PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • Dhamma Podcasts
  • พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเฝ้าพระพุทธองค์
พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเฝ้าพระพุทธองค์ รูปภาพ 1
  • Title
    พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเฝ้าพระพุทธองค์
  • เสียง
  • 10667 พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเฝ้าพระพุทธองค์ /dhamma-podcasts/2021-12-22-04-50-58.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
ภาพปริศนาธรรม
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 22 ธันวาคม 2564
ชุด
หมวดหินสลักพุทธประวัติ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ภาพนี้เป็นภาพพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระคันธกุฎี ที่ยอดเขาคิชฌกูฏนะคะ ขอให้สังเกตมุมบนซ้ายมือของภาพจะเห็นแท่นว่างคือสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์

    คราวนี้หันมาดูภาพตรงมุมบนขวาบ้างนะคะ จะเห็นภาพชาวบ้านกำลังดูขบวนเสด็จของพระราชาอยู่บนเฉลียงเรือนของตน ถัดลงมาด้านล่างจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่องของพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จด้วยช้างในที่ควรเสด็จด้วยช้าง เสด็จด้วยม้าในที่ควรเสด็จด้วยม้า พอออกจากประตูเมืองเสด็จด้วยรถในที่ควรเสด็จด้วยรถ และเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเมื่อถึงเขตที่ควรเสด็จดำเนินด้วยพระบาท มีราชบริพารตามเสด็จด้วยนะคะ พร้อมถือเครื่องใช้ต่าง ๆ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ มีหม้อน้ำ มีพวยซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการให้ทาน เพราะพระราชาอาจจะเรียกหาทันทีที่ต้องการให้ทาน โปรยทาน หรือถวายทานก็ตาม เพื่อหลั่งน้ำจากพวยกานั้นในขณะที่บริจาคทานค่ะ

    เมื่อถึงเขตเข้าใกล้พระคันธกุฎีแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงเข้าเฝ้าถวายบังคมพระพุทธองค์ ซึ่งในที่นี้แสดงด้วยภาพพระแท่นว่างสี่เหลี่ยมตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นค่ะ ใต้พระแท่นมีลายขยุกขยิกซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับภูเขา และเป็นยอดเขาอันเป็นที่ตั้งของพระคันธกุฎีที่ยอดเขาคิชฌกูฏ พระเจ้าพิมพิสารถูกแสดงด้วยภาพสองภาพ  เพื่อให้เห็นท่านนมัสการทั้งสองท่า คือทั้งในขณะเฝ้า และขณะเวียนประทักษิณเดินออก

    ขอเพิ่มเติมข้อมูลให้อีกสักหน่อยนะคะว่า การเฝ้าพระพุทธองค์ในสมัยนั้น จะไม่เฝ้าตรงพระพักตร์ค่ะ แต่จะเฉียงไปข้างใดข้างหนึ่งพอสมควร คือไม่ข้างจนพระองค์ต้องเอี้ยวพระพักตร์ไปหา ไม่ใกล้หรือไกลเกินไป หรือแม้กระทั่งไม่เหนือลม เป็นต้นค่ะ เรียกว่าเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถ้าเป็นมนุษย์ก็จะยืนเฝ้าตอนแรกเข้าไปแล้วจะนั่งลง ถ้าเป็นเทวดาจะยืนเฝ้าอยู่จนกระทั่งกลับ เมื่อกลับออกจะเวียนประทักษิณ คือเดินอ้อมเป็นวง โดยมีสีข้างข้างขวาของตนอยู่ทางพระพุทธองค์เสมอไป ไม่มีการหันหลังให้พระพุทธองค์เลย จนกว่าจะลับสายพระเนตรแล้ว

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service