PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคความรู้ทั่วไป
  • มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น

มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น

มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น รูปภาพ 1
  • Title
    มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น
  • Hits
    1208
  • 9376 มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น /general-knowledge/2021-06-04-05-07-08.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    จากหนังสือเส้นทางสู่สวนโมกข์
  • ชื่อชุด
    หนังสือธรรมะ

เพลงร้องเรือ
เออ...น้องเอย มะพร้าวนาฬิเกร์
ต้นเดียวโนเน อยู่กลางเลขี้ผึ้ง
ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง
อยู่กลางเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญ เอย
คำแปล - มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวเดี่ยวโดดอยู่ไกลกลางทะเลขี้ผึ้ง แม้ฝนตกก็ไม่เปียก เสียงฟ้าร้องก็ไม่ถึง จะไปถึงได้ก็แต่เฉพาะผู้พ้นบุญเท่านั้น ผู้พ้นบุญ คือ ผู้บรรลุอรหัตตผล ละวางได้สิ้นแล้ว ไม่ยึดติดแม้บุญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย แม้เทวดาก็ยังยึดติดอยู่


ท่านพุทธทาสกล่าวถึงที่มาของการสร้างสระนาฬิเกร์ในสวนโมกข์ว่า
"มันมาจากบทกล่อมลูกของคนปักษ์ใต้โดยเฉพาะที่ไชยา ที่มีความหมายลึกในทางโลกุตรธรรม เราให้สร้างสระนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเอาจริงเอาจังในทางธรรมของปู่ย่าตายาย สมัยนั้น ในบทกล่อมลูกประมาณห้าหกร้อยบทนี้ มีบทธรรมะสูงสุดในทำนองโลกุตระอยู่สามสี่บท เราเลือกเอาบทนี้ มันมีความหมายว่า

นิพพานนั้นอยู่กลางวัฏฏสงสาร...
ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"มีทุกข์ที่ไหน ต้องดับทุกข์ที่นั่น"
นิพพานคือดับทุกข์ที่สุด
มันต้องอยู่ตรงกลางที่มีความทุกข์ที่สุดนั่นแหละ"

เป็นไปได้ไหมว่า เพลงร้องเรือ นี้เป็นหลักฐานแสดงระดับความเจริญทางธรรมะของอาณาจักรศรีวิชัย ที่เป็นมรดกทางธรรมะตกทอดมาถึงปัจจุบัน และเป็นไปได้ไหมว่าท่านพุทธทาสในวัยทารกได้ฟังเพลงที่แฝงธรรมะขั้นปรมัตถ์เหล่านี้ จากการขับกล่อมของมารดาท่าน แล้วความศักดิ์สิทธิ์แห่งบทเพลงก็แฝงฝังอยู่ใต้มโนสำนึกของท่าน ชักนำท่านสู่เส้นทางของผู้พ้นบุญในเวลาต่อมา

(เพลงร้องเรือ คือ เพลงกล่อมเด็กของคนใต้ ชื่อ "ร้องเรือ" อาจมีที่มาจากรูปร่างเปลเด็กที่คล้ายเรือ หรือจะยิ่งไปกว่านั้น คือ หมายถึงเรือพระนิพพานที่จะพาข้ามวัฏฏสงสาร ดังมีนัยยะอยู่ในเพลงร้องเรือหลายเพลง)

จากหนังสือ : #เส้นทางสู่สวนโมกข์
อิทัปปัจจยตาแห่งพุทธทาส (หน้า 25)
(อ้างอิง : เล่าไว้เมื่อวัยสนธยาหน้า 188)

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service