PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก คือ สติ

เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก คือ สติ

เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก คือ สติ รูปภาพ 1
  • Title
    เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก คือ สติ
  • Hits
    618
  • 9914 เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก คือ สติ /general-knowledge/2021-08-18-08-42-31.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    พุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อชุด
    หนังสือธรรมะ

ตามที่เราทราบกันทั่วไป และที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ ก็คืออานาปานสติกัมมัฏฐาน เป็นกัมมัฏฐานที่แพร่หลายมาก ในกัมมัฏฐานนี้ เราได้ลมหายใจเข้าออกเป็นหลักปัก และเป็นกัมมัฏฐานที่สะดวกสบาย สามารถฝึกที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้

เพราะตามธรรมชาติ เราก็หายใจเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว
แนวแห่งลมหายใจที่แล่นเข้าเเล่นออกอยู่อย่างไรนั้น เป็นหลักผูกลิง

เราผูกลิง คือจิต ด้วยเชือก กล่าวคือ สติ
เราเฆี่ยนลิง ด้วยไม้ คือ สัมปชัญญะ

สติเป็นเครื่องกำหนดลมหายใจ ยังไม่เผลอไปเสียเพียงใด เชือกผูกลิงก็ยังไม่ขาดอยู่เพียงนั้น ลิงก็ไม่อาจหลุดไปจากหลัก วิ่งกลับเข้าป่า กล่าวคือ โลกิยารมณ์ได้เป็นธรรมดาอยู่เอง

อีกประการหนึ่งควรทราบว่า สัตว์ป่าที่แรกจับมาจากป่า เช่น ช้าง เป็นต้น เมื่อจับมาฝึกใหม่ๆ ย่อมดิ้นรนเหลือประมาณ ตามที่เราเคยเห็นกันอยู่ มันดิ้นจนเชือกบาดเท้า บาดคอ ฝังลึกเข้าไปในเนื้อ หรือกระดูกก็ยังดิ้น เมื่อมันอยู่ในป่าตามธรรมดา มันไม่ดิ้น ไม่มีลักษณะที่น่าตกใจเหมือนเมื่อมันถูกฝึก และเมื่อฝึกได้ดีเรียบร้อยแล้ว มันก็หยุดดิ้น และเป็นช้างที่สุภาพ พร้อมที่จะทำประโยชน์ตอบแทนเจ้าของ

จิตต์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อมันคลุกกันอยู่กับอารมณ์ในโลก ก็ดูไม่ร้ายกาจอันใดนัก แต่ครั้นถูกจับมามัดกับหลักสำหรับฝึก มันก็จะดิ้นในสภาวะที่น่ากลัว และแปลกประหลาด ทั้งเป็นการดิ้นชนิดที่สามารถทำลายความตั้งใจ และความพากเพียรของบุคคลนั้นให้ศูนย์สลายไป โดยให้เกิดความคิดว่าเราไม่มีอุปนิสสัยที่จะฝึกสมาธิเสียแล้ว เป็นต้น

อำนาจความดิ้นรนของจิตต์ เมื่อถูกผูก ถูกเฆี่ยน ย่อมประจักษ์เป็นภาวะที่ชวนให้เกิดความกลัว และอ่อนใจ หรือกวัดเเกว่ง ซึ่งถ้าเชือกคือสติไม่เหนียวแน่นพอ ก็อาจที่จะล้มเลิก หรือทำลายลงในขณะนั้นได้

เพราะฉะนั้น จึงจำต้องใช้เชือกหรือสติให้มั่นไว ไม่หวั่นไหวไปตามอาการที่ปรากฏขึ้น ทั้งในทางที่ว่าให้รู้สึกตื่นเต้น หรือในทางที่น่าตกใจกลัวก็ตาม พึงกำหนดไว้แต่แรกและเห็นเป็นสิ่งธรรมดา ว่าเป็นดุจอาการของช้าง ที่เพิ่งถูกจับมาฝึก ฉันใดก็ฉันนั้น

พุทธทาสภิกขุ
วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม (น.74)

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service