PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • Dhamma Podcasts
  • เสาห้า
เสาห้า รูปภาพ 1
  • Title
    เสาห้า
  • เสียง
  • 10677 เสาห้า /dhamma-podcasts/2021-12-22-05-11-52.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
ภาพปริศนาธรรม
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 22 ธันวาคม 2564
ชุด
หมวดอื่นๆ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • เสา ๕ ต้นนี้ เป็นปริศนาธรรมที่ท่านพุทธทาสได้แรงบันดาลใจมาจากเมื่อครั้งที่ท่านไปเยือนประเทศอินเดีย ท่านพบว่าวิหารอมราวดีทุกแห่งจะพบเสา ๕ ต้น หรือแม้ที่บูชาพระพุทธรูปจะมีขีด ๕ ขีดอยู่ข้างหลัง ท่านจึงสั่งให้สร้างเสา ๕ และติดตั้งขึ้นบนซุ้มประตูทางเข้าสวนโมกข์ไชยา และเมื่อครั้งสร้างสวนโมกข์กรุงเทพแห่งนี้ จึงได้จำลองมาติดตั้งบริเวณทางเข้าที่ท่านเห็นอยู่นี้

    ถ้าท่านมองดูจะสังเกตเห็นว่าเสาทั้ง ๕ นั้น มีเสาเท่ากันเป็นคู่อยู่ ๒ คู่ฝั่งซ้ายและขวาโดยมีเสาต้นกลางที่สูงที่สุดอยู่ต้นหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าสู่ข้อธรรม อยากชี้ชวนให้ท่านลองนึกถึงข้อธรรมในพระพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วย ๕ สิ่ง ซึ่งท่านอาจนึกถึงศีล ๕  ขันธ์ ๕  นิวรณ์ ๕ หรืออะไรอีกหลายอย่าง

    แต่ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า สำหรับท่านแล้วนึกถึงข้อธรรมชื่อ “อินทรีย์ ๕ พละ ๕” ลองมาพิจารณากันดูนะครับ

    เริ่มจากเสาด้านซ้ายสุดและขวาสุดเท่ากันเปรียบได้กับ ศรัทธา เท่ากับ ปัญญา หากการทำกิจใด ๆ ถ้าประกอบด้วยศรัทธามากกว่าปัญญา เราจะมีศรัทธาไปในทางที่ผิดและทำกิจนั้น ๆ ไปด้วยความหลง ความอยาก ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมี ปัญญา มาคอยช่วยกำกับให้ศรัทธานั้นถูกต้อง

    ส่วนถัดเข้ามาตรงกลางจะมีเสาอีกคู่หนึ่งที่เท่ากัน เปรียบได้กับ วิริยะ เท่ากับ สมาธิ ถ้าการทำกิจใด ๆ เราเกียจคร้านไม่มีวิริยะหรือความเพียร กิจนั้น ๆ ก็จะไม่สำเร็จ จึงจำเป็นต้องมีสมาธิมาคอยช่วยกำกับให้การลงมือทำกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ส่วนเสาต้นกลางสูงที่สุดนั้น เปรียบได้กับสติ หมายถึงการระลึกรู้อย่างเพียบพร้อม สำหรับการกระทำกิจใด ๆ ก็ตามจะต้องมีสติมาคอยช่วยควบคุมหรือกำกับให้ ศรัทธา ปัญญา วิริยะ และสมาธิ เป็นไปตามทางที่ถูกต้อง กิจนั้น ๆ ก็จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี สติ จึงเป็นเสาต้นที่สูงที่สุด

    จากนี้ไปหากท่านตั้งใจจะทำกิจหรือการงานใด ๆ ให้ลองนึกถึงเสา ๕ ดูนะครับ เพื่อที่จะเชื่อมโยงถึงข้อธรรม อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ซึ่งอาจจะช่วยให้ท่านทำกิจนั้นสำเร็จด้วยดีครับ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service