โพชฌงค์ ๗ ประการ
๑. สติ (ความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม)
๓. วิริยะ (ความเพียร)
๔. ปีติ (ความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ)
๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น)
๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง)
โพชฌงค์เป็นของวิเศษ ประเสริฐที่สุด ในการที่จะย่ำยีกิเลส สำเร็จเป็นโพธิ หรือเป็นการตรัสรู้ขึ้นมา
มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
มรรคมีองค์ ๘ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่าทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้น เป็นอิสระ ปลอดปัญหาไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
ธรรมะใกล้มือ เรื่องโพชฌงค์ มรรค (น.๕๒)
ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ และทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ