PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • กฎแห่งขนาดและเวลา ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน

กฎแห่งขนาดและเวลา ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน

กฎแห่งขนาดและเวลา ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน รูปภาพ 1
  • Title
    กฎแห่งขนาดและเวลา ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน
  • Hits
    500
  • 9917 กฎแห่งขนาดและเวลา ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน /general-knowledge/2021-08-18-08-57-54.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    พุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อชุด
    หนังสือธรรมะ

สามัญญลักษณะนั้น คือลักษณะที่ทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวง หรือแก่โลก ได้แก่ภาพแห่งความแปรผันไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ความที่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วเป็นของน่าระอา และความเป็นอนัตตา คือหาจุดกลางที่เป็นตัวตน อันเป็นสาระอันใดมิได้

ภาพหรือลักษณะอันนี้ ได้ปรากฏเด่นชัดอยู่เองแล้ว ที่สิ่งทั้งปวงในโลก แต่มนุษย์เราได้ไพล่ไปมองภาพที่เป็นรูปร่างทรวดทรง ที่งามหรือไม่งามไปเสีย จึงไม่เห็นภาพแห่งสามัญญลักษณะ ดุจเดียวกับเมื่อมองเห็นเก้าอี้ ก็ย่อมมองไม่เห็นความปราศจากเก้าอี้ ฉันใดก็ฉันนั้น ภาพแห่งสามัญญลักษณะ ได้ส่องแสงแจ่มแจ้งยิ่งกว่าแสงอาทิตย์สักพันดวงรวมกัน แต่แม้กระนั้นภาพแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ยังไม่สามารถกระทบสายตาของมนุษย์ธรรมดาได้

ด้วยเหตุนั้นจึงมองข้ามพ้นไปเสียทางอื่น คือคงมองเห็นนั่นเห็นนี่ชนิดที่ให้เกิดความพอใจ หรือความไม่พอใจ อยู่ร่ำไป ต่อเมื่อมีตาพิเศษดังกล่าวแล้วเกิดขึ้น จึงไม่เห็นรูปเขียวรูปแดง น่ารักไม่น่ารัก เป็นต้นนั้นๆ เห็นแต่แสงอันแจ่มจ้า จากสิ่งทั้งปวงซึ่งส่องอยู่เป็นอย่างเดียวและเป็นอันเดียวกันทั้งหมด คือแสงแห่งความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั่นเอง โต๊ะก็ส่องแสงจ้า และเป็นชนิดเดียวกับโคมไฟฟ้าส่องแสง ตู้หนังสือก็ส่องแสงจ้าชนิดเดียวกับที่เก้าอี้ส่องแสง อะไรๆ ก็ส่องแสงอย่างชนิดเดียวกันหมด ไม่มีแตกต่างกัน

เพราะฉะนั้น ผู้ที่เห็นพุทธธรรมแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นเพียงสิ่งๆ เดียว โลกทั้งหมดเป็นเพียงสิ่งๆ เดียว คือทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ในใจต่างๆ นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน มีการเป็นมาและเป็นไปอย่างเดียวกัน เป็นแต่กฎแห่งขนาดและเวลา (Time and Space) ทำให้เรารู้สึกแตกต่างกัน และอวัยวะที่ใช้สัมผัส ก็สัมผัสได้เพียงชั้นที่เป็นมายาภายนอก ของสิ่งเหล่านั้นเท่านั้น

เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวง โดยความเป็นอันเดียวกัน และเป็นเพียงเกลียวแห่งความหมุนเวียน ของสิ่งที่เป็นเหตุผลของกันและกัน โดยไม่มีหยุดหย่อน จนกว่าจะดับอย่างเดียวกันดังนี้แล้ว ทั้งโลกก็ยังเหลือแต่ #ธรรมดา ตัวเดียวเท่านั้น ความไม่ข้องใจไม่เข้าไปผูก ไม่ยึดถือไว้ด้วยใจ ก็จักพลันเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องมีการพากเพียร หรือขอร้องให้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับที่จุดไฟขึ้นเป็นแสงสว่าง ความมืดก็หายตัวไปเอง ฉันใดก็ฉันนั้น

พุทธทาสภิกขุ
วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม (น.27)

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service