แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอตอบคำถามนะคะ นี่มีคำถามจากที่อ่านและฟัง รู้สึกว่าผู้ถามจะมีความโกรธเคืองอิทัปปัจจยตา ถามว่า ถ้าสาวกันไปเรื่อยๆ แล้ว จะมีวันสิ้นสุดไหม ก็แล้วแต่กรณีว่าเป็นเรื่องเล็กเรื่องใหญ่แค่ไหน ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นอจินไตย ยากที่จะสิ้นสุด หรือจะตอบว่า มันมีของมันมาช้านานแล้ว หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง เช่น มนุษย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าจะตอบก็บอกว่า เป็นเพราะเมื่อชายหญิงเกิดรักกันมา แต่งงานกัน เมื่อต้องการมีผู้สืบสกุลจึงร่วมประเวณีกัน แล้วทำไมการร่วมประเวณีกันจึงเกิดมีสิ่งมีชีวิตขึ้นมาได้ นี่ก็ตามเหตุตามปัจจัย ที่ผู้ถามเองก็ได้พูดในคำตอบต่อไปว่า เกี่ยวกับเรื่องของการเรียนวิทยาศาสตร์ในสาขาของชีววิทยา เป็นต้น เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็ต้องอาศัยความรู้ การที่เราจะไปสาวในเรื่องของอิทัปปัจจยตา ว่ามันมีปัจจัยอะไรมาจากอะไร จึงต้องการความรู้ อย่างที่บอกว่า ที่เรียนความรู้ คือ วิชา ช ตัวเดียว ที่ศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีประโยชน์ แต่มันไม่มีประโยชน์ถึงที่สุด เพราะว่ามันยังไม่ได้ช่วยให้พ้นจากความทุกข์ หรือว่าปัญหาของชีวิตที่เป็นความทุกข์ได้ ฉะนั้น ถ้าหากว่า จะให้สามารถใช้วิชาได้อย่างผู้ฉลาดจริง คือ ฉลาดที่จะใช้วิชา และหาประสบการณ์จากวิชาให้เกิดผลประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ ก็มีวิชชา ช 2 ตัวเพิ่มขึ้นมาอีกสักหน่อย แล้วมันก็จะเกิดประโยชน์ แก่ชีวิตอย่างสูงสุด
ฉะนั้น ถ้าหากว่าผู้ที่ไม่มีความรู้เลยในวิชาและในวิชชา การที่จะสืบหาปัจจัยของแต่ละเรื่องก็ย่อมสั้นและแคบ ตามความความรู้และความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นก็ต้องสรุปว่า ถ้าจะเข้าใจอิทัปปัจจยตานั้นต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากความคิดของมนุษย์ที่อยากรู้อยากเห็นถูก หรืออย่างการเกิดโรคภัยไข้เจ็บมา จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเซลล์ตัวไหนเข้าสู่ร่างกายอย่างไร และภายในร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างไร ถ้าไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่ได้เรียนการแพทย์ นี่เติมถ้าไม่ได้เรียนการแพทย์ แน่นอนถูกแล้ว ซึ่งไตรลักษณ์จะบอกว่า มันเป็นความไม่เที่ยงของร่างกาย แล้วทำไมมันไม่เที่ยงล่ะ มันก็ไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัย นี่ไม่ได้ตอบกำปั้นทุบดิน มันก็ไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัย เหมือนอย่างคนที่ ไม่ได้ระวังรักษาร่างกายของตนเองให้ถูกต้อง ทางสุขวิทยา อนามัยตลอดจนกระทั่งไม่ถูกต้อง กับการรักษาจิตภายใน นั่นแหละ คือ เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือให้เกิดโรค เพราะฉะนั้น เหตุปัจจัยที่จะเกิดขึ้นนี้ จะสาวไปถึงไหน สั้นยาวเท่าใด แล้วแต่กรณี แล้วก็ยังแล้วแต่ความรู้ประสบการณ์ในชีวิต ในความเป็นจริง ของบุคคลผู้นั้นด้วย แล้วก็การที่จะมายอมทำใจให้รับสิ่งนี้ที่เป็นการยาก สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัส
ฉะนั้น สิ่งที่พูดไปนี้จึงได้พูดตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ไม่ได้ขอร้องให้ใครเชื่อ แต่ถ้ามีปัญญาจริง ขอร้องให้ใคร่ครวญดู ตามหลักของกาลามสูตร ทุกเรื่องเลย แม้แต่ปฏิจจสมุปบาทด้วย ไม่ได้ขอร้องให้ใครเชื่อแต่ขอร้องให้ใคร่ครวญดู ถ้ารู้ว่าอะไรคือความทุกข์ และชีวิตนี่มันเข็ดหลาบกับความทุกข์และปัญหาแล้ว และเมื่อลองใคร่ครวญดู ลองศึกษาปฏิบัติดู แล้วถามตัวเองว่าขาดทุกมั๊ยนี่ ทุนไหมนี่ เราเสียอะไรบ้าง เราเสียอะไรบ้างหรือเปล่า ถ้าคำตอบนั้น ไม่เห็นมีอะไรเสีย นอกจากได้ ก็ลองดู แต่ถ้าคิดว่าเสีย ก็อย่าเพิ่งทำ เก็บเอาไว้ก่อน ทิ้ื้งเอาไว้ที่ไหนก็ได้ จนวันหนึ่ง รู้สึกว่าโอ้ ่วไม่ไหวแล้ว ก็อาจจะควักมันขึ้นมาไปหยิบมันขึ้นมา แล้วก็เอาลองมาปัดฝุ่น ใคร่ครวญดู ลองใช้อีกที เพราะฉะนั้นโปรดใช้หลักการกาลามสูตร ในการที่จะปฏิบัติธรรม หรือว่าสนใจในเรื่องของธรรมนะคะ
คำถามต่อไปก็เกี่ยวกับนิทานเซน ที่เล่าไปนะคะ ถามมาว่า ถ้าหากว่ายังปฏิบัติไม่ถึงเหมือนอย่างอาจารย์เซนคนนั้นนี่ แล้วถ้ามีใครเขามาว่าอย่างเนี๊ยะ นี้ เราก็ยังเฉยอยู่หรือยังไง ไม่ต้องพูด ไม่ต้องอธิบายหรือยังไง
ก็ขอตอบว่าถ้าสามารถอธิบายชี้แจงได้ในขณะนั้นก็อธิบายชี้แจงเลย แต่ว่าจะอธิบายชี้แจงอย่างไร ตรงจุดนี้สำคัญ ถ้าหากว่าการอธิบายนั้นประกอบด้วยสติ ด้วยสมาธิ คือ ความมั่นคงของใจ แล้วก็ด้วยปัญญาที่มีอยู่ข้างใน การอธิบายนั้นก็จะตรงจุด คือ ตรงจุดของความต้องการที่จะพูด แล้วคำพูดนั้นก็จะชัดเจน แล้วก็เหมาะสมแก่บุคคล แก่กรณี ไม่เป็นคำพูดที่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น พูดอย่างนี้เข้าใจมั๊ยไหมคะ คำพูดที่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นก็คำพูดที่เกิดจากอารมณ์ อารมณ์ของกิเลสที่อยู่ในใจ อารมณ์ของตัณหา อารมณ์ของความยึดมั่นถือมั่นในทิฐิถิของตน ฉันเห็นอย่างนี้ ฉันว่าอย่างนี้ทำไมมาพูดอย่างนั้น ถ้าอธิบายไปตามนั้นล่ะก็ ผลมันก็เกิด แต่มันเกิดในทางลบ แต่ถ้าอธิบายด้วยสติและปัญญา ผลก็จะเกิดในทางบวกนะคะ
เพราะฉะนั้น การที่จะมาศึกษาแล้วก็ปฏิบัติธรรม ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเงียบ แล้วก็ไม่พูดอะไรเลย หรือว่ายอมรับทุกอย่าง ทุกกรณี ไม่ใช่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็เคยทรงถูกพวกผู้คนในลัทธิอื่นเข้ามาด่ามาว่าท่าน ท่านลองไปอ่านพระไตรปิฏกนะคะ บางคนเข้ามานี่แหม ใช้ถ้อยคำจาบจ้วงหยาบคายอย่างชนิดที่ฟังไม่ได้เลย พระองค์ก็ทรงฟัง ฟังด้วยความสงบ ด้วยความผ่องใส ด้วยสติ และเมื่อเขาพูดจบแล้ว ก็จะทรงอธิบายเป็นข้อ ๆ อย่างช้า ๆ อย่างชนิดที่ไม่มีอารมณ์ของผู้ที่ต้องการที่จะเบียดเบียน และผลที่สุด หลายครั้ง และหลายคนเลย ที่เข้ามาด่าว่าพระองค์ด้วยประการต่างๆ นี่ ก็ยอมรับ ยอมรับตนเองเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา หรือบางคนก็ยอมรับเป็นพุทธมามกะมีเยอะเลย เพราะฉะนั้นการตอบโต้นี้ เป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาพึงกระทำ และเพราะว่าเป็นผู้มีปัญญานั่นเอง ก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำนะคะ
ที่นี้ที่อาจารย์เซนคนนั้นนี่ เฉยซะ เสีย ก็คงจะรู้สึกอยู่ในใจว่า ในขณะที่คนกลุ่มนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์ร้อน แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องอย่างนี้ ถ้ายิ่งอธิบายก็เท่ากับจะนำให้เกิดการโต้เถียง ขัดแย้งกันเปล่า ๆ แล้วก็ตัวอาจารย์เซนคนนั้น ก็อาจจะมีความรู้สึกว่า ไม่สำคัญ สำหรับตัวท่านเอง ตัวอาจารย์เซนเอง มีหน้าที่จะทำอะไร ทำให้ถูกต้อง แสดงให้เขาเห็นความจริงด้วยตัวอย่าง อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ถึงไม่ตอบ แต่สำหรับพวกเราทั้งหลายนี่นะคะ ก็ขอตอบว่าถ้าสมควรตอบในขณะนั้นได้ เพราะมันเหมาะสมแก่กาละเทศะก็ตอบ แต่ถ้ายังก็รอไว้ก่อน รอหาจังหวะที่เหมาะสม เพื่อให้การตอบหรือการอธิบายนั้น ให้เกิดผล คือว่าเกิดผลในทางที่ไม่เป็นปัญหาต่อไปนะคะ
ขณะที่อยู่ในท่านอนหงายสักพักก็ได้ผ่อนคลาย โดยการผ่อนคลายลมหายใจที่หน้าท้อง และลดให้เบาลง เบาลง จนสงบเงียบเหมือนกับไม่ได้หายใจ จะเอาการสังเกต การหายใจที่หน้าท้อง มาเป็นตอนนั่งสมาธิ แล้วผ่อนคลายแทนที่รูจมูกได้มั๊ยไหม ก็ไม่อยากปฏิเสธ ว่าไม่ได้นะคะ ถ้าผู้ใดรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะบังคับจิตให้จดจ่ออยู่ที่จุดเดียวที่ช่องจมูกได้ แต่สามารถที่จะจดจ่อจิต ตรงที่ที่รู้ว่า ตรงนี้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็ได้เหมือนกัน แต่ที่แนะนำที่ช่องจมูกก็เพราะว่า ลมหายใจมันจะต้องเข้าออกจะต้องผ่านช่องจมูกก่อนเป็นจุดแรก มันจึงง่าย นอกจากนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ในการปฏิบัติหมวดที่ 4 เราไม่จำเป็นจะต้องตามลมหายใจ ในการที่จะคอยเฝ้าดูที่ช่องท้อง มันอาจจะดึงใจให้ต้องตามลมหายใจไปด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ ถ้าสามารถรู้สึกได้เฉย ๆ โดยไม่ต้องตามลมหายใจก็จะช่วยให้จิตสงบได้ ทั้งนี้ ก็อาจจะลองหาวิธีการ