PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
  • ตอบคำถาม (8)
ตอบคำถาม (8) รูปภาพ 1
  • Title
    ตอบคำถาม (8)
  • เสียง
  • 6327 ตอบคำถาม (8) /upasakas-ranjuan/8.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันเสาร์, 26 ธันวาคม 2563
ชุด
URI 037-6
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • คำถาม -​ อยากทราบวิธีการดูจิตและการระงับความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น การดีใจ​ เสียใจ ควรปล่อยให้เกิดขึ้นหรือไม่

                ตอบ -​ ไม่ควรปล่อยแน่นอน เพราะเรารู้แล้วว่าทำให้จิตผิดไปจากความปกติ การที่จะระงับความรู้ต่าง ๆ ที่จะแสดงออกมาทางกายนี้ควรจะทำอย่างไร ก็ได้พูดมาเรื่อยๆ แล้วนะคะ ถ้าสังเกตุได้ ในขณะนี้ก็ใช้ลมหายใจบอก ลมหายใจที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้ อยากที่บอกว่าให้ศึกษาว่าลมหายใจอย่างไหนใช้ประโยชน์อย่างไรได้ พออาการเสียใจ ดีใจเกิดขึ้น ใช้อารมณ์หายใจอะไรคะ ลมหายใจอย่างไหน ลมหายใจแรงลึก นั่นแหละขับไล่ไปได้ไกลเลย นอกจากนั้นก็ค่อยๆ ดูให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งที่เกิดขึ้น ดีใจมันก็เกิดขึ้นอย่างนี้เอง แล้วก็ดับไป วันหนึ่งอาจจะดีใจตั้งหลายหน เช่นเดียวกับเสียใจ เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของมัน ผลที่สุดก็คอ่ยๆ จางคลาย จากความดีใจลิงโลดมากๆ รึเสียใจมากๆ ก็ลดลงไปเอง นี่เป็นคำถามตอนต้น ๆ วันต้น ๆ ที่ถามว่า ให้ย้อนดูจิตจนรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง จนรู้ว่าใจเราเป็นอย่างไรนั้น แย้งกับเรื่องที่เล่าให้ฟังว่า จิตไม่มี​   ที่พระภิกษุองค์หนึ่ง ไปขอท่านโพธิธรรมให้ช่วยชำระจิตให้สะอาดหน่อย แล้วท่านโพธิธรรมก็บอกว่า เอาจิตมาดูซิ เอาจิตออกมาแล้วจะล้างให้ พระภิกษุองค์นั้นก็บอกว่า คือหลังจากที่ดูแล้วก็ไม่รู้จะไปหยิบตรงไหนส่งไปให้เพราะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าจิต ก็เลยตอบว่าจิตไม่มี แล้วคำถามนี้ก็ถามว่า แล้วดิฉันมาบอกว่าให้ย้อนดูจิตหรือว่าเอาจิตตามลมหายใจก็ในนิทาน  ก็ไม่ใช่นิทานล่ะเป็นเรื่องจริง ที่เขาเล่ามาเป็นของเซน​  บอกว่าจิตไม่มี​ แล้วทำไมจึงมาดูจิต ก็บอกแล้วว่าจิตไม่มีรูป ตามขันธ์ 5 แต่ว่ามันสามารถแสดงอาการได้ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เราก็เอาความรู้สึกเนี่ย ดูจิต เอาจิตดูจิต เอาจิตไหนไปดูอะไร เอาความรู้สึกซึ่งเป็นอาการของจิต ดูความรู้สึกที่มันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ได้แย้งกัน ส่วนที่พระองค์นั้นท่านตอบว่าจิตไม่มี เพราะท่านคงได้ปฏิบัติมาตามลำดับ​   จนกระทั่งถึงจุดสุดท้าย ท่านสามารถมองเห็นชัดว่า แท้จริงแล้ว​ ไม่มีอะไรซักอย่าง ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน เรื่องของอนัตตา ที่มันมีอยู่​ มันก็มีไปตามสมมุติ เช่นนั้นเอง นี่ถ้ายังไม่เข้าใจ​    ก็ไม่เป็นไรนะคะ ฟังไปก่อนแล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจไปเอง  

                อีกคำถามหนึ่งถามว่า ชอบเล่นดนตรีมาก การเล่นดนตรีจะขัดขวางการพัฒนาจิตมั๊ย   ก็ไม่ขัดขวาง​ ถ้ารู้จักเล่นดนตรีด้วยสติคือหมายความว่าขณะที่เราเล่นดนตรี​ เราก็มีความซาบซึ้งในความไพเราะของดนตรี ที่เราเล่นไปฟังไป แต่ในขณะเดียวกันก็มองให้เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของดนตรีทีเราเล่น แต่ถ้าเรามีหน้าที่เป็นนักดนตรี ก็อย่าลืมธรรมะข้อสำคัญคือต้องทำหน้าที่ที่กำลังกระทำอยู่ อย่างถูกต้อง​ อย่างเต็มฝีมือความสามารถ เราก็เล่นดนตรี ศึกษาฝึกฝน อบรมดนตรีอย่างดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้  ไม่ขัดกัน

    คำถาม  - การนั่งสมาธิจำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิหรือไม่

                ตอบ  - บางคนบอกว่า นั่งโดยเอานิ้วโป้งจรดกัน คือนั่งเอามือแล้วก็เอานิ้วหัวแม่มือจรดกัน ก็แล้วแต่นะคะ ก็เคยเห็นเอาตามสะดวก แต่ว่าอย่าให้สบายจนเกินไป ถ้ารู้สึกว่านั่งแล้วปวด​ ก็มีวิธีนั่งที่เห็นพวกฝรั่งเขาช่วยตัวของเขาเอง เขาก็ขอร้องให้เราช่วยหาม้ามา ม้านั่งเหมือนอย่างที่เราใช้นั่งซักผ้า​ ก็จะเป็นม้าที่เตี้ยกว่านี้ซักหน่อยนึง เตี้ยกว่าม้าโต๊ะที่เขียนหนังสือ แล้วเสร้จแล้วเขาก็นั่งลงบนม้านั่ง แล้วก็บางคนก็เอาหมอนหรือเอาเบาะวางลงไปอีกทีหนึ่งแล้วเขาก็พับขาของเขาเนี่ยเข้าไปข้างในม้า คือเหมือนกันเรานั่งทับขา เวลาที่ผู้ชายจะกราบพระนั่นแหละ แต่ว่าแทนที่เขาจะพับ​ เขาก็พับขาของเขาสอดเข้าไปข้างใน  แล้วก้นเขาก็นั่งอยู่บนม้าอย่างนี้ เขาก็นั่งได้สบาย เพราะว่าอย่างน้อยขามันก็ไม่ปวด นี่ก็เป็นวิธีทีเขาช่วยตัวเขาเอง แต่ถ้าท่านที่ไปปฏิบัติที่บ้าน ก็ลองใช้เบาะแข็งๆ อย่างนี้ก็ได้ แล้วก็นั่งรองแต่ที่ก้น​ ไม่ต้องรองทั้งตัว แต่ว่าที่ขา ที่หัวเข่าก็หาอะไรรองไว้ เรียกว่าให้ก้นสุงกว่าหัวเข่าหน่อย ในลักษณะนี้จะช่วยให้หัวเข่าไม่กดลงไปกับพื้น ที่เราปวดเนี่ยเพราะเรานั่งขัดสมาธิแล้วหัวเข่ามันกดลงไปที่พื้นใช่มั๊ยคะ มันเจ็บทั้งหัวเข่าทั้งตาตุ่ม มันกดลงไปที่พื้น แต่ถ้าเรานั่งยกก้นให้สูงขึ้นนิดนึงแล้วให้หัวเข่ามันลาด คือทั้งที่นั่งขัดสมาธิเนี่ยนะคะแต่มันลาดลงไปนิดนึง พอมันไปกดพื้นจะนั่งได้นาน ก็ขอให้ไปลองดูเองนะคะ

                นี่ถามเรื่องความหมายของคำว่า กำหนดสติ  ก็อธิบายแล้วนะคะ ไม่ขออธิบายซ้ำอีก

    คำถาม - จะมีเครื่องวัดหรือสิ่งใดบอกว่า เราปฏิบัติถึงจุดไหน ได้แค่ไหนแล้วเพราะบางครั้งผู้ปฏิบัติเองหลงคิดว่าทำอะไร ๆ ได้เยอะแล้ว

                ตอบ​ -​ ถ้าหากว่าลองทำตามลำดับนะคะ อย่างที่เราพยายามฝึกกันตามลำดับนี้ก็จะไม่หลงค่ะ  ลองทำตามลำดับแล้วจะรู้เองว่า เมื่อไรเราปฏิบัติได้ความสงบแล้ว จิตเป็นสมาธิอย่างธรรมดา เป็นสมาธิลึกซึ่งเราจะรู้เองค่ะ

    คำถาม – ระหว่างที่กำลังฝึกตามลมหายใจสั้น ยาว 2 ขั้นอยู่นี้ หากมีภารกิจบางอย่างที่ต้องทำ จะใช้การเฝ้าดูลมหายใจที่กระทบจมูก​ กำหนดจิตอยู่ตรงนั้นจะถือว่าเป็นการข้ามขั้นไหมคะ

                ตอบ -  ก็ไม่ข้ามเพราะว่าเรามีกิจที่ต้องทำอย่างอื่น ในขณะที่ต้องทำอย่างอื่นแทนที่จะตาม ก็เฝ้าดูเผ้ารู้ลมหายใจได้

    คำถาม – ที่ดิฉันเอยถึงคำว่า ฌาน หมายถึงอะไร

                ตอบ – ฌาน หมายถึงการเพ่ง  เพ่งจนกระทั้งจิตนี่รวมนิ่งสนิท ซึ่งก็ยังไม่ขอพูดนะคะ แต่เราสามารถจะทำจิตให้เข้าถึงภาวะของความเป็นสมาธิ นิ่งสนิทได้ ในการปฏิบัติขั้นที่ 4 แต่ก็คิดว่าเพียงแต่รู้ไว้เท่านั้น เราคงไม่มีเวลาจะปฏิบัติกัน

    คำถาม – ขณะหายใจเข้าออกจะนึกพุทโธ ไปด้วย ได้มั๊ย หรือว่าจะแตกแต่งกันอย่างไร

                ตอบ – ก็ไม่ขัดข้องนะคะ สำหรับท่านที่รู้สึกว่า ไม่สามารถจะบังคับจิตให้ตามลมหายใจหรือว่าจดจ่ออยู่กับลมหายใจได้อย่างเดียว มันหงุดหงิดทำยังไงก็อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะเป็นพุทเข้า โธออก​ เรียกว่าเอาคำบริกรรมเนี่ย กำกับมัดเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง มัดจิตที่ดิ้นรนเนี่ยเข้าไปอีกชั้นหนึ่งก็ได้เหมือนกัน ที่นี้มันต่างกันอย่างไร ตอนแรกๆ เมื่อดิฉันฝึกปฏิบัติ ดิฉันก็ใช้วิธีพุทเข้า โธออก เหมือนกัน แล้วก็มีความรู้สึกยึดมั่นอยู่ในพุทโธ มีความรู้สึกว่าพุทโธ เนี่ยศักดิ์สิทธิ์ พอมีอะไรเกิดขึ้น จะตกใจซักนิดก็พุทโธ ๆ ๆ พุทโธไปแล้วก็คิดว่าพุทโธศักดิ์สิทธิ์ แล้วความตกใจอะไรนั้นก็หายไป จนกระทั้งเมื่อปฏิบัตินานเข้าก็ได้เข้าใจเอาเองว่า ที่ความตกใจหรือว่าความใจสั่นอะไรมันหายไปเพราะว่าอะไร เพราะในขณะนั้นเราดึงจิตของเราที่กำลังจะหวั่นไหวนั่นนะมาอยู่กับพุทโธ นี่คือการทำจิตให้เกิดสติและสมาธิใช่มั๊ยคะ ในขณะที่ที่เพ่งอยู่กับพุทโธเนี่ย เพราะฉะนั้นตอนหลังก็เลยเข้าใจแล้ว​   พอเรามาอยู่กับลมหายใจมากเข้า มากเข้า พุทโธนี่ก็จะหายไปเองโดยอัตโนมัติ คือเมื่อมีความชำนาญมากเข้า พุทโธก็หยุด​ หายไปเอง แต่ผู้ใดจะใช้คำบริการรว่าพุทโธ ควรจะเข้าใจอย่างเป็นพุทธศาสตร์นะคะ ว่าพุทโธไม่ใช่เป็นคำศักดิ์สิทธิ์หรือคำขลัง แต่เมื่อใช้พุทโธนั้นก็จงนึกในลักษณะที่แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบพร้อมไปด้วยพระเมตตาคุณ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ ฉะนั้นในขณะที่เราบริกรรมพุทโธ ก็คือการที่จะพัฒนาจิต ให้จิตนี้มีความสงบ​ เกลี้ยงเกลาแล้วก็จะได้เกิดปัญญาขึ้น ถ้าเรานึกอย่างนี้เป็นพุทธศาสตร์ เราก็จะไม่ยึดมั่นในคำว่าพุทโธนั้น ฉะนั้นผู้ใดที่คิดว่ายังทำไม่ได้​ ยังใช้พุทโธกำกับก็ไม่ว่า แต่อย่าติดอยู่ตรงนั้น ถ้าไม่พุทโธแล้วทำไม่ได้

    คำถาม - สังขารขันธ์ คือการคิดปรุงแต่งเกิดจากอะไร อะไรเป็นสาเหตุ เพราะขณะปฏิบัติมันฟุ้งขึ้นมาเรื่อย ๆ รบกวนจิตมากมายเหลือเกิน ทำอย่างไรจึงจะหยุดสังขารขันธ์ตัวนี้ได้

                ตอบ - อันที่จริงนะคะ ขันธ์ 5 มันเป็นเพียงสักว่าขันธ์ 5 เป็นกองรูป กองความรู้สึก เวทนาขันธ์ กองความจำได้หมายมั่น สัญญาขันธ์ กองความนึกคิด สังขารขันธ์ กองความรู้จัก ตามรับรู้ วิญญาณขันธ์ มันกองอยู่เฉย ๆ ธรรมชาติสร้างให้มาเป็นชีวิตประกอบด้วยขันธ์ 5 อย่างนี้ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้ รูปขันธ์การที่เรามองเห็นข้างนอก มีตา มีหู มีจมูก มีปาก มีมือ มีแขน มีขา เพื่อให้เราใช้มันได้ตามต้องการใช้มั๊ยคะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service