รู้ความว่าง หรือเข้าถึงความว่าง หรือเป็นตัวความว่างนั้นเองก็ตาม นั้นเป็นตัวปัญญาอย่างยิ่ง เพราะว่าขณะ
ที่มีจิตว่างนั้น เป็นความเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ขณะที่เป็นความโง่อย่างยิ่งก็คือ ขณะที่โมหะหรืออวิชชาเข้ามาครอบงำอยู่ แล้วทำให้ยึดมั่นถือมั่นนั่นนี่ ว่าเป็นตัวตนหรือของตน
ลองคิดดูก็จะเห็นได้ง่ายๆ ชัดแจ้งด้วยตนเองว่า พอสิ่งเหล่านี้ออกไปแล้วมันจะโง่ได้อย่างไร เพราะว่าความโง่มันเพิ่งเข้ามาต่อเมื่อมีอวิขขา หลงยึดมั่นว่าเป็นตัวเราว่าของเรา ขณะใดที่จิตว่างจากความโง่อย่างนี้ เข้าถึงความว่างจากตัวเราว่างจากของเรา มันก็ต้องเป็นความรู้หรือเป็นปัญญาเต็มที่ เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉลาดเขาจึงพูดว่า ความว่างกับปัญญา หรือสติปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ใช่เป็นของสองสิ่งที่เหมือนกัน แต่ว่าเป็นสิ่งสิ่งเดียวกันเลย
ข้อนี้ย่อมหมายความว่า ปัญญาที่แท้จริง หรือถึงที่สุดของปัญญานั้น ก็คือความว่างนั่นเอง คือว่างจากโมหะที่หลงยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง หมายความว่าพอเอาอันนี้ออกไปเสีย จิตก็ถึงสภาพเดิมของจิตที่เป็นจิตแท้ คือปัญญา หรือสติปัญญา
ธรรมะใกล้มือ เรื่องความว่าง (น.๑๙)
ชุดแก่นพุทธศาสน์ หนังสือชนะเลิศรางวัล UNESCO
แห่งสหประชาชาติ พ.ศ.๒๕๐๘