แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๓๐ ผู้มี 'พระนิพพาน' ในหัวใจ จะเอาเงิน ทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ มาซื้อไม่ได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ทำไมเราถึงต้องปฏิบัติธรรม? เพราะสาเหตุถ้าเราทำตามใจตามอารมณ์ตามความรู้สึกนี้ จะเป็นการก่อภพก่อชาติเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารใช่ไหม เราถึงต้องเอาธรรมเป็นหลัก ที่เราทุกคนเปลี่ยนไปถือทิฏฐิ ถือสักกายทิฏฐิถือตัวถือตนนั้นมันทำให้เรามีปัญหา ทำไมเราถึงต้องมาบวช การบวชนี้เป็นการปฏิบัติบูชา เข้าสู่ภาคปฏิบัติ เพราะนักบวชทิ้งวัตถุหมด ไม่เหลืออะไร มามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้ารู้ชัดเจน หายใจออกรู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย มีพุทโธ ปรับตัวเองเข้าหาศีล ในความคิด ในคำพูด ในการกระทำ เพราะว่าเรามาจัดการตัวเอง เเต่ก่อนเราไปจัดการเเต่ภายนอก
การบวชมันเป็นการทำ เหมือนกับไก่มันฟักไข่ ไก่ฟักไข่สามอาทิตย์ รู้มันก็ออกมา การที่เราคิดอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เราต้องเอาธรรมเป็นหลัก อบรมตัวเอง การทำอย่างนี้ พ่อเเม่ถึงจะได้บุญได้กุศล การบวชนี้ไม่ใช่เพียงโกนหัวห่มผ้าเหลืองนะ อันนั้นเป็นเครื่องเเบบของความเป็นพระเฉยๆ พระคือพระธรรม คือพระวินัย เป็นการถือนิสัยของพระพุทธเจ้า การบวชเป็นสิ่งที่ทวนโลกทวนกระเเส การบวชนี้ก็เลยดึงพ่อดึงเเม่ พ่อเเม่รักอะไรก็สู้รักลูกไม่ได้ พ่อเเม่คอยดูลูกที่จะเปลี่ยนเเปลงไปในทางที่ดี บางทีก็ต้องมาวัด มาถวายอาหาร มาให้ความอบอุ่นพระ พ่อเเม่คอยฟังเทศน์ฟังธรรม การบวชที่ห่มผ้าเหลืองแล้วโกนหัว เเต่ไม่ได้เข้าถึงเจตนาเข้าถึงใจในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ถือว่ายังไม่ได้ ยังเป็นการล้มเหลวของเมืองไทย หรือ หลายประเทศ ไม่ใช่บวชเพื่อจะให้บุญให้กุศลเเก่ประชาชน ให้เเก่ญาติพี่น้อง ให้เเก่วงศ์ตระกูล เเม้เเต่ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด การบวชต้องตั้งใจปฏิบัติเป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก ถึงจะยากลำบาก ก็ต้องเดินไปอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ เราสละเสียซึ่งสักกายทิฏฐิ ที่เรามีความทุกข์ มีความเครียดว่ามันงานหนัก อันนี้ มันเเสดงถึงอัตตาตัวตน เเสดงถึงสักกายทิฏฐิ ศึกใหญ่หรือภูเขาลูกใหญ่ ถือตัวความยึดมั่นถือมั่นในตัวในตน ที่มันก่อเป็นปรมาณูรวมกันเป็นหนึ่ง ที่เวียนว่ายตายเกิด ต้องพากันเข้าใจ สิ่งที่ทำให้เราไปได้ ข้ามวัฏฏะสงสารไปได้ คือ ศีลทุกข้อ ทุกทุกคนให้กระตือรือร้น เข้าสู่ระบบของพระพุทธเจ้าให้ 100% เพราะมันอยู่ที่ความเข้าใจ อยู่ที่เจตนา
ทำไมคนตาย คนละสังขาร ถึงต้องบำเพ็ญบุญกุศล ครบรอบ 7 วัน 15 วัน 100 วัน หรือ รอบปีนึง เพราะว่าผู้วายชนม์ สิ่งที่เอาไปได้คือบุญคือกุศล การทำบุญทำกุศล ถึงถูกต้อง ถึงไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีเหล้าไม่มีเบียร์ ไม่มีมหรสพ ไม่มีคอนเสิร์ต หรือละคร ความสนุกสนาน ของญาติพี่น้องวงตระกูลเฉยๆ อันนั้ทำทั้งบุญทั้งบาป มันยังไม่ถูกต้อง การทำบุญพากันรักษาศีล 5 รักษาศีล 8 หรือบวชอุทิศบุญกุศลไปให้ ต้องเข้าสู่ไลน์ของพระพุทธเจ้า พระพวกนี้ทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง เป็นประเพณีของสามัญชน ไม่ใช่ประเพณีของพระพุทธเจ้า ของพระอริยสงฆ์ เสียเงินเสียเวลา ให้พากันเข้าใจ ต้องเน้นผู้วายชนม์ การทำบุญกุศลให้ผู้วายชนม์ สมมุติตายมาอย่างนี้ ญาติพี่น้องวงศ์ตระกูล ได้ยินจากที่ไหน ก็ต้องพากันไป ไม่ต้องให้เค้าเชิญ ไปช่วยเหลือเค้า คนโบราณเค้าถึงพากันไปช่วยกัน มีพริก มีเกลือ มีผักผลไม้ มีข้าว เอาไปรวมกัน เพราะคนไปรวมกันมา มีของกิน มีของบริโภค รวมตัวกันทำความดี งานบำเพ็ญกุศลอย่างนี้ถึงไม่มีการล้มหมูล้มเป็ดล้มไก่ อย่างนี้ต้องเป็นงานบุญเเท้ๆ
เพราะพระที่จะส่งบุญส่งได้ดีคือ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้เข้าใจหลักการอย่างนี้ ที่ว่าของบริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ ให้เข้าใจอย่างนี้ เราอย่าทำสักเเต่ว่าทำเป็นประเพณี ที่ทำไปพระก็เป็นคณะคอนเสริต์ จัดงานคอนเสิร์ตไปอย่างนี้ไม่ถูกต้อง พระต้องพากันเข้าใจ เราไม่ได้เป็นนักร้อง ไม่ได้เป็นนักรำ ไม่ได้เป็นลิเก เพื่อไปรับจ๊อบ ซ้ำเติมผู้วายชนม์ เหมือนเป็นกันทั่วประเทศ เลยเป็นประเพณี พระสงฆ์พากันรับจ๊อบ ได้ตังค์น้อยก็บ่น พวกพระพากันเข้าใจนะ เดี๋ยวไม่เข้าใจพากันคิดในใจว่า ช่วงนี้คนไม่ตาย ไม่มีรายได้อะไรเลย คิดเหมือนคนมีปัญญาน้อย วันนี้ไปกินลาบหมู ลาบไก่ ลาบวัว ลาบควายท้องเสีย เราท้องเสียยังดีกว่าพวกหมูเห็ดเป็ดไก่ กุ้งหอยปูปลามันตายนะ
พระกับประชาชนมันเเยกกันไม่ได้ เพราะถึงเเม้ไม่ได้บวชก็ต้องเอาธรรมะเป็นหลัก ต้องถือพรหมจรรย์เบื้องต้นคือ ศีล 5 พระผู้มาบวชก็เอาพระนิพพาน เราต้องทำอย่างนี้ๆ เราอย่าไปคิดว่า โอ้ย...พระไปอยู่ในกุฏีวัดมันก็เเคบ ไม่มีโทรทัศน์ อกเเตกตาย สมองระเบิด พระก็คือผู้ที่เสียสละ ต้องละพวกอย่างนี้ ต้องกลับมางานของพระ งานของพระมีเยอะ งานจะได้สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม งานหายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน กวาดวัดทำความสะอาด พวกมหายานเค้ายังทำวัตรสวดมนต์วันละ 2 รอบสามรอบสี่รอบ เพื่อหางานให้เกิดบุญเกิดกุศล ถ้าตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วัด 9 ไร่ 10ไร่ มันสะอาดจนไม่รู้จะสะอาดเท่าไหร่ อันนี้ไม่ได้เข้าไลน์ หรือ ไม่ได้เข้าในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย ใจผู้มาบวชถึงสกปรก กุฏิศาลาเจดีย์ถึงสกปรก
เราพากันคิดใหม่นะ พระวัดบ้าน มันไม่มีเครื่องอยู่ เพราะมันอยู่กับกาม มันมีเซ็กซ์ทางจิตใจ มีเซ็กซ์ทางอารมณ์ มันยังยินดีในสตรีสตางค์ มันยังเป็นของ ฮีโน เป็นของต่ำทรามของปุถุชน มันฟุ้งซ่าน เพราะเราไปคิดไม่ถูก เราไปพูดไม่ถูก ไปทำไม่ถูก มันไม่เป็นบ้าถือว่าดีเเล้ว ถ้าเราไม่เอามรรคผลนิพพาน มันก็เอาเปรียบประชาชนเกิน เค้ามาว่าให้เรา เค้าก็เสียเวลาไหว้ อุตส่าห์หุงหาอาหาร เค้าก็ไม่ยอมรับเรา มันถึงมีการเรี่ยไร มีการยกเเม่น้ำยกฟ้ายกดิน พูดให้โยมศรัทธา อุปถัมถ์อุปฐาก อย่าลืมนะ คนมีตา มันรู้อยู่มองเห็นอยู่ ของไม่จริงมันคือของไม่จริง ถ้าเราจะมาบวชในพระพุทธศาสนา เราต้องทำอย่างนี้ ถ้างั้นก็ไม่ต้องมาบวช ถ้าพวกมาบวชปฏิบัติไม่ได้ ให้พากันสึก
ถ้าเราเป็นนักปกครอง มันจะไปปกครองอะไร เพราะเรายังเเก้ไขตัวเองไม่ได้ ปฏิบัติเองไม่ได้ ให้คิดดีๆ นะ พระที่เป็นพระวัดบ้าน มีโทรทัศน์อยู่ตามกุฏิเจ้าอาวาส ตามพระเก่า อย่างนั้นไม่สมควร มีโทรทัศน์ การมีโทรทัศน์นั้นตำแหน่งท่านก็คือ ฆราวาสดีๆ นี่เอง พระเก่านะ เจ้าอาวาสสำคัญ เจ้าคณะสำคัญ พระเก่าที่บวชมาหลายปี ชอบมีโทรทัศน์ ไม่ดี ประชาชนก็ให้รู้ว่าไม่ดี เพราะก็รู้ทั้งประเทศไม่ดี เราต้องคิดใหม่เเก้ไขใหม่ เจ้าอาวาสต้องพากันเเก้ตัว เเก้ปฏิปทาของตัวเอง เจ้าคณะต่างๆ เเก้ปฏิปทาของตัวเอง เอาใหม่ ให้มันเห็นรูปธรรม
นามธรรม เรื่องจิตเรื่องใจเรื่องพระนิพพานมันมองไม่เห็นหรอก ศีล พระพุทธเจ้าก็บอกเเล้วว่า พวกหนังสือทางโลก โทรทัศน์ทางโลก ที่มันเดรัจฉานกถา พระนี้ก็มีโทรทัศน์ดูหนัง ดูละครก็เป็นอาบัติทุกกฏตลอดกาล ถ้าไปยินดีก็อาบัติอีก ญาติโยมยังไม่รู้ ถ้าพระไปยินดีในเสียงเพลงเสียงละคร ยินดีในดาราคนสวยคนหล่อนั้น ก็ต้องอาบัติ ถ้ามีความกำหนัดยินดีถึงกับอาบัติถุลลัย เข้าถึงอาบัติสังฆาทิเสสเลย พระนี้พากันทำไปทั่วเลย ถึงเป็นประชาธิปไตยเลย
นี้ไม่ได้ว่าให้พระนะ พระแท้ไม่ทำอย่างนี้หรอก ผู้ที่มาสมาทานเป็นพระ เเต่ไม่เข้าสู่พระธรรมพระวินัย ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พวกอย่างนี้ทำไม่ได้หรอก พระนี้อ่านหนังสือทางโลก อ่านหนังสือ magazine นิยาย ดูโทรทัศน์ อันนี้ต้องอาบัตินะ ประชาชนให้พากันเข้าใจ นี้เป็นเรื่องเสียหาย เรื่องทำลายผลประโยชน์ของประเทศไทย ทำลายความมั่นคงของประเทศไทย ในการเป็นพระที่ดี เมื่อโครงสร้างไม่ดี อาคารก็พัง เพราะประชาธิปไตยมันไม่ถูกต้อง ถ้าจะคิดว่า พระนี้ไม่ได้ไปไหน อยู่กับงาน ถ้าไม่ให้ท่านมีโทรศัพท์ มีโทรทัศน์แล้วท่านจะอยู่ได้ยังไง นั่นแหละ มันก็ยิ่งดี เพราะท่านจะได้เจริญอานาปานสติ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน เดินจงกรม นั่งสมาธิ กวาดวัด ทำข้อวัตรกิจวัตร ทั้งวัน เพราะสิ่งเหล่านั้นคือความผิด เราบวชเป็นพระเเต่ทำหน้าที่เป็นโจรมันก็ไม่ถูก
เรามาหยุดเรื่องภายนอกให้หมด หยุดเรื่องภายนอก ก็ได้แก่ อย่าเอาเรื่องทางโลกเข้ามาในวัด ที่มันเป็นข้าศึกต่อกุศล ที่มันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เช่น 'โทรศัพท์มือถือ' โทรศัพท์มือถือนี่ ถ้าเรามีเราต้องปิดไว้ เราไม่ต้องเอาโทรศัพท์มาใช้ในวัด มันทำลายวัด ทำลายพระศาสนา เพราะมือถือมันมีทุกอย่าง เล่นอินเทอร์เน็ตก็ได้ ฟังเพลงก็ได้
บางคนก็นิสัยไม่ดี ดื้อด้าน ครูบาอาจารย์บอกไม่ให้ใช้โทรศัพท์ ก็ยังจะใช้ คิดว่าจะใช้แต่สิ่งที่จำเป็น อย่างนี้เขาเรียกว่า "คนหัวดื้อ คนหัวใจด้าน" ยิ่งพระเรานี่มีโทรศัพท์ มีเครื่องสื่อสารต่างๆ ถ้าไม่เกิดความเสียหายมาก มันก็ตั้งอยู่ในความประมาทมากเกิน ทำไมไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มุ่งมรรคผลพระนิพพาน?
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เรายุ่งในเรื่องโลกๆ คนป่วย คนมีโรคมีภัยมันดีไหม มันสบายไหม... คนเจ็บไข้ได้ป่วยมันไม่สบาย มันป่วยทางกาย การป่วยทางกายถือว่ามีน้อย มันไม่มาก แต่การป่วยทางใจนั้นมันมีมาก วันหนึ่งๆ คนป่วยทางใจ นี้มันมีเยอะเลย ไม่รู้มันป่วยวันละกี่ครั้ง
พระพุทธเจ้าถึงให้เรารักษาอาการป่วยทางใจ การรักษาอาการป่วยทางใจนี้ ก็เริ่มจากการรักษาศีล การประพฤติปฏิบัติ ต้องตัดทางโลก ทางโลกีย์ออกให้หมด ถ้าเราเป็นพระผู้ปฏิบัติ ก็ได้ชื่อว่า "เราหลงโลก เราลวงโลก" เรามาทำท่าทำทางกิริยาต่างๆ เป็นพระ แต่ว่า 'ใจ' มันไม่เป็น 'พระ'
ให้เราตั้งเจตนาให้ถึงจิตถึงใจ เดี๋ยวนี้ถือว่าเรายังไม่ช่วยพระพุทธองค์ เรายังไม่จรรโลงพระพุทธศาสนา ถ้าเราไม่ตั้งอกตั้งใจมีปฏิปทาเยี่ยมยอดจริงๆ
ถ้าเราคิดว่าเรามาบวชเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เราจะมาสร้างวัดสร้างวา มาสร้างโบสถ์ สร้างวิหารนี้ มันยังไม่จริง มันยังไม่ถูก ให้เราน้อมดูพระพุทธเจ้า ท่านนั่งอยู่ ท่านเดิน อยู่บนพื้นดิน ทำอะไรท่านปล่อยท่านวางหมด ท่านบังคับเราไม่ให้เราก่อเราสร้าง ไม่ให้ขวนขวาย ไม่ให้เราก่อสร้าง
ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ญาติโยมมีศรัทธาเขาจะมาสร้างให้เราเป็นหลังๆ เอง ท่านไม่ให้ไปเรี่ยไรขอของจากคนที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ไม่ให้ขึ้นป้ายบอกบุญตามถนนหนทางว่าสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างเจดีย์ต่างๆ ถ้ามันเป็นความคิดของพระเองมันไม่ได้! "มันเป็นการขอของจากคนที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา"
เราคิดดูนะ ในครั้งพุทธกาล... ผู้ที่ท่านเป็น 'พระอรหันต์' ท่านถึงทำกุฏิให้กับพระผู้ที่ยังไม่จบพรหมจรรย์' ได้อยู่ได้ปฏิบัติกัน
"ถ้าเราเน้นไปข้างนอกนี่...มันไม่เข้าท่า" พระพุทธเจ้าท่านคงว่า "การสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างอะไรต่างๆ นี้ มันไม่เข้าท่าเลย"
พระพุทธเจ้าท่านให้เรา 'สร้างปฏิปทา' เหมือนเรากำลังทำกันอย่างนี้แหละ ไม่อย่างนั้นการก่อสร้างต่างๆ นี้ มันก็มีประโยชน์น้อย มีอานิสงส์น้อย เพราะทุกๆ คนที่มาพักพิง มาปฏิบัตินี้ไม่ตั้งอกตั้งใจกัน พระหนุ่มๆ เณรน้อย หรือญาติโยมที่พากันประพฤติปฏิบัติจะได้เกิดประโยชน์
เมื่อตัวอย่าง...มันไม่มี แบบพิมพ์...มันไม่มี พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปๆ แล้วคิดว่าประวัติของพระพุทธเจ้า ประวัติของพระอรหันต์ คิดว่าเป็นนิยายกันไป...ไม่เป็นความจริง
ถ้าเราพากันประพฤติปฏิบัติ ดูพระนิพพานก็อยู่ไม่ไกล อนาคตก็สดใสเหลือเกิน
เราทำการทำงานให้มันชำนิชำนาญ ให้มันเข้าใจและก็ให้มันเป็นการประพฤติปฏิบัติของเรา ที่ต้องให้มันมีความชำนิชำนาญ ให้มันเป็นวันนี้...เราเป็นเท่านี้ ขนาดนี้ แล้วเราต้องต่อเนื่องในวันพรุ่งนี้เพิ่มขึ้นอีก เราอย่าไปคิดว่าอนาคตมันริบหรี่ เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทร ไม่รู้มันจะเป็นอย่างไร...
ถ้าท่านคิดอย่างนั้น แสดงว่าท่านยังไม่รู้อนาคต อนาคตที่เดี๋ยวนี้แหละ ที่มันเห็น ที่มันเป็น เราเองถ้าปฏิบัติไม่หยุด... ถึงได้เป็น 'พระอริยเจ้า' จะได้ไม่ต้องไปหากราบ หาไหว้ไกลๆ ที่ประเทศอินเดีย ที่วัดนั้น...วัดนี้... ต้องมากราบ 'พระที่จิตที่ใจ' ของเรานี้แหละ การประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าบอกให้เราไม่อ่อนแอ ให้เราตั้งใจไว้ ไม่ว่าเราจะเหน็ดเราจะเหนื่อยนี้ให้ถือว่าเรื่อง ใจ' เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่แล้วก็แล้วไป ให้ถือว่าเรานั้นมันโง่ไปแล้ว
ทุกท่านทุกคนต้องตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เพราะเพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์ ไม่มาปฏิบัติให้เรานะ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้สอนนะ "ธรรมวินัย ข้อวัตร ปฏิบัติ" ที่เราพากันปฏิบัติตาม อย่างนี้แหละ คือ พระพุทธเจ้า คือ พระธรรม คือ พระอริยสงฆ์ "นอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงจะเหนื่อย ถึงจะยากลำบาก มันก็คุ้ม"
พระพุทธเจ้าท่านรักเรา ท่านเมตตาเรานะ ท่านสงสารเรา ท่านไม่ได้มากดดันเราให้มันยากลำบาก ทั้งที่การประพฤติปฏิบัติของเรามันยากมันลำบาก ถ้ามันไม่ยากไม่ลำบาก มันจะได้ดีได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ใหม่ๆ ท่านก็พิจารณาว่าการประพฤติปฏิบัติที่จะไป 'พระนิพพาน' มันยาก ยากมาก 'มันทวนกระแส' แต่ด้วยอาศัยความเมตตาที่ท่านบำเพ็ญมา ท่านก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า 'ดอกบัว' มีหลายเหล่า
'ดอกบัว 3 เหล่า' กับ 'บุคคล 4 ประเภท'
อุคฆติตัญญู เป็นผู้มีพื้นฐานทางบารมีอัธยาศัยพื้นฐานทางสมาธิสูง มีไหวพริบ ปฏิภาณดีสามารถฟังธรรมที่เขาแสดงเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจ และบรรลุมรรคผลได้เช่น พระอัสสชิ ได้แสดงธรรมะเพียง สองสามบรรทัดแก่พระสารีบุตรว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้" จากการแสดงธรรมเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรก็บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลระดับแรกคือพระโสดาบันแล้ว ท่านจึงเปรียบเหมือนกับดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ พอต้องแสงอาทิตย์ก็จะบานในขณะนั้น
วิปจิตัญญู เป็นผู้มีวาสนาบารมี พื้นเพอัธยาศัย พื้นฐานทางสมาธิและไหวพริบปฏิภาณเป็นต้น หย่อนลงมา จำเป็นจะต้องอาศัยการแสดงธรรมะไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของบุคคลนั้นให้พร้อมที่จะศึกษาเรียนรู้ และบรรลุธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เช่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมจักฯ เพียงคนเดียวได้ดวงตาเห็นธรรม คือ ท่านโกณฑัญญะ
ต่อจากนั้นก็ทรงนำเอาแต่ละท่านมาชี้แจงธรรมะ ขัดเกลาไปโดยลำดับเป็นการปรับพื้นเพอัธยาศัย พื้นฐานทางสติปัญญาให้อยู่ในระดับสม่ำเสมอกัน จากนั้นก็ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ในที่สุดแห่งอนัตตลักขณสูตร ท่านทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุอรหัตเป็นพระอรหันต์ ดังนั้นคนประเภทนี้จึงเปรียบเสมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาพอเสมอน้ำ รอคอยที่จะบานในวันต่อไป หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า วิปจิตัญญู คือ อาจจะรู้ธรรม เมื่ออธิบายชี้แจงแสดงหัวข้อธรรมเหล่านั้น
เนยยะ คือผู้พอที่จะฝึกสอนอบรมต่อไป อย่างคนผู้มีพื้นฐานวาสนาบารมี มีความโน้มเอียง มีศรัทธา มีศีล มีจาคะ มีปัญญา พอประมาณ ใช้กาลเวลาฝึกปรืออบรมบ่มนิสัยต่อไปโดยลำดับ ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป สามารถทำจิตใจของเขาให้สงบ ประณีตขึ้นๆ และในที่สุดก็จะบรรลุธรรมในชาตินี้หรือในชาติต่อไปได้ ตามปกติแล้วบุคคลประเภทนี้ออกจะมีมากเป็นพิเศษ ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกปรืออบรมบ่มนิสัยกันนานพอสมควร ท่านจึงเรียกว่า เนยยะ คือพอจะแนะนำกันได้ ท่านเปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่บุคคลที่เขาพร้อมที่จะฟัง หรือไม่ยินดีที่จะฟัง ฟังๆ ก็สักแต่ว่าฟังไป อาจจะรู้ อาจจะเข้าใจ แต่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรม ตอนเริ่มศึกษาปฏิบัติธรรม ความโลภ ความโกรธ ความหลง หนาแน่นอย่างไร ปฏิบัติธรรมมาจนแก่จนเฒ่าแล้ว ก็คงเป็นอย่างนั้น หรืออาจจะแรงกว่า เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
๓ จำพวกแรกเรียกว่า เวไนยสัตว์ (ผู้แนะนำสั่งสอนได้) ส่วนปทปรมะ เป็น อเวไนยสัตว์ (ผู้ไม่อาจแนะนำสั่งสอนได้)
(การที่สุมังคลวิลาสินีกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่านั้น เป็นการประยุกต์จากพุทธพจน์เรื่องบุคคล 4 จำพวกที่ตรัสไว้ในอุคฆฏิตัญญุสูตร อังคุตตรนิกาย ปุคคลวรรคที่ 4 มาผสานกับพระพุทธพจน์เรื่องดอกบัว 3 เหล่าที่ตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกาย จึงกลายเป็นดอกบัว 4 เหล่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน)
ท่านก็พิจารณา ท่านก็ว่าบุคคลที่จะได้ตรัสรู้ก็ยังมีอยู่ ท่านก็รู้ว่ามันยาก มันลำบาก แต่ก็มีประโยชน์ ท่านก็จึงเมตตาสอนพวกเรา
เราเองไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เพียงแต่ประพฤติปฏิบัติตาม เปรียบเสมือนอาหารอยู่ในภาชนะ เต็มภาชนะ พวกเราก็พากันบริโภค แต่พวกเรามันยังมีปัญญาน้อย เหมือนกับไก่เขา เอาเพชรเอาพลอยให้มัน...มันไม่เอานะ มันเอาข้าวสาร มันเอาอาหารไก่ ถ้ามันรู้จักเอาเพชรเอาพลอย แล้วเอาไปซื้ออาหารไก่ ไม่รู้จะได้กี่คันรถ
การประพฤติปฏิบัติต้องเพิ่มศรัทธาให้มากที่สุด มอบชีวิตจิตใจให้พระพุทธเจ้าอย่างเดียว เพิ่มความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป เพิ่มความไม่ประมาทให้มันมากขึ้น ให้มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิก็ไม่นั่งคิดอะไร หายใจเข้าหายใจออกให้มันสบาย... ให้มันรู้ลมเข้า... รู้ลมออก...
คนเรามันคิดมาก มันทุกข์มาก คนเรามันนั่งมันนอนทั้งวัน ถ้าเราไม่คิดมันก็ไม่ทุกข์ "ให้รู้ความคิด รู้อารมณ์ รู้การหมุนการเหวี่ยงของอารมณ์"
เรามีแต่คันเร่งไปข้างหน้าแล้วก็ถอยหลัง ตัวที่มันว่างๆ ไม่มีตัวไม่มีตน มันไม่ค่อยจะมี พยายามหยุด พยายามเย็นเข้าไว้
เราอย่าไปเผาตัวเอง เราอย่าไปมีความอยาก นั่งสมาธิก็วางเป้าไว้แล้วว่าไม่ให้เจ็บ...ไม่ให้ปวด ไม่ว่าเราทำอะไรก็วางเป้าไว้หมดเลย ท่านให้เรามีความสุขในการทำการทำงาน เราจะได้สุข เราจะได้สงบ
งานภายนอก นี่ก็ได้ทั้งทรัพย์ ได้ทั้งความสุข งานภายใน ได้ทั้งศีล ได้ทั้งสมาธิ ได้ทั้งปัญญา มันอยู่ใกล้ๆ อยู่ในใจของเรานี้เอง พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกท่านทุกคนให้ทำอย่างนี้นะ ทำไปเรื่อยๆ จนเป็น 'พระอรหันต์' ถ้ายังไม่เป็นอย่าไปหยุดมัน 'พระอรหันต์' ใครมาแต่งตั้งก็ไม่ได้ นอกจากจิตใจของเรามันเป็นเอง
จิตใจมันเสื่อม มันเจริญ เพราะความอยาก ความไม่อยาก ถ้าจิตเราอยาก-ไม่อยาก มันก็เสื่อม ถ้าเรายังมีความต้องการอยู่มันก็ต้องเสื่อม เช่น ถ้าเขาว่าเราดี เราก็ดีใจ เขาว่าเราไม่ดี เราก็เสียใจ ถ้าอย่างนี้ เขาเรียกว่า... "เราตั้งอยู่ในความเจริญและความเสื่อม"
ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ ท่านตรัสไว้เป็นบุคคลาธิษฐานเมื่อครั้งที่ท่านตรัสรู้ นายโสตถิยะเอาหญ้าคา ๘ กำ มาถวายแด่พระพุทธเจ้า ท่านนั่งขัดบัลลังก์ทำสมาธิ ก็ได้แก่โลกธรรมทั้ง ๘
นักประพฤติปฏิบัติต้องพากันตัด 'โลกธรรม' ทั้ง ๘ ออกจากใจ เรามาประพฤติปฏิบัติไม่ได้มาเอาสิ่งเหล่านี้ เขาว่าเราเป็นอะไร เป็นสิ่งเหล่านี้ มันก็ไม่เป็นอะไร มันเกิดจากความโง่ของเรา มันเกิดจากความหลงของเรา
การประพฤติปฏิบัติของพวกเรา และท่านทั้งหลายนี้มันเป็นอยู่ด้วยโลกธรรม วันนี้เหนื่อยก็ไม่ปฏิบัติ วันนี้ไม่เหนื่อยก็ปฏิบัติกัน
สรุปแล้ว สัมมาปฏิปทาเป็นสิ่งที่ทุกท่านทุกคนต้องพากันประพฤติปฏิบัติ ไม่ต้องอ่อนแออีกแล้วต่อไป
ท่านที่เป็นประธานสงฆ์ หรือที่เป็นเจ้าอาวาส พระหนุ่มเณรน้อยถ้าท่านบวชไม่สึก ท่านก็จะเป็น 'เจ้าอาวาส' ท่านก็จะเป็นประธานสงฆ์ หรือท่านบวชชั่วคราวบวชระยะสั้น พระพุทธเจ้าก็ให้ท่านตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันหมดทุกคน
ในครั้งพุทธกาล...ถ้าใครบวชแล้ว เขามุ่ง 'พระนิพพาน' อย่างเดียว เขาไม่มีการลาสิกขา ทุกวันนี้...มีการอนุโลมเมตตาให้บวชระยะสั้นได้ เมื่อทุกท่านทุกคนบวชมาแล้ว ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันอย่างเต็มที่ เพราะว่าตัวพุทธศาสนาที่แท้จริง ก็คือ การรักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งกาย ทั้งวาจาและจิตใจ ทำสมาธิให้ใจของเราให้ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง ปราศจากนิวรณ์ที่นอนเนื่องในขันธสันดาน
ให้พากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ วันหนึ่งๆ นี้ เวลาก็แค่ ๒๔ ชั่วโมง อย่าได้ปล่อยให้โอกาสให้เวลา เสียไป...โดยเปล่าประโยชน์
การสร้างวัด การสร้างกุฏิ การสร้างวิหาร การสร้างศาลา การสร้างพระประธาน การสร้างเจดีย์ มันมีประโยชน์น้อย มันไม่ตรงต่อพุทธประสงค์ พระพุทธเจ้าท่านให้เรา 'สร้างข้อวัตรปฏิบัติ'
ถ้าเราไม่พากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ถือว่าเราไม่ได้สร้างประโยชน์ตน และประโยชน์คนอื่น มันมีประโยชน์น้อยจริงๆ
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราออกไปข้างนอก ให้กลับมาการประพฤติปฏิบัติของเรา เราอย่าไปคิดว่า "ถ้าเราไม่ขวนขวายสร้างวัตถุ มันก็มองไม่เห็นผลงานของเรานะสิ ว่าเรามีผลงานอะไร" พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราขวนขวายอย่างนั้น... การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถ้าท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หมดความโลภ หมดความโกรธ หมดความหลง
ทุกท่านทุกคนก็อยากไปกราบท่าน อยากไปไหว้ท่าน มันเป็นบุญเป็นกุศล ท่านอยากก่อ อยากสร้างอะไร ก็ได้หมดแหละทีนี้. ถ้าท่านทำไม่ดี ไม่ถูก ไม่ต้อง นรกมันจะลุกเป็นไฟ เผาจิตเผาใจ พระเป็นหนี้ พระเป็นสิน มันดีไหม? มันไม่ดี!
เมื่อคนหนึ่งทำได้... อีกคนหนึ่งก็ทำ... เลยเป็นอันว่าใครเป็นเจ้าอาวาส ใครเป็นประธานสงฆ์ ก็พากันทำอย่างนั้น พากันเหินห่างจากพระพุทธเจ้า พากันหันหลังให้พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไปทางหนึ่ง... ข้าพเจ้าก็จะไปอีกทางหนึ่ง...
ทุกท่านทุกคน พยายามไปคิดดีๆ ตรึกตรองให้ดีๆ การประพฤติการปฏิบัติมันเป็นของยากของลำบาก มันเป็นของเหน็ดของเหนื่อย ถ้าท่านจิตใจไม่เข้มแข็ง ท่านรักษาศีลก็ไม่ได้ ทำสมาธิก็ไม่ได้ เพราะท่านเป็นคนประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เป็นคนมีความละอายต่อบาปน้อย ความศรัทธาในการประพฤติปฏิบัติมันเกือบจะไม่มีเลย ทำไปก็สักแต่ว่าทำไปพอไม่ให้มันน่าเกลียด กลัวคนอื่นเขาว่าให้ ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ ถึงแม้ว่าเราจะได้บวชถูกต้องตามวินัยบัญญัติ ก็ยังชื่อว่า เป็นพระปลอมจริงๆ เพราะว่าพระไม่เอาจริง
พระ คือ พระธรรม พระวินัย ใช่ไหม? "ตัวพระธรรม ตัวพระวินัย" คือ องค์พระพุทธเจ้าที่แท้จริง
ได้ปฏิบัติตามธรรมนั้น ถึงจะเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงจะได้เกิดที่จิตที่ใจเองเรา ศีล สมาธิ ปัญญา มันถึงจะรวมเป็นหนึ่งเดียวในจิต ในใจ ในชีวิตประจำวันของเรา
การสร้างวัดมันก็เหนื่อย เมื่อสร้างวัดเหนื่อยหรือญาติโยมเขาสร้างมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะการประพฤติการปฏิบัติของเรามันอ่อน มันย่อหย่อน ให้ทุกท่านทุกคนไปตรวจตราดูตัวเองให้ดีๆ ว่า... ตัวไหนมันต้องแก้ไข? ตัวไหนมันย่อหย่อน? ก็ให้มันรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลามาก เมื่อเราไม่เมตตาตนเอง ไม่นำตัวเองประพฤติปฏิบัติ จะมีใครจะมาช่วยเหลือเราได้ เพราะว่าเรื่องจิดเรื่องใจ เรื่องตัดวัฏฏสงสาร มันเป็นเรื่องเฉพาะตน "ตัวเองคิดไม่ดี ตัวเองเท่านั้นที่รู้"
การประพฤติปฏิบัตินี้ มันต้องเข้าถึงหัวจิด หัวใจ ด้วย "เจตนา มันก็ไม่ใช่ของยากสลับซับซ้อนอะไร ให้เราเน้นมาที่หัวใจ...นี้นะ พระพุทธเจ้าท่านให้เราประพฤติปฏิบัติแบบนี้ มันถึงจะโปรดตนเองได้ โปรดญาติโปรดโยมได้ ถ้าไม่อย่างนั้นท่านจะเอาอะไรไปโปรดญาติโปรดโยม ท่านจะเอาอะไรเป็นตัวอย่างดีๆ ถ้าเรารู้มาก เรียนมาก เราฉลาด ถ้าเราไม่เอาความรู้ความฉลาดมาปฏิบัติ มันจะมีประโยชน์อะไร มันจะเกิดประโยชน์อะไร มันเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
เมื่อผู้มาบวชก่อนปฏิบัติดีๆ อย่างนี้ มีความคิดเห็นอย่างนี้ ผู้บวชใหม่เขาก็ทำตาม ธรรมะมันก็จะเกิดที่จิตที่ใจสนั่นหวั่นไหวเลยทีนี้ เพราะช่ำชองในรักษาศีล ช่ำชองในการทำสมาธิ ช่ำชองในการถอดการถอนความโลภ ความโกรธ ความหลงออกจากจิตจากใจ จิตใจของเราจะได้สง่างาม จิตใจของเราจะได้ไม่ให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ให้โลกธรรมมันครอบงำ ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ เรื่องเงิน เรื่องปัจจัย มันก็มาซื้อเอาได้ คนมี 'พระนิพพาน' ในหัวใจ เอาเงิน เอาทอง เอาลาภ เอายศ เอาสรรเสริญ มาซื้อไม่ได้
ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้าท่านก็ทำให้ดู ตั้งแต่ท่านบวชจนถึงพระนิพพาน ท่านไม่เอาเงินเอาทอง ไม่เอาอะไรทุกอย่าง มุ่งที่จิตที่ใจอย่างเดียว ท่านว่า "ปฏิบัติอย่างพระพุทธเจ้านี่มันไม่ตายหรอก"
ท่านเดินให้ดู ปฏิบัติให้ดู ตั้งแต่ต้นจนอวสาน ถ้ามันจะตาย...ก็ตายเพราะอ่อนแอนี่แหละ ตายเพราะคิดมากนี่แหละ ตายเพราะกลัวนี้แหละ.