แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พอมาถึงขั้นที่สาม จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติขั้นที่ 3 เพื่อต้องการความชำนาญ เรารู้จักแล้วว่ายาวเป็นยังไงมีกี่อย่าง กี่ชนิด สั้นเป็นยังไงมีกี่อย่างกี่ชนิด เพราะฉะนั้นขั้นที่ 3 ต้องการความชำนาญในการรู้จักลมหายใจนั้น อย่างทั่วถึง ทั่วถึงรอบด้าน เรียกว่าทุกแง่ทุกมุม หาลมหายใจอย่างอื่นให้เพิ่มให้มากขึ้นอีก ทุกแง่ทุกมุม ให้มากให้ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นในขั้นที่ 3 ก็อนุญาตให้สลับเปลี่ยนกันไปได้ ตามลมหายใจ ยาวบ้าง ยาวสั้นบ้าง ยาวชนิดนั้นบ้าง ยาวชนิดนี้บ้าง สั้นชนิดนี้นั้นบ้าง สลับกันไป สลับกันมา จะสลับว่ายาวก่อน หรือสั้นก่อนก็ได้ แต่ไม่ควรจะทำอย่างนั้นอย่างเดียว ต่อไปก็ควรสลับยาวบ้างสั้นบ้าง อาจจะสั้นแรง ยาวแรง เพื่อให้มองเห็นว่าสั้นแรง กับยาวแรงในลักษณะธรรมชาติที่ว่าแรงหยาบเหมือนกัน แต่มันมีอะไรแตกต่างกันมั้ย แล้วก็สั้นเบา ยาวเบา ลองเปรียบเทียบกัน ว่ามันมีอะไรแตกต่างกันมั้ย แล้วก็สลับกันไปอย่างนี้ ที่สลับเพื่อหาความชำนาญ จนกระทั่งรู้จักลมหายใจอย่างทั่วถึง คำว่าทั่วถึงไม่มีแง่มุมใดที่ไม่รู้จัก สามารถจะรู้จักลมหายใจได้อย่างดี จนกระทั่งสามารถควบคุมมันได้อย่างใจ ควบคุมไม่ให้เกิดก็ได้ ควบคุมให้เกิดก็ได้ สามารถสั่งได้ ทำได้ทันทีอย่างใจ แล้วก็สามารถใช้ประโยชน์ คือหยิบลมหายใจที่รู้แล้วว่ามีประโยชน์อย่างไร ในแง่ไหน มาใช้ได้ทันที ในโอกาสที่ต้องการหรือในจังหวะที่ต้องการในทุกกรณี เพราะฉะนั้นความสามารถที่จะควบคุมลมหายใจได้ รู้จักลมหายใจ ได้ทั่วถึงหรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติในขั้นที่ 3 ซึ่งจะต้องทำให้มากจนกระทั่งเกิดความชำนาญ อย่างแท้จริง ฉะนั้นขั้นที่ 3 นี้ ก็ยังคงตามอยู่นั้นเอง ยังคงตามลมหายใจอยู่ แต่ว่าตามอย่างชนิดที่สลับกันไปได้ เรียกว่าให้ความชำนาญ ก็กล่าวได้ว่าในการปฏิบัติขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ผู้ปฏิบัติยังไม่ต้องมุ่งหวังความสงบ โปรดจำไว้นะคะ ในขณะที่ตามลมหายใจยาวขั้นที่ 1 ตามลมหายใจสั้นขั้นที่ 2 ลมหายใจทั้งยาวทั้งสั้นในขั้นที่ 3 นั้น แล้วก็จะรู้สึกว่า ไม่สงบ ไม่ต้องสงบ ลืมตาได้ในการปฏิบัติ เพราะเรากำลังศึกษาเพื่อทำความรู้จัก เพื่อให้เกิดความชำนาญ ถ้ามัวแต่หลับตาสงบซะแล้ว มันจะไปรู้จักอะไรใช่ไหมคะ เพราะเราไม่ได้ศึกษา ในขณะนั้นจิตมันจะเอาความสงบความสบาย มันก็เลยไม่อยากศึกษา พูดง่าย ๆ ขี้เกียจศึกษา
เพราะฉะนั้นถ้าการปฏิบัติในขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 จิตไม่สงบ เพราะมันกำลังตื่นอยู่กับการจ้อง จ้อง เพื่อจะสัมผัส เพื่อจะสังเกตลักษณะธรรมชาติ อาการ ตลอดจนปรุงแต่งกายอย่างไร มีคุณประโยชน์อย่างไร ใช้อะไรได้บ้าง เราต้องจดจ่อด้วยจิตตื่น ไม่ต้องมาร้องทุกข์นะคะ ว่าไม่สงบ เพราะไม่ต้องการให้สงบ ในขั้นที่ 1 2 3 เป็นขั้นของการทำงาน ถ้าใครมามัวนั่งสงบก็รู้ได้เลยว่า ไม่รู้หรอกลมหายใจ ละก็อาจจะทำสมาธิได้ แต่ไม่สามารถควบคุมลมหายใจได้ หรือเรียกลมหายใจมาใช้ได้ตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้น ขั้น 1 2 3 ไม่ต้องสงบนะคะ แล้วก็ลืมตาได้ ถ้าหากท่านผู้ใดหลับตาแล้วกลัวว่าประเดี๋ยวมันจะสงบไปซะเลย ก็ลืมตาได้ ที่มีคำถามว่าเวลานั่งสมาธิจะต้องหลับตาหรือลืมตา ก็ตอบซะเดี๋ยวนี้เลยว่า เมื่อเริ่มนั่งสมาธิไม่จำเป็นต้องหลับตาทันที สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าจิตยังไม่พร้อม จิตยังไม่พร้อมที่จะหลับตา ถ้าหากว่าหลับตาเข้าแล้วละก็ มันต้องเป็นการบังคับให้หลับ พอบังคับให้หลับเนี่ย หัวคิ้วเริ่มขมวด ขมวดแล้วก็ ปวด ปวดหัวคิ้ว ปวดหน้าผาก แล้วก็เริ่มเกร็ง เริ่มเครียด แล้วก็เลยพาลปวดหัว ตัวร้อน หลังแข็งตัวแข็งไปเลย เพราะฉะนั้นท่านก็แนะนำว่าถ้าจิตยังไม่พร้อมที่จะหลับตา ไม่ต้องหลับ แล้วก็นั่งลืมตาอย่างเงี้ย แต่ว่าให้ทอดตาต่ำ อย่าไปลืมตาแล้วก็มองซ้ายมองขวา มองคนนั้น แหมเขาก็นั่งสงบ คนนี้ก็นั่งสงบเรานี่ไม่มีบุญวาสนา เลยใจเตลิดเปิดเปิงไม่อยู่กับลมหายใจ เพราะฉะนั้นอย่าลืมทอดตาลงต่ำ อยู่ที่หน้าตักนั่นแหละ นะคะ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกับการปะทะกับสิ่งที่เป็นผัสสะต่างๆ แล้วก็กำหนดจิตอยู่กับลมหายใจ พอมันสามารถกำหนดจิตอยู่กับลมหายใจไม่วุ่นวายกับอะไรที่อยู่ข้างนอก จิตก็จะค่อยๆ เงียบเข้าๆๆ แล้วนัยน์ตาที่ลืมอยู่เนี่ยนะคะ จะค่อยๆหลับเองโดยโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับเลย แล้วตอนนี้มันจะหลับอย่างสบาย ไม่ใช้หลับสบายฟี้ๆนะ แต่หมายความว่านัยน์ตาเนี่ยมันปิดเปลือกตาอย่างสบาย เป็นธรรมชาติ ไม่มีความรู้สึกปวดหัวคิวหรือว่าเกร็งหรือว่าอะไร เพราะมันมีความพร้อมอยู่ทั้งข้างใน และข้างนอก เพราะฉะนั้น ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องฝืน ที่จะบังคับให้หลับตา ใครเขาพร้อมที่จะหลับก็ให้เขาหลับไป เรายังไม่พร้อม ก็ไม่ต้องบังคับ ให้มันเป็นไปอย่างธรรมชาติ แต่สิ่งที่ต้องบังคับก็คือ ดึงจิตให้อยู่กับลมหายใจ
นี่เป็นการปฏิบัติ ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ด้วยวิธีการตามลมหายใจให้ตลอดสาย ทีนี้ถ้าจะถามว่าทำไมต้องตาม รู้มันอยู่ที่เดียวไม่ได้รึ ทำไมจึงต้องตาม ที่ต้องตามก็เพราะ หนึ่งต้องรู้จักให้ดี ๆ ถ้าจะไปดูมันอยู่ตรงจุดแรก หรือว่าตรงกลาง หรือจุดสุดท้าย ไปเอาแค่หัวแค่ท้ายก็ไม่ได้รู้มันตลอดอย่างทั่วถึง ไม่รู้จักมันอย่างชัดเจน ฉะนั้นเพราะต้องการให้รู้จักจนกระทั่งมีความชำนาญ จนกระทั่งรู้จักอย่างทั่วถึงจึงต้องใช้วิธีตาม นั่นเป็น เหตุผลนึง อีกเหตุผลหนึ่งก็คือว่า โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่ที่ไม่คุ้นกับการกำหนดจิตให้จดจ่ออยู่กับอะไร เพื่อให้จิตนั้นเกิดความสงบ ก็ใช้วิธีตาม เป็นการบังคับให้จิตต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ เรียกว่าหนีไปไหนไม่ได้ มันต้องตามให้ตลอดตั้งแต่ลมหายใจเคลื่อนเข้าสู่ภายในไปเรื่อย อย่างที่ดิฉันใช้คำว่าตลอดสาย ตลอดสายคือตั้งแต่จุดแรกที่มันเคลื่อนเข้าไป ไปถึงไหน ถึงไหนก็จนถึงจุดที่มันหยุด แล้วหยุด ความรู้สึกก็หยุดด้วย พร้อมกับตามมันออก ให้ตลอด นี่จึงเรียกว่า ตามให้ตลอดสาย เพื่อให้จิตทำงานตลอด จิตจะดิ้นรนเกเรหนีไปไหนไม่ได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงให้ตาม เพราะมีคำถามสำหรับบางท่านที่คุ้นเคยอยู่กับการเฝ้า เฝ้าดูอยู่ที่เดียว ถึงไหนก็ไม่ทราบนะคะ เฝ้าดูอยู่ที่เดียว ตอนนี้เมื่อลองมาใช้กับอานาปานสติภาวนาเพื่อให้สามารถรู้จักลมหายใจได้อย่างทั่วถึง และก็เป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติในหมวดกาย จึงต้องใช้วิธีตามในขั้นที่1 2 3 แล้วก็ไม่ต้องการให้จิตสงบ แต่ให้จิตตื่นพร้อม ว่องไว ตื่นด้วยความว่องไว กระฉับกระเฉงแจ่มใส ไม่ใช่มึนซึม ง่วงงุนนะคะ ตื่นแต่ไม่งัวเงีย แจ่มใส เฉียบแหลม ว่องไว แล้วก็ตามอย่างรู้เรื่องว่า เป็นลมหายใจ อย่างไหน ชนิดไหน มีลักษณะอาการธรรมชาติอย่างไร ปรุงแต่งกายอย่างไร จะใช้เมื่อไหร่ เกิดประโยชน์อย่างไร นี่ดูให้ตลอด ทีนี้พอไปถึงขั้นที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของหมวดที่ 1 หรือจตุกะที่ 1 หน้าที่ของผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ก็คือ ควบคุมลมหายใจให้สงบระงับ ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจหยาบก็ตาม ลมหายใจยาว ลึก แรง หรือลมหายใจชนิดไหนก็ตาม มาในขั้นที่ 4 ควบคุมให้สงบระงับ แล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นลมหายใจชนิดไหน ไม่ต้องกำหนดแน่นอน เอาเป็นว่า เป็นลมหายใจที่เราสามารถควบคุมมันให้สงบระงับ แล้วมันก็ปรุงแต่งกายให้มีความสบาย แล้วก็สะท้อนไปถึงจิต ก็มีความเบา มีความสบายไปด้วย
เมื่อลมหายใจที่เราสามารถควบคุมได้ในการปฏิบัติขั้นที่ 4 ยิ่งเบา บาง ละเอียด ยิ่งขึ้นเพียงใด ก็จะสังเกตได้เอง ว่ามันปรุงแต่งกายให้ยิ่งสบายมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น แล้วภายในก็จะเกิดความสงบ สงบ ยิ่งขึ้นๆ เยือกเย็น ผ่องใส ละเอียด เบาสบาย พร้อมกับมีความตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นสมาธิอย่างหนักแน่น มั่นคง และจิตที่ใช้ในภาษาการปฏิบัติว่า จิตรวม จิตที่มันเคยกระจายไปอยู่โน่นอยู่นี่ จิตดวงเดียวเนี่ยนะคะ ไม่ใช่ดวงอื่น ดวงนี้ ดวงที่ไม่มีรูปไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แล้วก็มันไม่มีเนี่ย แต่สมมุติเรียกมัน คือจิตจิตเนี้ยะ จิตดวงเนี้ยะที่มันชอบกระจาย เป็นดาวกระจายอยู่เรื่อย ตลอดเวลา กระจายไปด้วยความคิด ด้วยความรู้สึก ด้วยความจำ วุ่นวายอยู่ตลอดเวลา มันจะค่อยๆรวม รวม สงบลง สงบลงทีละน้อย ถ้าจะเปรียบก็อาจจะเหมือนกับเรากำมือทีแรกเราก็กำ กำ กำหลวมๆ หลวมๆ ความพยายามที่จะรวบรวมจิตให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เหมือนกับการกำมือ ทีละน้อย ละน้อย เมื่อจิตมันสงบเข้า สงบเข้า สงบเข้า มันก็เป็นการรวมเหมือนกับเรากำมือได้อย่างสนิท แน่น มีความหนักแน่นมั่นคงเข้มแข็งอยู่ในนั้น จนกระทั่งจิตนี้รวมได้เป็นหนึ่งอย่างที่ท่านเรียกว่าเป็นเอกัคคตาจิต ซึ่งยังไม่พูดรายละเอียดตอนนี้ เอาไว้ให้ถึงการปฏิบัติขั้นที่ 4 แล้วเราค่อยพูดกันต่อไป แล้วในขั้นที่ 4 นี้เราก็เปลี่ยนจากวิธีการ วิ่งตามลมหายใจ เป็นการเฝ้าดู เฝ้าดูที่จุดๆเดียว แล้วก็แนะนำให้เฝ้าดูแถวช่องจมูกเนี่ยค่ะ แถวช่องจมูก ถ้าผู้ใดจะเลือกจุดไหนก็ได้ เอาจุดที่ลมหายใจสัมผัสชัดที่สุด คือเวลาที่ลมหายใจผ่านเข้าแล้วมันแตะตรงนั้นน่ะชัดที่สุด จุดไหนที่แต่ละบุคคลรู้สึกว่าตรงนี้ชัดที่สุด ก็กำหนดจิตจดจ่ออยู่ตรงนั้น เฝ้า เฝ้าดูเพียงรู้ว่าลมหายใจผ่านเข้า แล้วก็รู้ว่ามันผ่านออก ไม่ต้องตาม ให้เพียงรู้ว่าผ่านเข้า ผ่านออก แต่ต้องรู้ ถ้ายังรู้ก็แสดงว่ามีสติ ไม่ทำอย่างเลื่อนลอย อย่างใจลอย หรือว่าทำอย่างหลับๆ ลืมๆ ไม่ใช่อย่างนั้น
ฉะนั้นการปฏิบัติในหมวดที่ 1 มี 2 วิธี วิธีที่ 1 คือเริ่มด้วยการวิ่งตามลม กำหนดจิตให้วิ่งตามลม ทั้งเข้า และออก วิธีที่ 2 ก็คือ เฝ้าดู เพื่อให้จิตมีงานทำน้อยลง แล้วก็จะได้สามารถควบคุมลมหายใจให้สงบระงับได้เร็วขึ้น เราจะพูดขั้นที่ 4 ต่อไปเมื่อถึงเวลาที่เราปฏิบัติในขั้นนั้นนะคะ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็จะเห็นได้ว่า ในการปฏิบัติทั้ง 4 ขั้นของหมวดที่ 1 ขั้นที่ 3 คือตัวการทำงาน หรือตัวการปฏิบัติของหมวดนี้อย่างแท้จริง ที่ว่าเป็นตัวการปฏิบัติอย่างแท้จริง เพราะเป็นตัวการปฏิบัติ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติ มีความรู้จัก มีความชำนาญที่จะรู้จักลมหายใจอย่างทั่วถึง ได้จริงๆหรือไม่ อยู่ที่การปฏิบัติในขั้นที่ 3 ฉะนั้นจึงจะต้องใช้เวลาในการปฏิบัตินาน ไม่ต้องไปหวัง กี่วัน กี่เดือน กี่ปี ถ้าผู้ใดต้องการจะปฏิบัติตามวิธีการอานาปานสติจริงไม่ต้องไปคิดว่าเท่าไหร่ เวลานานเท่าไหร่ จึงจะมีความชำนาญ ตอบไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับความพากเพียรของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติที่สม่ำเสมอหรือไม่เพียงใด เพราะฉะนั้นตอบไม่ได้ คำตอบก็ จงทำ จงทำทุกขณะ จงทำให้ตลอดไป แล้วความชำนาญจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ฉะนั้นโปรดอย่าเบื่อหน่าย นะคะ บอกเอาไว้ก่อน เพราะว่าบางทีก็ต้องตาม ขั้นที่ 1 อยู่นั่นแหละ แล้วก็ ขั้นที่ 2 เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็สั้น มันน่าเบื่อ เพราะลมหายใจมันมองไม่เห็น แล้วก็นั่งตามจนง่วง จนเบื่อ เหมือนกับกินอาหารจานเดียว มันไม่มีรสชาติ ไม่ได้เปลี่ยน แต่ก็อย่าลืมว่า นี่เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องทำเพื่อให้เกิดความชำนาญ ฉะนั้นในการปฏิบัติหมวดที่ 1 จุดมุ่งหมายของหมวดที่ 1 เพื่ออะไร เพื่อการทำจิตให้สงบ หรือที่เรียกว่าสมถะภาวนา ถ้าหากว่าจะพูดกันถึงเรื่องความสงบลึก ที่เรียกว่าฌาน ก็จะเกิดจากการปฏิบัติในขั้นที่ 4 ของหมวดที่ 1 นั่นเอง ที่สามารถจะทำได้นะคะ ที่นี้ทั้ง 4 หมวดนี้มีความสัมพันธ์