แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ผู้ดำเนินรายการ : ท่านเจ้าคุณรัญจวน ได้แนะพวกเราถึง เรื่องของ อานาปานสติ ก็มี สี่หมวดนะครับ หมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต แล้วก็หมวดปัญญา แล้วท่านก็ได้อธิบายถึง เรื่องของหมวดกายว่า กายลมที่เราฝึกที่ลมหายใจสั้น หายใจยาว อะไรต่างๆ มาถึงหมวดเวทนา เวทนา เป็นเรื่องของความรู้สึกสุข ทุกข์ที่อยู่ในใจ และที่พวกเรายึดมั่นถือมั่นก็เรื่องของ สุขเวทนา นะครับ หรือก็เวทนาที่เกิดจากความรักนั่นน่ะครับ เราจะไปฟังท่านอาจารย์เจ้าคุณรัญจรแนะนำต่อนะครับว่า เราจะพิจารณาเรื่องของความรู้สึกเวทนาอย่างไรนะครับ เพื่อที่จะให้เราได้เข้าใจถึงเรื่องของเวทนามากยิ่งขึ้นนะครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็หมายความว่า เวทนานี่ คือความรู้สึกสุข ทุกข์ ที่มันเกิดขึ้นในใจ แล้วก็ ชอบไม่ชอบ ทีนี้ละเราพูดถึงเรื่องสุขเวทนา คือเราเน้นว่า น่าจะศึกษาเรื่องของสุขเวทนานี่ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะคนเรามักจะติดสุข ติดสุขเวทนา ทีนี้ สุขเวทนานี้ คือความสุขนี่ มันอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง บางคนก็มีสุขเพราะความรัก ได้ความรักสมหวัง บางคนก็มีสุขเพราะได้สำเร็จ ได้มีความสำเร็จ บางคนก็มีความสุขเพราะได้ตำแหน่งการงานที่ต้องการ อย่างนี้เป็นต้น ทีนี้ที่เราศึกษาแต่ละอย่างจะเห็นว่า มันไม่เหมือนกัน เช่น ความสุขจากความรักนี่ มันรู้สึกมีความอบอุ่น ในจิตใจมีความอบอุ่น มันไม่มีความรู้สึกว่าขาด ไม่มีความรู้สึกว่า ว้าเหว่ รู้สึกว่า โลกทั้งโลกเป็นของเรา เพราะว่าเรามีใครซักคนหนึ่ง อยู่เคียงข้างเรา เราคิด แล้วก็คิดเอาว่า คนๆนี้จะต้องอยู่กับเราจนตาย ทำนองอยางนี้ นี่เพราะไม่รู้กฏของธรรมชาติ ไม่รู้จักกฏของธรรมชาติ แล้วผลที่สุดแล้ว ก็อกหักไป บางทีอกหักไม่ใช่ว่าคนนั้นเขาไม่ดี แต่เพราะว่ากฏของธรรมชาติ คนเรามันอยู่ตลอดไม่ได้ คนเรามันต้องตาย บางทีก็เกิดตายเกิดอุบัติเหตุ ก็ทำให้ไม่ได้เตรียมใจเอาไว้ มันก็ถึงกับผิดหวังเอาอย่างมากมาย อะไรอย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้นความสุขเพราะความรักนี่เป็นความสุขที่ทำให้คนติดอกติดใจมาก แล้วก็ทำไมถึงติดอกติดใจมาก ก็เพราะว่าในจิตใจของคนนี่มีความกลัวอยู่อย่างคือ กลัวความเหงา กลัวความเหงา กลัวความหว้าเหว่ แล้วก็จะมีกันเกือบทุกคนน่ะ เพราะนั้น ความเหงา ความหว่าเหว่เนี่ย พอมันเกิดขึ้นในใจก็ต้องหาความชดเชย หาสิ่งชดเชย แล้วก็ส่วนมาก ก็มักจะชดเชยกันด้วยการหาใครซักคนหนึ่ง ที่คิดว่าจะเป็นคนที่แก้ไขความเหงา ความหว้าเหว่ได้ ซึ่งถ้าหากประกอบเหตุปัจจัย ด้วยสติปัญญาของการแสวงหาก็อาจจะพบ พบคนที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้าหากว่าต้องการแสวงหาเพื่อชดเชยอะไรก็ได้ ของให้ชดเชย มันก็กลายเป็นชดเชยที่จะเป็นทุกข์ตามมาในภายหลัง
ก็เพราะนั้น สุขเวทนาท่านจึงบอกว่าให้ศึกษาให้มากๆ ให้ศึกษาเห็นชัด ให้ชัดเจน จนผลที่สุดเห็นว่ามันเป็นเพียง มายา เท่านั้น พอเราเห็นว่ามันเป็นเพียงมายา เท่านั้นแล้วละก็ เราก็จะรู้ว่า อ้อ รักมันก็เป็นเพียงสิ่งสักแต่ว่ารัก รักก็รักเหอะ ก็ทำหน้าที่ของความเป็นคู่รัก ทำหน้าที่ของความเป็นคนรัก หรือความเป็นสามี ความเป็นภรรยาที่รักกัน ที่ถูกต้องตามหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นของฉัน เพราะว่าขณะใดที่ยึดมั่นน่ะเอามาเป็นของฉันนี่ มันจะมีความวิตกกังวล ความหวงแหน แล้วก็ความที่จะต้องป้องกันรักษายึดเอาไว้เป็นของฉันคนเดียว แล้วตลอดเวลาก็มีแต่ความเครียด ก็กลัวมันจะสูญหายไป
ผู้ดำเนินรายการ : สามีของฉัน ภรรยาของฉันนี่
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ใช่ๆ ลูกรักของฉัน อะไรๆ ก็ของฉัน เพราะนั้นอันนี้ จึงควรจะศึกษาให้ถี่ถ้วน จนผลที่สุดจะเห็นว่า สุขเวทนาที่ไม่ว่าจะเกิดจากอะไรๆ มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุ ตามปัจจัยของกฏธรรมชาติ ทีนี้ก็จะได้ไม่หลงไหลในสุขเวทนา แล้วก็เห็นว่าสุขเวทนาก็สักแต่ว่าสุขเวทนา แล้วผลที่สุดก็ มารู้จักมันจริงแล้ว เห็นความเป็นมายาของมัน ก็ควบคุมมันให้สงบให้ระงับ ด้วยอะไร
ผู้ดำเนินรายการ : ด้วยลมหายใจ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ด้วยลมหายใจ นี่เราถึงต้องมาฝึกหมวดที่หนึ่ง เอาให้เก่ง เอาให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง มิฉะนั้นเราจะใช้เป็นเครื่องมือไม่ได้ พอเราฝึกควบคุมฝึกลมหายใจ เอาลมหายใจมาควบคุม จนกระทั่งเวทนาสงบระงับ ในเรื่องของสุขเวทนาแล้ว ทีนี้ก็มาถึง ขั้นที่สาม ของหมวดที่สอง ก็ศึกษาเวทนาทุกอย่างทุกชนิดเลยตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นทุกขเวทนา ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา ศึกษาให้มันทุกอย่าง เหมือนอย่างที่เราศึกษาเรื่องของลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ทุกอย่าง ทุกชนิด ในหมวดที่หนึ่ง นั่นน่ะ ฉะนั้นในหมวดนี้ เราก็ศึกษาเรื่องของเวทนาทุกอย่างทุกชนิดให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง จนกระทั่งเราเห็นว่า ไม่ว่าเวทนาชนิดไหนมันก็เหมือนกับอะไร เหมือนกับสิ่งสักว่าเช่นนั้นเอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เห็นที่มันชัดเจน มันอยู่ได้ มันอยู่จริงซักอย่างเดียว พอมองเห็นชัดในความเป็นมายาของเวทนาแล้ว มันเป็นเพียงสิ่งสักว่า แล้วก็จิตใจมันก็ค่อยๆ มองเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปเป็นทาสของเวทนา แล้วก็ควบคุมเวทนานั้นให้สงบระงับ นี่ก็เป็น เรื่องของขั้นที่ สี่ ของเวทนา
ก็ควบคุมเวทนาทุกอย่างให้จิตสงบระงับ นั่นก็คือหมายความว่า ให้จิตนั้นอยู่ในความเป็นสมาธิอีก เหมือนอย่างขั้นที่ สี่ ของหมวดที่ หนึ่ง ที่เราควบคุมลมหายใจ ให้สงบระงับ ตอนนี้เราก็ควบคุมเวทนาทุกอย่างให้สงบระงับ แล้วทีนี้จิตก็ตั้งอยู่ในความสมาธิ แล้วก็มีปัญญาขึ้นมาน้อยๆ ปัญญาน้อยๆ นี่คืออะไร คือปัญญารู้ว่าอ๋อ มันเป็นเพียงสิ่งสักว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เท่านั้นเอง ถ้าทำได้ก็ จิตนั้นก็จะมีแต่ความสุขสงบเยือกเย็นผ่องใส
ผู้ดำเนินรายการ : ท่านผู้ชมครับเรื่องของหมวดเวทนานี่ ถ้าหากว่าเราได้พิจารณาเรื่องต่างๆ เรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเราจนถึงขั้นที่มีความรู้สึกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นเพียงสิ่งสักว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะตกเป็นทาสของเวทนานะครับ เมื่อพิจารณาในถึงขั้นนั้นแล้ว จิตของเราก็จะสงบระงับ แล้วก็จิตจะตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ นี่เป็นขั้นของหมวดเวทนานะครับ เมื่อถัดจากหมวดของเวทนา ก็ถึงหมวดของจิต ในการพิจารณาจิตนั้นนะครับ พูดถึง ตัวจิตเป็นนามธรรมนะครับ จับต้องไม่ได้ ถ้าจับต้องไม่ได้ ฉะนั้นเราจะศึกษาจิต พิจารณาเรื่องของจิต ได้อย่างไร ศึกษาธรรมชาติของจิตกันอย่างไร คงไปฟังรายละเอียดจากท่านอาจารย์รัญจวนกันต่อนะครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ในการที่เราพิจารณาจิตในหมวดที่สาม นี่นะคะ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะว่าเรื่องของจิตนั้น จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูป ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เพราะฉะนั้นพอบอกว่า เราจะมาฝึกสมาธิ เพื่อพัฒนาจิต ทุกคนจะมีความสงสัย ว่าจิตคืออะไร แล้วก็จิตนั้นอยู่ทีไหน เพราะฉะนั้นเมื่อจิตไม่มีตัวตนนั้น เราก็จะบอกได้ว่า จิตคือสิ่งที่ไม่มีตัวตนก็จริง แต่มันสามารถรู้สึกได้ แล้วก็รู้จำได้ รู้นึกคิดได้ แล้วก็รู้จักได้ นี่เป็นเรื่องของจิต เพราะนั้นเราจึงต้องศึกษาสิ่งแรกในหมวดที่สาม ก็คือ ศึกษาธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตเพื่อจะรู้ว่าจิตนี้มีลักษณะธรรมชาติเป็นอย่างไร เรามักจะคิดว่าจิตของเรานั้นดี เป็นจิตของคนใจดี เป็นคนจิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นจิตที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น ไม่เห็นแก่ตัว แต่พอเรามาศึกษาเรื่องของจิตของเราจริงๆ ย้อนดูเข้าไปข้างใน ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ เราจะพบว่า บางทีเราก็ใจดำ บางทีเราก็หวง บางทีเราก็ไม่ยอมแบ่ง บางทีเราก็เป็นคนเห็นแก่ตัว ถ้าเราจะยอมรับอย่างตรงไปตรงมา เราจะพบว่า จิตเราไม่ได้ดีอย่างที่เราคิด แล้วก็เราก็ต้องรู้ว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะพัฒนาจิตของเราอย่างไร จิตนี้จึงจะเป็นจิตที่เจริญยิ่งขึ้นนะคะ
นอกจากนั้นถ้าสมมุติว่า ศึกษาเรื่องของจิต แล้วแน่ใจว่าจิตนี้ดีแล้ว สงบแล้ว เยือกเย็นผ่องใสแล้ว ท่านก็บอกว่า ให้ดูต่อไปอีกว่า แล้วจริงๆ แล้วนี่ จิตนี้ยังจะพัฒนาให้สงบยิ่งกว่านี้ได้อีกมั้ย ให้เป็นจิตที่เป็นสมาธิหนักแน่นมั่นคง ยิ่งกว่านี้ได้อีกมั้ย ให้เป็นจิตที่ใหญ่กว้าง ยิ่งกว่านี้ได้อีกมั้ย จิตใหญ่กว้างเป็นจิตประเสริฐ ก็เป็นจิตที่ไม่เห็นแก่ตัว เป็นจิตที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตากรุณาปราณี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างไม่เลือกหน้า นี่คือขั้นที่หนึ่ง
ผู้ดำเนินรายการ : แล้วเราจะรู้ได้ตอนไหนว่าจิตเราเห็นแก่ตัว จิตเรามีเมตตา ตอนไหนเราเห็นแก่ตัว
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ตอนไหนเราเมตตาเหรอคะ เราอาจจะศึกษาได้สองอย่าง อย่างหนึ่งก็คือศึกษาจากจิตปัจจุบัน แต่ทีนี้จิตปัจจุบัน มันอยู่ในสมาธินี้มันก็มักจะเป็นจิตที่สงบ เราอาจจะมองยาก ที่จะไม่เห็นความเห็นแก่ตัว แต่ถ้าขณะใดที่ ขณะที่เรากำลังนั่งสมาธิศึกษาเรื่องของจิตนั่น แล้วมีอะไรมากระทบผ่านข้างนอกแล้วเราก็รู้สึกขัดใจ ไม่ชอบ แล้วก็อย่างจะไล่สิ่งนั้นให้ออกไปเร็วๆ นั่นแหละ เรากำลังเห็นแก่ตัวของเราแล้ว แล้วในขณะนั้นจิตนั้นไม่ได้อยู่ในการปฏิบัติ ฉะนั้นถ้าหากว่าเราจะศึกษาในปัจจุบันก็อาจจะดูสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในขณะนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งก็อาจจะนำเอาประสบการณ์ที่ผ่านมา เพราะว่าจิตที่กำลังเป็นสมาธิ ก็จะเป็นจิตที่พร้อมอยู่ด้วยสติ แล้วก็จะมีปัญญาอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง ก็จะดึงเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการกระทำที่แล้วเนี่ย ก็ลองดูซิว่า การกระทำใดๆ บ้างที่เราได้ทำไป มันเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว มันเป็นการกระทำที่ใจดำ แล้วก็เป็นการกระทำที่ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่แบ่งปัน มิหนำซ้ำ ยังจะเบียดเบียนคนอื่นอีก
ถ้าเราศึกษาด้วยจิตใจที่ยุติธรรมเราจะรู้ เพราะว่าคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติรรมที่สำคัญที่สุดนะคะ ก็คือความซี่อตรง แล้วความซื่อตรงอันนี้คือความซี่อตรงต่อตัวเอง ไม่ใช่ซื่อตรงต่อคนอื่น ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติธรรมผู้ใดไม่มีความซื่อตรงต่อตนเอง จะไม่สามารถมีความเจริญในการปฏิบัติธรรมได้ ก็จะหลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจากการที่เรามีความซื่อตรงต่อตัวเอง เราจะรู้จักจิตของเราเอง แล้วผลที่สุดเราจะรู้ว่าจิตนี้มีอะไรเป็นข้อบกพร่อง จิตนี้มีจุดอ่อนอย่างไร มีจุดแข็งอย่างไร มีสิ่งใดที่ควรจะต้องควรพัฒนาแก้ไข เราก็กำหนดเอาไว้ด้วยสติ และปัญญา เสร็จแล้วเราก็ค่อยๆ ขัดเกลาไป จนกระทั่งมันสามารถ ค่อยๆ อยู่เหนือสิ่งที่เป็นความโลภ ความโกธร ความหลง หรือความอยาก หรือความยึดมั่นถือมั่น ไปทีละน้อยๆ ไปตามกำลังแห่งการปฏิบัติ
ทีนี้พอหมดขั้นที่หนึ่งแล้ว นะคะ คือรู้เรื่องของจิตทุกแง่ทุกมุมแล้ว ก็ถึงตอนที่เรียกว่า จะทดสอบกำลังจิต ฉะนั้นที่บอกว่าการปฏิบัติสมาธิเนี่ย แล้วก็จะทำให้มีพลังจิตมั้ย หมวดที่สามเนี่ยล่ะค่ะที่จะเป็นหมวดที่จะบอกว่า มี ถ้าหากว่าเราได้ปฏิบัติตั้งแต่หมวดที่หนึ่ง หมวดที่สอง มาแปดขั้นอย่างถี่ถ้วน แล้วต่อเนื่อง แล้วก็จริงจัง หมวดที่สามในขั้นที่สอง สาม สี่ จะเป็นขั้นที่ทดสอบพลังจิต เพื่อจะดูว่าพลังจิตของเราในการที่จะควบคุมจิตเอง สามารถควบคุมได้เพียงใด
ผู้ดำเนินรายการ : ซึ่งน่าสนใจอีกหนึ่ง
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ค่ะ แล้วเราจะได้พูดถึงต่อไปในคราวหน้า
ผู้ดำเนินรายการ : ท่านผู้ชมครับคุณสมบัติของผู้ที่ฝึกสมาธิคือเราจะต้องซื่อตรงต่อตัวเราเองในการฝึกฝนจิตใจ เราจึงพิจารณาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน นี่เป็นคำแนะนำจากท่านอาจารย์รัญจวนนะครับ