แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ธรรมะสวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมทุกท่าน รายการ พุทธธรรม พุทธทาส ในวันนี้ เราก็จะสนทนากัน ในเรื่องของ พุทธธรรมและพุทธทาส อีกอย่างเคยนะค่ะ เมื่อคราวที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่อง ข้างในใช่ไหมคะ เรื่อง ตาข้างใน เราจะพัฒนาตาข้างในอย่างไร ที่นี้ได้เคยอยากจะลองถาม สักนิดหนึ่งว่า ความแตกต่างระหว่างข้างใน คือ การศึกษาข้างใน กับ การศึกษาข้างนอก ได้เคยสังเกตไหมว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไง
ผู้ฟัง: ในประเด็นไหนครับท่านอาจารย์
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ในประเด็นทั่วๆไป เมื่อเราพูดถึงเรื่องการศึกษาข้างในและการศึกษาข้างนอก เพราะว่าเราคุ้นกับการศึกษาข้างนอก แล้วก็การศึกษาข้างนอกคือยังไงและเมื่อเราพูดถึงการศึกษาข้างในการศึกษาข้างในคืออย่างไง
ผู้ฟัง: การศึกษาข้างในเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการฝึกอบรมทางด้านจิตใจใช่ไหมค่ะ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ
ผู้ฟัง: และข้างนอกเกี่ยวกับวัตถุต่างๆ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : การศึกษาข้างใน คือการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิต เพราะมันเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น มันก็ยาก ทีนี้การศึกษาข้างนอก พอพูดถึงการศึกษาข้างนอก เราทุกคนคุ้นเคย ตั้งแต่เกิดเลย เราได้รับการศึกษาข้างนอก เช่น จากอะไรบ้าง
ผู้ฟัง: ก็จากโรงเรียน
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ จากโรงเรียน เมื่อเราโตขึ้นหน่อยหนึ่ง
ผู้ฟัง: พ่อแม่
อุบาสิกา คุณรัญจวน : จากคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เราเกิดมาปู่ย่าตายายทั้งหลาย
ผู้ฟัง: จากเพื่อนฝูง
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ จากเพื่อนฝูง จากหนังสือ จาก
ผู้ฟัง: พวกสื่อต่าง ๆ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ พวกสื่อต่าง ๆ ที่เราได้รับเป็นการศึกษาข้างนอกทั้งนั้น และการศึกษาข้างนอกให้อะไรกับเราบ้าง เราได้รับอะไรบ้างจากการศึกษาข้างนอก
ผู้ฟัง: ก็ได้ความรู้ประสบการณ์
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ ก็ได้รับความรู้ในทางวิชาการต่าง ๆ ในทางวิชาชีพ และก็ได้รับประสบการณ์ของชีวิต และก็ได้รู้จักอะไร อะไรขึ้นมามาก การศึกษาข้างนอกก็ดี แล้วก็จำเป็นแก่ชีวิต แต่ถ้าหากว่า บุคคลใดก็ตามไม่เข้าใจวิธีการศึกษาข้างนอก อย่างถูกต้อง คือ ขาด เรียกว่า ขาดธรรมะเป็นพื้นฐานข้างในก็อาจจะยึดเอาการศึกษาที่ได้รับจากข้างนอก มาเป็นตัวเป็นตน มาเป็นของฉัน แล้วก็ก่อให้เกิดความร้อนขึ้นโดยไม่รู้ตัว พูดอย่างนี้ไม่ทราบว่าทำให้สงสัยหรือเปล่า
ผู้ฟัง: ค่ะ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : สงสัยไหมค่ะ ว่าทำไมการศึกษาข้างนอกถึงจะมาทำให้เกิดความร้อนขึ้น อันที่จริงมันก็โยงกันกับที่เราเคยพูดคราวก่อน
ผู้ฟัง: ก็
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ว่าไงคะ
ผู้ฟัง: ก็เวลาเราศึกษาข้างนอกใช่ไหมค่ะ เราก็เห็น เห็นอะไรต่าง ๆ ก็ทำให้เราเห็นเค้าดีกว่า เราก็เกิดความอยาก อยากที่จะดีแบบเค้า หรืออาจจะดีกว่าเค้า เลยทำให้เกิดความอยาก
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ เกิดความ มันกระตุ้นความอยากที่ไม่ได้ขัดเกลา ไม่ได้อบรมให้มากขึ้น มันทำให้เกิดการเปรียบเทียบ มันทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้จิตมันไม่ปกติ เพราะอะไรล่ะ เพราะเหตุว่ามันอยู่บนพื้นฐานของความอยาก อันที่จริงการที่เราจะต้องมีความรู้ในวิชาการแล้วก็มีความรู้ในวิชาชีพก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าคนเราจะต้องมีอาชีพ ทำการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเราก็ต้องการความรู้เหล่านั้น แต่ทำอย่างไรเราถึงจะรู้จักแสวงหาความรู้เหล่านั้นอย่างบริสุทธิ์และก็บริสุทธิ์ใจแล้วก็รู้จักใช้ความรู้วิชาชีพต่างๆนั้นนะ ให้เกิดประโยชน์อย่างบริสุทธิ์ใจอีกเหมือนกัน เพราะว่ามันบริสุทธิ์ใจแล้วละก็มันจะเป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นการศึกษาข้างนอกจะเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ถ้า.. ลองช่วยตอบสักนิดสิค่ะ
ผู้ฟัง: ถ้าศึกษาข้างในควบคู่ไปด้วย
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะดีมากเลย ถ้าเราจะศึกษาข้างในควบคู่ไปด้วยให้มันพร้อมกันชีวิตนี้จะสมดุล ยอมรับไหมว่าชีวิตนี้ยังไม่สมดุล ยอมรับไหม ไม่สมดุลยังไงค่ะ
ผู้ฟัง: มีความอยาก
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เพราะฉะนั้นชีวิต มันจึงเอียง มันเอียงไปในทางความอยาก มันเอียงไปในทางตัณหามาก มันจะเอาซะมาก เพราะฉะนั้นความร้อนมันก็มากกว่าความเย็น เนี่ยชีวิตมันจึงไม่สมดุล เพราะฉะนั้นชีวิตที่ไม่สมดุลเนี่ย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นชีวิตที่ยากจนข้นแค้น อดมื้อ กินมื้อ ไม่ใช่อย่างนั้น ชีวิตของเศรษฐี มหาเศรษฐีไม่น้อยเลยอาจจะพูดได้ว่าไม่สมดุลไม่ทราบว่าท่านผู้ชมจะเห็นด้วยหรือเปล่าค่ะ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะตอบอย่างนั้นนะ ก็อยากจะขอเชิญท่านผู้ชมให้ลองใคร่ครวญดูนะคะว่าชีวิตที่ไม่สมดุลเนี่ย มันเกิดขึ้นได้กับทุกผู้ทุกนามเลยไม่เลือกเลยว่าเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือจะอยู่ในตำแหน่งใดๆตราบใดที่ชีวิตนั้นไม่รู้จักจะศึกษาข้างใน ชีวิตนั้นจะไม่มีวันสมดุล เงิน ทองข้าวของ อำนาจบริวารอะไรที่มีอยู่ก็ล้วนแล้วแต่จะมากระตุ้นทำให้ชีวิตนั้นไปสู่ความสุดโต้ง ในเรื่องของตัณหาหรือความอยากมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ฉะนั้นอันนี้การศึกษาข้างนอกดีและจะมีประโยชน์มากถ้ารู้จักที่จะรู้จักศึกษาข้างในนั้นนะให้ควบคู่กันไปด้วยก็จะเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ที่นี้การศึกษาข้างในเนี่ย จะศึกษาอย่างไรก็เราก็พูดกันไว้บ้างแล้วเมื่อคราวที่แล้วว่า ก็เริ่มต้นด้วยการรู้จักดูข้างใน สังเกตไหมคะว่าใช้คำว่า ดู ไม่ได้ใช้คำว่า คิด อันนี้มีความสำคัญมากเลยนะคะ ถ้าเราจะศึกษาข้างในต้องฝึกดู ในขณะที่การศึกษาข้างนอกนะเราฝึกคิดใช่ไหมค่ะ เราถูกกระตุ้นให้คิดตลอดเวลา คิดในแบบฝึกหัด คิดในการเล่าเรียนศึกษาในห้องเรียน เมื่อเวลาเราเป็นนักเรียน แล้วก็พอเรามาทำงานเข้า เราก็ถูกกระตุ้นให้คิดอยู่เหมือนกัน คิดจะทำงานคิดจะวางแผนการอย่างโน้นอย่างนี้ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เราคิด ๆ ๆ ตลอดเวลาจนกระทั่ง การคิดเนี่ย มันกลายเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว เรียกว่าติดอยู่ในเลือดในเนื้อเลย นั่งก็คิด นอนก็คิด กินก็คิด อะไรอะไรก็คิด ก็เลยทำให้ ความยุ่ง ความวุ่น มันเกิดขึ้นในใจมากขึ้นมากขึ้น ไม่เป็นอันได้สงบได้ อันที่จริงไม่ถามบ้างหรือว่า ห้ามคิดหรือยังไง
ผู้ฟัง: กำลังสงสัยว่าอาจารย์ใช้คำว่า ดู
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะประเดี๋ยวก็จะอธิบายคำว่า คิด นี้แหละค่ะ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าทำไมเราถึงควรที่จะ รู้จักคิด และก็รู้จักหยุดคิดนะคะ
ผู้ฟัง:ทำไมจริงจริง ห้ามคิด
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็เพราะเหตุว่า เราคิดแล้วเนี่ย เราคิดไม่รู้จบใช่ไหมค่ะ เพราะเหตุว่า เราถูกกระตุ้นให้คิดเรื่อย ตั้งแต่เรายังเล็ก ๆ เพราะฉะนั้น เราก็คิดมาเรื่อยเลย แล้วมันก็ไม่รู้จบ คือเราไม่รู้จักจบไง อันที่จริงการคิดเนี่ยดี แล้วก็มีประโยชน์ถ้าเราจะรู้จักเลิกคิด เมื่อมันเกินความจำเป็น อย่างเช่น เป็นต้นว่าเราเรียนหนังสือ พอเราทำแบบฝึกหัดจบแล้ว แล้วก็เรารู้ในวิชาเหล่านั้นดีเรียบร้อยแล้ว เราก็หยุดคิดได้ไม่ต้องไปคิดต่อว่า คนนั้นทำไมเขาถึงเรียนเก่งกว่าเรา คนนี้ทำไมครูรักมากกว่าเรา ครูนี่ลำเอียงไม่ให้คะแนนเท่ากัน นี่ก็คิดเหมือนกันใช่ไหมคะ แต่เป็นการคิดที่ไม่เกิดประโยชน์มันเป็นการคิดที่ทำร้ายจิตใจตัวเอง
ผู้ฟัง: ถ้าคิดจะให้เรียนดีกว่าละครับ ดีไหมครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ถ้าคิดจะให้เรียนดีกว่านี้ โดยการที่จะฝึกบังคับตัวเองให้มีหมั่นขยันพากเพียรยิ่งขึ้นอันนั้นดี อันนั้นเป็นความคิดที่เรียกว่าถูกต้องนะคะ แต่ถ้าพอคิดไปคิดไปชวนให้เกิดเขม่นคนโน้น ขัดเคืองคนนี้ อิจฉาริษยาเขาอย่างโน้นอย่างนี้ นี่เป็นการคิดที่ไม่ถูกต้องเป็นการคิดที่เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะมันทำให้จิตเนี่ย เกิดความทุกข์ขึ้นมาแล้วใช่ไหมคะ ที่นี้ทำไมถึงบอกว่าเราจะต้องรู้จักหยุดคิดก็คือว่าเมื่อเราได้คิดอย่างเต็มที่ สมมุติว่าเราทำงาน เราก็จะต้องกำหนดแผนงาน เราถูกสั่งมาแล้วว่าวางแผนงานมาซิ ให้ทำโครงการนี้ใช้เวลา 3 ปีเราก็จะมีโครงการที่เรากำหนดเอาไว้ว่าทำแผนงานเนี่ยะ 3 ปี Step ที่ 1 เราจะทำอะไร Step ที่ 2 ทำอะไร Step ที่ 3 ทำอะไร เราวางของเราไว้หมดทุกอย่างแล้วก็คิดด้วยความรู้ด้วยประสบการณ์ด้วยความรอบคอบอย่างเต็มสติกำลัง เราคิดอย่างถูกต้องเสร็จหมดแล้วทำอะไรได้ดีกว่านั้นอีกมั้ย ไม่นี้ มันเต็มที่หมดแล้วใช่ไหมคะ แล้วทำไมจะต้องแบกเอาโครงการนั้นแผนงานนั้นติดตัวไปทุกหนทุกแห่ง นี้แผนงานของฉันว่าอย่างนี้นะ โครงการว่าอย่างนี้นะ ฟังหน่อย ฟังหน่อยแล้วก็เห็นอย่างไรของฉันดีกว่านะ แล้วก็เอามากังวลตลอดเวลา ตายจริงไอ้แผนงานนี้ มันจะสำเร็จไหม มันจะเป็นไปได้ไหม ได้เมื่อมันยังไม่ถึงเวลาใช่ไหมค่ะ เราก็วางโครงการเสร็จเรียบร้อยอย่างถี่ถ้วนดีแล้ว เรื่องอะไรต้องแบกเอาไปให้หนักด้วยทุกหน ทุกแห่ง แล้วก็เอามากังวลยังไม่ถึงเวลาทำงานตายก่อนตายก่อนแผนงานได้ทำใช่ไหมคะ นี่คือการคิดเกิดความจำเป็นมันไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าให้รู้จักเลิกคิด ก็คือว่าเมื่อการคิด การทำงานหรือทางการเล่าเรียนศึกษามันจบแล้ว เราก็รู้จักหยุดคิดบ้างเพื่อให้สมองมันพักผ่อนให้จิตมันพักผ่อน ที่นี้ในเรื่องของการดูข้างใน การศึกษาข้างในจะใช้ได้ในการดูอย่างเดียว แทนที่จะคิดคิดให้ได้ ถ้าคิดก็จะคิดตามความรู้ใช่ไหม เราได้เคยอ่านหนังสือธรรมะมาบ้าง ได้ฟังเรื่องธรรมะมาบ้าง อนิจจังมันว่าอย่างงั้นอย่างงั้น ทุกขัง มันว่าอย่างงั้น อย่างงั้น อนัตตา มันว่า อย่างงั้น ก็พอจะตอบได้ เราก็คิดอ้อ มันต้องเป็นอย่างงี้ อย่างงี้ นี่เรียกว่าคิดในเรื่องของธรรมมะ เราก็คิดไม่รู้จบ คิดไปซิไม่รู้จบเลย แต่จะไม่มีวันเห็นเพราะฉะนั้น ในเรื่องของข้างในเราต้องดู ต้องดูแล้วก็ให้เห็น จะเห็นได้มันก็ต้องเริ่มด้วยการดูและก่อนที่จะเริ่มโดยการดู สิ่งที่ควรจะต้องเริ่มก็คือว่าเริ่มหยุดคิดซะก่อน เริ่มหยุดคิด ฉะนั้นบางคนเขาก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นก็สอนให้เป็นคนโง่ละซิ พอบอกให้หยุดคิดแล้วก็โง่ละสิ เพราะคนฉลาดก็ต้องคิดกันทั้งนั้น แต่เคยเห็นไหมคนบ้า ล้วนแต่เป็นคนฉลาดทั้งนั้นเลย เพราะอะไรละ เพราะก็ใช้สติปัญญาในการคิดแต่คิดว่าไม่ถูกทาง คิดแล้วเราไม่รู้จักหยุดคิด คิดแล้วเตลิดไปเลยดึงไม่กลับ เห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นการคิดเนี่ย ถ้าเรารู้จักคิดแล้วก็คิดตามความจำเป็นจะมีประโยชน์มาก แต่ถ้าเกินความจำเป็นเกินต้องการมันพาเตลิดมันให้ทำให้เรียกว่าเป็นโรคประสาทเกิดขึ้นเกิดจิตวิปลาส เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรู้จักดูซะบ้าง เปลี่ยนจากการคิดมาหยุดคิดแล้วก็รู้จักดูข้างใน เพื่อให้ชีวิตมันสมดุลให้จิตใจมันสำเร็จ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะศึกษาข้างในต้องเริ่มต้นด้วยการหยุดคิดแล้วก็ดูแล้วจะเห็นถ้าไม่ดูจะไม่มีวันเห็น
ผู้ฟัง: เอาอะไรดูครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ดี คำถามนี้ ที่ถามว่าเอาอะไรดูเนี่ยดี ก็เอาจิตดูจิต
ผู้ฟัง: จิตดูจิต
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เอาจิตดูจิต เอาความรู้สึกนั่นแหละ ดูเข้าไปดูลงไปที่ความรู้สึก
ผู้ฟัง: ความรู้สึกดูความรู้สึก ยุ่งกันใหญ่เลย
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เพราะฉะนั้นจึงบอกว่าดูโดยไม่คิดไงค่ะ ถ้าดูแล้วคิดมันยุ่ง มันอยู่ที่ไหนจิตเนี่ย อยู่ที่ไหน มองไม่เห็น เพราะจิตมันเป็นนามธรรม เราหยิบมาให้ดูไม่ได้ เหมือนอย่างรูปร่าง รูปร่างกายหยิบมาให้ดูได้แต่จิตจะบอกว่า หยิบมาให้ดูหน่อย หยิบไม่ได้ มีเรื่องของเซน จะว่าเป็นนิทานก็ไม่ใช่ เพราะเค้าบอกว่า จริง พระสังฆราชองค์ที่ 2 ก่อนที่จะได้เป็นพระสังฆราชก็สนใจในเรื่องการศึกษาธรรมะมาก แล้วพระโพธิธรรมเป็นสังฆราชของเซนองค์แรก เมื่อไปพยายามที่จะเผยแพร่ศาสนาเซน ก็รู้สึกไม่มีเคยรับได้ พูดแล้วไม่มีใครเข้าใจ ท่านก็รู้สึกท้อใจ ก็เลยไปปฏิบัติภาวนาอยู่องค์เดียวหันหน้าเข้าฝาแต่ฝานี้เป็นหิน เป็นในถ้ำก็นั่งเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปีแล้วก็พระสังฆราชองค์ที่ 2 ตอนนั้นก็เป็นพระธรรมดาก็หวังจะได้รับความรู้ในเรื่องของในเรื่องของการอบรมทางจิตบ้างก็ไปติดตาม ติดตามเหลือเกินติดตามทั้งหลายท่านก็ไม่พูดด้วยท่านรำคาญ ท่านไม่ยอมพูดด้วยก็พยายามเฝ้าขอว่าให้ช่วยสอนหน่อยเถอะ ไม่สอน นี่ก็พากเพียรติดตามเฝ้าอยู่นั่นเป็นปีๆ หนที่สุดก็นึกว่าทำยังไงน้า ถึงจะให้ท่านหันมาพูดกับเราหน่อยก็เลยตัดแขน ตัดแขนแล้วก็ชูขึ้นบอกให้พูดให้หน่อย นี่ก็ชักจะเห็นใจ พระโพธิธรรมท่านก็ชักจะเห็นใจว่าเนี่ยเสียสละจึงได้อุตส่าห์ตัดอวัยวะของตัวนี้ออกมาคงต้องมีความสนใจจริงก็ถามว่าจะให้ทำอะไรล่ะก็บอกว่าให้ช่วยฝึกอบรมจิตหน่อย ท่านก็บอกว่าเอาจิตมาให้ดูหน่อยสิ ก็บอกว่าไม่มี บอกไม่มีจิต พระโพธิธรรมท่านก็บอกว่า อ้าวก็เสร็จแล้วซิ ก็เรียบร้อยแล้ว เมื่อไม่มีจิตก็เรียบร้อยแล้ว เข้าใจไหมเนี่ย
ผู้ฟัง: ไม่มีจิตก็ว่าง
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ในเมื่อไม่มีจิต มันก็หมายความว่า ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นใดใด เหลืออยู่แล้ว จนกระทั่งจิตนั้นก็ไม่มี ก็ไม่ได้หมายความว่า มันหาย แล้วมันหาไม่พบ แต่มันเป็นสักแต่ว่าเท่านั้นเอง มันก็แต่การกระทำอย่างเดียว นี่เป็นเรื่องของเซน เพราะฉะนั้น พระองค์นั้นท่านก็บรรลุเลย บรรลุตรงจุดนั้นว่า มันไม่มีมันก็หมดไม่ยึด จิตมันดูไม่ได้ จิตมันก็มีมันก็ไม่มีมันก็หมด ท่านก็บรรลุธรรม เพราะฉะนั้นอันนี้เรื่องของจิตเค้าจะบอกว่าให้หยิบมาให้ดูอยู่ที่ตรงไหน มันหยิบไม่ได้ แต่เรารู้สึก เรามีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละรู้สึกตรงไหนจิตอยู่ตรงนั้น และไอ้ความรู้สึกหรือที่เขาเรียกว่าเวทนา นี่ใช่ไหมที่ทำให้จิตของคนเนี่ยเป็นทุกข์หรือเป็นสุขคือ บางทีก็ทุกข์ บางทีก็สุข บางทีก็เย็น บางทีก็ร้อน เพราะความรู้สึกนี้ใช่ไหม
ผู้ฟัง: ตัวจิตนี่หรือครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ
ผู้ฟัง: ตัวจิตนี่ใช่ไหมครับที่ว่าทำให้ทุกข์ หรือ สุข อยู่ที่จิต
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ เวทนาถูกแล้วค่ะ ที่ได้รับการฝึกอบรบแล้วกับจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกอบรมแล้วถ้ายังไม่ได้ฝึกอบรมมันก็จะทำให้จิตนั้นนะเป็นทุกข์มากกว่าสุข ถ้าได้ฝึกอบรมแล้ว พัฒนาแล้ว ก็รู้จักที่จะหาความเย็นเข้ามาใส่จิต ที่นี้ก็บอกว่า เรารู้สึกได้ เรามีเวทนา เราไม่รู้ว่าไอ้จิตมันอยู่ตรงไหน แต่ก็อยากจะแนะว่า รู้สึกตรงไหน จิตอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นถ้าจะดู ดูอะไรล่ะที่ถามเมื่อกี้ แล้วจะดูอะไรดูตรงไหนก็ดูลงไปที่ความรู้สึกเอาสติปัญญาที่เรามีอยู่เนี่ยจ้องลงไปที่ความรู้สึกความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นข้างในมันรู้สึกร้อนขณะนี้ มันรู้สึกเย็น มันรู้สึกวุ่นวายมารู้สึกระส่ำ ระสาย มันรู้สึกข่มขืนเจ็บปวด ดูลงไป ดูลงไป นี่แหละคือวิธีดูจิต แล้วคนเราดูไม่ค่อยได้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง: บางคนบอกว่าอยู่ที่กลางอก บางคนอยู่ที่ช่องท้อง
อุบาสิกา คุณรัญจวน : อันนั้น อันนั้นหมายถึงการตาม คงจะหมายถึงวิธีการที่เราจะตามลมหายใจที่มันผ่านละมั้ง
ผู้ฟัง: ไม่ใช่จิตใช่ไหมครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : บอกไม่ได้ว่าจิตอยู่ที่ตรงไหน เพราะว่ามันเป็นนามธรรมแต่มันเป็นสิ่งที่มีอำนาจมาก มันจะให้ชีวิตนั้นเป็นไปในทางร้อนหรือทางเย็นก็อยู่ที่จิตนั้นได้รับการฝึกฝนอบรมหรือไม่ ทีนี้ถ้าจะให้อธิบายมากกว่านี้นะคะ ก็อาจจะพูดไปได้หรอกแต่ว่าเดี๋ยวก็จะยุ่งมากเพราะฉะนั้น จงเริ่มโดยการลองทำดู ถ้าเราลองทำดูแล้วเราจะค่อยๆ เห็นเอง ถ้าเรื่องของจิตนี่มันต้องดู ดูแล้วจะเห็นการที่จะดูจิตเนี่ย ต้องกวาดอะไรที่มันเป็นอุปสรรค ที่มันจะเป็นตัวที่จะมากระตุ้นให้เกิดความวุ่นเกิดความระส่ำระสายออกไปให้หมด ไอ้ตัวหนึ่งนั่นก็คือการคิด คิดที่ไม่รู้จักหยุด คิดวุ่น คิดวาย คิดเตลิดไปต่าง ๆ นานา ต้องหยุดคิด แล้วก็ดู ลองดูเดี๋ยวนี้ซิ จะเห็นอะไรมั่ง แล้วอย่างน้อยจะรู้อะไรบ้าง ในความรู้สึก เราหยุดอะไรหมด เราดูลงไป ดูลงไปที่ความรู้สึกของเราอย่างเดียว ดูลงไปที่ข้างใน รู้สึกยังไงในจิตในขณะนี้ ในขณะที่เราเพ่งดูมันอยู่เดี๋ยวนี้ บางคนก็จะตอบว่า ตอนนี้ไม่มีความรู้สึกอะไร ตอนนี้ไม่รู้สึกอะไร ไม่รู้สึกร้อน ไม่รู้สึกหนาว ไม่รู้สึกโกรธ ไม่รู้สึกดีใจ ไม่ดีใจ สังเกตไหม ทำไมถึงเป็นอย่างงั้น ทำไม
ผู้ฟัง: เพราะว่าการที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ เราไม่วอกแวก สมาธิอยู่ตรงนี้
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เราไม่วอกแวก เรากำลังเพ่งสติดูลงไป เนี่ยพอเราเพ่งสติดูลงไปก็คือเรามีความรู้ตัว เรารู้ตัวนี่ก็เหมือนอย่างเด็กซน ใช่ไหม เด็กซน พอครูกำลังจ้องจับจ้องตาดูไอ้เด็กคนนั้นก็รู้จักระมัดระวังตัวในระเบียบวินัย กลัวถูกทำโทษ กลัวถูกตีนี่ก็เหมือนกันพอเราเพ่งลงไปเท่านั้นนะ ให้ความรู้สึกที่มีอยู่เนี่ย มันเงียบ มันเฉย มันสงบ มันไม่ค่อยมี แล้วก็ลองดูอีกขณะใดที่เรากำลังรู้สึกมันวูบวาบอยู่ข้างใน จะวูบวาบทำนองไหนก็ตาม มองดูลงไปเราจะเห็นอาการของมันอยู่ในนั้น ถึงแม้ว่ามันจะค่อยๆ ลดลงแต่มันยังมีอาการที่แสดงให้เราเห็น สั่นหวั่นไหว กระทบกระเทือน นี่เราจะรู้ได้ด้วยการดูเท่านั้น ถ้าไม่ดูเราจะไม่รู้ แล้วคนส่วนมาก ก็มักจะบอกว่า จิตฉันนี้ดีเสมอ เข้าข้างตัวเอง ดีเสมอ ดีตลอดเวลา แล้วทำไม่ดูก็เที่ยวอวดอยู่นั่นแหละ ว่าดี ทั้ง ๆ ที่ ดำ ดำ แต่ก็บอกว่าดี ๆ ๆ นี่เพราะไม่ดู เพราะความหลงใช่ไหม เพราะฉะนั้น อันนี้จึงจำเป็นการจะศึกษาข้างในเนี่ย ไม่มีอะไรอื่นนอกจากหยุดคิดแล้วก็เพ่งดูลงไปที่ความรู้สึกในขณะนั้นแล้วจะค่อยๆ มองเห็นสภาวะธรรมชาติของจิตของตนเมากยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ตามลำดับ แล้วก็ที่เคยพูดว่าฉันเนี่ยไม่โลภ ไม่โลภ ไม่อยากได้อะไรเลยสักอย่างเดียว จะมองเห็นไอ้ตัวโลภะเนี่ย โต โต ข้างในใจนั้นนะ หรือในจิตนั้นนะ ฉันเนี่ยนะไม่เคยโกรธ ไม่เคยอาฆาตพยาบาทใคร มีแต่ให้อภัยเค้า ดูไปเหอะก็จะเห็นอีกเหมือนกัน โอ๊ยแหมนี้ยอมไม่ได้ ยอมไม่ได้ เอาให้ตายกันไปสักข้างหนึ่งนั่นแหละโทสะแล้ว บางทีก็จะมองลงไปอีกก็จะเห็น ตายจริงเมื่อไหร่ฉันจะกำจัดความคิดอันนี้ ไอ้ที่ฉันครุ่นคิดอยู่นี้ให้ออกไปหัวให้ได้สักที นั่งก็คิด นอนก็คิด ไม่รู้จะทำอย่างไง เป็นวันเป็นคืน นั่นแหละโมหะ เห็นไหม บางทีครบเลยทั้ง 3 ตัว โลภะ โทสะ โมหะ อยู่พร้อมถ้าเราไม่มองดูจิตเราจะไม่รู้เลย เนี่ยเราจะรู้ต่อเมื่อเรามองดู และพอทีนี้พอเราดูลงไปเรารู้เราก็เป็นคนไม่โง่ เราก็ฉลาดตอนนี้แหละใช้สติปัญญา เราจะแก้ไขยังไง ถ้าเรารู้แล้วว่าไอ้สภาวะของจิตคือมันร้อน วูบวาบ วูบวาบ เพราะกิเลสตัวนั้น ตัวนี้ บางทีก็พร้อมกันเลย 3 ตัว นะ เข้ามารุมล้อม พร้อมกันเลยไม่รู้ไอ้ตัวไหนหนักไอ้ตัวไหนเบาไอ้ตัวไหนมาก่อนมาหลังแต่มันอยู่พร้อมกันเลย เราจะแก้ยังไงเนี่ย เราจะได้ใช้สติปัญญา และก็ถ้าเราดูเราจึงจะรู้สาเหตุถ้าเราไม่ดูเราก็ไม่มีโอกาสรู้จักเลย ไม่รู้จักตัวจริงของมัน นี่แหละเรียกว่าเห็น เห็นคือเห็นจากข้างใน ไม่ใช่เห็นด้วยไอ้ตาเนื้อสองข้างนี่ เพราะตาเนื้อสองข้างเห็นอะไรก็เห็นตามสมมุติอย่างที่พูดกันใช่ไหมคะ ถ้าเราฝึกดูเมื่อไหร่เราจะค่อยรู้แล้วก็จะรู้จุดอ่อน จุดบกพร่องแล้วก็จะแก้ไขได้ให้จิตของเราที่มันควรจะดีให้จิตของเราที่มันควรจะดีให้มากกว่านี้หรือควรจะดีถึงที่สุดก็มีโอกาส แล้วถ้าเราไม่ดู เราก็จะไม่มีโอกาสที่จะพัฒนามันเลยมันก็จะรก รุงรัง แทนที่มันจะงอกงามแล้วก็เจริญ ใช่ไหมค่ะ เพราะฉะนั้นนี่แหละคือการดูข้างในมันต่างกับการดูข้างนอกอย่างนี้แต่ไม่ได้หมายความว่าการดูข้างนอกหรือการศึกษาข้างนอกไม่มีความจำเป็นมีความจำเป็นแต่ควรจะใช้ให้มันสมดุลกัน แล้วก็ให้มีการดูข้างในเนี่ยให้เป็นหลักหรือเป็นรากฐานแล้วชีวิตนั้นจะมีความสมดุล ซึ่งความสมดุลของชีวิตนี้เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการก็ขอให้ทุกคนพยายามทำให้ได้นะคะธรรมะ สวัสดีค่ะ