PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
  • วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (2)
วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (2) รูปภาพ 1
  • Title
    วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (2)
  • เสียง
  • 6612 วิธีปฏิบัติกรรมฐาน (2) /upasakas-ranjuan/2-11.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอาทิตย์, 03 มกราคม 2564
ชุด
URI 005
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • อย่าท้อถอย ถ้าจิตวิ่งหนีออกไปจากลมหายใจ ค่อยๆ ดึงมันกลับมาด้วยสติ ดึงเอาความรู้สึกนั้นกลับมาช้าๆ แล้วจดจ่ออยู่กับลมหายใจอย่างอ่อนโยน ไม่ต้องโกรธ ไม่ต้องหงุดหงิด ไม่ต้องนึกเสียใจว่าไม่มีความสามารถ หรือไม่มีบุญวาสนา ไม่ใช่ การปฏิบัติทางจิตมันเป็นเช่นนี้เอง มันเป็นการปฏิบัติภายใน เป็นการกระทำที่มองไม่เห็น ได้แต่ควบคุมจิตให้จดจ่อกับลมหายใจ มันจึงเป็นงานที่ยาก ไม่ใช่งานที่ง่าย แต่ก็ไม่พ้นความสามารถ ไม่เหลือวิสัย จงกำหนดจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจแต่อย่างเดียว ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจ ให้ยาวออกไปทีละน้อย ให้ยาวออกไปทีละน้อย แล้วกำหนดจิต ตามลมหายใจที่ยาวนั้น ให้ตลอดสาย สัมผัสลมหายใจยาวนั้นด้วยความรู้สึก สัมผัสให้รู้สึกเป็นลมหายใจยาวอย่างนั้น ยาวอย่างสบายๆ หรือยาวอย่างแรง หรือยาวอย่างลึก ตามมันไป ตามด้วยความรู้สึก ด้วยสติ ให้รู้จักว่าลมหายใจที่กำลังผ่อนออกไปให้มันยาว ขยายให้มันยาวออกไปนี้ เป็นลมหายใจอย่างไหน ยาวอย่างไหน ตามมันไปด้วยสติ  เรากำลังศึกษาเรื่องของลมหายใจยาว อันเป็นการปฏิบัติขั้นที่ 1

    ถ้าหากเกิดความปวดเมื่อย ปวดขา ปวดเอว ปวดหลัง ก็รู้สึก รู้สึกว่ามันปวด รู้สึกว่ามันเมื่อย และพยายามดึงจิต ให้มาอยู่กับลมหายใจ ช้าๆ ผลักความรู้สึกที่กำลังจะออกข้างนอกให้เข้าข้างใน ผลักมันเข้าไปด้วยพลังใจ ไม่ใช่ผลักด้วยมือ หรือด้วยความคิด ผลักมันเข้าไปด้วยพลังใจ จิตที่มันกำลังดื้อ ดิ้นรน จะออกข้างนอก เอาเรื่องกับข้างนอก ผลักมันเข้าไป ให้มันสัมผัสอยู่กับลมหายใจแต่อย่างเดียว แล้วจิตจะค่อยๆ สงบ จะค่อยนิ่ง จะค่อยเย็น จะค่อยมีความชุ่มชื่น มีความเบาสบาย ลองผลักมันเข้าไปด้วยพลังใจ อย่ายอมให้มันดิ้นรนออกข้างนอก ไม่ใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น เราจะใส่ใจกับลมหายใจอย่างเดียว แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจ ขยายลมหายใจ ให้ยาวออกไปทีละน้อย กำหนดจิตตามลมหายใจยาวให้ตลอดสาย พร้อมกับรู้สึกด้วยการสัมผัส ว่าเป็นลมหายใจยาวอย่างไหน ยาวแรง หรือยาวลึก หรือยาวธรรมดา ตามมันไปช้าๆ ให้ตลอดสาย การมาปฏิบัติธรรม คือการมาสร้างระเบียบวินัย ให้แก่ใจ ที่เคยท่องเที่ยว เร่ร่อน ซัดส่ายไปมา หลุกหลิก ไม่เคยหยุดนิ่ง มันจึงทำชีวิตนี้ให้เดือดร้อนนัก เพราะความหลุกหลิก ความดิ้นรน ความไม่อยู่นิ่งของมัน เพื่อสอดส่ายเอาเรื่องกับข้างนอก การมาปฏิบัติธรรมจึงเป็นการมาฝึกอบรมจิตให้รู้จักนิ่ง ให้รู้จักสงบ ให้เป็นจิตที่มีวินัย เป็นจิตที่สามารถควบคุมได้ ให้มันอยู่ในระเบียบ

    สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ ขณะนี้ ขณะจิตนี้ เรียกได้ว่า เป็นการต่อสู้ ต่อสู้ยื้อยุดกันอย่างยิ่งจากจิตที่กำลังจะพัฒนา ที่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ กับจิตดื้อของเก่า ที่พยายามจะดิ้นรนต่อสู้ ไม่ยอม จะออกไปข้างนอก จะไปให้ตกขอบ นี่คือการต่อสู้ของผู้ปฏิบัติใหม่ เดี๋ยวก็ควบคุมมันได้ เดี๋ยวมันก็ดิ้นออกไปอีก มองดูให้เห็น แล้วจะรู้สึกว่า เป็นการต่อสู้ที่ท้าทาย เป็นการต่อสู้ที่สนุก เป็นการต่อสู้ที่เป็นหนทาง ที่จะก่อให้เกิดสติปัญญา ก่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ก่อให้เกิดความกล้าหาญ ที่จะฟันฝ่าต่อไปเพื่อควบคุม ฝึกอบรมจิตที่มันดิ้นรน มันอวดดี มันไม่ยอมนิ่ง มันชอบหาเรื่องก่อความวุ่นวาย ให้มันหยุดซะที ให้มันเป็นจิตที่เชี่อง อย่าท้อใจ อะไรจะเกิดขึ้นก็ให้เห็นเป็นเช่นนั้นเอง ถ้าจิตอยู่กับลมหายใจได้ ยุงก็ไม่มีความหมาย ความร้อนก็ไม่มีความหมาย อารมณ์ความรู้สึกใดๆ ไม่มีความหมาย เพราะสิ่งที่มีความหมายสูงสุดคือความสงบ ความเบาสบายที่กำลังเกิดขึ้นภายใน นี้ต่างหาก คือสิ่งที่มีคุณค่าต่อจิต ต่อชีวิต ต่อสู้ด้วยการกระทำที่ถูกต้อง ดึงจิตกลับมาอยู่กับลมหายใจ ต่อสู้อย่างไม่มีตัวผู้ต่อสู้ เพื่อไม่ให้จิตเกิดความทุกข์ ปฏิบัติอย่างใดถูกต้อง ทำอย่างนั้น โดยไม่ต้องมีตัวผู้กระทำ ไม่มีครู ไม่มีอาจารย์ ไม่มีนิสิตนักศึกษา ไม่มีหมอ ไม่มีนักสังคมสงเคราะห์ ไม่มีพยาบาล ไม่มีอะไรทั้งนั้น ขณะนี้มีแต่การกระทำเพื่อสร้างสรรค์ความสงบ ให้เกิดขึ้นภายใน ด้วยวิธีของการกระทำที่ถูกต้องเท่านั้นเอง ดึงจิตกลับมา ด้วยการกระทำที่ถูกต้อง ไม่นึก ไม่คิด ไม่จำได้หมายมั่นอะไรทั้งนั้น รู้อยู่ แต่กับลมหายใจ ที่กำลังผ่านเข้า ผ่านออก ผลักจิตให้เข้าไปข้างใน ผลักมันเข้าไปลึกๆ จนมันสัมผัสแนบสนิทกับลมหายใจ ผลที่เกิดตามมาจากการกระทำที่ถูกต้อง คือความเย็น เบาสบาย อย่างบอกไม่ถูก ควบคุมจิตได้คือการควบคุมชีวิตได้ ควบคุมชีวิตให้ดำเนินไปสู่หนทางที่ถูกต้อง คือหนทางที่ไม่ต้องเผชิญกับปัญหา ที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ ปัญหาก็สักว่าปัญหา ใช้สติปัญญาแก้ไข ให้ถูกต้องแก่กรณี แก่บุคคล แก่กาละเทศะ โดยไม่มีตัวผู้กระทำ มีแต่การกระทำที่ถูกต้อง อย่าเกร็ง อย่าเครียด อย่าเอาจริงเอาจังจนเกินความพอดี รักษาความพอดีเอาไว้ อย่าให้สุดโต่ง ตลอดสาย อย่าข่มขู่บังคับใจจนเกินไป จะทำให้เครียด จะทำให้อึดอัด

    เรากำลังปฏิบัติอยู่ในขั้นที่ 1 คือการตามลมหายใจยาว เพื่อทำความรู้จักกับลมหายใจยาว หลายๆ อย่าง รู้จักให้หลายๆ อย่าง ให้รู้ว่าลมหายใจยาวแต่ละอย่าง มีลักษณะธรรมชาติอย่างไร มันปรุงแต่งกายอย่างไร เมื่อหายใจยาวแรง กายเป็นอย่างไร สบายไหม สบายหรือไม่สบาย ก็รู้ไว้ กำหนดรู้ไว้ ด้วยสติ ไม่ต้องไปยึดมั่นในมัน หายใจยาวธรรมดาเป็นยังไง สบายไหม กายเหนื่อยไหม หนักไหม ถ้าสบายก็รู้ไว้ด้วยสติ พอหายใจยาวธรรมดา มันสบาย รู้ไว้ด้วยสติ ไม่ยึดมั่นมัน หายใจยาวลึกเป็นยังไง สบายไหม กายสบายไหม มันปรุงแต่งกายอย่างไร รู้ไว้ กำหนดไว้ด้วยสติ เพื่อรู้จักลักษณะธรรมชาติของลมหายใจยาวแต่ละอย่าง เพื่อความสะดวกที่จะควบคุมมัน เพื่อจะเรียกมันมาใช้ในจังหวะในขณะที่ต้องการ กำหนดจิตจดจ่อ ตามลมหายใจยาว ทั้งเข้าและออกให้ตลอดสาย ให้เป็นธรรมชาติ อย่าเกร็ง อย่าเครียด นี้คือหน้าที่ นี้คืองานของผู้ปฏิบัติในขณะนี้ ควบคุมจิตให้อยู่กับลมหายใจทุกขณะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service