แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๑๘ เราทำตามพระพุทธเจ้า ถึงเป็นผู้ที่หอมทวนลม ผู้ได้เห็นได้ยินได้ฟังก็มีความสุข
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
พระใหม่ก็พากันเข้าใจ พระเก่าก็พากันเข้าใจพระธรรมวินัย เข้าใจในพระศาสนา เราจะได้รู้หลักการประพฤติหลักการปฏิบัติ นี่เราบวชไม่สึกเราก็ต้องไม่เป็นผู้ที่อาศัยวัดเราต้องเป็นเจ้าของวัด เป็นผู้ที่มีข้อวัตรมีข้อปฏิบัติ เหมือนที่บอกเมื่อวานนะ ผู้ที่มาบวชมาหากินกับศาสนา ก็ 99 % แล้วนะ แทบจะเป็นเลขศูนย์เลย เอาพระพุทธศาสนาเป็นเพื่อให้เหล่าพุทธไม่ศูนย์พันธุ์เฉยๆ แต่ก็ยังดีที่เหลืออยู่ 1 % นอกจากนั้นก็มีแต่รูปแบบ รูปแบบที่มาโกนผมมาห่มผ้านุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ที่เป็นผู้หญิงก็มาเป็นแม่ชี มาเป็นผ้าขาว เดี๋ยวนี้ก็มีภิกษุณีบวชจากประเทศอื่นแล้วก็มาอยู่ประเทศไทย กำลังมีมากในเรื่องนี้ แต่พื้นฐานมาเปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าสิ่งที่ถูกต้อง ปุถุชนก็ถือว่าเป็นสิ่งที่นอกรีตนอกรอยไป เห็นพระพุทธเจ้าเป็นนอกรีตนอกรอยไป เห็นพระผู้ปฏิบัตีดีทรงธรรมมีพระวินัยเป็นนอกรีตนอกรอยไป
การดูแลศาสนานี่ก็ ไม่ได้เอาภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เอาแต่หนังสือเอาแต่ลายเซนต์ เมื่อเป็นอย่างนี้การประพฤติการปฏิบัติก็ขาดตอน มันเก่งแต่พวกเดินเอกสารพวกไปเซนต์พวกอะไรอย่างนี้แหละ เมื่อคนไปควบคุมคนอื่นมันไม่ได้เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ความล้มเหลวนี่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนเกิน 100% ผู้ที่เป็นเจ้าอาวาส เป็นสังฆาธิการทั้งหลายนี่ ที่เขาว่าเจ้าอาวาสหรือว่าเจ้าอารมณ์ เราต้องอย่าไปเอาอารมณ์ เราต้องเอาธรรมะ เอาวินัยนะ ไม่งั้นเราก็จะเป็นพวกเดินเอกสารนะ จัดให้คนอื่นรู้เรื่องนี่มันก็เป็นนักปรัชญาเฉยๆ นะ ต้องพากันเข้าใจอย่าปล่อยให้เลอะเทอะ สกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่สมควรอย่างนี้
การเป็นภิกษุ แต่ว่า ไม่เป็นเป็นพระธรรมไม่เป็นพระวินัย พวกที่มาบวชก็ต้องพากันเข้าใจในการประพฤติการปฏิบัติ เมื่อลาสิกขาออกไปแล้วเราก็ต้องเอาความรู้ความเจ้าใจไปปฏิบัติในที่ทำงาน ในที่บ้านในครอบครัว ครอบครัวเราตระกูลเราก็จะตั้งอยู่ได้นาน อยู่ได้หลายหลายชั่วโคตร เมื่อเราไม่เอาสิ่งที่ถูกต้อง ตระกูลเราก็อยู่กันไม่ได้ มันสลาย หย่าร้างกันเหมือนฝรั่งก็มีมาก หย่าร้างในเอเชียก็มีมาก เพราะว่าเราไม่ได้เอาความถูกต้องเป็นหลัก เราไม่ได้เอาธรรมเป็นหลัก ไม่ได้เอาสมัครสมานสมัคคี เอาแต่ตัวตน เอาแต่สักกายะทิฏฐิ เป็นเจ้าอารมณ์
วัดเราทุกวัดก็พากันเปลี่ยนแปลง เมื่อเราเป็นโจร เราสมควรเปลี่ยนจากโจรมาเป็นพระไหม ทะว่ามหาชนก็ว่าสมควรนะ แต่ว่าตัวเราก็ไม่ยอมเปลี่ยนนะ เราจะข้ามวัฏสงสาร ก็ต้องเอาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เราต้องเอาญาณที่บอกว่า ญาณเกิดแล้วขึ้นแก่เรา ความรู้ความเข้าใจ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เอามาประพฤติปฏิบัติ จากเราเป็นโจร เป็นคนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เป็นคนที่โกงกินคอรัปชั่น เป็นคนคดในข้องอในกระดูก อะไรอย่างนี้ เป็นคนที่ประมาท หลงเอาความรวยเป็นที่ตั้ง เอาความสุข เอาความเป็นเทวดาเป็นที่ตั้ง ไม่ได้นะ มันทำให้เรามีการเวียนว่ายตายเกิด เรายังไม่ถึงพระนิพพานอย่างสมบูรณ์ มันต้องผ่านอยู่แล้ว
ถ้าอย่างนั้นเราก็จะมีความทุกข์ในการรักษาศีล ในการทำงานประเภทแบบนี้แหละ ผู้ที่บวชใหม่บวชเก่ายังไม่เข้าใจศาสนาเนี่ย สึกแล้วก็พาไปกินเหล้ากินเบียร์ พากันไปหลงสตางค์ พวกนี้ห่างวัดห่างวา กู่ไม่กลับเลย หลายแสนคนนะ เหลือไม่กี่คนที่ตั้งมั่นในศีลในธรรม ถือว่าการบวชเป็นการล้มเหลวนะ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ไม่ได้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีเลย มองหน้าลูกหน้าหลานก็เห็นแก่ตัว โครงสร้างก็คือว่ามันก็ดีพอสมควรนะ กฎหมายบ้านเมือง แต่ว่ามันไม่ค่อยเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ มันยังไม่อ่อนน้อมถ่อมตน เหมือนพระพุทธเจ้า เหมือนพระอรหันต์ เหมือนในหลวง ร.๙ นะ จะเข้าถึงความสุขในปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้นะ
พระใหม่พระเก่าก็ต้องพากันกระตือรือร้นนะ เพราะอย่างนี้เป็นความสุขเป็นความดับทุกข์นะ อย่ามาเดินเซ่อๆ เบลอๆ นอนเซ่อๆ เบลอๆ นั่งเซ่อๆ เบลอๆ ไม่ได้ เพราะเวลามีค่ามาก ถ้าเป็นนักกีฬาฟุตบอลก็วิ่งช้าเตะช้า สติปัญญาไม่ดีก็ย่อมแพ้ใช่ไหม เขาทำเป็นทีม ต้องสามัคคี สมานฉันท์สมานสามัคคีกัน
อย่าไปเป็นเหมือนอย่างนี้ พ่อแม่ก็ทะเลาะกัน ญาติพี่น้องก็ทะเลาะกัน ลูกก็ทะเลาะกัน คนเรามีความโง่อยู่แล้วมีความไม่ฉลาดอยู่แล้ว เราจะโง่ไปถึงไหน คนเราไม่รู้ว่าตัวเองโง่หรอก คนมันทะเลาะกันก็ไม่มีใครดีกว่ากันหรอก ถ้าคนหนึ่งดีกว่าก็จะเฉย คนนึงบ้าก็เฉยๆ ปล่อยให้เป็นบ้าไป อย่างนี้นะ เราเอาใหม่เราจะพลิกล็อคชีวิตใหม่ เราพากันมาบวชพากันปฏิบัติ เราไม่ต้องสนใจที่มาเอาปุถุชนมาเอามหาปุถุชนเป็นที่ตั้งเป็นหลัก ต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้านะ คนเราหน่ะมันไม่รู้ตัวเองนะ ตัวเองน่ะใจมันเน่า ใจมันเหม็น มันก็ไม่รู้หรอก มันก็จะพากันไปแก้แต่กับคนอื่น มองมาที่ตัวเราทุกคนมันก็เหม็น เหม็นกุย เหม็นคาว เหม็นสาบนะ เขาเลยให้เราอาบน้ำวันละ 2-3 ครั้งหน่ะ แต่ถ้าใจเราเหม็นมันหนักกว่าเยอะนะ มันเหม็นตามกันไปหลายภพหลายชาติเลยนะ
เราทำตามพระพุทธเจ้า ถือนิสัยของพระพุทธเจ้านะ เราถึงเป็นผู้ที่หอมทวนลมเนาะ ลมพัดไปที่ไหนก็หอมถึงนั่น มันหอมไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้ ผู้ได้ยินได้เห็นได้กลิ่นได้ฟังก็มีความสุข ทุกคนให้มีความสุขนะ มีสติสัมปชัญญะ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจนหายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสบายหายใจออกสบาย มีพุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้สบาย อย่างนี้แหละ
พระพุทธเจ้าท่านให้พวกเราทุกท่านดูแลกัน เวลาอยู่ร่วมกันให้เจริญเมตตาความสงสาร ก็ให้ช่วยเหลือกัน ให้ดูแลสุข-ทุกข์ของคนอื่น เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำความดีเหมือนกับพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้า ถึงค่ำก็ตกดิน พรุ่งนี้ก็ขึ้นต่อ ทำความดีก็เหมือนกัน ชีวิตของเราจะมีความสุขก็เพราะเราทำความดี เพราะเราเสียสละ เราเป็นผู้ให้ เพราะเรามีศีล มีธรรม มีคุณธรรมให้เรามีความสุขสงบในการทำความดีตั้งแต่เช้าจนถึงนอนหลับ ตื่นขึ้นก็ทำความดีต่อ
ถ้าเราไม่ทำความดี เราก็เป็น 'โมฆะบุรุษ' เป็นคนไม่มีประโยชน์ จิตใจของเราก็ไม่ตั้งในศีล ในสมาธิ ในปัญญา เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลงของ เรามันมุ่งแต่ผลประโยชน์ มันไม่ได้เป็นผู้ให้ มันเลยเป็นนิวรณ์บดบังคุณธรรมคุณงามความดี
ให้เราทำความดีเหมือนดวงอาทิตย์ ถึงเวลาก็ขึ้นตอนเช้าทุกวัน ไม่มีบ่นไม่มีอู้ ทำความดีไปเรื่อยๆ จนชำนิชำนาญ จนติดเป็นนิสัย จนอยู่เหนือการกลับคืน ทำให้สม่ำเสมอเหมือนกลางวันกลางคืน
กิเลสมันก็ชวนเราไปพูดคุยสรวลเสเฮฮา ขอไปเที่ยวก่อน ดูหนังคลายเครียดก่อน การคิดอย่างนั้นมันไม่ดี เราอย่ารับเอาเชื้อเอาสิ่งหล่อเลี้ยงให้กิเลส เราต้องต่อท่อน้ำเลี้ยงมาเข้าสู่จิตใจของเรา ตอนนี้เรายังไม่เห็นผล เพราะเรายังสร้างเหตุอยู่ ส่วนใหญ่คนเราไม่อยากสร้างเหตุ อยากได้แต่ผล มันเป็นไปไม่ได้ "ไม่ยอมประพฤติปฏิบัติไม่ได้นะ"
ให้มีความสุขแต่เช้า ทำความดีจนเข้านอน ตื่นขึ้นก็ทำต่อ... เดี๋ยวทุกอย่างจะดีเอง เราเกิดมาเป็นผู้ประเสริฐ เราเกิดมาเพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ ช่วยเหลือประชาชนคนร่วมโลก เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ถ้าเราใจดี ใจสบาย ก็ถือว่าเรามีสมาธิ ถ้าเราไม่ทำใจดี ใจสบาย ก็เหมือนเราถูกเผาทั้งเป็น คนอื่นก็ไม่รักเราไม่ชอบเรา เราก็ใจไม่สงบ
พระพุทธเจ้าถึงให้พวกเราดูแลกัน ยิ่งเวลาเจ็บเวลาป่วย ให้ดูแลเฝ้าอุปัฏฐาก พระพุทธเจ้าท่านสอนภิกษุ สามณร นักบวช เวลาออกบวชก็อุปัฏฐากดูแลกัน ผู้ที่บวชก็ดูแลคนที่มาอยู่วัด ที่มาปฏิบัติ พระหนุ่ม เณรน้อยก็อุปัฏฐากดูแลครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าท่านก็ถือว่าเป็น "วัตรปฏิบัติที่ประเสริฐ"
ยิ่งบวชนาน ก็ยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตน ยิ่งปฏิบัตินาน ก็ยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตน มิใช่หัวแข็ง มือแข็งกร่าง ถ้าเราอยากไปนิพพาน ก็ต้องอ่อนน้อมถ่อมตัว ไม่มีตัวมีตน
ถ้ามีตัวตนอย่างนี้ ไม่ได้! ไม่ถูก! จะให้ความเคารพก็แต่ครูบาอาจารย์ใหญ่ๆ ดังๆ ถ้าคนไหนไม่ใหญ่ ไม่ดัง ไม่มีชื่อเสียง ก็เฉย... ลักษณะนี้เรียกว่า "มีทิฏฐิมานะ มีสักกายทิฏฐิ"
ให้เรามีความเคารพคารวะกับทุกคน พระพุทธเจ้าท่านเป็นคนที่ไม่มี 'ทิฏฐิมานะ' อะไร ท่านถึงได้เป็นพระพุทธเจ้า เขาไปด่าพระพุทธเจ้าทั้งวันท่านก็ไม่โกรธไม่เกลียด
"เราทุกท่านทุกคนต้องทำใจสบายเหมือนพระพุทธเจ้า" พระพุทธเจ้าท่านเป็นคนที่สบาย ไม่มีปัญหา ท่านเป็นคนที่หัวใจไม่มีปัญหา มีหัวใจดับทุกข์ หัวใจติดแอร์คอนดิชั่น อยู่โคนไม้ก็สบาย อยู่ป่าอยู่เมืองก็สบาย ทำไมถึงสบาย... "ก็เพราะท่านไม่มีสักกายทิฏฐิ ไม่มีทิฏฐิมานะ"
คนเรานี้ อยากให้มันเร็ว...มันก็ไม่เร็ว อยากให้มันช้า...มันก็ไม่ช้า อยากให้หนาว...ก็ไม่หนาว อยากให้เป็น...ก็ไม่เป็น ความอยากมันเผาเรา "เราไม่ต้องอยาก เราเป็นผู้ให้"
ทำความดีเยอะๆ ส่วนมากทำนิดๆ หน่อยๆ ก็อยากร่ำอยากรวย เรียนนิดๆ หน่อยๆ ก็อยากสอบได้ดีๆ เราต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาจิตใจตัวเอง
เราต้องมาปรับที่หัวใจตัวเอง เหมือนเขาปรับคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ปรับให้มันชัดมันคม เพราะปัญหาต่างๆ มันอยู่ที่ใจของเรา มันจะวัดกันที่หัวใจ
สมณะที่ ๑ ๒ ๓ ๔ มันอยู่ที่หัวใจของเรา มันไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ ก็เช่น ปลงผม ชุดจีวร ชุดอุบาสิกา อันนี้เรียกว่า สมมุติแต่งตั้ง "ถ้าเราใจดี ใจสบาย ใจที่สงบนั่นแหละ สมณะที่ ๑ ๒ ๓ ๔ มันจะเกิดที่ใจของเรา"
ทำไมเราถึงบังคับให้รักษาศีล ทำวัตรสวดมนต์ ทำกิจวัตร ก็เพื่อให้เราไม่มีทิฏฐิมานะ ขอให้ทุกท่านทุกคนถือคติใจว่า เรานี้ เกิดมาเพื่อเสียสละ เพื่อให้ เพื่อไม่ตามใจตัวเอง เป็นผู้ที่มีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่มีแต่ความเมตตา ให้เราตั้งอกตั้งใจ
บางคนก็ท้อแท้ท้อถอย ว่าทำไมปฏิบัติไม่ไปไม่มา ก็เพราะว่าเราอยากบรรลุ แต่ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่สมน้ำสมเนื้อ
"ความดี' นี้ ต้องทำทุกหนทุกแห่ง ทั้งกายวาจาและจิตใจ อันไหนไม่ดีก็อย่าไปทำ ไปพูด ไปคิดเด็ดขาด เช่น คำพูดก่อนพูดเราเป็นเจ้านาย พอพูดเสร็จเราก็เป็นทาส เราพูดดีเขาก็เคารพนับถือ พูดไม่ดี เขาก็เกลียด
'ค่า' ของเราทุก ๆ คน มันอยู่ที่ผลของความดี ความเสียสละ เราอย่าเป็นคนสีลัพพตปรามาส ลูบคลำข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าเราไม่ตั้งอกตั้งใจ เราก็ไม่พ้นนักปรัชญา นักจิตวิทยาที่มีแต่เมล็ดพันธุ์ แต่ไม่ได้เอาปลูก ไม่ได้ดูแลรักษา
ความร้อนก็ดี ความหนาวก็ดี การขาดแคลนปัจจัยสี่ก็ดี ระบบสิ่งแวดล้อมต่างๆ นี้ มันเปิดโอกาสให้เราได้ฝึกจิตใจ ฝึกจิตใจอย่างไร? ก็ให้เราได้รักษาศีล ได้ทำสมาธิ ได้เจริญปัญญา ให้เราได้ทำจิตทำใจไม่มีทุกข์ ได้ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่คำพูด ความคิด การกระทำ ว่าอย่างนี้ มันต้องแก้อย่างไรดี "มันมีโจทย์ให้เราตอบ เราต้องตอบโจทย์ เราต้องสอบทันที มันจะตกหรือจะได้ก็รู้ทันที"
ตั้งเจตนาไว้ดีๆ ตั้งเข็มทิศไว้ดีๆ อย่าไปหลง อย่าไปเพลิน รูปมาก็หลงเพลินไป ทั้งหัวเราะทั้งร้องไห้ เสียง รส กลิ่น สรรเสริญก็เหมือนกัน
ความเพลินนี้ทำให้เราเสียเวลา เพราะว่าอันนี้มันเป็นโมหะ เป็นเครื่องเสพติด เราฝึกหายใจเข้าออกสบายไว้ก่อน
มีชีวิตอยู่...ด้วยความไม่ทุกข์ มีความสุข...ท่ามกลางวิกฤตการณ์ถือว่าเราประเสริฐโชคดีได้ประพฤติปฏิบัติ
พระยสะเป็นลูกคนรวยลูกเศรษฐี ทุกอย่างก็สบายแล้ว แต่ก็ยัง..."ทุกข์หนอ วุ่นวายหนอ ขัดข้องหนอ" เดินเพ้อไปจนถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ไม่ขัดข้อง"
พระพุทธเจ้าสอนให้เสียสละ ให้ทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ และชี้ให้เห็นโทษของสวรรค์ คือ โทษของความเพลิน แล้วชี้ทางพ้นทุกข์ คือ เนกขัมมะ จนบรรลุเป็นพระรหันต์ ท่านสอนให้เชื่อมั่นในความดี
ในโลกนี้ต้องการคนดี ไม่ว่าวัด ไม่ว่าโรงเรียน ไม่ว่าบริษัท หรือที่ไหนๆ ก็ต้องการคนดี ความดีเท่านั้น ที่นำเราออกจากทุกข์ ออกจากความยากจน ออกจากวัฏฏสงสาร
คนเรามันต้องทำใจให้สบาย ให้มีความสุขให้มากขึ้น ไม่ว่าพระไม่ว่าโยมเราต้องทำใจให้สบาย ให้มีความสุข เพราะว่าจิตใจของคนเรามันส่งออกข้างนอก มันโหยหวนวิ่งหาความสุข เปรียบเหมือนคนที่วิ่งตะครุบเงาตัวเอง ยิ่งวิ่งเท่าไรก็ยิ่งเหนื่อย วิ่งเท่าไรก็ไม่เจอ มันมีความวิตกวิจารณ์เรื่องเงิน เรื่องทอง เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องค่าใช้จ่าย ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในความชอบ ความชัง กลายเป็นคนใจแตก กลายเป็นคนฟุ้งซ่าน
ให้กลับมาหาตัวเอง มาดูตัวเองว่า ตัวเองนี้หายใจเข้าสบายหรือยัง ตัวเองนี้มีศีลดีไหม การประพฤติของเราดีไหม มีการเสียสละมากพอหรือยัง หรือยังเป็นคนฟุ้งซ่านอยู่ หรือยังเป็นคนจิตใจไม่หนักแน่น มันหวั่นไหวอยู่ "เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ มันเป็นการบั่นทอนความดี บั่นทอนบารมีของเรา"
คนเราต้องมีความสุขในการทำความดี ในการไม่ตามใจตนเอง คนเรามันมีความสามารถมาก มีศักยภาพมาก ถ้าไม่ตามความโลภ ความโกรธ ความหลงของตัวเอง
คนเรานี้... เปรียบกับรถที่วิ่งมาเร็วเป็นร้อยสองร้อย จะให้มันมาหยุดนิ่งเลยมันไม่ได้ คนเราถ้าไม่ได้ทำตามใจตัวเอง หัวอกมันจะแตกตาย ถ้าเป็นรถวิ่งมาเร็วหยุดไม่อยู่ เพราะเบรกมันแตก
ขอให้เราทุกท่านหนักแน่นสุขุมไว้ ให้อยู่เหนือความชอบ ความไม่ชอบ ...อยู่เหนือการถอยกลับ เราต้องพัฒนาตัวเองให้ได้
ถ้าเราไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ไม่เอาพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง ความรู้ของเราก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา เป็นเพียงความรู้ของนักปรัชญา เป็นแค่นักจิตวิทยา ให้เราเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นคุณค่าของกาลเวลา.
ชีวิตประจำวันของเรานี้จำเป็นต้องใช้สมาธิมาก สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น ทำอะไรต้องมีความตั้งมั่นไว้ตลอดเวลา หรือว่าตลอดกาล...
สมาธิ แปลว่า ความสุข ความดับทุกข์ในปัจจุบัน ทำอะไรต้องทำให้จิตใจมีความสุขอยู่กับการกระทำ อย่าให้ใจของเรามันทุกข์ อย่าให้ใจของเรามันเครียด
คนเรามันต้องสู้กับตัวเอง บังคับตัวเอง ตัวเองเป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็นคนตามใจตัวเอง เป็นคนสะเปะสะปะ เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน เราพยายามอย่าไปให้อาหารมัน เราให้มันมาก...มันก็มีกำลัง เราต้องเบรกมันไว้ หยุดมันไว้
คนเรามีความอยาก ความต้องการที่จะเจริญ ที่จะร่ำรวย ที่จะมีคุณธรรม แต่ก็ไม่อยากบังคับตัวเอง ทำความดีต้องพยายามบังคับตัวเอง ดตัวเอง ท่านเรียกว่า 'ความเพียรชอบ' ถึงเวลานอนต้องบังคับให้มันนอน ถึงเวลาตื่นต้องบังคับให้มันตื่น อย่าไปตามใจตนเอง อย่าตามธาตุตามขันธ์ ให้ใจหนักแน่น ให้ใจเข้มแข็งไว้ อย่าไปตามใจความอยาก ความเอร็ดอร่อย
'ความคิด' ก็เหมือนกันเราต้องบังคับมัน อันไหนไม่ดีอย่าไปคิดมัน อย่าไปหมกมุ่นอยู่กับมัน หยุดมัน ถ้ามันคิดไปแล้ว มันจะมีอิทธิพลกับชีวิตเรา ทำให้ตัวเองเครียด ทำให้เราเป็นโรคประสาท เป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์โดยเปล่าประโยชน์ พยายามเอาจิตใจมาคิดเรื่องการเรื่องงาน เรื่องที่ไม่เข้าใจ...ให้เข้าใจ
เอาใจเรามาแยกแยะรู้จักรู้แจ้ง อันไหนมันถูก อันไหนมันชั่ว มาพิจารณาตัวเองที่มันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเป็นเพราะสาเหตุอะไร ทำไมมันจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมันจึงไม่เจริญ เพื่อหาสาเหตุมาแก้เหตุอย่างนั้น มาดูตัวเอง กิเลสของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง มันมีความโกรธมากไหม เมื่อรู้ว่าโกรธต้องเจริญเมตตาให้มาก ๆ
เราเป็นคนเถียงพ่อเถียงแม่รึเปล่า ถึงมีปัญหา ฝึกดูคำพูด ฝึกดูความคิดของเรา เราพูดไม่ทันได้คิด เมื่อพูดไปแล้ว ก็ทำให้เราผิดศีลข้อที่ ๔ เราต้องดูว่า เรานี้หลงตัวเองหรือเปล่า ต้องหาวิธีแก้ความหลงให้กับตัวเอง พิจารณาพระไตรลักษณ์ให้มากๆ ถ้ามันหลง ต้องพยายามพิจารณาพะไตรลักษณ์ให้เยอะๆ ให้เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เห็นอนัตตา
บางทีความคิดนี้มันหลง มันลืมความแก่ ลืมความเจ็บ ลืมความตาย มันไม่เห็น...แต่ความแก่ก็ประดังเข้ามา ความเจ็บก็ประดังเข้ามา ความพลัดพรากก็ประดังเข้ามา
มัจจุราชเขามาเตือน คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันก็ไม่สน เพราะมันมัวเพลินอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในลาภ ในยศ "เดี๋ยวมันจะตกเครื่องขบวนสุดท้ายได้นะ"
มันมีทิฏฐิมาก มีมานะมาก ใครแตะต้องมันไม่ได้ เพราะมันมีเหตุผลมาก เป็นพวกรู้มาก ใครพูดอะไร-ว่าอะไร เป็นอันว่าต้องเถียงไว้ก่อน มันถืออภิสิทธิ์ไว้ก่อน
'ความคิด' ของเรา มันสร้างปัญหาให้กับเรามากมาย เราอย่าไปเชื่อมัน ถ้าเราเชื่อมัน เชื่อความคิดของเรา มันมีปัญหามาก ให้เราเชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพียงแต่เราประพฤติปฏิบัติตาม เหมือนมีอาหารอยู่บนโต๊ะเสร็จสรรพทุกอย่าง เพียงแต่ให้เรานำมาบริโภค
อยู่ในโลกนี้มันมีปัญหา เพราะตัวเองเป็นคนไปสร้างปัญหา เพราะปัญหาในโลกนี้มันไม่มี ที่มันมีเพราะตัวเราเองไปสร้าง เราไปสร้างปัญหาทางความคิดของเราเอง เราไปสร้างทางคำพูดของเราเอง สร้างทางการกระทำของเราเอง "เพราะว่าเราเป็นคนหัวดื้อว่ายากสอนยาก"
พระพุทธเจ้าท่านตรัส 'อริยมรรค' ให้เราเดิน
สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็อยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ 'ความเห็นชอบ' คนเราความเห็นนี้สำคัญ ความเห็นส่วนใหญ่มันเห็นผิด ถ้ามันไม่เห็นผิด เราไปนิพพนกันหมด เราต้องมาทำตามพระพุทธเจ้า เชื่อพระพุทธเจ้าไว้ก่อน ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลักเอาศีล เอาธรรมเป็นหลัก
๒. สัมมาสังกัปโป 'ความดำริชอบ' ดำริออกจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึด ความถือถึงเรายังไม่หมดกิเลสเราก็พยายามคิดที่จะออก เห็นภัยในความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พยามยามรักษาศีลให้ได้ หยุดตัวเองให้ได้ ความตรึกนึกคิดอะไร ให้คิดให้ดีๆ ให้คิดเพื่อสร้างบารมี
พระพุทธเจ้า เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีท่านก็ต้องมีความตรึกนึกคิดเป็นหลายร้อยชาติกว่าจะได้ประกาศปฏิญาณว่าจะเป็น 'พระพุทธเจ้า'หลายอสงไขย...
เราก็เหมือนถูก 'กรงขัง' ก็ต้องพยายามหาทางออกให้กับตัวเอง ชีวิตนี้ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราก็เอาสรีระร่างกายมาทำประโยชน์ มาคิดที่จะออกจากภพจากชาติ ออกจากวัฏฏสงสาร
สรุปแล้ว เราต้องมีความตั้งมั่นในการปฏิบัติของตนเองตั้งแต่เช้าจนนอนหลับ มีชีวิตอยู่ด้วยการทำความดีสม่ำเสมอ เราจึงจะมีประโยชน์ในการได้เกิดมาและได้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น
ความสุขความดับทุกข์มันอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งในวัดในบ้านในที่ทำงาน ทำงานก็มีความสุข ความสุขที่เราเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง พวกงมงายพวกเครื่องรางของขลังก็ดี ของพระพุทธเจ้าก็ดี ของครูบาอาจารย์ก็ดี อันนั้นก็เป็นเรื่องของท่าน เราจะเอามาเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้ เราต้องเอาขลังศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องข้อวัตร ข้อปฏิบัติ ให้มันขลังอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นไม่ได้ พวกนี้มันจะเอาดีข้างนอก พระใหม่ต้องพากันกระตือรือร้น เราอย่าไปถือมาตรฐานที่ผ่านๆ มา เราเพียงแต่เขียนตำหรับตำราเพื่อไม่ให้มันหาย การเรียนการศึกษาก็เพื่อให้เข้าใจคำสอน แต่ว่าไม่ได้เข้าถึงมาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติ มันเป็นนักปกครอง ปกครองแต่ลายเซ็นต์
ผู้มีปัญญาทั้งหลายต้องเข้าใจว่า เราไม่ใช่มาบวชเอาแค่นี้ เราต้องบวชเพื่อพรหมจรรย์ เพื่อพระพุทธเจ้า เพื่อกตัญญูกตเวที เพื่อมาชำระ สะสางจิตใจของตัวเอง เราถึงจะกราบตัวเองได้ ไหว้ตัวเองได้ เราส่งไม้ผลัดให้รุ่นน้อง สู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ทุกท่านทุกคนต้องอาจหาญ ร่าเริง แจ่มใส เอาพระธรรมพระวินัยในโลกนี้เราไม่กลัวอุปสรรค ไม่กลัวปัญหา เพราะอุปสรรคและปัญหานั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนรู้จักและต้องผ่านด้วยภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เราทานอาหารถึงแข็งแรง เราพักผ่อนเราถึงแข็งแรง เรามีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง แล้วปฏิบัติถูกต้องใจของเราถึงแข็งแรง