PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
  • ธัมมัญญู, อัตถัญญู, อัตตัญญู
ธัมมัญญู, อัตถัญญู, อัตตัญญู รูปภาพ 1
  • Title
    ธัมมัญญู, อัตถัญญู, อัตตัญญู
  • เสียง
  • 6618 ธัมมัญญู, อัตถัญญู, อัตตัญญู /upasakas-ranjuan/2021-01-03-13-25-42.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอาทิตย์, 03 มกราคม 2564
ชุด
URI 006-1
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  •             สวัสดีนะคะ บ่ายนี้ก็จะขอพูดเรื่องของสัปปุริสธรรม 7  ที่นำสัปปุริสธรรม 7 มาพูดเพราะมีความรู้สึกว่าเป็นธรรมะที่จะช่วยให้บุคคลผู้ประสงค์ความสำเร็จหรือความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมควรที่จะได้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต  ท่านบอกว่า เป็นหลักธรรมที่จำเป็นแก่ทุกคนที่ประสงค์จะอยู่อย่างไม่มีอุปสรรค แต่มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในวิสัยโลกและวิสัยธรรม  นี่คือคุณประโยชน์หรืออานิสงค์ของสัปปุริสธรรม 7

                สัปปุริสธรรม 7  ก็หมายถึง ธรรมะของบัณฑิต  สัปปุริสก็คือบุคคลผู้เป็นบัณฑิต  บุคคลผู้รอบรู้  สัปปุริสธรรมก็คือธรรมะของผู้เป็นบัณฑิต  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ประการ ถ้าพูดสั้นๆก็คือเรื่องของเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล (คือกาลเวลา) ประชุมชน แล้วก็บุคคล  สัปปุริสธรรม 7  ถ้าพูดย่อๆอย่างง่ายๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุ ผล ตน ประมาณ กาลเวลา แล้วก็ประชุมชน บุคคล  คือในการที่จะดำรงชีวิต เกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งหลาย รวมทั้งในการทำงานทั้งส่วนตัวในทางโลกและทางธรรม บุคคลควรจะรู้เรื่องของเหตุ ของผล ของตน ของประมาณ ของกาล ของประชุมชน ของบุคคล รู้อย่างทั่วถึงแล้วจึงลงมือทำ จะได้เกิดความถูกต้อง

                ข้อที่ 1 ของ สัปปุริสธรรม 7  ก็คือ ธัมมัญญูคือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เหตุในการที่จะกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำ ทำไปตามเขาไปเรื่อยๆ แต่ทว่าก่อนจะทำอะไรจะต้องมีความเป็นผู้รู้จักเหตุว่าเหตุนี้จะให้เกิดผลอะไร คือเมื่อจะลงมือทำอะไรต้องรู้จักเหตุที่ต้องทำ ทำทำไม เพราะอะไร พร้อมทั้งมองดูไปด้วยว่าผลมันจะเกิดขึ้นยังไง หรือผลที่จะเกิดตามมานั้นคืออย่างไร ฉะนั้น ธัมมัญญู ความเป็นผู้รู้จักเหตุก็หมายถึงว่า เมื่อจะกระทำการอันใด บุคคลควรต้องมีหลัก คือหลักการในการกระทำนั้น ไม่ใช่ทำอย่างเลื่อนลอยตามอารมณ์หรือตามความอยาก ถ้าทำอย่างเลื่อนลอยตามอารมณ์ตามความอยากมันก็มีผลไปในทางลบมากกว่าทางบวก หรือผลที่จะถูกต้องก็ยาก มักจะผิดพลาดมากกว่าเพราะไม่ได้คิดการให้รอบคอบ จะไม่ทำอย่างเลื่อนลอยหรือเพียงเพื่อสนองความอยากของตัวเอง พอมันเกิดอยากขึ้นมามันต้องทำ มันหยุดอยู่ไม่ได้ ถ้าทำเพียงสนองความอยาก ในขณะที่ความอยากเข้าครอบงำจิต เหตุผลความถูกต้องย่อมไม่มี ไม่เกิดขึ้นในใจเลยในขณะนั้น 

                ฉะนั้น ธัมมัญญูก็หมายถึงว่า ต้องมีหลัก มีเหตุ มีจุดมุ่งหมายในการกระทำนั้นด้วยสัมมาทิฏฐิ  จุดมุ่งหมายของการกระทำตามเหตุนั้น พยายามใคร่ครวญว่าเป็นสัมมาทิฏฐิหรือไม่ นี่คือความหมายของข้อ 1 ธัมมัญญู ความเป็นผู้รู้จักเหตุ หมายความว่าอย่างนี้

                ข้อที่ 2 อัตถัญญู คือความเป็นผู้รู้จักผลว่าผลนี้เกิดมาจากเหตุอะไร เท่ากับว่าเป็นการใคร่ครวญ สอบทานให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง  เพื่อความไม่ประมาท ในขณะที่คิดถึงธัมมัญญูคือคิดถึงเหตุในตอนข้อแรก ก็ได้มองไปถึงผลแล้ว ว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างไร แต่ในทางธรรมนั้นท่านพยายามที่จะชี้กระตุ้นให้รำลึกถึงความไม่ประมาท เพราะว่าจะเป็นทางแห่งความตาย ก็คือความผิดพลาด แล้วความทุกข์ก็ตามมา จึงให้ใคร่ครวญซ้ำเพื่อเป็นการสอบทาน ย้ำให้ถี่ถ้วนอีกครั้งว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นมันจะเป็นอย่างนี้ ไปได้จริงๆหรือไม่

                ทีนี้ข้อที่ 3 อัตตัญญู ความเป็นผู้รู้จักสถานะแห่งตนตามวิสัยโลก ว่ามีอยู่หรือเป็นอยู่อย่างไร การรู้จักสถานะแห่งตนก็หมายถึงว่ารู้จักสมรรถนะแห่งตน สมรรถนะก็หมายถึงความสามารถ ความรู้ความสามารถของตน สมรรถนะสามารถในด้านความรู้ ความถนัด สติปัญญา ประสบการณ์ ความเข้าใจในเหตุที่จะทำนั้น ตลอดจนความสนใจ ความมีฉันทะ ความพร้อม เช่น ความมีเวลา ความเสียสละอุทิศตน ตลอดจนจุดยืนหรืออุดมการณ์แห่งตน ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า รู้จักสถานะแห่งตน

                สถานะแห่งตนก็คือ ความรู้ความสามารถ ฐานะแห่งตนนั้นอยู่ในระดับไหน อยู่แค่ไหน เพียงพอแก่การที่จะทำงานตามเหตุที่ต้องการจะทำนี้หรือไม่เพื่อจะให้ได้ผลดังกล่าว ฉะนั้นการที่พูดถึงการรู้จักสมรรถนะแห่งตนในด้านต่างๆ ดังกล่าวมานั้นหนักไปทางเรื่องโลก คือตามวิสัยโลก ถ้าตามวิสัยธรรม อัตตัญญูตามวิสัยธรรมก็คือ รู้จักความพร้อมภายในของตน ความพร้อมภายในก็คือ พร้อมด้วยพลังแห่งสติ สมาธิและปัญญาที่จะมั่นคง ยืนอยู่ได้ในการที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์แห่งเหตุนั้นๆ คือจิตใจมั่นคงไหม พร้อมแล้วหรือยังจิตใจ หรือเป็นจิตใจอ่อนไหว รวนเร กระทบกระเทือนง่าย นี่คือ รู้จักความพร้อมตามวิสัยธรรม พูดง่ายๆก็คือว่า  สามารถทันต่อผัสสะได้มากน้อยเพียงใด ถ้าอยู่เฉยๆผัสสะมันก็มีเหมือนกัน เช่น ทางธรรมารมณ์ แต่มันก็น้อย แต่เมื่อประกอบการงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนเป็นอันมาก ผัสสะมันก็มีพร้อมผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เข้าสู่ประตูใจ

                ฉะนั้น ความพร้อมตามวิสัยธรรมก็คือ ดูข้างใน ความพร้อมตามวิสัยโลก ก็ความรู้ความสามารถ ความถนัดอะไรต่างๆดังกล่าวแล้ว  นี่เป็นสิ่งที่ก่อนที่จะทำการอันใดควรจะศึกษาทำการรู้จักตัวเองอย่างเที่ยงตรงโดยไม่หลงตัวเองหรือเข้าใจว่าเราดี เราเก่งกว่าที่เราเก่งหรือเราดี แล้วก็ในขณะเดียวกันก็ไม่คิดหลงไปว่า เราด้อยกว่าเขา นั่นก็ทำไม่ได้ นี่ก็ทำไม่ได้ ไม่ดีทั้ง 2 ทาง ดีก็อย่าหลง ด้อยก็อย่าหลง แต่ดูจริงๆว่าจริงๆแล้วนี่เราแค่ไหนทั้งข้างนอกและข้างใน

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service