PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ

ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ

ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ รูปภาพ 1
  • Title
    ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ
  • Hits
    592
  • 9955 ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ /general-knowledge/2021-08-18-12-15-34.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    พุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อชุด
    หนังสือธรรมะ

พุทธศาสนามีคำอยู่คำหนึ่ง เป็น คำรวมยอด คือคำว่า สุญญตาซึ่งแปลว่าความเป็นของว่าง คำว่าว่าง ในที่นี้ก็คือว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน คำๆ นี้ กินความรวมยอดไปถึงหมด ทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ว่า ว่างจากตัวตน นี้ หมายถึงว่างจากสาระที่เราควรเข้าไปยึดถือเอาด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้น ว่าของเรา

การพิจารณาให้เห็นว่า สิ่งทั้งปวงว่างจากความหมาย หรือสาระที่ควรเข้าไปยึดถือนั้นเป็นตัวพุทธศาสนาแท้ เป็นหัวใจหรือใจความสำคัญ ที่เป็นจุดศูนย์กลางของการปฏิบัติ ตามหลักพระพุทธศาสนา เมื่อรู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่างจากตัวตนแล้วก็เรียกว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุด คือรู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุด ถ้าเราจะถอยมารวมไว้ที่คำว่า ว่างจากตัวตน คำเดียว ก็เป็นการเพียงพอ เพราะจะรวบเอาคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาไว้ด้วยเสร็จ

เมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีส่วนไหนยั่งยืนถาวร ก็เรียกว่าว่างได้เหมือนกัน เมื่อเต็มไปด้วยลักษณะที่พิจารณาดูแล้วน่าสังเวชใจ ก็แปลว่าว่างจากส่วนที่เราควรจะเข้าไปยึดถือเอา

เมื่อพิจารณาดูไม่มีลักษณะไหนที่จะคงทนถาวร เป็นตัวของมันเองได้ เป็นเพียงสักว่าเป็นธรรมชาติที่เป็นไป หรือตั้งอยู่ตามลักษณะ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คือไม่มี หรือไม่ควรเรียกว่าตัวตนของมันเอง ดังนี้ ก็เรียกว่าว่างจากตัวตนได้

รวมความว่า ลักษณะที่เห็นว่าว่างจากความเป็นตัวตน หรือว่างจากความหมายที่สมควรแก่การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมอบกายถวายชีวิตจิตใจเข้าไปยึดถือเอา นี้เรียกว่าเห็นความว่าง ที่เป็นใจความสำคัญของพุทธศาสนา

ถ้าบุคคลใดเห็นความว่างของสิ่งทั้งปวงดังนี้แล้ว จะเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น ในสิ่งต่างๆ ขึ้นมาทันที

พุทธทาสภิกขุ
คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์ (น.34)

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service