แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ผู้ร่วมสนทนา: สวัสดีครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ธรรมสวัสดีค่ะ เราอยากจะพูดถึงเรื่องของสิ่งที่เป็นอุปสรรคนะคะ เราได้พูดมาแล้วว่า เป็นอุปสรรคในการพัฒนาจิตให้เป็นสมาธิ วันนี้ก็อยากจะพูดต่อไปถึงสิ่งที่เราควรจะต้องรู้จัก หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือว่า สิ่งที่เรารู้แล้วล่ะ แต่ว่ามันอาจจะรู้ไม่ตรง หรือรู้ไม่ถูกต้องจริง มันก็ทำให้เราเกิดความเข้าใจเขวๆ หรืออาจจะผิดเพี้ยนไป ก็อยากจะขอให้ช่วยกันนึกถึงสิ่งที่อาจจะเข้าใจเขว หากเราเข้าใจเขวไป มันก็กลายเป็นอุปสรรคของการที่จะพัฒนาจิตให้เป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งแรกที่สุดที่น่าจะพูดถึงกันก็คือ คำว่าธรรมะค่ะ คำว่าธรรมะนี่ เราเข้าใจ ความหมายของคำว่า ธรรมะตรงกันหรือไม่ และก็ตรงตามความเป็นจริงที่มันเป็นหรือไม่ คำว่า ธรรมะ ถ้าเอ่ยถึงธรรมะ เรามักจะแปลว่าอะไร ธรรมะเรามักจะแปลว่าอะไรที่เรารู้มา ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็พูดกันอย่างที่เราเคยได้ยิน ก็เราเรียนกันมาในโรงเรียน ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่นี้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นนะมีตั้งเท่าไหร่ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ใครอ่านจบแล้วบ้าง ยังไม่เคย ยังไม่เคยอ่าน เพราะฉะนั้นมากเหลือเกิน แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นี่ เราจะสรุปลงมาว่าอะไร ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่แปลว่า ที่มาจากคำว่า ธรรมะ มันคืออะไร ก็หวังว่าก็คงจะเคยจำได้ เราเคยพูดกันมาในการสนทนาเรื่องธรรมะนี่นะคะ และก็มีความหมายในคำว่า ธรรมะ สอดแทรกอยู่หลายครั้งหลายคราวเลย ถ้าจะสรุปออกมาอีกให้ชัดๆนี่ ธรรมะนี้ ถ้าเอาตามคำแปล คำแปลที่เรียกว่าตามศัพท์ของมัน ธรรมะก็แปลว่า ทรงตัวอยู่ได้ ทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ จะทรงตัวอยู่ได้ตลอดไป ธรรมะนี้ ที่นี้ก็มาดูว่าอะไรที่จะทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ สิ่งนั้นท่านก็บอกว่า จงดูจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้นถ้าจะอธิบายความหมายของธรรมะต่อไปอีกก็คือ ธรรมะ ก็ธรรมชาติ เพราะว่าสิ่งที่พระพทุธเจ้าท่านทรงศึกษาจนกระทั้งท่านตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่ได้ทรงศึกษาจากอย่างอื่น ทรงศึกษาจาก ธรรมะ ธรรมะ รอบตัว และก็ธรรมะที่ในองค์ของท่านเอง จนกระทั่งท่านทรงเห็นสภาวะของความเป็นธรรมชาติ ที่สามารถทรงเป็นความปกติ อยู่ได้ตลอดกาลเลย ไม่ว่าจะกี่ร้อยกี่พันปีมาแล้ว ในขณะนี้แล้วก็ในอนาคตต่อไปข้างหน้า ก็จะคงทรงตัวอยู่อย่างนั้น มองเห็นไหมคะ สิ่งที่ทรงตัวอยู่อย่างนั้นเราก็เคยพูดกันมาแล้วอยู่หลายครั้ง ดิน น้ำ ลม ไฟ
ผู้ร่วมสนทนา: ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือค่ะ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ดิน น้ำ ลม ไฟ มันก็เป็น ทางธรรมชาติ และมันก็ทรงตัวอย่างนั้นตามปกติอยู่อีกได้เหมือนกัน ที่นี้ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันก็เป็นสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้ตามธรรมชาติ นี้ก็อีกเหมือนกัน นั้นก็คือว่า เราจะมองดูว่า ธรรมะคือธรรมชาตินี่ อะไรคือสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้ตามปกติ สิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้ตามปกติก็คือ สภาวะของความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี้คือสภาวะของความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันจะมีอยู่ในทุกสรรพสิ่งเลย รวมทั้ง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ พูดด้วย ก็คงมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เช่นนี้ตลอดไป นี้คือสภาวะของความที่มันทรงตัวอยู่ได้ พูดอย่างนี้อาจจะฟังดูหนักไปนะคะ แต่ก็ เราก็ได้พูดถึงการศึกษาที่เราจะต้องใคร่ครวญย้อนเข้าไปดูข้างในหลายครั้งแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราย้อนเข้าไปเพื่อใคร่ครวญดูด้วยจิตของเราเอง จนจิตสัมผัสกับความเป็นจริง เราก็จะเห็นสภาพของความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งของสิ่งที่เป็นรูปธรรม และก็ทั้งของสิ่งที่เป็นนามธรรม อยู่ทุกขณะ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นเลย นี่ให้เรามองดูลงไป ดูลงไป ดูลงไป จนกระทั่งเราจะเห็นว่า ผลที่สุด ธรรมะ ก็คือธรรมชาติ และธรรมชาติที่เรามองดูอยู่นี้ มองดูอยู่แต่ความสวยงาม ความเขียวชะอุ่ม หรือความชุ่มชื่น ที่อยู่ล้อมรอบตัวเราในขณะนี้ เราไม่ได้มองดูเพียงเท่านี้ แต่เราจะมองดูอยู่ลงไปจนกระทั้งถึงจะเห็นว่าความชุ่มชื่น ความสดใส ความมีชีวิตชีวานี้ มันก็คงสภาพอยู่ในชั่วขณะหนึ่ง และมันก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัย และมันก็กลับมาเขียวชะอุ่ม สดชื่น อีกและมันก็เปลี่ยนแปลงไปอีกตามเหตุ ตามปัจจัย นี้คือสิ่งที่ทรงสภาวะอยู่ ซึ่งท่านเรียกว่า เป็นสภาวะของความเป็นอนิจจัง หรือ (อะนิจะสะภาวะ) นี้คือความหมายของ ธรรมชาติ อันหนึ่ง และ ของธรรมะ อันหนึ่ง ที่หมายถึงธรรมชาติและก็จากการที่เราดูไปนี่ เราก็จะพบ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นนิจอย่างไม่เปลี่ยนแปลง และจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดไป จนเราเรียกได้ว่า มันเป็นกฎของธรรมชาติที่มันจะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นเลย ฉะนั้นกฎของธรรมชาตินี้ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องศึกษา และก็คงเข้าใจแล้วนะคะ เพราะเราพูดถึงกฎของธรรมชาติมาหลายครั้งแล้ว แล้วที่นี้ต่อไปนี้เเมื่อเรารู้ว่ากฎของธรรมชาติเป็นอย่างนี้ หน้าที่ของมนุษย์นั้นก็จำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ ให้สอดคล้อง หรือสมคล้าย สมคล้อยกับกฎของธรรมชาติ คือให้จิตใจนั้นมองเห็น หรือว่าเกลือกกลิ้งอยู่กับความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ให้ได้ทุกขณะ ตามเหตุ ตามปัจจัย ถ้าเราจะสามารถจะเห็นอยู่อย่างนี้ได้ตลอดไป จิตนี้ก็จะเข้าสู่ความเป็นสัมมาทิฐิ ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ตามลำดับ เพราะมันจะหลุดมาจากความยึดมั่นถือมั่นที่เคยเป็น ทีละน้อยๆ จนผลที่สุดมันจะเป็นจิตที่เป็นอิสระ และจิตที่เป็นอิสระที่เราสามารถทำได้นี้ท่านก็บอกว่า อันนี้เป็นผลของการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามหน้าที่ที่สอดคล้องกับกฎของธรรมชาติ ฉะนั้นถ้ากล่าวโดยสรุปนะคะว่า ธรรมะ คืออะไร ท่านก็บอกว่า ที่จำง่ายที่สุดและก็เป็นความเป็นจริงที่เรามีชีวิตอยู่กับสิ่งนี้ สิ่งนั้นก็คือหน้าที่ เพราะฉะนั้นกล่าวโดยสรุปแล้ว ธรรมะ คือ หน้าที่ ถ้าถามว่า จะปฏิบัติธรรม ทำยังไง ก็คือปฏิบัติหน้าที่ ขณะนี้มีหน้าที่เป็นอะไร เป็นแม่บ้าน หรือว่าเป็นพ่อบ้าน หรือว่าเป็นผู้อำนวยการ หรือว่าเป็นลูกน้อง หรือว่าเป็นช่างภาพ หรือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ขับรถ หรือว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ทำหน้าที่นั้นให้ถูกต้อง หรือมีหน้าที่เป็นแม่ ทำหน้าที่แม่ให้ถูกต้อง เป็นลูกน้องทำหน้าที่ลูกน้องให้ถูกต้อง ธรรมะ คือ หน้าที่ ถ้าทำถูกต้องแล้ว ไม่มีโทษทุกข์เกิดขึ้น นั้นก็คือการปฏิบัติตามหน้าที่ของตนแล้ว และก็เป็นการปฏิบัติตามธรรมะอยู่แล้วในตัว ฉะนั้น นี้ก็เป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำความเข้าใจกัน ท่านเจ้าคุณท่านอาจารย์สวนโมกข์ท่านถึงบอกว่า ธรรมะ นี้เมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ไม่จำเป็นจะต้องมีอยู่แต่ในวัด และแม้แต่จะเป็นสถานที่ที่เรียกว่าเป็นวัดก็ตาม แต่หากว่าที่นั้นไม่มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ธรรมะก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น ถ้าสถานที่ใดปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้อง ที่นั้นก็เป็นที่ที่มีธรรมะ ก็จะเห็นได้ว่าคนอยู่วัดก็ตาม คนอยู่บ้านก็ตาม สามารถปฏิบัติธรรมได้เท่ากัน ได้เท่ากัน จริงๆไม่จำเป็นจะต้องเลือกไปอยู่วัด ฉะนั้นใครที่สนใจเรื่องธรรมะแล้วกลัวว่าสนใจธรรมะแล้วจะต้องทิ้งบ้านทิ้งเรือน ก็เป็นความกลัวที่เรียกว่า กลัวไปเปล่าๆ เสียเวลากลัว ไม่ต้องกลัวเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปรารถนาจะให้คนทุกคนมีความสามารถในการปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้าน จะได้อยู่กับครอบครัว ลูกหลาน อย่างเป็นสุข และก็จะได้ไปทำงานอย่างเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้าในการการทำงาน ฉะนั้นถ้าหากว่า เราเข้าใจความหมายของธรรมะให้ถูกต้อง ตามที่เป็น เราจะไม่ต้องไปเที่ยว เรียกว่า คุ้ยเขี่ย หรือว่าเอามาใส่ตะแกรงกรองว่า ตรงไหนที่เป็นธรรมะแท้ๆในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เราสรุปลงได้ง่ายๆเลยว่า ธรรมะ คือหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องเมื่อใด นั้นคือการมีธรรมะแล้ว วันนี้มีธรรมะแล้วหรือยัง
ผู้ร่วมสนทนา: มีแล้ว
อุบาสิกา คุณรัญจวน: มีแล้ว และรู้สึกอย่างไรที่จะรู้ว่าเรามีธรรมะแล้วยังไงคะ รู้สึกอย่างไรถึงจะรู้ว่ามีธรรมะแล้ว
ผู้ร่วมสนทนา: เพราะได้ทำหน้าที่
อุบาสิกา คุณรัญจวน: แล้วรู้สึกจิตใจเป็นยังไง
ผู้ร่วมสนทนา: สบาย
อุบาสิกา คุณรัญจวน: สบาย จิตใจผ่องใส จิตใจไม่ร้อนรนเดือดร้อน นั่นแหละ เรียกว่าเรามีธรรมะ เมื่อใดที่จิตใจมันเดือดร้อน วุ่นวาย ก็จงดูเถอะว่า มันเป็นเพราะอะไร นี้เราไม่ได้ทำหน้าที่ของเรา หน้าที่เพื่อน หน้าที่พี่ หน้าที่น้อง หรือว่าหน้าที่ครูบาอาจารย์ หน้าที่ลูกศิษย์ เรายังไม่ได้ทำหน้าที่อันนี้ถูกต้องเลยกระมั้ง มันถึงเป็นความทุกข์เกิดขึ้น อย่างนี้การที่จะพิสูจน์ตัวเองว่ามีธรรมะหรือไม่มี ยากไหมคะ ฟังดูไม่ยากแต่คงยากสำหรับในสังคม
ผู้ร่วมสนทนา: ? เราคนปฎิบัตินะครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เราก็ทำหน้าที่ของเราไปเรียบร้อย สมมติว่าว่าเราได้ยินบ่อยๆในสังคมก็คือว่า สมมติว่าเจ้านายกลั่นแกล้งลูกน้อง มักมีคำพูดบ่อยๆว่า เจ้านายกลั่นแกล้งลูกน้องไปต่างๆ หรือลูกน้องกลั่นแกล้งเลื่อยขาเก้าอี้เจ้านาย มันจะก็มีตลอดเวลา ตรงนี่จะทำยังไงให้ทุกคนมองเห็นภาพรวมๆร่วมกันว่า ถ้าทำหน้าที่แล้วปัญหาตามที่ว่านี้จะไม่เกิด ก็ตอบง่ายๆ ก็บอกว่า เพราะเขาไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมะ เขาไม่เข้าใจความหมายของคำว่า ธรรมะอย่างถูกต้อง เขาไปเข้าใจว่าความหมายของธรรมะว่าเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และเสร็จแล้วเขาก็ไม่ได้ใคร่ครวญศึกษาต่อไปว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น คืออะไร คือ คำว่า ธรรมะคืออะไร หมายความว่า คือตรงไหน สิ่งไหนที่เขาจะนำมาปฏิบัติที่ใจของเขาได้ เขายังไม่พบ ที่นี้เมื่อมีผู้ที่ได้ใคร่ครวญ กลั่นกรอง ไตร่ตรอง อย่างดีแล้ว แล้วก็สรุปมาบอกว่าให้เราฟังว่า ธรรมะนี่ถ้ากล่าวโดยสรุปที่สุดเลยนะ ก็คือ หน้าที่ ถ้าหากว่าใครทำหน้าที่ของตนได้อย่างถูกต้อง นั้นก็คือการสามารถดำรงความเป็นปกติอยู่ได้ ใช่ไหมคะ ความเป็นปกติในที่นี้ก็คือ ความเป็นปกติของจิตใจ ก็ตรงกับความ หมายของคำแปล คำแปลของคำว่า ธรรมะ คำแปลของธรรมะ ที่เรียกว่า ทรงตัวอยู่ได้ ซึ่งมันจะเป็นเครื่องพิสูจน์ซึ่งกันและกันให้เห็นได้ชัด ฉะนั้นที่มีการเลี้อยขาเก้าอี้หรือมีการข่มเหงกันระหว่างลูกน้องกับหัวหน้า ก็เพราะว่าเขาไม่รู้คำว่า ธรรมะ เขาไม่เข้าใจคำว่า ธรรมะคืออะไร จึงคิดว่า การอยู่บ้าน อยู่ที่ทำงาน ปฏิบัติธรรมะไม่ได้ แต่ความเป็นจริงมันปฏิบัติได้ มันทำได้ ถ้าเรารู้ว่า ธรรมะ คือ หน้าที่ และก็ต้องทำหน้าที่นั้นให้ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องเพราะความเห็นแก่ตัว ให้รู้เถอะว่า ไม่ถูกต้องเมื่อไหร่ มีความเห็นแก่ตัว เข้ามาทันที หนีไม่พ้น เพราะฉะนั้น เรื่องของ อัตตา เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา และก็ต้องศึกษา ไปให้ถึง อนัตตา คู่กันด้วย จะได้ลบล้าง ความยึดมั่นในอัตตาให้ออก ไป ถ้าไม่ศึกษา อนัตตา ก็จะอยู่กับ อัตตา อยู่นั้นเอง มันจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องของอนัตตา ฉะนั้นถึงได้บอกว่า สิ่งที่อาจเข้าใจเขว ข้อแรกที่เราน่าจะพูดกันก็คือเรื่อง ความหมายของคำว่า ธรรมะ ถ้าเราเข้าใจอันนี้อย่างถูกต้องแล้ว มันก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ต้อง ขัดแย้งหรือว่าโต้เถียง มันเหลือแต่เพียงว่า เราเห็นว่าเป็นไปได้ไหม ถูกต้องไหม เอาถ้าถูกต้องเราก็จำเป็นที่จะต้องรีบปฏิบัติ เพื่ออยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ใช่ไหมคะ ทีนี้ถ้าพูดถึงว่า ธรรรมะคือหน้าที่ และก็ต้องเป็นหน้าที่ที่ถูกต้อง ถูกต้องในที่นี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ที่เกิดประโยชน์ ไม่ทำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่งาน ไม่ทำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นได้รับประโยชน์ และก็ได้รับความสุข สงบ เย็น โดยทั่วกัน ก็ถือว่า นี้เป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง และถ้าหากว่าเราจะทำใจของเราให้มีน้ำใจ อ่อนโยนยิ่งขึ้น จนกระทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อหน้าที่ได้ แม้ว่าบางครั้งมันจะเกิดความรู้สึกไม่อยากทำ มันเกิดการขัดแย้ง โต้แย้งขึ้นมาในใจเอง มันไม่อยากทำ ถึงรู้ว่าเป็นหน้าที่ของเรา เราก็ไม่อยากทำ เพราะมันมีความไม่ชอบใจ ขัดใจอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น อย่างนี้เราจะทำยังไง เราจะเอาอะไร เราจะเอาอะไรเข้ามาคิด อันแรกเราก็ต้องสืบสวน ย้อนกลับไปดูที่เดียวว่า สาเหตุที่ทำให้เราไม่ยอมทำมันเพราะอะไร เราพูดกันมาคราวก่อนว่า อะไร ที่เป็นตัวอุปสรรค ความรักอัตตาของตัวเรา คือความเห็นแก่ตัวของเรา เราไม่ชอบใจ ไม่ชอบใจงาน ไม่ชอบใจคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ชอบใจคนที่เราคิดว่า ถ้าเราทำแล้วเขาจะได้รับผลอันนี้ เราไม่อยากทำให้ ความเห็นแก่ตัว ความรักตัวของเราที่มีมาก เราก็ย้อนกลับไปสอบสวนดู พอเห็นต้นเหตุอันนี้ เราก็ต้องย้อนกลับไปดูอะไร ตัวนี้มันมาจากไหน วนเวียนกันอยู่ตรงนี่ใช่ไหม เพราะตัวนี้มันเป็นตัวอะไร มันเป็นได้แค่กอง กอง เขากองเอาไว้ห้ากอง เหมือนอย่างที่เขาเอาล้อ เอาเบาะ เอาบังโคลน โครงสร้างของรถยนต์ พวงมาลัย เครื่องยนต์ มารวมกันเข้าเป็นตัวรถยนต์ นี้แหละเราก็ถอด ถอดกันไป มันก็มีแต่นั้นกองล้อ นั้นกองเบาะ นั้นกองบังโคลน นั้นกองพวงมาลัย นั้นกองเครื่องยนต์ ไม่มีตัวรถยนต์ ร่างกายเรา ชีวิตเรา เป็นอย่างนี้ นี้เป็นการที่เราจะปลอบโยน ปลอบโยนใจของเราเองที่มันกระด้าง ที่มันเห็นแก่ตัว มันไม่ได้อย่างใจ ก็อ่อนโยนลง และในขณะเดียวกันนี้ ถ้าเรามองไปรอบๆ ดูเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายนี้ กับตัวเราเอง อยู่ในสภาพที่แตกต่างกันไหมคะ ไม่ต่างกันเลย ไม่ต่างกันตรงไหน ก็ร้อนรน ร้อนรน ดิ้นรนเหมือนกัน ดิ้นรนด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เขาเรียกว่าอยู่ในเรือของตัณหาเหมือนกัน อยู่ในเรือตัณหาความอยาก แล้วมันก็ความอยากนี่มันก็เป็นกำลังผลักให้ พายไปหรือมิฉะนั้นบางทีไม่ทันก็กระโดดโลดเต้นไปเพื่อจะเอาให้ได้ มันเหมือนกัน ประเดี๋ยวก็โลภ ประเดี๋ยวก็โกรธ ประเดี๋ยวก็หลง ประเดี๋ยวก็ยอมได้ ประเดี๋ยวก็ยอมไม่ได้ แต่เพราะไม่มองดูก็เลยเห็นว่า เพื่อนมนุษย์นี่เป็นคู่แข่ง ใช่ไหมคะ เป็นคู่แข่ง เป็นคู่เปรียบเทียบ เป็นคู่แย่งชิง หรือว่า ชิงดีกัน ฉันยอมไม่ได้ ฉะนั้นในสมัยปัจจุบันนี้ จึงจะเห็นว่า การแก่งแย่ง แข่งดีกัน หรือพูดง่ายๆว่า competition นะมันสูงมากเลย ปัจจุบันสูงมากเหลือเกิน ยิ่งในประเทศที่เจริญแล้วด้วยการศึกษา ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การแข่งขันชิงดีกันมันยิ่งสูงมาก เรียกว่าชิงไหวชิงพริบกันอยู่ทุกขณะเลย นี้ก็เพราะว่า ถือว่าเพื่อนมนุษย์เป็นคู่แข่งและก็ถือซะว่าอุดมคติของชีวิตจะต้องเอาให้ได้มากกว่าเขา ให้มีมากกว่าเขา ให้เป็นได้วิเศษยิ่งกว่าเขา เป็นอุดมคติกันอยู่อย่างนั้น ก็เลยทำให้เกิดความลำบากกันแก่ชีวิต ที่ไม่สามารถจะเห็นมนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้มีสภาพที่เหมือนกันทั้งนั้น อยู่ในทะเลตัณหาเหมือนกัน และยังเป็นอะไรเหมือนกันอีก ผลที่สุดก็ต้องทำไมเหมือนกัน ตายเหมือนกัน ก็เรียกว่า แก่ ล่วงความแก่ได้ไหม ไม่ได้ ยังสาวๆยังสวยๆอยู่ หลงๆลืมๆ ก็ประเดี๋ยวเดียว ก็งอมไปแล้ว เพราะฉะนั้น ล่วงความแก่ไม่ได้ ล่วงความเจ็บไม่ได้ ล่วงความตายไม่ได้ นี้เป็นสภาพที่ธรรมชาติจงใจเลยนะคะ จะบอกจงใจก็ได้ จงใจอะไร จงใจบอกเราทั้งหลาย บอกเราทั้งหลายทุกคนว่าเราเป็นเพื่อนกัน เป็นเพื่อนกันจริงๆ แม้แต่จะเป็นศัตรูคู่แค้นกันมาสักแค่ไหนก็ตาม แต่ก็เป็นเพื่อนกัน ไม่ใช่คนอื่นเลย
ผู้ร่วมสนทนา: แต่บางคนบอกว่าตายก็ไม่เผาผีกันเลยครับอาจารย์
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ค่ะ ก็นี้นะสิ เพราะเขาไม่รู้จักว่าชีวิตคืออะไรใช่ไหม ใช่เปล่า
ผู้ร่วมสนทนา: ครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เขาถึงได้ถือว่าตัวนั้นมันทำให้เจ็บใจมาก ที่จริงตัวนั้นทำอะไรได้อีกที่จะให้เจ็บใจ ที่จริงตัวนั้นไม่ได้ทำอะไรให้เจ็บใจได้อีกบ้าง ไม่ได้แหล่ะ นอนแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น แล้วมันไม่ใช่ตัวนั้น มันเป็นการกระทำของจิตที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ให้เราพูดอย่างนี้เถอะ เป็นการกระทำของจิตที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่การกระทำของมือ สมมติเอามือมาตี เอามือมาหยิก เอามือมาทำทรมานอะไรเราก็ตาม มันไม่ใช่มือนี้ มือนี้เป็นเพียงเครื่องมือ มันเป็นรูป มันเป็นเพียงเครื่องมือ ที่บอกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มือนี้ก็อยู่ในพวกกาย มันเป็นเพียงเครื่องมือ หรือเอาเท้ามาเตะ เท้านี้ก็เป็นอยู่ในกาย มันเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้นเองของจิตที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ มันถึงได้คิดเบียดเบียน ข่มเหง หรือว่า ข่มขู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่สามารถจะยอมรับได้ว่าเราอยู่ในสภาวะของการเป็นเพื่อนกัน หนี้ความแก่ไม่พ้น หนีความเจ็บไม่พ้น หนีความตายไม่พ้น มันจะต้องพบเหมือนกัน ไม่ช้าก็เร็ว แล้วทำไม ดิ้นรนกัน แข่งกัน ในเมื่อจุดจบก็รู้ว่าต้องตายด้วยกัน ลองถามตัวเองกันหน่อยสิค่ะ และตอบมา
ผู้ร่วมสนทนา: เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่รู้เหมือนกันอาจารย์ แต่ก็รู้ว่าทุกคนก็แย่งกัน สุดท้ายก็รู้ว่าตัวเองก็ต้องตาย
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ค่ะ ก็ใช่ และก็น่าสงสาร และก็จะได้ถามว่า ทำไม เราก็เป็นนคนเหมือนเขา เล่าเรียนมีวิชาความรู้ก็ถึงขนาดนี้ ทำไมถึงทำตัวให้เป็นคนน่าสงสาร น่าสมเพชของคนอื่น ถึงอย่างนี้ และก็จะเห็นได้ว่ามันน่าทุเรศ มันน่าทุเรศเพราะอะไรแหล่ะ ปริญญาก็ไม่ช่วย ตำแหน่งการงานก็ไม่ช่วย อำนาจอะไรที่มีอยู่ก็ไม่ช่วย เพราะฉะนั้นมันถึงน่าสงสาร น่าทุเรศ และเราไม่อยากเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเราละเว้นการที่จะใคร่ครวญข้างใน เพื่อจะศึกษาหาสิ่งที่จะเป็นสัจจธรรม เป็นสัจจธรรมที่เป็นความจริงแท้ ไม่รู้ว่าชีวิตนี้คืออะไร เพราะฉะนั้นการที่เด็กๆควรจะได้ศึกษาว่า ชีวิตนี้คืออะไรจึงเป็นความจำเป็น นี้คือสิ่งที่ไม่ได้สอนในโรงเรียน
ผู้ร่วมสนทนา: พ่อแม่ไปสอนชีวิตคือขันธ์ห้าให้เด็ก ให้แก่เด็กๆเริ่มเลยใช่ไหมอาจารย์
อุบาสิกา คุณรัญจวน: สอนได้เลย ถ้ามีลูกเมื่อไหร่อย่าลืม สอนอันนี้ก่อนเลย และก็ลองทดลองดูเถอะ ทดลองกับลูกของเรา เราจะได้บทเรียนว่า นี้คือสิ่งที่เราตั้งใจจะให้แก่ลูก ตั้งใจจะอบรมกล่อมเกลี้ยงหลอมเข้าไปในจิตของลูก และเป็นไปได้ไหม ลองดูสิ แต่ต้องมีศิลปะนะคะ เราต้องมีศิลปะในการที่จะพูดจะสอน อย่างที่ยกตัวอย่าง เด็กชายแอร์ เมื่อคราวก่อนนี่ใช่ไหม นี้เป็นของธรรมดาเลย ก็อ่านหนังสือเล่มเล่มหนึ่ง ถ้าเราพบอะไรสักประโยคหนึ่งและก็นำมาปรุง มาเล่ากันอย่างนี่ เราก็จะได้เกิดความรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน เด็กๆ ก็จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งแปลก อย่างนี้พูดกับใครเขาไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นอันนี้ลองดูด้วยศิลปะที่เราอยากจะแนะนำให้เด็กๆเข้าใจว่า ชีวิต คืออะไร สิ่งที่จะรู้เป็นสิ่งแรก และจะได้รู้ว่าเกิดมาทำไม นี้คือคำตอบที่ว่า ธรรมะคือ หน้าที่ และเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อทำหน้าที่ เพื่อทำหน้าที่ มนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ ถ้าหากว่าใครเกลียดว่า เกลียดคำว่า หน้าที่ จะว่าถ้าทำหน้าที่เพราะถูกเขาบังคับ บังคับว่าต้องทำหน้าที่ มันอยู่ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา ก็รู้สึกว่า บทบาทของมนุษย์ เราเปลี่ยนคำว่าหน้าที่ เป็นบทบาทของมนุษย์ มนุษย์เกิดมามีบทบาทอย่างนี้ และมีความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับอะไร ก็ต้องทำอันนั้น รับผิดชอบอันนั้นให้เต็มที่ เพราะฉะนั้นไม่มีใครบังคับ แต่ความเป็นมนุษย์ต่างหากที่มันบังคับ ถ้าเรามาถามตัวเราเองว่า ใจเราเป็นมนุษย์หรือเปล่า ถ้าใจเราเป็นมนุษย์แล้วมันก็ต้องมีใจที่สูง สูงด้วยความใคร่ครวญอย่างดี มันก็ต้องพร้อมที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง เกิดกิเลสขึ้น ฉะนั้นชีวิตคืออะไร ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ความสำคัญของชีวิตอยู่ที่การกระทำ และจิตที่เป็นสัมมาทิฏฐินี้แหล่ะจะทำให้เกิดการกระทำที่ถูกต้อง และก็จะรู้ว่าชีวิตนี้เกิดมาทำไม ก็คือเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ให้ถูกต้องอย่างชนิดคุ้มค่าแก่การเกิดมาเป็นมนุษย์ และเมื่อหลับตา หยุดหายใจเมื่อไหร่ ก็จะหยุดหายใจด้วยความเป็นสุข อิ่มเอิบและพอใจ ไม่ดิ้นรน ไม่ต้องมาถามด้วยว่า ตายแล้วไปไหน หยุดหายใจแล้วไปไหนจะรู้เอง เพราะตอนที่หยุดหายใจ มันเย็นๆ ไปไหนก็ไม่สำคัญ ความเย็นจะคงอยู่ในใจนั้นตลอดเวลา
ผู้ร่วมสนทนา: ไม่ต้องเรียกพระ ไม่ต้องเรียกพุทโธ พุทโธ ก่อน ใกล้ตาย ด้วยหรือครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เพราะเราพุทโธอยู่แล้วตลอดเวลา และคำว่า พุทโธในที่นี้ก็หมายถึงสติปัญญา สติปัญญาที่ได้ใคร่ครวญในเรื่องของสัจธรรม จนกระทั้งประจักษ์ชัดแล้ว เพราะฉะนั้นสติปัญญานี้จะช่วยกล่อมเกลาใจให้มีความเยือกเย็นของใจ ธรรมสวัสดีนะคะ