยะเวลาที่(พราหมณ์) ทำเพื่อมนุษยชาติทั้งปวง เป็นการสละชีวิตคฤหัสถ์ ของผู้ครองเรือน เพื่อเข้าป่าออกบวช และเพื่อจุดหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ อย่างน้อยก็เป็นที่ปรึกษาหารือของลูกของหลาน ของชาวบ้าน ของเพื่อนบ้านทั่วๆไป ในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหนทางผิดทางถูก อย่างนี้เป็นต้น นับเป็นช่วงชีวิตแห่งการละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุและทางโลก โดยทั่วไปคือปราศจากสิ่งครอบครองรวมถึงที่อยู่ ใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นโมกษะ, ความสันติ และชีวิตทางจิตวิญญาณที่เรียบง่าย ผู้ใดก็ตามที่สิ้นสุดระยะพรหมจรรย์แล้ว สามารถเข้าสู่ระยะนี้ได้ทุกเมื่อ
ท่านทั้งหลายทุกคน จงพิจารณาดูให้ดีๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าคนที่เกิดมานี่มีสักกี่คนที่ได้ก้าวหน้าไปจนครบทั้ง ๔ ตอนเช่นนี้
ตอนที่ ๑ เป็นเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาว เรียกว่าพรหมจารีนี้ก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้า เด็กบางคนไม่มีความก้าวหน้า แม้ในวัยในตอนของพรหมจารี คือเป็นผู้เหลวไหล เรียน ศึกษาเล่าเรียนก็ไม่สำเร็จ ไม่เคร่งครัด มัธยัสถ์หรือสำรวมในระเบียบวินัยของบุคคลผู้เป็นพรหมจารี กลายเป็นคนเหลวแหลกไปตั้งแต่เล็กๆ เด็กๆ อย่างนี้ เรียกว่าแม้แต่ตอนที่ ๑ หรือวัยพรหมจารีก็ยังไม่ก้าวหน้า เพราะไปทำผิดกันเสีย ทำไขว้กันเสีย เช่น เด็กๆก็ไปสาระวนแต่เรื่องกามารมณ์ เรื่องเพศ ก็เลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของพรหมจารีให้ถูกต้อง กล่าวคือ การศึกษาเล่าเรียนอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติในระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด
ทีนี้พอมาถึงตอนที่ ๒ ที่เรียกว่าเป็นคฤหัสถ์ ก็เหลวไหลอีก เพราะว่ามันเหลวไหลไปเสียแล้วตั้งแต่ มาเสียแล้วตั้งแต่ตอนต้น คือตอนพรหมจารี มันก็เป็นคฤหัสถ์ที่ครองเรือนที่ดีไม่ได้ เป็นสามีภรรยาที่ดีไม่ได้ เป็นบิดามารดาที่ดีไม่ได้ มันก็ไม่ก้าวหน้า แล้วยิ่งกว่านั้น มันก็ยังยิ่งเป็นคนโง่ คนหลง คนเขลามากขึ้นทุกที ไม่รู้จักเรื่องของความสงบ จึงไม่มีตอนที่ ๓ คือไม่มีตอนวนปรัสถ์ที่ออกหาความสงบ แล้วมันก็ไม่มีตอนที่ ๔ คือการที่จะทำตนให้เป็นแสงสว่างแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรียกว่าเกิดมาทั้งทีเสียชาติเกิด เป็นพรหมจารีที่ดีก็ไม่ได้ เป็นคฤหัสถ์ที่ดีก็ไม่ได้ ส่วนเป็นวนปรัสถ์หรือสันยาสีนั้นไม่ต้องพูดถึง คนเหล่านี้ก็มีอยู่โดยมาก เห็นๆกันอยู่ทั่วๆไปคือคนเหลวไหล
นี้ถ้าว่าเป็นคนดีมีธรรมะชนิดที่จะกินเวลาได้จริงๆ แล้ว จะต้องเป็นคนกระทำถูกต้องมาครบทั้ง ๔ ตอน คือตอนที่ ๑ เมื่อเป็นพรหมจารีก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่มีการทะลุอำนาจแก่กิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องผ่านไปด้วยดีในวัยพรหมจารี นี้เรียกว่าความก้าวหน้าอย่างยิ่งของบุคคลนั้น
พอมาถึงตอนที่ ๒ เป็นคฤหัสถ์ที่ดี คือเป็นสามีภรรยาที่ดีที่น่าเสื่อมใส เป็นบิดามารดาที่ดี อย่างที่เรียกว่าน่าเสื่อมใส ในเวลาอันไม่นาน ก็ถือเอาประโยชน์จากความเป็นคฤหัสถ์นั้นได้สำเร็จ คือมีทรัพย์สมบัติพอตัว มีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว มีมิตรสหายบริวารพอตัว นี้เรียกว่า ชัยชนะของคฤหัสถ์ มีอยู่อย่างนี้และเพียงเท่านี้ คือมีทรัพย์สมบัติพอตัว มีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว มีมิตรสหายที่ดีงามแวดล้อมพอตัว ไม่ต้องมีอะไรมากไปกว่านี้ก็ถึงความเต็มเปี่ยมของความเป็นคนได้ในวัยคฤหัสถ์ หรือตอนที่ ๒
เมื่อวัยคฤหัสถ์เป็นไปด้วยความก้าวหน้าเต็มที่อย่างนี้แล้ว ก็เป็นการง่าย ไม่ยากเลยที่จะมาสู่วัยที่ ๓ คือวนปรัสถ์ แปลว่า หลีกออกหาความสงบ ตามตัวหนังสือแปลว่าอยู่ป่า แต่ตามความหมายแปลว่า หลีกออกหาความสงบ จะหลีกออกไปอยู่ตามกอกล้วยกอไผ่ ริมบ้านริมเขตบ้านก็ได้ หรือแม้แต่จะมีห้องพิเศษส่วนตัวพักอยู่ด้วยความสงบสงัดตลอดเวลา ไม่วุ่นวายด้วยผู้อื่นก็ยังได้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกไปอยู่ตามป่าตามเขาไปเสียทั้งหมด คนผู้เบื่อต่อกิจการงานของฆราวาสแล้ว หลีกออกไปหามุมสงบมุมใดมุมหนึ่งที่ตรงไหนก็ได้ เรียกว่าวนปรัสถ์ ทั้งนี้ก็เพื่อผลคือ จะได้พิจารณาสิ่งต่างๆ หรือชีวิตในหนหลังอย่างถูกต้อง แล้วมีจิตหยุดด้วยความเพียงพอ ด้วยความรู้จักอิ่มจักพอในเรื่องของโลกๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย
ที่พูดเป็นสำนวนโวหารเขาพูดว่า ไอ้เรื่องโลกนี้พอกันที ต้องการจะแสวงหาประโยชน์อย่างโลกอื่นหรือเหนือโลก จึงไม่สนใจเรื่องเงินเรื่องของ เรื่องเกียรติยศชื่อเสียง อำนาจวาสนาอะไรต่อไป เป็นผู้หยุดตัวเองในเรื่องนั้น มุ่งหน้าหาแต่โลกแห่งความสงบ อย่างนี้ไม่กี่ปีก็เป็นผู้พบความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่สูงขึ้นไปกว่าเรื่องเงินๆ ทองๆ นี้เป็นวนปรัสถ์ วัยที่ ๓ ก็เป็นความก้าวหน้าด้วยเหมือนกัน
ทีนี้ถ้ายังมีชีวิตอยู่ต่อไป แม้จะมีอายุตั้ง ๘๐ ปี ๙๐ ปีแล้วก็ตาม ก็ทำตนให้เป็นแสงสว่างแก่ลูกหลาน เป็นที่พึ่งทางจิตทางวิญญาณแก่เพื่อนมนุษย์รอบด้าน ใครมีปัญหาอย่างไรก็สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นแสงสว่างของคนทุกคน
พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเป็นพระธรรมวินัยที่นำออกจากวัฏฏะสงสารได้ทุกๆ คนที่ท่านผู้นั้นปฏิบัติตาม ชาวพุทธทุกๆ คนน่ะต้องเอาพระธรรมเอาพระวินัยเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ต้องดำรงชีวิตด้วยการเอาพระธรรมเอาพระวินัยเป็นหลัก เป็นทางแห่งการดำเนินชีวิต คำว่า “พระ” ก็ได้แก่พระธรรม พระวินัย
“พระ” คือผู้ที่ไม่มีทิฏฐิมานะ อัตตาตัวตน “พระ” คือผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร
“พระ” คือผู้ที่เดินตามทางสายกลาง คือพระธรรม พระวินัย ละสัญชาตญาณ
สัญชาตญาณก็ได้แก่ ความรู้สึกที่เราติดความสุข ความสะดวก ความสบาย รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความยากลำบาก ระแวงภัย มีความยินดีในการสืบพันธุ์ สิ่งเหล่านี้คือ “สัญชาตญาณ” ได้แก่อบายภูมิ คือ ภูมิของเปรต ของยักษ์ ของมาร ของสัตว์เดรัจฉาน เป็นภูมิของผู้ที่ปฏิบัติตามสัญชาตญาณ คนเราทุกๆ คนน่ะ ถ้าเรามีความโลภ ร่างกายของเราเป็นมนุษย์แต่จิตใจของเราเป็นเปรตทันที ถ้าเรามีความโกรธ ร่างกายของเราเป็นมนุษย์แต่จิตใจของเราเป็นยักษ์เป็นมาร ถ้าเรามีความหลง ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจของเราเป็นสัตว์เดรัจฉาน
พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญพุทธบารมี ๔ อสงไขย แสนมหากัปป์ ได้ตรัสรู้อรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ ท่านมีพระมหากรุณาที่บริสุทธิ์ ได้ประกาศพระธรรมคือคำสอน พระวินัยคือคำสั่ง ในโลกนี้ไม่มีใครที่จะนำเราออกจากความทุกข์ได้ มีเพียงองค์เดียวคือ “พระพุทธเจ้า” นอกจากนั้นไม่มี เราทุกคนจึงต้องมาถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ถือนิสัยพระพุทธเจ้าได้แก่การปฏิบัติตามพระธรรมพระวินัยโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้นน่ะ นี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายกลาง
ชาวพุทธในปัจจุบันนี้น่ะ นับถือพระพุทธศาสนา แต่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยกันไม่ค่อยได้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ถึงสามสิบเปอร์เซ็นต์ในการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา
พระก็เหมือนกัน โยมก็เหมือนกัน... พระก็ทิ้งธรรมวินัยไปมาก โยมก็ทิ้งพระธรรม ทิ้งศีล ทิ้งภาวนากันไปมาก พระก็ไปเอาทางวัตถุเอาทางโลก โยมก็ไปเอาทางวัตถุเอาทางโลก พากันทิ้งศีล ทิ้งธรรม ทิ้งคุณธรรม ทิ้งสิ่งที่ประเสริฐที่มนุษย์ที่เกิดมาควรได้รับ ร่างกายของเราทุกๆ คนที่เกิดมาส่วนใหญ่ก็ไม่เกินร้อยปี ถ้าเกินไปบ้างก็มีเป็นส่วนน้อย ร่างกายของเราทุกๆ คนนี้เป็นวัตถุที่ไม่ถาวร มีความแก่เจ็บตาย พระพุทธเจ้าท่านให้เราเอาร่างกายนี้มาทำคุณประโยชน์ คือเดินตามทางสายกลาง คือ พระธรรม พระวินัย
ต้องจับหลักให้ได้ จับประเด็นให้ได้ ให้ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ทุกๆ คนต้องมีสติสัมปชัญญะเป็นตัวของตัวเอง ตัวของตัวเองนั้นได้แก่พระธรรมพระวินัย อย่าให้สิ่งต่างๆ มาครอบงำทำให้เราไขว้เขว ย่อหย่อนอ่อนแอ การประพฤติการปฏิบัติธรรมนั้นน่ะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันได้บรรลุธรรม
สิ่งที่ทุกท่านที่จะละจะวางที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองนี้คือ “สัญชาตญาณ” คือภพภูมิที่ทำให้ตกต่ำ ทุกท่านทุกคนต้องหยุดตัวเอง อย่างจิตใจของเรามันคิดไม่ดีอย่างนี้แหละ มันคิดครั้งที่หนึ่ง ไม่ควรให้มันคิดครั้งที่สอง ถ้ามันคิดครั้งที่สามครั้งที่สี่ มันจะควบคุมตัวเองไม่อยู่ ควบคุมตัวเองไม่ได้
ทุกท่านทุกคนต้องเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร สิ่งไหนเป็นธรรมเป็นวินัยที่ใจเรามันจะย่อหย่อนอ่อนแอ ให้มันคิดครั้งเดียว ครั้งที่สองเราไม่ต้องให้มันคิดน่ะ จับหลักธรรมหลักวินัยให้ได้ เราอย่าไปหลงประเด็นว่าทางสายกลาง มันไม่ใช่ทางสายกลาง มันคือความโลภ ความโกรธ ความหลง
ทรัพย์ของเราน่ะ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เราจะได้พัฒนาให้มันเป็นอริยทรัพย์ ความงามของมนุษย์น่ะอยู่ที่ศีล อยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ปัญญา พระเราอย่าพากันหลงประเด็น อยู่ที่ไหน ภาคไหน ที่ใด ท่านต้องตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เต็มที่
การเดินทางไปพระนิพพานนี้แหละ มันต้องละสิ่งเหล่านี้อย่างเด็ดขาด ให้ใจมันโล่ง ใจมันว่าง รูปก็เป็นรูป เสียงก็เป็นเสียง กลิ่นก็เป็นกลิ่น รสก็เป็นรส ไม่ให้มันเกี่ยวข้องกับจิตใจน่ะ ไม่ให้มันซาบซึมเข้าไปในจิตในใจของเราได้ ทุกท่านทุกคนทำตามสัญชาตญาณทำอย่างไรมันก็ไม่ได้ผล เพราะเราไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมพระวินัย มันก็ย่อมหมดกำลังใจ เหมือนกับจมอยู่ในน้ำ ยิ่งมีแต่จะหมดลมหายใจ เพราะมันมีแต่จะเหนื่อยเข้าเหนื่อยเข้า ที่มันแสดงออกมาถึงความท้อใจนี้แหละ
ถ้าเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้ามันก็เป็นเรื่องง่ายๆ การถือนิสัยถือวินัยของพระพุทธเจ้า จึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สำคัญ เพื่อมรรคผล เพื่อพระนิพพาน เพื่อเดินตามรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์