แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ถ้ารู้สึกว่ามันจะช้าเกินไปกำลังจะเกิดความลำบาก ก็เปลี่ยนเป็นยาวธรรมดา ที่จะรู้สึกไม่รบกวน คือไม่รบกวนภายในให้เกิดความอึดอัดหรือจะเครียด พยายามนั่งตัวตรง อย่าก้มหน้า ยืดตัวให้ตรง แล้วจะรู้สึกว่าลมหายใจจะผ่านเข้าออกได้สะดวกคล่องแคล่ว และก็แจ่มใสขึ้นด้วย ใจของเราก็แจ่มใสขึ้นด้วย ถ้าท่านผู้ใดรู้สึกจะเครียด ยิ้มซะหน่อย มองดูที่พระพักตร์พระพุทธรูปที่ท่านแย้มยิ้ม แล้วกล้ามเนื้อที่กำลังตึงก็จะได้ผ่อนคลาย กำลังตึงเครียดจะได้ผ่อนคลาย และข้างในก็จะได้ผ่อนคลายด้วย ต่อไปนี้เราจะเปลี่ยนจากยาวธรรมดาเป็นยาวลึกสบาย ๆ ไม่ใช้ลึกหยาบ ไม่ใช่ลึกหนัก ลึกแต่สบาย ๆ มองดูดิฉันก็ได้ นี่ลึกแต่ว่าสบาย ๆ เห็นมั้ยคะ เราไม่ต้องโยนตัวสูดทั้งตัว ไม่ต้องทิ้งน้ำหนักลงไปข้างใน แต่เราค่อยๆ ดึงผ่อนช้าๆ ให้มันลึก แล้วมันก็สบายกว่าลึกหยาบ มันกลายเป็นลึกอย่างละเอียดขึ้นใช่มั้ยคะ ลองทำ นี่ลึก จะรู้สึกว่าไม่ต้องเสียแรงมาก ไม่ต้องทุ่มแรงลงไปเหมือนอย่างลึกหยาบ ความลึกอาจจะไปได้เท่ากัน แต่การปรุงแต่งกายนั้นต่างกัน ลองดูซิคะ ลองลึกธรรมดา ลึกธรรมดา อาจจะมีลมหายใจ เสียงลมหายใจออกมาเล็กน้อย แต่ไม่ฟืดฟาดเหมือนยาวลึกหนัก และอาจจะตามง่ายขึ้นด้วยทั้งเข้าและออก เพราะระยะของมันยาวพอ ต่อไปเปลี่ยนจากยาวลึกธรมดาเป็นยาวลึกหนัก เห็นความแตกต่างมั้ยคะ มันกินแรงเยอะ แต่มันมีประโยชน์ตรงไหน อะไรที่มันค้างคาอยู่ในใจแล้วละก็มันต้องหลุดไปหมดเลย พอยาวลึกไล่มันออกไป อารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์ขัดใจ อารมณ์เจ็บปวดชอกช้ำ ไล่มันออกไป แทนที่จะให้ออกทางปากออกทางลมหายใจ ไม่เป็นพิษภัยกับใครเลย ไม่ทำอันตรายแก่ใครเลย เหนื่อยแล้วก็ค่อยผ่อนเป็นลมหายใจยาวธรรมดา ตามลมหายใจยาวธรรมดา พยายามอย่าก้มหน้า ถ้าเรานั่งสมาธิก้มหน้าแล้ว เริ่มด้วยก้มหน้าแล้วจะเคยตัว จะเป็นอนุสัย พอนั่งแล้วก็ก้มหงบไปเลยเชียว ทำให้ง่วงง่าย ทำให้หายใจไม่สะดวก และทำให้เครียดโดยไม่รู้ตัว ต่อไปเปลี่ยนเป็นยาวแรงค่ะ ปรุงแต่งกายอย่างไร มีประโยชน์บ้างมั้ย จะควบคุมให้มันเกิดเมื่อไหร่ หรือจะควบคุมไม่ให้มันเกิดบ่อย ๆ กลับมายาวธรรมดา ตามลมหายใจยาวธรรมดา แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจยาวธรรมดานั้นให้ช้าลง ช้าลง แต่ช้าลงอย่างเป็นธรรมชาติ ช้าลงอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อจะไม่เครียด
ต่อไปนี้เราจะเลื่อนการปฏิบัติไปขั้นที่สองนะคะ ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจที่ยาวนั้นให้สั้นเข้าทีละน้อย ให้มันเป็นธรรมชาติ ให้มันสั้นเข้าทีละน้อย จากยาวธรรมดา ให้สั้นเข้าทีละน้อย เป็นสั้นเบาๆ เป็นหายใจสั้นเบาๆ เมื่อหายใจสั้นก็จะสั้นกว่าลมหายใจที่เราหายใจตามปกติ ตามลมหายใจสั้นเบาๆ จะสังเกตได้ว่าจะต้องจดจ่อจิตคือความรู้สึกให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เพราะมันสั้น มันเข้าเร็วออกเร็ว จึงต้องจดจ่อลงไปให้ยิ่งขึ้น เพื่อให้ตามมันได้ สั้นเบา ๆ เข้าออก มันปรุงแต่งกายอย่างไรคะ ต่อไปนี้เปลี่ยนสั้นแรง ตามทันมั้ยคะ ไม่รู้มันออกเมื่อไหร่ เข้าเมื่อไหร่ใช่มั้ยคะ แต่อย่างน้อยให้รู้ว่ามันเข้ารู้ว่ามันออก เหนื่อยนักก็มาสั้นเบาๆ กลับมาสั้นเบาๆ มาหายใจสั้นเบาๆ ทีนี้เราจะเปลี่ยนเป็นสั้นถี่ คงตามยาก แต่อย่างน้อยให้รู้ว่านี่มันเป็นสั้นอีกแบบหนึ่ง มันเป็นสัญญาณของความไม่สบายทั้งข้างนอกและข้างใน ข้างนอกก็เหนื่อย ข้างในก็กำลังเริ่มหงุดหงิด อึดอัด อารมณ์โกรธกำลังจะมามันจึงสั้นกระชั้นถี่ ไม่ดี เราอยากจะแก้ไขมันเราจะใช้ลมหายใจอะไร ขับไล่มันไป
ต่อไปนี้เราจะเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติในขั้นที่สาม คือตามรู้ลมหายใจทุกอย่างทุกชนิด ทั้งสั้นทั้งยาวเพื่อหาความชำนาญให้ละเอียดทั่วถึง จะปฏิบัติด้วยกันก่อนนะคะ หายใจยาวแรง ยาวแรงอีกครั้งซิคะ สั้นเบาๆ สั้นเบา ยาวลึกหยาบ ยาวลึกหยาบ ยาวธรรมดา ค่อยๆ ผ่อนเป็นยาวธรรมดา กำหนดความรู้สึกตามมันทั้งเข้าทั้งออก ตามทั้งเข้าทั้งออก แล้วลองผ่อนให้เป็นยาวช้าๆ เพื่อเพิ่มความสังเกตลงไปในความรู้สึก สัมผัสว่ามันปรุงแต่งกายต่างกันอย่างไรกับยาวธรรมดา ยาวช้าๆ ที่พอสบายๆ ต่อไปค่อยๆ ผ่อนลมหายใจยาวช้า ให้สั้นเข้า สั้นเข้า แต่คงกำหนดจิตตามรู้อยู่ตลอด ให้สั้นเข้า จนเป็นลมหายใจสั้นเบา สั้นเบา สั้นเบา ลองเปลี่ยนเป็นสั้นแรงซิคะ เปลี่ยนเป็นยาวแรง ทีนี้คค่อๆ ผ่อนลมหายใจยาวแรงนั้นเป็นยาวลึกอย่างเบา ยาวลึกอย่างเบา ก็คือผ่อนให้มันยาวออกไปแล้วก็ลึกมากเข้า