แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอังคารที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มาประพฤติพรหมจรรย์ ตอนที่ ๕๔ รู้จัก รู้แจ้ง ฐานชีวิต ฐานของกรรม ฐานของการเวียนว่ายตายเกิด
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นะมัสสามิ
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย น้อมใจกราบถวายความเคารพบารมีธรรมแห่งองค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ กราบขอโอกาสพระมหาเถระผู้เป็นประธาน พระมหาเถระ พระเถรานุเถระ เพื่อนสหธรรมิกทุกรูปด้วยความเคารพ ขอความเจริญในธรรม ความสงบร่มเย็นแห่งจิตใจจงบังเกิดมีแด่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนทุกท่าน ทุกท่านเอามือลง นั่งฟังธรรมตามสบาย
คนเราทุกๆคนที่เกิดมาก็เพราะกรรมในอดีต พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมาตั้งแต่คิดไว้ในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าก็ ๗ อสงไขย แล้วก็เปล่งวาจาออกมาว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าถึง ๙ อสงไขย จนกระทั่งได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็บำเพ็ญบารมีต่อไปอีก ๔ อสงไขย แสนกัป ๒๐ อสงไขยนี้มาจากกรรมคือการกระทำของพระองค์นี่แหละ มาจากความตั้งใจมาจากเจตนา
เราทุกท่านทุกคนให้รู้ว่าการเวียนว่ายตายเกิด ภพชาติน้อยใหญ่มันขึ้นจากใจของเราขึ้นจากสัมมาทิฏฐิหรือว่าจะมีขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นถูกความเห็นผิด ผู้ที่มาบวชนี้ พระพุทธเจ้าจึงให้เจริญพระกรรมฐาน เราจะเป็นพระได้ เราก็ต้องมีฐาน เราจะตั้งประเทศไทยได้ ก็ต้องมีที่ดินถึงตั้งประเทศไทยได้ เขาจะตั้งประเทศโน้นประเทศนี้ก็ต้องมีพื้นมีฐาน เราจะมีบ้านมีอะไรก็ต้องมีพื้นมีฐาน เราดูที่ดินของเรา เราไปปลูกอะไร มันก็มีอันนั้น ปกติที่ดินนั้นก็เป็นของว่างเปล่า ถ้าเราปลูกต้นไม้ต้นไหนมันก็จะเป็นต้นนั้น เราจะทำฝายน้ำทำอะไรอยู่ในที่ดินของเรา มันก็ล้วนเป็นการกระทำของเราทั้งสิ้น
ทีนี้แหละ เราต้องรู้จักฐานของกรรมหรือว่าฐานของการเวียนว่ายตายเกิด เรามาคิดดูดีๆ ไก่มันจะฟักไข่อย่างนี้ มันก็มีลาง คนโบราณเขาไม่มีไข่ฟาร์มเหมือนทุกวันนี้ เลี้ยงตามธรรมชาติ เวลามันจะออกไข่อย่างนี้ ชาวบ้านเขาก็จะทำรังให้มัน เอากระบุงหรือว่าเอาตะกร้าเอาฟางรองไว้ แล้วก็ไปให้มันฟักไข่ การฟักไข่เราก็เปรียบเสมือนกับความคิด ความคิดที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องว่า มันต้องไปไข่ใส่ตรงนั้นๆ เวลาฟักมันถึงจะเป็นตัว การฟักของแม่ไก่ต้องใช้เวลา ๓ อาทิตย์เต็มๆ ถ้าแม่ไก่ตัวไหนไม่อดไม่ทน ฟักบ้างไม่ฟักบ้าง ก็จะทำให้ไข่นั้นเน่า แม่ไก่ไม่อดไม่ทนต่อความหิวความร้อนความเหน็ดความเหนื่อย ก็จะทำให้ไข่เน่า คนโบราณเขาฉลาด บางทีก็เอาข้าวเปลือกเอาน้ำใส่ขันใส่ไว้ตรงหน้าเลยเพื่อให้แม่ไก่ไม่ต้องออกมาหาอาหาร ไก่สมัยใหม่เขาก็ฟักในอุณหภูมิที่ตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แม้แต่คนตั้งท้อง มีท้อง ๙ เดือนก็ตั้งท้อง ๙ เดือน การดูแลผู้ที่ตั้งท้องตั้งครรภ์ เขาไม่ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นคนใจดำอำมหิต เป็นคนเครียดวิตกกังวลต้องเป็นคนมีศีลมีธรรม ลูกรับสายเลือดมา กรรมพันธุ์ดีๆจะได้ส่งทอดมาทางสายเลือด ในขณะตั้งท้องเป็นคนขี้โกรธขี้โมโหขี้วีนขี้โวยวาย ลูกออกมาก็จะเป็นเหมือนแม่เอาแต่ใจตัวเอง สมาธิสั้น โกรธง่าย สอนไม่ฟังอย่างนี้ ก็เพราะว่ามันส่งทอดมาทางสายเลือด แต่ถ้าพ่อแม่ในขณะที่ลูกอยู่ในท้อง แม่มีศีลมีธรรม รู้จักยับยั้งชั่งใจ ระงับความโกรธอะไรได้ ลูกที่เกิดมาก็เป็นลูกดีเป็นอภิชาตบุตร
ทุกๆอย่างนี่ ดูการบำเพ็ญบารมีของพระอรหันต์สาวก ก็ทำตามกันมาหลายภพหลายชาติ การบำเพ็ญบารมี บารมีคนมันถึงไม่เหมือนกัน เพราะก็มาจากกรรมถึงแม้มันจะเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันนี่ เราก็ต้องคิดดีๆพูดดีๆทำดีๆ มันจะเป็นกรรมเป็นพื้นเป็นฐานในวันพรุ่งนี้หรืออีกหลายๆเดือน การปฏิบัติของเรามันถึงต้องมีการปฏิบัติติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้เป็นไปแบบไร้ประโยชน์เหมือนทุกวันนี้ทุกวันนี้แล้วแต่มันจะคิดอะไรๆอย่างนี้ แล้วก็ไม่มีความตั้งมั่น คนเราจะเป็นสมาธิได้แค่ ๕ นาที ๑๐ นาที มันก็เป็นเรื่องยาก คนเราถึงชอบให้ทานทางภายนอกมากกว่าเพราะมันง่าย ไม่ได้มาเน้นเรื่องศีล ไม่ได้เน้นถึงสมาธิ ถึงภาคประพฤติภาคปฏิบัติเพราะมันทำยาก
ก็เหมือนกับอุปมาหลวงพ่อชาที่บอกว่าหลุมมันลึกหรือว่าแขนเราสั้น มีหลุมอยู่หลุมหนึ่ง เหมือนกับมีคนมาบอกว่ามีของมีค่าอยู่ข้างใน แต่ห้ามขุด ให้เอามือไปล้วงเอา จะกี่คน เป็นพันคนหมื่นคนก็เอาแขนไปล้วง แต่ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่าหลุมมันลึก ไม่มีใครมาบอกว่าแขนตัวเองสั้น เพราะแขนตัวเองสั้นมันเลยล้วงไม่ถึง
ศาสนาก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงวางหลักการว่าต้องละชั่วทำดีทำใจให้ผ่องแผ้ว แต่คนเราไม่ได้ไปตามนั้น มักชอบทำบุญให้ทาน เพราะการให้ทานมันง่าย แต่การละบาปมันยาก เลยมัวแต่พอใจในการให้ทานแต่ไม่ละบาป ไม่รักษาศีลไม่เจริญสมาธิ ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม ก็เปรียบเสมือนกับการทำน่ะ พาทำตามๆกันเหมือนกับมองว่าหลุมมันลึก ยากไปไม่ถึง โดยที่ไม่ได้โทษว่าแขนตัวเองสั้นกันทั้งนั้นแหละ
เราทุกท่านทุกคน ต้องให้เข้าใจ เรื่องการประพฤติการปฏิบัติ การเป็นผู้มีศีลมันถึงมีบุญมีกุศลมากกว่าถวายทาน เพราะอันนี้เป็นเรื่องของการประพฤติการปฏิบัติ ทุกท่านทุกคน พระพุทธเจ้าให้เราเอาอย่างนี้ เราจะเข้าถึงฐานของชีวิตที่ เขาเรียกว่าพระกรรมฐาน พระไม่ได้หมายถึงพวกที่โกนหัวห่มผ้าเหลืองหรอก พระนี่หมายถึงศีลถึงธรรม ประชาชนก็มีศีล ๕ ก็เป็นพระอริยเจ้าได้ แต่นี่พระที่มาบวชส่วนใหญ่ก็รักษาศีล ๕ ยังไม่ได้หรอก เพราะมันยังยินดีในกามอยู่ ยินดีในเงินในสตางค์ในลาภยศสรรเสริญอยู่ ใจเราไม่ได้บวช เมื่อใจเราไม่บวช มันก็ผิด คือมันผิดกฎแห่งกรรม
ทุกคนน่ะ ฐานชีวิตของคนมันก็จะมาจากความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เราก็จะได้มีความสงบมีความร่มเย็น เพราะตามที่นักวิทยาศาสตร์เขาค้นคว้าว่า คนเรามันต้องคิดอย่างนี้พูดอย่างนี้ทำอย่างนี้ ทำซ้ำกันสามอาทิตย์ใจมันถึงจะเปลี่ยน เขาก็เปรียบเทียบกับที่ฟักไข่นั่นแหละที่ใช้เวลาสามอาทิตย์เหมือนกัน ไข่มันถึงจะเป็นตัว แต่อันนี้ถ้าเราทำครึ่งๆกลางๆ ทำหยุดๆหย่อนๆอ่อนแออย่างนี้ สามอาทิตย์มันก็คงไม่เปลี่ยน เพราะสัมมาสมาธิเราไม่ได้ตั้งมั่น เรายังไม่มีฉันทะ ไม่มีความพอใจ เรายังไม่มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ทุกคนทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ เป็นพระอรหันต์ได้ เราจะได้เปลี่ยนแปลงปฏิปทา เปลี่ยนแปลงไป เพราะทุกคนน่ะมันมีกรรมเก่าเป็นพื้นฐานอย่างนี้แหละ ทุกคนต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ ต้องให้ทุกท่านทุกคนพากันไหว้ตัวเองได้ กราบตัวเองได้ เพราะรู้ตัวเองว่าใจของเราเป็นพระหรือว่าใจของเราเป็นโจร เราจะไม่ได้เป็นภิกษุที่เกะกะ เป็นสามเณรเกะกะ เป็นประชาชนที่เกะกะ พวกที่ทำลายความสงบสุขของสัตว์และมนุษย์ที่เหมือนทุกวันนี้ เราจะได้รู้จักว่าชีวิตของเรานี้ดีมากประเสริฐมาก เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ อยากทำหรือไม่อยากทำก็ต้องมาตั้งใจตั้งเจตนาก่อน ต้องปฏิบัติหมด ความดีนี่ อย่างอุปัฏฐากพ่อแม่อย่างนี้ ทุกคนก็รู้ว่ามันดีแต่ว่าไม่เคยทำ พอไม่เคยทำมันก็เก้อเขิน สิ่งที่ดีๆอย่างนี้เราก็ไม่คิดถ้าคิดว่าเป็นเรื่องแปลกเพราะว่ามันเก้อเขิน เราจะได้รู้จักว่าพระกรรมฐานเป็นอย่างไร แต่ก่อนเราก็ไปมองหาแต่ผู้ที่ห่มผ้าดำๆบาตรใหญ่ๆ ที่จริงมันไม่ใช่ โง่ไปหลายปีเลยนะ กรรมะก็คือการกระทำของเรา ฐานก็คือศีลสมาธิปัญญาของเรามารวมลงอย่างนี้ เราจะได้เป็นพระทางจิตใจ แต่เพราะว่ากรรมมันยังไม่พอ เหมือนต้นไม้มันปลูกไม่กี่วันก็จะให้มันมีดอกมีลูก มันก็เป็นไปไม่ได้ เหมือนพวกที่มาบวชน่ะ ไม่อยู่วัดไม่กี่วันก็อยากห่มผ้าเหลืองก็ เหมือนมะม่วงเนี่ยมันเกิดลูกมามันยังอ่อน มันจะสุกเลยไม่ได้ มันต้องอบรม มันต้องบ่มอินทรีย์ การทำอะไรก็ต้องมีเหตุมีผล เราจะได้พัฒนาไปตามกฎแห่งกรรมหรือว่าไปตามหลักวิทยาศาสตร์ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้มันถึงมี
พระพุทธเจ้าทรงสอน บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว จะได้รับสุขหรือทุกข์เพราะการกระทำของตนเองทั้งสิ้น หากเราไม่ดำเนินตามที่พระพุทธเจ้าสอน แม้จะสวดมนต์วิงวอนขอร้อง จะติดสินบนเทพเจ้า จะไปบนบานขออย่างนั้นขออย่างนี้ ก็ไม่อาจจะช่วยให้เราพบกับความดีหรือความสุขได้ ถ้ามนุษย์จะมีความสุขได้ด้วยความภักดีแล้วก็วิงวอนอ้อนวอนขอ มนุษย์เราก็คงไม่ต้องทำอะไรมาก แต่ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น
ความเชื่อในเรื่องกรรมตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรจะมีศรัทธา ๔อย่าง
จะเห็นได้ว่าศรัทธา ๔ นี้ สามข้อสุดท้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระทำ ผลของการกระทำทั้งสิ้น เพราะพระพุทธองค์อุบัติเกิดขึ้นมาในท่ามกลางความเชื่อที่งมงายเหล่าคนในสมัยนั้นมีแต่ความงมงาย บวงสรวงอ้อนวอนวิงวอนต่อที่เทพเจ้า คือไม่เชื่อในศักยภาพของตัวเอง ไม่เชื่อในการกระทำของตัวเอง ดังนั้น สมณะหนุ่มพระชนมายุเพียง ๓๕ ออกประกาศพระศาสนา จะไปถอนจะไปพลิกความเชื่อที่ฝังหัวมาเป็นพันๆปีของคนเหล่านั้น มันยากมากเพราะเขาเชื่อฝังหัว
พระพุทธองค์ประกาศพระศาสนาพุทธเกิดขึ้นในอินเดียก็ประดิษฐานตั้งมั่นได้เพียงไม่นาน เพราะความเชื่อฝังหัวที่มันติดมาตั้งแต่รากเหง้าติดมาตั้งแต่เดิมว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่เทพเจ้าบันดาล อะไรๆก็พรหมลิขิต อะไรๆก็แล้วแต่เทพลิขิต สวรรค์ลิขิต ไม่เชื่อในเรื่องของกรรมลิขิต คนนั้นพอเกิดมาจะอยู่ในวรรณะไหน จะจนจะรวยก็ยินดีพอใจอยู่ในอัตภาพนั้น ไม่ได้ยินดีในการที่จะผันตัวเอง เกิดเป็นขอทานก็ยินดีในความเป็นขอทาน เกิดเป็นวรรณะศูทร เป็นกรรมกรก็ยินดีอยู่เพียงแค่นั้น ไม่กล้าที่จะก้าวข้ามไปสู้กลุ่มชนที่สูงกว่า เพราะว่ากลัวพระเจ้าลงโทษ เพราะฉะนั้นการบวงสรวงจึงมีมากมาย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ บอกว่พรหมนี่คนบูชาน้อยกว่าพระศิวะ เพราะอะไร? พระพรหมท่านมีพรหมวิหาร มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ใจดี พอท่านใจดีมีเมตตาง่ายๆ อะไรก็ได้ แต่ว่าพระศิวะมีแต่ความเกรี้ยวกราดโมโห เดี๋ยวก็ทำลาย เดี๋ยวก็สาป เดี๋ยวก็แช่ง คนก็เลยไปบูชาไปอ้อนวอนไปบวงสรวงสารพัด กลัวพระเจ้าจะสาป กลัวพระเจ้าองค์นี้จะแช่ง มีสารพัดที่จะบูชากัน เพราะอะไร? เพราะความงมงายทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น พอพระพุทธองค์อุบัติเกิดขึ้นมาในท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ การที่จะมาพลิก พลิกล็อคความคิดของเขา ต้องทำให้เขาเห็น จะชี้นำอย่างเดียวเขาไม่เชื่อต้องพาเขาทำ พอเขาประสบด้วยปัญญาของตัวเอง เมื่อธรรมจักษุเกิด ตาปัญญาเกิด ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุมีผล เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี ที่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจแล้ว เขาจะพลิกล็อคด้วยตัวของเขาเองโดยที่ไม่ต้องอ้อนวอน โดยที่ไม่ต้องพูดแล้วพูดอีก ๆ ว่าต้องเป็นอย่างนี้นะ มันเป็นอย่างนี้นะ เชื่อนะ พระพุทธเจ้าได้สอนกาลามสูตร ก็คือข้อสุดท้ายว่าอย่าเชื่อแม้กระทั่งเป็นครูของเรา ต้องให้เห็นประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นเหล่าคนในสมัยพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่เวลาออกบวชจึงเอาจริงเอาจัง ที่ย่อหย่อนอ่อนแอมีน้อยมาก มีจำนวนน้อยเพราะเอาจริงเอาจัง ได้ผลจากการประพฤติจากการปฏิบัติ ก็เอาของจริงของแท้เอาไปเผยแผ่เพราะอยากจะเอาไปลบ ลบล้างความเชื่อเก่าๆที่เป็นความงมงายที่ไม่มีอยู่จริงให้ออกไป
จะเห็นได้ว่าความเชื่อหรือว่าศรัทธาสี่อย่างเป็นความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับกรรม กฎแห่งกรรมเป็นคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะแต่ละศาสนาล้วนแต่ไม่ได้สอนเรื่องกรรม สอนแต่เรื่องเทพเจ้า สอนแต่เรื่องวิงวอน เรื่องสวดมนต์ไหว้ เรื่องขอ ขออย่างเดียว แต่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการกระทำ ผู้ที่เป็นชาวพุทธทุกคนต้องศึกษาต้องเข้าใจ แล้วต้องให้แจ่มแจ้งแก่ใจในเรื่องกรรมและผลของกรรม ชาวพุทธที่ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมก็คงไม่ต่างอะไรจากที่เป็นเพียงแค่พุทธในนามหรือว่าเป็นชาวพุทธแต่ปาก คือไม่ได้เอามาประพฤติเอามาปฏิบัติให้เกิดขึ้นจากใจ ศาสนาพุทธจึงมีประโยชน์เพียงแค่ใช้กรอกแบบฟอร์มเพื่อไม่ให้ถูกว่าเป็นคนไม่มีศาสนาเท่านั้นเอง เขียนอยู่กับบัตรประชาชนเป็นพุทธ แต่ว่าการนับถือนี่งมงายในศาสนาผี คือไสยศาสตร์ เชื่อแต่ของมงายทั้งสิ้น คนที่เชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อ คือคนที่เชื่อเรื่องกรรมย่อมสามารถอดทนรับความทุกข์ยากลำบาก ความผิดหวัง ความขมขื่น เคราะห์ร้ายที่เกิดกับตน เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำมาในอดีตทั้งสิ้น ไม่ตีโพยตีพายว่าโลกนี้ไม่ยุติธรรม คิดเครียดจนตายก็หาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ว่าทำไมเป็นอย่างนี้ๆ ตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำดีแล้วไม่ได้ดี คนที่เชื่อในเรื่องกรรมจะยึดมั่นในการทำความดีต่อไป จะเป็นผู้สามารถให้อภัยแก่ผู้อื่น และที่สำคัญจะเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะสูง คือเป็นผู้ละอายชั่วกลัวต่อบาป คนที่ประกอบกรรมทำชั่วทั้งกายวาจาใจ ส่วนใหญ่ก็คือเป็นคนไม่เชื่อ ไม่เชื่อเรื่องบุญเรื่องบาป หรือไม่ก็ครึ่งๆกลางๆ หรือไม่ก็ประมาณว่าดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้ คนพวกนี้จึงมุ่งแสวงหาทรัพย์สมบัติความสุขสบายให้แก่ตัวโดยไม่คำนึงว่าได้มาถูกต้องหรือว่าผิด ทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน กรรมนั้นย่อมเป็นของเราโดยเฉพาะและเราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นจะโอนให้ผู้อื่นไม่ได้ เช่นว่าเราทำกรรมชั่วอย่างหนึ่ง เราจะต้องรับผลของกรรมชั่วนั้น จะลบล้างหรือโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้ แม้ผู้นั้นจะยินดีรับผลกรรมชั่วของเราก็ตาม เหมือนกับลูกทำความผิดต้องติดคุกต้องต้องโทษประหารชีวิต แม่รักแค่ไหนจะรับโทษแทนก็แทนไม่ได้เพราะกฎหมายมันระบุตัวบุคคลผู้กระทำ เช่นเดียวกัน ผู้ใดทำกรรมดีกรรมดีย่อมเป็นของผู้กระทำโดยเฉพาะ จะจ้างหรือวานให้ทำแทนกันไม่ได้ หรือจะเอาเงินจ้างผู้อื่นให้ประกอบกรรมดีแล้วขอให้โอนกรรมดีนั้นมาทำให้แก่เราก็ย่อมไม่ได้ หากเราต้องการกรรมดีเป็นของเรา เราก็ต้องประกอบกรรมดีเอง เหมือนกับการรับประทานอาหาร ผู้ใดรับประทานผู้นั้นก็ย่อมเป็นผู้อิ่ม มนุษย์เราที่มีภาวะความเป็นต่างๆกันไป ดีชั่ว รวยหรือจน เจริญหรือเสื่อม สุขหรือทุกข์ รูปร่างหน้าตาเสื้อผ้าหน้าผมองค์ประกอบต่างๆความโลภความฉลาดอย่างนี้ ที่มันเป็นความเหลื่อมล้ำก็เป็นผลของการกระทำทั้งสิ้น ถ้ามัวแต่โทษพระเจ้า พระเจ้าทำไมถึงไม่เป็นธรรม ทำไมให้คนนี้จนทำไมให้คนนี้รวย ทำไมให้คนนี้สูงคนนี้ต่ำ ทำไมคนนี้โง่คนนี้ฉลาด ทำไมคนนี้แข็งแรงทำไมคนนี้เจ็บป่วย ก็เพราะเป็นผลการกระทำในอดีตทั้งสิ้น
พระพุทธเจ้าผู้ที่ทรงมองเห็นทุกอย่างเอามาบอกมาสอนเรา ไม่ได้มุ่งหวังผลประโยชน์อะไรเลย เพียงแต่อยากให้เรารู้ความจริงแล้วก็หาทางที่จะพ้นจากความทุกข์ให้ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเราทราบตรงนี้ คนเราน่ะถ้าปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีแต่ความสุข จะไม่มีหนี้ไม่มีสิน เราจะเป็นคนดี ลูกของเราก็เป็นคนดี มีหลานก็เป็นคนดี อย่างนี้ถือว่าเราได้ตามแนวทางของพระอริยเจ้า เราจึงต้องเป็นพระอริยเจ้าด้วยตัวเองในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เราจึงต้องเข้าใจอย่างนี้ เราไม่ต้องไปงมงายอะไร เพราะทุกอย่างมันอยู่ที่เราประพฤติปฏิบัติเพราะเราคิดยังไงมันก็ไปตามความคิด มันจะไปตามความคิดไม่ได้ เพราะความคิดของเราส่วนใหญ่มีแต่อวิชชามีแต่ความหลงอเราจึงต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต
คำว่าบวชเ คือเรามาเอาตัวตน เอากายวาจาใจมาประพฤติปฏิบัติ ให้อบรมบ่มอินทรีย์ เราต้องอดต้องทน ต้องฝืนต้องปฏิบัตินะ พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราทุกคนเอาความขี้เกียจขี้คร้านเป็นการปล่อยวาง เราทุกคนมันอินทรีอ่อนเลยพากันเอาความขี้เกียจขี้คร้านเป็นการปล่อยวาง เป็นความไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นมันไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง การปล่อยวางอย่างนั้นมันเป็นการที่จิตใจไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีกำลังแล้วมันก็หมดแรง เร่งไม่ออก เร่งไม่ขึ้น เพราะเรายังมีความเห็นผิด เราคิดว่าเราไม่เอาอะไรแล้ว เราปล่อยวาง เราเลยไม่ทำความเพียรเ ราไม่ฝืนไม่อดไม่ทนวินัยที่พระพุทธเจ้าบังคับเรา เราต้องปรับใจหาพระวินัย ข้อวัตรปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้น ให้เราปรับใจเข้าหา ปฏิปทาในการประพฤติในการปฏิบัตินี้ต้องให้ต่อเนื่องกัน พยายามเอาปัจจุบันให้มันได้ อย่าไปมองไกล ตอนนี้แหละคือปัจจุบันแม้มันจะผ่านไปข้างหน้าอีกหลายปี มันก็เป็นปัจจุบัน เพราะพระอาทิตย์หรือดวงจันทร์เท่านั้นที่บอกเวลา แต่ที่จริงแล้วใจของเราถ้าไม่อยู่กับสิ่งแวดล้อม เราอยู่กับการประพฤติการปฏิบัติ มันก็จะเป็นปัจจุบันไปตลอด การประพฤติการปฏิบัติของเรามันถึงไม่มีอดีตไม่มีอนาคต ไม่มีกลางวันกลางคืน เป็นการกระทำหน้าที่ที่ดีที่สุดอย่างนี้แหละคือการอบรมบ่มอินทรีย์ เหมือนไก่เหมือนไก่ที่มันไข่แล้วมันก็ฟัก ที่ว่าใช้เวลาประมาณ ๓ อาทิตย์จะเป็นไข่ ๘ ฟอง๑๐ ฟอง แม่ไข่ก็กก ก็คือฟักไว้โดยชอบ ให้ความอบอุ่นแล้วก็ฟัก ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาว่าขอให้ลูกไก่เหล่านี้เป็นตัว สามารถทำลายเปลือกไข่ออกมาด้วยปลายเล็บเท้าด้วยจงอยปาก ถึงแม้จะไม่ปรารถนาอย่างนั้น เมื่อถึงเวลาเมื่อไก่มันเป็นตัว มันก็ต้องทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ จริงอยู่เพราะไข่ทั้งหลายที่แม่ไก่นั้นเพียรพยายามในการฟักด้วยอาการอย่างนี้มันย่อมไม่เน่า ยางเหนียวของไก่เหล่านั้นก็จะถึงความแก่ขึ้น เปลือกไข่จากที่มันหนามันก็จะบางๆ ปลายเล็บเท้าแล้วก็ปากมันก็จะแข็ง ไข่ทั้งหลายจะแก่ แสงสว่างข้างนอกจะปรากฏข้างใน เพราะเปลือกไข่มันบาง เพราะฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้นจึงใคร่จะออกมาด้วยคิดว่าเรางอปีกงอเท้าอยู่ในที่คับแคบเป็นเวลานานแล้ว แสงสว่างภายนอกก็ปรากฏ ทีนี้พวกเราจะเป็นสุขในที่แสงสว่างแบบนี้แล้วก็กระเทาะเปลือกไข่ด้วยเท้ายื่นคอออกมา แต่นั้นมันก็จะแตกออกเป็น ๒ ส่วน ลูกไก่ทั้งหลายขยับปีกร้องออกมาตามสมควร แล้วก็เป็นลูกไก่เต็มตัว
อันนี้เป็นอุปมา ท่านบอกว่าคนเราเวลาประพฤติเวลาปฏิบัติธรรม ความไม่เสื่อมแห่งวิปัสสนาญาณ คือการที่มีสติจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก อยู่กับตัวอยู่กับกายอยู่กับใจด้วยความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา ๓ ของภิกษุผู้ที่ประกอบความเพียรอยู่ เหมือนกับการที่ไข่ทั้งหลายมันไม่เน่า แล้วทีนี้ยางเหนียวจะรู้เลยว่าเวลาไข่มันอยู่ข้างใน มันจะมียางบางๆหุ้มแล้วจะเป็นเปลือก ยางตรงนั้นที่เรียกว่ายางเหนียว คือความใคร่ คือตัณหาที่ไปในภพทั้งสาม ไม่ว่าจะเป็นกามภพรูปภพ อรูปภพ ด้วยความถึงพร้อม ด้วยอนุปัสสนา ก็คือเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ เห็นว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา หากพิจารณาใคร่ครวญมองอย่างนี้ให้มันได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจะรู้ว่ามันไม่มีอะไรที่มันน่าเอาน่าเป็นทั้งนั้น เหมือนกับการแก่รอบชองยางเหนียวที่มันอยู่ในเปลือกชั้นในของไข่ แล้วเปลือกที่หุ้มอยู่ข้างนอกคืออวิชชาคือความโง่ความหลงไม่รู้จริง ไม่รู้อริยสัจ 4 ไม่รู้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออาศัยเวลาการฟักไข่ เวลาผ่านไปเปลือกไข่จะบาง เปรียบเสมือนกับการพากเพียรต่อเนื่อง เปลือกไข่คืออวิชชามันก็จะเบาบางลง จะเริ่มเห็นแสงสว่างเห็นกระแสคือพระนิพพานแล้ว เวลาเปลือกไข่มันบางก็จะเป็นอย่างนั้น ทีนี้พอญาณปัญญาแก่กล้าเป็นธรรมชาติคมแข็งผ่องใสแล้วมันก็กล้าแข็งด้วย เหมือนกับการที่ลูกไก่มีปลายเล็บแล้วก็จงอยปากมันก็แข็งขึ้นโดยลำดับ
การเปลี่ยนแปลงเวลาฟักอะไรเหล่านี้เป็นการกระทำความเพียรที่ติดต่อต่อเนื่อง แม่ไก่มันฉลาด รู้จักทำรังไข่ตรงนั้น ต้องกกอย่างนั้นต้องกกอย่างดีเนี่ยเปรียบเสมือนกับอยู่ในสถานที่สัปปายะ สถานที่มันถึงพร้อมด้วยฤดูกาล สถานที่อาหาร ที่อยู่เสนาสนะ และที่สำคัญคือครูบาอาจารย์ เมื่อมีสัปปายะพร้อมเหล่านี้และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือธรรมะสวนะสัปปายะ มีโอกาสฟังธรรมเป็นที่สบายแก่การปฏิบัติ ทำความเพียรไปอย่างนี้ เมื่อเล็บและจงอยปากมันแข็งขึ้น ก็คือตัวสติปัญญาจะสามารถทำลายยางเหนียวชั้นในคือตัณหาและกระเปาะฟองคืออวิชชาออกไปได้ นั่นเปรียบเสมือนกับสภาวะที่จิตหลุดพ้นออกมาเหนือโลก ไม่ติดไม่ข้องอยู่กับกามอยู่กับของโลก ๆ อีกแล้ว เพราะฉะนั้นแล้ว ที่เรามาบวชเรามาถือศีลเรามาประพฤติเรามาปฏิบัติธรรม เราก็มาเพื่อมาพบพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ปฏิบัติเดินตามรอยของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามธรรม ไม่ตามใจตนงานของพระพุทธเจ้าคืองานปฏิบัติธรรม เอาพระธรรมเป็นที่ตั้ง เอาความบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นที่ตั้ง บังคับตัวเองด้วยการปฏิบัติตามศีลตามข้อวัตรปฏิบัติ ตามกติกาที่ตั้งไว้ ตั้งขึ้นเพื่อบังคับตัวเราเอง ว่าเวลาไหนทำอะไร ถึงเวลาเราก็ต้องทำตาม มันจะขี้เกียจก็ต้องทำ มันจะขยันก็ทำ จะไม่ทำตามขี้เกียจหรือว่าขยัน เราจะได้ทำตามหน้าที่ ให้เรามีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ของเราให้ดี ให้ใจกับกายมันอยู่ด้วยกันนี่แหละเขาเรียกว่าศีลสมาธิปัญญา ให้มันควบคู่ไปพร้อมๆกัน คนเราถ้าทำความดีมากๆ ทำสิ่งที่ถูกต้องมากๆ จิตใจมันจะอาจหาญร่าเริงเบิกบาน ตั้งใจทำให้ดีๆ ถ้าเราไม่ตั้งใจ ใจมันไม่มีกำลัง มันไปไม่ได้ ฝึกหายใจเข้าให้สบาย หายใจออกให้สบาย ให้มีความสุขกับการหายใจเข้าหายใจออก มีความสุขกับการเดินนอนนั่งยืนทุกอิริยาบถ เราต้องใจสบาย ให้ใจมาอยู่กับกายด้วยกันตลอด สิ่งไหนมันไม่ดีเราไม่ต้องไปคิดมัน ไม่ต้องไปพูด ไม่ต้องไปทำมัน มีความสุขมีความดับทุกข์ในการปฏิบัติของเราทุกเมื่อทุกกาลทุกเวลาตั้งแต่เช้าถึงนอนหลับ ตื่นขึ้นก็ทำอีกเพื่อให้มันต่อเนื่อง ให้มันชำนิชำนาญ เราถือคติว่าเราเกิดมาเพื่อทำความดี เพื่อมาเสียสละ เพื่อไม่ตามใจตัวเองเ พื่อตามศีลตามธรรมตามข้อวัตรปฏิบัติ จะเป็นคนไม่อ่อนแอท้อแท้ท้อถอย เรื่องเหนื่อยเป็นเรื่องของกาย เรื่องหิวก็เป็นเรื่องของกาย แต่ใจมันไม่เหนื่อยไม่หิว ไม่ท้อไม่แท้ไม่ถอย ต้องฝึกเป็นคนฉลาด เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง กระทบอะไรเมื่อไหร่ให้มันเกิดศีลสมาธิปัญญา อินทรีย์ของเรามันจะแก่กล้าได้เมื่อสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายใจมากระทบ ให้มันมีศีลสมาธิปัญญา ใจของเรา อารมณ์ของเรามันไปไม่ได้ ไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า เราจะไปเชื่อมันไม่ได้ เวลาเป็นเด็กมันก็คิดอย่างนึง เวลาเป็นหนุ่มเป็นสาวมันก็คิดอย่างนึง อยู่ในวัยกลางคน วัยแก่วัยเจ็บ มันก็คิดอีกอย่างหนึ่ง เวลาอารมณ์เกิดความพลัดพรากความชอบใจมันก็คิดอย่างหนึ่ง เราอย่าไปเชื่อความคิดอย่างนั้น มันกระทบแล้วก็กระทบไป คิดแล้วก็แล้วไป อย่าไปวุ่นวายกับความคิด เพราะใจคนเรามันก็เหมือนลิง ลิงมันอยู่นิ่งไม่เป็น มันกระโดดโลดเต้น ถ้าเราไม่รู้อารมณ์ไม่รู้ใจของเรา เราจะเป็นคนมีปัญหา เป็นคนที่จิตใจไม่แข็งแรง อารมณ์มาทางไหนก็ไปตามอารมณ์แล้วแต่อารมณ์มันจะพาไป จิตใจไม่เป็นตัวของตัวเอง เราฝึกไว้ ฝึกหายใจเข้าสบายหายใจออกสบาย ใจของเราจะได้อยู่กับปัจจุบัน ใจของเราจะได้อยู่กับการทำงานเราพยายามยืนไว้ตั้งไว้ทุ กสิ่งทุกอย่างมันล้วนแต่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปสิ่งที่มันเป็นอดีตก็ผ่านไปแล้ว ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง เราก็อย่าได้ไปวิตกกังวล เราปฏิบัติหน้าที่ของเราในปัจจุบันให้ดีที่สุด พยายามให้เรามีศักยภาพในปัจจุบันทั้งกายวาจาใจ แก้ปัญหาเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ปัญหาเรื่องเล็กๆให้มันหายไป และเราอย่าได้ไปโทษสิ่งภายนอก สิ่งภายนอกมันก็เป็นปรากฏการณ์ตามเหตุปัจจัยของมัน เราอย่าไปว่าสิ่งโน้นเป็นอย่างโน้นสิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ อย่าไปตัดสินนินทาวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งภายนอกมันเป็นอยู่ แต่ถ้าเราไม่ฉลาดก็ไปรับเอามาใส่ใจของเราให้ตัวเราเป็นทุกข์ มันก็เป็นทุกข์มากเป็นทุกข์หลาย เราจะไปปฏิเสธสิ่งต่างๆภายนอกนั้นไม่ได้ ถ้าใครปฏิเสธสิ่งต่างๆแสดงว่าต้องการความว่างที่มันขาดสูญ ความว่างที่มันไม่มีอะไร หมายถึงเราไม่ต้องการให้มันมีความเกิดความแก่ความตาย ไม่อยากให้มีโลกธรรมทั้งแปด ก็คือว่ามีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ สุขทุกข์ นินทาสรรเสริญ ทุกอย่างมันมีของมันอยู่อย่างนั้นมันมีประจำอยู่กับโลก เมื่อเราอยู่ในโลก