แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ปัญหาระหว่างพ่อกับลูก ลูกกับแม่ หรือว่าสามเศร้ากันทั้งหมดเลย ตลอดจนกระทั่งปัญหาเกี่ยวกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทุกประการ เพราะฉะนั้นความพอเหมาะพอดีที่ถูกต้องในกรณีนี้ก็จำเป็นจะต้องมีสัมมาทิฐิอีกด้วยเหมือนกัน ต้องมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำไม่ว่าจะประกอบกิจอันใดทั้งนั้นนะคะ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งเรื่องธรรมดา เรื่องของโลก เรื่องของธรรมะ สัมมาทิฐิเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อใดจะช่วยให้การกระทำนั้นมีความถูกต้อง ทำไมถึงต้องมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำ ก็เพื่อไม่ให้เอาใจของตนเองเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะตอนนี้ไม่ใช่คนเดียวแล้วมันเป็นสองคนแล้ว การตัดสินใจใด ๆ จึงต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมซึ่งกันและกัน แล้วก็เพื่อที่จะช่วยให้การตัดสินใจนั้นเป็นการตัดสินใจโดยธรรมะแล้วก็เป็นธรรมะ พอเกิดปัญหาระหว่างกันขึ้นก็ใช้ธรรมะเข้ามาตัดสิน มันก็จะเกิดความเข้าใจอันถูกต้องร่วมมือกันที่จะกระทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ฉะนั้นมัตตัญญู ความพอดิบพอดี การที่จะร่วมคู่กันสำคัญมากเหลือเกิน เป็นสิ่งที่จะประคับประคองให้ชีวิตคู่นี้ตลอดรอดฝั่ง
ข้อที่ 5 กาลัญญู ก็คือการรู้จักจังหวะ โอกาส เวลา สถานที่ให้เหมาะควร ในการที่เกี่ยวข้องกันอยู่ในครอบครัวนั่นแหละจะต้องรู้จักจังหวะ โอกาส เวลา สถานที่ให้เหมาะควร ถ้าอยากจะต่อว่ากันอยากจะแสนงอนกระบึงกระบอนกัน ดูจังหวะดูโอกาสหน่อยเพื่อที่จะไม่ให้เกิดการแตกร้าวต่อมา ไม่ให้เป็นการเสียหน้าซึ่งกันและกัน ถ้ารู้จักจังหวะโอกาสเวลาสถานที่ได้อย่างเหมาะควรก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการที่จะมีชีวิตคู่เพื่อจุดหมายดังกล่าวแล้วนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ การที่จะมีกาลัญญูก็คือทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้จักอดใจได้ เมื่อเกิดความโกรธโดยเฉพาะอดใจได้ ยอมได้ คอยได้ เคยพบนัด ตอนที่รักกันคอยชั่วโมงสามชั่วโมงครึ่งวัน ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร พอมาอยู่ด้วยกันเข้า สิบนาทีก็บีบแตร แป๊ด แป๊ด แป๊ด เสร็จยัง ๆ เพื่อนก็ต้องบอก มาแล้ว ๆ พระเอกผู้ไม่รู้จักคอย รีบ ๆ เข้า นี่คือการที่ไม่มีกาลัญญูเพราะเอาแต่ใจของตนเอง ผู้หญิงก็เช่นเดียวกัน
ข้อที่ 6 ปริสัญญู ก็คือความเป็นผู้รู้จักประชุมชน การมีชีวิตคู่จะต้องรู้จักประชุมชนอะไร ที่จริงจำเป็นมาก ประชุมชนของผู้ที่อยู่ชีวิตคู่ ประชุมชนหรือสังคมของผู้ที่ครองชีวิตคู่ก็คือ บิดามารดา พี่น้อง ญาติมิตร เพื่อนฝูงของทั้งสองฝ่ายใช่ไหมคะ นี่คือประชุมชนของคนที่มีชีวิตคู่ จำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักศึกษากันให้รอบคอบทุกแง่มุมเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจตกลง โดยเฉพาะศึกษาในแง่ของความเป็นไปได้ให้ชัดเจน ความเป็นไปได้ก็คือการยอมรับกัน บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของฝ่ายหนึ่งจะยอมรับอีกฝ่ายหนึ่งได้เพียงใด แล้วก็ตัวของฝ่ายนั้นเองคือชายก็ตามหญิงก็ตาม สามารถจะยอมรับบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของอีกฝ่ายหนึ่งได้เพียงใด ไม่ใช่เพียงแต่เขาจะยอมรับเรา เราจะยอมรับเขาได้เพียงไหน การที่อยู่กันไปแล้ว แล้วจะมาดูถูกสบประมาทกันว่าพี่น้องคุณนี่โง่ ฉันไม่เคยนึกเลยว่าจะโง่อย่างนี้ พูดกันไม่รู้เรื่องอย่างนี้ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของผู้มีธรรมที่ควรจะอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้นศึกษากันเสียก่อน จะโง่จะฉลาดจะบกพร่อง จะดีไม่ดีแค่ไหนหรือว่ามีคุณธรรมแค่ไหน ศึกษากันเสียก่อน อย่าถือว่าพ่อแม่พี่น้องไม่สำคัญฉันอยู่กันสองคนจริงหรือเปล่า วัฒนธรรมไทยดั้งเดิมเราก็อยู่กันเป็นครอบครัวมีความอบอุ่น พอรู้จักวัฒนธรรมตะวันตกก็เห็นว่าอย่างนี้ดี พ่อแม่ปู่ย่าตายายแก่แล้วเข้ามาอยู่ใกล้ไม่ดี มาทำให้ความสุขความหวานของสองคนมันจืดจางไป ฉะนั้นอยู่กันสองคนดีกว่า แล้วเป็นไง พอไม่มีคนใช้พอมีลูกเข้ามาวิ่งไปไหน แม่ที่มีลูกหลายคนก็ถูกลูกคนนั้นหิ้วไปทีลูกคนนี้หิ้วไปที มาช่วยดูหลานหน่อยนี่เพิ่งออกใหม่ แล้วก็มาเห็นคุณว่าแม่ดูให้ดียิ่งกว่าคนอื่นเยอะแยะไว้ใจได้ มีคนดูแลพี่เลี้ยงสักสามคนก็สู้แม่คนเดียวไม่ได้ เห็นไหมคะ เพราะฉะนั้นอย่างไรเสียความอบอุ่นความปรารถนาดีของพ่อของแม่แท้ ๆ ย่อมมีมากกว่า และย่อมให้ความอบอุ่นมากกว่า ฉะนั้นการที่จะมาขัดแย้งกันจึงไม่เป็นผลทั้งสิ้นไม่เป็นสิ่งที่สมควร จึงศึกษากันเสียก่อนว่าจะรักกันได้เพียงใด นี่คือความเป็นไปได้ที่จะรับกันได้
ข้อสุดท้ายปุคคลปโรปรัญญู ก็คือการรู้จักบุคคลแต่ละคน ก็คือเจาะลงไปอีก คุณพ่อเฉพาะคุณแม่เฉพาะ พี่น้องคนที่เป็นคนสำคัญ ที่คนสำคัญของเราเขาพออกพอใจยกย่องนับถือมากเป็นอย่างไร ศึกษาไปอีกแต่ละคน เพื่อนฝูงที่มีอำนาจอิทธิพลที่คนของเรานับถือเชื่อฟังนัก ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้นั่นน่ะเป็นอย่างไร คนไหน นี่คือศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน โดยเฉพาะที่สุดก็คือคนที่สำคัญ คนสำคัญของเรานั่นแหละ เขาของเราหรือเธอของเรานั่นแหละ ต้องศึกษาให้ชัดเจนเสียก่อน ศึกษาทุกแง่ทุกมุมเพื่อชั่งใจ ชั่งใจก็คือเอาขึ้นมาชั่งไตร่ตรองทั้งส่วนดีส่วนเสียส่วนบกพร่องส่วนเด่น ชั่งดูทุกอย่างทั้งบวกทั้งลบในเรื่องของความเป็นไปได้ ก็คือการเข้ากันได้ในระยะยาวนานไม่ใช่เพียงเฉพาะหน้าหรือปัจจุบัน นี่เป็นสิ่งที่ควรชั่งใจคิดให้มาก ๆ สำหรับคนสำคัญคนนั้น ในกรณีต่าง ๆ ทั้งเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เอาแต่เพียงการศึกษา คนนี้ปริญญาเอกใช้ได้ เธอก็เอกเหมือนกันแหมสองเอกรวมกันมันโก้ พออยู่กันเข้าเอกต่อเอกมันชักจะตีกันเลยมันไม่ค่อยจะดีเสียแล้วเอกนี่ อย่างนี้ไปหาแค่มัธยม 6 ก็เห็นจะพอเพราะเราจะได้จูงได้ง่าย ๆ หน่อย แล้วข้างเอก ผู้หญิงก็ไปหาเสีย 2 เอก 3 เอก มันถึงจะยอมเชื่อกันได้ นี่มันเอกเดียวเท่ากัน มันก็เท่ากันจะให้เชื่อกันได้ไง เห็นไหมคะอัตตาต่ออัตตาเริ่มมาตีกัน เหมือนอย่างในรูปที่เอ็มมานูเอล เชอร์แมน เขียน ฉะนั้นต้องศึกษาคนที่สำคัญที่ตั้งใจให้แน่ ๆ ว่าสามารถที่จะเป็นไปได้รักกันได้แค่ไหนในระยะยาวที่จะเป็นกัลยาณมิตรกันได้ต่อไป เพราะส่วนบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไม่เป็นไรหรอกเราไม่ถือ อย่างผู้ชายบางคนก็บอกคู่รักอั๊วดีทุกอย่างแต่อย่าไปกินข้าวกับอีนะ เพราะเวลาอีกินข้าวอ้าปากกว้าง ๆ มองเห็นหมดเลยกี่ซี่กี่ซี่ อะไรอยู่ในปากเห็นหมดเลย นี่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ใช่สิ่งสำคัญแต่พอนานเข้ามันทนไม่ได้ เพราะมันเห็นทุกวันต้องกินด้วยกันทุกมื้อมันทนไม่ได้ นี่พูดเรื่องจริงนะ ไม่ได้พูดเล่น ๆ เคยได้ยินมาแล้ว บางทีเลิกกันเพราะทนกันไม่ได้สิ่งเล็ก ๆ น้อยนี่ หรือบางทีนอนกรน อันนี้ค่อนข้างจะยากที่จะรู้จัก แต่บางคนก็ทนไม่ได้ในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงควรที่จะได้ลองคิดใคร่ครวญทั้งสิ่งที่เป็นจุดเด่นและจุดบกพร่อง เรื่องเล็กต่อบางคนอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ของบางคน เรื่องใหญ่ของบางคนอาจจะไม่เป็นอะไรเลยสำหรับอีกคน มันแล้วแต่ทัศนคติหรือรสนิยมของแต่ละคน ฉะนั้นถ้าเราดูละเอียดลออเพียงใด มันใช้ได้คือมันจะได้อยู่ระยะยาวกันมากกว่า นอกจากนั้นคนสำคัญอื่น ๆ เช่น พ่อแม่พี่น้องเพื่อนของเขานั่นแหละค่ะ ที่คนสำคัญของเราให้ความสำคัญเป็นอันมากก็ศึกษาในลักษณะเดียวกัน คือในเรื่องของความเป็นไปได้ รสนิยมเป็นอย่างไร พูดจารู้เรื่องกันไหม ชอบดูหนังรสเดียวกันไหม อุดมการณ์ในชีวิตเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะใช้เวลาเพียงผิวเผินควรจะศึกษากันพอสมควร
ทีนี้สมมุติว่าครองคู่กันแล้วจะใช้ธรรมะอะไรมาเป็นคุณธรรมประจำใจ ก็ขอเสนอธรรมะที่ชื่อว่าฆราวาสธรรม 4 หรือพระบรมราโชวาท 4 ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเช้าก็ได้ฟังจากเพลงแล้วใช่ไหมคะ จำได้ไหม คุณธรรม 4 ประการ หรือฆราวาสธรรม 4 ประการ ก็คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สัจจะก็คือความจริงใจหรือความซื่อสัตย์ นี่คือสิ่งที่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก สัจจะที่ได้ให้ไว้ต่อกันในตอนที่เราเริ่มพอใจกันก่อนที่จะตกลงกันจนตกลงกันแล้ว สัจจะที่ให้ไว้ต่อกัน ให้ไว้อย่างไรต้องรักษาสัจจะนั้น แล้วถ้าหากว่าผู้ที่เป็นพ่อแม่สามารถรักษาสัจจะต่อกันได้อย่างน่าชื่นชมน่าเคารพนับถือ คุณธรรมข้อนี้