PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น รูปภาพ 1
  • Title
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น
  • Hits
    1033
  • 9980 อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น /general-knowledge/2021-08-19-07-37-01.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    1
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    พุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อชุด
    ธรรมโฆษณ์
  • อ้างอิง
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น

ใจความสำคัญ
เป็นการรวบรวมเรื่องอริยสัจที่ตรัสเอง ไว้อย่างครบถ้วนที่สุด เพียงพอที่จะศึกษาเรื่องอริยสัจอย่างชัดแจ้ง ให้สมกับข้อที่ว่า อริยสัจเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นที่รวบรวมแห่งพระพุทธ-วจนะทั้งปวง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประสงค์ให้ช่วยกันเผยแผ่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์ : ผู้รวบรวม

คุณค่าของอริยสัจ
ผู้รวบรวมมีความหวังอย่างยิ่ง ในการที่จะให้ท่านผู้อ่านมองเห็นคุณค่อันลึกซึ้ง ใหญ่หลวง กว้างขวาง ของเรื่องอริยสัจ ให้ครบถ้วนตามพระพุทธประสงค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเอง

๐ ข้อแรกก็คือ ความมีสาระของเรื่องอริยสัจ จนถึงกับจะกล่าวด้วยโวหารธรรมดาสามัญได้ว่า เป็น "เรื่องที่พระองค์จะทรงยอมคุยด้วย" หมายความว่า ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ เช่น ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด โลกเที่ยง -ไม่เที่ยง โลกมีที่สุด - ไม่มีที่สุด ฯลฯ เป็นต้นแล้ว จะไม่ทรง "ยอมคุยด้วย" แม้จะทูลถามก็จะไม่ทรงพยากรณ์.

นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า เรื่องอริยสัจเห่านั้นเป็นเรื่องที่มีแก่นสาร. เมื่อพูดถึง ความมีค่ามากค่าน้อย ก็ยากที่จะกล่าวลงไปตรงๆ ได้ด้วยถ้อยคำ เพราะมีค่ามากเหลือเกิน จนต้องกล่าวด้วยการอุปมาด้วยเรื่องที่ไม่อาจจะเป็นไปได้แต่อาจจะเทียบเคียงค่าของมันได้ เช่นที่ตรัสว่า

แม้จะถูกเขาแทงด้วยหอก เช้า ๑๐๐ ครั้ง เที่ยง ๑๐๐ ครั้ง เย็น ๑๐๐ ครั้ง เป็นเวลา ๑๐๐ ปี เพื่อแลกเอาการรู้อริยสัจ ด้งนี้ก็ควรจะยอม ท่านจงพิจารณาดูเองเถิดว่า พระพุทธองค์ทรงประเมินค่าของเรื่องนี้ไว้อย่างไร (น.16)

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service