PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • Dhamma Podcasts
  • หม้อน้ำปูรณนฎะ
หม้อน้ำปูรณนฎะ รูปภาพ 1
  • Title
    หม้อน้ำปูรณนฎะ
  • เสียง
  • 10651 หม้อน้ำปูรณนฎะ /dhamma-podcasts/2021-12-22-04-29-12.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
ภาพปริศนาธรรม
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 22 ธันวาคม 2564
ชุด
หมวดหินสลักพุทธประวัติ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ภาพคล้ายแจกันดอกไม้ที่ท่านเห็นอยู่นี้เรียกว่า “หม้อปูรณฆฏะ”  มีดอกบัวในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ดอกตูม ดอกแย้ม และดอกบาน “หม้อปูรณฆฏะ” นี้ ในอดีตกาลมักนิยมใช้ในความหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์

    ในขณะที่ท่านพุทธทาสให้ความหมายว่า “หม้อปูรณฆฏะ” นี้ เป็นสัญลักษณ์แทนการประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมท่านถึงแปลความหมายเช่นนั้น

    ในโอกาสนี้จึงขอเล่าย้อนหลังถึงที่มาของภาพหินสลักพุทธประวัติที่ติดตั้งอยู่บริเวณลานหินโค้งและโดยรอบบริเวณสวนโมกข์กรุงเทพนี้นะคะ

    สืบเนื่องมาจากในครั้งเมื่อท่านพุทธทาสได้เดินทางไปประเทศอินเดียในระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๙๘-๒๔๙๙ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสถูปต่าง ๆ ๓ แห่ง ได้แก่สถูปภารหุต สถูปสาญจี และสถูปอมราวดี ซึ่งมีภาพหินสลักพุทธประวัติติดตั้งอยู่มากมาย ถูกทำลายสูญหายไปเสียก็มาก ที่กระจัดกระจายไปตามที่ต่าง ๆ และจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศอินเดียและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่บริติสมิวเซี่ยมในประเทศอังกฤษ

     ภาพหินสลักชุดดังกล่าวในทางโบราณคดีคาดว่าสร้างในช่วงสมัยพุทธศักราช ๓๐๐ ถึง ๖๐๐ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สำคัญที่ท่านพุทธทาสได้มองเห็น คือภาพหินสลักเหล่านั้นใช้เครื่องหมายต่าง ๆ แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น แทนด้วยความว่างบ้าง แทนด้วยดอกบัวบ้าง แทนด้วยรอยพระบาทบ้าง  ไม่ปรากฏว่าว่ามีพระพุทธรูปอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้เลย สัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นแสดงให้เห็นถึงความลึกซึ้งของคนในสมัยนั้นเป็นอย่างดี เพราะความว่างก็มุ่งตรงไปที่คำสอนเรื่อง “อนัตตา” “สุญญตา” อันเป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา รวมไปถึงการไม่ทึกทักเอาเองว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะในเวลาล่วงมาถึงสมัยพุทธศักราช ๓๐๐ นั้นไม่มีใครที่เคยเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระองค์จริงเลย และรวมไปถึงการแสดงด้วยรูปแบบพระพุทธรูปแล้ว หากมีการชำรุดเสียหายย่อมนำมาซึ่งความไม่สบายใจแก่ผู้ที่พบเห็นได้

    ท่านพุทธทาสจึงได้เริ่มให้จำลองภาพภาพหินสลักที่ท่านเห็นทั้งหมดนี้ จากภาพถ่ายแล้วขยายให้ใหญ่ขึ้นแกะทำแม่แบบ แล้วหล่อด้วยปูนซิเมนต์ โดยอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือระหว่างพระภิกษุที่สวนโมกข์ไชยาและฆราวาสประมาณ ๑๐-๑๕ คน ใช้เวลาหลายปีกว่าจะสำเร็จ ซึ่งในคราวนั้นทำไว้ราว ๕ ชุด และได้ติดตั้งไว้ที่โรงมหรสพทางวิญญาณ สวนโมกข์ไชยา บางส่วนก็นำไปติดตั้งที่วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่  และเมื่อครั้งเกิดสวนโมกข์กรุงเทพแห่งนี้ก็ได้นำมาติดตั้งอยู่ทั่วบริเวณอย่างที่ท่านเห็นอยู่นี้

    คราวนี้ขอย้อนกลับไปที่เรื่อง “หม้อปูรณฆฏะ” ที่ท่านพุทธทาสให้ความหมายว่า เป็นสัญลักษณ์แทนการประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากภาพนี้ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งเคียงขนานกันไปกับภาพแสดงการตรัสรู้ การแสดงปฐมเทศนา และการปรินิพาน อันเป็นการแสดงถึง ๔ เหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ ซึ่งพบลักษณะการติดตั้งเรียงลำดับเรื่องราวแบบเดียวกันเช่นนี้ในสถูปอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ท่านพุทธทาสจึงสรุปว่าเป็นสัญลักษณ์แทนอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากการประสูติ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service