แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ผู้ดำเนินรายการ : ในกรณีที่ทํางานเต็มความสามารถ อย่างดีเยี่ยม ผู้ร่วมงานทุกคนเป็นผู้บอก จนเคยได้รับการพิจารณาเป็นข้าราชการดีเด่นของสถานที่ทํางาน และในปีนั้นการพิจารณาสองขั้นก็เสนอชื่อไปแล้ว แต่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคนอื่นจากเจ้านายระดับสูงกว่า ถามว่าลักษณะเช่นนี้จะอธิบายด้วยกฎแห่งกรรมได้อย่างไร
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็ยัง กฎอิปปัจจยตา อยู่นั่นเอง ก็เพราะว่าในที่ทํางานนั้น ผู้ที่ร่วมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับผู้เหนือกว่า ยังคงดําเนินงานอย่างปราศจากธรรมะ เพราะฉะนั้น ถึงไม่ได้ถือผลของการกระทําเป็นสิ่งสําคัญ หรือเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ถ้าตามที่ว่ามานี่นะคะ ตามเหตุปัจจัยก็ควรที่จะได้ ไม่ควรที่จะมีอะไรแทรกแซง แต่ก็อย่างที่บอกแล้วว่า เรื่องของกฎอิปปัจจยตานั้น มีตัวเหตุปัจจัยที่อาจจะเข้ามาเป็นตัวแทรก ตัวแปร ได้หลายเรื่องหลายอย่างในระหว่างหนทาง นี่คือตัวอย่างที่เกิดขึ้น
ทีนี้ถ้าจะถามว่าจะแก้ไขอย่างไร การที่จะแก้ไขอย่างไรนั้น ถ้าจะแก้อย่างถึงที่สุดก็คือว่า การศึกษาที่จะต้องมีธรรมะเป็นรากฐาน แล้วคนที่ไปเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาจะได้ใช้ธรรมะในการปกครองลูกน้อง ไม่ใช้อคติ ไม่ใช้ความชอบส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้านายคนนี้ก็คงต้องเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน ก็สิ่งใดที่ฉันพูดฉันทําไปสิ่งที่ต้องถูกต้อง โดยไม่คํานึงถึงความถูกต้องที่เป็นธรรมอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นจะแก้ไขอย่างไร สําหรับส่วนตัวผู้ที่ถามนี่นะคะ ก็คือว่าถ้าเราแน่ใจในการกระทําของเรา ว่าสิ่งที่เราทําไปนั้นถูกต้อง จนกระทั่งลูกน้องก็ชมเชยแล้วยังได้รับรางวัลดีเด่น สิ่งเหล่านี้มันมีค่ายิ่งกว่าการกระทําที่ปราศจากธรรมะของเจ้านายคนนั้นอีก แล้วถ้าใครเขารู้เรื่อง ได้ยินเรื่องอันนี้ผู้ ที่ควรจะได้รับการติฉินนินทาหรือว่าดูถูกเหยียดหยามไม่ใช่เรา เรามีแต่จะได้รับความเห็นใจใช่มั้ยคะ แล้วก็จะได้รับการยกย่องเราว่า เขาเป็นคนมีขันติ เขาเป็นคนมีธรรมะ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเขาจะอยู่กับเจ้านายอย่างนี้ไม่ได้หรอก นี่มันเป็นเกียรติของชีวิตนะ ในการที่เราเป็นคนที่มีธรรมะอย่างนี้
ผู้ดำเนินรายการ : ฟังฟังดูอธิบาย คล้ายคล้ายกับให้เราปลงเสียเถอะ กับเหตุปัจจัยที่มันเกิดขึ้น เพราะมีตัวแปรเข้ามาอย่างที่ว่านี่
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็ไม่ใช่ปลงเสียเถอะ คือคําว่าปลงของจเลิศ หมายความว่าอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ : คือ ยอมรับ ยอมรับสิ่งที่มันเกิดขึ้น
อุบาสิกา คุณรัญจวน : แล้วอย่างไร
ผู้ดำเนินรายการ : เพราะว่าเราก็ไม่สามารถไปแก้ไข
อุบาสิกา คุณรัญจวน : แล้วเราหมดกําลังใจไหม
ผู้ดำเนินรายการ : ตรงนี้ที่หลายคนเกิดเป็นอยู่นี่ หมดกําลังใจ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ถ้าหากว่าคำว่าปลงของจเลิศ แล้วก็หมดกําลังใจ นี่ไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่เป็นการปลงแบบธรรมะ ถ้าจะปลงแบบธรรมะแล้วก็ หมายความว่า เราปลงเพราะเราเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง นี่แหละมันแสดงถึงธรรมชาติของมนุษย์ ที่เมื่อยังไม่ได้รับการฝึกฝนขัดเกลา มันจะเป็นไปตามสัญชาตญาณของกิเลส คือจะทําอะไร ทําตามสัญชาตญาณของกิเลสที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลา ฝึกปรือ นี่ถ้าหากเราปลงอย่าธรรมะ มันเป็นเช่นนั้นเอง นึกถึง กฎไตรลักษณ์ เห็นไหม มันเปลี่ยนแปลงได้ นี่มันไม่น่าจะเปลี่ยนเลย อนิจจัง ภายใต้กฎอนิจจัง เพราะฉะนั้นเราจะทํานายว่าต้องอย่างนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ในทุกเรื่องเลย แล้วก็เราก็เห็นทุกขัง แล้วก็เห็นความเป็นอนัตตา ที่สองขั้นนี่ควรจะต้องเป็นของเราแน่ๆ ใช่ไหม มันก็มีการเปลี่ยนแปลงตามหลัก แต่นี่ก็คือตามกฎอิปปัจจยตา
ผู้ดำเนินรายการ : ถ้าเราเข้าไปถามเจ้านายว่าทําไมเราไม่ได้ มันจะควรไหมครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ถ้าหากว่าเรามีศิลปะในการถาม และเราก็แน่ใจ เราก็แน่ใจว่าการถามนั้นนี่เป็นสิ่งที่เหมาะแก่กาลเทศะ ในจังหวะนั้น เราต้องดูด้วย ดูสัปปุริสธรรมด้วย และก็ถ้าหากว่าเราคิดว่าเรามีเหตุผลที่จะชี้แจง อย่างชนิดที่อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยอมจํานนมากกว่า เราก็น่าจะทดลอง แต่ก็ต้องรักษาความสุภาพ แล้วก็รักษาความเหมาะเจาะของถ้อยคํา กาลเทศะเอาไว้
ผู้ดำเนินรายการ : ส่วนใหญ่ทำไม่ได้
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ถ้าทําไม่ได้ก็อย่าพึ่งไปถามเขา เพราะว่ามันจะต้องเป็นปัญหาเกิดมาขึ้นเปล่าๆ ที่นี้ลองหันมาพูดถึงคําว่าปลง เราจะปลงอย่างธรรมะก็ได้ โดยเรามองเห็นอย่างนั้น มองเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ตราบใดที่กิเลสยังควบคุมใจมนุษย์ มันจะต้องมีเหตุอย่างนี้เกิดขึ้นเสมอในวงสังคม หรือวงการทํางานทุกหนทุกแห่ง ทีนี้ ถ้าเราอยากจะอยู่เย็นเป็นสุขในที่ทํางาน แล้วก็พร้อมๆ กับอยู่อย่างชนิดมีค่า เป็นคนมีค่าของความเป็นมนุษย์ เราก็คงทําหน้าที่ของเราให้ดีต่อไป เหมือนดังที่เราได้ทํามาแล้ว และนี่แหละเป็นรางวัลอันสูงสุด ยิ่งกว่า 5 ขั้นด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นเราทําไป แล้ววันหนึ่งผู้บังคับบัญชาอย่างนี้ ถ้าไม่หนาจนเกินไป จะรู้สึกขึ้นมาได้เองว่า เรานี่มันไม่ควรเลยที่จะทําอย่างนั้น แล้วก็จะเกิดความละอาย อย่างนี้ถ้าเราสามารถทําได้อย่างถูกต้องเช่นนี้ คุณค่ามันยาว ประโยชน์ที่มันจะเกิดขึ้นมันยาว มันไม่มาขาดในระยะสั้น นี่คือเป็นการปลงอย่างธรรมะ ไม่ใช่ปลงด้วยกิเลส
ผู้ดำเนินรายการ : ถ้าทําดีแล้วไม่ได้ดี คือไม่ได้สองขั้นตอบแทนก็น้อยใจ แล้วก็มีความรู้สึกว่า ก็ไม่รู้จะทําไปทำไม ปีหน้าการงานก็จะไม่ทําแล้ว ก็คนอื่นได้ก็ได้ไป เจ้านายให้ใครก็ให้ไป รู้สึกน้อยอกน้อยใจ ก็พร่ำรําพันต่างๆ จะมีวิธีใดปลอบใจบ้างไหมครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เท่าที่รำพันมานี่ ใครเป็นผู้แพ้ ใครเป็นผู้ชนะ
ผู้ดำเนินรายการ : เรา ผู้ถามแพ้
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็นั่นสิ แล้วเกิดมาเราอยากจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะ
ผู้ดำเนินรายการ : เราอยากชนะ แต่เราแพ้ ทําอะไรเขาก็ไม่ได้ เขาใหญ่กว่า
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เปล่า นี่เข้าใจความความหมายของคําว่าแพ้ และชนะ ยังไม่ถูก นั่นมันแพ้ตามภาษาคน ตามภาษาคนภาษาทางโลก ก็คือว่าถ้าไม่ได้อะไรอย่างใจ คือผู้แพ้ แต่อันที่จริงดูไปให้ลึกๆ แล้ว เราได้หรือเปล่า
ผู้ดำเนินรายการ : เราได้
อุบาสิกา คุณรัญจวน : เราได้
ผู้ดำเนินรายการ : เพราะเราทำความดี
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ใช่เราไม่ได้ขาดทุนเลย เรากลับได้รับความยกย่อง ได้รับความเห็นใจจากเพื่อนฝูง เราได้ เราอาจจะได้มิตรสหายขึ้นมาอีกเยอะแยะเลย ทําไมไม่นึกถึงสิ่งที่เราได้ บางคนคือคนส่วนมากก็ได้ มักจะไปนึกถึงสิ่งที่ตัวเสีย แล้วเสียไปสักหน่อย คิดว่าสูญเสียมาก ทั้งๆ ที่การเสียอันนั้นนี่มันไม่ได้ทําให้เราลดอะไรไปเลย เรายังคงได้อยู่ น่าจะคิดมองในแง่นี้มากกว่า และการที่เราจะไปหมดกําลังใจจนไม่อยากทําอะไร ตอนนี้ใครเสีย
ผู้ดำเนินรายการ : เราเสีย
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็เราอีกนั่นแหละ ทั้งขึ้นทั้งล่องเลยเห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ควรที่จะปล่อยให้เราเสียอย่างนั้น เพราะถ้าเสียนี่คนที่เขาไม่ให้เรา นี่เขาพูดได้เลยใช่ไหมคะ เห็นไหมล่ะมันอย่างนี้ เราถึงให้ไม่ได้ มันก็กลายเป็นจริงอย่างเขาไปเสียอีก
ผู้ดำเนินรายการ : โดนกระหน่ำซ้ำเลย
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ใช่ค่ะ เพราะฉะนั้นไม่ควร ควรจะต้องรักษากําลังใจ ถ้าอยู่บนหลักของความถูกต้องตลอดไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แล้ววันหนึ่งเราจะเห็นผลของกฎอิปปัจจยตา ที่ไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เคยมีอคติ เรียกว่าแฟร์ กฎอิปปัจจยตานี่แฟร์ต่อทุกคน ตลอดไป
ผู้ดำเนินรายการ : แล้วทําไมหลายคนถึงอยากให้สองขั้นหนักหนา บางคนบอกว่าเลิกเสียไม่ได้หรือ
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ที่จริงน่าจะเลิก น่าจะเลิก เพราะว่าถ้าหากว่าการปฏิบัติวิธีการให้สองขั้นเช่นนี้ มันไม่ใช่เป็นการให้แก่การกระทําที่เป็นพิเศษ หรือการกระทําที่เกิดประโยชน์ที่สุด และดีที่สุด แต่เป็นการให้อย่างชนิดหมุนเวียนกันไป เพื่อรักษาหน้า รักษาน้ำใจ โดยเฉพาะก็คือรักษาเก้าอี้หัวหน้า เพราะว่าถ้าได้เวียนกันไปเขาจะได้ไม่เกลียดเรา ถ้าเราไปให้แต่คนที่ทํางานดี เดี๋ยวคนที่ทํางานไม่ดี ขี้เกียจไม่เคยได้ ก็จะมาเกลียดชังเรา นี่เห็นไหมอัตตา ความเห็นแก่ตัวของคนที่เป็นหัวหน้า เอาตัวรอดไว้ก่อน ให้เก้าอี้ฉันมั่นคงก่อน นี่เห็นไหมธรรมะมันไม่หนี มันไม่หนีเรื่องของธรรมะ นี่เป็นเห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้นจึงได้กระทําอย่างนั้น ฉะนั้นเราจึงไม่ควรที่จะไปยอมแพ้ และก็ไม่ควรที่จะเอาให้มีการให้สองขั้นด้วยเหตุผลอย่างนั้น
แต่ถ้าให้สองขั้นเหมือนอย่างในสมัยก่อน หรือไม่ต้องสมัยก่อนหรอก ตามจรรยาบรรณที่ยังคงมีปรากฏอยู่ ขอให้ถือจรรยาบรรณเป็นหลักเกณฑ์ ถือจรรยาบรรณเป็นมาตรฐาน เสร็จแล้วก็ดําเนินการตามนั้น การให้สองขั้นยังมีความหมาย แล้วก็ยังมีค่า และใครได้รับก็รู้สึกว่าเรานี่มีคุณค่าในตัวเอง ไม่ใช่ว่าถึงคราวถึงตา มันก็เหมือนกับจิ้มน่ะ จิ้มสลากอะไรไป เผอิญมันจิ้มถูก ทีนี้มันก็เลยเป็นของเรา มันไม่เห็นมีค่ามีราคา เพราะฉะนั้นการที่หน่วยงานใดก็ตาม นําการให้สองขั้นมาดําเนินด้วยวิธีนี้ ก็หมายความว่าหน่วยงานนั้น โดยเฉพาะหัวหน้างานของหน่วยนั้น กําลังลดมาตรฐาน แล้วก็ลดคุณภาพของการทํางานของหน่วยงานของตัวเอง นั่นก็คือลดประสิทธิภาพในการทํางานของคน ทําลายศักยภาพของคนในที่ทํางานของตัวเองด้วย และในที่สุดก็คือทําลายเก้าอี้ของตัวเอง
ผู้ดำเนินรายการ : ทําไมจึงไปบอกว่าเจ้านายเห็นแก่ตัวได้อย่างไร ในเมื่อก็สมมติว่าลูกน้องคนนี้โปรดปราน รับใช้ใกล้ชิด ก็ต้องให้คนนี้ จะไปให้คนอื่นได้อย่างไร
อุบาสิกา คุณรัญจวน : ก็นี่ที่เห็นแก่ตัวไง เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว แต่ไม่ได้เห็นแก่การกระทําว่าถูกต้องหรือไม่ คือเห็นแก่ตัวตนที่มองเห็นนี่ คนนี้เอาอกเอาใจรับใช้ ทั้งๆที่การรับใช้คนนี้นี่ รับใช้เฉพาะเจ้านายคนนี้คนเดียว แต่กับคนอื่นรีดนาทาเร้น เอาเปรียบเบียดเบียนสารพัด แล้วก็ให้ ก็นี่ก็เห็นแก่ตัวใช่มั้ยคะ แสดงถึงความเห็นแก่ตัวของทั้งลูกน้องคนนั้น แล้วก็ทางเจ้านายคนนั้นด้วย ซึ่งไม่ควรให้มีในวงการการงานทั้งเอกชนและทั้งทางราชการ แล้วชาติประเทศจะเจริญขึ้น
ผู้ดำเนินรายการ : ขอบพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์รัญจวน อินทรกำแหง ได้ให้คําตอบเรื่องของท่านที่มีปัญหาในการทํางาน เรื่องของสองขั้นจบไปแล้วนะครับ คิดว่าคงจะทําให้ท่านสบายใจขึ้นพอสมควรนะครับ ที่เราต้องเอาหลักของธรรมะมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของ