แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ธรรมสวัสดีค่ะ
วันนี้เราก็จะคุยกันถึงเรื่องธรรมต่อไปนะคะ อยากจะให้หัวข้อที่เราจะสนทนากันในวันนี้ว่า เรื่องของชีวิต รู้สึกสนใจบ้างไหมเรื่องของชีวิต เพราะว่าเรามีชีวิตนะคะ เเล้วเราก็มักจะพูดกันเรื่อยว่า ชีวิตนี้มันเป็นอย่างไร อะไรอย่างไร เพราะฉะนั้นก็ขอโอกาสที่จะพูดถึงเรื่องของชีวิต
ทีนี้เมื่อพูดถึงเรื่องของชีวิต ก็จะเริ่มด้วยคำถาม เเรกว่า ชีวิตคืออะไร ตอบได้ไหมคะ
ผู้ร่วมสนทนา: ชีวิตคือความทุกข์ครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เเสดงว่าชีวิตคงโชกโชนด้วยความทุกข์มามาก ที่จริงหาใช่ตรงไม่นะ ถ้าชีวิตคือความทุกข์ก็เพราะเหตุว่า ไม่รู้จักที่จะใช้ชีวิตนี้ให้ถูกต้อง มันจึงไม่สามารถจะล่วงพ้นจากความทุกข์ได้ ถ้าเราสามารถใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง เราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปอยู่จมกับความทุกข์
ทีนี้ถ้าถามว่า ชีวิตคืออะไร ก็คงจะจำได้ว่า เราเคยพูดกันไว้ว่า ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนา เเล้วก็พัฒนาได้ คือเราจะพูดอะไรก็พูดกันได้ตั้งหลายอย่างว่าชีวิตคืออะไร
เเต่ว่าตอนนี้อยากจะพูดว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาเเละก็พัฒนาได้ ที่เราพูดอย่างนี้ก็เพราะว่า หนึ่งมันเป็นความจริง ถ้าจะสังเกตดูก็ตั้งเเต่เราเกิดมาเป็นทารก เป็นเด็กเล็ก เป็นเด็กโต เเละก็เป็นหนุ่มสาว เเล้วก็เข้าวัยผู้ใหญ่ เราพัฒนามาเรื่อยๆ ตามลำดับ เเต่ว่าจากการพัฒนานั้นเราจะพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง หรือพัฒนาสู่ความรุงรัง รก เลอะ ใช้ไม่ได้ก็เป็นอีกเรื่องนึง เพราะคำว่าพัฒนาทางนี้ที่ถูกเเล้ว มันก็หมายความว่าควรจะต้องเจริญรุ่งเรือง เเต่ทีนี้พัฒนาที่เรากระทำกันอยู่ในสังคมทุกวันนี้ เราก็บอกว่าเวลานี้สังคมกำลังพัฒนา ชาติประเทศกำลังพัฒนา เเต่เสร็จเเล้วความพัฒนานี้หาได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่เราคิดว่าจะเป็นความเจริญไม่ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงต้องขอย้ำว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนานี้จะต้องพัฒนาไปสู่ความถูกต้อง คือเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างเเท้จริง เเละก็อย่างเเท้จริงนั้นก็ทุกชีวิตจะต้องมีความเยือกเย็น ผ่องใส เเละก็เป็นสุขร่วมกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นความจริง ถ้าหากว่าใครลืมนึกว่าชีวิตนี้คือสิ่งที่ต้องพัฒนา ประเดี๋ยวก็จะใช้ชีวิตอย่างชนิดที่ว่าไม่ใส่ใจ เลอะเทอะ ปล่อยไปตามเรื่อง ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะ
เเล้วก็นอกจากนี้ การที่เราพูดว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนานี้ ก็ยังเป็นสิ่งที่จะช่วยให้กำลังใจเเก่ทุกคนนะคะ อย่างเราที่นั่งอยู่ที่นี่ถ้าใครรู้สึกว่าชีวิตของฉันล้มเหลวชีวิตของฉันไม่ได้เรื่องมีเเต่ความท้อเเท้ทำอะไรไม่เกิดประโยชน์ ก็จงรู้เถอะว่า เเม้จะล้มเหลวเเม้จะเข้าสู่ความอับจนมากน้อยเพียงใดก็ตาม ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ชีวิตนี้มีโอกาส มีโอกาสที่จะเเก้ไข มีโอกาสที่จะปรับปรุง มีโอกาสที่จะทำให้มันถูกต้องอยู่เสมอ
เพราะฉะนั้นก็ขอพูดกับท่านผู้ชมด้วยว่า จงอย่าเสียกำลังใจตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ โอกาสของชีวิตยังมีอยู่เสมอ ขอจงรักษาใจให้มีกำลังใจที่มั่นคงเอาไว้เถอะ เราจะสามารถก้าวไปสู่ความที่ถูกต้องได้
ฉะนั้นชีวิตคืออะไรตรงนี้ก็ขอใช้ว่า ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนาเเละก็พัฒนาได้ขอให้มั่นใจเถอะ ถ้าเรามั่นใจว่าชีวิตต้องพัฒนาได้ ชีวิตนี้ต้องมีความหวัง เเละก็เป็นความหวังที่จะไม่เป็นยาพิษให้เราต้องเป็นทุกข์ต่อไปด้วย
ผู้ร่วมสนทนา: จะเเตกต่างจากการพัฒนาวัตถุอย่างไรครับ??? ชีวิตไรต้องพัฒนาได้เนื่องจากว่า
อุบาสิกา คุณรัญจวน: คือถ้าพูดถึงการพัฒนาวัตถุนี่นะคะ วัตถุก็จะเป็นสิ่งที่จะถูกพัฒนาโดยมนุษย์ใช่ไหมคะ ถ้าวัตถุเป็นสิ่งซึ่งไม่มีชีวิต มันจัดตัวของมันเองไม่ได้ มนุษย์จะเป็นผู้พัฒนาวัตถุ ทีนี้วัตถุนั้นจะถูกพัฒนาไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่เป็นผู้พัฒนา ว่าเขาเป็นผู้ที่มีจิตที่พัฒนาเเล้วจริงๆ หรือยังเหมือนอย่างเราจะเห็นได้ว่า วัตถุที่เป็นเทคโนโลยีต่างๆ ในสมัยนี้ ถ้าจะถามว่ามีประโยชน์ไหมมีประโยชน์อย่างยิ่งเลยที่เป็นเทคโนโลยีความก้าวหน้าเหล่านี้ๆ ก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง เเต่เราก็รู้ว่ามีคนไม่น้อยเหมือนกันที่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในทางที่ไม่ถูกต้องด้วยความเห็นเเก่ตัว เเล้วเสร็จเเล้วก็ทำให้เกิดโทษเบียดเบียนเเก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้นก็จะถามว่าเหมือนกันไหมกับการพัฒนาวัตถุ ก็ต้องตอบว่ามันขึ้นอยู่กับบุคคลกับมนุษย์ที่จะไปพัฒนาวัตถุนั้นว่าเขาเป็นบุคคลที่ได้พัฒนาเเล้วจริงๆ หรือยัง ถ้าเขาพัฒนาเเล้วจริงๆ เขาก็จะรู้จักวิธีใช้วัตถุที่มีนั้นให้เกิดประโยชน์ๆ ไม่เฉพาะเเก่ตัวเองเกิดประโยชน์เเก่ผู้อื่นด้วยนะคะ
ผู้ร่วมสนทนา: ก่อนที่จะลงไปในรายละเอียดนะครับ อาจารย์พอจะบอกได้ไหมครับ คือที่ว่า ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนาเเล้วพัฒนาต่อไปได้ คือตัวอะไรที่บอกว่าขณะนี้ชีวิตพัฒนาในความหมายของคำว่าพัฒนาจริงๆ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ค่ะ คือก็ดีที่ถามคำถามนี้นะคะ จะได้ทำให้ชัดเจน ถ้าหากว่าคำว่าชีวิตเราจะพูดถึงสิ่งใดที่มีชีวิตเหมือนอย่าง ต้นหญ้า ต้นไม้ที่ล้อมรอบตัวเราในขณะนี้ เราพูดว่ามีชีวิตไหม นี้มีไหม ทำไมเราถึงว่ามี เพราอะไร มันมีความสดชื่นใช่ไหมคะ เราเห็นความสดชื่น เราเห็นความงอกงาม เราเห็นความเบิกบาน เเละเราก็รู้ว่านี่มันยังไม่ตาย เเต่มันมีเเต่เจริญงอกงามยิ่งขึ้น เพราะอะไร ก็เพราะเหตุว่า มันได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง มีเหตุปัจจัยการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง เช่น ได้รับปุ๋ย ได้รับน้ำ ได้รับเเสงแดดอะไรเหล่านี้เป็นต้น ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นมันก็มีโอกาสที่จะพัฒนา
ฉะนั้นถ้าจะถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตนี้พัฒนาก็ดูความรู้สึกที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นความรู้สึกที่มีความสดชื่นเบิกบาน เต็มไปด้วยความมั่นใจกำลังใจที่จะเดินต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ นั้นเเหละชีวิตนี้กำลังพัฒนาเเละกำลังพัฒนาไปในหนทางที่ถูกด้วย เเต่ถ้าหากว่าคิดว่ากำลังพัฒนาเเต่พอพัฒนาไปมันยิ่งเหี่ยวลงๆ นะ เหี่ยวเเห้งๆ แล้วก็มันมีเเต่ปัญหาก็จงรู้ไว้เถิดว่า นั้นพัฒนาผิดทางเสียเเล้ว ต้องย้อนกลับมาตั้งต้นใหม่ให้ถูกต้อง
ผู้ร่วมสนทนา: ด้วยความกังวลนี่เราอยากให้มันดีขึ้นไง มันก็ยังมีภาวะของการพัฒนาอยู่จิตของเรา ถึงเราพึงพอใจที่จะทำงาน เเต่มันก็กังวล ว่ามันจะไม่เรียบร้อย ไม่เสร็จไม่ดีอย่างงี้ๆ ถือว่ามันการพัฒนาไหมครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ในระยะเริ่มเเรก เราอาจจะเป็นความกังวล ซึ่งเป็นธรรมดาของทุกคนใช่ไหมคะ เพราเมื่อเริ่มทำอะไรที่เรายังไม่เเน่ใจว่ามันถูกหรือเปล่าก็มีความกังวล เเต่อย่าให้ความกังวลนั้นรบกวนอยู่ตลอดเวลา พอเรามีความกังวลเราก็ต้องดูสาเหตุเชียวว่า ความกังวลนั้นมันเกิดจากอะไร เกิดจากความไม่รู้ เกิดจากความรู้ไม่พอ ความชำนาญไม่พอ เกิดจากความไม่เเน่ใจ เราก็เเสวงหาความรู้ หาความชำนาญ ปรึกษาผู้ที่เราเเน่ใจว่าจะให้ความเเนะนำที่ถูกต้องได้ เพื่อที่จะไม่ต้องกังวลอยู่ให้ต้องจิตให้เป็นทุกข์ ถ้าอย่างนี้พอเราเเก้เสีย ความกังวลไม่มีเเล้ว เราก็จะมีกำลังใจในการทำงาน คือพลังในการทำงานมันจะมามากขึ้น เเทนที่จะไปอยู่กับความกังวลใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาเเละพัฒนาได้ นี่เป็นกำลังใจแก่เราทุกคน ที่เราจะเดินไปได้นะ
ทีนี้ถ้าจะถามต่อไปว่า เเล้วถ้าสมมุติว่าเรามีอายุ ถ้าเรานึกถึงอายุเฉลี่ยของคนนี้ ก็อาจประมาณสัก 70 ปี หรือ 80 ปี เราจะเเบ่งช่วงชีวิตนี้อย่างไร ใน70 หรือ 80 ปีนี้ เราก็อาจจะเเบ่งช่วงชีวิตออกได้เป็นสัก 4 ขั้นตอน เจ้าประคุณท่านอาจารย์สวนโมกข์ท่านมักจะเเนะนำว่าเราจะเเบ่งได้สัก 4 ขั้นตอนนะคะ เช่น ช่วงชีวิตเเรกที่สุด ก็เป็นช่วงชีวิตของการศึกษา แล้วก็ช่วงชีวิตที่สอง ก็เป็นช่วงชีวิตของการเผชิญชีวิต ช่วงชีวิตที่สาม ก็เป็นช่วงชีวิตของการบริโภคผลของชีวิต ช่วงชีวิตที่สี่ ก็คือเป็นช่วงชีวิตของการมีชีวิตเย็นเเละเป็นประโยชน์ คำว่ามีชีวิตเเละเป็นประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์เเก่ตนเองเเละก็ผู้อื่นด้วย นี่เราจะเเบ่ง
ออกอย่างคร่าวๆ เราจะเเบ่งออกเป็นสี่ช่วงชีวิต
ทีนี้ก็จะมองเห็นเเล้วว่า พอเราลืมตาเกิดมาหรือเอาเป็นพอรู้เรื่อง พอรู้เดียงสา พอรู้ความใช่ไหมคะ ก็เริ่มศึกษาเเล้ว นี่เป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตมันจะเริ่มศึกษาเเม้เเต่ต้นหมากรากไม้ก็เหมือนกันมันจะเริ่มศึกษาอย่างเช่น เราจะมองเห็นถ้ามีต้นไม้เกิดขึ้นเคียงกัน ต้นเล็กต้นใหญ่ ต้นเล็กจะพยายามมองดูวิธีที่มันจะมีชีวิตรอด มันจะทำอย่างไร มันต้องการเเสงเเดด มันต้องการความเป็นอิสระ มันก็จะค่อยๆ เอนตัวของมันให้พ้นจากการรุกรานของการเบียดเบียนของต้นไม้ใหญ่อะไรอย่างนี้เป็นต้น นี่เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ ชีวิตทุกชีวิตนี้จะต้องมีการเรียนรู้ ยิ่งเป็นชีวิตของคนที่เขาถือว่าสัตว์ประเสริฐ เพราะมีมันสมองก็ต้องมีการเรียนรู้ที่เฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นนะคะ ฉะนั้นช่วงชีวิตเเห่งการศึกษานี้ ก็ถ้าจะถามว่าจะใช้ประมาณสักกี่ปีที่เป็นช่วงชีวิตของการศึกษานี่ก็ลองนึกเอาเองนะว่า ตั้งเเต่เรารู้ความมา เเล้วก็กะว่าจะได้ให้รับการศึกษาสูงสุดเลย จนจบมหาวิทยาลัยหรือได้รับปริญญา ปริญญาเอกไปเลยนะ ก็ประมาณสัก 25 ปี นี่เรากะโดยคร่าวๆ นะคะ เพราะฉะนั้นในช่วงชีวิตเเรกคือประมาณ 25 ปีนี้ เราจะถือว่าเป็นช่วงชีวิตของการศึกษา แล้วก็จากนั้นไปจากชีวิตของการศึกษาไป พอ 25 ปี เรียนจบเรียบร้อย ก็มีต้นทุนที่จะทำงานทำมาหากินต่อไป เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็เป็นช่วงชีวิตของการเผชิญชีวิตเราจะให้เวลาเผชิญชีวิตสักกี่ปี ก็สมมติว่าประมาณสัก 20 ปี เป็นช่วงของการเผชิญชีวิตที่จะศึกษารู้ผิดรู้ถูกในการทำงาน เรียกว่าล้มลุกคลุกคลานประสบความสำเร็จบ้างล้มเหลวบ้าง เผชิญชีวิตทุกรูปเเบบ ก็อาจจะประมาณสัก 20 ปี ประมาณอายุสัก 45 นี้เรียกว่าเป็นวัยฉกรรจ์นะ
วัยฉกรรจ์นี่ควรจะมีสติปัญญามีประสบการณ์ในชีวิตที่เรียกว่างอมพอสมควรนะ หรือว่าสุกพอสมควรที่จะช่วยตัวเองได้ต่อไป ทีนี้พอจาก 45 ปี ไปจนถึงถ้านับอายุราชการๆ และก็เกษียณ 60 ใช่ไหมคะ ก็ประมาณอีกสัก 15 ปี ต่อไป 45 ถึง 60 นี่ก็เป็นช่วงของการควรจะเป็นช่วงของการบริโภคผลของชีวิต
ผลของชีวิตก็คือผลที่ได้ทำงานมาจากที่ได้ศึกษามาเเละก็ได้เผชิญชีวิตมาก็ควรจะมาถึงช่วงของการบริโภคผลของชีวิต ทีนี้จากนั้นไปพอ 60 ปีนี่ อะไรๆ มันก็เริ่มล้าเเละก็เรียกว่าถ้าได้ทำงานก็ได้ทุ่มเทพลังในการทำงานมามาก ทั้งสมองสติปัญญา ความรู้อะไรทุกอย่างก็ควรจะเป็นช่วงชีวิตสุดท้ายจะไปอยู่อีกสักกี่ปีก็ตาม คือเป็นช่วงของการมีชีวิตเย็นเเละเป็นประโยชน์ ไม่ควรจะต้องตะเกียกตะกาย กระเสือกกระสนเเละก็วุ่นวายจนกระทั่งระส่ำระสายอีกเเล้ว ถ้าหากว่าเราก็จะมองเห็นได้ว่า ช่วงชีวิตต่อๆ ไปในช่วงชีวิตของการเผชิญชีวิตก็ดี ในช่วงชีวิตของการบริโภคผลชีวิตเเละก็ช่วงชีวิตของความมีชีวิตเย็นเเละก็เป็นประโยชน์จะเกิดขึ้นได้ ก็ขึ้นอยู่กับช่วงชีวิตของการศึกษาใช่ไหมคะ ว่าถ้าหากชีวิตของการศึกษานั้น เป็นช่วงชีวิตที่ได้รับการศึกษาอย่างถูกต้อง ซึ่งเราจะพูดกันต่อไป ว่าการศึกษาถูกต้องเป็นอย่างไร
ช่วงชีวิตเเห่งการเผชิญชีวิตนั้น ก็จะเป็นการเผชิญชีวิตด้วยความรู้ ด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ประกอบกัน จะไม่เป็นชีวิตที่มักง่าย หรือว่าเลินเล่อ หรือว่าทำอะไรอย่างลวกๆ อย่างชนิดที่ว่าพอขอไปที เพราะว่าการเผชิญชีวิตนี้คนเรามีความทุกข์เกิดขึ้นจากการเผชิญชีวิตเพราะอะไร ก็เพราะเหตุว่าเผชิญชีวิตด้วยความมักง่ายเเละในความมักง่ายนี้มันมักจะมีขี้เกียจ มันมักจะมีความเห็นเเก่ตัว อยากจะสบาย ไม่ยอมทุ่มเทอะไรลงไปเต็มที่ เพราะฉะนั้นมันถึงได้เป็นกาารเผชิญชีวิตแบบลุ่มๆ ดอนๆ เเล้วก็มักจะบอกว่า ช่วงเผชิญชีวิตเป็นช่วงที่เหน็ดเหนื่อยๆ มาก เพราะต้องต่อสู้ อันที่จริงเเล้วเกิดมาเป็นคนนี่ชีวิตมันก็มีปัญหา มันก็ต้องต่อสู้มันจะไม่ต่อสู้ไม่ได้หรอก เเต่ว่าต่อสู้อย่างไรจึงแล้วจะไม่ต้องเป็นทุกข์มาก เเละก็มีปัญหาน้อย นั้นก็คือต่อสู้ด้วยสติเเละปัญญาที่ถูกต้อง ถ้าเราต่อสู้อย่างงี้ การเผชิญชีวิตของเราก็จะถือว่าเป็นการเผชิญชีวิตที่จะหาประสบการณ์ๆ ของชีวิตที่จะให้รู้มากขึ้น เเล้วก็รู้อย่างถูกต้องมากขึ้น เเล้วก็เป็นชีวิตที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ
ฉะนั้นช่วงของการเผชิญชีวิตนี้ถ้าจะถามว่าเผชิญชีวิตอะไรบ้าง เผชิญชีวิตกับครอบครัว การมีครอบครัว ซึ่งในระยะเริ่มเเรก เราก็ยังไม่มีครอบครัว ซึ่งอาจมีคู่รักคู่ใคร่บ้างนะคะ ในระยะการศึกษา เเต่ก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบมาก เเต่พอช่วงการเผชิญชีวิตนี้ เป็นช่วงที่เจ้าของชีวิตจะต้องรับผิดชอบเต็มที่ในเรื่องของครอบครัว ไหนจะสามี ไหนจะภรรยา ไหนลูกเต้า เด็กในบ้าน เเละก็กิจการทั้งหลาย รวมทั้งการเงินที่จะจัดการบริหารบ้านช่อง ให้อยู่กันร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างไร นี่ก็เป็นการเผชิญชีวิตในรูปเเบบนึง มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีการศึกษาที่ถูกต้องไหม ถ้ามีการศึกษาที่ถูกต้องก็จะรู้จักเลือกคนที่จะมาอยู่ร่วมในครอบครัวเดียวกัน ที่จะมาตั้งหลักฐานด้วยกัน ผู้ชายจะเลือกผู้หญิงก็จะรู้จักเลือกผู้หญิงที่เข้าใจกันได้ ที่มีความคิดมีความเข้าใจมีรสนิยม หรือว่ามีทัศนคติของชีวิตใกล้เคียงกันใช่ไหมก็จะรู้จักอย่างนั้น หรือผู้หญิงจะเลือกผู้ชายก็เช่นเดียวกัน จะไม่เลือกเเต่รูปหล่อ เงินเดือนดี ตำเเหน่งใหญ่ เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่เเน่ว่าจะนำความสุขมาให้เเก่ชีวิตครอบครัว ถ้าหากว่าทั้งคู่สามารถเลือกกัลยาณมิตร คือเลือกคู่ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันได้ตลอดชีวิต การเผชิญชีวิตครอบครัวก็ไม่หนักหนาสักเท่าไหร่ใช่ไหม เพราะเรามีผู้ที่เป็นกำลังใจช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน
เเละทีนี้ก็มาถึงเผชิญชีวิตในเรื่องของการทำงาน ซึ่งการทำงานนี้มีการต่อสู้ แล้วว่าทำอย่างไรถึงจะให้การงานของเรานี้ได้รับผลสำเร็จในการทำงาน ได้รับความก้าวหน้าได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน ได้รับความเข้าใจเเละก็ความเมตตากรุณาจากหัวหน้างาน ได้รับความนับถือจากผู้อยู่ใต้การบังคับบัญชา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น ถ้าหากว่ามีการศึกษาที่ถูกต้องมาโดยตลอด การเผชิญชีวิตในเรื่องการงาน ก็กลับจะไม่เป็นการเผชิญชีวิต เเต่จะเห็นว่านี่มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นหน้าที่ของชีวิตของมนุษย์เกิดมาเป็นคนถ้าไม่ทำงาน มันจะรู้สึกว่าชีวิตนี้มันไร้ความหมายใช่ไหมคะ ไม่ได้มีความหมายเลย มันกลายเป็นชีวิตที่ว่างเปล่าๆ เหมือนกระป๋องเปล่า ที่ไม่มีค่าอะไรเลย
ผู้ร่วมสนทนา: ฟังท่านอาจารย์พูด รู้สึกฟังเเล้วเคลิบเคลิ้มว่า ถ้ามีเลือกคู่ได้ดี เหมือนชีวิตคงมีความสุข มีงานที่ดี มีเพื่อนร่วมที่ดีคงมีความสุข เเต่จริงๆ ชีวิตมันสะดุดเป็นช่วงๆ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: มันก็เริ่มต้นตั้งเเต่การเลือกนะสิ การเลือกคู่ เเละก็พอมีลูกขึ้นมา ก็ขึ้นอยู่กับการที่เราจะให้การอบรมลูก อย่างชนิดเป็นพ่อเเม่ที่ไม่เห็นเเก่ตัวๆ ก็คือหมายความว่า จะเอาให้ลูกได้อย่างใจ เเล้วก็ด้วยความรักลูกที่จะให้ลูกของฉันสบาย บางคนก็ปรนเปรอลูกจนลูกเสียคนเสียเด็ก เพราะฉะนั้นอันนี้จึงขึ้นอยู่กับช่วงของการศึกษา
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เเน่นอนที่สุดๆ เพราะว่าการศึกษานี่ดูสิเราใช้เวลาตั้ง 25 ปีใช่ไหมคะ เพื่อจะศึกษาๆ อะไร เพื่อจะเเสวงหาความรู้ที่จะมาเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อเเสวงหาความรู้สึกที่ถูกต้อง คือความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่จะเป็นเป้าหมายของชีวิต ถ้าการศึกษาตอนนี้มันผิดเพี้ยนไปมันไม่ถูกต้อง มันก็จะทำให้ไม่สามารถมี ตาสว่าง มีใจสว่าง มีสติปัญญาสว่างที่จะเลือกอะไรที่ถูกต้อง เลือกคู่ก็ไม่ถูกต้อง การอบรมลูกหลานในบ้านก็ไม่สามารถทำได้ถูกต้อง เลือกการงานก็เลือกตามเขา หรือว่าเลือกเอาเเต่เพียงว่านี่มันเงินดี เเต่ไม่ได้มองถึงความเหมาะสมเเก่สถานะของตัวเอง
ผู้ร่วมสนทนา: ฟังถ้าคู่ไม่ดี ต้องไปเลิกคู่
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เปล่าเลย ไม่ได้เเนะนำ
ผู้ร่วมสนทนา: มันไม่สามารถเปลี่ยนเเปลงสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านในชีวิตได้
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ใช่ ถูกเเล้ว เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะ ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ใช้สติเเละปัญญาให้รอบครอบก่อนที่จะทำ ทีนี้พอทำมาเเล้ว ท่านผู้ชมบางคนก็อาจจะบอกว่าถ้าเวลานี้มันผิดมันบิดเบี้ยวไปเเล้ว ท่านจงเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ทำสิ่งที่บิดเบี้ยวนั้นนะให้มันค่อยๆ ตรงมาทีละน้อยๆ ด้วยการใช้สติปัญญาเเละอย่าเสียกำลังใจเช่นเดียวกับการทำงาน นี่เป็นการเผชิญชีวิตกับครอบครัว เผชิญชีวิตกับการทำงาน เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ามีการศึกษาที่ถูกต้อง ครอบครัวมันก็มีปัญหาตามเหตุปัจจัยของมัน ที่เกิดมาเป็นคนมันก็พบกับปัญหาบ้าง ไม่ให้พบบ้างเลยไม่ได้ เเต่มันมีใจที่มั่นคงเเจ่มใส มันมีกำลังใจอยู่ มันมีสติปัญญาพร้อม มันสามารถเเก้จะปัญญาใหญ่ให้เป็นเล็ก เล็กก็ไม่เป็นปัญหาเลย ความทุกข์มันก็ลดลงๆ ตามลำดับ
ผู้ร่วมสนทนา:เเก่ๆ เเบบนี้ก็ต้องกลับไปเรียนกันใหม่ โดยความหมายอย่างงั้น ที่ท่านอาจารย์กำลังจะอธิบายให้ฟัง
อุบาสิกา คุณรัญจวน: อย่าไปคิดว่าเเก่เเล้วต้องกลับไปเรียนเลยนะ เรียนเดี๋ยวนี้ ขณะที่เราพูดกันเดี๋ยวนี้ ถ้าฟังเเล้วเห็นอะไรเป็นประโยชน์ ก็ลองเอามาใช้กับใจของเรา เเละก็ปรับชีวิตของเราเดี๋ยวนี้ทันที
ผู้ร่วมสนทนา: ไม่ต้องเหมือนต้องกลับไปนั่งเรียน
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ไม่ต้องหรอก เหมือนกับเราขับรถมานี้นะ เราขับรถมานี้เรารู้เเล้วว่านี่มันผิดทางใช่ไหมคะ มันไม่ใช่หนทางที่เราต้องการไป เเล้วยังตะบึงไปมันก็ไปตกเหวตกคลอง ฉะนั้นเราก็หันรถเสียใหม่ หันหัวรถเสียใหม่มองดูสิว่าทิศทางที่เราจะไปใหม่ไปควรจะไปทางไหน
ข้อสำคัญอย่าดื้อเอาหัวชนฝา คนที่ตกนรกนะ เพราะเเบบนี้ ดื้อเอาหัวชนฝามันก็เลยเเตกตายอยู่ตรงนั้น มันไม่เกิดผลอะไร ถ้าหากเราเเก้เดี๋ยวนี้ เราก็จะได้ประโยชน์เดี๋ยวนี้ เเล้วถ้าหากว่าเราเผชิญชีวิตอย่างถูกต้องพอถึงการบริโภคผลของชีวิต เราก็จะรู้สึกว่าเราได้รับผลตามสมควร ตามเหตุปัจจัยเเห่งการเผชิญชีวิตใช่ไหม
ตามเหตุปัจจัยเเห่งการเผชิญชีวิตนั้นก็คือว่า เราก็จะมีครอบครัวที่มีหลักฐานมากพอสมควร มีเงินมีทองพอใช้จ่ายใช้สอย มีพื้นมีฝูงที่พอพูดคุยเป็นที่ปรึกษาอะไรกันได้ มีตำเเหน่งการงาน พอตัว อะไรๆ ก็มีพอตัว มันก็จะมีความรู้สึกพอใจอิ่มใจของชีวิตนี้ นี่ก็เป็นการบริโภคผลชีวิตที่เรียกว่าถูกต้อง อันเป็นผลจากการเผชิญชีวิตเเล้วก็การเผชิญชีวิตถูกต้องก็เป็นผลจากการศึกษาที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นก็จะไม่รู้สึกช้ำชอกใจ ว่าอุตส่าห์ทำมาสาระพัดไม่เห็นมีอะไร นอกจากนี้พอถึงเวลาที่เราวางมือจากงานทั้งหลายเเล้ว ก็จะมีความมีชีวิตเย็น มีความอิ่มใจ มีความพอใจในสิ่งที่เราทำเเล้ว ก็คุ้มกับการที่ได้เหน็ดเหนื่อยมาทั้งชีวิต
เเต่อย่างไรก็ตามทีก็เชื่อว่าคงจะมองเห็นเเล้วว่า ช่วงชีวิตที่สำคัญที่สุดของมนุษย์นั้นคือช่วงชีวิตเเห่งการศึกษาใช่ไหมคะ ถ้าหากว่าการศึกษานี้ผิดทาง ชีวิตนี้จะผิดไปหมดเลย การพัฒนาก็จะเป็นการพัฒนาที่รกรุงรัง เพิ่มภาระให้เเก่ชีวิต เพิ่มความหนักให้เเก่ชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือเพิ่มความทุกข์ให้เเก่ชีวิต ไม่ใช่เพิ่มความสุขสงบเย็น ฉะนั้นช่วงชีวิตของการศึกษานั้น เราถือว่าเป็นรากฐานๆ ของชีวิตทั้งชีวิตที่จะทำให้ช่วงชีวิตต่อๆ ไปนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามสถานะเเห่งตนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับชีวิตนี้
เพราะฉะนั้นก็จึงอยากจะเน้นให้เห็นทุกคนนะคะ บรรดาผู้ที่ยังเป็นเด็กๆเป็นเยาวชนอยู่ก็ดี หรือบรรดาผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นคุณพ่อ คุณเเม่ เป็นผู้ปกครอง เป็นครูบาอาจารย์ ที่รับผิดชอบ ก็ขอได้โปรดระลึกไว้เถิดว่า ช่วงชีวิตของการศึกษานี้ เป็นช่วงชีวิตที่สำคัญเเก่มนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเเก่เยาวชนของเรา ก็ขอจงได้โปรดสนใจว่าเราจะให้การศึกษาอย่างไรจึงจะถูกต้อง เเละเป็นรากฐานที่เเท้จริงของชีวิต เพื่อความเจริญงอกงามที่เเท้จริงต่อไป
ธรรมสวัสดีนะคะ