แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันเสาร์ที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๑๒ ปรับตัวเองเข้ามาหาธรรมะ ความสุขความดับทุกข์ถึงจะเกิดขึ้นแก่เราได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เป็นวันหยุดราชการมาร่วมรวมกัน บำเพ็ญกุศลสร้างคุณงามความดี พร้อมทั้งศึกษาธรรมะให้เข้าใจ จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิด IQ EQ พัฒนาสู่ภาคปฏิบัติคือ RQ การประพฤติการปฏิบัติธรรมผู้ที่เกิดมาในโลกนี้ ทุกคนในโลกนี้ต้องประพฤติต้องปฏิบัติธรรม ต้องพากันเข้าใจ ธรรมะนี้แยกจากเราไปไม่ได้นะ การประพฤติการปฏิบัตินี้ก็เริ่มต้นจากเข้าใจ เพราะการเล่าเรียนจากพ่อจากแม่ ที่พ่อแม่บอกลูกตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ ตั้งแต่คลาน หรือว่าเริ่มก้าวย่างก้าวเดิน อันนั้นเค้าเรียกว่าธรรมะ เรื่องผิด เรื่องถูก เรื่องสมมุติ การเรียนการศึกษาก็เพื่อเข้าใจธรรมะ เพื่อจะได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้ตามหลักเหตุผล ไปตามหลักวิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
เราไม่มีสิทธิ์ที่จะทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง ทำตามความรู้สึกของตัวเอง ไม่มีรักตัวเองมากขึ้นอีก ไม่มีที่สิทธิ์ที่รักญาติพี่น้องตัวเองมากกว่าประชาชนคนที่ไม่รู้จัก มากกว่าพวกสัตว์ เราต้องปรับตัวเองเข้ามาหาธรรมะอย่างนี้ ความสุขความดับทุกข์มันถึงจะเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเป็นการละสักกายทิฏฐิ การทำถูกต้องอย่างนี้คือการละสักกายทิฏฐิ
ถ้าเราไปรักตัวเองมากกว่าคนอื่นเราก็ยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ ผู้ที่รักตัวเองมากกว่าคนอื่นสัตว์อื่น ถึงยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ แต่ทุกคนก็ต้องมาแก้ที่ตัวเอง เพื่อให้พรหมจรรย์ของเราให้สมบูรณ์อย่างนี้ เราทุกๆ คนก็พากันปฏิบัติอย่างนี้ ทุกคนในโลกนี้ ถ้าสมมุติว่าแสนล้านคนอย่างนี้ก็ ก็ทำเหมือนกันอย่างนี้มันก็ไม่มีปัญหา โลกทุกวันนี้มันเทคโนโลยีอะไรก็สามารถที่จะทำพร้อมกันได้
แม้แต่ผู้ที่บวชมาก็ยังไม่เข้าใจของพระพุทธเจ้า มันไปรักตัวเองมากกว่ารักธรรมรักวินัย พวกที่รักตัวเองมากกว่าธรรมะวินัยนี้ คือยังทำตามความยึดมั่นถือมั่นของตัวเอง เช่น พระพุทธเจ้าให้ ไม่ให้มีตัวไม่ให้มีตน เอาธรรมวินัยเป็นหลักก็ไม่เอา ผู้ที่บวชมานี้ยังไม่ออกจากโบสถ์ก็ยังทำผิดเลย เช่นว่ารับเงินรับสตางค์ นั่นแสดงว่ายังไม่เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอยู่ยังไปห่วงเรื่องอยู่เรื่องกิน เรื่องอะไรอย่างนี้ ยังไม่ได้พึ่งในการเสียสละ ละตัวตนอย่างนี้แหละ ถึงพากันมีสตางค์ มียศ มีตำแหน่ง ที่ได้รับการแต่งตั้ง
ถ้าเราจะได้รับยศรับตำแหน่งก็ต้องเป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติ ที่เกิดจากการที่เราเสียสละ เหมือนตำแหน่งที่ผู้ประพฤติปฏิบัติ มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง แล้วก็เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เป็นพระอรหันต์อย่างนี้ เราต้องมีสัมมาทิฏฐิมากขึ้นไปอีก เราไปแก้คนอื่นมันก็ต้องอย่างนี้ เราก็ต้องรับเงินรับสตางค์ ได้สังฆทานมาก็เก็บไว้ นั้นถือว่าเป็นลูกน้องพวกพ้องของตาชูชก ทำการสั่งสมอยู่ ไม่เสียสละ ไม่เป็นธรรมไม่เป็นปัจจุบันธรรม ตัวเองก็เคารพตัวเองยังไม่ได้ ความคิดอย่างนี้เค้าเรียกว่าเรายังโง่อยู่ ยังหลงอยู่ เรายังมี sex ทางความคิด ทางอารมณ์ เรายังมี sex ในสิ่งที่คิดผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่
เพื่อนสหธรรมมิกที่รุ่นเดียวกัน และก็รุ่นน้อง รุ่นพี่ พวกนี้ต้องปรับเข้าหากัน เราก็ดูแลคนอื่นเหมือนกับดูแลตนเอง ดูแลคนจนคนรวยก็ดูแลเหมือนกัน เราก็ดูตัวอย่างแบบที่ระบบสีดำ สีเทา ดูแลสำหรับคนที่ให้ผลประโยชน์ ดูแลทางศาสนา ก็ดูแลเฉพาะคนรวย มันระบบที่ไปทางอัตตาธิปไตย นี่ไม่ใช่ธรรมธิปไตย ต้องแก้ทางปฏิบัติถ้าอย่างนั้นมันเสียเวลา
ผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่มีความสุขในการทำงาน เพราะใจมันอยู่กับบ้าน อยู่กับรถ อยู่กับเงิน อยู่กับอะไรๆ มันไม่มีความสุขในการเสียสละ การเรียนการศึกษามันถึงมีความผิด คนจนก็ยิ่งจนทั้งวัตถุ จนทั้งใจ ความเป็นจริง หรือความสุขความดับทุกข์ ไม่ได้เกี่ยวกับความรวยความจน เกี่ยวกับความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องอยู่ในปัจจุบัน ถ้าไม่อย่างนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้ามันก็ผิดหมด
พระโสดาบันหน่ะ มีความสุขกว่ามหาเศรษฐีที่เป็นปุถุชน เพราะอย่างนั้นเราก็ต้องเข้าใจ เราต้องปรับใจของเราเข้าหาธรรมะ ไม่ใช่ปรับธรรมะเข้าหาใจของเรา ต้องปรับใจเข้าหาธรรมะ ปรับใจของเราเข้าหาขนาดของเงิน ไม่ใช่ปรับเงินเท่าขนาดของใจ เราอย่าไปหลงประเด็น ถ้าอย่างนั้นเราก็ย่อมฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หลงไหลไปในอบายมุข อบายภูมิ เราต้องมาเสียสละ ถ้าเราไม่เสียสละ เราก็ยังมีอัตตาตัวตน เราก็ยังมีระบบหมู่เฮา ระบบครอบครัว ระบบสะสม บวชมาแล้วก็ยัง ใจยังไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ยังยินดีในสตรี ยังยินดีในโทรศัพท์ ยังถือพรรคพวก ที่เป็นโจรเป็นหลัก ไม่ได้ถือพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เราก็ยังไม่ได้เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
เราก็ทำเหมือนพระพุทธเจ้า ทำเหมือนพระอรหันต์ทำ พระพุทธเจ้าน่ะทรงออกผนวช จนได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า โปรดคนอื่นก่อน ถึงได้มาโปรดพ่อ โปรดแม่หรอก เพราะทุกคนคือ เพื่อเกิดแก่เจ็บตาย เราต้องดูแลทั้งคนรวย ดูแลทั้งคนจน ดูแลทั้งตัวเอง ดูแลทั้งคนอื่น ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน สติสัมปชัญญะของเราถึงจะสมบูรณ์
เราทุกคนต้องพากันทำอย่างนี้ ทำเป็นทีม พวกคนนิสัยที่แย่ๆ เห็นแก่ตัว ตามจิต ตามใจ ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่เอา เราถือนิสัย ถือวินัยของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าคือธรรมะ ธรรมะคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือศีล คือสมาธิ คือปัญญาที่ละความเห็นตัว ไม่ใช่ปัญญาเพื่อเห็นแก่ตัว เหมือนปัญญาที่เปรียบเสมือนโควิดที่เรากำลังกลัวกันนี่แหละ แต่เราไปกลัวโควิดภายนอก แต่โควิดภายในมันใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่านะ เราก็ไม่รู้จัก ความไม่รู้จักนี้ก็ถือว่าแย่นะ เรามีร่างกายก็ต้องใช้ร่างกายให้มันเต็มที่ด้วยการเอามาภาวนา เอามาพิจารณา ทุกๆ คนน่ะมันมีแง่มุม มีแต่ทางความเห็นแก่ตัว เราทุกคนรักตัวเอง รักญาติพี่น้องตัวเอง รักอะไรตัวเองน่ะ แต่รักไปในทางมิจฉาทิฏฐิรัก โอ๋...ลูกตัวเอง โอ๋ตัวเองอะไร ขอโอกาสไปเรื่อย ไม่กล้าแตะต้องกิเลสตัณหา ราคะของตัวเอง เราจะเอาอวิชชา เราจะเอาความหลงเป็นแบ็ค ตามใจตามอารมณ์จนเคยชินแล้วอะไรแล้ว
"การประพฤติการปฏิบัติธรรม' พระพุทธเจ้าท่านมีความเมตตากับเราว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เป็นสิ่งที่จำเป็น ให้เราทุกคนมาปฏิบัติที่ตัวเรา มาแก้ไขที่ตัวเรา อย่าไปแก้ที่คนอื่น เรื่องคนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่น เราอย่าไปเอาดีเอาชั่วกับคนอื่น ไปเอาถูกเอาผิดกับคนอื่น ให้เรานึกคิดเสียว่ามันเป็นโอกาสที่จะให้เราได้ประพฤติปฏิบัติธรรม
ถือโอกาส...ถือเวลาว่าสิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นกับเรานั้น เป็นโอกาสที่เราจะได้แก้จิตแก้ใจ ปรับจิตปรับใจ จิตใจของเราอย่าคล้อยตาม อย่าเอียงตาม เมื่อคนอื่นเค้าทำไม่ดี ทำไม่ถูก เราก็อย่าไปทำผิดเหมือนเค้า เมื่อคนอื่นเค้าพูดไม่ดีไม่เพราะก็ช่างหัวเค้า หรือว่าคนอื่นเค้าเป็นโรคประสาท เราก็อย่าไปเป็นเหมือนเค้า เค้าเป็นบ้าเราก็ไปเป็นเหมือนเค้า เราก็อยู่ส่วนเรา เค้าก็อยู่ส่วนเขา
อย่างเรานี้นะ... มันต้องได้ยินคำพูดที่ไม่ดี เราก็เห็นอาการกิริยาเค้าเป็นโรคประสาท เห็นการกระทำของเค้ามีความเห็นแก่ตัวอย่างนี้แหละ ก็ให้นักปฏิบัติทั้งหลายถือว่าเราเป็นคนโชคดีนะที่จะได้แก้ที่ ใจ' ของเรา
โลกของเรานี้เต็มไปด้วยความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ความไม่ได้สมหวังน่ะ นี้ก็ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ เป็นอริยทรัพย์ที่ให้เรามาแก้ที่จิตที่ใจว่า เราก็ย่อมเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน เพียงแต่เดี๋ยวนี้มันยังไม่ถึงเราเน้อะ
อย่างเราเป็นคนคนหนึ่งอย่างนี้แหละ คนนั้นก็มาฟ้อง ว่าคนโน้นไม่ดีอย่างโน้น ไม่ดีอย่างนี้ ท่านสอนเราว่า "เรามีหูก็ฟังไป เรามีตาก็ดูไป เราฟังแล้วก็แล้วไป" อย่าไปสานเรื่องสานราวให้เป็นเรื่องเป็นราว เราฟังคนนี้พูดก็ว่าเหมือนกับคนนี้ถูก ถ้าเราฟังอีกคนที่เป็นคู่กรณีมาพูด เค้าก็พูดดีพูดถูกน่ะ
พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ทำเรื่องเล็กไม่ให้มีเรื่อง เราพยายามนิ่ง เราพยายามหยุด เราพยายามเย็น เราอย่าพากันวุ่นวาย วิ่งตามสิ่งภายนอก คนเรามีตามันก็เห็นสิ่งที่ดีไม่ดีทั้งนั้นแหละ เรามีหูเราก็ได้ยินสิ่งที่ไม่ดีทั้งนั้นแหละ จะดีหรือจะชั่ว ทุกอย่างมันก็เป็นอนิจจัง ถ้าเราไปยึดมั่น ถือมั่นมันก็เป็นทุกข์ เพราะทุกอย่างมันเป็น 'อนัตตา' ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
พระพุทธเจ้า ท่านให้เรากลับมาปรับปรุงตัวเองอย่างนี้ แก้ไขตัวเองอย่างนี้ 'จิตใจ' ของเราอย่าให้มันพุ่งไปข้างหน้า เราพยายามแก้ไข พยายามดับทุกข์ พยายามแก้ไขตัวเอง ด้วยสติปัญญาในปัจจุบัน
"ใจของเรามันชอบพุ่งไปข้างหน้านะ มันไม่เอา ความสุขความดับทุกข์ในปัจจุบันน่ะ คนเราต้องมีความสุขมีความดับทุกข์ในปัจจุบัน ต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัยที่รู้อยู่ เห็นอยู่ ในปัจจุบัน ให้ปัจจุบันให้มันเกิดสวรรค์ เกิดนิพพานใน 'ใจ' ของเราให้ได้"
อย่างเราทำงานน่ะ...ให้มันได้ 'พระนิพพาน' ในการทำงาน เราทำงานเพื่องาน ทำงานเพื่อเสียสละ ทำงานเพื่อสติสัมปชัญญะเราสมบูรณ์ ใจของเราไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่เงิน ถ้าเราทำงานเพื่อเงิน ใจของเราก็จะอยู่ที่เงินจ้องอยู่ที่เงิน การงานของเรามันเลยเผาเรา มันทิ้งปัจจุบันไป มันไปอยู่กับอนาคตโน่น มันไปอยู่กับตอนสิ้นเดือนที่จะได้รับเงินเดือนโน่น
อย่างเรากวาดบ้านอย่างนี้แหละ ใจของเราก็คือต้องการให้บ้านสะอาด ถ้าเราคิดอย่างนั้นกิเลสมันก็เผาเรา "เราทำงานนี้ก็เพื่อเสียสละ เพื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์" เพื่อใจของเราจะเย็น...เราได้ทั้งใจสงบ...ใจเย็นแล้วก็ได้ทั้งสติสัมปชัญญะแล้วก็ได้ทั้งบ้านสะอาด
พระพุทธเจ้าท่านให้เรามาปฏิบัติในปัจจุบัน มาอบรมบ่มอินทรีย์ แต่ละคนให้แข็งแกร่งแข็งแรงมาก คนทุกวันนี้น่ะ มันเต็มไปด้วยความอยากความต้องการ... ความอยากความหลงมันเผาเรา ไม่ตายก็ถูกเผาเสียแล้ว อย่างใจของเรานี้นะ สิ่งไหนมันชอบ มันหลง มันก็จะคิดอย่างนั้นแหละ ไม่ว่าจะหลงในรูป ในเสียง ในลาภ ยศ สรรเสริญ มันก็คิดอย่างนั้นแหละ
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราคิด ท่านให้เราอดให้เราทน ไม่ให้เราคิด เมื่อเราไม่คิดเราอดเราทนน่ะ วันหนึ่ง สองวัน สามวันอย่างนี้ ใจของเรามันก็จะเย็นไปเรื่อย หกวัน เจ็ดวัน ใจของเรามันก็ยิ่งเย็น อย่างเราโกรธให้ใคร โมโหให้ใคร เรต้องอดเอาทนเอา แก้ไขจิตใจของตัวเอง อย่าไปแก้ไขคนอื่น เราคิดว่า อีกซัก ๗ วัน ให้ใจดีๆ ก่อน ถึงจะด่าให้เค้า ถ้าเราใจไม่เย็น ก็ต้องให้เราใจเย็นไว้ก่อน เราถึงค่อยด่าค่อยว่าเค้า
คนเราน่ะมันไม่อดไม่ทนนะ อยากไปมันก็ไป 'มันไม่มีเบรก' อยากอยู่มันก็ไม่ไปน่ะ เพราะว่า 'มันไม่มีคันเร่ง' นะ เราต้องปรับใจเข้าหาธรรมะ อย่าไปดึง 'ธรรมะ' เข้ามาหาตัวเอง คนรู้คนฉลาดน่ะมีเหตุผลเยอะ... พยายามดึงธรรมะเข้ามาหาตัวเอง ไม่ปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ
เราทุกคนน่ะพยายามแก้ที่ตัวเองให้ใจมันสงบ ใจเย็น เมื่อใจมันสงบ ใจเย็น ปัญหาต่างๆ มันก็ไม่มี ที่ปัญหาต่างๆ เรามี ก็เพราะว่าใจของเราไม่สงบ เราอาจจะเครียดเรื่องการเรื่องงาน เรื่องลูกหลาน สารพัดเครียด ใจของเราไม่สงบ มองอะไรมันก็เกะกะไปหมด "เค้ายิ้มให้...ก็ว่าเค้าเยาะเย้ย เค้าพูดเสียงดังฟังชัด...ก็ว่าเค้าพูดกระแทกแดกดัน สาเหตุก็เพราะใจของเราไม่สงบ ใจของเราไม่เย็น..."
พยายามเข้มแข็ง เวลาที่แข็งแรงสุขภาพดี ใจมันก็คิดอย่างหนึ่ง เวลาเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียเมื่อยล้าสุขภาพไม่แข็งแรง จิตใจก็อีกอย่างหนึ่ง เราอย่าไปสนใจนะ เราพยายามปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ เพราะว่าสวรรค์ นิพพาน มันเปิดอยู่แล้ว มันมีอยู่กับเราทุกๆ วัน ในชีวิตประจำวัน พยายามแก้ไขปรับปรุงจิตใจน่ะ
คนเราถ้าใจมีความสุข...เวลามันผ่านไปเร็ว เวลามีความทุกข์อย่างเรานอนไม่หลับดูเหมือนคืนหนึ่งมันยาวนาน คนที่เกิดในสวรรค์น่ะ ร้อยปีของเมืองมนุษย์เค้ามีความรู้สึกเหมือนกับวันหนึ่งของเขานี่เอง เพราะเค้าสบาย ยิ่งถ้าเราปรับจิตปรับใจค้าหา 'นิพพาน' น่ะ ยิ่งใจดีกว่านั้น ใจเย็นกว่านั้น ดูตัวอย่างพระอรหันต์ท่านสบายน่ะ เข้านิโรธสมาบัติเจ็ดวันก็เหมือนยังไม่ได้นั่งสมาธิเลย เพราะว่าความสบาย ความดับทุกข์มันมีที่จิตที่ใจสงบ
พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกๆ คน มาแก้ที่จิตที่ใจอย่างนี้นะ ใครก็มีพ่อ มีแม่ มีญาติ มีพี่น้อง มีกิจการกิจกรรมต่างๆ น่ะ ไม่ให้เราฟุ้งซ่านตามสิ่งเหล่านั้นน่ะ ต้องพากันมาฝึกใจสงบ ฝึกใจเย็น มีสติมีสัมปชัญญะ ทำอย่างนี้แหละ ปฏิบัติอย่างนี้แหละ
เราทุกๆ คนนี้ มีแต่มุ่งจะเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว... อย่างเราอยู่อย่างนี้น่ะ คนอื่นเค้าไม่รู้จักว่าเราเป็นใครมาจากไหน เป็นคนสำคัญเป็นคนพิเศษอย่างไร เค้าเลยไม่ได้สนใจเรา ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่เรา ใจเรามันเลยไม่สบาย เพราะเรามันขาดอะไรซักอย่าง อย่างนี้ท่านว่า เราเป็นโรคทางใจ คือ เป็นโรคที่คนอื่นเค้าไม่สนใจ เป็นโรคคนไม่ถามหานะ
มันเป็นเพราะสาเหตุอะไร...? เป็นเพราะว่าเราจะเป็นแต่ผู้เอา มันไม่ได้เป็นคนเสียสละ มันต้องทิ้งอัตตา ทิ้งตัว ทิ้งตนน่ะ...ว่าเราว่าเขา...ว่าเรามียศมีตำแหน่งเป็น ดร. เป็นคนรวย เป็นคนแก่คนเฒ่า
เวลาเด็กไม่กี่ขวบนะ... เขาพูดกับเราไม่ดีไม่เพราะเสียงแข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่เหมาะไม่ควร ใจของเราก็เป็นทุกข์เป็นร้อน เป็นยักษ์เป็นมาร นี่ก็ให้เราทุกคนรู้จักตัวเองเสีย ว่าเรามีสักกายทิฏฐิ ถือเนื้อถือตัวอย่างมากนะ ความถือตัวถือตนอย่างนี้เราต้องตัด ต้องละ ต้องทิ้งให้หมด เพราะ 'พระนิพพาน' มันไม่มีคนหนุ่มคนสาว ไม่มีคนร่ำคนรวย ไม่มีอัตตา ไม่มีตัว ไม่มีตน มันมีแต่สิ่งที่เอามาพูด เอามาปรุงแต่งไม่ได้ ถ้าปรุงแต่งเมื่อไหร่มันมีทุกข์ทันที มันไม่ใช่พระนิพพาน
ต้องฝึกทำใจให้สงบ อัตตาตัวตนเรามีมาก บางทีเราก็ยอมรับในสิ่งที่มันไม่เหมาะไม่ควรไม่ได้ 'ธรรมะ' ของพระพุทธเจ้ามันนอกเหตุเหนือผล ถ้าเราไปเอาเหตุเอาผล มันต้องทะเลาะกันแน่ มันต้องแบ่งพรรคแบ่งพวกแตกความสามัคคีกันแน่
พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราอยู่เหนือเหตุเหนือผลว่า ทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เราจะไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เราต้องมาแก้ที่จิตที่ใจของเรา เราต้องมาปฏิบัติเพื่อไม่มีตัวไม่มีตน จะได้ไม่วุ่นวาย
คนเราพวกหนุ่มๆ สาวๆ ถ้าผิวดำหน่อยก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าสิวขึ้นหน่อยก็เป็นทุกข์แล้ว เราไม่สวยก็เป็นทุกข์แล้ว เราไม่หล่อก็เป็นทุกข์แล้ว แสดงถึงว่าเราไม่รู้จักพระนิพพาน ไม่รู้จักความสงบ ไม่รู้จักความดับทุกข์
เราจะเอาโลกธรรมมาย่ำยีหัวใจเรา เอาโลกธรรมมาปิดบังพระนิพพาน เราต้องละอัตตา ละตัวละตน ที่ไหนมันมีเรา ที่ไหนมันมีเค้า ไม่มีเราไม่มีเค้าหรอกนะ มันเป็นเพียงปรากฏการณ์มาผ่านเรา เพื่อให้เราได้ประพฤติปฏิบัติจะได้เกิดสติปัญญา แล้วก็ผ่านไปเป็นโอกาสที่ให้เราได้เข้าใจในการปฏิบัติ มันผ่านไปตลอดเวลา เราก็หายตัวไปตลอดแหละ
เรานี้ หายตัวจากเด็กมันก็มาเป็นคนหนุ่ม หายตัวจากคนหนุ่มแล้วมันก็เป็นคนกลางน่ะ ทีนี้ก็หายตัวจากคนกลางก็เป็นคนแก่ ทีนี้หายตัวจากคนแก่ก็หายไปเลย เค้าเผาเราเรียบร้อย ทีนี้แหละไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนนะ
'การที่ยึดถือ' นี่แหละเป็นทุกข์มาก...ลำบากมาก...ไม่สมควรที่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้ามาเป็นทุกข์มาแบกทุกข์ ไม่ใช่ "พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน" มันมีแต่ทุกข์ มันใช้ไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านให้เราทำที่สุดแห่งกองทุกข์ โดยที่ปรับตัวตนของเราออกให้หมด เพราะตัวตนเราไม่มีน่ะ มันมีแต่ 'ธรรมะ' มีแต่ธรรมชาติ เกิด...แก่...เจ็บ...ตาย มันอย่างนี้แหละ เราไม่รู้จัก แล้วก็เอาความอยากของเราเป็นหลัก เป็นที่ตั้ง การเวียนว่ายตายเกิดของเรามันถึงไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักสิ้นน่ะ
พระพุทธเจ้าท่านให้เราสมาทานนะ ว่าเราต้องมีเมตตาเยอะๆ สงสารเยอะๆ สงสารมด สงสารปลวก สงสารยุง สงสารทุกๆ คน อย่างนี้แหละ ถ้าเราเจริญความเมตตาสงสารอย่างนี้แหละ เราจะเป็นคนไม่ค่อยโกรธ เพราะ 'เมตตาธรรม เป็นเครื่องค้ำจุนโลก'
เราอยู่ร่วมรวมกันอย่างนี้แหละ 'ความเมตตา' นี้สำคัญ เราขาดเมตตาเมื่อไหร่น่ะเราเป็นยักษ์ทันทีเลย เมตตานี้ถึงต้องเจริญให้มากๆ น่ะ เราจะเอาแต่พี่แต่น้องเรา เอาแต่พรรคแต่พวกเรา เอาแต่คนที่ให้ผลประโยชน์เรานั้นไม่ได้ เราต้องเจริญความเมตตา เจริญความสงสารให้หมด เหมือนพระพุทธเจ้า เหมือนพระโพธิสัตว์ เหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนะ
ทุกๆ คน ไม่ว่าอยู่วัด ไม่ว่าอยู่บ้าน ไม่ว่าอยู่ที่ไหนน่ะ สิ่งที่เค้าต้องการ คือ ความรักความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ คือกำลังใจ คือความอบอุ่น เราทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติ เราทุกๆ คน ต้องประคับประคองกัน อย่าพากันหน้านิ่วคิ้วขมวด เดี๋ยวเราจะไม่ใช่เป็นนักปฏิบัติ มันไม่ใช่เคร่งครัด มันเป็นเคร่งเครียดไป ความอบอุ่นมันก็ไม่เกิดแก่เราไม่เกิดแก่คนอื่นน่ะ ต้องอดเอาทนเอา อดได้ทนได้ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ความอดกลั้นเป็นเครื่องเผากิเลสน่ะ ถ้าเราไม่อดไม่กลั้นเราไม่ทำอย่างนี้แหละ ใจของเรามันหยุดไม่ได้เย็นไม่ได้
เราอยู่เป็นหมู่เป็นคณะนี้ สิ่งที่สำคัญเรื่อง 'คำพูด' นะ บางทีเราอาจจะว่าเราพูดดีพูดเพราะ แต่บางทีเราสุขภาพไม่ดีมันนอนไม่หลับ การพักผ่อนเราไม่พอ หรือคนอื่นเค้าทำไม่ถูกนั่นแหละ เรามันเครียดโดยไม่รู้ตัว คำพูดของเรามันเลยออกมาเสียงแข็งและกระแทกแดกดัน สิ่งเหล่านี้แหละ พระพุทธเจ้าท่านก็ให้เราทุกคนพากันรู้ตัวเองนะ คำพูดที่เราพูดออกไปต้องเป็นสิ่งบรรณาการ หรือว่าเป็นสิ่งที่หอมหวนนะ คนที่ได้ยินได้ฟังต้องเจริญเมตตา ว่าเขากำลังเครียดอารมณ์ไม่ดี งานหนักไม่มีเวลาพักผ่อน เสียสละเยอะมันเลยเครียด เราก็ต้องสงสารเขา เราต้องเป็นผู้ให้ อย่าไปเอาอะไรกับเขาอย่างนี้แหละ
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เรานี้เสียสละอะไรบ้างหรือยัง...? เค้าพูดขัดหูเรา เราก็ไม่เสียสละ เราก็เก็บไว้ใช่มั้ย...? เค้าเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคเครียด เราก็ไม่ได้เสียสละ เราก็ไปเก็บเอาการกระทำของเค้า
การเสียสละอย่างนี้แหละเป็นสิ่งที่ดีนะ ถ้าทุกคนเกิดมาเป็นผู้ให้ เกิดมาเป็นผู้เสียสละ ตัวเราก็มีความสุข ครอบครัวเราก็มีความสุข ที่ทำงานก็มีความสุข ต้องพากันเสียสละ
อย่างเรามาอยู่วัดอย่างนี้ ก็ถือว่าเรามา 'เสียสละบาปกรรม' อันไหนที่เราเคยแบก เคยยึดเคยถือ ที่เราเป็นตัวเป็นตนออกมาจากจิตจากใจของเรา เรามาสมาทานจะไม่เป็นคนโกรธ จะเป็นผู้ที่มีเมตตา สมาทานจะไม่นินทาใคร สมาทานจะไม่มองคนอื่นในแง่ไม่ดี จะปรับใจปรับคำพูด ปรับกิริยามารยาท ไม่กลัวเสียฟอร์มหรอก การชนะคนอื่นมันไม่ดีเท่ากับที่เรามาเสียสละ เรามาละ เรามาวาง
พระพุทธเจ้าท่านสอน "อนุบุพพิกถา" แก่ยสมานพที่เป็นโรคเครียดเดินบ่นไปเพ้อว่า... "ที่นี่วุ่นวาย ที่นี่ขัดข้อง ที่นีไม่สงบน่ะ"
พระพุทธเจ้าท่านเมตตาตรัสตอบว่า... "ที่นี่สงบ ที่นี่ไม่ขัดข้อง ที่นี่ไม่วุ่นวาย เธอจงมาในที่นี้เถิด..." พร้อมกับทรงแสดงพระธรรมเทศนา “อนุบุพพิกถา คือ เทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับ เพื่อชำระจิตของผู้ฟังให้ผ่องใส ก่อนที่จะทรงแสดงอริยสัจจ์ พระผู้มีพระภาคได้ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนเรื่องการให้ทานการเสียสละ การทิ้งอัตตาตัวตน การที่เป็นผู้ให้ไม่เป็นผู้เอา กลับมาแก้ไขตัวเองกลับมาปรับปรุงตัวเอง ทุกอย่างมันก็เข้าสู่ความสงบ สู่ความร่มเย็นน่ะ
ให้ทุกท่านทุกคนน่ะมาภาวนา มาพิจารณาตัวเองนะ เรามันอัตตาตัวตนมาก มันมีแต่จะเอา มีแต่จะให้คนอื่นดูแลเรา เทคแคร์เราอย่างนี้แหละ อย่างเราถืออภิสิทธิ์ว่า เราเป็นคุณพ่อเป็นคุณแม่ ลูกๆ หลานๆ มันจะมาเถียงเราไม่ได้ เพราะเราเป็นคนเลี้ยงเค้ามา ทุกคนห้ามเถียง เราเป็นสามีชอบข่มเหงภรรยา เอาแต่ใจตนเองจนภรรยาเป็นโรคกระเพาะ โรคประสาทหนักๆ เข้ากลายเป็นโรคมะเร็งไปอย่างนี้ก็มีนะ ทำให้ภรรยาลำบาก ลูกลำบาก เราไม่ได้มองดูตัวเองเลย ไม่ได้เห็นตัวเอง เพราะว่ามันเป็นโรคที่จะเอา เป็นโรคที่ไม่เสียสละ
เราต้องกลับมาดูทุกๆ คน ที่เป็นเพื่อนของเรา เป็นครอบครัวของเรา หรือว่าคนอื่นอย่างนี้แหละ ว่าทุกๆ คนควรได้รับความรัก ความเมตตา ความอบอุ่น ความเสียสละจากเรา เราอย่าไปโทษ อย่าไปโกรธเคือง "คนเราเวลาโมโหใจก็อยากฆ่า ปากก็ติดระเบิด เวลามันสงบมันก็มาเสียใจภายหลังอย่างนี้นะ" ถึงต้องหันกลับมาหาธรรมะ กลับมาหาสิ่งที่ประเสริฐ มาพินิจพิจารณาทบทวนตัวเองว่า เราควรจะแก้ตรงไหน ทำอะไรถึงจะได้เข้าถึงความสุข ความดับทุกข์ตั้งแต่เดี๋ยวนี้เวลานี้ เราไม่ต้องไปหาพระนิพพานมันไกลเกิน
ถ้ามันจะได้ก็ต้องเริ่มได้เดี๋ยวนี้แหละ ถ้ามันจะตกนรกต้องเริ่มทุกข์ตั้งแต่เดี๋ยวนี้แหละ เป็นการสร้างบารมีเป็นการบ่มอินทรีย์สร้างคุณธรรมของเราทุกๆ คนนะ เราทุกคนก็จะได้เข้าใจเรื่องการประพฤติปฏิบัติน่ะว่า การประพฤติปฏิบัติ มันก็ไม่ใช่เรื่องยากนะ แต่มันต้องกลับมาแก้ที่ตัวเองปรับปรุงที่ตัวเอง ทุกคนทำได้ปฏิบัติได้