PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
  • ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๕ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นภาระใหญ่ ถึงจะอาลัยก็จำเป็นต้องละ
ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๕ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นภาระใหญ่ ถึง ... รูปภาพ 1
  • Title
    ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๕ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นภาระใหญ่ ถึงจะอาลัยก็จำเป็นต้องละ
  • เสียง
  • 11039 ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๕ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นภาระใหญ่ ถึงจะอาลัยก็จำเป็นต้องละ /lp-kanha/2022-07-05-15-11-16.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
วัด/สถานที่บรรยายธรรม
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ชุด
ชีวิตของผู้สงบ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.) ในวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๕ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นภาระใหญ่ ถึงจะอาลัยก็จำเป็นต้องละ (บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) ปัญหาต่างๆ อยู่ที่พ่อที่แม่ เพราะว่าพ่อแม่ไม่ได้ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ไม่ได้ตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ เอาความยึดมั่นถือมั่น เอาสักกายทิฏฐิเป็นหลัก ต่อมาก็อยู่ที่พระเจ้าพระสงฆ์ อยู่ที่วัด เพราะว่าพระเจ้าพระสงฆ์มันไม่ค่อยจะมี มีก็จะมีแต่ภิกษุบวชแล้วไม่ได้เอามรรคผลนิพพาน บวชมาเพื่ออาศัยวัดอยู่ เขาเรียกว่าคนอาศัยวัด ไม่ได้มาพัฒนาวัด วัดคือข้อวัตรปฏิบัติ ไม่ได้มาเพื่อกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า เราทุกคนให้รู้ว่าเรานี้เป็นบุคคลที่จะต้องแก้ไขตัวเอง เพื่อเป็นบาทเป็นฐานให้ลูกให้หลาน เรามาพัฒนาความเป็นพระธรรม พระวินัยกับเราทุกคน เพื่อเราดูโครงสร้างแล้ว ลูกหลานที่เขาหัวดีๆ จบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกนี้ ว่าง่ายสอนง่ายเพราะหัวดี มันฉลาด มันมีเหตุมีผล เมื่อเขาให้พระดี ครูบาอาจารย์ดี เขาก็ไปโลด นอกจากพระที่ติดเหล้าที่ติดเบียร์ติดยามาบวช ส่วนใหญ่ของไม่ดี ก็จะมารวมไว้ที่วัด เป็นปัญหาต่อสังคม เป็นขยะของสังคม เราต้องพากันเข้าใจ ถึงแม้ชีวิตที่เราผ่านมา เราเป็นคนล้มเหลว เมื่อเราเข้ามาสู่ผ้ากาสาวพัสตร์ เราก็ต้องมาจัดการกับอวิชชา จัดการกับความหลงของตัวเอง ทุกท่านทุกคนต้องพากันมามีสติ มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าให้รู้ชัดเจน หายใจออกให้รู้ชัดเจน ทิ้งอดีตให้เป็นความหลัง ให้เป็นเลขศูนย์ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม ส่วนใหญ่ทุกคนไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะแรงถ่วงของอวิชชา ของโลก เรียกว่ามันดึงดูด เราต้องเข้าใจอย่างนี้ ทุกคนต้องยินดีที่จะแก้ไขใจตัวเอง เพราะการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ดี ต้องเปลี่ยนแปลงจากผู้นำ จากเจ้าอาวาส จากประธานสงฆ์ พระที่มีโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เปรียบเสมือนมีเมีย มีภรรยาแล้ว ถ้ามีโทรทัศน์ก็เท่ากับมีภรรยาหลายคนแล้ว เราต้องกลับมา วัดทุกคนต้องให้เป็นวัด เป็นข้อวัตรปฏิบัติ มีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม ทุกคนอยากไปยินดีมีเซ็กทางความคิด มีเซ็กทางอารมณ์อย่างนั้นมันไม่ดี มันใจอ่อน พ่อแม่ก็ใจอ่อน ตามใจลูก ตามอารมณ์ตัวเอง ประจวบกับตัวเองที่ไม่ได้เป็นคนตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เราต้องกลับมา ไม่อย่างนั้นไม่ได้ เพราะโครงสร้างมันไม่ได้ เพราะเรายังเดินทางผิด ขาดสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม อย่าพากันไปซิกแซก พระเก่าๆ ยิ่งซิกแซกมาก พระใหม่มันมีเชื้อ มันไม่มีภูมิมันเลยต้องซิกแซกตาม ให้เข้าใจ พวกที่ลาสิกขาไปจะได้ของดีๆ จะได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง ความมั่นคงจะเกิดขึ้นแก่เรา แก่ตระกูลของเรา เราจะได้ส่งไม้ผลัดให้ลูกให้หลานในทางที่ดี เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะเราไม่ได้เอาความถูกต้อง เราเอาตามใจ ทุกคนก็เอาตามใจหมด มันก็เป็นประชาธิปไตย ออกกฏหมายเพื่อให้ทำความผิด มันกลายพันธุ์ไปแล้ว เพราะว่าเราไม่ได้พัฒนาสายพันธุ์ เรามาบวช มาปฏิบัติถือว่าเป็นโอกาสดีมาก โอกาสพิเศษ เราจะได้ทำเต็มที่ เวลาเราลาสิกขาไปเราจะได้ไปปฏิบัติตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ในศีล 5 เราอย่าไปใจอ่อน อย่าไปมักง่าย ทุกคนต้องเข้าใจอย่างนี้ เราจะเอาการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารเป็นหลักไม่ได้ เราต้องเอาพระพุทธเจ้า เอาพระธรรม เอาพระอริยสงฆ์ การเปลี่ยนแปลงวัดนี้คือการเปลี่ยนแปลงเจ้าอาวาส เปลี่ยนแปลงพระเก่าๆ พวกนี้มันเป็นโจรใหญ่ เพราะวัดเราหาพระไม่มี มีแต่โจร ต้องรู้จักแก๊งมันมาจากไหน มันมาจากคนอยู่ในเครื่องแบบ เราจะไปหาแก้ไขแต่โยมมันก็ยาก เพราะที่ไหนได้ตัวเป้งๆ มันอยู่ที่วัดเรานี้ วัดเรานี้ถือว่าสุดยอดแล้วในเรื่องความดี แต่มันยังบกพร่อง ยังยินดีในกามอยู่ ต้องเข้ามาหาฐานของพระพุทธเจ้า พระศาสนา คือ การที่มาแก้ไขตัวเอง แก้ไขที่จิตที่ใจ มาแก้ไขที่คำพูด ที่กิริยามารยาท ที่ความคิดความเห็น เพราะเราทุกคนต้องแก้ทั้งภายนอก..และแก้ทั้งภายใน สิ่งที่สำคัญก็คือ มาแก้ที่จิตที่ใจของตัวเอง ปัญหาต่างๆ นั้นน่ะมันเกิดจาก 'ใจ' ของเราเอง เมื่อใจของเรามันไม่มีสติสัมปชัญญะ ใจของเรามันยังไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุแห่งความทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ มันก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับตัวเองและให้กับผู้อื่น พระพุทธเจ้าถึงให้เราทุกๆ คนน่ะพากันมาทำจิตใจให้สงบ ทำจิตใจให้มีสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ เพื่อที่จะได้มาแก้ไขตัวเองให้มันถูกต้อง ปัญหาใหญ่ๆ มันจะได้ไม่มี ปัญหาเล็กๆ มันจะได้ไม่มี ความสุขความสงบมันถึงจะเกิดแก่เราและครอบครัวเรา และในที่ทำการทำงานของเราน่ะ พระพุทธเจ้าท่านเป็นครูผู้สอนของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ท่านได้เมตตาสั่งสอนหนทางที่ประเสริฐที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้กับเราทุกๆ คนว่า สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้นมีอยู่ในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกเหนือไปจากนี้ไม่มี สมณะ แปลว่า ผู้มีจิตใจที่สงบ ความสงบที่เราทุกคนจะหาได้น่ะ ต้องหาที่จิตใจของตัวเราเอง หาที่การกระทำของเราเอง จะหาจากที่อื่นไม่ได้ ถ้าเราไปหาที่อื่น ไปแก้ไขที่อื่นนั้น ไม่สามารถที่จะพบกับความสุขความสงบได้ ถ้าเราวิ่งหาจากภายนอกนั้น.. 'ยิ่งวิ่ง...ก็ยิ่งหนี...' เหมือนกับบุคคลที่วิ่งตามตะครุบเงา วัตถุ ข้าวของ เงินทอง เกียรติยศ สิ่งเหล่านั้นน่ะ ไม่สามารถที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของเราได้ แม้แต่ร่างกายของเรานี้ก็ไม่จึรังยั่งยืน เราเกิดมาจนกระทั่ง ถึงทุกวันนี้น่ะล้วนแต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่ดีที่สุดก็จากเราไป สิ่งที่ไม่ดีที่สุดก็จากเราไป ในอนาคตมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สิ่งที่ดีก็ต้องจากเราไปอย่างนี้แหละ สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องจากเราไปอย่างนี้แหละ... พระพุทธเจ้าท่านถึงพาเรากลับมาหาความสงบ ไม่ให้วิ่งตามความอยาก และความไม่อยาก ผู้ที่ต้องการเข้าถึงพระนิพพานน่ะย่อมทิ้งทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ความอยากมันเล่นงานเรา ความไม่อยากมันก็เล่นงานเราเหมือนกัน ความสุข...ความดับทุกข์...ของคนเราทุกคนนั้นน่ะ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า... อยู่ที่ความสงบ อยู่ที่เรามีสติมีสัมปชัญญะ อยู่ที่จิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวนะ สิ่งที่เป็นอนาคตมันก็เผาเรา ให้ใจของเราไม่สงบ สิ่งที่เป็นอดีตก็เผาใจเรา ให้ใจของเราไม่สงบน่ะ เราต้องมีสติมีสัมปชัญญะมีปัญญา จะได้อบรมบ่มอินทรีย์ไปเรื่อยๆ สติสัมปชัญญะ นั้นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา มารวมกันเป็นหนึ่ง คือ 'ใจ' ของเราเอง การประพฤติการปฏิบัติน่ะ ต้องกลับมาหาตัวเอง กลับมาแก้ที่ตัวเอง ถ้าเราไม่แก้ มันก็จะมีเรื่องมีราวไปอย่างนี้แหละ ร่างกายของเรามันแก่แล้วแต่อินทรีย์บารมีของเรา มันยังไม่แก่ เพราะเราไม่ได้อบรมบ่มอินทรีย์ เรากระทำไปตามความอยาก ตามความคิดของเราจนเคยชิน จนมันหยุดตัวเองไม่ได้ ทั้งๆ ที่รู้ ก็หยุดตัวเองไม่ได้ เพราะเรายังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ ยังไม่ได้ฝืน ยังไม่ได้อด ยังไม่ได้ทน ยังไม่ได้อบรมบ่มอินทรีย์เลย ทำไปตามความอยากความเคยชิน จนมันหยุดไม่เป็น มันวิ่งตระครุบเงาไปเรื่อย ยิ่งวิ่ง...เงาก็ยิ่งวิ่งหนีนะ... เราบริโภคอาหาร พักผ่อน หรือทำอะไรทุกอย่างนั้น จุดมุ่งหมายนั้น ก็ให้ร่างกายของเราไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย ไม่ใช่เพื่อความหลงของเรา พระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ให้เราทานเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เน้นแต่ความอร่อยเป็นหลัก โดยทุกวันนี้...ยิ่งมีการสร้างสรรค์ในเรื่องกิน ท่านให้เรามีสติสัมปชัญญะในเรื่องกินน่ะ เราจะหลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ ต้องมี 'สติสัมปชัญญะ' ต้องให้จิตใจของตัวเองสงบ ให้อดเอาทนเอาถ้าไม่อย่างนั้นน่ะเราก็จะมีปัญหาทั้งทางกายและทางใจ เราทานอาหารนี้ก็เพื่อให้ร่างกายของเรามันสงบน่ะ และก็จิตใจของเรามันจะได้สงบ ถ้าสมมุติว่า...เราเป็นคนรวย เป็นมหาเศรษฐีน่ะ ถ้าใจของเราไม่มีความสงบน่ะ เราจะมีความสุขมั๊ย...? เพราะความสุขความดับทุกข์มันอยู่ที่ใจสงบ ถึงเราจะรวยเราก็ยังตกนรกทั้งเป็น หมายถึงจิตใจของเรามันตกนรก เราทุกคนน่ะไม่ว่าจะนั่งอยู่ในที่นี้ หรืออยู่ในที่อื่นก็ตาม ถ้าใจไม่สงบมันมีความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ก็ถือว่าบุคคลนั้นกำลังตกนรกทั้งเป็นนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้มันเผาเราทั้งเป็นนะ บางทีเราก็มีทรัพย์สมบัติ ข้าวของ เงินทองอะไรก็ไม่บกพร่อง แต่จิตใจของเราก็ไม่สงบน่ะ มันสงบไปไม่ได้สาเหตุที่ไม่สงบน่ะ เพราะเราไม่รู้จักทำจิตใจให้มันสงบ ใจของเรามันไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว มันอยู่กับอนาคตโน้น หรือมันอยู่กับอดีตที่เราทำอะไรผิด ทำอะไรไม่ถูกต้อง ใจของเราเลยไม่สงบ คนเราจะ 'สงบ' ได้... มันต้องมี 'สติสัมปชัญญะ' ต้องใจอยู่กับเนื้อกับตัว ที่เราไม่สงบนั้น หมายถึง เราไม่มีสติสัมปชัญญะเลย เมื่อเราไม่มีสติสัมปชัญญะ ใจของเราก็ไม่สงบ เพราะสาเหตุมาจากเรากำลังถูกไฟนรก คือ ความอยากความต้องการ ที่ต้องการจะให้มันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันกำลังเผาจิตใจของเรา เรายังไม่ตายก็ถูกไฟนรก มันเผาเสียแล้วนะ การประพฤติปฏิบัติต้องเน้นมาที่ตัวเรา เน้นมาที่จิตที่ใจของเรา มันถึงจะได้อบรมบ่มอินทรีย์ สร้างอริยมรรคให้มันสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกๆ คน เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ ตั้งแต่เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ ที่เรายังไม่ลาละสังขารนี้แหละ ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหมือนกับกองเพลิงกำลังไหม้เราอยู่ เผาเราอยู่ เราอย่าไปมองไกลเกิน มองเรื่องอนาคตน่ะ ปัจจุบันนี้แหละเราต้องละความอยากความไม่อยากที่มันกำลังเผาเราอยู่ ทุกท่านทุกคนอย่าไปสนใจเรื่องชาตินี้ชาติหน้า สวรรค์นรกมีจริงมั้ย หรือว่าตายแล้วก็แล้วไป ให้เราเข้าใจเรื่องนรก เรื่องสวรรค์ ถ้าเราคิดว่าชาติหน้ามีจริงมั้ย...? นรกมีจริงมั้ย...? สวรรค์มีจริงมั้ย...? ก็ชื่อว่าเราไม่รู้จักนรกที่แท้จริงที่มันกำลังเผาจิตเผาใจของเราอยู่ เดี๋ยวนี้เขากำลังเผาเราอยู่ เรากำลังตกนรกอยู่ เค้าเรียกว่า 'นรกอยู่ที่ใจ' เป็นนรกหลุมเล็กหลุมใหญ่ที่เค้าจัดการเราในชีวิตประจำวัน ให้เราทุกคนเข้าใจเรื่องนรกนะ เราจะได้อบรมบ่มอินทรีย์แก้จิตแก้ใจของเรา พระพุทธเจ้าท่านมีเมตตาบอกเราสอนเรา ให้พากันมาแก้ที่จิตที่ใจ แก้ที่ความคิดความเห็น แก้ที่การกระทำ มาหยุดตัวเอง มาปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมะ ทุกอย่างนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เราทุกๆ คนน่ะ มันมีความเห็นแก่ตัวมาก มีความเห็นแก่ตัว แต่ทุกคนไม่ได้ดูตัวเอง ว่าตัวเองนี้มันมี ความอยากจนน่ารังเกียจ 'มันมีความอยาก..' อยากร่ำอยากรวย อยากเป็นมหาเศรษฐี อยากให้มีสุขภาพดี อยากให้ลูกให้หลานดีหมด ลูกน้องพ้องบริวารก็ดีหมดน่ะ 'ความอยาก' อย่างนี้แหละเค้าเรียกว่า มันเป็นอาการของเปรตที่มันอยู่ในจิตใจของเรา พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา 'ไม่ให้เราอยาก' ให้เรามี "สติสัมปชัญญะ' แล้วสร้างเหตุสร้างปัจจัยด้วยการเป็นผู้เสียสละ เพราะความร่ำความรวย ลาภ ยศ สรรเสริญนั้น อยู่ที่เราเป็น 'ผู้เสียสละ' ท่านให้เราเป็นคนเสียสละ ให้เราเป็นผู้ให้ทาน ให้เราเป็นผู้ให้ เพราะเรานี้เห็นแก่ตัวมาก เป็นผู้เอาจากพ่อจากแม่ จากเพื่อนจากฝูง จากสังคม ถือว่าเรานี้เป็นผู้ทำอาชีพบนความทุกข์ของคนอื่นอยู่นะ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนเราให้มาเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ ให้ทุกท่านทุกคนกลับมามองตัวเองว่า "เดี๋ยวนี้เราให้อะไรใครบ้างหรือยัง...?" เราให้ความสุขความดับทุกข์ แก่คุณพ่อคุณแม่ แก่คนในครอบครัวแล้วหรือยัง...? ถ้าเราเป็นผู้เอาเหมือนแต่ก่อน ตัวของเราก็ย่อมมีความทุกข์แน่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราเค้าก็ได้รับความทุกข์จากเรา คนเรานี้มันไม่เสียสละเลยนะ... ที่เค้าให้เราเรียนหนังสือน่ะ ตั้งแต่อนุบาลจนจบดอกเตอร์ก็เพื่อจะเป็นคนดีเป็นคนเสียสละ เป็นผู้ให้ เป็นคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ เค้าเอาเหยื่อมาล่อเราให้เราทำความดี แม้แต่พระภิกษุสามเณรเราเค้าก็เอาเหยื่อมาให้เพื่อทำความดี ให้นักธรรมตรี โท เอก เปรียญธรรม...จนถึงดอกเตอร์น่ะ ให้ทุกท่านทุกคนให้รู้ความหมายนะ "ความเป็นจริงแล้ว เค้าจะให้เราเป็นคนดี เป็นคนเสียสละ ถ้าเราไม่เสียสละไม่ได้นะ" ในโลกในสังคมนี้ หา 'คนดี' เพื่อทำพันธุ์หาลำบาก หา 'คนดี' เป็นตัวอย่างหาลำบากน่ะ เมื่อมันหาไม่ได้... หาลำบากเราก็ไม่ต้องไปหาน่ะ พระพุทธเจ้าท่านให้เรามาหาที่ตัวเรานี้แหละ เพราะว่าสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น อยู่ในตัวเรานี้เอง ถ้าเราคิดดีเราปรารถนาแต่สิ่งที่ดี เราพูดดีเราทำดี เรามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์... ตั้งมั่นในความดีน่ะ ชีวิตของเรานี้..ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทุกๆ อย่าง มันจะดำเนินไปในขบวนการของเค้าเอง เพราะสิ่งนี้มี...สิ่งนั้นก็ต้องมี..." การประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา มันเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน รอบคอบ สุขุม ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราประมาท ไม่ว่าสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างสำคัญหมด ไม่ให้เราทิ้งขั้นตอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำไป มันเป็นกรรม มันเป็นการบันทึกกรรมไปในตัวทั้งหมด คนอื่นไม่รู้แต่เราก็พอรู้บ้าง แต่ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์น่ะเราจะรู้ละเอียดมากขึ้น ถ้าจิตของเรามันส่งออกไปข้างนอก ทำให้จิตของเรามันหยาบ มันสกปรก มันเร่าร้อน มันคิดไม่ออก คิดไม่เห็น เราเป็นคนเก่งอยู่ก็จริง แต่มันเก่งอยู่แต่เรื่องภายนอก... เรื่องทำมาหากินน่ะ มันมีความชำนาญเฉพาะทาง แต่เรายังไม่เก่งในเรื่องจิตเรื่องใจ เรื่องอบรมบ่มอินทรีย์ เรื่องทำใจให้มันสงบ แรงเหวี่ยงของกิเลสแต่ละคนมันมีมาก ถ้าไม่ได้อะไรตามใจน่ะมันเครียด มันอึดอัดขัดเคือง มันจะตายเอาให้ได้ เค้าเรียกว่า 'กรรมเก่ามันมาแรง' มันเหวี่ยงเหมือนกับน้ำมันไหลจากภูเขาเก้าสิบองศาน่ะ กำลังจิตกำลังใจมันไม่พอมันเอาไม่อยู่นะ เราทุกท่านทุกคนถึงมาตั้งมั่นใน 'พระรัตนตรัย' คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ที่ท่านปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า จนได้สืบทอดต่อยอดพระศาสนาถึงเราทุกวันนี้ เรานี้แหละคนหนึ่ง...ประพฤติปฏิบัติได้น่ะ คำว่า 'พระ' นี้ไม่ได้หมายถึงร่างกายนะ คำว่า 'พระ' นี้หมายถึงจิตใจ ถ้า 'ใจ' ใครสงบ 'ใจ' ใครตั้งอยู่ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เอาธรรมวินัยเป็นใหญ่ ไม่ลูบคลำในศีลข้อวัตรปฏิบัติ 'ใจ' เราก็เป็น 'พระ' เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ดีแล้ว คนเราน่ะ...มันเห็นแก่ตัวนะ เวลารักษาศีลมากๆ มันไม่อยากรักษานะ แต่เวลาเงินน่ะ ถ้าได้น้อยมันไม่ชอบ นี้แสดงว่าจิตใจเรามีปัญหา หัวใจเรามีปัญหา แสดงว่าเรายังมีความเห็นผิดเข้าใจผิด ชื่อว่า...เรายังไม่ชอบพระพุทธเจ้า ไม่ชอบพระธรรม ไม่ชอบพระอริยสงฆ์ แต่เราพากันคิดอยากจะไปพระนิพพานน่ะ มันก็เป็นไปไม่ได้ 'ศีล' นั้นน่ะ คือ ตัวพระพุทธเจ้า 'ธรรมะ' นั้นน่ะ คือ ตัวพระพุทธเจ้า เมื่อปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนนั้นน่ะ เราถึงได้เป็น 'พระอริยสงฆ์' ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ถ้าใครประพฤติปฏิบัติ เขาผู้นั้นก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันหมดทุกคน ไม่มีพรหมแดน ไม่เลือกชาติศาสนา ไม่ว่าจะเป็นใคร หัวใจก็เป็น 'พระ' หมด อย่างอาตมานี้ หรือว่าพระสงฆ์ที่นั่งอยู่นี้ หรือว่าพระสงฆ์ที่อยู่ที่อื่น พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า...ยังเป็น 'สมมุติสงฆ์' ยังไม่ใช่อริยสงฆ์นะ 'อริยสงฆ์' นั้นคือ หัวใจของทุกๆ คน ที่เอาศีลเป็นที่ตั้ง เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง" การประพฤติการปฏิบัติธรรมน่ะ พระพุทธเจ้าท่านให้ทุกคนเน้นมาที่จิตที่ใจ เพราะความสุข ความดับทุกข์ มันไม่ใช่เรื่องของกาย มันเป็นเรื่องของใจ ร่างกายของเรามันก็เหมือนรถยนต์คันหนึ่งนี้แหละ เราใช้งานมันมากมันก็สึกหรอ มันก็ชำรุดทรุดโทรมไปในที่สุด แต่จิตใจนี้แหละที่จะดับทุกข์ ที่จะเข้าถึงความสุข ที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เราทุกท่านทุกคนนี้แหละ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นผู้ประเสริฐน่ะ สามารถกระทำแต่สิ่งที่ดีๆ มนุษย์ แปลว่า ผู้ที่จิตใจสูง ทำแต่สิ่งที่ดี ถ้าเป็นคนน่ะ ทำทั้งดีทั้งชั่ว เราทุกท่านทุกคนพระพุทธเจ้าถึงว่าต้องสมาทานเอาความดี ถ้าเราไม่สมาทานนั้นน่ะมันไม่ได้ ขนาดสมาทานอยู่มันก็ยังจะไม่ได้ ต้องอาศัยความอดความทน ความเหน็ด ความเหนื่อย ความยากลำบาก เพราะเราจะไม่เอาความดับทุกข์ทางกาย เราจะมาอบรมบ่มอินทรีย์ทางจิตทางใจ คนเราส่วนใหญ่น่ะมันเป็น 'แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ' พากันดับทุกข์ทางกาย หิวก็บริโภค เหนื่อยก็พักผ่อน ตกอยู่ในอำนาจของความอยาก มันไม่ได้พัฒนาจิต ไม่ได้พัฒนาใจ เราอยู่ในบ้านในสังคมน่ะ...มาวัดทุกครั้ง...ท่านถึงให้เรามาสมาทานเอาศีล ๕ ศีล ๘ มาบวช...มาสมาทานเอาศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ สมาทานแล้ว...ก็ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ปรับทั้งกาย วาจา ใจ กิริยาต่างๆ ปรับเข้าหาธรรมะด้วยการสมาทาน ด้วยความตั้งใจ ทุกท่านทุกคนกลัวความดี จะรักษาศีลไม่กี่ข้อนี้ก็กลัว 'หัวใจกลัว' อย่างนี้เค้าเรียกว่า 'หัวใจอสุรกาย' ท่านว่า... "คนเราน่ะถ้ามันจะตายก็ไม่เป็นไร ตายเพราะความดี ตายเพราะเราได้สร้างบารมีเราได้เสียสละ" เราอนุโลมตามกิเลส ความอยาก ความต้องการนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่จบไม่สิ้น ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยนะ ทุกวันนี้น่ะนรกหลุมเล็กหลุมใหญ่มันยิ่งผุดขึ้นมาเยอะ หมายถึง พวกเราพากันบริโภควัตถุ หลงวัตถุในชีวิตประจำวันความเอร็ดอร่อยในการรับประทาน ความเอร็ดอร่อยในการฟัง ความเอร็ดอร่อยในการเที่ยว พากันลุ่มหลงอยู่ตั้งแต่อารมณ์ของสวรรค์นะ หาเงินหาสตางค์พลัดพรากจากสถานบ้านเกิดเมืองนอน หรืออยู่ในท้องถิ่นก็ดี ก็เพื่อที่จะมาบริโภควัตถุ บริโภครูป เสียง กลิ่น รสน่ะ เราบริโภคอยู่อย่างนี้ เราพากันหลงอยู่อย่างนี้ มันก็เปรียบเสมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ ร่างกายของเรามันจะไม่ทันกาลนะ มันจะแก่เฒ่าทำอะไรก็ไม่ได้ล่ะทีนี้ เมื่อเราแก่หน่อยก็ไปคิดว่าสุขภาพไม่ดี ทุกคนน่ะมันก็มีภาระเยอะ ภาระเรื่องคุณพ่อคุณแม่ เรื่องลูกหลาน เรื่องคนงานหรือเจ้านาย แต่การประพฤติการปฏิบัติศีล ปฏิบัติธรรมน่ะ มันก็สามารถแทรกเข้าไปในการประพฤติการปฏิบัติ ในหน้าที่การงานได้ทั้งหมดทุกอย่าง ไม่มีเลยที่ปฏิบัติไม่ได้ ถ้าเรารู้เรื่อง ถ้าเราเข้าใจ ถ้าเราไปรอให้หมดธุระ รอไม่มีธุระนั้นน่ะก็คือ "เท่ากับเรารอให้เราหมดลมหายใจ" การงานทุกอย่าง คือ การเสียสละ คือ การเจริญสติสัมปชัญญะ เราทำงานทุกวันนี้...เราไม่ได้คิดเรื่องเสียสละนะ เราคิดแต่เรื่องรวย...กับเรื่องเงิน เราทำงานเพื่อจะเอาเงินเอาสตางค์ เพื่อที่จะรวย ถ้าเราคิดว่าเพื่อเสียสละ เราก็มีความสุขน่ะ การงานนั้นมันก็ยิ่งทำให้เรารวยพร้อมทั้งเรารวยอริยทรัพย์ ใจของเราก็ไม่ถูกกิเลสมันเผาเป็นทุกข์ประจำวันมันก็มีแต่ความสุข 'ความสุข' ให้ทุกคนเข้าใจนะ คือ ใจของเราสงบ ใจของเรามีปัญญา ไม่ถูก 'กิเลส' มันครอบงำ ความสุข ความดับทุกข์ มันต้องมีกับเราตลอดเวลานะ ไม่ว่าเราจะทำงาน หรือว่าไม่ได้ทำงาน ความสุขความสงบนั้นน่ะ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คนเราทุกคนให้พากันรู้นะ อย่าพากันอยาก อย่าพากันต้องการ ถ้าเราเสียสละนะ ใจของเราจะเข้าถึงความสุขความดับทุกข์น่ะ "ใจของเราจะไม่ถูกกิเลสมันเผา เราจะเป็นคนเผากิเลส" ถ้าใจของเราสงบ ใจของเราเย็นอย่างนี้ แสดงถึงว่าเรามี 'สมาธิ' ในชีวิตประจำวัน คนเรามันต้องมีความสุขความดับทุกข์น่ะ เค้าเรียกว่า มีปิติ มีสุข มีเอกัคคตา ทุกเมื่อทุกเวลาในชีวิตประจำวันถึงจะถูกต้อง เราอย่าเป็นคนตื่นข่าว...ยุ่งแต่กับเรื่องภายนอก... เรื่องภายนอกนั้นน่ะ หูเราไม่หนวก ตาเราไม่บอด เราก็รู้เราก็เห็น แต่เห็นแล้วก็พากันปล่อยกันวาง เราอย่าเอาเรื่องภายนอกมาวิตกวิจารณ์ จิตใจของเราจะเป็นคนพาล ยิ่งเราเป็นคนฉลาดเป็นคนเก่งน่ะมันก็แบกเอาดีเอาชั่วของคนอื่น ท่านว่า... เราทำอย่างนั้นไม่ถูกนะ เพราะชีวิตของเราขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "พุทโธ' ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" โลกเค้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ "เราเกิดขึ้น โลกเค้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราตั้งอยู่ โลกเค้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ เราตายไป เค้าก็เป็นอยู่อย่างนี้" เราถือว่าเราเกิดมาเพื่อมามี... 'พุทโธ' มีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ไม่มีความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง เราเป็นคนเป็นมนุษย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งน่ะ เราต้องไม่มีความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง ในตัวเราต้องมีความสุข มีความดับทุกข์ ต้องมีพระนิพพาน ครอบครัวของเรา กุลบุตรลูกหลานของเรา ต้องมีความสุข มีความอบอุ่น เพราะเราทุกๆ คนนี้สำคัญอยู่ที่ตัวเราเอง 'กรรมใครใครก่อน่ะ' เราทำดี เราปฏิบัติดี ชีวิตของเราก็พร้อมด้วยโภคทรัพย์ พร้อมด้วยอริยทรัพย์ ต้องเน้นมาหาตัวเอง เพราะทุกคนสำคัญอยู่ที่ใจน่ะ มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นประธาน โลกนี้สำคัญอยู่ที่ 'ใจสงบ' เรามีความสุข มีความสงบ เราก็ไม่ติดในความสงบ เรามีสุข...เราก็ไม่ติดในความสุข เราสบาย...ก็ไม่ได้ติดในความสบาย ถ้าเราติดเราก็ไปไม่ได้ หมายถึง 'จิตใจ' เราไปไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทุกขณะของจิต ถ้าติดก็หมายถึงเราหลงเรามีอวิชชา 'อวิชชา' ก็หมายถึง ความมืดบอด เราฝึกไป ปฏิบัติไป อินทรีย์บารมีของเราก็จะค่อยๆ แก่กล้า เมื่อทุกท่านทุกคนปฏิบัติแล้ว ก็จะรู้ได้เฉพาะตน เราไม่ต้องไปถามใครว่า 'เราหมดกิเลสหรือยัง' ทุกท่านทุกคนก็รู้ด้วยตัวเองน่ะ การประพฤติการปฏิบัตินี้ ไม่มีใครแต่งตั้งกันได้ ทุกท่านทุกคนจะรู้ได้ด้วยตนเอง ให้ทุกท่านทุกคน... ให้เข้าใจเรื่อง 'ปฏิบัติ' เหมือนพระพุทธเจ้าสอนนี้ เราจะได้เน้นเข้าหาชีวิตจิตใจของตัวเอง จะได้เข้าใจในเรื่องพระศาสนาที่แท้จริง จะได้ไม่พากันหลง จะได้พากันมาแก้ มาปฏิบัติในปฏิปทา เดินตามรอยของพระพุทธเจ้า ให้พากันมาเน้นเรื่อง... 'ความเข้มแข็งทางจิตใจ' ทุกท่านทุกคนส่วนใหญ่ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ ถือว่าจิตใจยังไม่เข้มแข็งนะ 'ถือว่าจิตใจยังเด็กๆ' จิตใจยังมีความท้อแท้ ยังมีความหวาดหวั่น ยังห่วงหาอาวรณ์อยู่ พระพุทธเจ้าท่านถึงพูดเรื่องการตัดสังโยชน์ ๓ ถึงจะเข้าถึงคุณธรรมของพระโสดาบัน ตัดสังโยชน์ ๕ เป็นคุณธรรมของพระอนาคามี ตัดสังโยชน์ ๑๐ น่ะเป็นคุณธรรมของพระอรหันต์ "ถ้าเราไม่แข็ง ไม่คมจริง ไม่หนักแน่นจริงน่ะ เราไม่สามารถที่จะตัดได้ ละได้" อริยมรรคมีองค์ ๘ ถึงไปเน้น 'มรรคสุดท้าย' คือ สัมมาสมาธิ... สัมมาสมาธินี้ คือ การอบรมบ่มอินทรีย์ มีทั้งขันติ มีทั้งความเพียร มีทั้งอดทน เพื่ออบรมบ่มอินทรีย์ ทิ้งทางจิตใจหมด เน้นคุณธรรมไม่เอาวัตถุเป็นที่ตั้ง เรียกว่า อามิสต่างๆ นี้ไม่สามารถครอบงำหัวใจเราได้ ต้องหนักแน่น ต้องเข้มแข็ง ต้องตัด ต้องละ ต้องทิ้ง เราจะได้เดินตามรอยของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะว่า... การเวียนว่ายตายเกิดนี้ ถือว่าเป็นภาระหนักเป็นภาระใหญ่ ถึงจะเอร็ดอร่อยถึงจะสะดวกสบาย ที่มันเป็นรางวัลเพียงเล็กน้อย ที่มันทำให้เราท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ เราทุกคนก็มีความจำเป็นที่จะต้องตัด ทุกท่านทุกคนล้วนได้เกิดมาคนเดียว เวลาจากโลกนี้ ไปก็ไปคนเดียวน่ะ ถือโอกาสถือเวลาว่าชีวิตนี้มาสร้างความดี มาสร้างบารมี มาสร้างคุณธรรม

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service