PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
  • วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (5)
วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (5) รูปภาพ 1
  • Title
    วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (5)
  • เสียง
  • 6615 วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (5) /upasakas-ranjuan/5-3.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอาทิตย์, 03 มกราคม 2564
ชุด
URI 005
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ขอให้ผู้ปฏิบัติทุกท่าน เตรียมกายให้พร้อม เตรียมใจให้พร้อม ให้เกิดความสบาย ทั้งแก่กายและใจ ไม่ต้องกังวลกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ต้องกังวลว่า จะทำได้ หรือจะทำไม่ได้ ตั้งใจแต่เพียงกำหนดสติให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ กำหนดจิต พร้อมด้วยสติ อยู่ที่ตรงช่องจมูก พอเริ่มตั้งใจหายใจ พอลมหายใจเริ่มเคลื่อนไหว เข้าภายในช่องจมูก กำหนดสติ ตามด้วยความรู้สึกทันที ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องคิด ไม่ต้องคาดคะเนว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สัมผัสกับความเคลื่อนไหวของลมหายใจจริงๆ ที่กำลังผ่านเข้าภายใน หายใจธรรมดาช้าๆ ตามสบาย กำหนดความรู้สึก ตามลมหายใจที่กำลังผ่านเข้ามา ลมหายใจหยุดตรงไหน หยุดความรู้สึกตรงนั้น และก็ตามให้สนิทแนบแน่นกับลมหายใจ จนกว่าลมหายใจจะพ้นจากช่องจมูก แล้วก็กำหนดสติจดจ่อรออยู่ที่ตรงช่องจมูกนั้นจนลมหายใจเคลื่อนไหวเข้ามาใหม่ ก็กำหนดจิตตามไป ตามไปช้าๆ ด้วยสติ ไม่เร่งร้อนไม่หวัง ไม่ข่มขี่บังคับใจเกินไป ขณะนี้ผู้ปฏิบัติกำลังตามลมหายใจ ตามลมหายใจที่หายใจอยู่ตามปกติ ตามเข้า ตามออก ให้ตลอดสาย ตามไปช้าๆ ด้วยสติ สบายๆ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่อย่างเดียว คือตามลมหายใจให้ตลอดสาย ทั้งเข้าและออก ลมหายใจที่หายใจอยู่ตามปกติ หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะนี้ไม่ต้องคิดว่าเป็นยาวหรือสั้น เราตั้งใจหายใจธรรมดาอย่างที่เคยหายใจอยู่ทุกวัน แต่กำหนดจิตตามลมหายใจนั้นให้ตลอดสายทั้งเข้าและออก หากมีสิ่งใดมารบกวนภายใน ขับไล่มันออกไป ด้วยลมหายใจที่รู้แล้วว่าใช้ประโยชน์ได้ แล้วดึงจิตกลับมาตามลมหายใจปกติธรรมดาให้ตลอดสายต่อไป อย่ายอมให้ใจถูกดึงลากไปกับความคิดหรือความรู้สึก หรือความจำได้หมายมั่นในอดีต หรือความวิตกกังวลกับอนาคตที่ยังไม่มาถึง

    ขณะนี้เรากำลังอยู่กับปัจจุบันขณะ ปัจจุบันขณะ เป็นขณะที่มีความหมายที่สุดต่อชีวิต จงรักษาจิตให้อยู่กับปัจจุบันขณะ แล้วตามลมหายใจทั้งเข้าและออกให้ตลอดสาย ปัจจุบันขณะนี้คือการตามลมหายใจ ทั้งเข้าและออกให้ตลอดสาย ไม่กังวลกับอนาคต ไม่คร่ำครวญกับอดีต ไม่ยอมให้ความคิดความรู้สึกมาดึงไป  เราจะอยู่แต่กับลมหายใจอย่างเดียว ผู้ใดสามารถอยู่กับปัจจุบันขณะได้ทุกขณะ ผู้นั้นย่อมรอดพ้นจากปัญหาและความทุกข์ จะมีแต่ความนิ่งสงบเย็น พร้อมด้วยพลังภายใน ที่จะทำกิจการงาน ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมให้ลุล่วงไปได้ด้วยความเรียบร้อย จงฝึกหัดอยู่กับปัจจุบันขณะ ดึงใจกลับมาเสียจากความคิดที่ไม่จำเป็น ดึงใจกลับมาเสียจากความรู้สึกที่รบกวนจิตให้ไม่สงบ จงกำหนดจิตตามลมหายใจ ทั้งเข้าและออกให้ตลอดสาย สัมผัสลมหายใจนั้นด้วยความรู้สึกที่พร้อมอยู่ด้วยสติ จงตาม เรากำลังฝึกหัดตาม จงตามลมหายใจให้ตลอดสาย ลมหายใจปกติธรรมดา ตามรู้การเข้าออกของลมหายใจให้ชำนาญ รักษาจิตให้อยู่กับความเบิกบาน ให้อยู่กับความเยือกเย็น ที่ได้สัมผัสกับความสงบ ผู้ปฏิบัติใด มีความรู้สึกสงบเกิดขึ้นภายใน จงลิ้มรสความสงบนั้น ด้วยความรู้สึก เรากำลังอยู่กับปัจจุบันขณะ เป็นขณะที่มีค่าสูงสุดในชีวิต ลมหายใจเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ใจสามารถอยู่กับปัจจุบันขณะได้ จึงต้องเรียนรู้วิธีตามลมหายใจ ให้จิตคือความรู้สึกนั้นแนบสนิทอยู่กับลมหายใจ เพื่อให้สติมั่นคง ให้เกิดสมาธิความหนักแน่น เข้มแข็งขึ้นภายใน แล้วความสงบเยือกเย็นผ่องใสจะค่อยๆ เข้ามาสู่จิต การสร้างพลังให้เกิดขึ้นกับชีวิตนั้น ไม่มีวิธีใดที่จะดีไปกว่าการสร้างความสงบให้เกิดขึ้นภายใน

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service