PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
  • ฝึกควบคุมลมหายใจ
ฝึกควบคุมลมหายใจ รูปภาพ 1
  • Title
    ฝึกควบคุมลมหายใจ
  • เสียง
  • 12345 ฝึกควบคุมลมหายใจ /upasakas-ranjuan/2023-11-06-04-14-26.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
ชุด
ธรรมสนทนา ชุด 108 คำถาม
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ผู้ดำเนินรายการ: วันนี้เราจะไปดูเรื่องของการฝึกลมหายใจกันนะครับ แล้วก็ถ้าหากว่าฝึกไปฝึกมา รู้สึกง่วงจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ก็ไปพบกับท่านอาจารย์คุณรัญจวน อินทรกำแหงที่สวนโมกข์เพื่อฟังคำตอบกันต่อนะครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ก็เรารู้ประโยชน์ของลมหายใจยาวแรงแล้วใช่ไหมคะ  เราก็ใช้ลมหายใจยาวแรงขับไล่ความง่วง พอรู้สึกจะง่วงก็ยืดตัวขึ้น หายใจยาวแรง ลึก เอาให้ลึกที่สุดก็ได้ คือยิ่งกว่ายาวแรงธรรมดา ยาวแรง ลึก จะไล่ความง่วง จะไล่ความเหนื่อย ไล่ความหิว ข้อสำคัญอย่าขี้เกียจ แม้แต่จะให้หายใจยาวแรงก็ขี้เกียจแล้วจะทำอะไรนี่ จะไปทำอะไรได้ เพียงแค่นี้ยังทำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นก็ให้นึกดูเถิดว่าอะไรคืออุปสรรคของการพัฒนาชีวิตของคนเรา คือความขี้เกียจ และความขี้เกียจนี่คือ ลักษณะของความเห็นแก่ตัวอย่างน่ากลัวอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าไม่แก้แล้วละก็ ชีวิตที่สมบูรณ์อย่าไปหวังเลยว่าจะได้พบ

    ผู้ดำเนินรายการ:  เรียกว่าแม้แต่ตัวเราเอง เรายังขี้เกียจตัวเราเองเลย

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ก็ใช่ เพราะฉะนั้นการที่จะทำสมาธินี่นะคะ สิ่งแรกโดยเฉพาะในหมวดที่1 นี่ ในตอนต้นก็บอกได้เลยว่าไม่จำเป็นต้องหลับตา นั่งลืมตา เพราะว่าเรายังไม่พร้อมนี่ใจเรายังไม่พร้อมที่ทำสมาธิ นั่งลืมตา แต่ว่าอย่าลืมมองไปไกล ให้เรามองต่ำๆ ประมาณซักหน้าตักอยู่อย่างนี้นะคะ คือตานี่หลุบต่ำเพื่อจะหลีกเลี่ยงที่จะไปกระทบกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ นั่นอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็บอกได้ว่าในขณะที่เรากำลังศึกษาเรื่องของลมหายใจทุกอย่างทุกชนิด เรากำลังศึกษา เพื่อทำความรู้ทำความรู้จักกับเรื่องของลมหายใจ เพราะฉะนั้นตอนนี้อย่าพึ่งหวังว่าจะสงบ  ยังไม่เอาความสงบ แต่เราจะเอาความรู้ เพื่อให้รู้ว่าลมหายใจยาวนี่มีกี่อย่างกี่ชนิด  แต่ละอย่างมีลักษณะธรรมชาติอย่างไร แล้วก็ปรุงแต่งกายอย่างไร แล้วก็มีอิทธิพลหรือประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อย่างไร  ฉะนั้นในขณะที่ทำการศึกษานี่ เราจะต้องจิตใจตื่น คือตื่นแล้วก็ว่องไว มันจึงจะรับรู้  เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดว่าทำไมถึงไม่สงบ  ยังไม่ต้องสงบ แล้วก็จะสงบเมื่อไหร่จะบอก

    เพราะฉะนั้น ขั้นนี้ยังไม่ต้องสงบ ทำการศึกษาเรื่องของลมหายใจ ทีนี้ลมหายใจยาว ยาวแรง แล้วก็ยาวลึก แล้วคำว่ายาว ยาวนี่ถ้าจะมาถามว่ายาวสักแค่ไหน

    ผู้ดำเนินรายการ: ครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ไม่จำเป็นที่จะ

    ผู้ดำเนินรายการ: ถึงช่องท้อง

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ค่ะ คือบางคน ถ้าเขายาวลึกเขาลงไปได้ถึงช่องท้อง ถึงสะดืออะไรอย่างนี้ แต่ทีนี้สำหรับเราแต่ละคนนี่ ความยาวของระยะ ความยาวของลมหายใจยาวของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจจะยาวอยู่แค่นี้ บางคนอาจจะแค่นี้  บางคนอาจจะแค่นี้ ยิ่งใครที่เป็นคนคิดมากขี้วิตกขี้กังวลนะ มันจะอึดอัดอยู่ข้างในพอดีลมหายใจมันติดอยู่แค่นี้   เพราะฉะนั้นการมาฝึกอานาปานสติจะช่วยด้วย  จะช่วยให้ขยายลมหายใจที่มันสั้นๆ หรือยาวก็ยาวอย่างสั้นๆ ทำให้มันไม่ทะลุปรุโปร่งอะไรไปนี่  มันจะค่อยๆ เป็นลมหายใจที่ผ่อนคลายมากขึ้นทีละน้อย ละน้อยๆ  เพราะฉะนั้นการศึกษาอานาปานสติในหมวดที่1 นี่ ขั้นแรกก็แนะนำได้ว่า ไม่ต้องหลับตา แล้วก็อันที่2 ก็ยังไม่ต้องหวังว่าจะต้องสงบ แต่ต้องตั้งใจที่จะศึกษาให้รู้เรื่องของลมหายใจทุกอย่างทุกชนิด ก็หายใจยาว ยาวแรง แล้วก็ลองยาวแรงลึก ยาวแรงแล้วก็ยาวแรงลึก  แล้วก็บอกตัวเองสิว่ามันต่างกันยังไง ลองดูสิ  ยาวแรงก่อน   นี่ยาวแรง  ทีนี้ยาวแรงลึก นะคะ  จะเห็นไหมว่ายาวแรงลึกเราจะต้องนั่งตัวตรงเชียว แล้วเราก็จะต้องยืดตัว เรียกว่ามีเท่าไหร่สูดให้เต็มปอด ให้เต็มปอด ยาวแรงลึก เหมือนกับมันจะล้างอะไรที่มันมาค้างคาขัดขวาง เกลี้ยง ยาวแรงลึก เกลี้ยง แต่มันก็อาจจะเหนื่อย อาจจะเหนื่อยมากกว่าธรรมดาหน่อย

    ผู้ดำเนินรายการ: รู้สึกจะใช้แรงมากกว่า

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ใช้แรงมาก ทีนี้ พอเรา มันเหนื่อย ใช้แรง แต่เรารู้ประโยชน์ลักษณะของมันแล้ว ทีนี้เราก็ปรับของเราเองสิ เราปรับเพื่อพักผ่อน ก็ปรับมาหายใจเป็นอะไร

    ผู้ดำเนินรายการ: สั้นครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: หายใจยาวช้าๆ ยาวช้าๆ เราก็หายใจยาวช้าๆ ธรรมดา คือเริ่มจากหายใจยาวแรง เอาลองยาวแรงก่อน  ทีนี้ยาวลึก  ทีนี้ยาวธรรมดาสบายๆ  มันก็เป็นการ

    ผู้ดำเนินรายการ: อันสุดท้ายสบายที่สุด

     อุบาสิกา คุณรัญจวน:  มันก็ปรับกัน มันก็ปรับสบายกันไปในตัวอย่างนี้  นี่ก็เรียกว่าเราค่อยๆ รู้วิธีที่เราจะใช้ ลมหายใจเพื่อให้เกิดประโยชน์ ตอนไหนจะหายใจอย่างไร  ส่วนลมหายใจช้าๆ สบายๆ นี่ ก็เป็นลมหายใจที่ เรามักจะใช้ประจำวัน ในขณะที่จิตใจของเราไม่มีอารมณ์อะไรมากระทบ ใช่ไหมคะ  ถ้ามีอารมณ์อะไรมากระทบมันจะเปลี่ยนแปลงไปเอง แล้วเราก็จะใช้แก้  ถ้ามากระทบเราก็จะใช้แก้ด้วยลมหายใจอะไร

    ผู้ดำเนินรายการ: ยาวลึก

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ยาวแรง ก็ได้ ยาวลึกก็ได้ เราก็แก้มันออกไป แล้วเสร็จแล้วก็ปรับให้ลมหายใจนั้นยาวตามสบาย  นี่ก็พูดถึงว่าขั้นที่1 ของหมวดอานาปานสติ หมวดที่1 นี้ก็คือการทำความรู้จักกับลมหายใจยาว อย่างที่ว่าแล้ว เวลานี้ก็พูดสั้นๆ แค่3อย่าง  ก็ลองไปฝึกเองยังมีอีกเยอะอีกหลายอย่าง

    ผู้ดำเนินรายการ: ท่านผู้ชมได้รู้ถึงเรื่องของการฝึกลมหายใจยาว ลึก นะครับว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างแล้ว เรื่องของการฝึกลมหายใจในวิธีอานาปานสตินะครับ นอกจากลมหายใจยาวแล้ว ยังมีลมหายใจสั้นด้วยนะครับ เราจะไปดูว่าลมหายใจสั้นนั้น คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและโทษของมันคืออย่างไร กับท่านอาจารย์คุณรัญจวน อินทรกำแหงกันต่อนะครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ทีนี้เราก็มาศึกษาลมหายใจสั้น ซึ่งลมหายใจสั้นนี่ก็ ก็แน่นอน เรารู้กันด้วยขนาด พอหายใจเข้ามันก็มีระยะที่สั้นกว่าลมหายใจยาวที่มันเคลื่อนไหวเข้าภายใน ทีนี้ก็สำหรับลมหายใจสั้นนี่ส่วนมากก็มักจะพูดกันว่า มันไม่เห็นค่อยมีประโยชน์อะไรเลย  เพราะว่าลมหายใจสั้นนี้มัน มักจะทำให้เหนื่อย มันปรุงแต่งกายให้เหนื่อย  ให้หนัก  ให้หอบอะไรอย่างนี้เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะศึกษาให้รู้จักเรื่องของลมหายใจสั้น เช่นสั้นแรง หรือว่าสั้นเบาๆ หรือว่าบางทีก็สั้นกระชั้นถี่ อะไรทำนองอย่างนี้  ให้รู้ว่าเมื่อไรลมหายใจสั้นอย่างไหนมันเกิดขึ้น แล้วเมื่อมันเกิดขึ้นนี่ มันแสดงสัญญาณอะไร  บางทีมันเกิดขึ้นเองโดยเราไม่ได้ตั้งใจให้เกิด อย่างลมหายใจสั้นอย่างนี้ สั้นมากๆ มันเกิดเมื่อไหร่

    ผู้ดำเนินรายการ: เวลาหอบเหนื่อย

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: เมื่อเวลาหอบเหนื่อย เพราะวิ่ง หรือว่าเดินเร็วเกินไป เดินนานเกินไป หรือเพราะ

    ผู้ดำเนินรายการ: โกรธจัด

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: โกรธจัด พอโกรธเข้ามันหายใจไม่ทัน อย่างที่บอก โกรธจนหายใจไม่ทัน พูดหายใจหายคอไม่ทัน อย่างนี้มันก็ทำให้เกิดลมหายใจสั้น ซึ่งพอลมหายใจแบบนี้เกิดขึ้น ประโยชน์ของการศึกษาก็คือว่า พอลมหายใจแบบนี้เกิดขึ้น เราจะรู้ด้วยสติ ระวังนะระวัง นี่มันจะเป็นสัญญาณบอกแล้วว่า

    ผู้ดำเนินรายการ: สัญญาณเตือนภัยแล้ว

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: สัญญาณเตือนภัยว่าอารมณ์ร้ายกำลังจะเกิด พออารมณ์ร้ายเกิด ความมีเหตุผลมันก็ไม่มี เพราะว่ามันขาดสติ  เราก็จะต้องแก้ไข คือเรารู้จักศึกษาลมหายใจนี่ เพื่อจะรู้จักประโยชน์ของมัน และก็รู้จักที่จะนำมันมาแก้ไขในปัญหานั้น  เพราะฉะนั้นวิธีแก้ไขเราก็จะต้องพยายามเปลี่ยนจากลมหายใจสั้นให้เป็นอะไร

    ผู้ดำเนินรายการ: ลมหายใจยาว

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจที่สั้นนั้น ให้มันยาวออก ยาวออกไปทีละน้อยๆ  ถ้าไม่มีสติพอที่จะทำอย่างนั้นได้ ทีละน้อย เพราะ เหมือนอย่างว่าแหมมันกำลังโกรธแรงเหลือเกิน จะมามัวผ่อนอยู่ไม่ทันแล้วมันพร้อมที่จะออกไปแล้วนะ เราก็หายใจยาว แรง ลึก เอาเลย พรวดเดียว ไล่มันออกไปเลยแล้วถึงค่อยๆ ผ่อนมันมาเป็นลมหายใจยาวช้าๆ ใหม่  นี่ก็คือจุดประสงค์ของที่ว่า ทำไมจึงต้องรู้เรื่องของลมหายใจยาวทุกอย่างทุกชนิด  แล้วก็รู้เรื่องของลมหายใจสั้นทุกอย่างทุกชนิดเท่าที่เราสามารถจะเลือกได้ แล้วเสร็จแล้วขั้นที่3 ของหมวดที่1 นี่ก็ศึกษาลมหายใจทั้งยาวทั้งสั้น สลับกันไปให้ทุกอย่างทุกชนิดแหละ เรียกว่าให้ช่ำชอง  เหมือนอย่างกะเราเริ่มหัดขับรถ  เราก็จะขับทั้งตรอกทั้งซอย ทั้งทางแคบทั้งสะพานสูง อะไรต่ออะไรต่างๆ เพื่อให้มีความชำนาญ ในการที่จะใช้เครื่องมือในรถ  นี่ก็เหมือนกัน  ในขั้นที่3 นี่ก็เราจะฝึกเรื่องของลมหายใจ คือเดี๋ยวก็ตามยาว เดี๋ยวก็ตามสั้น เดี๋ยวก็ยาวแรง เดี๋ยวก็สั้นแรง หรือว่าสั้นเบาอะไรอย่างนี้ เปลี่ยนกันไปเรื่อย จนเราแม่นยำ แล้วก็ชัดใจว่า อ๋อ ลมหายใจนี่ที่เขาบอกเป็นกายสังขาร คือปรุงแต่งกายมันอย่างนี้เอง มันอย่างนี้เอง

    ผู้ดำเนินรายการ: ใช้เวลาสัก 3เดือน อยู่ไหมครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: อย่า อย่าถามเรื่องเวลา บางคนปีหนึ่งยังไม่อยู่เลย

    ผู้ดำเนินรายการ: ครับ

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: บางคนอาจจะนานกว่านั้น ทำไมละ มันขึ้นกับอะไร

    ผู้ดำเนินรายการ: การฝึก

    อุบาสิกา คุณรัญจวน: การฝึก ฝึกทุกขณะหรือเปล่า ทุกขณะคือทุกเวลาหรือเปล่า หรือว่าอาทิตย์หนึ่งมาฮืดสักทีหนึ่ง ถ้าอย่างนี้ละก็ ต่อให้ 5 ปีมันก็มองไม่เห็น  ไม่เห็นอะไร แต่ถ้าหากเราฝึกทุกอิริยาบถไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเวลานี่กำหนดไม่ได้ มันขึ้นอยู่กับอิทธิบาท  อิทธิบาท 4 ของแต่ละคน ว่าจะมีอุตสาหะ วิริยะ มากน้อยแค่ไหน ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น แม้แต่ขั้น 1 เฉพาะลมหายใจยาวอาจจะใช้เวลาตั้งนานเลย พอจะรู้ โดยเฉพาะขั้นที่3 นี่ถือว่าเป็นตัวปฏิบัติ  เป็นตัวปฏิบัติของหมวดที่ 1 ที่จะต้องศึกษาอย่างชนิดสลับกันไปสลับกันมาอย่าง ว่าจนไม่หลง สามารถที่จะรู้จักมันชัดเจน  ทีนี้พอมาถึงขั้นที่4 ของหมวดที่ 1 คือเป็นขั้นสุดท้าย ตอนนี้เป็นตอนที่จะทดสอบแล้วว่า ที่เราฝึกมาตั้งแต่ตามลมหายใจยาวขั้นที่ 1 ตามลมหายใจสั้น ขั้นที่2 แล้วก็ตามลมหายใจทุกอย่างทุกชนิด ทั้งยาว สั้น จนรู้ชัดว่ามันปรุงแต่งกายอย่างนี้มีประโยชน์อย่างนี้ อิทธิพลอย่างนี้  ทีนี้ก็ฝึกควบคุมมัน ควบคุมลมหายใจทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นยาวเป็นสั้นชนิดใด  ให้เป็นลมหายใจที่สงบระงับ

    ผู้ดำเนินรายการ: ครับ ซึ่งต้องไว้คราวหน้าแล้ว

    อุบาสิกา คุณรัญจวน:สงบระงับ  ให้เยือกเย็น ผ่องใสจนกระทั่งจิตรวมนิ่งเป็นสมาธิ ตอนนี้ละก็ ตามันหลับเอง  พอจิตสงบตามันหลับเอง

                 

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service