แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ธรรมะสวัสดีทุกท่านค่ะ วันนี้ เป็นวันที่ 5 ก็เรียกว่า เรามาครึ่งทางแล้ว ยังเหลืออีกเพียงครึ่งเดียว รู้สึกอย่างไรคะ ยังมีแรงพอจะเดินต่อไปไหวไหม วันที่ 4 ที่ 5 เนี่ยนะคะ 4 5 6 เนี่ยะ จัดว่าเป็นวันที่ค่อนข้างลำบากสำหรับผู้ปฏิบัติ เท่าที่สังเกตมา ทั้งไทยทั้งฝรั่ง เพราะว่าตอนแรกๆ วันที่ 1 ที่ 2 บางทีก็ยังพอมีเรี่ยวแรง ศรัทธายังพอเหลือบ้าง แต่พอหลายวันผ่านไป ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าและก็ความรู้สึกผิดหวังกับตัวเอง ที่ไม่สามารถจะทำได้อย่างที่ต้องการ ก็เลยทำให้วัน 4 5 6 เนี่ย จะเป็นวันที่ตึงเครียดมาก สำหรับผู้ปฏิบัติที่ตั้งความหวังเอาไว้ แล้วก็ความตั้งใจความมีศรัทธาไม่เข้มแข็งหนักแน่นพอ ฉะนั้นก็จงรู้ว่า นี่กำลัง กำลังอยู่ในระหว่างวัน ที่จะเป็นวันที่หนักหนา เมื่อเรารู้ว่าจะเป็นวันที่หนักหนาก็ทำใจให้สบายๆ ยิ้มกะมัน หัวเราะกับมัน ผ่อนคลาย ไม่ต้องไปเคร่งเครียดกับลมหายใจ เพื่อว่า จะมีความสบายขึ้นนะคะ แล้วก็เดินต่อไปอีก 5 วัน 6 วัน ด้วยความสบายใจ แล้วพอถึงวันสุดท้ายก็จะรู้สึกว่า ไม่เสียที ที่อุตส่าห์เหน็ดเหนื่อยสละเวลามา
ในการที่ ขอให้ตามลมหายใจยาวขั้นที่ 1 และก็ตามลมหายใจสั้น และก็ตามลมหายใจทุกอย่างในขั้นที่ 3 รู้สึกมีอุปสรรคมากไหมคะ ในการปฏิบัติ สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ ก็คงจะมีอุปสรรคไม่น้อย ฉะนั้นตอนเช้านี่ อยากจะขอชวนให้ลองทำพร้อมกัน โดยดิฉันจะขอว่า จะให้หายใจยาวอย่างไหนก็ลองตั้งใจ หายใจยาวอย่างนั้น ทีนี้ ในขณะที่หายใจเนี่ยนะคะ ไม่ต้องคิด อันแรกที่สุดเนี่ยนะคะ อย่าคิด อย่าไปคิดว่ากำลังเข้า อย่าไปคิดว่ากำลังออก แล้วก็ไม่ต้องบอกตัวเองว่า เข้า - ออก เข้า - ออก เพราะถ้าขืนพูดว่าเข้า - ออก ๆ ใจจะไปอยู่กับ เข้า – ออกแล้วก็ไม่สัมผัสกับความเคลื่อนไหวของลมหายใจจริง ๆ ก็จะไม่รู้จักจริงๆ พยายามที่จะไม่คิด นั่งตามสบาย นั่งตามสบายที่จะรู้สึกผ่อนคลาย แล้วก็ที่พูดว่า ตามลมหายใจให้ตลอดสาย คำว่าตลอดสาย หมายความว่า ลมหายใจมันเข้าไปถึงไหน จะยาวแค่ไหนจะสั้นแค่ไหนแล้วมันหยุดตรงไหน เนี่ยที่ดิฉันใช้คำว่าตลอดสาย คือตลอดหนทางที่ลมหายใจเคลื่อนไหวผ่านมา บางท่านอาจจะเพียงแค่นี้ นั่นก็คือสายของเราละ ในครั้งนี้ ตอนนี้ มันได้แค่นี้ แต่ว่าบางท่านอาจจะเลยไปถึงแค่นี้ ไม่ว่ามันจะไปที่ไหนนะคะ จะลึกจะสั้นแค่ไหน ไม่สำคัญ ไม่ต้องไปใส่ใจ ว่าคราวนี้ต้องให้ได้แค่นี้ เรารู้แต่ว่าเราจะหายใจยาวแรง แล้วก็เข้าใจแล้วว่า วิธีหายใจยาวแรงเป็นอย่างไร หายใจยาวแรง ยาวลึก สังเกตไหมคะว่า ถ้ายาวลึกกับยาวแรงมันต่างกันตรงไหน สังเกตไหมคะ ยาวลึกมันจะมีระยะความยาวมากกว่ายาวแรงสักหน่อยคือพูดถึงขนาดของความยาวของมัน มันจะยาวกว่ากันสักหน่อย แล้วก็น้ำหนัก น้ำหนักของยาวลึกจะมีมากกว่าน้ำหนักของยาวแรง คือมันเป็นน้ำหนักที่หนักหน่วงกว่า แล้วถ้าเราลองฝึกหายใจไป เราก็จะเห็นว่าการหายใจยาวลึกเนี่ย จะหายใจยาวลึกอย่างชนิดหนัก ชนิดหยาบก็ได้ หรือจะหายใจยาวลึกอย่างสบายๆ คือไม่หนักไม่เหน็ดเหนื่อยมาก ก็ได้ ที่พูดเอาไว้นั้นเป็นแต่เพียงแต่ตั้งต้นให้ ว่าสัก 3 อย่าง แต่พอเราลองทำไปจริงๆ แล้วจะได้อีกหลายอย่าง หรือหายใจยาวธรรมดา แล้วเราก็หายใจยาวช้าๆ แล้วจากยาวช้าๆ เนี่ย มันก็จะมองเห็นว่ามันมีความเบา มันมีความเบา ความสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทำไป ๆ จะได้ประสบการณ์ขึ้นทีละน้อย ข้อสำคัญก็คืออย่าเครียด อย่าเอาจริงเอาจังกับมัน เพราะก่อนที่จะหายใจละก็ หายใจธรรมดาเสียก่อน เหมือนอย่างเวลาที่เราจะขับรถ ก่อนที่เราจะออกขับรถวิ่ง เราก็สตาร์ทเครื่อง อุ่นเครื่องเสียก่อน ให้เครื่องยนต์มันร้อน พอเราจะวิ่งมันก็วิ่งไปด้วยรวดเร็ว วิ่งไปได้เรียบร้อย เพราะฉะนั้นอันนี้ เราหายใจธรรมดาๆ ซะก่อน ก็เพื่อไม่ให้เรารู้สึกเครียด เพราะฉะนั้น ก็เพียงแต่ตามรู้ รู้ รู้เอาข้างใน ตาเราจะอยู่ข้างนอก รึตาเราจะลืม แต่ใจเราให้เข้าข้างใน สัมผัสกับสิ่งที่อยู่ข้างในเสมอ เข้าใจนะคะ
นั่ง นั่งกายตรง แต่ไม่ต้องถึงอย่างนี้นะคะ แต่ไม่ต้องหงายไป บางท่านเห็นหงายไปเนี่ย จะปวดมากเลย จะปวดตรงนี้ ตรงไหล่เนี่ย และจะปวดบั้นเอวด้วย แล้วก็ดีไม่ดีก็จะหงายหลัง นั่งก้ม บางท่านก้มหน้าอย่างเนี้ยะ หาอะไร ก้มลงไปหาอะไร ไม่มีอะไรจะต้องดู ไม่ต้องก้มลงไปดูหาอะไร ตักเราเป็นอย่างนี้ มือเราเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องก้มไปดู หน้าอย่างนี้ขนาดไหน อยากจะบอกว่าขนาดพระพุทธรูป เหมือนอย่างพระพุทธรูปที่ มองเห็นองค์พระพุทธรูปแล้วใช่ไหมคะ พระพักตร์ของท่านไม่หงายแล้วก็ไม่ก้ม แต่กำลังพอดีๆ กำลังพอเหมาะ อย่างนี้ ถ้าหากเราทำพอดี ๆ อย่างดี คอก็จะตั้งบนบ่าอย่างเรียบร้อย แล้วก็ไม่รู้สึกหนัก ฉะนั้น หน้าก็อยู่ธรรมดา ถ้าก้มเนี่ย จะพาลให้ง่วงด้วย แล้วลมหายใจมันก็จะตามไม่ได้คล่องแคล่ว เพราะฉะนั้น ท่านั่งสบายๆ เนี่ย จำเป็น ทีนี้มีคำถาม ถามมาว่า เผื่อมีอุปสรรคแก่ร่างกาย เพราะว่าปวดแข้งปวดขา หรือว่ามันเคยมีอุบัติเหตุอะไรมาอย่างนี้ จริงๆ แล้วจะนั่งยังไง จะนั่งตามสบายได้ไหม คำว่าตามสบาย เนี่ยนะคะได้ แต่ทว่า ต้องมีความสำรวม ในความสบายนั้นต้องมีความสำรวม ถ้าไม่สำรวมแล้วมันสบาย สบายก็จะพาลหลับไปเลย อย่างที่ บางท่านว่า พอก่อนที่จะนั่งสมาธิ ได้รับคำแนะนำว่าต้องทำใจให้เคลิ้มๆ เสียก่อน ถ้าทำใจให้เคลิ้มๆ มันก็ชวนหลับ ถือว่าการนั่งสมาธิคือหนทางไปสู่ความหลับ ซึ่งไม่ใช่ มันผิด ผิดตรงกันข้ามเลย ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น การนั่งสมาธิ คือทำใจที่ง่วงเหงางุนงง มึน นั่นแหละ ให้เป็นใจที่มั่นคง หนักแน่น นั่นแหละให้เป็นใจที่มั่นคง แจ่มใส จิตใจให้เบิกบาน ให้ใจเนี่ย เปิดพร้อมที่จะรับ เพราะฉะนั้น เมื่อเวลากลับไปที่บ้านนะคะ ถ้าหากท่านผู้ใดมีอุปสรรคเกี่ยวกับร่างกาย เลือกนั่งเก้าอี้ก็ได้ แต่ว่านั่งเก้าอี้ที่มีพนักตรง ไม่ใช่เก้าอี้นวมสบายนะคะ เพราะว่ามันสบายเกินไป แล้วขานี่ก็ลงตรง เหยียดลงตรง เหยียดลงตรงให้ถึงพื้นอย่างเสมอกัน ไม่ใช่ไขว่ห้าง ไม่ต้องไขว่ขา มือก็คงวางไว้บนตัก เพียงแต่ว่าเราเปลี่ยนท่านั่งจากขัดสมาธิเป็นนั่งเก้าอี้ นั่งให้สบายๆ แต่แล้ว ถ้าหากว่าจะพยายาม ค่อยๆ หัดนั่งกับพื้นทีละน้อย ๆ จะค่อยๆ ทำได้ไปเอง พร้อมแล้วนะคะ ขอให้ตามลมหายใจปกติ ตามลมหายใจธรรมดาที่หายใจอยู่ หายใจสบายๆ แล้วก็สังเกตว่า ลมหายใจปกติของเราขนาดไหน ยาวสั้นขนาดไหน รู้เอาไว้ แล้วก็ลมหายใจปกติของเรานั้น หายใจคล่องแคล่วดีหรือเปล่า หรือมันหายใจขัดๆ เหมือนกับมีอะไรมากั้นลมหายใจไม่ทะลุไปได้เลย นั้นเพียงรู้ว่าเป็นผู้ที่ปกติมีอารมณ์เครียดเป็นนิสัย จึงทำให้ลมหายใจผ่านเข้าออกไม่สะดวก คล่องแคล่วดีแล้วนะคะ
ต่อไปนี้เราจะปฏิบัติขั้นที่ 1 พร้อมกัน ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจยาว ลมหายใจปกตินั้น ให้ยาวออกไปทีละน้อย ให้เป็นธรรมชาติ แล้วกำหนดจิตตามลมหายใจนั้น ตามไปช้าๆ พอลมหายใจยาวหยุด หยุด แล้วก็ตามกลับออกมา หายใจยาวธรรมดา ตามลมหายใจยาวธรรมดา อย่าเกร็งนะคะ ไม่ต้องเกร็ง ไปเรื่อยๆ ธรรมดาไม่ต้องเกร็ง ต่อไปนี้ เปลี่ยนเป็นหายใจยาวแรง อีกสักครั้งไหวไหมคะ ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจยาวแรง ให้เป็นยาวธรรมดา ยาวธรรมดา แต่ข่มตามมันไปเรื่อย ตามให้ตลอดสาย พอมันเคลื่อนไหวก็กำหนดจิตรับลมหายใจยาวธรรมดาที่ตรงช่องจมูก แล้วก็ตามความเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหวไปทางไหน ดูด้วยตาใน ตาในก็คือดูด้วยความรู้สึก ดูมันไป ตามมันไป มันปรุงแต่งกายอย่างไร สบายดีไหม หายใจสบายๆ ไม่ต้องสูดแรง ถ้าสูดแรงนั้นไม่ใช่ยาวธรรมดาแล้ว ยาวธรรมดานี่มันเรื่อยๆ มันสบายๆ ทีนี้ลองหายใจยาวธรรมดา ผ่อนให้ช้าลง ช้าลงอีกนิด หายใจยาวธรรมดาให้มันช้าลงอีกนิด ช้าๆ ให้เป็นธรรมชาตินะคะ อย่าฝืน อย่าเกร็ง ให้เป็นธรรมชาติ ไม่ฝืน ไม่เกร็ง ช้า ช้า ปรุงแต่งกายเป็นอย่างไรคะ สบายดีไหม หรือมันช้าเกินไป ถ้าช้าเกินไปก็ปรับให้มันเป็นยาวที่พอดีๆ ยาวที่สบาย ที่เหมาะแก่แต่ละท่าน สังเกตได้อย่างไร ก็สังเกตได้จากความรู้สึกที่มันปรุงแต่งกาย คือกายรู้สึกอย่างไร ปรับเอาเอง ปรับให้พอเหมาะ แล้วกำหนดจิตตามเข้า - ตามออก ตามด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้รู้สึกสนุกอย่าเครียด ตามด้วยสติ ตามความเคลื่อนไหวของมัน
ที่นี้เราจะเปลี่ยนแล้วนะคะ หายใจยาวลึก พร้อมกัน นี่ละค่ะ สูดเข้าไป ลองสูดเข้าไปให้ลึกที่สุด เท่าที่จะทำได้ อีกสักครั้งสิคะ อีกสักครั้งสิคะ ที่กำลังง่วง จะได้ขับไล่ความง่วงออกไป ตามไหวไหมคะ ยาวลึก ท่านผู้ใดที่กำลังจะเวียนศีรษะ กลับมาหายใจยาวธรรมดา ยาวธรรมดา ยาวธรรมดาที่พอสบายๆ แต่กำหนดจิตตามมันไปให้ตลอด สังเกตด้วยความรู้สึก ด้วยการสัมผัสกับมัน ให้รู้ว่าลมหายใจยาวธรรมดานั้น ปรุงแต่งกายอย่างไร ต่อไปหายใจยาวแรง ยาวแรง ไม่ใช่สั้นนะคะ เสียงเหมือนจะสั้น ยาวแรง ยาวแรง ไม่ต้องยกตัว ถ้ายาวลึกเราก็จะยกตัวนิดหน่อย เพราะเราตั้งใจสูดให้ลึกสักหน่อย เพราะเราตั้งใจสูดให้ลึกที่สุดที่จะลึกได้ เพราะยาวแรงไม่ต้องยกตัว เหนื่อย กลับมาหายใจยาวธรรมดา ตามลมหายใจยาวธรรมดา แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจยาวธรรมดานั้นให้ช้าลง ๆ แต่อย่าให้ช้าจนเครียด เอาช้าพอสบายๆ ที่เราจะตามได้อย่างสบาย แล้วเราก็ปรุงแต่งกายได้สบายด้วย