แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ภาพหินสลัก “นกฮูก” เป็นปริศนาธรรม ที่ท่านพุทธทาสได้สั่งให้ทำขึ้น เพื่อเตือนสติให้คนที่ได้มาดูจะได้เข้าใจและนึกถึงประโยชน์จากการที่ได้รู้จักนกฮูกให้มากกว่าความเชื่องมงายในยุคสมัยหนึ่ง ที่คนทางใต้ถือว่านกฮูกเป็นสัตว์อัปมงคล ท่านพุทธทาสกลับเห็นว่านกฮูกคือสัญลักษณ์ของนักปราชญ์
อยากให้ท่านลองมองและสังเกตนกฮูกว่ามีลักษณะเช่นไร สังเกตนกฮูกนะครับ ว่ามีดวงตาโต มีหูใหญ่ มีปากแหลม ท่านพุทธทาสจึงได้แต่งประโยคเพื่อให้เราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ว่า “ฟังให้เต็มหู ดูให้เต็มตา พูดจาให้แหลมคมเหมือนนักปราชญ์”
จากที่ฟังประโยคนี้แล้ว จะช่วยเตือนสติในการดำเนินชีวิต เริ่มจากการฟังให้เต็มหู ดูให้เต็มตา คือการที่เรารับรู้ข้อมูลทั้งจากการฟังหรือจากการดูเรื่องใด ๆ ถ้าเราฟังไม่ดี ฟังไม่จบ ดูไม่ดี ดูไม่รอบคอบ เราอาจจะเข้าใจผิดและมีอคติ หรือทำให้เกิดปัญหาได้มากมาย และที่สำคัญพูดจาให้แหลมคมเหมือนนักปราชญ์ หมายถึง การที่เราจะพูดหรือสื่อสารออกไป ถ้าเราไม่คิดก่อนพูดหรือแสดงความเห็น อาจจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน หรือแม้กระทั่งตัวเองด้วย
ท่านคงจะเข้าใจแล้วนะครับว่าแค่นกฮูก ตัวเดียว สามารถสอนเราได้มากมาย
ในขณะที่ในโลกตะวันตกก็มีความเชื่อนะครับว่า นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของนักปราชญ์ ดังจะเห็นได้ว่านกฮูกนั้นเป็นสัตว์ประจำตัวเทพีอาเธน่า (Athena’s Owl) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาเช่นเดียวกัน