แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
“เท่าที่สังเกตจากคำถามและก็จากการปฏิบัติ มีความรู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัตินั้น เป็นเพราะว่า เราไปเร็วเกินไป หรืออีกอย่างหนึ่งดิฉันมามองเห็นว่า เราไม่มีเวลาที่จะฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญหรือช่ำชองของแต่ละขั้น โดยเฉพาะขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และดิฉันก็ให้เลื่อนไปปฏิบัติขั้นที่ 3 ไปเลย เพราะฉะนั้นก็มีหลายท่านที่รู้สึกว่าพอปฏิบัติขั้นที่ 3 แล้วทำไม่ได้ หรือมิฉะนั้นก็พอสลับทำหายใจยาว หายใจสั้น ก็เกิดเวียนศีรษะ อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นสิ่งพิสูจน์ว่า การที่เราจะรีบปฏิบัติอย่างรีบร้อนเพื่อให้ไปเร็ว ๆ เพื่อไม่ต้องเบื่อ ไม่ต้องทนนาน นี่เป็นผลร้ายนะคะ ไม่ใช่ผลดี เพราะการปฏิบัติจริงถ้าจะว่าไปแล้ว เฉพาะหมวดที่ 1 เนี่ยค่ะ เราต้องปฏิบัติกันอยู่อย่างเดียวตลอดเวลา 11 วัน ไม่ต้องทำอย่างอื่นเลย แต่ทีนี้เพราะเรามีเวลาไม่พอ ที่แนะนำให้ปฏิบัติขั้นที่ 1 ตามลมหายใจยาวอย่างที่เราลองทำพร้อมกัน แล้วก็ตามลมหายใจสั้นในขั้นที่ 2 ที่ทำพร้อมกัน นั่นก็เพื่อให้รู้วิธี แต่ทีนี้เมื่อปรากฏว่า พอลองไปทำเองก็ทำไม่ค่อยจะได้ ทำให้เกิดความเครียด เราก็ต้องยอมที่จะเสียเวลาเพื่อที่จะมาทำในขั้นที่ 1 แล้วก็ขั้นที่ 2 อีก และเมื่อขั้นที่ 3 ก็ต้องค่อย ๆ ทำไปทีละลำดับขั้น คือ ลองทำไปทีละคู่ ละคู่ แทนที่จะสลับกันไปมาอย่างโน้นนี้ ซึ่งไม่ทันตั้งตัวนะคะ ผู้ปฏิบัติไม่ทันตั้งตัวไม่ทันตั้งใจที่จะทำอย่างนั้นได้ ฉะนั้นก็ขอได้โปรดมีความอดทนที่เราจะต้องปฏิบัติซ้ำอีก เพื่อความชำนาญและก็เพื่อประโยชน์ในการที่จะได้ในการปฏิบัติต่อไปข้างหน้า อย่างเมื่อคืนนี้ดิฉันเห็นว่า อากาศค่อนข้างดี คือบรรยากาศค่อนข้างดี แล้วก็หลายคนเมื่อเดินจงกรมแล้ว แล้วก็ไปนั่งในบริเวณข้างนอกอย่างนั้นก็อาจจะมีความรู้สึกที่สงบขึ้น เพราะบรรยากาศข้างนอกรอบตัวมันช่วย ดิฉันจึงไม่เน้นในเรื่องของการปฏิบัติตามขึ้นที่ 1, 2, 3 เพียงแต่ขอให้ตามลมหายใจ และก็เท่าที่สังเกตรู้สึกว่าส่วนใหญ่ก็มีความสงบพอสมควร ที่ยังไม่สามารถจะสงบได้ก็มีเป็นส่วนน้อย ฉะนั้นที่ไม่เน้นเรื่องขั้นที่ 1, 2, 3 ก็เพราะอยากจะให้โอกาสได้ลองความสงบ แต่มาเช้าวันนี้นะคะ ก็คิดว่าจำเป็นที่เราจะต้องปฏิบัติร่วมกันเพื่อย้ำในการปฏิบัติขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และก็ขั้นที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง เชิญนั่งตาม ในท่าที่สบาย นั่งในท่าที่สบายที่รู้สึกว่าเรานั่งแล้วเราจะนั่งได้ทน ได้นาน ไม่ปวดเมื่อยเร็วเกินไป แล้วก็ทำใจให้สบาย เตรียมใจที่จะรับหรือพร้อมในการที่จะปฏิบัติ อย่าทำใจให้รู้สึกเบื่อหน่ายหรือรำคาญว่าเอาอีกแล้ว ตามลมหายใจยาวอีกแล้ว ตามลมหายใจสั้นอีกแล้ว อย่าไปนึกอย่างนั้น ขอให้นึกว่านี่เป็นหน้าที่ ถ้าหากว่าต้องการความชำนาญและก็เพื่อผลการปฏิบัติต่อไปข้างหน้าก็จำเป็นนะคะ ถ้าจะด่วนรีบร้อนไปหาความสงบ มันก็จะสงบได้ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว ความสงบนั้นจะไม่นิ่งนานเพราะความชำนาญยังไม่เกิด
ในขณะที่จะปฏิบัติ เมื่อตอนรอบนี้ไม่หลับตาได้นะคะ ถ้ารู้สึกว่ายังไม่พร้อมก็ไม่ต้องหลับตา หน้าให้เหมือนพระพักตร์พระพุทธรูป คือจะเงยหรือจะก้มอะไรขนาดไหนก็ขนาดนี้กำลังพอดีกำลังเหมาะ หรือเรียกว่ากำลังงาม ขอให้ลองตามลมหายใจปกติก่อนนะคะ หายใจธรรมดาอย่างที่เราหายใจอยู่ทุกวัน พร้อมกับกำหนดความรู้สึกตามลมหายใจนั้น ทั้งเข้าและออกให้สบาย ๆ ไม่ต้องท่องว่าเข้า ไม่ต้องท่องว่าออก ให้สัมผัสด้วยความรู้สึก ต่อไปนี้ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจให้ยาวออกไปทีละน้อยให้เป็นธรรมชาติไม่ต้องพรวดพราดนะคะ และกำหนดใจตามลมหายใจยาว ที่กำลังผ่อนให้ยาวออกนั้น สัมผัสความเคลื่อนไหวของมัน ให้รู้ในใจด้วยว่ากำลังหายใจยาวชนิดไหน ต่อไปนี้เปลี่ยนจากยาวธรรมดา เป็นยาวแรง พร้อมกับตามลมหายใจยาวแรง ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวแรงนั้น เป็นยาวธรรมดา ตามลมหายใจยาวธรรมดาด้วยความรู้สึกสัมผัสมันให้ตลอด ให้ตลอดสายให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ ถ้ามันจะหลุดไปบ้างก็ไม่เป็นไร พยายามในครั้งต่อไป ผ่อนลมหายใจยาวธรรมดาให้ยาวช้าลง ยาวช้าลง คงกำหนดจิตด้วยสติให้สัมผัสกับลมหายใจยาวที่ช้าลงนั้น ทั้งเข้าและออก เปลี่ยนเป็นลมหายใจยาวลึกเบา ๆ ยาวลึกเบา ๆ คงกำหนดจิตตามลมหายใจยาวลึกเบา ๆ ให้ตลอด เปลี่ยนเป็นยาวลึกหนัก กำหนดจิตตามปรุงแต่งกายอย่างไร สบายหรือไม่สบายกำหนดไว้ในใจ ยาวลึกอย่างนี้จะใช้ประโยชน์มันเมื่อไหร่ กำหนดไว้ในใจด้วย แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นยาวธรรมดา ผ่อนยาวลึกหนักนั้นให้ค่อย ๆ เบาลง
นี่วิธีเปลี่ยนนะคะ ค่อย ๆ เบาลง จนกระทั่งเป็นยาวธรรมดา พร้อมกับกำหนดจิตตามมัน ตามทั้งเข้าและออก ไม่ว่าจะเป็นยาวชนิดไหนอย่าลืมตามนะคะ เปลี่ยนเป็นยาวแรง ตามลมหายใจยาวแรง ทั้งเข้าและออก แล้วค่อย ๆ ผ่อนยาวแรงนั้นให้เบาลง ผ่อนให้เบาลง ให้เป็นลมหายใจยาวธรรมดา ยังคงกำหนดจิตตามลมหายใจนั้นอยู่ อย่าลืมดูด้วยว่าปรุงแต่งกายอย่างไร อย่าลืมสังเกตด้วยความรู้สึกว่าปรุงแต่งกายอย่างไร ค่อย ๆผ่อนลมหายใจยาวธรรมดาให้เบาลง แต่ให้เป็นธรรมชาติเพื่อจะได้ไม่เครียด ตามให้ตลอดสาย ปรุงแต่งกายอย่างไร สบายมั๊ย อยากจะให้มันเกิดบ่อยๆ มั๊ย ค่อย ๆ เปลี่ยนลมหายใจยาวเบา ๆ นั้น ขยายมันให้ยาวออกไปทีละน้อยเพื่อให้เป็นลมหายใจยาวลึกเบา ยาวลึกเบา ติดตามความเคลื่อนไหวของลมหายใจยาวลึกเบาด้วยความรู้สึก ปรุงแต่งกายอย่างไรกำหนดไว้ มีประโยชน์อย่างไรกำหนดไว้ กำหนดด้วยความรู้สึกที่สัมผัสจริง ๆ ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นยาวลึกหนัก อาจจะทำได้สักสองสามครั้งอย่างมาก เพราะมันเหนื่อย มันปรุงแต่งกายให้เหนื่อย แต่ก็มีประโยชน์ จำประโยชน์ไว้ด้วยการสังเกตด้วยความรู้สึก แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวลึกหนักให้ช้าลง หายใจยาวให้ช้าลง แล้วมันจะค่อยเป็นลมหายใจยาวธรรมดา ปรุงแต่งกายเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบกับยาวลึก สังเกตด้วยความรู้สึก กำหนดไว้ในใจตามลมหายใจยาวธรรมดาให้ตลอดสาย สัมผัสด้วยความรู้สึกทั้งเข้าและออกนะคะ
ถ้ามันหลุดไปบ้างก็ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องเสียดาย ทำใหม่ทันที เรามีโอกาสตั้งต้นใหม่เสมอ ทำอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เคร่งเครียด ไม่หงุดหงิด ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นยาวแรง กำหนดจิตตามลมหายใจยาวแรงให้ตลอดสายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เปลี่ยนเป็นยาวลึกหนัก ยาวลึกหนัก แล้วค่อย ๆ ผ่อนยาวลึกหนักให้เบาลง ควบคุมมันให้เบาลง แต่คงตามความเคลื่อนไหวของลมหายใจที่กำลังเบาลงด้วยสติทุกขณะ ผ่อนให้ลมหายใจนั้นเบาลง จนเป็นลมหายใจยาวช้า ๆ แต่ให้เป็นธรรมชาติ ยาวช้า ๆ สบาย ๆ คงกำหนดจิตมันไป มันปรุงแต่งกายอย่างไรกำหนดรู้ไว้ เปลี่ยนเป็นยาวแรง อย่าลืมตามด้วยความรู้สึก ด้วยสติทั้งเข้าและออก แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจที่ยาวแรงนั้นให้ช้าลง ค่อย ๆ เปลี่ยนให้เป็นยาวลึกเบา ค่อย ๆ เปลี่ยนให้เป็นยาวลึกเบา ควบคุมด้วยสติ ให้เป็นธรรมชาติ อย่าเกร็ง อย่าตั้งใจเกินไป คงกำหนดจิตตามลมหายใจยาวลึกเบาด้วยสติ สัมผัสมันด้วยสติให้ตลอดสาย ทั้งเข้าและออก สังเกตด้วยว่ายาวลึกเบาปรุงแต่งกายอย่างไร กำหนดรู้ไว้ด้วยสติ พยายามหายใจให้เป็นธรรมชาติ อย่าแข็งขืนนะคะ เมื่อนั่งตัวตรงลมหายใจจะผ่านเข้าออกได้สะดวก และเมื่อยืดตัวตรงขึ้นจะรู้สึกสบายด้วย แจ่มใสขึ้นด้วย แต่ไม่ต้องตรงจนแข็ง ตรงอย่างสบาย ๆ ให้เป็นธรรมชาติเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติ ต่อไปนี้เปลี่ยนเป็นยาวลึกหนัก ยาวลึกหนักแล้วค่อย ๆ ผ่อนยาวลึกหนักนั้นให้เป็นยาวธรรมดา ก็คือผ่อนให้มันสั้นขึ้น ทำให้ลมหายใจนั้นสั้นขึ้นเล็กน้อย จนกระทั่งเป็นยาวธรรมดา แต่คงกำหนดจิตตามลมหายใจนั้นให้ตลอด แล้วผ่อนลมหายใจยาวธรรมดานั้นให้ช้าลงทีละน้อย ช้าลงทีละน้อย แล้วดูซิว่าปรุงแต่งกายอย่างไร สบายยิ่งขึ้นมั๊ย สัมผัสมันด้วยความรู้สึก สัมผัสด้วยความรู้สึก ด้วยสติกำกับอยู่ พยายามตามลมหายใจยาวช้า ๆ นั้นด้วยสติให้ตลอดสายทั้งเข้าและออก กำหนดจิตจดจ่อลงไปที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ผลักความรู้สึกเข้าไปข้างในให้มันสัมผัสกับความเคลื่อนไหวของลมหายใจ ผลักมันเข้าไปข้างใน แล้วมันจะสัมผัสกับลมหายใจที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เปลี่ยนลมหายใจยาวช้า ๆ นั้น ให้เป็นยาวธรรมดา นั่นก็คือ ผ่อนให้สั้นขึ้นอีกนิดนึง เมื่อมันยาวธรรมดา ถ้าสังเกตด้วยสติจะเห็นว่ามันมีขนาดของความยาวสั้นกว่าความยาวช้า ๆ สักหน่อยหนึ่ง สังเกตด้วยความรู้สึกที่สัมผัสจริง ๆ นะคะ แล้วจะชัดเจน อย่าคิด ลองทำจนสัมผัสเอง อย่าคิดว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามที่ได้ยิน เปลี่ยนยาวธรรมดาเป็นยาวแรง ยังคงตามได้มั๊ย ถ้าตามไม่ได้ดึงจิตมาเพ่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจยาวแรงให้ยิ่งขึ้น เพราะยาวแรงมันหยาบ สัมผัสได้ง่าย