แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ธรรมะ สวัสดีค่ะ วันนี้จะเลิศ มีอะไรที่อยากจะถาม
จะเลิศ: วันนี้ได้เข้ามาในสวนโมกข์นานาชาติ แล้วก็รู้สึก สงบร่มเย็นดี อาจารย์บอกว่า จะให้พวกเราได้ฝึก ในสิ่งที่เราเรียนรู้มาบ้าง
อุบาสิกา คุณรัญจวน: คือที่นี่เป็นสวนโมกข์นานาชาติ อยากจะให้ทุกคนได้รู้จักว่า สวนโมกข์นานาชาตินี้เรามีขึ้นเพื่ออะไร
เรามีสวนโมกข์นานาชาติ ก็เพื่อประโยชน์ในการที่จะฝึกจิต หรือเรียกว่า ฝึกจิตตภาวนาโดยตรง เพื่อประโยชน์ทั้งเพื่อนชาวไทยและชาวต่างประเทศ เหมือนดังที่เราเห็น เรามีเพื่อนชาวต่างประเทศมาในที่นี้ ซึ่งก็เป็นที่น่าแปลกที่ว่า เพื่อนคนไทยทั้งหลายนี่ก็สนใจในการปฏิบัติทางจิต หรือการปฏิบัติทางสมาธิเหมือนกัน แต่ความสม่ำเสมอในการที่จะมานี่ ที่จะมาฝึกปฏิบัติ เราแพ้เพื่อนชาวต่างประเทศ เพื่อนชาวต่างประเทศของเราจะมาประจำทุกเดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๐ และก็มาอย่างนี้เป็นประจำเป็นเวลา หกเจ็ดปีแล้ว แล้วเจ้าประคุณท่านอาจารย์พุทธทาสก็รู้สึกว่า ที่สวนโมกข์เก่าของเราทางด้านโน้นนี่ค่อนข้างจะคับแคบ เพราะฉะนั้น ท่านก็เลยสร้างสวนโมกข์นานาชาตินี้ขึ้นมา เพื่อที่ว่าจะได้มีโอกาสให้ความสะดวกในการฝึกปฏิบัติแก่เพื่อนชาวต่างประเทศให้มากขึ้น เดือนนึง เดือนนึง ก็มากันมาก ประมาณตั้งหลายสิบคน ห้าสิบ หกสิบ เจ็ดสิบ แปดสิบ อย่างเดือนนี้ เดือนกุมภาพันธ์เดือนนี้ นี่มีเป็น คือ เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ประมาณ มกราคม กุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมีมากกว่าเดือนอื่นๆ จะมีประมาณ ร้อย หรือ ร้อยกว่าคน แล้วก็เขามากันเป็นประจำ มาด้วยความสนใจ และก็ผู้ที่มาอยู่กับเราตรงนี้ในขณะนี้ก็เป็นผู้ที่ได้มาเข้าร่วมการอบรม หรือเรียกว่า Retreat สำหรับฝรั่ง แล้วก็เรียกชื่อเป็นภาษาไทย เพื่อนที่อยู่ทางนั้นเราเรียกชื่อว่า กฤษณา และก็ที่อยู่ทางนี้เราเรียกว่า คุณมารี Maria Christina และก็เป็นผู้ได้มาฝึก I’m telling our friends about how fantastic we do establish Suanmok Na Na Chad just for the purpose to help people who are interested in practicing meditation, especially our Western friends. So, some of our friends would like to know why our Western friends are very much interested in meditation. Would you please let us know.
คุณมารี : That’s because I think there is too much material people in the West and there is actually no possibility to get out of this in the West.
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เพราะว่ามีความเจริญทางวัตถุเข้าครอบงำมนุษย์มาก แล้วเราก็เลยตกเป็นทาสของวัตถุ ไม่มีโอกาสที่จะหลุดพ้นออกมาจากอำนาจของวัตถุ ที่ครอบงำและก็ติดตามและกระตุ้นความอยากของเราได้ เขาก็จึงเลยคิดว่า ในเรื่องอันนี้นี่ บางที Meditation จะช่วยเขาได้บ้าง เขาจึงมา นี่ก็น่าคิดนะว่า เขาอยู่ในประเทศที่เจริญแล้ว ทำไมเขาจึงมา How about you Krishna ?
คุณกฤษณา : I have so many problems, going all the calm of my mind and it’s very hard to make decision, very hard to see through the soul what is really, what is reality. And I found Meditation is really calming my mind and get the opportunity to look inside what is real what am I thought, what am I feeling, and I become much more calm.
อุบาสิกา คุณรัญจวน : คุณกฤษณาบอกว่า ธรรมดานี่ความคิดมันเข้ามารบกวนจิตใจอยู่เสมอตลอดเวลา มันวิ่งวุ่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีเวลาที่จะหยุดคิด วุ่นวายในเรื่องสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะดูว่า อะไรมันคือ ความสงบ ความสงบมันจะเกิดได้อย่างไร และไอ้สิ่งที่เป็นความจริงแท้ของชีวิตนี่มันคืออะไร ไม่ได้มีโอกาสเลย
เพราะฉะนั้นการที่ได้มาทำ สมาธิวิปัสสนา อย่างนี้ก็จะมีโอกาสดูเข้าไปข้างใน คือได้มีโอกาสหยุด พักนิ่งสงบ และก็ดูเข้าไปข้างใน ก็จะได้ศึกษาว่า อะไรเป็นเหตุที่ทำให้คนเรานี่ต้องหยุดคิดไม่ได้ แล้วทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดการหยุดคิดได้ แล้วจิตจะได้มีความสงบขึ้น รู้สึกอยากจะถามอะไรเขาบ้างไหมคะ
จะเลิศ: ฝึกกี่วันครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ก็การฝึกที่นี่ เราก็จะฝึกครั้งละ ๑๐ วัน และก็ทั้ง คุณกฤษณา และคุณมารีนี่มาฝึกหลายครั้งแล้ว How many Retreats have you joined ?
คุณมารี : สามครั้ง Three
คุณกฤษณา : ประมาณห้า หรือ หกครั้ง Five or six approximately
อุบาสิกา คุณรัญจวน: Why so many ทำไมจึงมาปฏิบัติหลายครั้ง
คุณมารี: Because each time is different and you go deeper, so it’s always beneficial. And this time, for example I did not want to do this one, but I did that. And it may be the time where I have more advance in this.
อุบาสิกา คุณรัญจวน: ทุกครั้งที่มานี่ไม่เหมือนกัน ยิ่งปฏิบัติมากเท่าใด จะยิ่งมีความรู้สึกลึกซึ้งลงไปได้มากขึ้นเท่านั้น คำว่าลึกซึ้งในที่นี้ หมายความว่า ลึกซึ้งเข้าไปในจิต เหมือนอย่างคราวนี้คุณมารีบอกว่า ไม่ได้นึกว่า จะอยากมาเข้า Retreat สักเท่าไร แต่เมื่อพอมาปฏิบัติแล้วกลับรู้สึกว่าการปฏิบัติภายในนี้ก้าวหน้าไปได้มากเลย
จะเลิศ: อยากทราบของคุณกฤษณา
อุบาสิกา คุณรัญจวน: He would like to know the result of your practice.
คุณกฤษณา: When I came three months ago, my mind is running and I feel much more peaceful now, also much more secure, much more steady, much more happy, much more quiet.
อุบาสิกา คุณรัญจวน: Yes, that’s very nice. Nice answer. ดีมากเลย เป็นคำตอบที่ดี
เมื่อก่อนที่จะมาสามเดือนล่วงมาแล้วนั่น รู้สึกสมองจิตใจไม่ได้อยู่นิ่งเลย วิ่งวุ่นอยู่ตลอดเวลา นี่ตามที่คุณกฤษณาบอก และเชื่อว่าพวกเราหลายคนก็เป็นอย่างนี้ เราหยุดคิดไม่ได้ เราคิดกันอยู่เรื่อย แต่เมื่อได้มาอยู่ สงบๆ ได้นั่งพัก ได้หยุดคิด ได้มีเวลาดูไปข้างใน คุณกฤษณา ก็รู้สึกว่าจิตนั้นสงบขึ้น เยือกเย็นเป็นสุขขึ้น แล้วก็มั่นคงขึ้นและก็เป็นสุขขึ้นมากจากการที่ได้มาอยู่อย่างนี้ และก็อย่างนี้แหละถึงจะเรียกว่า ความสุขที่แท้จริงกำลังค่อยๆ เกิดขึ้น
จะเลิศ: วิเศษเลยครับ
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เมื่อรู้สึกว่า วิเศษ นึกอยากจะลองบ้างหรือเปล่า รู้สึกว่าพวกเราฟังแล้วก็คงจะรู้ว่า ถ้าเราอยากจะรู้อะไรคือสาเหตุปัญหาของชีวิต แล้วไม่มีเวลาได้นั่งหยุดคิดลึกซึ้งอย่างจริงจังเลย เราไม่มีวันจะรู้สาเหตุของมัน เพราะเราจะมองผ่านไปผ่านมาตลอดเวลา เพราะอะไร เพราะเราวุ่นอยู่กับกิจสิ่งโน้นสิ่งนี้ ตลอดจนความคิดชนิดที่เข้ามาวุ่นวายอย่างชนิดที่เรียกว่า ไร้เหตุผล มันก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราได้มีเวลามาหยุดคิด นั่งคิด และก็ใช้เวลานั้นศึกษาข้างใน นั่นแหละเราจะมองเห็นเหตุผล คือเหตุที่แท้จริง และก็จะรู้วิธีแก้ ฉะนั้นที่เราพูดกันถึงเรื่องของความรู้ที่ถูกต้อง ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิตนั้น ถ้าเราไม่สามารถที่จะมีเวลาหยุดพักจิตเพื่อใคร่ครวญคิดข้างใน เราจะไม่มีโอกาสเลย ที่จะสร้างความรู้ที่ถูกต้องให้เกิดในจิต ฉะนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือว่า จะต้องรู้จักฝึกจิตนี้ให้มีความสงบ เริ่มทำความสงบเสียก่อน เริ่มด้วยการทำจิตสงบ เพราะฉะนั้น สมาธิ คืออะไร สมาธิภาวนาคืออะไร หรือ จิตตภาวนาคืออะไร ก็คือการทำจิตให้เจริญ ถ้าจะพูดอย่างง่ายๆ คือ ทำจิตให้เจริญ คือการพัฒนาจิตให้เจริญ แต่เจริญ ในที่นี้หมายความว่า เจริญด้วยความรู้สึกของการพัฒนาที่เป็นไปในทางที่สูงขึ้น
คำว่า สูงขึ้น ในที่นี้ก็คือว่า มันสูงจากความรู้สึกหยาบๆ ความรู้สึกกระด้างที่มีอยู่ในใจ ที่ร้อนรนที่อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้เข้ามา เราจะเกิดความรู้สึกที่ละเอียดประณีตขึ้น นั่นคือการพัฒนาที่ถูกต้อง แต่เราจะสามารถทำอย่างนี้ได้ ด้วยการทำใจให้สงบ และการที่จะทำใจให้สงบนี้ ก็จำเป็นที่เราจะต้องรู้จักวิธี รู้จักวิธีที่จะใช้นั้นก็คือว่า เราจะต้องใช้อะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อมาเป็นอารมณ์ แต่เป็นอารมณ์ในการที่จะกำหนดจิต ที่จะให้จิตนี้นี่อยู่กับมันแต่สิ่งเดียว ไม่วุ่นวายไปเหมือนอย่างคุณกฤษณาว่า หรือว่าไม่รู้สึกตัวยึดมั่นถือมั่นตกเป็นทาสของสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลาเหมือนอย่าง คุณมารี ที่จะยกตัวอย่างให้ฟังเพราะฉะนั้นเราจึงจะต้องใช้วิธี ทีนี้วิธีที่เราจะใช้กันแล้วก็รู้สึกว่าได้ผลดี ก็คือ การใช้ลมหายใจ ใช้ลมหายใจนี้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นอารมณ์ในการที่จะกำหนดจิตให้อยู่กับลมหายใจนั้นน่ะให้ตลอดเวลา เหมือนอย่างที่คุณกฤษณา กับ คุณมารีได้รับการฝึกฝนอบรมมา แล้วก็ใช้อยู่ตลอดเวลา ก็คือว่า กำหนดจิตนี้ให้อยู่ที่ลมหายใจ ดึงจิตที่วิ่งวุ่นไปที่อื่นนั้นให้มาอยู่กับลมหายใจ
I’m explaining to our friends about the technique of meditation by using the breath as the object of meditation. And many people would say that it is very difficult very difficult to focus the mind on the breath. So, may I ask your opinion concerning this; do you think that is beyond possibility to doing this?
คุณกฤษณา : No, it needs patient especially, patient to yourself not to automatically get breath, Just coming back every time to the breath, you get used to it slowly, and sometimes I forget again and that’s ok as far as I remember I come back. Everyone can do it.
อุบาสิกา คุณรัญจวน: เมื่อเราใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือนะคะ หรือใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์ หลายคนที่ฝึกด้วยวิธีนี้จะบอกว่า ยาก ทำไม่ได้ แม้ว่าเราจะหายใจอยู่ประจำ แต่เราหายใจ อย่างชนิดที่เราไม่ได้สนใจกับลมหายใจ เราหายใจไปเรื่อยๆ หายใจอย่างไม่มีสติ แต่พอเราจะมากำหนดจิตให้อยู่กับลมหายใจเท่านั้น หลายคนบอกว่ายาก เพราะว่าลมหายใจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแล้วจะกำหนดให้มันอยู่ให้มันรู้ว่า ทุกขณะหายใจเข้านะ หายใจออกนะ ยากก็เลยถามเพื่อนชาวต่างประเทศของเรา ว่ายากจริงไหม และเกินความสามารถหรือเปล่า คุณกฤษณาก็บอกว่าไม่เกินความสามารถ แต่มันต้องอาศัยความอดทน patient ต้องอาศัยความอดทน อดทนต่อตัวเราเอง อดทนต่อตัวเราเอง บังคับตัวเราเองให้เป็นคนที่มีความมั่นคง อย่าหวั่นไหว อย่ายอมแพ้ง่าย เมื่อเวลาที่จิตมันเผลอไผลไปกับสิ่งอื่น กับความคิดที่เข้ามา ไม่เป็นไรดึงมันกลับเข้ามาใหม่ หมั่นอดทนฝึกฝนที่จะดึงจิตนี่กลับมาอยู่กับลมหายใจให้ได้เรื่อย ๆ แล้วไม่ช้า ก็เกิดความเคยชิน พอเกิดความเคยชินขึ้น มันจะเกิดเป็นจิตนิสัย ก็ทำไปเองโดยไม่รู้ตัว สบาย สนุกในการทำ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ต้องลองดู How about you?
คุณมารี : Yes it need a lot of effort, patient and when you put some effort in it you see already some result and then you become confident and then you’re waiting to put more effort on its own movement more and more.
อุบาสิกา คุณรัญจวน: คุณมารี ก็สนับสนุนว่าเป็นความจริง เราต้องการทั้งความพากเพียรพยายาม effort ที่จะทำแล้ว คือทำซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ว่าจะทำไม่ได้ก็อย่าท้อถอย จงทำไปเถอะ ทำไปๆ แล้วก็จะสามารถอยู่กับลมหายใจได้มาก ยิ่งขึ้นๆ แล้วคุณมารีก็บอกว่า พอเราทำไป เรารู้สึกได้รับผล คือได้รับผลมองเห็นผล ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในจิต ก็จะมีกำลังใจ มีกำลังใจเพราะมันเยือกเย็นผ่องใส โอ นี่ใช่ถูกวิธี ก็จะทำได้มากขึ้นอีกเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราจะลองดูมั้ย ถ้าลองก็ลองนั่ง We try to practice together. นั่งเหมือนกับคุณทั้งสองนั่ง เหมือนกับที่คุณมารีนั่งน่ะ นั่งขัดสมาธิ Just the way you sit. ขัดสมาธิขวาทับซ้าย นั่งตัวตรงเพราะเราจะใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ เพราะฉะนั้นเรานั่งตัวตรง เพื่อให้ลมหายใจนี่คล่อง คือ เข้าออกได้คล่องไปมาได้คล่อง นั่งตัวตรงแล้วก็ทำใจให้สบาย หากจะมีอะไรกังวลขณะนี้ก็ลืมซะ อย่างน้อยลืมให้ได้สัก ห้านาที ตอนนี้ลืมสักห้านาที จะกำหนดจิตอยู่กับลมหายใจไม่ต้องมองอย่างอื่น เอาจิตมองที่ลมหายใจ ใจก็อยู่ที่ลมหายใจ ไม่ต้องมองไกล กำหนดจิตลงไปที่ลมหายใจ ให้จิตนี้สงบอยู่กับลมหายใจ ให้รู้ทุกขณะที่หายใจเข้า ให้รู้ทุกขณะที่หายใจออก เราไม่เคยรู้มาเลยว่าเมื่อไหร่หายใจเข้า เมื่อไหร่หายใจออก เราไม่เคยรู้เลย แล้วก็เพราะเราไม่รู้ เราจึงหายใจอย่างขาดสติ เมื่อเราขาดสติ เราก็พูดผิด เราก็ทำผิด แล้วเราก็มาเสียใจที่หลัง บัดนี้เราจะพยายามบังคับใจของเราให้รู้จักใช้ลมหายใจนี้ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น มากกว่าเพียงทำให้เรายังมีชีวิตเคลื่อนไหวได้ แต่ทั้ง ๆ ที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ จิตนี้ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ จิตนี้ก็เต็มไปด้วยความกังวล วิตกวุ่นวาย ระส่ำระสายตลอดเวลา ไม่ได้มีความเย็นเลย
บัดนี้ เราจะเปลี่ยนวิธีใหม่ เราจะลองใช้ลมหายใจให้เกิดประโยชน์ ให้คุ้มค่าแก่การมีลมหายใจ ให้ใช้ประโยชน์ให้ได้มากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ จะใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์ เพื่อฝึกสติให้เกิดขึ้น ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะว่า ขณะนี้หายใจเข้านะ หายใจออกนะ กำหนดจิตตามลมหายใจ เมื่อลมหายใจเข้า ลมหายใจเข้าครั้งแรกจะผ่านมาที่ช่องจมูก กำหนดจิตอยู่ที่ตรงช่องจมูกเหมือนกับเราต้อนรับแขก ต้อนรับลมหายใจให้เข้าสู่กาย และกำหนดจิตนี้ตามความเคลื่อนไหวของลมหายใจไปให้ตลอด ไม่ว่าลมหายใจจะไปถึงที่ไหน ตามไปให้ตลอด เรียกว่าให้สุดสายของลมหายใจนั้น เมื่อตามไปจนสุดสายของลมหายใจแล้ว พอลมหายใจจะออก กำหนดจิตให้อยู่ที่ลมหายใจนั้น แล้วก็กำหนดจิตตามลมหายใจออกมาช้าๆ จนถึงลมหายใจผ่านออกจากช่องจมูก ให้รู้ว่าลมหายใจออก แล้วก็กำหนดจิตรอคอยลมหายใจ ที่จะเข้าผ่านทางช่องจมูก รับลมหายใจนั้นให้จิตไปกับลมหายใจตลอดสายทั่วทุกหนทุกแห่ง ลมหายใจเข้ามาในกายของเรา จะผ่านเข้าก็ดี จะผ่านออกก็ดี จะไปที่ไหนก็ดีให้จิตนี้ตามลมหายใจทั้งเข้าและทั้งออกตลอดสายอยู่ทุกขณะ อย่าให้พลาดไปได้เลย ตราบใดที่เรายังรู้ว่า นี่ลมหายใจเข้า นี่ลมหายใจออก ตราบนั้นจิตก็จะมีสติอยู่ที่ลมหายใจ การรู้ไม่ใช่การคิด ที่ว่ารู้ว่าลมหายใจเข้า รู้ว่าลมหายใจออก ไม่ใช่ด้วยการคิด แต่เรารู้ลมหายใจเข้าด้วยความรู้สึก เรากำหนดการรู้ลงไปด้วยความรู้สึก กำหนดความรู้สึกลงไปที่ลมหายใจที่กำลังเข้าสู่ช่องจมูกผ่านช่องอกลงไปสู่ช่องท้อง กำลังจะผ่านจากช่องท้องสู่ช่องอก แล้วก็ผ่านออกทางช่องจมูก กำหนดจิตตามลมหายใจที่เข้าและออกนี้ทุกขณะให้ตลอดสาย ถ้าเรากำหนดตามได้เช่นนี้ ตลอดสายอยู่ทุกขณะ จิตนี้ย่อมจะเป็นจิตที่มีสมาธิ ความสงบจะค่อยๆ เข้าครอบคลุมจิต จิตนี้จะค่อยๆ เยือกเย็นผ่องใสขึ้น ความวุ่นวายต่างๆ จะค่อยๆ จางคลายหายไป และจิตนี้ก็จะอยู่กับความสงบเย็น นี่คือขั้นแรกของการปฏิบัติ ด้วยวิธีที่เรียกว่า “อานาปาณสติ” คือการใช้ลมหายใจเป็นอารมณ์ ด้วยการกำหนดจิตรู้ลมหายใจอยู่ทุกขณะ จงอยู่กับลมหายใจ จงอยู่กับจิตที่เป็นสมาธิ จงอยู่กับจิตที่มีสติเช่นนี้ ด้วยความรู้สึกมีธรรมะอันเป็นความสวัสดีที่จะเกิดขึ้นในจิตให้จงทั่วทุกคน
ธรรมะ สวัสดีค่ะ