PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
  • ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๒๒ การประพฤติปฏิบัติ จะเอามาตรฐานทางโลกที่มองเห็นอยู่ไม่ได้ ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์
ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๒๒ การประพฤติปฏิบัติ จะเอามาตรฐานทางโล ... รูปภาพ 1
  • Title
    ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๒๒ การประพฤติปฏิบัติ จะเอามาตรฐานทางโลกที่มองเห็นอยู่ไม่ได้ ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์
  • เสียง
  • 11023 ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๒๒ การประพฤติปฏิบัติ จะเอามาตรฐานทางโลกที่มองเห็นอยู่ไม่ได้ ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์ /lp-kanha/2022-06-21-13-36-39.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
วัด/สถานที่บรรยายธรรม
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ชุด
ชีวิตของผู้สงบ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • Tags
    บวชกาย | พระ | พระอรหันต์ | ทางโลก | มาตรฐาน | ปฏิบัติ | ประพฤติ | ผู้สงบ | ชีวิต
  • โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.) ในวันอังคารที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ  วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๒๒ การประพฤติปฏิบัติ จะเอามาตรฐานทางโลกที่มองเห็นอยู่ไม่ได้ ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์ (บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) ทุกท่านทุกคนให้มีสติ มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าให้รู้ตัวชัดเจน ให้ใจออกให้รู้ชัดเจน รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มันเกิดขึ้นตั้งอยู่เเล้วก็ดับไป เป็นสภาวะธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของของเรา เราไม่รู้จัก เราเลยตามอารมณ์ตามความคิด เราเลยเป็นคนตามอารมณ์ เราต้องรู้จัก เราจะได้เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะความสุขความดับทุกข์มันไม่ได้เกี่ยวกับความร่ำรวย ไม่ได้เกี่ยวกับความยากจน ความดับทุกข์มันอยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เเล้วก็เสียสละ ให้มันเป็นธรรม ให้มันเป็นปัจจุบันณธรรม คนเรามีอย่างที่ไหนไม่อยากให้มันเเก่ไม่อยากให้มันเจ็บไม่อยากให้มันตาย ไม่อยากให้มันพลัดพราก มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เราต้องเสียสละ ความคิดความเห็นอย่างนี้ ให้พากันมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม ฝึกตัวเองในปัจจุบัน มีความสุขในการทำงาน เเละปฏิบัติธรรมไปพร้อมๆ กัน พัฒนาทั้งเทคโนโลยีภายนอก พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน โลกนี้ถึงจะเข้าถึงความสุขความดับทุกข์ เราทุกคน ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นสิ่งบรรเทาทุกข์ มันเปรียบเหมือนยารักษาโรคเฉยๆ เราอย่าพากันมาหลงเหยื่อหลงอะไร เราเป็นมนุษย์จะได้เป็นมนุษย์ที่มีสติมีปัญญา ใจของเรามันไม่อยากละไม่อยากปล่อยมันไม่อยากวาง เรามีความจำเป็นต้องละต้องวางต้องเสียสละทางจิตใจในปัจจุบัน เราจะเอามาตราฐานทางโลกที่เรามองเห็นอยู่ไม่ได้ ต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้า มาตรฐานของพระอรหันต์ เพราะมองดูเเล้วมันไม่ถูกต้อง มันยังไม่ใช่ทางสายกลาง มันสุดโต่ง จะเอาเเต่ทางวัตถุ ไม่ได้พัฒนาใจมันสุดโต่ง มันถึงเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า ไม่มีความสุขในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติดำเนินชีวิตประจำวันด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างเค้าไปเข้าคอร์สเข้าอะไรกัน อย่างนี้มันก็ดี เราเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม เเต่เราก็ต้องทำมาหากิน อันนั้นยังไม่ใช่อริยมรรคมีองค์ 8 พระพุทธเจ้าให้เราดำรงชีวิตด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เราจะได้มีความสุข มีความอบอุ่น เราพากันดำเนินชีวิตอย่างสุดโต่งเกิน ไม่ได้พัฒนาจิตใจไปพร้อมๆ กัน จะพากันหาเเต่เงิน หาเเต่บ้าน เเต่รถ ลาภยศ สรรเสริญ ไม่ได้พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน มันทิ้งเรื่องจิตเรื่องใจ ทิ้งศีล ทิ้งสมาธิทิ้งปัญญา ชีวิตของเรามันมีพอดีอยู่เเล้ว อยู่ในปัจจุบัน ทุกๆ คนต้องเข้าสู่ไลน์ของธรรมะ เข้าสู่ไลน์ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน คือระบบของความดับทุกข์ทางจิตใจ ให้ทุกคนเข้าใจว่า มาตรฐานความเป็นอยู่ในวัดของเรา ในวัดคนอื่น ในบ้านของเรา บ้านคนอื่น นั้นยังไม่ใช่ความสายกลาง มันยังสุดโต่งอยู่ บ้านเมืองเรามันถึงมีปัญหา เพราะทำไม่ถูก เพราะคิดไม่ถูก ปฏิบัติไม่ถูก สติสัมปชัญญะของเราต้องมี หายใจเข้าให้รู้ชัดเจน ต้องรู้ในปัจจุบัน ปัจจุบันเรายังไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เรายังยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสลาภยศสรรเสริญ เราไม่จัดการตัวเอง ให้มีศีลสมาธิปัญญาในปัจจุบัน มันเสียหาย ทำให้เวลากลืนกินเรา เราไม่ได้ปฏิบัติธรรม เสียเวลา การดำเนินชีวิตถึงจะเเก่ก็เเก่เพราะเกิดมานานเฉยๆ ไม่ได้ การที่เค้าไปเข้าคอร์ส อย่างคอร์สท่านโกเอนก้า เป็นต้น ก็ใช้เวลา 10 วัน 3 อาทิตย์ เป็นเดือน การทำติดต่อกันก็ดี เเต่ว่าเวลาออกจากคอร์สมามันไม่ได้ประพฤติปฏิบัติไม่ได้เดินตามอริยมรรคมีองค์ 8 เหมือนเราปลูกต้นไม้อ่ะดี เเต่เราก็ปล่อยให้หญ้ามันรก ปล่อยให้วัชพืชมันคลุมหมด เหมือนรัฐบาลปลูกหมื่นต้น ก็เหลือไม่กี่ต้น เพราะว่าต้นไม้มันหายใจไม่ได้ เพราะหญ้ามันคลุม เถาวัลย์มันคลุม การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน เราต้องเข้าใจว่าอริยมรรคมีองค์ 8 เราต้องเข้าใจสภาวะของงาน เราต้องเอางานมาประพฤติมาปฏิบัติธรรม ว่าความสุขความดับทุกข์ มันต้องจัดการตัวเอง ในเรื่องจิตเรื่องใจในปัจจุบัน ถ้าอย่างนั้นเราจะเอาธรรมะที่เเท้จริงไปสู่ลูกสู่หลานสู่พระที่บวชมาใหม่ได้ยังไง อย่าให้ความหลงมันขุ่นเคืองเอาไว้ในใจ ที่สตาร์ทเครื่องเดินหน้าไปเรื่อยไม่ได้ เพราะเราดูโครงสร้างของการไม่ทำบาปทั้งปวงของประเทศอินเดีย เค้าถึงกินมังสวิรัติกัน มันเป็นระบบของอริยมรรคมีองค์ 8 ถึงเเม้จะเป็นคนจนก็กิน การประพฤติการปฏิบัติถึงเเม้เราจะเป็นคนยากคนจน ก็สามารถจะไม่มีความทุกข์ทางจิตใจได้ เถาวัลย์เล็กๆ น้อยก็ทำให้ต้นไม้ใหญ่ เถาวัลย์พันไว้หายใจไม่ได้ออกซิเจน หลายปีป่าไม้ก็ต้องตาย อาการที่เราไม่ได้เจริญตามมรรคมีองค์ 8 มันก็เหมือนกัน มันก็สูญพันธุ์ ของความเป็นพระอริยะเจ้า การประพฤติการปฏิบัติถึงเป็นอริยมรรคมีองค์ 8 ต้องติดต่อต่อเนื่อง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ประชาชนถึงเข้าถึงความดับทุกข์ได้ จะได้ไม่สุดโต่งเเบบ คอมมิวนิสต์ ไม่สุดโต่งเเบบประชาธิปไตย เพราะเราต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่มั่นพาเคร่งครัด พระที่ปฏิบัติสม่ำเสมอ จิตใจค่อยๆ เปลี่ยนไป เหมือนพระพุทธเจ้าให้พระนวกะถือนิสัย 5 ปี คิดอย่างนี้ พูดอย่างนี้ กิริยามารยาทอย่างนี้ 5 ปี ถ้าคนทำตามพระพุทธเจ้า มันถึงจะเปลี่ยนไป ถ้าไม่ทำตามพระพุทธเจ้าจะ 30 ปีก็ไม่ได้ ยิ่งหนักกว่า เป็นมหาเถระโจรไป พระพุทธเจ้าท่านให้พวกเราและท่านตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เราบวชระยะสั้น เรามาถือศีล มาประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัด เวลาไม่กี่วัน ไม่กี่เดือน ให้ทุกท่านทุกคนตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้เต็มที่ ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ให้ละเอียด ให้ประณีต ไม่ให้จิตใจด่างพร้อย ตั้งใจทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ภาวนา ทำกิจวัตรต่างๆ อย่าให้ขาดตกบกพร่อง เวลาทำข้อวัตร กิจวัตร พยายามมาให้ทันเวลา หรือว่ามาก่อนเล็กน้อยก็ยังดี เวลาไปบิณฑบาตก็ให้สำรวมอย่าได้เหลียวช้ายแลขวา เวลาทำกิจวัตรต่างๆ ก็ให้ตั้งใจทำ ให้จิตให้ใจมันอยู่กับเนื้อกับตัวด้วยความเสียสละ เราเป็นคนพูดมาก เราก็อย่าพูดมาก ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เราจะไม่พูดเลย เวลาพูดมันมีมากนะ แต่นี้แหละเป็นการปฏิบัติธรรมของเรา เป็นการมาบวช มาถือศีลของเรา พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เอาเรื่องทางบ้าน เรื่องการเรื่องงาน เรื่องต่างๆ เข้ามาพูดภายในวัด นักบวช นักปฏิบัติท่านไม่ให้ดูคนอื่น... เค้าจะดี เค้าจะชั่วมันเป็นเรื่องของเขา ถ้าไปมองคนอื่น ไปให้โทษให้คุณคนอื่น มันเป็นการไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นพระ มันก็ต้องอาบัติเพราะไปเพ่งโทษเขา ถ้าเป็นโยมก็เป็นบาป โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ ไอแพด เข้าเล่นไลน์ เฟชบุ๊ก อินสตาแกรม ให้หยุดไว้ก่อน ให้งดไว้ก่อน เราเป็นพระ เป็นเณรมันใช้ไม่ได้ มันจะผิดพระธรรม ผิดพระวินัย ถ้าเราเอาไปใช้ติดต่อกับผู้หญิง "มันเป็นที่ลับลับตา พูดสองต่อสองกับผู้หญิง ใช้ไม่ได้นะ" ผิดพระวินัย ถ้าเป็นโยมมาถือศีลเอามาใช้ในวัดไม่ได้ เรามาถือศีล เรามาปฏิบัติธรรม เราต้องหยุดไว้ก่อน เรากลับไปบ้าน เราก็ค่อยโทรค่อยใช้ เดี๋ยวเรามาโทร คุณแม่ชีก็อยากจะโทร พระเณรก็อยากจะโทร อยากจะใช้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระเสื่อมเณรเสื่อม โยมถือศีลปฏิบัติธรรมเสื่อม พระพุทธเจ้าท่านให้เราตัดทางโลกหมด ใครมีเพื่อน ใครมีญาติ ก็ให้บอกเค้า ถ้าไม่จำเป็นไม่ให้มาเยี่ยม เวลาญาติมาเยี่ยม เพื่อนมาเยี่ยม ก็อย่าได้ขอเค้าโทรศัพท์ อย่าไปสั่งเค้าให้เอาอันโน้นมาให้ เอาอันนี้มาให้ ผู้ที่เป็นเพื่อน เป็นญาติเป็นโยมก็ให้เข้าใจตามนี้ พระบวชใหม่ เณรบวชใหม่ ผู้ที่ถือศีลปฏิบัติธรรมอินทรีย์บารมี มันยังไม่แก่ มันยังไม่กล้า มันต้องช่วยเค้าให้มันเคร่งๆ ไว้ก่อน ที่ว่ามันเคร่งๆ นี้มันยังไม่เคร่งนะ เพียงแต่เราปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเท่านั้น บางคนติดบุหรี่ เมื่อมาอดมันก็กระวนกระวาย เวลาเพื่อนมาเยี่ยม ก็แอบไปกระซิบว่าเอาบุหรี่มาให้ด้วย ไม่เป็นไรหรอก อาจารย์ไม่เห็น คนอื่นไม่เห็นแต่ตัวเองมันเห็นอยู่ "การบวช การปฏิบัติธรรมต้องเน้นไปที่จิตที่ใจ คนอื่นไม่เห็น ตัวเองมันก็เห็น..." คนทำผิด คือการสร้างบาป สร้างกรรม สร้างเวร มันห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานให้กับตัวเอง การมาบวช การมาปฏิบัติของเรา ก็คือการมาสร้างประวัติศาสตร์ให้กับตัวเอง เมื่อเรามาบวชแล้ว... มาปฏิบัติแล้ว... เราไม่ตั้งใจ มันก็เสียเวลาบวช เสียเวลาเรามาอยู่วัด ไม่มีประโยชน์อะไรเลย "เรามาบวช พ่อแม่ ญาติพี่น้องทุกคนเค้าต้องกราบเรา เค้าต้องไหว้เรา ถ้าเราไม่ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัตินี้ ไม่ใช่จะได้บุญ มันบาปมาก...!" การบวช การปฏิบัติมันเป็นเรื่องยาก เรื่องลำบาก มันเป็นการแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง เป็นการนำตัวเองมาประพฤติปฏิบัติ พระใหม่ๆ โยมใหม่ๆ ยังไม่รู้การประพฤติปฏิบัติ... ประการแรก... พระพุทธเจ้าท่านให้เราเน้น 'การรักษาศีลทำข้อวัตรปฏิบัติ แล้วให้นั่งสมาธิ' นั่งตัวตรง ขาขวาทับขาช้าย มือขวา ทับมือซ้าย ถ้าใครขัดสมาธิเพชรได้ ก็ให้ขัดสมาธิเพชร ถ้าคนขายาว ก็ขัดสมาธิเพชร ถ้าคนขาสั้น คนอ้วน มันขัดสมาธิเพชรลำบาก ก็ให้ขัดสมาธิเฉยๆ นั่งให้สบายๆ ให้เรากำหนดหายใจเข้าก็ให้มันสบาย หายใจออกก็ให้มันสบาย หายใจเข้าก็รู้สบาย... หายใจออกก็รู้สบาย... เอาสติมาอยู่กับลมหายใจเข้า หายใจออก ถ้าเราทำอย่างนี้ เดี๋ยวใจของเรามันก็สงบเอง เราอย่าไปอยากให้มันสงบ คนเราทุกๆ ท่าน ทุกๆ คนอยากให้มันสงบ อยากให้มันไม่ปวดแข้งปวดขา เรายังไม่ได้นั่งเลยเราไปตั้งเป้าไว้ก่อน มันเลยเผาเรา ตั้งแต่ยังไม่ได้นั่งแล้ว คือกิเลสมันเผาเรา เราไม่ต้องไปคิดมัน ฌานหนึ่ง มันเป็นอย่างไร ฌานสอง ฌานสาม ฌานสี่มันเป็นอย่างไร...? เรามีหน้าที่หายใจเข้าก็ให้รู้สบาย.... หายใจออกก็ให้รู้สบาย...ไปเรื่อยๆ มันสงบหรือไม่สงบอย่าไปสนใจมันเลย บางทีมันคิดโน่นคิดนี่ ก็ให้เรากลับมาหายใจเข้าสบาย ออกสบายไปเรื่อยๆ หรือว่าเราจะท่อง 'พุทโธ' ไปด้วยก็ได้ หายใจเข้า 'พุท' หายใจออก 'โธ' ไปเรื่อยๆ ก็ได้หรือเราไม่กำหนดลมหายใจ เราท่อง 'พุทโธ' ในใจอย่างเดียว อย่างนี้ ถ้าใครมันคิดมากเกินจะเอาสติมาไว้ที่ท้องก็ได้ ไว้ที่เหนือสะดือท้องยุบก็สบาย ท้องพองก็สบาย เอาสติมาไว้ที่ท้องยุบ ท้องพอง อย่างนี้ก็ได้ มันสงบหรือไม่สงบ เราก็นั่งไปเรื่อยจนครบเวลาที่เรากำหนดไว้ เค้ากำหนดให้ครึ่งชั่วโมง ก็ครึ่งชั่วโมงถึงหยุด เค้ากำหนดให้หนึ่งชั่วโมง ก็หนึ่งชั่วโมงถึงหยุด ใจไม่สงบก็ให้กายมันสงบก่อน การงานที่ยังไม่รู้ ที่ยังไม่เป็น มันก็ลำบากหน่อย ใจเรามันยังไม่ค่อยหยุด มีแต่ไปท่องเที่ยว... มันก็ยากหน่อย เรามาหางานให้ใจของเราทำ อยู่กับการหายใจเข้า อยู่กับการหายใจออก หรือว่าอยู่กับการบริกรรมท่องพุทโธๆ หรือการหายใจเข้ายุบ หายใจออกพอง มาอยู่กับยุบกับพอง การทำสมาธิ ก็คือการทำงานอย่างหนึ่งของใจ ใจของเรามันอยู่เฉยๆ อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ ต้องหางานให้มันทำ หางานให้มันมีเครื่องอยู่ การมาประพฤติปฏิบัติ หรือการมาบวชของเรา ให้เราตั้งใจ "ประพฤติปฏิบัติให้มันดี เป็นพิเศษ..." เวลาเราสิกขาลาเพศไปประกอบอาชีพทำมาหากิน เราก็เจริญ ก็ร่ำรวย ผิดกับผู้ที่มาบวชมาปฏิบัติแล้วไม่ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ หลีกเลี่ยงข้อวัตรปฏิบัติไปเป็นวันๆ ถ้าเราทำอย่างนี้ เวลาเราสิกขาลาเพศไปทำอะไรก็ไม่ขึ้นทำอะไรก็ไม่เจริญนะ สำหรับผู้ที่มาถือศีล มาปฏิบัติธรรม จะเป็นคนหนุ่ม คนสาว เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นนักเรียน นักศึกษา ก็ให้พากันตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ให้ทุกคนกลับมาดูตัวเอง กลับมาสอนตัวเอง เราอย่าไปอยากสอนคนอื่น สอนตนเองให้มันได้ก่อนถึงไปสอนคนอื่น อย่าเป็นคนมีหลักการ มีวิชาการมากเกิน ส่วนใหญ่นั้นมันเอาตัวรอดยังไม่ได้ทั้งนั้นแหละ ยกตัวอย่าง 'พระอัสสชิ' ท่านได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุธรรมใหม่ (พระพุทธเจ้าท่านให้ไปประกาศพระศาสนาทิศละหนึ่งองค์ ท่านก็ได้ไปเจอพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นอุปติสสะมาณพซึ่งเป็นเพื่อนกับพระโมคคัลลานะ อุปติสสะก็ได้ไปเจอ เห็นกิริยาที่สงบ น่าเคารพเลื่อมใส จึงได้เข้าไปกราบขอฟังธรรมจากพระอัสสชิ พระอัสสชิก็พูดอ่อนน้อมถ่อมตนว่า "เราบวชใหม่ เรายังแสดงธรรมยังไม่ได้ ยังไม่เป็น" อุปติสสมาณพก็ได้ถามว่า "ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน พระอัสสชิตอบว่า "ผู้เป็นครูเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าชื่อ พระสมณโคดม" อุปติสสมาณพก็อยากจะทราบว่า "ครูบาอาจารย์ท่านสอนอะไรบ้าง...? ขอท่านจงบอกธรรมะที่ท่านทราบมาพอสังเขปด้วยเถิด" พระอัสสชิได้ตรัสธรรมะพอสังเขปดังนี้ว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดจากเหตุ พระพุทธองค์ทรงตรัสเหตุเกิดขึ้นและการดับไปของธรรมเหล่านั้น พระอัสสชิท่านพูดธรรมเพียงเท่านี้ อุปติสสมาณพก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ผู้ที่ท่านเป็น 'พระอรหันต์' ถ้าไม่จำเป็นพูด ท่านก็ยังไม่พูด ถ้าไม่จำเป็นสอน ท่านก็ยังไม่สอน เรามาอยู่วัด เรามาปฏิบัติธรรมให้เราสอนตัวเองนะ อย่าไปสนใจสอนคนอื่น นักปฏิบัติเรานี้แหละ เมื่อเป็นครู เป็นอาจารย์ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้วก็เทศน์เก่งๆ แต่เมื่อท่านเข้าไปในวัดของครูบาอาจารย์ เค้าจะไม่เทศน์ไม่สอน ถ้าครูบาอาจารย์ไม่สั่ง เพราะที่บวชไม่กี่พรรษา ส่วนใหญ่มันกำลัง 'เมาธรรมะ' มันอยากเทศน์ อยากสอน ให้พยายามหยุดตัวเองไว้ เบรกตัวเองไว้ อย่าให้ตนเองส่ายหน้า...ส่ายหลัง ให้ใจมันนิ่ง ให้ใจมันหยุด ถ้าไม่จำเป็นอย่าไปออกนอกวัดไปโน่นไปนี่ ส่วนใหญ่นะพวกนี้มีเรื่องมาก มีธุระมาก หาเรื่องที่จะออกนอกวัด เราเป็นนักปฏิบัติต้องให้รู้ว่าตัวเองกำลังเด้งหน้า...เด้งหลัง ส่ายหน้า...ส่ายหลัง จิตใจมันยังฟุ้งกระจายอยู่ คนเราถ้ามันไม่รู้จักตัวเองนะ มันลำบาก... ขอให้ทุกท่านทุกคนหยุดนิ่ง รู้จักตัวเอง ถ้าไม่รู้จักตัวเอง มันก็อยากจะไปเทศน์ อยากจะไปสอนคนอื่น ทุกวันนี้ คนพวกนี้มันมีมากตามวัดต่างๆ อยู่ในวัดเรานี้อย่าให้มีอย่าพากันอวดรู้ อวดฉลาด อวดเก่ง ส่วนใหญ่นักเทศน์นอกธรรมาสน์มันมีมากมีเยอะนะ 'นักเทศน์นอกธรรมาสน์' นี้ มันรู้จักแต่ออกไปแต่ข้างนอก มันไม่เทศน์ไม่สอนตัวเอง คนเรานะ ถ้าไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป มันก็จะแสดงอาการอะไรออกมาแปลกๆ พระพุทธเจ้าท่านสอนเราต้องให้เป็นคนละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเราไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ศาสนานี้หมดไม่เหลือ เพราะจิตใจมันส่งออกข้างนอกหมด คนมันเก่งแต่ข้างมันฉลาดแต่ข้างนอก มันลำบาก พระพุทธเจ้าท่านเตือนเรานะว่า "อย่าปฏิบัติส่งใจออกข้างนอกมากเกิน" มีแต่จะไปจัดการเรื่องภายนอก เรื่องตัวเองแท้ๆ นี้ไม่สนใจปล่อยให้ตนเองมีปัญหาให้กับตนเอง และคนอื่น เมื่อไม่รู้จักตนเอง ท่านก็ว่าเราเป็นโรคทางใจนะ เป็นโรคทางใจอย่างไร...? เป็นโรคทางใจ ก็คือ อันนี้ข้าพเจ้าชอบ ข้าพเจ้าถึงจะเอา อันนี้ข้าพเจ้าไม่ชอบ ข้าพเจ้าก็ไม่เอา เค้าพูดถูกใจ เค้าไม่ขัด มันก็ดี 'พอง" ถ้าเค้าพูดไม่ถูกใจ เค้าไม่เห็นด้วย ก็ว่าไม่ดี 'แฟบ โรคทางกายนี้ถือว่ามันน้อยมาก แต่โรคทางใจนี้มันมากมาย... ท่านถึงให้เรากลับมาดูจิตดูใจตนเอง ถ้าเราไม่รู้จักตนเอง มันจะหลงตนเอง "หลงอะไรก็ไม่เท่ากับหลงตัวเอง" ถ้าเราไม่รู้จักตนเอง จิตใจของเรามันก็ไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป คนอื่นที่ท่านมีจิตใจสูงกว่า ท่านมองเห็นเรานี้ว่ามีจิตใจหยาบมาก จิตใจสกปรกมาก แต่ตัวเองมันไม่รู้จักตัวเองนะ ครูบาอาจารย์ท่านเห็นว่าเรานี้แย่มาก ทำอะไรก็ไม่เข้าท่า ทำอะไรก็ไม่ค่อยถูกต้อง แต่เรามองไม่เห็นตัวเอง ใจก็อยากไปพระนิพพาน "ถ้าไม่เห็นตัวเองคิดผิด ทำผิด มันจะแก้ไขได้อย่างไร...? ก็จะคิดว่าแต่ตัวเองถูก พระพุทธเจ้าตรัสไว้...ก็ผิดหมด ครูบาอาจารย์สอน...ก็ผิดหมด" เรื่องเส้นผมบังภูเขามันพูดยาก มันคิดยาก ทุกท่านทุกคนต้องพิจารณาตัวเองว่า ในใจของเรานี้ มันมีอะไรบกพร่องบ้างที่จะต้องแก้ไข...? เรื่องภายนอก เราก็ต้องพิจารณาเหมือนกัน ตัวไหนมันผิดพลาด พระพุทธเจ้าท่านก็ให้เราปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าเรื่องธุรกิจการงาน เรื่องความประพฤติของเราเอง มันอยู่ในร่องในรอยหรือเปล่า อยู่ในศีลในธรรมหรือเปล่า หรือว่ามันตกอยู่ในอบายมุขต่างๆ เราให้ความรัก ความเมตตา ในครอบครัวเราหรือยัง เราให้ความรัก ความเมตตา แก่เพื่อนฝูง ลูกน้องพ้องบริวารแล้วหรือยัง...? หรือว่าเราเป็นคนที่มัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน วัดวา ศาสนาก็ไม่สนใจ ไม่รู้จักไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ภาวนา เวลาพูดก็ไม่มีการสำรวมระวัง เพราะ 'การพูด' นี้สำคัญมากเราพูดดี มันก็มีประโยชน์แก่ตัวเราและผู้อื่น "ถ้าเราพูดไม่ดี ก็เท่ากับว่าเราเป็น 'คนปากระเบิด...' เราเป็นคนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายปัจจัยเงินทองแล้วหรือยัง...? เรามาบวช เรามาปฏิบัติธรรม ท่านให้เรามาดูตนเอง พิจารณาตนเอง เวลาเราลาสิกขา เวลาเรากลับไปบ้าน เราจะได้ประพฤติตัวใหม่แก้ตัวใหม่ ทุกท่านทุกคนต้องมีจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ในใจไว้ดีๆ เมื่อเราตั้งไว้ดีๆ แล้ว เราก็พยายามปฏิบัติตาม เรานี้เอง คือแบบพิมพ์ของกุลบุตรลูกหลาน เรานี้เอง คือปูชนียบุคคลให้ลูกให้หลานเขากราบไหว้ เค้าบูชา ทุกๆ ท่าน ทุกๆ คนต้องทำประวัติศาสตร์ให้กับตัวเองไว้ให้ดีๆ เมื่อตัวเองมีชีวิตอยู่ก็ทำให้ทุกคนถูกใจ สบายใจ เมื่อเราจากไปก็ให้คนคิดถึง การประพฤติปฏิบัติธรรมนี้เป็นของยากของลำบาก แต่ทุกๆ คน ก็ต้องทำ ต้องปฏิบัติ อย่าได้พากันอยู่สบาย อยู่เฉยๆ ให้พากันแข่งขันทำความดี เมื่อคนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ ทำความดีมันไม่ตายหรอก อย่างมากก็เหนื่อย เราทำมาหากินก็เพราะด้วยความจำยอม ความจำใจ ถ้าไม่จำเป็น ถ้าไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีลูก ไม่มีหลาน เราก็ไม่อยากทำ การทำมาหากินมันเป็นเรื่องของกาย การประพฤติปฏิบัติธรรมมันก็เป็นเรื่องจำเป็นเหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตของใจ การทำมาหากินกับการปฏิบัติธรรมมันต้องควบคู่กันไป 'กาย' นี้ มันจบลงเมื่อถูกเขาเผาที่ป่าช้า 'ใจ' ของเราที่จะจบได้ก็เมื่อเข้าถึงพระนิพพาน 'กายกับใจ' จึงต้องปฏิบัติควบคู่กันไป การมาบวชครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดี เป็นโอกาสพิเศษ พระพุทธเจ้าท่านให้กุลบุตรลูกหลานตั้งอกตั้งใจ อย่าให้มีคำว่าท้อแท้ท้อถอย อย่าไปคิดว่าวัดนี้มันเคร่งเกิน เครียดเกิน ถ้าไม่เคร่ง ถ้าไม่ครัด ถ้าไม่เคร่งครัดกับการปฏิบัติ เราก็ไม่พากันมาบวช มาปฏิบัติ ทุกคนชอบในพระวินัย ชอบในข้อวัตรปฏิบัติ... วัดไหนที่จะรู้ว่าวัดนั้นดี วัดนั้นต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าไม่มีข้อวัตรปฏิบัติก็เหมือนกับบ้านเรา ต่างกันก็ตรงที่โกนผม ห่มผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น 'วัด' คือสถานที่ที่มีข้อปฏิบัติที่เคร่งครัด ถึงเรียกว่า 'วัตร" 'วัด' เป็นสถานที่ของคนที่ตั้งใจทำความดี เราอย่าไปคิดว่าวัดนี้เป็นที่อยู่ของคนตกงาน เป็นพวกที่มีปัญหา ไม่มีศักยภาพในการทำมาหากิน 'วัด' นี้คือที่อยู่ของคนไม่ค่อยจะเต็ม 'วัด' นี้คือที่อยู่ของคนพิกลพิการ 'วัด' นี้คือที่อยู่ของคนที่มีปัญหาติดยาเสพติด จุดมุ่งหมายของวัดคือเป็นสถานที่สำหรับผู้บำเพ็ญบารมีที่จะไป 'พระนิพพาน' อย่างเดียว ถ้าปฏิบัติไปเพื่อสวรรค์นี้ยังไม่ได้ ยังไม่ใช่ ถ้าปฏิบัติไปเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ เหมือนทางโลก ก็ถือว่าที่นั่นไม่ใช่สถานที่สัปปายะ กุลบุตรลุกหลานที่มาบวช มาปฏิบัติ ถึงจะมาบวชระยะน้อยหรือระยะยาว ให้พากันถือเนกข้มมะมุ่งตรงต่อพระนิพพาน อย่ามุ่งแต่ประดับเกียรติ ประดับยศ ท่านต้องตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจบวช อย่าให้พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านหนักใจ ประธานสงฆ์ท่านหนักใจ พระพี่เลี้ยงท่านหนักใจ ว่าพระชุดนี้ไม่ตั้งใจกัน ลำบากกับพระพวกนี้เหลือเกิน ท่านต้องเป็นสุปฏิปันโน เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อย่าได้ส่งใจออกไปภายนอก ใจมันไปกิน ไปเที่ยว มันไปกินก๋วยเตี๋ยว ในใจมันไปเที่ยวในผับในบาร์ ท่านจะคิดอย่างนั้นไม่ได้ เราเป็น 'พระ' เรามาคิดเหมือนกับฆราวาสนี้ไม่ได้ มันเป็นบาป... พระพุทธเจ้าท่านให้เรามีสมณสัญญาว่า ขณะนี้เรากำลังเป็น "พระ" อาการกิริยา วาจา ใจ ต้องไม่เหมือนโยม พยายามฝึกจิตฝึกใจ ให้ใจมันอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับ "พุทโธๆ' นั่งสมาธิ เดินจงกรมก็มันอยู่กับเนื้อกับตัว ทำวัตรสวดมนต์ก็ให้ใจมันอยู่กับการทำวัตรสวดมนต์ ไอ้เจ้าตัวร้ายที่มันอยู่ในจิตในใจนี้มันดิ้นเหลือเกิน ก็ช่างหัวมัน ถ้ามันคิดมากเกินก็กลั้นลมหายใจ เมื่อใจมันจะขาด มันก็กลับมาเอง เราปล่อยเค้าจนเคยชินแล้วนเค้าติดเป็นนิสัยแล้ว เราจะควบคุมให้เค้าหยุด เค้านิ่ง ก็เป็นสิ่งที่ลำบาก "ลำบากก็ช่างหัวมัน นั่งสมาธิเอาไว้ครึ่งหนึ่ง..." ให้เรานั่งสมาธิให้มันได้นานๆ เดินจงกรมเอาไว้ให้มันได้นานๆ ให้ใจมันอยู่กับการเดิน "นั่งไม่ได้ก็ให้มันได้นั่ง เดินไม่ได้ก็ให้มันได้เดิน" เรามันก็คิดแต่จะได้รางวัล ได้ค่าจ้าง ให้เราเดินเพื่อปล่อยวาง นั่งเพื่อปล่อยวาง ท่านไม่ให้เรายุ่งมาก ท่านไม่ให้เราคิดมาก ยุ่งไป คิดไป มันก็ไม่ได้อะไร มันก็ได้แต่โรคปวดหัว ได้แต่โรคประสาท เราเดินทั้งวัน ถ้าเราไม่คิดอะไร มันก็ไม่มีทุกข์อะไร เรานั่งทั้งวัน ถ้าเราไม่คิด มันก็ไม่มีทุกข์อะไร ถ้าเรารู้จักแต่อารมณ์ในความเป็นคน ในความเป็นมนุษย์ ในอารมณ์สะดวกสบายเพลิดเพลิน เมื่อเอา 'อารมณ์นิพพาน' ให้มัน มันไม่เอา มันไม่สนุก มันไม่ชอบความสงบ มันกลัวตายจากโลกนี้ มันกลัวตายจากรูป เสียง กลิ่น รส มันเลยดิ้นใหญ่เลยทีนี้ เหมือนปลาอยู่ในน้ำแล้วเอาขึ้นมาบนบก มันก็ดิ้นใหญ่เลย "การประพฤติปฏิบัติของเรา มันก็เหมือนปลาดิ้นอยู่ในน้ำที่เราเอาขึ้นมาบนบก" ความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากที่ครูบาอาจารย์พานั่งสมาธิสองทุ่มถึงสามทุ่ม มันก็เบื่อ มันก็ท้อแท้ มันเบื่อเหลือเกิน มันทรมานเหลือเกิน ทำไมมันถึงทุกข์อย่างนี้ มันทุกข์เพราะใจของเราไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง ถ้าเราไม่คิด ไม่ปรุง ไม่แต่ง มันก็ไม่ทุกข์อะไร ถึงตีสามก็ยิ่งทุกข์กว่าเก่าอีก กำลังจะพักผ่อนสบายๆ ระฆังดังอีกแล้ว ต้องมาทำวัตรสวดมนต์ ต้องมานั่งสมาธิอีกแล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้เราเห็นทุกข์ มันทุกข์ที่ใจเรา ใจเรามันไปคิด ไปปรุง ไปแต่ง ไปต่อต้าน มันไปปฏิเสธความจริง คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เมื่อเราไปต่อต้าน เราไปทุกข์ ไปปรุง ไปแต่ง มันหายทุกข์ไหม..? มันไม่หายทุกข์หรอกนะ มันเพิ่มทุกข์ให้เราอีก มันทุกข์ทางกายยังไม่พอ มันก็เพิ่มทุกข์ทางใจอีก พระพุทธเจ้าท่านให้เราเห็นทุกข์ มันทุกข์เพราะใจเราไปยึดไปถือแท้ๆ นี่คือโรคทางใจนะ นั่งสมาธิตีสามมันทุกข์หลาย มันทุกข์มาก นั่งโยกไปโยกมา อ่อนน้อมถ่อมตนอยู่นั่นแหละ พระพุทธเจ้าท่านให้เราผ่านด่านนี้ ชื่อความง่วงเหงาหาวนอนนี้ นิวรณ์ตัวนี้เปรียบเสมือนเมฆก้อนใหญ่ มันมาบดบังพระอาทิตย์ มาบังดวงจันทร์ให้มืดมิดหมด พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราหมกมุ่น...จมอยู่ ให้เราทำจิตทำใจสบาย... อย่าไปยินดีในเวทนา ในความสุข ในความง่วงเหงาหาวนอน เราอย่าไปคิดว่านั่งไปแล้วก็พักผ่อนไปด้วย ให้เราทำจิตทำใจให้เป็นหนึ่ง ให้เราเห็นจิต เห็นใจตัวเอง เพราะความง่วงเหงาหาวนอนคือความมืด คนเวลาง่วงมันไม่เห็นใจตัวเองนะ 'พุทโธ ธัมโม สังโฆ' มันหายหมดนะ ถ้ามันง่วงมากๆ เราอาจจะกลั้นลมหายใจ ถ้าใจมันจะขาด ก็ให้ปล่อยลมหายใจ พวกเรากำลังหลงทางถูกกิเลสมันครอบงำ ถ้ามันยังไม่หาย พระพุทธเจ้าท่านให้เอาบทสวดมนต์ที่เราท่อง มาท่องในใจของเรา ดีกว่าเราไปนั่งหลับ นอนหลับ พยายามฝึกใจไม่ให้เราง่วง ไม่ให้เราหลับ จิตใจของเราจะได้เข้มแข็ง ถ้าเราเคลิ้มกับเวทนานิดหน่อยเราก็สัปหงกได้ให้ใจของเราใส ให้ใจของเราเบิกบาน พระพุทธเจ้าท่านสอนพระเวลาฉันอาหารเสร็จให้นั่งสมาธิ เพราะ ฉันข้าวเสร็จมันง่วงมาก ให้เรามานั่งสมาธิเพื่อสู้กับนิวรณ์ เพื่อทำจิตใจให้เป็นสมาธิ "คนเราจิตใจเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว จริงจัง จึงเข้าสมาธิได้ต้องตั้งใจหัด ตั้งใจปฏิบัติ" พวกเราทุกท่านทุกคนที่มาบวชมาปฏิบัติในพระพุทธศาสนาย่อมไม่มีความอ่อนแอ ถ้าเราอ่อนแอเมื่อใด นิวรณ์ความง่วงเหงาหาวนอนก็ทับถมจิตใจของเรา ถ้าเราเคยแพ้ มันจะแพ้ไปเรื่อยนะ ถ้าเราเอาชนะมันบ้าง เราก็เอาชนะมันไปเรื่อยๆ นะ จนกว่าจะชนะมันเด็ดขาด พระพุทธเจ้าท่านสอนเราทุกๆ คนให้เข้มแข็งนะ ต้องไม่กลัว ต้องตั้งใจนะ เวลาทำวัตรเช้าอย่าไป...สวดไป...หลับไป ให้ตั้งใจสวด เดี๋ยวมันจะหลับ ต้องตั้งใจสวดด้วย...เอาจริงเอาจังด้วย....สติสัมปชัญญะ "ถ้าไม่ตั้งใจมันหลับแน่ เพราะตีสามถึงตีสี่นี้มันง่วงมาก...!" การปฏิบัติธรรมมันเป็นสิ่งที่ทวนกระแส เราจะมาสะเงาะสะแงะ จะมากระท่อนกระแท่นไม่ได้นะ ท่านจึงบอกว่า "พระอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ตายก่อนตาย..." เราได้มาบวช เราได้มาปฏิบัติ ให้ถือว่าเราเป็นผู้โชคดี พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ ให้เราตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ถึงแม้ว่าจะบวชไม่นานก็ยังดีกว่าผู้ที่บวชตั้งแต่น้อยจนแก่แล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติ ขอให้ทุกท่านภูมิใจ ดีใจ ทุกท่านทุกคนรักท่านนะ เคารพนับถือท่าน อย่าให้ความรัก ความเคารพนั้นผิดหวังในตัวท่าน พระพุทธเจ้าท่านหวังว่ากุลบุตรลูกหลานทุกท่านทุกคนจะมีความ หนักแน่น เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ให้สมกับเป็นลูกศิษย์ของเราตถาคต ให้ทุกท่านทุกคนถือว่าเกิดมาครั้งเดียว ตายครั้งเดียว ไม่ต้องกลัว ให้มันตายเพราะความดี วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ถือว่าเป็นการปฏิบัติของเรา ชีวิตของเราทุกท่านทุกคนต้องก้าวไปด้วยความดี สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ก็แล้วไป ทีนี้ทุกท่านทุกคนจะเอาใหม่ จะแก้ตัวใหม่..

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service