PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต รูปภาพ 1
  • Title
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต
  • Hits
    6069
  • 10226 ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต /general-knowledge/2021-09-03-08-55-39.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    1
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    พุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อชุด
    ปันบุญ ปันธรรม
  • อ้างอิง
    ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม : ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท"

"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต : ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"

เรายังไม่เคยพบเลยว่า มีสูตรใดบ้าง นอกจากสูตรนี้ ที่พระพุทธองค์ทรงนำเอาข้อความเรื่องปฏิจจสมุปบาทมาสาธยายเล่น ตามลำพังพระองค์ เหมือนคนสมัยนี้ ฮัมเพลงบางเพลงเล่นอยู่คนเดียว เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่มีเกียรติสูงสุด ด้วยเหตุผล กล่าวคือ ถึงกับทรงนำมาสาธยายเล่น ในยามว่างลำพังพระองค์ ๑ ทรงกำชับให้ภิกษุเล่าเรียน ๑ ทรงบัญญัติว่าเรื่องนี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ ๑

ดังที่ปรากฏอยู่ในข้อความแห่งสูตรนี้แล้ว และทรงตีค่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเท่ากับพระองค์เอง โดยตรัสว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท" (มหาหัตถิปโทปมสูตร ๑๒/๓๕๙/๓๔๖) ซึ่งเทียบกันได้กับพุทธภาษิตในขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย ว่า

"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต : ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม" (๑๗/๑๔๗/๒๑๖) ๑ ดังนั้นจึงถือว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่มีเกียรติสูงสุด สมแก่การที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แต่กลับเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจน้อยที่สุด ดังนั้นจึงเอาข้อความแห่งสูตรข้างบนนี้มาอ้างไว้ ในหนังสือเล่มนี้ถึง ๕ แห่งด้วยกัน โดยหัวข้อว่า " ทรงแนะนำอย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท" และว่า "ปฏิจจสมุปบาท มีเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ" , "ตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาท คือเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์" , "ทรงกำชับสาวกให้เล่าเรียนปฏิจจสมุปบาท" , "แม้พระองค์ก็ทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท"

ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ (น.๘๑๑)
พุทธทาสภิกฺขุ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service