แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เพื่อให้เป็นยาวลึกเบา ถ้าผู้ใดควบคุมได้ จะสามารถผ่อนมันยาวออกไปได้โดยอัตโนมัติ ทีละน้อยละน้อยโดยไม่รู้สึกลำบาก คงกำหนดจิตตามลมหายใจยาวลึกเบาให้ตลอดสายทั้งเข้าและออก สัมผัสด้วยว่า ลมหายใจยาวลึกเบาปรุงแต่งกายอย่างไร มันเป็นลมหายใจที่หยาบหรือละเอียด เมื่อหายใจยาวลึกเบามันหยาบ หรือละเอียด สัมผัสด้วยความรู้สึก ค่อย ๆ เปลี่ยนยาวลึกเบา เป็นยาวลึกหนัก ปรุงแต่งกายอย่างไร เหมือนกับยาวลึกเบาไหม เมื่อหายใจยาวลึกหนัก ลมหายใจนั้นหยาบ หรือละเอียด สัมผัสด้วยความรู้สึก จะใช้ประโยชน์ยาวลึกหนักเมื่อไหร่ กำหนด กำหนดรู้ไว้ด้วยสติ ยาวลึกหนักจะใช้ตลอดไปไหม กำหนดรู้ไว้ด้วยสติ ค่อย ๆ เปลี่ยนยาวลึกหนัก ให้เบาลง และสั้นลง อย่างเป็นธรรมชาติค่อย ๆเปลี่ยน ให้สั้นลง ให้สั้นขึ้น แล้วก็เบาลง อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้เป็นยาวธรรมดา เพื่อให้เป็นยาวธรรมดา กำหนดจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจยาวธรรมดาให้ตลอดสาย ทั้งเข้าและออก ต่อไปนี้ ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวธรรมดาให้สั้นเข้า สั้นเข้า เป็นลมหายใจสั้น แรง สั้น แรง เพ่งจิตให้มากขึ้น เพราะมันสั้น ตามยาก มันเข้าเร็วออกเร็ว เพ่งจิตจดจ่อให้มากขึ้นเปลี่ยน สั้นแรง เป็นสั้นเบา ลมหายใจสั้นเบา ปรุงแต่งกายอย่างไรเ หมือนกับสั้นแรงไหม สบายขึ้นไหม มันละเอียดกว่าสั้นแรงไหม กำหนดรู้ด้วยนะคะ เมื่อหายใจสั้น ก็สั้น ก็ลมหายใจปกติ เรากำลังทำลมหายใจให้สั้น เพื่อศึกษาให้รู้จักลักษณะธรรมชาติ ของลมหายใจสั้น แม้จะไม่สนุก ไม่สบาย ก็ต้องรู้จัก เพื่อประโยชน์ที่จะควบคุมมันได้ต่อไป ควบคุมให้เกิด ควบคุมไม่ให้เกิด ถ้าไม่รู้จักก็จะไม่ทันมัน มันมาปรุงแต่งกายให้ลำบาก ทำใจให้มันสบายซะแล้ว จะไม่ทันมัน จึงต้องรู้จักมัน ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นสั้นถี่ สั้นอย่างนี้เป็นสัญญาณของอะไร น่าพึงปรารถนาไหม กำหนดรู้ไว้ด้วย เหนื่อยเปลี่ยนกลับมาสั้นเบา เปลี่ยนกลับมาสั้นเบา เพื่อพัก สั้นถี่อย่างนั้น ต้องการให้เกิดบ่อย ๆ ไหม ถ้าไม่ต้องการ จะควบคุมมันได้อย่างไร กำหนดรู้ไว้ด้วยสติ เปลี่ยนเป็นสั้นแรง เปลี่ยนเป็นสั้นถี่ ค่อย ๆ ผ่อนสั้นถี่ให้เบาลง ค่อย ๆ ผ่อนสั้นถี่ให้เบาลง เป็นลมหายใจสั้นเบา ๆ ช้า ๆ ให้เป็นธรรมชาติ กำหนดจิตตามลมหายใจสั้นเบา ทั้งเข้าและออก เปลี่ยนเป็นสั้นแรง กลับมาสั้นเบา เปลี่ยนเป็นสั้นถี่ คงกำหนดจิตตามสัมผัสมัน ทั้งเข้าและออก เปลี่ยนเป็นสั้นเบา ต่อไปนี้ เราจะย้อนกลับไปขั้นที่ 1 อีกครั้ง ด้วยการตามลมหายใจยาว ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจสั้นนั้น ให้ยาวออกไปทีละน้อย ทีละน้อย อย่างเป็นธรรมชาติ จนเป็นยาวธรรมดา และกำหนดจิต สัมผัสกับลมหายใจยาวธรรมดา ทั้งเข้าและออก ให้ตลอดสาย
เรากำลังศึกษาลมหายใจยาว ทุกชนิด ตามการปฏิบัติขั้นที่ 1 ตามลมหายใจยาวสบาย ๆ ให้เป็นธรรมชาติ ไม่เหนื่อย ไม่หนัก ไม่เครียด หายใจยาวธรรมดาเป็นธรรมชาติ แต่กำหนดตามรู้ เมื่อมันผ่านเข้า ตามไปให้ตลอด พอเริ่มจะผ่านออก ก็ตามจดจ่อ จดจ่อตามออกพร้อมกับมัน ตามลมหายใจยาวธรรมดา ยังไม่ต้องด่วนอยากสงบนะคะ เพื่อความสงบแท้จริงข้างหน้าเราจึงต้องเสียเวลา กับการทำความรู้จักลมหายใจ จะได้ควบคุมมันได้ ขณะนี้ เรากำลังตามลมหายใจยาวธรรมดา ทั้งเข้าและออกให้ตลอดสาย ต่อไปนี้ ผ่อนลมหายใจยาวธรรมดานั้น ให้ช้าลง ให้มันช้าลง เบาลง แต่คงกำหนดจิตรู้อยู่ด้วยสติ ตามมันเข้า ทั้งออก ทั้งเข้า ทั้งออก ให้เป็นยาวช้า ยาวเบา ให้ตลอดสาย เรากำลังตามลมหายใจยาว ช้า เบา โปรดสังเกตมันปรุงแต่งกายอย่างไร กำหนดรู้ไว้ ต่อไปนี้เปลี่ยนยาวเบาช้านี้ ให้เป็นยาวลึกเบา นั่นคือขยายลมหายใจให้ยาวออกไปอีกจนสุดเท่าที่จะยาวได้ แต่เป็นไปอย่างเบา ไม่ได้กระแทกแรง ๆ แล้วสังเกตว่าลมหายใจยาวลึกเบา หยาบหรือประณีต ปรุงแต่งกายอย่างไร มนุษย์เราจะหายใจยาวลึกเบาเมื่อไหร่ ในอาการของความสบายหรือไม่สบายข้างใน กำหนดรู้ไว้ด้วยสติ กำหนดรู้ไว้ด้วยสติยาวลึกเบา ลองเปลี่ยนเป็นยาวลึกหนัก เพื่อเปรียบเทียบกันดู ต่างกันอย่างไร กำหนดรู้ด้วยสติ ที่สัมผัสกับลมหายใจยาวลึกหนักจริง ๆ หายใจหลายครั้งไม่ได้ มันเหนื่อย ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวลึกหนัก ให้เบาลง เป็นยาวลึกเบา ๆ ยาวลึกเบา ๆ เปรียบเทียบกันดู มันปรุงแต่งกายสบายต่างกันไหม สังเกตนะคะ ด้วยความรู้สึก ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นยาวแรง ลมหายใจยาวแรง หยาบหรือประณีต ปรุงแต่งกายอย่างไร จะใช้ประโยชน์เมื่อไหร่ กำหนดรู้ด้วยสติ เหนื่อย หายใจนานไม่ได้ ค่อย ๆ ผ่อนยาวแรง ให้เบาลง ผ่อนให้เบาลง แต่คงกำหนดรู้อยู่ ตามรู้อยู่ทั้งเข้าและออก แล้วก็ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวที่เบาลงนั้น ให้เบามากขึ้น ให้ช้าลง เบามากขึ้น กำหนดรู้ด้วยความรู้สึก ด้วยสติ ว่าปรุงแต่งกายอย่างไร แตกต่างกับยาวธรรมดาบ้างไหม กำหนดรู้ด้วยสติ
ต่อไปนี้ ลองปฏิบัติขั้นที่ 1 เอง โดยดิฉันจะไม่พูดนะคะ กำหนดจิต ตามลมหายใจยาว ทุกอย่าง ทุกชนิด ให้ตลอดสาย ทำเองตามใจค่ะ เพื่อให้รู้จักธรรมชาติของลมหายใจยาวชนิดนั้น ๆ ว่ายาวอย่างไหน ในขณะที่ตามนะคะ ให้รู้ด้วยว่ายาวอย่างไหน อาการธรรมชาติของลมหายใจยาวชนิดนั้นเป็นอย่างไร ให้รู้ด้วยสัมผัสด้วยความรู้สึก และปรุงแต่งกายอย่างไร จะใช้ประโยชน์เมื่อไหร่ กำหนดรู้สิ่งเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันด้วย ในขณะที่ตามสัมผัส เมื่อเกิดความเหนื่อย จะเปลี่ยนเป็นลมหายใจยาวอย่างไหน ที่เหมือนกับการได้พักไปในตัวด้วย รู้จักเองนะคะ พอหายเหนื่อยแล้ว ก็ควรเปลี่ยน เป็นยาวอย่างอื่นต่อไป อย่าพักนานเกินไป เรายังไม่ต้องการสงบ เปลี่ยนหายใจยาว หลาย ๆ อย่างนะคะ พร้อมกับกำหนดจิตตามให้ตลอดสายทั้งเข้าและออก ต่อไปนี้ ขอให้เปลี่ยนเป็นลมหายใจสั้น และก็ทำเองด้วยค่ะ สั้นแรงบ้าง เบาบ้าง สั้นถี่บ้าง เมื่อเหนื่อย ก็เปลี่ยนมาอยู่กับสั้นอะไรที่เป็นการพัก ก็โปรดทำเอง ถ้าสามารถสังเกตได้ด้วยว่า ลมหายใจสั้นกับลมหายใจยาว ปรุงแต่งกายอย่างไร ก็ลองเปรียบเทียบดู ท่านผู้ใดที่สามารถเปรียบเทียบได้ ก็ลองเปรียบเทียบดู โดยไม่เครียดหรือสับสน ลมหายใจสั้น อย่างไหน มีประโยชน์ อย่างไรหรือไม่มีประโยชน์เลย กำหนดรู้ไว้ เพื่อจะได้กำหนดไว้ในใจว่า อย่างนี้จะต้องควบคุมไม่ให้เกิด เมื่อมันเกิด จะต้องรู้ทันเท่าทัน สัญญาณของมัน ทันที เพื่อจะได้ควบคุมได้ทันท่วงที เชิญพักได้ค่ะ ซัก 10 นาที