แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันจันทร์ที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๔ ถอนตะปูตรึงใจ ที่ทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เราต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติถูกต้อง สัมมาสมาธิ คนเรามันจะใจอ่อนไม่ได้ เพราะใจของทุกคนยังขอโอกาสไปเรื่อยๆ ความใจอ่อนทำให้เราตกอับ ทำให้เราตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ทำให้ล่าช้า ทุกคนรู้เเก่ใจทุกคนว่า รู้ผิดรู้ถูกรู้ดีรู้ชั่ว เเต่มันใจอ่อน ถ้ารู้ว่าอันนี้ไม่ดี ยังปล่อยให้ตัวเองคิด อย่างนี้ถือว่ายังไม่รู้จักทุกข์ที่เเท้จริง นี้เเหละเรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิด
จุดเปลี่ยนของเราทุกๆ คน เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ถึงไปจบลงที่ สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น เราทุกคนต้องมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าให้มันรู้ชัดเจน หายใจออกก็ให้มันรู้ชัดเจน ให้มันรู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก ต้องเสียสละ เพราะเราเกิดมาเพื่อมาเสียสละ พระพุทธเจ้าคือผู้ที่เสียสละ พระอรหันต์ คือ ผู้ที่ตามพระพุทธเจ้า เสียสละ ท่านถึงได้เป็นพระอรหันต์สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม ประการเเรก ต้องรู้ลมเข้า รู้ลมออกชัดเจน เพราะการประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อปัจจุบันมันติดกระดุมผิด มันก็ผิดไปหมด เพราะว่ามันเป็นทางหลายเเพร่ง เราเห็นวัดต่างๆ กลายพันธุ์ จากความยุติธรรมจนไม่มีความยุติธรรม
เพราะใจของเรา ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ทุกคนมันประมาทเพราะสิ่งเหล่านี้ เพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านี้ มันถึงได้ขอโอกาส ถึงได้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่จบไม่สิ้น ทุกคนมันพลาดโอกาส พลาดเวลาในการประพฤติปฏิบัติ เพราะเหตุที่เรายังไม่รู้ความทุกข์ที่เเท้จริง ยังไม่รู้จักการเวียนว่ายตายเกิดที่เเท้จริง เเทนที่เราจะได้พิจารณาไตรลักษณ์ เรายังกลับไปยินดีไปชอบไปหลง ไม่เป็นที่พอใจก็เป็นปฏิฆะ อันนี้ถือว่าเราไม่ได้ปฏิบัติธรรม เราอย่าไปใจอ่อน เพราะการข้ามวัฏฏะสงสาร ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ หลายอาทิตย์ อย่างน้อยสามอาทิตย์เหมือนไก่ฟักไข่ ถึงออกลูกมาเป็นตัวไก่ การปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ติดต่อต่อเนื่อง เราอย่าไปพากันกระอักเลือด
ให้พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา รู้จักพระศาสนา ศาสนาพุทธ นี้เป็นศาสนา รู้เเจ้งโลกตามความเป็นจริง เเละเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ที่เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา พระเก่า พระใหม่ ผู้มาบวชต้องพากันเข้าใจ เราต้องเอาพระธรรมเอาพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เพื่อเราจะได้มาดำเนินสู่อริยมรรคมีองค์ 8 ทุกคนอย่าเอาตัวตนเป็นหลัก อย่าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง พระเก่าก็อย่าพากันซิกเเซก พระใหม่ต้องพากันรู้ไว้ว่า เราจะซิกเเซกไม่ได้ ศีลทุกข้อ พระวินัยทุกข้อ ข้อวัตรกิจวัตรเราต้องเอามาประพฤติมาปฏิบัติ เพื่อเราจะได้เข้าสู่กระบวนการ
ที่ผ่านๆ มา พระเก่า พากันซิกเเซก พระใหม่ก็พากันปฏิบัติตาม ทำให้การมาบวช 15 วัน หรือ 3 อาทิตย์ 1เดือน 1 พรรษาอย่างนี้ มันไม่ได้ผล เพราะพระพากันซิกเเซก มีความมายาสาไถย ตามปกติน้ำมันต้องไหลสู่ที่ต่ำ ถ้าเราไม่มีเขื่อน ก็เก็บน้ำไว้ไม่ได้ ที่พวกท่านพากันมาบวช 7 วัน 15 วัน หรือ 3 เดือน หรือ ท่านบวชตลอดชีวิต ทุกคนจะพากันซิกเเซกไม่ได้ อย่าปล่อยโอกาส ปล่อยเวลาให้เราเสียหาย เพราะความใจอ่อน ปัจจุบันเนี่ยแหละ เราไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ปล่อยให้ตัวเองยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสลาภยศสรรเสริญ นี้ถือว่า ไม่มีการภาวนา วิปัสสนาเลย ท่านไม่ได้ เจริญสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมอะไร ไม่ตรงตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อรู้เกิดขึ้น เราไม่ได้พิจารณาว่ารู้ไม่เที่ยงเลย อะไรเลย เพราะ ไม่ภาวนาสู่พระไตรลักษณ์
นี้คือการปฏิบัติของเรา ศีลต้องมารวมตรงนี้ สมาธิก็ต้องมารวมตรงนี้ ปัญญาก็ต้องมารวมตรงนี้ เอาศีลสมาธิปัญญามารวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อจัดการ เพื่อปฏิบัติธรรม ถ้าอย่างนั้น เรียกว่า เราพากันมาบวชเเต่ร่างกาย เเต่จิตใจเราไม่ได้บวช เราไม่ได้ปฏิบัติ เราบวชเเล้วก็ไม่ได้ผลนะ เพราะว่าไม่มีการปฏิบัติเลย ค่อยๆ ตกต่ำไปเรื่อย ไปเรื่อย เราว่ายน้ำอย่างนี้ ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ น้ำก็พัดเราไปเรื่อย ไม่รู้เราตกไปตามน้ำหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นกิโล เพราะเรามัวเเต่เพลิดเพลินกับสายน้ำ เราก็ต้องประพฤติปฏิบัติ ต้องดูตัวอย่างเเบบอย่าง เมื่อถ้าปล่อยให้ตัวเองคิด เราก็ไม่ได้มีการบวช ไม่มีการอบรมบ่มอินทรีย์ เราก็มี เซ็กซ์กับความคิด มีเซ็กซ์ทางอารมณ์
ส่วนใหญ่เมืองไทยหรือหลายประเทศ เสียเพราะผู้ที่มาบวชไม่ได้เอามรรคผลนิพพาน ที่มาเป็นเเก็งค์ประจำวัดทุกวัดในเมืองไทย พวกที่บวชนาน ที่ไม่ได้เอามรรคผลนิพพาน เป็นนักปกครอง วัดเเต่ละวัดมันถึงเเก้ปัญหาไม่ได้ เพราะว่าเป็นเเก็งค์ใหญ่ เป็นโจรใหญ่ วัดใหญ่ๆ ในจังหวัด ในอำเภอ ในกรุงเทพ มันเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติ ของศาสนา พระมหากษัตริย์ บรรพบุรุพที่เราทำมาดีๆ เราตามใจตามอารมณ์ตัวเอง เราไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ ทำลายความมั่นคงของชาติ ของศาสนา ของมหากษัตริย์ อันนี้ ไม่ถูก ถ้าเราปล่อยโอกาสปล่อยเวลาผ่านไปอย่างนั้นไม่ได้
บางคนตั้งใจเพื่อจะเอามรรคผลนิพพาน เพราะความใจอ่อน มาเกี่ยวข้องกับพวกคนพาล พวกไม่เอามรรคผลนิพพาน ก็เลยกลายพันธุ์ ที่เค้านำพระธรรมเผยเเพร่ไปทางยุโรป ก็เอาเป็นบางส่วน บางส่วนไม่เอา เพราะว่า ไปใจอ่อน เพราะเอาใจหมู่เพื่อน เอาใจพวกคนรวย พวกคนมีสตางค์ พระกรรมฐาน ทุกสายเสียหาย ล้มละลาย เพราะพระผู้ใหญ่ที่ฝึกไป นึกว่าเยี่ยมยอดเเล้ว มันไม่เเข็งเเรง ไม่เเข็งเเกร่ง เพราะมันยังเป็นโลกียะอยู่ยังเสื่อมอยู่ มันทำให้มรรคผลนิพพานหายไป ไปฝึกไปอะไรก็ไม่ได้ เพราะผู้ประพฤติปฏิบัติจะพากันเเต่ไปเเก้คนอื่น นึกว่าจะค่อยๆ ประคับประคองไป ไปโปรดเค้า สุดท้ายเค้าก็โปรดเราทุกคน ที่ตั้งใจเอาพระนิพพาน สุดท้ายได้เป็นทิด เป็นหนาน เป็นหลวง
เราทุกคนต้องปรับใจเข้าหาข้อวัตรปฏิบัติ อย่าพากันมาซิกเเซกไป ซิกเเซกมา ต้องปรับตัวเองเข้าหาข้อวัตรกิจวัตรเข้าหาศีลเน้นที่ปัจจุบันให้มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ เราทุกคนยังไม่เข้าใจเรื่องศาสนา เอาไอ้คนไม่รู้ ดึงไปเรื่อย เราต้องถือหลักพระพุทธเจ้า เอาพระไตรปิฏกเป็นหลัก อย่าไปตามนิติบุคลไป เพราะพวกนี้มันซิกเเซกเก่ง
เพราะความถูกต้องไม่มีซิกเเซก เราอย่าไปใจอ่อนซิกเเซกไป ซิกเเซกมา เราต้องรู้จักว่าอันนี้นะโจร ที่ซิกเเซกไปซิกเเซกมา มาบวชเเล้วก็ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ไม่ได้ปฏิบัติ อย่างนี้ วัดใหญ่ๆ เป็นผู้นำของศาสนามันถึงมีเเก็งค์กัน ไม่ยอมปฏิบัติ มีแต่ซิกเเซกไป ซิกเเซกมา โอ้... มีโทรทัศน์เกือบทุกกุฏิเลย เดี๋ยวซิกเเซกไปซิกเเซกมากลัวอดกลัวตาย เก็บอาหาร เป็นสันนิธิ เพราะความใจอ่อน กลายเป็นไม่รู้วัฏฏะสงสาร ไม่รู้อริยสัจ 4
พวกที่มาประพฤติปฏิบัติเวลาสึกเเล้วก็ต้องเอาข้อวัตรกิจวัตรปฏิบัติ เช่น ศีล 5 ปิดอบายมุขอบายภูมิ ต้องอย่าไปใจอ่อน ถ้าอย่างนั้นไม่เหลืออะไร เพราะความใจอ่อน กลัวอะไร ใจอ่อนมันซิกเเซกไป ซิกเเซกมา มันจะซิกเเซกไปไหนก็ไปไม่รอดหรอก ไม่รอดจากความเเก่ความเจ็บความตาย มันต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ
พระบวชใหม่ หรือว่าพระบวชเก่าพากันเข้าใจ เราจะได้ทำให้เค้าเข้าใจ ถ้าเค้าไม่เข้าใจ เค้าก็ไม่รู้ว่าจะบวชมาทำไม เราเป็นประชากรของประเทศไทย เราก็มีการเรียนการศึกษาจบปริญญา ก่อนจะทำงานก็พากันมาบวช เราก็ให้พากันเข้าใจ เพราะเรามีโอกาสมีเวลา เรามาฝึกพิเศษ เรามาฝึกมาปฏิบัติ ถึงระยะสั้นก็ เราปฏิบัติให้เต็มที่เต็มร้อย ผู้ที่บวชตลอดชีวิต ก็ต้องเอามรรคผลนิพพาน ถ้าเราไม่เอามรรคผลนิพพาน เราจะเป็นพื้นเป็นฐานให้ผู้ที่เข้ามาบวชได้อย่างไร เราต้องบวชทั้งกาย บวชทั้งใจ ถ้าไม่อย่างนั้นเราบวชไม่ปฏิบัติ เราก็เอาเปรียบประชาชน เพราะประชาชนเค้าต้องให้ข้าว ให้อาหาร ให้ที่อยู่ที่อาศัย เค้าต้องทำบุญตักบาตร อย่างนี้มัน เราก็ไม่ได้เป็นพระธรรม ไม่ได้เป็นวินัย เราก็เป็นกาฝาก หรือว่าเป็นโจรในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าใครจะหัวดี หรือไม่หัวดี ก็ปฏิบัติได้เข้าถึงพระนิพพานเหมือนกันหมดทุกคน ขอให้เป็นผู้ที่เอาธรรมเอาพระวินัย ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า
เรามาบวช เราต้องมาหยุดหมด เพราะทางส่วนราชการ อย่างนี้เค้าก็ให้เราหยุดหมดแล้ว สายหลวงปู่มั่นนี้ โดยเฉพาะหลวงปู่มั่นนี่พาลูกศิษย์ลูกหา เอาตามพระวินัย หลวงปู่ชาพระวินัยทุกข้อนี้ปฏิบัติหมด ที่ได้เรียนได้ศึกษาได้เข้าใจ มหาเปรียญธรรมก็ยังไม่นึกไม่ฝันว่า จะมีผู้ประพฤติปฏิบัติลงรายละเอียดจากจิตจากใจอย่างนี้ เรามาบวชเราต้องทวนกระแส ตื่นแต่เช้าอะไร ไม่ได้สู้กับใครหรอกสู้กับตัวเอง เราอย่าใจอ่อน เรามาบวชอย่างนี้กายเรามันบวช ใจเราต้องบวชด้วย ท่องพุทโธ หรือว่าเจริญอานาปานสติ ถ้าอันไหนคิดไม่ดีก็อย่าไปคิด ถ้าอานาปานสติแล้ว มันยังไม่หยุด ก็ต้องกลั้นลมหายใจ คนเรานะ สิ่งที่แก้ไขได้ คือลมหายใจนี้แหละ การบวชของเรามันถืงจะเป็นการบวชที่แท้จริง ถ้าไม่อย่างนี้ประเทศไทยเรานี่แย่เลย หรือว่าทุกประเทศ เหมือนโควิดนี้มันวิ่งไปหากันทุกๆ ประเทศ ไม่มีประเทศไหนไม่ยกเว้น ถ้าเราทำดี มันก็จะส่งความดีไปหากันทุกๆ ประเทศ
เราบวชมาแล้ว เรามาถือพระธรรม ถือพระวินัย ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า นิสัยของตัวเองละให้หมด ทิ้งให้หมด นิสัยของตัวเองคือความขี้เกียจขี้คร้าน ติดสุขติดสบาย ชอบกิน ชอบเล่น ชอบเที่ยว กินเหล้า เจ้าชู้ เล่นการพนัน ใช้เงินใช้สตางค์ฟุ่มเฟือยไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักวางแผนเป็นคนไม่เสียสละ ไม่ขยัน รับผิดชอบ วันหนึ่ง ๆ จิตใจหมกมุ่นอยู่ในกาม ในบันเทิง ในปฏิฆะ ในพยาบาท เอาแต่เล่นไลน์โทรศัพท์ เล่นอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค เราบวชมาแล้ว สิ่งเหล่านี้เราต้องหยุดให้หมด เพื่อมาถือพระธรรม พระวินัยของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าถือนิสัยของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราถือนิสัยของตัวเอง ให้ถือพระธรรม ถือพระวินัย...กิจวัตร ข้อวัตรต่างๆ นั้นเป็นธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
ให้ทุกคนน่ะมีความสุขในการบวช มีความสุขในการปฏิบัติธรรมเพราะว่าพระธรรม พระวินัยนั้นคือเหตุคือปัจจัยที่จะให้เราได้สร้างบารมี สร้างความดี สร้างคุณธรรม เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราทุกๆ คนน่ะเพียงได้ยินชื่อของพระพุทธเจ้าก็ได้บุญได้กุศลมากแล้ว ถ้าเราได้ประพฤติได้ปฏิบัติตามย่อมมีบุญใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ทุกๆ คนนั้นทำตามอารมณ์เค้าเรียกว่าเราทุก ๆ คนเป็นคนเจ้าอารมณ์ การมาหยุดตัวเองมันถึงเป็นปัญหาใหญ่ เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้องว่าการประพฤติการปฏิบัติอย่างนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงความสุขความดับทุกข์ได้ ที่ทุกคนเวียนว่ายตายเกิดแล้วก็มีปัญหา มีหนี้ มีสินพะรุงพะรังดึงหน้าปะจมูก ดิ้นรนซิกแซกไป ซิกแซกมา เป็นทุกข์กันอย่างระเนระนาดอย่างไม่เป็นท่าไปทั่วบ้านทั่วเมืองทั่วโลกน่ะ เพราะเราเข้าใจไม่ถูกต้อง ทำไม่ถูกต้อง มันเลยสร้างปัญหาให้กับตัวเรา ญาติพี่น้อง วงศ์ตระกูล เพื่อนฝูง ประเทศชาติ บ้านเมือง สังคม
เรามาบวชเป็นพระ เป็นสมมติสงฆ์ แต่ทุกๆ คนนั้นจิตใจนั้นยังไม่ได้เป็นพระ ต้องมาปฏิบัติพระธรรม พระวินัย เพื่อให้ใจของเราเป็นพระ พระคือผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ พระคือผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏสงสาร “พระคือผู้ที่เดินตามทางสายกลาง คือพระธรรม พระวินัย
ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าถึงจะเป็นผู้ที่สมควรรับกราบ รับไหว้ รับการบูชาจากประชาชน ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ที่มาบวชอยู่ที่วัดก็คือเปรตตนหนึ่งมาคอยรับส่วนบุญจากประชาชน ที่เค้าถวายทาน อุปัฏฐาก อุปถัมภ์น่ะ
พระพุทธเจ้าของเราน่ะ ตั้งแต่ท่านเสด็จออกบวชจนเสด็จดับขันธุ์สู่ปรินิพพาน ท่านเสวยภัตตาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว ท่านไม่รับเงินรับทอง ไม่สวมรองเท้า ไม่กางร่ม ท่านเสียสละเป็นตัวอย่างแบบอย่างอย่างแท้จริง
เราต้องเอาตัวอย่างของพระพุทธเจ้านะ ผู้ที่เคยติดบุหรี่ ติดโทรศัพท์มือถือเราก็ต้องพากันหยุดให้หมดกิจวัตรข้อวัตรเราต้องทำได้ทุกอย่าง เราอย่าไปเอาตัวอย่างจากพระบางรูปที่บวชแล้วหลายพรรษา บวชก่อนน่ะ พาทำในสิ่งที่ไม่ดี เช่น ไม่มาทำวัตรเช้าเย็น ไม่บิณฑบาต เข้านั่งสมาธิก็เข้าช้าๆ ใกล้ๆ เข้าจะทำวัตรสวดมนต์ถึงเข้า เข้าศาลาตอนเช้าก่อนฉัน ก็เข้าช้าๆ ใกล้ๆ เค้าจะให้พรน่ะถึงเข้าศาลาฉัน ไม่ทำข้อวัตร ไม่ทำกิจวัตรอย่างนี้ อย่าไปเอาตัวอย่าง
เพราะว่าศาสนาพุทธของเรานี้มีความเมตตามาก มีกรุณามาก อย่างไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ก็ย่อมมีสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาเจือปนย่อมมีผู้ที่ไม่มีศักยภาพในการทำมาหากิน มาเอาพระพุทธศาสนาหาเลี้ยงชีพ นี้ก็คือว่าเป็นสภาวธรรม เป็นเรื่องธรรมดาบางคนบางท่านจิตใจไม่สงบน่ะ เป็นโรคจิต เป็นโรคประสาท คิดว่าเมื่อมาบวชแล้วมันคงจะดีขึ้น บางท่านบางคนก็เมื่อเป็นฆราวาส เป็นคนไม่รับผิดชอบ ดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ เล่นการพนัน เจ้าชู้ ติดยาเสพติด พ่อแม่ ญาติพี่น้องก็เอามาบวช หวังว่าจะดีขึ้น เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นถ้าใครประพฤติปฏิบัติแล้วก็ย่อมดีทุกๆ คนน่ะ ถ้าปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้ามันไม่ดี มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องดี
เราต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานเอาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกัณหา เป็นตัวอย่างน่ะ ท่านอายุ ๗๒ ปี บวชมาแล้ว ๕๒ พรรษา ตั้งแต่บวชมานี้ยังไม่เอาเงินสักบาทเป็นของตัวเอง เป็นของส่วนตัว ฉันอาหารวันหนึ่งก็เพียงหนเดียว ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ทางโลก ไม่ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ไม่มีมือถือ ไม่เล่นไลน์ ไม่เล่นอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
เราบวชมาน่ะต้องพากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เต็มที่เต็มกำลัง ตามพระธรรม ตามพระวินัย ข้อวัตร กิจวัตรคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่าได้ย่อหย่อนอ่อนแอ เพราะพื้นฐานของเราทุกๆ คนนั้นเป็นคนย่อหย่อนอ่อนแอ ตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตนเอง ตามความเคยชินที่ได้สะสมมานาน จนเป็นนิสัย เป็นสันดาน ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ทวนโลก ทวนกระแส ทวนอารมณ์ของเราน่ะ ไม่ไปตามสัญชาตญาณ สัตว์โลกทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิด ต้องทวนกระแส ต้องตามพระพุทธเจ้า ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า
เราอย่าไปเป็นคนเก่งเพื่อแก้ไขคนอื่น มันไม่ถูกต้อง มันต้องเป็นคนเก่งเพื่อแก้ไขตัวเอง ถอนตะปูตรึงใจ ถอนเครื่องผูกพันใจออกไปให้ได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเจโตขีลสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุรูปใดไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นจักไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ
ภิกษุชื่อว่ายังละตะปูตรึงใจ ๕ ประการไม่ได้ เมื่อภิกษุยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา เป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา เป็นผู้โกรธเคือง... มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น
สงสัยในพระศาสดานั้นก็คือสงสัยในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ว่าพระองค์ได้เป็นผู้ตรัสรู้จริงหรือ แม้ตามบทที่สวดกันว่า อิติปิโส ภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้เองชอบ แม้อย่างนี้ แม้อย่างนี้ ดั่งนี้เป็นต้น ทรงเป็นผู้ไกลกิเลสจริงหรือ ตรัสรู้เองชอบจริงหรือ ดั่งนี้เป็นต้น
มีกังขาสงสัยในพระธรรมนั้นก็คือสงสัยในพระธรรมที่ตรัสรู้ ว่าทรงตรัสรู้อะไร ความตรัสรู้นั้นเป็นความรู้จริง หรือว่ารู้ไม่จริงอย่างไร และธรรมะที่ทรงสั่งสอนเป็นจริงตามที่ทรงสั่งสอน หรืออย่างไร
ในข้อนี้ก็ได้มีเรื่องเล่ามาแล้วในครั้งพุทธกาล ถึงภิกษุผู้มีความเห็นผิดบางรูป ได้คัดค้านคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนเอาไว้ว่า ธรรมะข้อนี้ ๆ เป็นอกุศลธรรม ซึ่งทำอันตรายให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติกระทำ แต่ว่าข้อที่ทรงสั่งสอนเอาไว้ว่าทำอันตรายนั้น หาได้กระทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติกระทำไม่ เช่นทรงสั่งสอนแสดงโทษของกามต่าง ๆ แต่ว่ากามต่าง ๆ นั้นหาได้เป็นโทษดังที่ทรงสั่งสอนไว้ไม่
มีกังขาคือความสงสัยในพระสงฆ์ ก็คือมีความสงสัยว่าหมู่แห่งสาวก คือศิษย์ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีจริงหรือ เป็นผู้ปฏิบัติตรงหรือ ดั่งนี้เป็นต้น คือเป็นผู้ปฏิบัติชอบหรือ
สงสัยในสิกขานั้นก็คือสงสัยในข้อที่จะพึงศึกษาเล่าเรียน ที่จะพึงศึกษาปฏิบัติ เช่นในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ว่าที่ปฏิบัติในศีล ปฏิบัติในสมาธิ ปฏิบัติในปัญญา จะได้ผลสมจริง คือจะได้ผลดีจริงหรือไม่ หรือว่าสงสัยว่าจะให้เกิดผลที่ไม่ดีแก่ผู้ปฏิบัติ คือสงสัยในข้อที่ตนเองกำลังปฏิบัติอยู่ในศีลในสมาธิในปัญญา
มักโกรธขัดใจใน สพรหมจารี คือผู้ประพฤติธรรมะร่วมกันทั้งหลาย ๓ ก็คือมักจะเป็นผู้ที่มีใจน้อยโกรธง่าย หรือมักจะเพ่งโทษของผู้ที่อยู่ด้วยกัน เพราะว่า เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก ก็อาจจะมีความประพฤติต่อกันที่กระทบกระทั่ง ไม่ถูกใจกันเรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็มักจะถือโกรธง่าย ๆ ขัดใจอยู่บ่อย ๆ เพราะเหตุที่บางทีก็อาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้างจริง ๆ บางทีก็อาจเป็นเพราะความเห็นไม่ตรงกัน หรือเอาแต่ใจของตนเอง เมื่อได้เห็นการกระทำ ได้ฟังคำพูดของเพื่อน สพรหมจารี ที่อยู่ด้วยกัน อันไม่ตรงกับความชอบใจของตน ก็มักจะถือโกรธขัดเคือง หรือบางทีก็มักจะมีนิสัยเพ่งโทษต่อผู้อื่น เห็นอะไรผิด หรือสงสัยว่าผิด ก็มักจะโกรธแค้นขัดเคืองไม่ถูกใจ หรือว่าบางทีก็เป็นเพราะความต้องการของตน ที่ไม่ได้สมตามความปรารถนา เกี่ยวแก่การแบ่งลาภแบ่งผลของสงฆ์ ที่บางทีก็ได้ไม่สม่ำเสมอกัน หรือเกี่ยวแก่ที่อยู่อาศัย ที่ได้รับจัดให้อยู่ ที่อาจจะเป็นที่สะดวกสบายบ้าง ไม่สู้จะสะดวกสบายบ้าง ดั่งนี้เป็นต้น ก็น้อยใจ ขัดใจ โกรธ เป็นผู้ที่มักโกรธมักขัดใจอยู่เสมอ ๆ
มีกังขาสงสัยในพระศาสดา มีกังขาสงสัยในพระธรรม มีกังขาสงสัยในพระสงฆ์ มีกังขาสงสัยในสิกขา และมักโกรธขัดใจใน สพรหมจารี ทั้งหลาย ทั้ง ๕ ข้อนี้หากเกิดขึ้น มีขึ้นในจิตใจ ก็เป็นเหมือนอย่างตะปูที่ตอกตรึงใจ ทำให้จิตใจมีทุกข์ ทำให้จิตใจมีกิเลส หรือเจริญกิเลสกองราคะหรือโลภะบ้าง กองโทสะบ้าง กองโมหะบ้าง เป็นจิตใจที่ไม่มีเสรีในอันที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ในการที่จะปฏิบัติธรรมะ เป็นต้นว่าศีลสมาธิปัญญาให้เจริญ เพราะมีทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นอุปสรรคขัดขวาง ไม่ให้เกิดความตั้งใจที่จะปฏิบัติกรรมฐาน หรือปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ขัดขวางต่อศรัทธา ขัดขวางต่อวิริยะความเพียร ต่อสติ ต่อสมาธิ ต่อปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นตะปูที่ตรึงใจ ที่ตอกใจเอาไว้ ไม่ให้ใจมีความสามารถที่จะปฏิบัติให้ดีขึ้นได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้รู้จักว่า ข้อเหล่านี้หากบังเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใด จิตใจของผู้นั้นก็เหมือนอย่างมีตะปูที่ตอกตรึงอยู่ จึงให้ปฏิบัติละเสีย ถอนตะปูที่ตรึงใจนี้ออกเสีย คือถอนกังขาสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา และดับความมักโกรธขัดใจที่บังเกิดขึ้นในสพรหมจารีทั้งหลาย และเมื่อได้ถอนกังขาสงสัย และดับความโกรธขัดใจดังกล่าวได้ ก็เป็นอันว่าถอนตะปูใจออกได้ เมื่อถอนตะปูใจออกได้จึงจะทำให้การปฏิบัติกรรมฐาน หรือกล่าวรวม ๆ ว่าทำให้ศึกษา เล่าเรียนพระธรรมวินัย ทำให้การศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัยเจริญก้าวหน้าขึ้นไปได้
ทุกท่านทุกคนน่ะต้องผ่านอุปสรรคได้ ผ่านปัญหาได้ ด้วยการเอาศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐออกมาทำงาน ออกมาใช้งาน ต้องกล้าสู้ กล้าเผชิญในการผ่านอุปสรรคต่างๆ นานาเพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีอะไรมากไปกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้น ทุกอย่างตั้งอยู่ ทุกอย่างก็ต้องดับไป เราต้องระดมเอาบารมีสิบทัศออกมาใช้งาน ออกมาทำงาน เราต้องระดมเอาอริยมรรคมีองค์แปดประการออกมาใช้ ออกมาทำงาน ถ้าไม่มีอุปสรรคต่างๆ นานา มาปรากฏเราก็ไม่ได้ประพฤติเราก็ไม่ได้ปฏิบัติน่ะ ไม่มีข้อสอบเราก็ไม่ได้ตอบปัญหา แก้ปัญหา เราทุกคนก็ถือว่าเราเป็นโชคดีที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราให้เข้าใจที่ถูกต้อง มีความเห็นถูกต้อง เราจะได้ปฏิบัติถูกต้อง เพื่อเราจะได้ผ่านภพผ่านภูมิที่มันกำลังปรากฏการณ์แก่เรา ในชีวิตประจำวัน
เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้แหละทุกๆ วัน จนกว่าเราจะหมดกิเลส สิ้นอาสวะ ถ้าเราไม่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เราก็ไม่สมควรที่จะทานอาหาร เพราะเราทุกคนถือว่าเป็นเสขะบุคคล บุคคลที่จะต้องพึงประพฤติพึงปฏิบัติน่ะ เรายังไม่ใช่อเสขบุคคล คือ บุคคลที่หมดกิเลส สิ้นอาสวะแล้ว เรายังเป็นคนที่มีหนี้มีสินต่อผู้มีพระคุณคือพ่อ คือแม่ และประชาชน ผู้ที่ทำบุญตักบาตร ถวายปัจจัยทั้งสี่ เราทุกคนต้องทำความเพียร ประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อเราจะไม่มีหนี้มีสิน เราจะได้ให้บุญให้กุศลกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พร้อมทั้งประชาชนที่ทำบุญตักบาตร อุปถัมภ์ อุปัฏฐาก เราบวชมาแล้วน่ะ พ่อแม่บังเกิดเกล้าก็กราบเรา ไหว้เรา ผู้แก่ผู้เฒ่าวัยชราก็กราบเราไหว้เรา ทุกท่านทุกรูป พระพุทธเจ้าให้เรามีจิตสำนึกเรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว เราต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่เต็มกำลัง เต็มความสามารถด้วยความตั้งอกตั้งใจ
ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะใจของเรามันจะสงบ ใจของเรามันจะเย็น ความสุขของเราคือการปฏิบัติธรรม การทำงานของเรา คือการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัย งานคือข้อวัตร กิจวัตร ข้อประพฤติข้อปฏิบัติของความเป็นพระธรรมพระวินัยของเรา นี้คือความโชคดี ความประเสริฐที่เราทุกคนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ถึงเราจะบวชนาน ไม่นานนี้ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราได้ประพฤติปฏิบัติอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง เต็มความสามารถ ให้ได้มาตรฐานตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ให้เราได้ภูมิใจในตัวเอง ให้พ่อแม่ ญาติพี่น้องภูมิใจ ให้ประชาชน ได้ภูมิใจในการบวช แล้วตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นที่รักเคารพบูชาของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงจะได้ชื่อว่าสงฆ์สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า