PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • Dhamma Podcasts
  • สมถกัมมัฎฐานแบบธิเบต
สมถกัมมัฎฐานแบบธิเบต รูปภาพ 1
  • Title
    สมถกัมมัฎฐานแบบธิเบต
  • เสียง
  • 10644 สมถกัมมัฎฐานแบบธิเบต /dhamma-podcasts/2021-12-22-04-12-08.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
ภาพปริศนาธรรม
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 22 ธันวาคม 2564
ชุด
หมวดภาพวาด
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ภาพชุดสมถกัมมัฏฐานแบบธิเบตนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงขั้นตอนของการฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ซึ่งหมายถึงจิตตั้งมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรียกกันว่าอารมณ์กัมมัฏฐาน โดยภาพจะแสดงเป็นลำดับขั้นจากด้านล่างสุดค่อย ๆ ไล่เรียงขึ้นไปด้านบนสุด ภาพชุดนี้มีจำนวน ๙ ขั้น แบ่งเป็น  ๓๓ ลำดับ ซึ่งจะขออธิบายเป็นลำดับ ๆ นะครับ

    ภาพเริ่มต้นที่ภาพคนนั่งป้องหูในวงกลมด้านล่างสุด เป็นการกล่าวถึงกำลังแห่งการฟัง หรือเรียกว่า "สุตะพละ" คือการได้รับฟังคำอธิบายจากผู้รู้ถึงสมถกัมมัฏฐานในแบบต่าง ๆ  เช่น  อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน  และกสิน เป็นต้น และเริ่มตั้งจิตกำหนดอยู่กับอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ต่อจากนั้นขึ้นไปจะเห็นคนเดินถือปฏักและเชือกในมือ หมายถึงผู้ที่ศึกษาปฏิบัติหรือเรียกว่า “พระโยคาวจร” เชือกหมายถึงสติ ปฏักหมายถึงสัมปชัญญะ หมายความว่าการทำสมถกัมมัฏฐานของ “พระโยคาวจร”  นี้ ต้องใช้ทั้งสติและสัมปชัญญะมาคอยกำกับการใช้

    ต่อไปจะเห็นภาพช้างสีดำ ลิงสีดำ และเปลวเพลิงกองใหญ่ที่มุมล่างด้านซ้าย ซึ่งในภาพนี้ช้างหมายถึงจิตของผู้ศึกษาปฏิบัติ โดยหมายให้สีดำของช้างคือความง่วงเหงาซึมเซา  หรือถีนะมิทธะ ส่วนลิงดำหมายถึงกามคุณทั้งห้า ได้แก่รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ที่คอยซักพาจิตให้ฟุ้งซ่าน  หรือเรียกว่าอุทธัจจะ กุกุจจะ ในภาษาบาลี  สำหรับภาพเปลวเพลิงกองใหญ่หมายถึงจิตในระยะแรกเริ่มที่ต้องใช้กำลังสติสัมปชัญญะอย่างยิ่งจนกว่าจะมีความก้าวหน้าของสมาธิในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เปลวเพลิงกองใหญ่นี้จะค่อย ๆ เล็กลงจนหมดไป  ไม่ต้องใช้สติสัมปชัญญะอีก หมายถึง สติสัมปชัญญะแนบแน่นสนิทกับดวงจิตแล้ว

    ลำดับถัดไปจะเห็นภาพพระโยคาวจรใต้ผลไม้ ๓ ผล แสดงให้เห็นถึงเมื่อจิตสงบยิ่ง ๆ ขึ้น  มีสมาธินิ่ง

    ลึกและตั้งมั่นกว่าเดิมความรู้สึกนึกคิดทางรสจะเริ่มลดถอยจนดับลงได้  รูปผลไม้ ๓ ผล เหนือพระโยคาวจรหมายถึงรสทางลิ้นที่เริ่มลด ในขั้นนี้ถือว่ารสอันเป็นหนึ่งในกามคุณห้า อันเป็นสิ่งที่ทำให้จิตฟุ้งซ่านได้ดับลงแล้ว

    ภาพนับจากขั้นนี้เป็นต้นไป  จะเห็นสีขาวบนศรีษะช้างและลิงเริ่มปรากฏขึ้นเล็กน้อย หมายถึงความก้าวหน้าในการภาวนา  ผ้าผืนม้วนอยู่ตัวช้างคือจีวร  หมายถึงกายสัมผัสอันเป็นอีกหนึ่งในกามคุณห้าเริ่มดับลง ลำดับถัดไปจะปรากฏภาพกระต่ายมานั่งบนหลังช้าง  หมายถึงความง่วงซึมหรือเรียกว่าถีนมิทธะ  อันพระโยคาวจรได้รู้จักแล้วและลงมือขจัดซึ่งความง่วงนั้น มีจิตที่สงบยิ่ง ๆ ขึ้น ในขณะที่พระโยคาวจรใช้เชือกคือสติผูกช้างได้แล้ว ช้าง ลิงและกระต่ายหันหน้าที่เป็นสีขาวมากขึ้นไปหาพระโยคาวจร  หมายถึงจิตที่ประกอบด้วยความฟุ้งซ่านและความซึมเซา ได้เริ่มถูกรู้จักและควบคุมโดยพระโยคาวจรแล้ว  ภาพเหนือหัวลิงมีฉิ่งคู่หนึ่ง หมายความถึงความรับรู้โดยการได้ยินหรือเรียกว่าโสตผัสสะอันเป็นอีกหนึ่งในกามคุณห้าเริ่มดับลง

    ในภาพลำดับถัดไปจะเห็นว่าสีขาวบนตัวลิง ช้าง และกระต่ายมีมากขึ้น แสดงว่าพระโยคาวจรได้มองเห็นจิตที่ฟุ้งซ่านและง่วงซึมชัดเจน แจ่มใสขึ้น จนถึงขั้นทำลายได้โดยง่ายด้วยกำลังแห่งสัมปชัญญะ จิตจะมีสมาธิ และมีความสงบมากยิ่งขึ้น ลึกยิ่งขึ้น ภาพหอยสังข์ที่ปรากฏด้านบนของช้าง หมายความว่าการรับรู้ทางกลิ่นหรือเรียกว่าฆานะผัสสะอันเป็นอีกหนึ่งในกามคุณห้า เริ่มดับลง

    ต่อไปให้มองไปด้านซ้ายสุดจะเห็นภาพลิงขาว  หมายถึงจิตกุศล  บนต้นไม้มีผลสีขาวให้หมายถึงกุศลกรรมทั้งหลายที่จิตจะตระหวัดไปคิดถึง ก็ถือว่าอาจทำให้ฟุ้งซ่านได้   ในขั้นนี้ต้องขจัดให้หมดเช่นเดียวกันจะส่งผลให้จิตสงบรำงับยิ่งขึ้น

    ภาพลำดับต่อไปจะเห็นว่าช้าง และลิงมีสีขาวมากขึ้นสักประมาณครึ่งตัว ในขณะที่กระต่ายขาวทั้งตัว พระโยคาวจรจูงช้างและลิงได้เรียบร้อย  หมายถึงจิตถูกบังคับไว้ได้โดยทุกประการแล้ว จะสังเกตเห็นว่าเปลวเพลิงซึ่งหมายถึงสติและสัมปชัญญะเหลือเปลวแต่น้อย และจะเห็นป้ายกลมบนพานเยื้องขึ้นไปด้านบนนั้น หมายถึงการรับรู้ทางรูป อันเป็นกามคุณสุดท้ายที่เหลืออยู่เริ่มดับลง

    ภาพที่ต่อเนื่องต่อไปจะเห็นว่ากระต่ายหายไป หมายถึงความความง่วงซึมหายไปหมดจด คงเหลือสีดำที่ท้ายช้างและที่ขาลิงเพียงเล็กน้อย จิตถูกทำให้สงบยิ่งขึ้นและเพิ่มกำลังสมาธิเข้มแข็งขึ้น

    ต่อไปเป็นภาพพระโยคาวจรยืนและลิงมีขาสีดำเล็กน้อยนั่งอยู่ด้านข้าง เป็นช่วงที่การศึกษาปฏิบัติได้บรรลุมาถึงขั้นที่จิตที่ฟุ้งซ่าน และง่วงซึมดับหมด  ตลอดจนกามคุณห้าดับหมด ซึ่งแม้จะมีก็แต่น้อยไม่ต้องใช้ความพยายามหรือกำลังอย่างมากมายก็สามารถขจัดความกระเพื่อมเล็กน้อยเหล่านั้นได้ เรียกว่าจิตได้ถูกทำให้สงบโดยสมบูรณ์แล้ว เปลวเพลิงอันหมายถึงการต้องใช้กำลังของสติสัมปชัญญะก็ดับหมดไม่ต้องใช้แล้ว

    ต่อไปจะเห็นภาพช้างขาวทั่วทั้งตัว  ลิงอันหมายถึงกามคุณทั้งห้า  ก็หายไปแล้ว หมายความว่าจิตตั้งมั่น  สงบแน่วแน่ต่อเนื่องกันอย่างไม่ขาดตอน แสดงอาการที่จิตมีสมาธิหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว  คือ อารมณ์แห่งกัมมัฏฐานนั้น ๆ

    หลังจากนั้นจะเห็นภาพพระโยคาวจรนั่งข้างช้างขาวที่หมอบ แสดงความมีจิตใจแน่วแน่อย่างสมบูรณ์  ปรากฏรุ้งหลากสีทอดออกจากอกของพระโยคาวจร และต่อด้วยภาพพระโยคาวจรลอยลิ่วไป  หมายถึงความปีติแห่งกายและเมื่อขึ้นนั่งบนหลังช้าง หมายถึงการบรรลุถึงสมาธิอันแท้จริง มีความปีติแห่งจิต
    และภาพท้ายที่สุดพระโยคาวจรนั่งบนหลังช้างสีขาว เปลวไฟสีขาว  หมายถึงกำลังของสติ  สัมปชัญญะ อันคล่องแคล่วว่องไวของพระโยคาวจร จะเป็นกำลังส่งเสริมให้จิตเข้าถึงความหมายอันสูงสุดแห่งสุญญตาอันเป็นปรมัตถสัจจะของปรากฏการณ์ทั้งหลายครับ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service