แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายเวลา : สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Clubhouse เด็กสวนโมกข์ครับ วันนี้ผม เวลา จะทำหน้าที่เป็น moderator ร่วมกับคุณหมอบัญชาเช่นเคยครับ สวัสดีคุณหมอบัญชา พงษ์พานิชครับ
นพ.บัญชา : สวัสดีครับเวลาครับและทุกๆ ท่านครับผม สวัสดี นครศรีธรรมราชครับที่โควิดกำลังแดงเข้ม
นายเวลา : วันนี้ครับคุณหมอเด็กสวนโมกข์ของเราก็เดินทางมาถึงตอนที่ ๔ แล้วครับ โดยวันนี้เราจะพูดคุยกันถึงเวลาประมาณสามทุ่มครับ ซึ่งใน EP นี้เราก็จะมาพบกันในตอนที่ชื่อว่า “ความสุขของคนเถื่อน การแผ่เมตตาเพื่อสัตว์โลกสำคัญกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่” ซึ่งแขกรับเชิญในวันนี้ของเราก็เข้ามาเรียบร้อย แล้วแต่เหมือนว่าจะขอเวลาสักครู่
วรรณสิงห์ : พร้อมละครับ ผมพร้อมละครับ
นายเวลา : โอเคครับ แขกรับเชิญของเราครับ เป็นใครไปไม่ได้นอกจาก influencer ด้านสิ่งแวดล้อมของเราครับ ยินดีต้อนรับคุณสิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ครับ
วรรณสิงห์ : สวัสดีครับผม
นพ.บัญชา : สวัสดีครับสิงห์ครับ
วรรณสิงห์ : สวัสดีครับ ไม่เจอกันนานเลยนะครับคุณหมอ
นพ.บัญชา : ก็เจอสิงห์ อยู่ทั่วไปแหละ
วรรณสิงห์ : ช่วงนี้หมกตัวอยู่ในแลป ไม่ได้ออกไปไหน เลยเรียนหนังสือครับผม
นพ.บัญชา : โอเคครับ วันนี้เวลาเขาจะเป็นเจ้านะสิงห์ แล้วผมจะคอยสอย
วรรณสิงห์ : ใช้คำว่าสอยเลยนะ สอยอะไรกัน
นพ.บัญชา : มาสอยกัน เคยเซิ้งอีสานบ่ เขาสอยกัน
วรรณสิงห์ : อ๋อ โอเคๆ ลูกคู่ๆ
นายเวลา : เราเริ่มกันเลย วันนี้คุณสิงห์จะอยู่กับเราได้ถึงประมาณสามทุ่มใช่ไหมครับ
วรรณสิงห์ : ใช่ครับผม
นายเวลา : โอเคครับ งั้นเรามาเริ่มคำถามแรกของเราเลยนะครับ
วรรณสิงห์ : เดี๋ยวนะ concept คืออะไรครับตอนนี้ผมเข้ามายังงงๆ
นายเวลา : คือ concept นี้ ก็คือ คือ concept เป็น concept รายการ ก็คือเด็กสวนโมกข์ครับ เด็กสวนโมกข์นี้ก็จะเป็น concept เหมือนวันเยี่ยมสวนโมกข์ มาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแรงบันดาลใจที่ได้รับจากอาจารย์พุทธทาสหรือประสบการณ์ที่มาเยี่ยมสวนโมกข์อะไรอย่างนี้ครับ ส่วนในตอนของคุณสิงห์
นพ.บัญชา : สวนโมกข์ในที่นี้คือสวนโมกข์ไหนก็ได้นะสิงห์
วรรณสิงห์ : ครับผม
นพ.บัญชา : สวนโมกข์กรุงเทพ สวนโมกข์ไชยาหรือสวนโมกข์ที่ไหนก็ตามใจสิงห์
วรรณสิงห์ : เยี่ยมเลยเน็ตก็ได้ เยี่ยมหลักธรรมสวนโมกข์ก็ได้ โอเคครับ
นายเวลา : ส่วนวันนี้เราก็มาคุยกันในตอนที่ชื่อว่า ความสุขของคนเถื่อนครับ อืม โดยที่คำโฆษณาของเราว่า
วรรณสิงห์ : คือผมใช่ไหม คนเถื่อนเนี่ย
นายเวลา : ใช่ๆ คือคุณสิงห์นั่นเอง คนเถื่อน
นพ.บัญชา : สิงห์ มีอีกนิดนึง ขอเรียนนิดนึง อันนี้ถือว่าเป็น Oral History Archive ของหอจดหมายเหตุพุทธทาสด้วยนะ เราทำผ่าน Clubhouse บันทึกเก็บไว้เลยว่า โอ๊ย สิงห์เขาเคยมาเยี่ยมสวนโมกข์ยังไงบ้าง อะไรงี้นะ
วรรณสิงห์ : โอเคครับจะพยายามตอบให้ดีๆ แล้วกันนะครับ อ้าว เชิญเลยครับเดี๋ยวคนดูคนฟังหายหมด
นายเวลา : โอเคครับ ก็คือคำโฆษณาของเราวันนี้ ก็คือ การแผ่เมตตาเพื่อสัตว์โลกสำคัญกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งเราก็พยายามเชื่อมโยงระหว่างธรรมะกับสิ่งแวดล้อม ก็โอเคครับ คำถามแรกของเรานะครับคุณสิงห์ ผมเข้าใจว่าคุณสิงห์ร่วมงานกับสวนโมกข์ครั้งแรกนี่ผ่านรายการพื้นที่ชีวิตใช่ไหมครับ
วรรณสิงห์ : ใช่ครับ
นายเวลา : โอเคแล้วตอนนั้นเนี่ยไม่ทราบว่าคุณสิงห์คิดยังไงถึงตอบรับเป็นพิธีกรรายการครับ อยากย้อนไปถึงตอนนั้นว่า
วรรณสิงห์ : แหม การบอกเด็กอายุ ๒๕ ว่าเดี๋ยวคุณจะได้เที่ยวฟรีทั่วโลก มีใครจะไม่เอาบ้างล่ะครับ แต่ว่าก็ตอนนั้นอายุ 25 ย้อนกลับไปก็ 12 ปีแล้วนะปี 2009 มั้งครับ แล้วก็ จริงๆ โอเค นอกจากเรื่องเดินทางนะ คือก่อนหน้านั้นผมก็ไม่เคยมีความตั้งใจว่าอยากต้องเดินทางอะไรมากมายในชีวิตนะครับ แต่โอกาสมันประจวบเข้ามาในตอนนั้นเป็นช่วงที่กำลังเป็นเคว้งๆ แล้วหาหนทางใหม่ในชีวิตอยู่พอดี
แล้วก็บวกกับตอนนั้นจำได้ว่า เอ้อ ไอเดียของรายการน่าสนใจมากเพราะอยากให้ผมไปทำเรื่องศาสนา แล้วผมก็บอกไปตั้งแต่แรกว่า เออ ผมไม่รู้เรื่องศาสนาเลยนะ ผมไม่ใช่คนนับถือศาสนานะ แล้วเขาก็ยิ่ง ทางสวนโมกข์ก็ยิ่งบอกว่าใช่นี่คือสิ่งที่เขาต้องการ คือคนไม่มีศาสนาหรือคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีศาสนาที่จะสามารถมานำเสนอศาสนาพุทธได้ โดยปราศจากแง่มุมของแบบการเป็นศาสนิก การที่มีศรัทธามาก่อนแล้วค่อยๆ เข้าหาพร้อมกับคนดู ก็เลยตอบรับในตรงนั้นแล้วบวกกับโอกาสที่ได้เดินทาง เรียนรู้ผ่านการเดินทางเป็นครั้งแรกในชีวิตก็ช่วงนั้นนะครับ แล้วก็หลังจากนั้นก็เลยกลายเป็นอาชีพยาวๆ ไปเลย จากพื้นที่ชีวิตก็ต่อไปทำเถื่อน Travel ของตัวเองต่อ ครับผม
นายเวลา : แล้วถ้าเรื่องที่เคว้งๆ ตอนนั้นพอจะเล่าได้ไหมครับ ว่าความเคว้งคว้างตอนนั้นมันเกิดจากอะไร
วรรณสิงห์ : มันก็ 12 ปีแล้วนะครับ แต่ถ้าผมจำไม่ผิดก็คือว่า ตอนนั้นผมเรียนจบได้สักพักละประมาณ ๓ ปีนะครับผม ตอนแรกก็พยายามทำเป็น NGO อยู่แต่เหมือนกับเรายัง skill ในการไปขับเคลื่อนสังคมในตอนนั้น เราก็ทำไว้สักปีสองปีเราก็ยังไม่รู้ โอเคเรามีความอยากขับเคลื่อนสังคมแต่ไปถึงแล้วเรากลับยิ่งเจอคนเยอะๆ เรารู้สึกเราไม่ค่อยรู้อะไร นะครับผม อันนี้ก็เคว้งหนึ่งละ
เคว้งสองคือเรื่องของความฝันอีกด้านหนึ่งในตอนนั้นอยากเป็นนักดนตรีครับ แล้วก็พยายามทำวงกับเพื่อนๆ ตั้งใจไปเล่นตามผับ จัด Festival ทำงานทำการอะไรต่างๆ ออกอัลบั้มอะไรมาแต่ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ในตอนนั้นนะครับ ก็เป็นเคว้งที่สอง แล้วก็บวกกับตอนเบญจเพสด้วยนะ เหมือนกับเราเองโตมาในร่มเงาของคุณพ่อคุณแม่นะครับ ตอนอายุเท่านั้นก็จะเปรียบเทียบตัวเองกับพ่อกับแม่เยอะ ว่าอายุเท่านี้แล้วตอนนั้นพ่อแม่ทำอะไรไปแล้วเรายังไม่ได้ทำอะไรเลย อะไรอย่างนี้ครับผม ก็จะเป็นความเคว้งตรงนั้นด้วย
แต่ตอนนั้นผมก็จำได้เลยว่าพ่อผมเคยสอนว่าวัยเบญจเพสนี้คือวัยที่เราจะได้กลายเป็นคนที่เราจะเป็นไปตลอดทั้งชีวิตนะครับ มันไม่ใช่เรื่องของความซวยอะไรหรอก ไม่ใช่ว่ารถจะชน หรือว่าจะเดินเตะกระถางอะไรอย่างนี้ แต่ว่าเป็นเรื่องว่าคุณจะเจอเส้นทางที่มันจะกำหนดสิ่งที่เหลือตลอดชีวิตต่อไป เขาว่ากันว่าอย่างนั้นนะ แล้วผมเองก็ได้เจอกับการทำรายการพื้นที่ชีวิตพอดีในตอนนั้นเป็นดวงเข้ามา แล้วมันเหมือนอะไรหลายๆ อย่างที่มันหาอยู่ มันเป๊ะ มันใช่ ว่านี่ เออ ทางที่เราอยากเดินต่อ นะครับ
ก็เดินจากตรงนั้นจากเป็นพิธีกรเฉยๆ ก็เริ่มไปกำกับ ไปเขียนบท เริ่มเปิดบริษัทโปรดักชั่นตัวเอง เริ่มหาหนทางในการทำ Content แบบต่างๆ อะไรมาเรื่อยมาอย่างที่ทุกคนเห็นหลังจากนั้นนะครับ
นพ.บัญชา : จริงๆ ตอนนั้นสิงห์เป็นพระเอกหนังด้วยนะ
วรรณสิงห์ : อ๋อ หนังเรื่องที่เขาเจ๊งไปแล้วเหรอ
นพ.บัญชา : ไม่รู้แหละ ที่เราเลือกสิงห์อีกบทนึงเพราะเป็นพระเอกหนัง
วรรณสิงห์ : เดี๋ยวๆๆๆ คุณหมอ ข้อมูลผิดครับ เผอิญผมไม่ได้เป็นพระเอกครับ พระเอกคืออนันดา เอเวอร์ ริ่งแฮม ผมเป็นตัวประกอบ
นายเวลา : อ๋อ อินทรีแดงไหมครับ อินทรีแดง
นพ.บัญชา : ไม่ แต่เราถือว่าสิ่งเป็นพระเอก ไม่รู้ล่ะ
วรรณสิงห์ : ทำไมล่ะ เอาหลักการไหนคิด
นพ.บัญชา : ไม่รู้ล่ะ
วรรณสิงห์ : เป็นก็ได้
นายเวลา : โอเคครับ แล้วคุณสิงห์ตอนนั้นในมุมมองคุณสิงห์ตอนนั้นน่ะ คุณสิงห์รู้จักอาจารย์พุทธทาสไหมครับ พุทธทาสในมุมมองคุณสิงห์ตอนนั้นนี่ ตอนที่ยังไม่เข้าร่วมรายการพื้นที่ชีวิตเป็นยังไงครับ หรือไม่รู้จัก
วรรณสิงห์ : บอกตามตรงก็ เคยผ่านตางานของท่านอยู่บ้างนะครับแต่ว่าตอนนั้นด้วยตัวเองมีความเข้าใจในศาสนาที่ไม่ได้ครบถ้วนนัก ก็เลยไม่ได้คิดจะสนใจศึกษาในแง่ที่เราเข้าใจ ในตอนนั้นก็คือเป็นเรื่องของพิธีกรรม เรื่องของความเชื่ออย่างเดียว ไม่ได้เข้าใจอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านั้นในวัยเท่านั้นนะครับ ทำให้เราเห็นอะไรที่มีรูปพระมาก็แทบจะเดินหนีหมดเลยเพราะว่าโดน เข็ดภาษาบาลีมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ เพราะว่าเรียนในห้องเรียนแล้วไม่รู้เรื่องอะไรเลยอย่างนี้นะครับผม
แต่ว่าในตอนนั้น ก็เห็นว่าหมู่นักเรียนที่ค่อนข้างมีความ Active ด้านกิจกรรมทางสังคม ที่เห็นในรั้วธรรมศาสตร์ก็ดีเห็นนอกรั้วบ้างก็ดี ก็จำได้ว่าค่อนข้างจะสนใจ สนใจงานท่านพุทธทาสและเคยเห็นหลายๆ คนหยิบมาอ่านด้วย แต่ว่าตัวเองยังไม่ได้อ่านในตอนนั้น แค่เห็นน่าสนใจว่าในหมู่กลุ่มคนรอบตัวซึ่งดูเหมือนไม่ใช่คนธรรมะธัมโมทั้งหลายกลับมีความสนใจงานของท่านพุทธทาสเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับพระอาจารย์ท่านอื่นๆ
นายเวลา : แล้วตอนนี้ล่ะครับ ถ้าเอามุมมองตอนนี้เลยสำหรับคุณสิงห์ พุทธทาสในมุมมองคุณสิงห์หรือในสายตาคุณสิงห์นี่ มีความน่าสนใจยังไง หรือมีความประทับใจอะไรไหม หรือไม่ประทับใจ หรือยังไง
วรรณสิงห์ : ผมว่าท่านพุทธทาสท่านเป็นพระอาจารย์ที่เห็นความเป็นมนุษย์สูงนะครับ ผมว่าสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดหลายๆ คนเข้าหางานของท่านคือความเข้าถึงแก่นโดยไม่ต้อง ไม่ต้องมีทางอ้อมเลี้ยวเยอะมาก นะครับผม ก็ต้องออกตัวก่อนว่าเรานี่เรียนรู้งานท่านพุทธทาสไม่ได้ผ่านการอ่านด้วยตัวเองแต่ผ่านการพูดจาเสวนากับคนที่เป็นศิษย์ท่านพุทธทาสทั้งหลายผ่านทางรายการนี้แหละ ผมเคยอ่านเองอยู่บ้างแค่ไม่กี่เล่มเท่านั้น แต่ที่รู้สึกได้ก็คือว่าท่านพูดในภาษาที่เราเข้าใจได้โดยไม่รู้สึกว่าตัวเอง ตัวเองจะต้องศึกษาหรือว่าจะต้องเป็นคนที่ฉลาดกว่านี้ถึงจะเข้าถึงธรรมะในแก่นเหล่านี้ได้ครับผม แต่แน่นอนถ้าใครศึกษาท่านพุทธทาสก็คงมีอะไรที่ลึกซึ้งมากยิ่งกว่าไปกว่านั้นนะครับ
สิ่งที่พอจะ debate กับท่านได้บ้าง ก็อย่างเช่นเรื่อง ธัมมิกสังคมนิยม ก็เป็นหนึ่งในเล่มที่อ่านของท่าน แล้วก็ อันนั้นจะออกจากเรื่องของการฝึกจิตใจละไปสู่เรื่องของทางสังคมด้วยอะไรอย่างนี้นะ เราจำเนื้อหาหลักๆ มากไม่ได้แต่ก็มีการลิงค์เข้าเรื่องของจิตวิญญาณ เข้าเรื่องของมิติของการ govern ทางสังคมเยอะ ซึ่งผมเองเป็นคนที่ค่อนข้างสายเทคโนแครตมากกว่าถ้าพูดเรื่องเชิงสังคมนะ ไม่ได้พูดถึงเรื่องจิตวิญญาณ เราก็จะเชื่อในกลไกทางการออกแบบเชิงโครงสร้างเชิงนวัตกรรม เชิงนโยบายมากกว่าเรื่องจิตใจอะไรเราไม่ค่อยคิดว่ามีบทบาททางสังคมเท่าไหร่นะครับผม
ก็นำมาสู่ประเด็นต่อไปได้ที่เราจะคุยกันก็คือเรื่องว่าจะแผ่เมตตาหรือจะรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นต้นอะไรอย่างนี้นะครับ ก็มีในแง่ทั้งเป็นแง่ในเรื่องฝึกจิตใจซึ่งผมคิดว่าท่านพุทธทาสพูดอะไรมา ผมก็ต้องไปขบคิดแล้วก็สามารถเชื่อได้แต่แรกว่าท่านรู้ดีกว่าผมอยู่แล้ว แล้วก็เอาไปขบคิดในฐานะครูอาจารย์ต่อ แต่ในฐานะนักเรียนด้านสังคมศาสตร์ก็มีบางประเด็นที่สามารถถกเถียงกันต่อได้ครับผม
นายเวลา : แล้วกับคุณพ่อ คุณเสกสรรค์ล่ะครับ คุณสิงห์เคยแลกเปลี่ยนเรื่องมุมมองทางศาสนากับคุณพ่อไหมครับ เพราะว่าผมทราบว่าคุณพ่อก็สนใจศาสนาพุทธเหมือนกันแล้วก็ปฏิบัติด้วย
วรรณสิงห์ : ครับ ก็คุยกันประจำครับ เจอหน้ากันก็อย่าเรียกว่าเราพูดกันเรื่องศาสนาเลย เราพูดกันเรื่องชีวิตค่อนข้างเยอะและแง่มุมที่ลึกกันไปของชีวิตที่ไม่ได้จบอยู่แค่การทำมาหากินอะไรอย่างนี้ ซึ่งมันก็จะผ่านไปในแต่ละช่วงวัยนะครับผม อย่างวันนี้เจอกันทุกวันผมรู้สึกว่าผมก็เจอพ่อคนเดิมของผม แต่ว่าทุกๆ วัยที่ผ่านไปผมก็มีเรื่องใหม่ไปคุยกับเขา แต่ก่อนอาจจะพูดเรื่องการหาตัวตน พูดเรื่องการแสวงหาความหมาย เดี๋ยวนี้พูดเรื่องการดูแลคนรอบข้าง พออายุมากหน่อยก็พูดเรื่องการเรียนรู้กันเป็น no one การไม่ต้องเป็นใครก็ได้มันเป็นอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่ผมว่ามันก็มีหลายๆ อย่างซึ่งเข้าไปสู่แก่นของพุทธได้เพียงแค่ไม่จำเป็นต้องอธิบายผ่านหลักศาสนาพุทธอย่างเดียวก็ได้ พ่อผมเวลาเขาคิดว่าอันไหนสามารถอธิบายผ่านหลักพุทธได้เขาก็จะยกขึ้นมา แต่เขาก็เน้นเสมอว่าสุดท้ายแล้วมันพูดไปก็เท่านั้นน่ะต้องปฏิบัติ แต่ถ้าอันไหนพูดจากันโดยไม่ต้องอ้างศาสนาอะไรเลยก็ได้แค่พูดในเชิงหลักการความเข้าใจกันมา ก็พูดว่าตามนั้นได้เหมือนกันโดยไม่ต้องมีหลักทางพุทธเข้ามา
นายเวลา : ก็เป็นการเอาธรรมะมาใช้กับชีวิตจริงๆ ไม่จำเป็นต้องศัพท์แสงก็ได้นะเอามาสื่อสารให้เข้าใจรู้เรื่องกัน
วรรณสิงห์ : แล้วท่านก็เข้าใจว่า หมายถึงพ่อผมก็เข้าใจว่า มันยังไม่ถึงเวลาของผมที่จะต้องปล่อยวางอะไรมากมายเพียงแค่ หรือเหมือนกับตอน ตอนนี้ผมอายุ ๓๗ ผมก็ปล่อยวางมากกว่าผมตอนอายุ 25 แต่ผมก็คงไม่ปล่อยวางเท่ากับผมในอายุ 60 ในอนาคตอยู่แล้ว มันก็มี step ของมันไป แต่ว่าผมก็ได้ค้นพบว่าการทำรายการพื้นที่ชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยทำให้ผมมีโอกาสไปเรียนรู้หลายๆ อย่างซึ่งผมยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องใช้ในวัยหนุ่มมากกว่านี้ แต่ว่าพอถึงเวลาที่ต้องใช้มันผมก็สามารถดึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในการพูดคุยเรื่องธรรมะ การเจอปราชญ์ระดับโลกมา มาครุ่นคิดแล้วก็มาใช้ต่อในชีวิตช่วงหลังๆ ได้พอสมควรเหมือนกันครับผม
นพ.บัญชา : เอ๊ะ สิงห์ครับ แล้วตอนที่ไปสวนโมกข์ล่ะจำได้ว่าสิงห์ถูกท้าเนาะ เถื่อนๆ อย่างนี้เราเลยบอกว่าไปสวนโมกข์กันไหมเป็นไงบ้าง
วรรณสิงห์ : คุณหมอครับผมตอบด้วยความสัตย์จริงเลยนะผมจำไม่ได้ มันนานมากเลย
นพ.บัญชา : มันเถื่อนแท้เลยนะเนี่ย
วรรณสิงห์ : อย่าลืมสิครับตอนนั้นผมโดนคุณหมอให้ไปปฏิบัติธรรมประมาณ 18 วัดนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็จำได้บ้างจำไม่ได้บ้างด้วยความสัตย์จริงนะครับ แต่ว่าแล้วนอกจาก 18 วัดในไทยยังไม่พอต้องไปปฏิบัติอีกกี่วัดในต่างประเทศก็ไม่รู้ หลายหลักธรรมเหลือเกิน
ตอนนั้นนี่ผมมีปัญหาอย่างนึงในการทำรายการพื้นที่ชีวิต คือเราได้ไปสัมผัสสิ่งที่ลึกซึ้งเยอะมากแต่เราไม่มีเวลาประมวลผลเลย เพราะว่าเราต้องทำทุกอาทิตย์ สุดท้ายก็ต้องเหมือนมานั่งทำรายงานส่งครู เพราะว่าเราต้องเป็นพิธีกรของแต่ละตอนโดยที่เรายังไม่มีเวลานั่งตกผลึกกับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง หรือหลักปฏิบัติใดอันใดอันหนึ่งอย่างจริงจังครับผม ก็เลยทำให้บางอย่างยังไม่สติ๊กอยู่ในหัวเท่าไหร่มันเป็นแค่การทำงานซึ่งอาจจะได้อะไรมาบ้างระหว่างการทำงานนั้นแต่ก็ไม่ได้เท่ากับการปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติโดยเฉพาะครับ
นพ.บัญชา : ถ้างั้นก่อนที่จะไปแผ่เมตตาหรือไม่แผ่เมตตาผมว่า แล้วถ้าจำสวนโมกข์ไชยาไม่ได้ สวนโมกข์กรุงเทพล่ะเป็นยังไง
วรรณสิงห์ : สวนโมกข์กรุงเทพจำไม่ได้ก็แย่แล้วนะ ก็ไปบ่อยนะครับ คิดว่าไม่เคยไปปฏิบัติธรรมจริงจังนะ อาจจะมีไปนั่งเงียบๆ อยู่ในห้องนิพพานชิมลางใช่มะหรือชิมลองห้องนั้น ก็ถือว่าเป็นแหล่งที่คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงธรรมะได้ดีและผมเห็นว่าจัดงานทีไรก็มีญาติธรรมมาค่อนข้างเยอะนะครับ แล้วก็เราสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายประเด็นได้มากๆ ที่ไม่รู้สึกว่า คือเป็นกึ่งกลางระหว่างวัดกับห้าง ไม่ใช่ห้างดิ เป็น Community Center อะไรอย่างนี้ คือจะว่าไปวัดก็ไม่ใช่เพราะมันไม่ต้องเคร่งต้องเกร็งขนาดนั้น แต่ว่าบรรยากาศของการเรียนรู้ธรรมะมันมีอยู่เสมอในสวนโมกข์กรุงเทพ แล้วผมก็ชอบบรรยากาศตรงนั้น บางทีผมก็ไปนั่งอ่านหนังสือในร้านหนังสือ แต่ส่วนใหญ่ผมก็จะไปออกงานที่นั่นนะครับผมไม่รู้ว่าผมไปเสวนาที่สวนโมกข์กรุงเทพนี่กี่ครั้งแล้วเยอะมากนะครับผม แต่บางครั้งในวันหยุดวันอะไรผมปั่นจักรยานผ่านไปผมก็ไปนั่งเงียบๆ นั่งดูตัววรนุชเดินไปเดินมาอยู่ตรงนั้นก็เป็นการปฏิบัติธรรมในอีกแบบหนึ่งเหมือนกันครับผม เป็นบรรยากาศที่เอื้อและผมว่าเข้าถึงง่ายดีในคนเมืองแล้วก็ดีใจด้วยที่อยู่มากี่ปีแล้วนะครับ ๑๐ เท่าไหร่นะครับ ๑๓ หรือยัง
นพ.บัญชา : ถ้าตั้งแต่เริ่มสร้างก็ราวๆ จะ 15 แล้วแหละ
วรรณสิงห์ : โอ้ว ผมว่าหลายคนไม่ใช่แค่ผมนะครับ หลายคนก็รู้สึกผูกพันกับสวนโมกข์กรุงเทพมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็เป็นที่พึ่งในจิตใจที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนแบบไปไหว้พระไปอะไรก็ได้ แต่ว่าไปเวลาต้องการความสงบผมไปทุกครั้งผมก็รู้สึกสงบทุกครั้ง ไม่รู้สึกวุ่นวายเลยในการไปที่นั่นยกเว้นคืนสวดมนต์ข้ามปีวันปีใหม่ซึ่งมีคนประมาณ ๑,๕๐๐ คนโผล่กันไปนะครับ
นพ.บัญชา : ปีนี้เราก็จะมีนะ หลังจากปีที่แล้วไม่ได้มี
วรรณสิงห์ : แล้วจัดได้หรือครับผม โควิดนี่
นพ.บัญชา : ตั้งแต่ธันวาคมนี้จะเปิดแล้วครับ จะตักบาตรเดือนเกิด ทำบุญแล้วก็ปีใหม่ทำด้วย เพราะว่าเขารับคนทั้งโลกมาแล้ว
วรรณสิงห์ : ครับผม ก็ขอให้ปลอดภัยกันทุกคนครับ
นายเวลา : แล้วถ้าจะแนะนำล่ะครับ คุณสิงห์ถ้าจะแนะนำสวนโมกข์กรุงเทพให้กับคนที่ไม่เคยมานี่ จะแนะนำอะไรดีนอกจากมีวรนุชให้ชมแล้ว
นพ.บัญชา : ขอว่าแนะนำให้คนมาหรือรวมทั้งแนะนำสวนโมกข์กรุงเทพน่าจะทำอะไรอีกบ้าง
วรรณสิงห์ : ผมว่า เดี๋ยวนะ ถ้าแนะนำนี่ก็คือ อยากบอกว่าถ้าคุณไม่เคยสนใจเรื่องธรรมะหรืออะไรเลยก็ตามแต่ มาที่นี่มันจะโดนดูดด้วยความน่ามองกับน่าเดินเล่นก่อน แล้วก็สักพักมันจะมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราขบคิดแล้วค่อยๆ หามุมที่เรา Comfortable ของตัวเองที่จะให้ค่อยๆ เรียนรู้หลักคิดเหล่านี้ขึ้นไป
ถ้าเป็นวัดโดยทั่วไปเลยนี่ ถ้าเอาวัดคนเมืองส่วนใหญ่ต้องทุกข์ใจก่อนถึงจะโดนดูดไป คนจะเข้าวัดได้ต้องแบบเสียใจอกหักมาหรือไม่ก็มีญาติเสียชีวิตอะไรอย่างนี้นะครับ แต่ว่าถ้าเป็นสวนโมกข์ผมว่าไปด้วยความแบบ เหมือนไปวันหยุดอะไรนี้ ไปดูซิแล้วผมว่าเดี๋ยวจะค่อยๆ หาที่ของตัวเองได้ว่าเรามาที่นี่ทำไมนะครับผม ส่วนให้แนะนำอะไรสวนโมกข์เดี๋ยวขอคุยไปเรื่อยๆ ก่อนนะครับ ถามตอนนี้ยังคิดไม่ออกเลยครับ
นพ.บัญชา : ตอนท้ายค่อยหยอดแล้วกัน
วรรณสิงห์ : ห่างโรงเรียนมานานเราไปทำงานอื่นมานาน แต่ก่อนถือว่าตัวเองเป็นนักเรียนสวนโมกข์เหมือนกันเพราะว่าทำงานพื้นที่ชีวิตใช่ไหม ตอนนี้ห่างโรงเรียนมานานแล้วครับผม ไปเรียนปริญญาอื่นต่อ
นพ.บัญชา : งั้นเอาปริญญาของสิงห์แล้วกัน อ้าว เวลามีคนบอกว่าพูดดังหน่อย เสียงเบาไป เสียงผมกับของสิงห์เสียงดังดีแล้ว
นายเวลา : โอเคครับ เดี๋ยวผมจะพยายามให้ดังขึ้น โอเคครับงั้นคำถามต่อไปเลยละกันครับ คือกลับมาที่การเดินทางแล้วก็รายการพื้นที่ชีวิตนะครับ คือการได้เข้ามามีโอกาสทำงานเกี่ยวกับศาสนา จิตวิญญาณแล้วก็รายการพื้นที่ชีวิตหรือการเดินทางแบบเถื่อน มันเปลี่ยนความคิดหรือมีอิทธิพลอย่างไรบ้างกับคุณสิงห์ หมายถึงว่ามันมี turning point สำคัญๆ ไหมหรือว่ามันค่อยๆ เปลี่ยนไปตามระยะเวลาแล้วก็การเดินทาง
วรรณสิงห์ : เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับแล้วก็มันมี phase ที่ชัดเจนของมันพอสมควรแต่ถ้าตอน ถ้าเอา ณ ปัจจุบันเดี๋ยวผมค่อยย้อนกลับไปในอดีตนะ
ปัจจุบันผมหยุดเดินทางมาเกือบ 2 ปีแล้วนะครับ ซึ่งเป็นชีวิตที่แปลกมากสำหรับผมในช่วงแรกๆ แล้วก็ตอนนี้ค่อยๆ เข้าที่เข้าทางแล้วแต่ตอนแรกจิตก็ดิ้นมากว่า ทำไมฉันไม่ได้ไปไหนเลยเพราะฉะนั้นไอ้ phase ของการเป็นนักเดินทางอะไรอย่างนี้ ผมก็ถือว่ามันเป็นบทของชีวิตที่ได้ปิดไปแล้วเรียบร้อย
นายเวลา : หมายถึงว่าจะมีเถื่อน Travel อีกไหมครับหรือว่าปิดเลย
วรรณสิงห์ : อาจจะมีบ้างแต่คงไม่ได้ define ตัวเองเป็นนักเดินทาง full time เหมือนแต่ก่อน แต่ก่อนไปปีละ 13 - 14 ทริปอะไรอย่างนี้ครับ ซึ่งมันก็มีช่วงเวลาของมัน แต่ตอนนี้เราค้นพบเส้นทางใหม่มากพอสมควรผมก็ ถ้าตอนนี้ส่วนใหญ่ผมไปไหนผมก็จะโดนแนะนำในฐานะนักสิ่งแวดล้อมมากกว่าครับผม แต่ก็ image นักเดินทางก็ยังมีติดตัวอยู่ล่ะ แล้วผมก็ยังอยากกลับไปทำอยู่บ้างแต่ว่าไม่ต้องถึงขั้นทำตลอดเวลาเหมือนแต่ก่อนแล้ว
การทำรายการพื้นที่ชีวิตรวมถึงเถื่อน Travel มันเป็นเหมือนกระบวนการการเรียนรู้ที่ก่อนหน้านี้ผมรู้สึกว่าแทบไม่ต้องเรียนปริญญาอันไหนต่อเลยหลังจากจบปริญญาตรีมาแล้ว เพราะว่ามันเป็นความรู้ในแบบที่มันไปเจอไปสัมผัสแล้วแน่นอนเรื่องธรรมะเป็นแค่ 1 ประเด็นเท่านั้นที่เราได้เรียนรู้ผ่านการเดินทาง ที่เหลือมันเป็นเรื่องของชีวิต เรื่องของความเป็นมนุษย์ เรื่องของความขัดแย้งนะครับ เรื่องของความสัมพันธ์สายใยระหว่างคนกับธรรมชาติ ระหว่างคนกับคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันก้าวข้ามคำว่าศาสนาไปอีก ถ้าให้ผมมองผมว่ามันเป็นร่มที่ใหญ่กว่าคำว่าศาสนาด้วยซ้ำนะครับ
มันเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการเชื่อมโยงและเข้าใจอยู่แล้วและศาสนาสามารถจัดระเบียบความคิดเหล่านี้มาเป็นรูปแบบที่ทำให้คนทั่วไปจัดลำดับขั้นตอนเข้าใจได้ แต่ว่าเลยสิ่งนั้นไปก็มีอะไรทั้ง Simple และทั้ง Complicate กว่านั้นอยู่ แล้วมันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ลำบาก แต่มันกระจายอยู่ทั่วไปในการได้สัมผัสความหลากหลายบนโลกใบนี้ แล้วก็การเข้าใจว่าผู้คน มนุษย์ต้องการอะไร ใจมนุษย์เป็นอย่างไร การทำงานของความคิดและจิตใจของมนุษย์เป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ครับมันสอนอะไรเราได้ค่อนข้างเยอะนะครับผม
แล้วก็สุดท้ายในช่วง 2 ปีมานี้ก็เรามาสู่เรื่องของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ที่ทำให้พอเราเริ่มอิ่มกับการเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ เราก็รู้สึกโดนดูดในการเดินทางไปสู่เรียนรู้อะไรที่ใหญ่กว่ามนุษย์คือเรื่องของสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ แล้วก็ค่อยๆ อาจจะตรงนั้น ตอนนี้กลายมาเป็นการที่ค่อนข้างชัดเจนในสายของเราว่าทำเรื่องสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาครับผม
นายเวลา : แล้วถ้าเป็นประเด็นเรื่องความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหว่างการที่คุณสิงห์เดินทางไปในหลายๆ พื้นที่นะครับ มันเปลี่ยนตัวตนคุณสิงห์อย่างไรบ้างจากการเป็นนักเคลื่อนไหวเหมือนเชิง Active อย่างนี้ ผมรู้สึกว่าการเป็นนักเคลื่อนไหวมันจะมีความคาดหวังในความเปลี่ยนแปลงสูง เวลาเราไปเจอสถานการณ์แบบนั้นมันสร้างความเปลี่ยนแปลงยอย่างไรกับคุณสิงห์บ้างไหม คืออะไรที่จะเป็นเกล็ดกับนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ด้วย
วรรณสิงห์ : ขึ้นอยู่กับถามผมตอนไหนครับ เพราะว่าอย่างที่บอกนะ ผมทำมา ๑๒ ปีนะมันก็มีความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของมันนะครับ ถ้าสิ่งที่ตอบบ่อยแล้ว แล้วย้อนกลับไปในช่วงแรกๆ เลยนะก็เปลี่ยนจากผู้ตัดสินมาเป็นนักเรียนรู้แทนนะครับ ตอนอายุน้อยๆ ก็จะตัดสินไปหมด ไอ้นี่ต้องเป็นอย่างนั้น ไอ้นี่ต้องเป็นอย่างนี้ นี้มันไม่ดีนั่นมันโง่ อะไรอย่างนี้ เห็นอะไรอนุรักษ์นิยมก็ด่าไปหมดนะครับ
แต่ว่าพอได้เข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น ได้เข้าใจแก่นของสังคมทั่วโลกมากขึ้น แล้วก็ได้ออกจากเงาของแค่สังคมที่เรียกว่าประเทศไทยเฉยๆ นี่ ก็เข้าใจมุมมองและความต้องการของคนมากขึ้นนะครับ ก็นำมาสู่จุดที่เราได้มาเป็นนักเรียนรู้มากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้พอเป็นนักเรียนรู้มันก็มาเปลี่ยนสไตล์ในการเล่าเรื่องในการทำงานของเราทั้งหนังสือทั้งรายการทั้งอะไรอย่างนี้ แต่ก่อนมันเหมือนต้องมีบทสรุปในการบอกว่าโลกเป็นยังไง จนตอนหลังมันกลายเป็นแค่บอกว่าอธิบายให้เข้าใจว่าฉันไปเจออะไรมาก็พอแล้ว แล้วก็ให้คนดูตัดสินกันเองนะครับ
แล้วมันก็สะท้อนชีวิตปกติประจำวันด้วย ผมเป็นคนที่บางทีคนใกล้ตัวอยากให้ อ่ะ สมมติว่ามีเพื่อนคนหนึ่งอยากชวนคนอื่น ชวนเพื่อนคนนั้นด่าชาวบ้านด้วยกัน มึงดูไอ้นั่นสิแล้วก็ด่าๆๆๆ ผมจะเป็นคนที่แบบ เฮ๊ย แต่เขาคงมีเหตุผลของเขาล่ะนะ จนคนที่ชวนด่าคนแรกมันจะอารมณ์เสียมากว่ามึงไม่ยอมด่ากับกูสักทีอะไรนี้ ผมจะเป็นคนอย่างนั้นล่ะครับ เพราะว่าเรามีโอกาสได้เข้าใจและเรียนรู้และคุยกับคนที่มันหลากหลายเยอะแยะมากมาย ซึ่งทั้งวงการศาสนาด้วย ทั้งวงการใต้ดินทั้งหลายด้วย ทั้งอาชีพที่คนมักดูถูกดูแคลน หรือหวาดกลัวทั้งหลายตั้งแต่เผ่ากินคน ยันยากูซ่า ยันดาราหนังโป๊ ยันคนขายยา ยันนักโทษประหาร อะไรอย่างนี้
ทุกคนมีเหตุผลของตัวเองหมด ทุกคนเป็นตัวเอกในเรื่องราวของตัวเองน่ะครับ แล้วทุกคนก็มีความเชื่อที่ construct ด้วยเหตุผลต่างๆ นานากันไป ซึ่งเราก็ได้เรียนรู้มานานแล้วกับคำที่รู้สึกว่าแค่เข้าใจนะไม่ได้แปลว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ไอ้หลักการที่ว่าผมต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่างมันไม่ต้อง Apply กับทุกเรื่องก็ได้ ไม่ได้มีความน่าสนใจอะไรเลยที่ผมจะต้องแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ผมก็ผันตัวเองมาเล่าเรื่องต่างๆ ที่ผมคิดว่ามีความหมายกับผู้คนแทน
ทีนี้อันนั้นคือ step แรกของเรื่องเดินทาง แต่จากหลังจาก step แรกไปแล้วนี่ มันก็มีเรื่องของอย่างที่บอกหลุดออกจากเครื่องของมนุษย์อย่างเดียวไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อมแล้วก็ได้เห็นความยิ่งใหญ่อัศจรรย์ของธรรมชาติและความเล็กลงไปทันตาของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แล้วก็จากนั้นก็ค่อยๆ พอดูตรงนั้นก็เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาของมนุษย์และปัญหาของสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายก็ได้เห็นความน่าวิตกของสถานะทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้อย่างวิกฤตมากๆ ก็เลยผันตัวเองมาทำเรื่องนี้ ซึ่งหลักๆ ก็มาจากการเดินทางนี่แหละเพราะว่าเดินทางในช่วงแรกๆ เห็นสิ่งแวดล้อมเห็นธรรมชาติก็รู้สึกแค่ว่าสวยดีแต่ไม่ได้เข้าใจอะไร แต่ก็เป็นแรงจูงใจให้ไปศึกษามากขึ้นนะครับ พอศึกษาถึงจุดหนึ่งก็เข้าใจว่า โอเคนี้เป็นเรื่องที่ไม่พูดไม่ได้แล้ว พอเข้าใจตรงนั้นปุ๊บก็ค่อยๆ เข้ามากระทบการทำงานของเราเองมากยิ่งขึ้น
นายเวลา : แล้วแบบนี้คุณสิงห์จัดการความสมดุลระหว่างการเคลื่อนไหวในเรื่องที่ค่อนข้างยากเหมือนสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ กับความต้องการของตัวเองยังไงครับ หมายถึงว่าตัวเราเองก็คงอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ว่าเราจะสมดุลยังไงระหว่างสิ่งที่เราทำกับความต้องการความเปลี่ยนแปลงของเราครับ
วรรณสิงห์ : มันไม่ได้เกี่ยวกับผมเลยครับเรื่องนี้ หมายถึงว่า It's not about me มันไม่ได้เกี่ยวว่าผมอยากให้เกิดอะไร มันเกี่ยวว่าผมอยากมีบทบาทอะไร แต่ว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นคือมันมีปัญหาใหญ่ระดับมนุษยชาติอยู่ซึ่งคนสนใจน้อยมาก แต่ว่าจะมีผลกระทบกับคนทุกคนบนโลกใบนี้ไม่ว่าจะรวยจะจนนะครับ ไม่มีปัญหาไหนใหญ่ไปกว่านี้แล้วบนโลกใบนี้ผมบอกได้ ๑๐๐ % เลย
แต่ scale ของการสนใจของสังคมไม่ว่าจะไทยหรือเทศนี่ยังต่ำมากๆ ซึ่งแน่นอนปัญหาใหญ่สุดก็คือเรื่อง Climate change ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งเรื่องอากาศที่คุณหายใจ เรื่องน้ำที่คุณดื่ม เรื่องอาหารที่คุณกิน เรื่องที่ดินที่คุณยืนอยู่ เรื่องความยากจน เรื่องสงครามแย่งทรัพยากร ทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หมดในเวลาอีกประมาณ 10 - 20 ปีนี้นะครับผม
ซึ่งในต่างประเทศอาจจะเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญแล้ว ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต่ำมากๆ ในเชิงความรับรู้และประเด็นทางการเมืองนะครับ ผมเองไม่ได้คาดหวังว่าผมจะต้องเข้ามาแล้วผมจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเลย แต่ผมรู้สึกว่าผมเป็นหนึ่งในคนที่เจอ เป็นเหมือนคนงานอีกคนที่จะสามารถช่วยดันเรื่องนี้ขึ้นมาสู่ agenda หลักของสังคมให้ได้ มากกว่าที่ตอนนี้เรามองเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องตามประเด็นนี้เลยครับ ไม่แผ่เมตตาอย่างเดียวก็เป็นเรื่องรักษ์โลกซื้อถุงผ้าไปเที่ยวห้างกันเถอะ
แต่ความจริงมันเป็นเรื่องของเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างระบบทางสังคมทุกชนิดที่จะทำให้สังคมนี้อยู่ต่อไปได้โดยทรัพยากรไม่หมดโลกหรือว่าเราไม่ได้ pollute ทุกอย่าง สร้างมลภาวะจนทุกอย่างที่เราใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ทั่วทุกมุมโลกเนี่ยไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปแล้ว ซึ่งเราใกล้ถึงจุดนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ เข้าใกล้มากจนน่าวิตกกังวลที่สุดแล้ว แต่ว่ากลับไม่มีใครพูดถึง มีคนพูดถึงน้อยมากแล้วพูดถึงใน scale ที่ดูความสำคัญให้ความสำคัญน้อยมากจริงๆ
เรื่องนี้ผมบอกได้เลยครับถ้าทุกคนตระหนักได้แล้ว จริงๆ ในระดับที่ๆ นักวิทยาศาสตร์เขาเข้าใจกันน่ะ มันจะไม่ได้มองเป็นเรื่องไกลตัวว่าแบบ เอาเศรษฐกิจให้รอดก่อน เอาเรื่องสิทธิเสรีภาพก่อน เพราะว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมคือเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสิ่งแวดล้อมคือเรื่องสิทธิเสรีภาพ เรื่องสิ่งแวดล้อมคือเรื่องสิทธิมนุษยชนและอีกหลายๆ อย่างมากมาย เพียงแค่ตอนนี้เราไม่มีจุดเชื่อมโยงตรงนั้นที่จะทำให้คนไปถึงจุดนั้นได้ในความเข้าใจของสังคม แล้วผมเองก็คิดว่าในฐานะคนที่ได้เรียนรู้เรื่องนี้ประมาณหนึ่งแล้วผมก็อยากจะช่วย contribute ให้สังคมมันไปใกล้จุดนั้นได้เร็วมากยิ่งขึ้น เพราะว่าสังคมยิ่งใกล้จุดนั้นมากขึ้นเท่าไหร่ก็มีโอกาสที่เราจะแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้เรายังไม่ได้เข้าใกล้จุดนั้นเลยครับผม
นายเวลา : ก็คือคุณสิงห์ทำหน้าที่ในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่งบนโลก ถ้าเป็นอย่างนี้ผมอยากให้คุณสิงห์เล่าถึง เล่าเล็กๆ ก็ได้ครับคือผมคิดว่าคุณสิงห์น่าจะเล่ามาหลายที่แล้วแต่อยากให้เล่าให้ชาวสวนโมกข์ฟังสักนิดถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมตอนนี้ ที่ทุกคนควรจะรู้แล้วก็จะได้เปลี่ยนการกระทำของตัวเองได้ว่าเราควรสนใจหรือควร focus กับอะไรตอนนี้ มันวิกฤตขนาดไหน อยากให้คุณสิงห์ช่วยเล่านิดนึงครับ
วรรณสิงห์ : โอเคครับ ก็ สิ่งแวดล้อมจริงๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหามันไม่ได้มีแค่เรื่องเดียวนะครับ เราไม่ได้แบบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาตินี้มันเป็นแบบก้อนเดียว จริงๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมแยกเป็นหลายอย่างมาก เรื่องโลกร้อนก็เรื่องหนึ่ง เรื่องของการสูญพันธุ์ของสัตว์ที่เยอะเกินไป หรือว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพก็อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของปัญหามลพิษทางขยะมลพิษทางสารเคมีก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ ทีนี้เรามักจะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมมาเป็นเรื่องเดียวกันไปเสมอนะครับผม ทำให้ scope ของการดูแลสิ่งแวดล้อมนี่มันไม่ได้รับการเจาะในรายละเอียดมากพอ
ทีนี้ผมก็จะพูดถึง scope ที่ใหญ่ที่สุดแล้วกัน scope ใหญ่สุดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังมีปัญหาเยอะสุดตอนนี้คือเรื่อง Climate change หรือเรื่องโลกร้อน เรื่อง Climate change เป็นเรื่องโรคร้อนนี่เป็นเรื่องที่มันน่าวิตกมากๆ เพราะว่าหลายคนจะเข้าใจว่านี่เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่แยกออกจากสังคมมนุษย์และเป็นเรื่องน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างเดียว แต่ว่ามันไม่ใช่นะครับ คำว่าโลกร้อนคือคำว่าอุณหภูมิสูงขึ้นและ effect ด้านที่น้ำทะเลมันสูงขึ้นจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายมันเป็นแค่ long-term effect เป็นผลกระทบระยะยาวของภาวะโลกร้อนนะครับ เพราะว่าโลกร้อนจริงๆ คือแต่ก่อนเราเคยคุยว่าโลกร้อนเดี๋ยวรอลูกหลานจะซวยแทนเรา ตอนนี้ไม่ใช่แล้วตอนนี้มันมาถึงเรียบร้อยแล้ว ถ้าเห็นสัญญาณที่มันเกิดขึ้นทั่วโลกคือ 1. เรื่องไฟป่านะครับ 2. คือเรื่องพายุที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องของภัยแล้ง เรื่องของน้ำท่วม สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับภาวะ Climate change หมด
เพราะว่าสุดท้ายแล้วคำว่าโลกร้อนเนี่ยมันความหมายผิดไปนิดนึง โลกไม่ได้ร้อนขึ้นอย่างเดียวโลกแค่อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งมันต่างจากการร้อนยังไง อุณหภูมิสูงขึ้นมันไม่ได้เปลี่ยนแค่เรื่องความร้อนความหนาวแต่มันไปเปลี่ยนระบบนิเวศทั้งหลายนะครับ ยกตัวอย่างเช่น โลกที่ร้อนขึ้นอุณหภูมิในน้ำทะเลสูงขึ้น มันก็ทำให้ลมร้อนไปเพิ่มพลังของพายุโซนร้อน ไม่ว่าจะเป็นไต้ฝุ่น เฮอริเคน ไซโคลนทั้งหลายบนโลกใบนี้มีความรุนแรงมากมากขึ้น ดูสถิติได้เลยในช่วงหลังๆ นี่พายุเกิดขึ้นบ่อย เกิดขึ้นรุนแรงขึ้น แล้วก็เกิดขึ้นถี่ขึ้น พายุที่รุนแรงในประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ โดน record ในช่วงไม่กี่ปีนี้ทั้งสิ้น และสร้างความเสียหายยิ่งกว่าไฟไหม้กี่ครั้งก็ไม่รู้ มันรุนแรงมาก
โลกร้อนขึ้นทำให้อากาศอุ้มน้ำได้มากขึ้นนำไปสู่ภาวะ 2 อย่าง หนึ่งคือพื้นที่ที่ฝนตกก็จะตกหนักแรงขึ้นน้ำท่วมมากขึ้น พื้นที่ที่แล้งอากาศอุ้มน้ำได้มากขึ้นก็ยิ่งแล้งมากขึ้นเพราะว่าอากาศมันจะดูดซับน้ำเข้าไปกว่าจะปล่อยกลับมาเป็นฝนก็ใช้เวลานานมากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งภัยแล้งและภัยอุทกภัยก็เกี่ยวข้องกับโลกร้อน แล้วก็เกิดภัยแล้งกับอุทกภัยก็เกี่ยวข้องกับเรื่องการผลิตอาหารของมนุษย์อีก ปีนี้ผักแพงไม่มีใครพูดเรื่องโลกร้อน ทุกคนคิดว่าเป็น Event ครั้งเดียวแต่ว่าจริงๆ นักวิชาการ predict มานานแล้วว่าพื้นที่ในแถว tropical ในแถวเส้นศูนย์สูตร ต่อไปจะมีปัญหาเรื่องการเพาะปลูก ทั้งที่ตอนนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก แต่ว่าต่อไปมันจะมีปัญหาว่าพื้นที่การเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ดี แถวอเมริกาใต้ก็ดี มันจะนี่ล่ะครับร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเพาะปลูกลำบาก แล้วปีนี้เราเห็นแค่มันเป็น Event เดียวเรื่องน้ำท่วม ต่อไปมันจะเป็นเทรนด์นะครับ แล้วข้าวยากหมากแพงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ
แล้วมันก็เพราะเราไม่ได้พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่การแบบมาปลูกป่ากันเถอะ มารักษาลิงที่หายากกันไว้เถอะแล้ว เราพูดถึงเรื่อง เราลิงค์เรื่องนี้ อย่างแรกเราลิงค์เข้ามาเรื่องความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์แล้ว อย่างที่สอง ลิงค์เรื่องอากาศที่เราหายใจ ไฟป่าก็เกิดจากอากาศที่แห้งแล้งแล้วก็ร้อนขึ้น ตัวเริ่มต้นไฟป่าอาจจะเป็นมนุษย์แต่ว่าสิ่งที่ทำให้ไฟป่าดับยากแล้วลามมากขึ้นคือเรื่องอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป ซึ่งสิ่งนี้ก็มาลิงค์กับเรื่องอากาศที่เราหายใจอีก อันนี้เป็นตัวอย่างแล้วกันผมพูดคร่าวๆ ประมาณนี้ นี่คือ scope ของเรื่องโลกร้อน
แต่นอกจากนั้นมันยังมีเรื่องของมลพิษทั้งหลายทั้งปวงซึ่งเป็นคนละเรื่องกับโลกร้อนมีส่วนคาบเกี่ยวกัน อย่างเช่น เรามาวิเคราะห์ประโยคหนึ่งที่เราได้ยินบ่อยมากก็คือว่า ใช้ถุงผ้าลดโลกร้อนอันนี้มันจริงหรือเปล่า เพราะว่าถ้าพูดเรื่องโลกร้อนเราก็ต้องดูว่าสินค้าแต่ละชนิด Carbon footprint มันสูงขนาดไหน เราปล่อยคาร์บอนออกไปเยอะขนาดไหนในการผลิต ซึ่งถ้าเราจะเทียบกันระหว่าง Carbon footprint ของถุงพลาสติกเทียบกับถุงผ้า สมมติเป็นผ้าฝ้ายออร์แกนิคเลยนะ ซึ่งใช้น้ำและสารเคมีเยอะมากในการปลูกฝ้ายแต่ละไร่ เราต้องใช้ถุงผ้านั้นถึง ๗,๐๐๐ ครั้งนะครับถึงจะคุ้มทุนในเรื่องต้นทุนคาร์บอน ถึงจะทำให้ลดก๊าซคาร์บอนออกไปได้ด้วยการใช้ถุงผ้านั้น เทียบกับการใช้ถุงพลาสติก 7,000 ใบ ซึ่งอันนี้มันเห็นได้ชัดแล้วว่าใช้ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อนนะครับ ใช้ถุงผ้าคือลดการใช้พลาสติก ซึ่งแน่นอนลดการใช้พลาสติกได้ประมาณหนึ่งมันก็ช่วยลดโลกร้อนได้เพราะพลาสติกผลิตมาจากน้ำมันหรือฟอสซิล แต่สิ่งที่ถุงผ้าช่วยจริงๆ คือการลดมลพิษขยะซึ่งเป็นปัญหาอีกเซตนึงโดยสิ้นเชิง
มลพิษขยะตอนนี้ ประเทศไทยปล่อยพลาสติกลงทะเลสูงเป็นอันดับ ๖ ของโลก แล้วพลาสติกพวกนี้มันเป็น break down จากพลาสติกชิ้นใหญ่กลายเป็นไมโครพลาสติกเข้าปาก ปูปลาหอยกลายมาเป็นซีฟู้ดเข้ามาสู่ร่างกายพวกเราทุกคน ตอนนี้เขาทำวิจัยออกมาค้นพบว่าในอุจจาระของมนุษย์ทั่วโลกมีไมโครพลาสติกแทบทุกคน ผมเชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในห้อง Clubhouse ไปตรวจอุจจาระคุณจะเจอไมโครพลาสติก น้ำทะเลทุกหยดตอนนี้ถ้าคุณดูดขึ้นมาแล้วส่องกล้องจุลทรรศน์ดูจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในนั้นนะครับ ไม่มีที่ไหนรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ซึ่งนี่คนละเรื่องกับโลกร้อน แต่ว่ามันก็จะมีผลกระทบที่เรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะมีผลกระทบยังไงต่อไปเพราะมันศึกษาลำบากมากว่าถ้าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในผืนทะเลกินไมโครพลาสติกเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้างเป็นต้น
อันนี้เราพูดแค่พลาสติกถือเป็นแค่สารเคมีชนิดเดียวที่เราปล่อยสู่ธรรมชาติ มนุษย์สร้างสารสังเคราะห์ขึ้นมาแสนกว่าชนิดแล้วเราปล่อยสู่ธรรมชาติทุกวัน บางอย่างเราเห็นผลชัดเจนแล้ว เช่น ไนโตรเจนฟอสฟอรัสไปสร้างให้เกิดสาหร่ายในน้ำทะเลเยอะมาก และสาหร่ายพวกนี้พอมันเน่ามันก็ดึงออกซิเจนออกจากในน้ำ ทำให้ปลาไม่สามารถอาศัยอยู่ในนั้นได้เกิดเดดโซนทั่วโลก เดดโซนคือโซนที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เลย คือทะเลที่ไม่มีชีวิตนะครับนั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แล้วก็มีสารเคมีอีกเป็นแสนชนิดซึ่งเรายังไม่รู้ผลกระทบของมัน
อันนี้ผมจบตรงนี้ก่อนละกันเดี๋ยวจะเลยเถิดไป แต่ว่าต้องการยกตัวอย่างว่านี่ล่ะครับนี่คือ scale ของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมันมากกว่าที่เราเข้าใจไปเยอะว่าแค่ไม่มีพื้นที่สวยงามหลงเหลือให้ลูกหลานดูอันนั้นเป็นแค่ด้านเดียวของสิ่งแวดล้อมคือด้านการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยวเอาไว้ เป็นแค่ด้านเล็กด้านหนึ่งเท่านั้น ด้านที่เหลือของสิ่งแวดล้อมคือการ sustain ระบบดาวเคราะห์ดวงนี้ที่จะทำให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ครับ
นายเวลา : น่าสนใจมากครับ แล้วอย่างนี้คุณสิงห์คิดว่าในแง่มุมของศาสนาเราพอจะช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้บ้างไหมในมุมมองคุณสิงห์
วรรณสิงห์ : ผมว่ามันได้ทั้งสองด้านครับ คือแง่นึงอ่ะ ทำไมปัญหาทั้งหมดมันเกิดมาจากอะไร คำตอบเดียวที่สมมติให้ตอบประโยคเดียวนะผมก็จะตอบว่าเพราะ Over population ประชากรโลกมันเยอะไป ทีนี้ประชากรโลกมันเยอะบวกกับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ต่อหัวนี่เราบริโภคเยอะขึ้นทุกอย่างไม่ใช่แค่พลาสติกอย่างเดียว เรากินเนื้อเยอะขึ้น เราใช้พลังงานเยอะขึ้น เราบริโภคอลูมิเนียม บริโภคเหล็ก บริโภคไม้ แร่ธาตุทุกอย่าง เราบริโภคเยอะขึ้นต่อหัวหมดแล้วจำนวนคนก็มากขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งเหล่านี้มันตอบสนองช่วงของโลกซึ่งค่อนข้างสงบ ไม่เกิดสงครามใหญ่มาประมาณ 70 - 80 ปีแล้วนะ แล้วมนุษยชาติหันมาทำการค้าขายมันก็ต้องมีการสร้างฐานทัพ ฐานที่มั่นระบบเศรษฐกิจเหล่านี้คนก็ต้องบริโภคกันมากขึ้นเราก็ต้องใช้ทรัพยากรกันมากขึ้น อันนี้ก็เป็นเส้นตั้งแต่ ๑๙๕๐ ๑๙๔๐ เป็นต้นมาการพัฒนาของโลกมาในทางนี้หมดและอยู่ในสปีดที่เร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งยุคอินเทอร์เน็ต curve มันสูงขึ้นชัดเจนมาก อันนี้ในแง่ความเป็นมนุษย์มันดีมากเพราะว่า Standard of Living มาตรฐานการใช้ชีวิตอยู่ของเราดีขึ้นสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันทรัพยากรทั้งโลกมันหมดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว fossil fuel นี่จริงๆ อีกไม่กี่ปีหมดโลกแล้วนะครับ เขาทำ projection มาเรียบร้อยแล้ว แล้วยังไม่มีอะไรมาแทนที่แบบว่าจะใช้ได้ในระดับที่เป็นเชิงของ fossil เลย
ทีนี้ศาสนาทุกศาสนานี่ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็จะพูดถึงการระงับความอยากของตัวเองเอาไว้ประมาณนึงนะครับ แล้วก็ลดการบริโภคสิ่งที่ไม่จำเป็น อยู่อย่างเรียบง่าย แล้วก็สร้างความเป็น Community คือไม่ต้องทุกอย่างเป็นปัจเจกบุคคลคือไม่ต้องมีรถคนละคัน มีบ้านคนละหลัง มีทีวีคนละ ๓ เครื่องอะไรอย่างนี้ ไม่ต้องมีอย่างนั้นก็ได้ ศาสนาจะสามารถช่วยดึงระบบสังคมที่บริโภคน้อยกว่านี้กลับมาแล้วยังมีความสุขอยู่ได้กลับมา ผมเชื่อว่าอย่างนั้น แต่ว่าขณะเดียวกันเราไม่สามารถ
ผมไม่เชื่อว่าเราสามารถมี aim ว่าทั้งโลกตั้งเป้าไปว่าจะเอาศาสนามาเกลาจิตใจคน ๗,๘๐๐ ล้านคนพร้อมกันได้ให้บริโภคน้อยลง แล้วบางทีศาสนานี่แหลอาจจะไปกลบเส้นทางอื่นซึ่งจำเป็นมากกว่า เช่น สมมติว่าเราพูดว่าโลกนี้ต้องกินเนื้อน้อยลง เพราะว่าเนื้อนี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ carbon footprint สูงมาก เนื้อวัวโดยเฉพาะ carbon footprint ของทุกคนในห้องนี้อันดับหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องการใช้พลังงานทั้งในบ้านและรถยนต์ อันดับ 2 คือเรื่องการกิน นี่คือสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปปล่อย carbon footprint เยอะสุด แล้วถัดไปคือเรื่องแต่งตัว เรื่องช้อปปิ้งอะไรอย่างนี้
การกินเนื้อปล่อย carbon footprint เยอะมากนะครับ ทีนี้สมมติว่าปัญหาของโลกคือการกินเนื้อ สมมติว่าเราเอาศาสนามาแก้ไขปัญหาก็จะบอกว่าทุกคนต้องเมตตาสัตว์นะ ๑. หรือทุกคนต้องไม่เบียดเบียนสัตว์โลก ซึ่งผมคิดว่าใน 7,800 ล้านคน อาจจะได้ผลอย่างมากที่สุดกี่คน 100 ล้านถึงไหม ผมพูดถึงสเกลระดับทั้งโลกนะครับ ในขณะที่ถ้าเราไม่พูดเรื่องศาสนาเลยไม่พูดเรื่องจริยธรรมเลย เราบอกว่างั้นลองไปคิดวิธีการผลิตเนื้อใหม่มา ที่ไม่ต้องถางป่า ไม่ต้องไปปลูกพืชที่มันเป็นอาหารสัตว์แต่สามารถเพาะเนื้อใน lab ได้
หรือ 2. สามารถสร้างเนื้อสังเคราะห์จากพืชที่อร่อยพอๆ กับเนื้อทั่วไปได้ โดยไม่ต้องพูดเรื่องการตัดกิเลสคนเลย แต่พูดเรื่องการสนองกิเลสเดิมด้วยการใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิมให้ได้ แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องจริยธรรมเลย ขึ้นอยู่กับเรื่องแค่ว่า นวัตกรรมอยู่ตรงไหน นโยบายคืออะไร เงินทุนไปลงตรงไหน
เราสามารถตอบโจทย์เชิงการตลาดให้กับคน ๗,๘๐๐ ล้านคนได้ โดยที่ลด เออ ภาษาทางการเขาเรียกว่า decoupling คือการลดการลิงค์กันระหว่างการกินเนื้อและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดนวัตกรรมที่ทำให้การกินเนื้อไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมมากเท่าเดิมแล้ว อันนี้ก็เป็นคำตอบที่ไม่ได้มีศาสนาอยู่ในนั้นเลย ไม่ได้พูดเรื่องจริยธรรมเลย เป็นเรื่องเทคโนแครต (Technocrat) เรื่องทางเทคนิคล้วนๆ ซึ่งถ้าสามารถทำได้ให้กับคน 7,800 ล้าน ระบบชีวิตมันก็จะต่างไปจากเดิมสิ้นเชิง
จากแต่ก่อนเราไม่เคยมี Clubhouse ไม่เคยมี Facebook ไม่เคยมี Netflix ตอนนี้ชีวิตคนจำนวนมากก็ต่างไปจากเดิม เป็นต้น อย่างนี้นะครับผม ซึ่งสิ่งเหล่านั้นน่ะพอถึงเวลาของมันนี่ มันไม่ต้องมานั่งคุยเรื่องจริยธรรมหรือศาสนากันแล้ว มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมไปเลย โดยที่โจทย์สำคัญที่สุดก็คือลด impact ทางสิ่งแวดล้อมให้ได้นั่นล่ะครับผม
เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่าศาสนานี่มันได้ทั้ง ๒ ทาง เพียงแค่แง่หนึ่งก็สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคได้อยู่แล้ว แต่ว่าคำถามคือเราสามารถใช้ศาสนานำผู้ผลิตได้หรือเปล่า มีองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่บนโลกนี้ที่ไหนรึเปล่า ที่สามารถอาศาสนานำเพื่อตอบโจทย์ทางจริยธรรมได้ อันนี้ผมไม่ใช่บอกว่าทำไม่ได้นะครับ แต่เป็นคำถามว่ามันมีหรือเปล่า แล้วก็สมมติว่ามีบริษัทพันล้านสามารถเอาศาสนาพุทธไปนำให้เขาแบบ เปลี่ยนเส้นทางในการผลิตของเขาได้ไหม หรือว่ามันต้องใช้ force ทางการตลาดอย่างเดียว
แล้วอย่างที่ 3 ก็คือว่าศาสนานี่มันจะทำให้ภาระส่วนใหญ่ไปอยู่กับผู้บริโภคเยอะไปหรือเปล่า เพราะว่ามันเป็นเรื่องของ individual choice เรื่องของการเลือกส่วนบุคคลมากไปหรือเปล่า ว่าคุณต้องเลือกเองสิ คุณต้องไม่ทำลายสัตว์เอง คุณต้องไม่บริโภคเกินเหตุ คุณต้องตัดกิเลสคุณให้ได้ หรือสุดท้ายแล้วมันเป็นเรื่องของระบบที่มีนวัตกรรมมากพอที่จะลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และนโยบายทางภาครัฐที่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมให้ได้ซึ่งเป็นเรื่องอะไรที่ ที่ผมคิดว่าไม่ควรคุยกันในเรื่องจริยธรรมแต่ควรคุยในเรื่องเชิงเทคนิคล้วนๆ คุณหมอมีความคิดเห็นไหมครับ
นพ.บัญชา : กำลังจะสอยพอดีเลย
วรรณสิงห์ : ผมรู้เลย
นพ.บัญชา : ผมมี 3 ประเด็นนะ คือฟังแล้วนี่รู้สึกคึกคักขึ้นมานะสิงห์ เมื่อตอนผมอายุ ๓๐ ผมก็บ้าเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเลย เราจะอยู่กันไม่ได้ไม่ไหวนะครับ แล้วยิ่งฟังสิงห์เมื่อกี้นี้นะ โห ใช้คำว่า เฮ้ย มันใช่ มันใช่ แต่ที่นี้พอมาประเด็นถึงว่า คำว่ามันใช่นี่ มันทุกเรื่อง มันไปทุกเรื่องทุกอย่างแต่ไม่รู้จะจิ้มไปตรงไหน แล้วจะขยับตรงไหน เหมือนที่สิงห์กำลังทำนี่ผมว่า เอ๊ย หนึ่งชื่นชมนะ แต่อันที่สองก็คือ แล้วไอ้ตรง key success มันอยู่ตรงไหน มันคืออะไรนะที่เราจะได้เข้าไปร่วมด้วยกันนะครับ หรือที่นายเวลาเขาถามนี่ว่า อย่างตอนนี้ผมก็มาอยู่เรื่องงานธรรมแต่ผมก็ยุ่งๆ เรื่องบริโภคแบบสิงห์ว่านี่ละครับ เราก็ไหลไปด้วยเหมือนกัน แต่ว่าเราจะเข้าไปแจมยังไง หรือเอามิติจริยธรรมก็ได้หรืออะไรก็ไม่รู้นะ ไม่อยากจะเรียกว่าศาสนาด้วยซ้ำไป จริงๆ อาจารย์พุทธทาสใช้คำว่าธรรมนิยม ก็คือธรรมนิยมนี้ไม่ใช่เรื่องศาสนาด้วย คือความเรื่องความเป็นจริงของธรรมชาตินั่นล่ะ อยู่ให้มันสอดคล้องกับธรรมชาติที่จะต้องอยู่ด้วยกัน
ผมก็สนใจในประเด็นตอนท้ายนี่ที่นายเวลาถามแล้วสิงห์พูดว่า เอ๊ มันยังไงแล้วอยู่ที่ระบบ แต่เราก็ต้องยอมรับความจริงนะครับว่า สังคมทุกวันนี้มันถูกขับเคลื่อนด้วย ด้วยอะไรล่ะ ด้วยกิเลส ด้วยสิ่งที่สนองความสะดวกสบาย แล้วก็ความดูดีกันยิ่งขึ้นๆ นะครับ เพราะฉะนั้นนี่ศาสนาจะเข้าไปตรงไหนที่มันมีผลกระทบพอสมควร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้โลกและเรารอดได้ด้วยกัน
จริงๆ ผมสนใจตั้งแต่ต้นนะครับที่สิงห์ยกขึ้นมา อยากจะสนทนาที่สิงห์บอกว่าคุยกับพี่เสกตั้งแต่เรื่องตัวตนรวมถึงคนอื่น แล้วสุดท้ายก็ no one อันนี้มันอาจจะไปด้วยกันก็ได้นะ เรื่องกระบวนการขับเคลื่อนทางธรรมชาติทางสิ่งแวดล้อม ฝากสิงห์ช่วยคิดด้วย แล้วมีอะไรให้สวนโมกข์ทำ มาบอก ผมเองก็เมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วก็หมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้คล้ายๆ สิงห์เลย แต่ไม่ได้หมายความว่าผมวางนะ ผมรู้สึกว่าไปไม่รอดมันเยอะเหลือเกิน สุดท้ายก็มา take care บางแง่มุม บางประเด็นเท่านั้นครับ
วรรณสิงห์ : เห็นด้วยครับคุณหมอ ว่ามันต้องเลือกส่วนครับ เลือกชิ้นที่เราดูแลได้ขึ้นมาแล้ว focus ไปตรงนั้นเลย เพราะว่าถ้าพูดเรื่องเปลี่ยนทั้งระบบ มันไม่มีใครสามารถทำได้ทุกฟันเฟืองทุกอย่างอยู่แล้ว เพียงแค่มันควรจะมี agenda ฉันทามติร่วมกันในสังคมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญนะ แล้วจากนั้นใครสามารถแบ่งเค้กส่วนไหนไปทำในส่วนของตัวเองได้ ก็น่าจะมีการแก้ปัญหาที่เยอะกว่านี้เพราะมันก็มีหลายประเทศที่สามารถแก้ปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อมของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะ ปัญหามลพิษ หรือปัญหา climate change ก็ตามแต่
แต่ว่าตอนนี้ agenda แรกของสังคมไทยคือดันเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญให้ได้ แต่แน่นอนหลายคนก็จะบอกว่า ยังไม่มีสิทธิเสรีภาพที่สมบูรณ์กันเลย หรือว่ายังทำมาหากินกันไม่ได้ ไม่มีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเลย อันนี้ผมก็จะขอลองวางประเด็นไปละกันว่า เข้าใจว่าตอนนี้ทุกคนยังลำบากอยู่เยอะ แต่ถ้ายิ่งไม่ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมนี่คนจะยิ่งลำบากยิ่งกว่านี้อีก ผมมองว่าอย่างนั้นนะ เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถแบ่งออกมาได้ว่าคนต้องสบายก่อนและสิ่งแวดล้อมมาทีหลัง เพราะว่าถ้าไม่ดูแลสิ่งแวดล้อมสุดท้ายมันวกมาหาคนชัวร์ๆ นะครับ แล้วก็ไม่ได้อยู่แค่คนด้วยมันจะวกมาหาสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ ซึ่งเรามักจะลืมไปว่าเขาแชร์ดาวเคราะห์กับเราอยู่ เรามักจะเห็นแค่มนุษย์อย่างเดียว
ทีนี้พอคุณหมอพูดว่ามันต้องแบ่งส่วนของเรานี่ อย่างตัวผมเอง ตอนนี้ผมเรียนโทหนักมาก หลักสูตรเรื่องการจัดการขยะพลาสติกกลางทะเลนะครับ แล้วผมก็จะนี่นะครับ เดี๋ยวผมเรียนจบผมก็จะเจาะเรื่องนี้โดยเฉพาะ คือเรื่อง prevent ให้พลาสติกในประเทศไทยไม่ลงทะเลให้ได้นะครับ ซึ่งมันมีความซับซ้อนของมันเยอะเหมือนกันในปัญหานี้ สามารถแก้ได้ทั้งในเชิงธุรกิจ เชิงนโยบายภาครัฐและก็เชิงผู้บริโภค ผมว่าฝั่งผู้บริโภคมันลิงค์กับเรื่องธรรมะได้พอสมควรแหละ แล้วก็สามารถมีกลุ่มคนจำนวนมากในสังคมซึ่งตอบสนองกับแนวคิดทางธรรมะ ซึ่งบางทีผมไปพูดในเชิงเทคนิคเชิงอะไรคนอาจจะไม่อยากฟังกันแต่ถ้าลิงค์ชัดเจนว่าอันนี้มันเป็นเรื่องของจริยธรรมข้อไหน หลักธรรมอะไรก็อาจจะสามารถสื่อสารกับเขาได้ดีมากกว่าเดิมก็ได้
แต่ว่าผมพูดแค่แง่ผู้บริโภคอย่างเดียว แต่ถ้าแง่ธุรกิจกับแง่ภาครัฐยังไงผมว่าก็ต้องใช้เครื่องมืออื่นขึ้นมา แล้วผมคิดว่าสุดท้ายแล้วศาสนายังไงก็ไม่ควรจะเป็น dominant force ในสังคมเกินไป คืออยู่เป็นที่พึ่งทางจิตใจดีแล้ว แต่ถ้าศาสนาเริ่มเข้าไปยุ่งกับเรื่องการกำหนดนโยบายมากเกินไปนี่ ผมว่ามันก็จะเซ็ทปัญหาอีกด้านหนึ่งขึ้นมาเหมือนกันครับผม เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของบทบาทของศาสนาโดยรวมด้วยว่าควรจะเป็นอย่างไรนะครับ
นพ.บัญชา : อย่างนี้ได้ไหมสิงห์นึกอะไรออกในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ แล้วเห็นว่าขบวนงานอย่างพวกเราที่สวนโมกข์เล่นด้วยได้ ผมใช้คำว่าเล่นด้วยได้นะ บอกมาเลยนะ บอกด้วยๆ
วรรณสิงห์ : ได้เลยครับ เดี๋ยวเรียนจบก่อนนะครับ ช่วงนี้ทำรายงานส่งอาจารย์ทุกวันเลย เดี๋ยวปีนึงก็จบละ เดี๋ยวจะมาแจมเต็มที่เลยนะครับผม
นพ.บัญชา : ทีนี้ไปต่อไหมเวลามีประเด็น ๒ – ๓ ประเด็น ผมอยากฟังประเด็นที่เวลาเขาเตรียมไว้
วรรณสิงห์ : เชิญคุณเวลาต่อเลยครับ
นายเวลา : จริงๆ มันมีประเด็นเรื่องคนไม่มีศาสนา แต่ว่ามันเหมือนเราจะพูดกันไปแล้ว ก็คือตอนนี้คุณสิงห์ไม่มีศาสนา ใช่ไหมครับ
วรรณสิงห์ : อ่อ อันนั้นตั้งแต่ผมอายุ ๒๕ นะครับที่ผมประกาศอันนั้นออกไป
นายเวลา : ก็คือไม่มีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
วรรณสิงห์ : ไม่ใช่ครับ คือมันมีความเปลี่ยนแปลงเชิงตัวตนและจิตวิญญาณเยอะมากครับในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมานี้ เพียงแค่ถ้าตอบอย่างหยาบๆ ก็จะบอกได้ว่า ไม่มีเหมือนเดิม แต่คำว่าไม่มีในตอนแรกกับไม่มีในตอนนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิงนะครับ ไม่มีในตอนแรกตอนเริ่มต้นแสวงหานี่ คือไม่มีเพราะการปฏิเสธ แต่ตอนนี้ไม่มีเพราะเลือกไม่ถูก เพราะว่าชอบหลายๆ อย่างแล้วไม่คิดว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เลือกเฉพาะสิ่งที่ตัวเองคิดว่าเหมาะกับชีวิตตัวเองมา apply จากศาสนานู้นศาสนานี้ แล้วบางอย่างก็ไม่ตรงกับศาสนาไหนเลยนะครับ แล้วก็แต่สุดท้ายผมคิดว่าผมก็ค่อนข้างมีความมองข้ามกรอบว่า เราต้องนิยามว่ามันเป็นศาสนาไหนศาสนาไหน เพราะว่าสัจธรรมนี่ถ้าได้คุยกับคนหลายๆ ศาสนา สุดท้ายมันก็มีหนึ่งเดียวจริงๆ สิ่งที่มนุษย์แสวงหาก็เป็นเรื่องเดียวเรื่องเดิมมาตลอดนะครับ ซึ่งอธิบายเป็นคำพูดยากมาก ว่ามันเรียกว่าอะไร ไอ้สัจธรรมหนึ่งเดียวนั้นน่ะ แล้วบางทีเราสามารถเข้าถึงสัจธรรมเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องมาจากกรอบของศาสนาก็ได้ มาจากการศึกษาวิทยาศาสตร์ก็ได้ การเข้าหาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติก็ได้นะครับผม
เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่า เรา apply เรื่องทางจิตวิญญาณและเรื่องของสัจธรรม และเรื่องของธรรมชาตินี่มาจากหลายๆ ศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์ ทั้งศาสนา ทั้งปรัชญา และทั้งจากประสบการณ์และความคิดในการเดินทาง แล้วค่อย adapt มาเป็น จะใช้คำว่าศรัทธาก็ได้ แต่ว่าผมคิดว่ามันเหมือนแบบเป็นแค่การสร้าง reality ให้ตัวเอง การสร้างความเป็นจริงในแบบของเราเอง แล้วมันมาจากหลายองค์ประกอบมาก ศาสนาเป็นเพียงแค่หนึ่งในองค์ประกอบนั้นที่เรามีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่ลิมิต และผมไม่คิดว่าเรามีความจำเป็นเลยที่เราต้องนั่งเลือกว่าฉันจะเป็นศาสนาไหนนะครับ
นพ.บัญชา : เวลา ผมไม่เข้าใจคำถามของเวลา ผมว่าฟังมาตอนนี้วรรณสิงห์เขามีศาสนานะ แต่นิยามศาสนานี่มันไม่ได้เป็นศาสนา XYZ อย่างที่มีอยู่ แต่มันมีหลักอะไรบางอย่างที่เขามีในชีวิตจิตใจ และเป็นทางนำของสิงห์อยู่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เหรอ เวลาอยากจะต้องศาสนาเท่าที่มีอยู่ในโลกทุกวันนี้เหรอ
นายเวลา : คือผมรู้สึกว่าคุณสิงห์มองมันว่า เราไม่ต้องเรียกว่าศาสนาก็ได้ แต่มันเหมือนเป็นองค์ความรู้ที่มาจากสิ่งที่เรียกว่าศาสนา แต่ว่าผมอยากทราบว่าสำหรับคุณสิงห์ คุณสิงห์มองศาสนาเป็นองค์ความรู้หรือว่ามองเห็นเหลี่ยมของการเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติด้วย หมายถึงว่าเป็น
วรรณสิงห์ : อ๋อครับ ผมคิดว่าศาสนาเป็นเครื่องมือ ใช้คำว่าเครื่องมือถูกแล้วครับ เพื่อเข้าถึงสัจธรรมและความสงบทางจิตใจ หรือการบรรลุ หรือแล้วแต่ว่าใครจะตั้ง aim ไว้ตรงไหนนะครับ ทีนี้เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่อง ก็เหมือนวิทยาศาสตร์หรือเหมือนศาสตร์อื่นๆ บนโลกครับ อยู่ดีๆ ให้มนุษย์ทุกคนที่เกิดมามานั่งคิดตั้งแต่ 1 – 10 ใหม่ว่า ฉันต้องมีขั้นตอนยังไงบ้างมันยากใช่ไหมครับ ก็เลยให้ผู้รู้ที่มีมาก่อนหน้านี้ ในประวัติศาสตร์นี่ที่เขาคิดมาแล้วที่เขาได้ผ่านการทดลองมาแล้ว สามารถไกด์เราไปสู่จุดนั้นได้โดยมันมีไกด์ในเชิงปัญญา ทั้งในเชิงการปฏิบัตินะครับผม ซึ่งแน่นอนว่าถ้าใคร สิ่งเหล่านี้มันก็อกาลิโกนะครับ ไม่มีทางที่จะแบบว่าถ้าไม่ทำก็ไม่รู้จริงๆ แล้วก็ทำได้ทุกกาลเวลาใช่มั้ยครับ
ทีนี้เรา เดี๋ยวนะขอคิดคำก่อน เรามักจะไปติดอยู่กับว่าศาสนาด้วยตัวมันเองเป็นสิ่งที่ต้องบูชา แล้วก็ต้องมีคุณค่าที่ต้องรักษาไว้ยิ่งชีพ ซึ่งอันนี้เป็นมุมมองเชิงศาสนาที่ผมไม่ได้เห็นด้วย เพราะว่าสุดท้ายมันเป็นศาสนา ทุกอย่างผมรู้สึกว่ามันเป็นเครื่องมือที่ให้มนุษย์เข้าไปสู่ state of being หรือว่าการเป็นอยู่ที่สูงส่ง หมายถึงว่าเป็นเครื่องมือที่อนุญาตให้ผู้แสวงหาไปสู่ความจริงแท้ที่สูงส่งกว่าการแค่มีชีวิตอยู่ไปวันๆ ได้ แต่ว่าพอมา apply กับระเบียบด้านสังคม เรามักจะไปติดอยู่กับมิติว่า ฉันต้องทำนุบำรุงศาสนานะ ฉันต้อง แทนที่จะใช้ศาสนาเป็น step stone ไปสู่สัจธรรม กลายเป็นว่าเราโดนศาสนากั้นไม่ให้เข้าสู่สัจธรรมแทน ก็มีมิติเหล่านี้เหมือนกัน หรือเราใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการทะเลาะเบาะแว้ง โดยใช้เป็นเครื่องมือในการทางการเมืองกัน ก็มีสิ่งเหล่านี้ด้วย แต่ว่าผมเข้าใจว่านั่นไม่ใช่มิติสูงสุดของศาสนา ก็เลยไม่ได้ ครับ ว่าอะไรนะครับ
นพ.บัญชา : ผมตรงนี้นิดนึง ไม่ทราบสิงห์จำที่เราไปเฝ้าดาไลลามะได้ไหม
วรรณสิงห์ : ครับผม จำได้ครับ ไม่ได้ลืมทุกอย่างๆ
นพ.บัญชา : ครั้งที่เราไปเฝ้าดาไลลามะนี่ ผมทูลถามพระองค์ แล้วพระองค์ตอบมานี่เหมือนกับที่อาจารย์พุทธทาสเขียนไว้ ผมนิดเดียวนะ เพราะตอนนี้เรากำลังประเด็นที่เวลาเขาคุยเรื่องศาสนาแล้วมันคืออะไรนี่ สำหรับผมนี่ผมโดนมาก แล้วตรงกันระหว่างดาไลลามะกับพุทธทาสบอกว่า เรานี่เหมือนจะมี 3 ระดับของหลักความคิดเพื่อเอามาใช้ในชีวิต
ทั้งสองพระองค์ พระองค์นั้นกับพุทธทาสนี่นะครับพูดว่าจริงๆ แล้วมันมีขั้นที่ 1 เรียกว่าด้วยเรื่องปรัชญาคือหลักตรรกะที่เราชอบเอามาถกเถียง คือเป็นหลักคิด แต่อันที่ 2 นี่ถ้ามันผ่านการพิสูจน์ลงมือทำจริงแล้วเห็นผล อันนั้นมันเป็นวิทยาศาสตร์ อันนี้ทั้งสองท่านใช้คำเดียวกันนะครับ แล้วขั้นที่ 3 แต่ถ้าหากว่าพอมัน proof ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ใครใช้ในวิถีชีวิตของเขาแล้ว อันนั้นเป็นศาสนาของคนนั้น
แต่ตอนนี้ผมฟังสิงห์แล้วก็ฟังคำที่เวลาพูด หรือประเทศไทยคนทั่วไปพูดนี่ศาสนามันจะไปติดอยู่กับศาสนา XYZ ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าศาสนาฉัน แล้วกลายเป็นสถาบันไปเลย แต่ความจริงในความเข้าใจของผมศาสนาคือหลักคิดที่บุคคลผ่านการตรวจสอบทดลอง แล้วเลือกใช้เป็นแนวของชีวิต ซึ่งผมมีความเห็นว่าวรรณสิงห์เขามีมากกว่าอีกตั้งหลายคนด้วยซ้ำไปเวลาครับ ที่นี้ไม่ทราบว่าสิงห์จะ debate ตรงนี้นิดไหม เวลากำลังจะหมดละ
วรรณสิงห์ : ผมเห็นด้วยครับ เห็นด้วยกับคุณหมอ แล้วก็นั่นละครับ ผมก็อยากแยกออกจากกันระหว่างศาสนาเชิงจิตวิญญาณกับศาสนาเชิงระเบียบสังคม ซึ่งผมว่ามันก็คงมีส่วนคาบเกี่ยวกันบ้าง แต่ว่าสุดท้ายแล้วอยากมองว่ามันเป็นสองปรากฏการณ์ที่ต่างกัน แล้วก็ส่วนใหญ่ศาสนาเริ่มจากเรื่องทางจิตวิญญาณ เพียงแค่พอมัน popular มากขึ้นก็ต้องอาศัยศรัทธาเป็นตัวดึงคนเข้ามาเพิ่ม แล้วพอมีศรัทธาดึงคนเข้ามาเพิ่มมันก็เลยกลายเป็นระเบียบทางสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้ครับผม
นพ.บัญชา : เราเลยติดหลุม ตกหลุมกันไปเลย
วรรณสิงห์ : ใช่ครับ แล้วอันนี้เกิดขึ้นในทุกๆ ศาสนาทั่วโลกครับผม แล้วก็เลยกลายเป็น conflict ที่แทนที่จะใช้ศาสนา uplift จิตวิญญาณขึ้นไปกลายเป็นมาต่อสู้เพื่อปกป้องศาสนาเหล่านี้ แล้วสุดท้ายก็ฆ่ากันในหลายๆ ที่
นพ.บัญชา : แล้วพอสวนโมกข์หรือท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นแบบอีกแบบหนึ่งก็ถูกรุมเหมือนกัน
วรรณสิงห์ : อ้อครับผม โอเค มีใครในผู้ชมอยากออกความเห็นไหมครับ ผมก็อยากรู้ว่าคนอื่นคิดยังไงเหมือนกันครับผม
นายเวลา : ครับ มีท่านใดอยากแลกเปลี่ยน สามารถชูมือขึ้นมาเลยได้เลยนะครับ เดี๋ยวเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนในช่วงท้ายครับ
นพ.บัญชา : แล้วประเด็นนั้นไม่ได้พูดเลยหรอ เรื่องอะไรนะแผ่เมตตากับอะไรต่ออะไร อยากฟังประเด็นนี้ที่สุดน่ะ
นายเวลา : คุณสิงห์คิดว่ายังไงบ้างครับ คือผมก็เกี่ยวข้องกับงานที่เกี่ยวกับการจัดการพวกขยะในสวนโมกข์เหมือนกัน แต่ผมก็ต้องยอมรับและสารภาพโดยตรงว่าผมก็ทำไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นในมุมมองคุณสิงห์ คุณสิงห์คิดว่า แต่คุณสิงห์ก็ตอบไปแล้วว่าถ้าเราจะเอาเรื่องเหลี่ยมเรื่องแบบจริยธรรมมาใช้อย่างเดียวมันไม่เพียงพอ
วรรณสิงห์ : เออ ขอคำถามใหม่ได้ไหมครับ คำถามประเด็นนี้มันคืออะไรเป็นพิเศษนะ ผมจะได้ตอบได้ถูก
นายเวลา : คือคำถามของเรานี่ คือคำโฆษณาของเรามันคือ การแผ่เมตตาเพื่อสัตว์โลกสำคัญกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่
วรรณสิงห์ : สิ่งที่ผมทำนี่ครับ ยกตัวอย่าง เรายกเรื่องขยะพลาสติกมาแล้วนะ ผมกับมารีญา ซึ่งมารีญาก็อยู่ในห้องนี้ด้วย hello ก็จะไปไหนมาไหนก็แบบว่าไม่รับหลอด ถุงพลาสติกไม่เอา หรือแบบตอนนี้ก็แทบไม่กินเนื้อกันเลยอะไรอย่างนี้ครับ แต่ว่าทั้งหมดทั้งปวง ผมรู้ว่ามันไม่มีผลหรอกครับ ในเรื่องการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างสิ่งแวดล้อมโดยรวม สิ่งเหล่านั้นมันต้องกลับไปสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย การแก้ปัญหาเชิงเทคนิค แล้วก็การคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา แต่ทำไมผมยังทำนะครับ
ผมทำเพื่อเป็นการที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองสามารถ ไม่ใช่แค่มานั่งบอกคนอื่นให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคอย่างเดียว โดยที่ไม่มีความเชื่อมโยงทางจิตวิญาญณเลย ผมเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อให้ทางจิตวิญญาณผมก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ว่าผมเข้าใจดีว่านี่เป็นเรื่องส่วนตัวแล้วพอเป็นเรื่องส่วนรวมเราก็ไปพูดเชิงนโยบาย พูดเรื่อง business พูดเรื่องนวัตกรรมแทน
ผมก็เลยคิดว่า สมมติว่าเราใช้คำว่าแผ่เมตตาเป็น symbolic นี่ เป็น symbolic ว่าเราจะช่วยเหลือสัตว์โลกนี่ก็เป็นเรื่องดีในการตั้งต้น แต่ให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัว คุณแผ่เมตตาเป็นเรื่องส่วนตัว แล้วก็จริงๆ แล้วแผ่เมตตาเสร็จอาจจะไม่มีสัตว์โลกตัวไหนที่มีสุขภาพที่ดีขึ้นเลยก็ได้ แต่ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะตั้งจิตคุณให้ชัดเจนว่า จากนี้ไปคุณจะคิดถึงสัตว์โลกตลอดเวลาในทุกการกระทำของคุณ แล้วจากนั้นค่อยเอาความรู้สึกตรงนั้นไปใช้ในการแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวคุณออกไป ผมมองว่าอย่างนี้นะครับ
นายเวลา : เห็นด้วยแล้วก็น่าสนใจมากๆ ครับ คุณหมอเสริมหน่อยสักนิดไหมครับ ผมว่าอันนี้น่าจะเอามาใช้ได้เลยครับคุณหมอ
นพ.บัญชา : ผมถามอีกสักประเด็นได้ไหมครับสิงห์
วรรณสิงห์ : ครับ เดี๋ยวนะครับระหว่างคุยกันอยู่มีคนฝากพูดมา มารีญาฝากบอกว่าใครสนใจสัตว์โลก ให้ไปโหลด app ชื่อ iNaturalist นะครับ แล้วก็ในนั้นมันจะมีแบบว่าถ่ายรูปสัตว์โลกที่ไหนตามป่าทั่วไปนี่ แล้ว upload ขึ้นไปได้เลย แล้วก็ช่วย identify ด้วยว่า ช่วยนักวิทยาศาสตร์นะ identify ว่าสัตว์ชนิดนี้มัน specie อะไร มีถิ่นกำเนิดอยู่ตรงไหน ถ่ายรูปแล้ว up location แค่นี้ละครับ โอเคมีคนฝาก PR มา เชิญคุณหมอต่อครับ
นพ.บัญชา : ไม่ พอดีน้องๆ เขาตั้งชื่อว่าความสุขของคนเถื่อน คนเถื่อนอย่างสิงห์นี่ความสุขนิยามยังไง แล้วเป็นยังไง
วรรณสิงห์ : เออ ความสุขเหรอครับ
นพ.บัญชา : เขาตั้งหัวข้อวันนี้ว่าเราจะมาคุยเรื่องความสุขของคนเถื่อน ผมฟังแล้วไม่เห็นเถื่อนสักนิดนึง เป็นระบบมากเลย แล้วก็เพื่อโลกชิบเป๋งเลย
นายเวลา : เออ ไม่เถื่อนเลยเนอะ
วรรณสิงห์ : คือมันมี อ่ะ ผมพูดถึงแค่ยุคปัจจุบันผมแล้วกันนะ เพราะว่าเวลาก็เหลือน้อยแล้ว เพราะว่าในอดีตผม ความสุขก็เป็นเรื่องของการวิ่งตามหาความหมาย การสำรวจโลกกว้าง ผมรู้สึกว่าเราจบยุคนั้นไปละ ตอนนี้มัน อย่างตอนนี้ผมเรียนโทอย่างที่บอกไปนี่ ความสุขผมก็ simple มากขึ้นเยอะนะครับ แล้วก็การมี focus ในชีวิตที่ค่อนข้างชัดเจนว่า เรากำลังทำอะไรอยู่เพื่อเป้าหมายอะไรนี่ ก็เป็นความสงบทางใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง แล้วก็ความสุขที่แต่ก่อนไม่เคยจะเป็นที่พึ่งหลักในชีวิต แต่ว่าตอนนี้กลายเป็นที่พึ่งแล้ว ก็คือเรื่องของสายใยของคนรอบตัวนะครับผม ซึ่งแต่ก่อนเราแบบ one man show, solo ตลอดอะไรอย่างนี้
ตอนนี้ก็คือการได้ดูแลคนรอบข้าง การได้รู้สึกว่าตัวเองทำมากพอที่จะทำให้คนรอบข้างเรามีความสุขหรือมีที่พึ่ง แต่ก่อนผมไม่เคยเป็นที่พึ่งทั้งทางจิตใจและทางอะไรให้กับผู้คนเลย ตอนนี้ผมพยายาม step up เพื่อเป็นที่พึ่งให้ทุกคนรอบตัวตลอดเวลา แล้วผมก็พบความสุขในตรงนั้น บางเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เชิงสังคมอะไรเลย เช่น ขับรถไปรับไปส่งคน เรื่องหาข้าวให้กิน เรื่องอะไรอย่างนี้นะครับผม แล้วก็มีความสุขมากขึ้นในการที่เรามีความอยากจะเป็น someone น้อยลงๆๆ เรื่อยๆ ทุกวัน
แล้วก็การที่มีโอกาสได้เป็น someone อยู่บ้างในช่วงวัยก่อนหน้านี้ ก็ได้รู้ว่ามันไม่มีอะไรหรอก ในชื่อเสียงหรือว่าความโด่งดังเหล่านั้น เพราะถึงเวลาตรงนี้มันก็ มันก็ปล่อยวางไปได้เยอะ ไม่ถึงขั้น ๐ % นะครับ แต่ว่ามันก็ไม่ได้รู้สึกว่าต้องวิ่งตามอะไรตลอดเวลาอีกต่อไปแล้ว ความสงบตรงนั้นมันก็เกิดขึ้นเยอะ ตอนนี้ก็เลยอยากมา focus เรื่องการแก้ปัญหาที่เราเห็นเป็นรูปธรรมตรงหน้ามากกว่า ว่าเราจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไง ซึ่งถ้าชื่อเสียงยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการที่จำเป็นต้องใช้ในตรงนั้นนี่ ก็คงยังต้องใช้ชื่อเสียงต่อไป แต่ว่าไอ้ need ของการที่จะต้องออกไปเพื่อให้คนอื่นเห็นเราตลอดเวลาเหมือนตอนอายุน้อยๆ ก็แทบจะไม่มีแล้วครับ
นพ.บัญชา : ตกลงความสุขของคนเถื่อนคนนี้ ไม่ได้เถื่อนเลย
นายเวลา : ใช่ คือความเป็นประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านอยู่นะนี่ ภาษาพระนี่ ผมว่า แล้วประโยชน์ท่านมันมากกว่าแค่คนรอบข้าง มันรวมไปถึงสรรพสิ่ง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดด้วย คือมันไม่ค่อยเถื่อนเท่าไหร่ ดูยิ่งใหญ่เหมือนกันนะครับ
วรรณสิงห์ : จริงๆ ผมก็ไม่ใช่คนเถื่อนขนาดนั้นครับ รายการผมมันชื่อ “เถื่อน”
นายเวลา : โอเคครับ ท่านใดมีจะมาแลกเปลี่ยนไหมครับ หรือว่าเราจะให้คุณมารีญาขึ้นมาขายของสักนิดนึงก่อน
วรรณสิงห์ : เอ่อ นี่เขาส่ง message มาหาผมอีกแล้ว จะขึ้นมาเองไหม กดยกมือมาเลยมารีญา
นพ.บัญชา : เชิญเลยครับๆ เมื่อกี้ฟังสิงห์แล้วสนใจมากเลยอยากจะเล่นด้วย
วรรณสิงห์ : ทำยังไงดีครับ จะเอามารีญาขึ้นมายังไง บังคับพูด
นายเวลา : ชูมือขึ้นมาหรือยัง ไม่ชูๆ
วรรณสิงห์ : เดี๋ยวนะ กดตรงไหนอ่ะ มัน invite on stage ได้มั้ย หรือว่าท่านผู้ชมท่านผู้ฟังคนไหนอยากจะพูดคุยแลกเปลี่ยนก็ยกมือมาได้นะครับ
นพ.บัญชา : มีหลายคนเลยนะ พอผมบอกไปว่าเดี๋ยวเจอกับวรรณสิงห์ เขาบอกเขาเป็น FC อ่ะ เป็นอาจารย์อยู่วลัยลักษณ์ท่านนึง
วรรณสิงห์ : อ้าวมาแล้วมารีญา
มารีญา : Hello สวัสดีค่า Good evening ทุกคน
วรรณสิงห์ : สวัสดีจ้ะ
นพ.บัญชา : สวัสดีครับ
มารีญา : ก็ตื่นเต้นค่ะว่าเมื่อกี้ไม่รู้ว่าจะมา join แต่ว่า topic น่าสนใจมาก แล้วคิดว่าเรื่องของความสุขนี่ค่ะก็เป็นอะไรที่แบบทุกคนทุกสิ่ง หรือว่ามนุษย์ทุกคนน่ะก็พยายามหากันตลอดเวลา meaning of life, perhaps แต่ว่าเหมือนหลังๆ นี้มารีญาก็รู้สึกเหมือนกันว่าเราเริ่มแบบ เหมือนถามคำถามเรื่อง What is happiness? ความหมายของชีวิตของเราคืออะไร แล้วเหมือนรู้สึกเองค่ะว่าเราเริ่มมีความสุขมากขึ้นเมื่อเราสามารถใช้ชีวิตตรงกับ value ของเรา เป็นอะไรที่เหมือนเพิ่งสังเกตหลังๆ นี้ค่ะ แล้วมันเหมือนเป็นเหตุผลของชีวิตแล้ว ที่เราจะต้องใช้ชีวิตตรงกับ value ของเรา
วรรณสิงห์ : คือชีวิตที่ไม่ขัดแย้งในตนเองใช่ไหม คือความสุข
มารีญา : ใช่ค่ะ
นพ.บัญชา : แล้ว value ของคุณมารีญาแบบเดียวกับสิงห์เลยใช่ไหม คือสิ่งแวดล้อมเพื่อสรรพสิ่งทั้งมวล ฟังดู
มารีญา : คิดว่าสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในเสาหลักแน่นอนน่ะค่ะ คิดว่าสัดส่วนทั้งหมดนี่ มารีญาคิดว่ามีสำหรับชีวิตของมารีญานะคะมี 3 เสาหลักที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ ความสุขของตัวเองด้วย ความสุขของคนที่อยู่รอบข้างเรา ของคนที่เรารักของครอบครัวของเรา แล้วก็ที่ 3 ก็สังคม เพราะทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันจริงๆ เพราะฉะนั้นเมื่อถ้ามีอะไรที่เหมือนกระทบหนึ่งในเสาหลักนี้เราก็ต้องเหมือน focus กับเสาหลักนั้น ก็เลยคิดว่าทั้ง value ทั้งหมดก็จะเกี่ยวกับ ๓ อย่างนี้ค่ะ
นพ.บัญชา : คุณมารีญาเคยไปสวนโมกข์กรุงเทพไหมครับ
มารีญา : เคยค่ะ น่าจะประมาณปีนึงพอดีเลยค่ะ เป็นธันวา ช่วงธันวาปีที่แล้ว ที่มี event ได้เป็นครั้งแรกที่ได้ไปค่ะ ชอบมากร่มรื่นมาก
นพ.บัญชา : ถ้างั้นเดี๋ยวผม ไม่ส่งละหนังสือเล่มนี้ จะไม่ส่งให้วรรณสิงห์ละเพราะว่าเขาเถื่อนเกินเนอะ
วรรณสิงห์ : อะไรเนี่ย
มารีญา : จริงๆ เขาไม่เถื่อนเลย
นพ.บัญชา : มีหนังสือเล่มใหม่อยู่เล่มหนึ่ง
นายเวลา : คุณหมอเรามี 2 ภาษาไง เรามี 2 ภาษา 2 เล่มเลย
นพ.บัญชา: ไม่ ผมจะส่งเล่มนี้ให้มารีญาคนเดียว ไม่ให้สิงห์หรอก
วรรณสิงห์ : ถามมารีญาได้ ผมไม่เถื่อนเลย
นพ.บัญชา : มารีญาครับ จะมีหนังสือเล่มใหม่เล่มหนึ่ง Shambhala เขาจะพิมพ์นะครับแล้วก็วางตลาดทั่วโลกชื่อว่า Seeing With The Eye of Dhamma เป็นงานของอาจารย์พุทธทาสชื่อว่า ธรรมะเล่มน้อย ซึ่งไม่น้อยนะครับ ๓๐๐ – ๔๐๐ หน้า แต่ตอนนี้ Shambhala เขาเอา editor แล้วก็ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านภาษาไป edit แล้วแปล แล้ว edit เป็นภาษาอังกฤษแล้วก็วางทั่วโลก เดี๋ยวเวลาไปใส่ชื่อคุณมารีญา ขอที่อยู่นะแล้วเราส่งไปให้
มารีญา : ขอบคุณมากเลยค่ะ
นพ.บัญชา : เผื่อได้ไปเติมต่อให้มีความสุขสุดๆ
นายเวลา : แล้วตกลงพี่สิงห์จะไม่ได้หนังสือใช่ไหมครับคุณหมอ
วรรณสิงห์ : เดี๋ยวยืมกันอ่านก็ได้ครับ ลด footprint
มารีญา : น่าจะแบ่งกันได้ค่ะ
นพ.บัญชา : สิงห์อ่านภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษล่ะ
วรรณสิงห์ : ภาษาอังกฤษก็ได้ครับ ปกติก็อ่าน
นพ.บัญชา : อังกฤษดีกว่า งั้นไม่ต้องแบ่งเดี๋ยวส่งทั้งสองเล่มเลย เพราะว่าพอมัน edit เป็นภาษาอังกฤษนี่ สิงห์จะพ้นเรื่องบาลงบาลีอ่ะ เข้าใจนะ เราจะอ่านแล้วรู้เรื่องขึ้น เดี๋ยวจะ เอ้า เวลานะไปใส่ในบัญชีไว้แจ้งลูกพี่เรานะครับ
นายเวลา : ได้ครับ
วรรณสิงห์ : เอ้า มารีญาขึ้นมาบนเวทีแล้วเชิญโปรโมท app ได้ครับ
มารีญา : That’s why I’m here โอเคตอนนี้นะคะ มีโปรเจคที่เราตั้งไว้บน iNaturalist เป็น app ที่เมื่อกี้นี้พี่สิงห์เล่าให้ฟังคร่าวๆ เป็นการที่เราช่วย citizen science ช่วยเก็บ Data ต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเอามาใช้ได้ แล้วอันนี้มันเป็นการ tracking ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีชีวิตนะคะ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของ Biodiversity research, research ความหลากหลายทางชีวภาพอ่ะค่ะ ความหลากหลาย แล้วนี้ก็เป็นอะไรที่แบบง่ายมากเลยค่ะ จริงๆ เราไม่ต้องเป็นคนที่ identify ด้วยซ้ำ เราแค่ถ่ายรูปแล้วขึ้นไปมันเป็น community ใหญ่เลยค่ะที่ช่วยเข้ามา identify ได้ว่าสิ่งนี้เป็นอะไร
แล้วการที่เรารู้สิ่งที่มีชีวิตที่อยู่รอบข้างเราค่ะ มันสามารถบ่งบอกได้หลายอย่าง อย่างเช่น ถ้าเราเห็นพวก fungus ที่อยู่บนต้นไม้นี่มันบ่งบอกถึงมลพิษทางอากาศ situation ของอากาศ ณ ตอนนี้ แล้วหรือว่าเสียงนกเหมือนกันน่ะค่ะ ถ้ามีเสียงนกที่ไหนก็สามารถอัดเสียงนกได้ แล้วเราก็สามารถช่วยดูได้ว่าตอนนี้นกที่กำลัง migrate ผ่านเมืองไทยนี่แบบมาครบหรือยัง มาตรงเวลาไหม แล้วสามารถช่วยในเรื่องของ research ของ climate change ด้วย ของภาวะโลกร้อน เชิญชวนทุกคนนะคะใช้ app นี้ จด project ของมารีญาไว้ด้วยที่ตอนนี้ชื่อว่า Living Together น่าจะเจอง่าย ไม่งั้นก็ลองใช้ดู ใช้ได้ตลอดใช้ได้เสมอ ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตอยู่ในบ้าน นอกบ้าน ในเมือง ในป่า ใต้ทะเลได้หมดเลย
วรรณสิงห์ : app ชื่อ iNaturalist นะครับ
มารีญา : Yep ขอบคุณมากค่ะ I’ll leave you guys.
วรรณสิงห์ : เขาหลังไมค์มาให้ผมช่วย PR เยอะมากผมก็อ่านไม่ทัน เลยเชิญเลย เชิญมาพูด
มารีญา : พี่เขาพูดถึง biodiversity ก็เลยแบบ โอเคค่ะ สวัสดีค่ะ Good Night.
นายเวลา : ครับ ขอบคุณคุณมารีญาครับ ก็คือ iNaturalist.org เนอะ ถูกไหมครับ
วรรณสิงห์ : สงสัยไปละ โอเคครับงั้นผมขอตัวด้วยเหมือนกัน ๓ ทุ่มพอดีเลย อยากถามอะไรทิ้งท้ายไหมครับ
นายเวลา : ให้คุณสิงห์ขายของ ขายงานก่อนก็ได้ครับ แล้วก็เดี๋ยวน่าจะลากันได้เลย
นพ.บัญชา : ขายของรวมทั้งแนะนำสวนโมกข์กรุงเทพด้วย
นายเวลา : ใช่ๆ ติดไว้
วรรณสิงห์ : สวนโมกข์กรุงเทพก็แนะนำไปว่า ไปเถอะครับ ไปนั่งอ่านหนังสือก็ได้ เดี๋ยวก็โดนดูดเข้าไปเอง หรือเดี๋ยวคุณหมอบัญชาก็จะเอาธรรมะมาขายเองนะครับผม หน้าตาคุณดูหมองๆ นะ คุณหมอก็จะเดินมาแล้วก็แนะนำเล่มนู้นเล่มนี้ให้อ่านนะครับผม ผมก็โดนดูดมาประมาณนี้แหละ
ทีนี้ส่วนตัวผมเองช่วงนี้ไม่ค่อยมีงานอะไรให้ตามเท่าไหร่ครับ อย่างที่บอกเรียนโทค่อนข้างเยอะ แล้วก็งานด้านสื่อก็น้อยลงไปพอสมควร แต่ว่าถ้าสนใจอยากดูงานก็ปล่อยประมาณเดือนละคลิปสองคลิปอย่างนี้ครับ แล้วก็ดูได้ทางช่อง “เถื่อน Channel” ใน YouTube นะครับผม ฝากติดตามกันได้ก็ยังคงมีรายการอยู่บ้าง แต่เรทของการปล่อยของน้อยลงเยอะมากเพราะว่าช่วงนี้งานหนักจริงๆ ครับผม
นายเวลา : โอเคครับ สำหรับท่านใดที่สนใจก็ไปติดตามได้นะครับ ขอบคุณคุณวรรณสิงห์นะครับ
วรรณสิงห์ : ขอบคุณมากครับยังไงขอตัวก่อนนะครับวันนี้ สวัสดีครับ
นพ.บัญชา : ครับ สวัสดีครับ