แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ว่าถึงเรื่องความสุข ขั้นเหนือปรุงแต่งก็คิดว่าจะไม่ยาว นี้เราก็พูดกันมาแล้วถืงความสุขหลายระดับ ระดับนี้ก็ถือว่าระดับสูงสุด นี้ความสุขนี้ก็มีข้อย้ำอยู่อันหนึ่ง คือว่ามันก็ดี แต่ว่ามันก็มีโทษได้ในแง่ที่ว่าไปหลงติดอย่างที่ว่าไปแล้ว ถ้าไปติดปั๊บแล้วก็เกิดปัญหาทันที ติดหลงเพลิดเพลินมัวเมาก็ทำให้เกิดความประมาท เพราะฉะนั้นพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า นอกจากให้เป็นสุขที่ชอบทำแล้วก็ยังไม่ให้หลงติดเพลินสยบด้วย แล้วความสุขแทบทุกอย่างก็จะมีติดได้ มีอยู่ขั้นเดียวที่ว่าจะไม่ติดก็คือความสุขขั้นเหนือปรุงแต่ง ขั้นเหนือปรุงแต่งไม่ติดเลย ถึงมีสุขก็ไม่ติด เพราะว่ามันเป็นความสุขที่บรรลุด้วยจิตของผู้ที่เป็นอิสระแล้ว ฉะนั้น มันก็เลยไม่มีเชื้อที่จะให้ติดหมายความว่า ตัวเหตุปัจจัยที่จะทำให้ติดมันไม่มีท่านผู้บรรลุสุขขั้นสูงสุดนี้ แต่ก็ ทั้งนี้ก็ต้องหมดก็หมายความว่า กิเลสอัศวะก็คือเป็นพระอรหันต์นั่นเอง ทีนี้จะพูดอย่างนี้มันก็ยังอาจจะทำให้มีแง่เป็นสุขเหนือปรุงแต่ง ทีนี้ ในกรณีที่เป็นพระอริยะอื่น ๆ ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็อาจจะยังติดเพลินได้เหมือนกัน ที่ว่าไม่ติดเพลินนี้ก็หมายถึงนี่แหละ ต้องเป็นพระอรหันต์เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะทำให้ติดมีจิตเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ ฉะนั้นเราก็พูดได้แง่ว่า สุขที่เป็นอิสระ สุขเหนือปรุงแต่งขั้นสูงสุดก็หมายถึงสุขของพระอรหัต์ผู้บรรลุนิพพานโดยแท้จริงแล้วจึงจะไม่มีการติดเพลินอีก เมื่อไม่ติดเพลินก็ไม่มีทางที่จะประมาท พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่ไม่อาจจะประมาท นี้การที่เข้าถึงความสุขระดับที่เหนือปรุงแต่งก็เป็นเข้าถึงด้วยปัญญา ปัญญานั้นเข้าถึงความจริงนั่นเอง หมายความว่าได้รู้เข้าใจสังขารหรือเห็นโลกและชีวิตนี้ตามเป็นจริงหรือจะใช้สำนวนว่าตามที่มันเป็นก็ได้ ถ้ารู้เห็นตามที่มันเป็นเข้าถึงความจริงแล้ว จิตที่เข้าถึงความจริงแท้นี่ มันก็ไม่มีอะไรจะปรุงแต่งแล้ว เพราะความจริงมันไม่ใช่เรื่องปรุงแต่งนี่ เมื่อเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาก็เกิดความเป็นอิสระเป็นความสุขประเภทโล่งโปร่งเบา เหมือนอย่างคนที่ว่าจิตยังไม่โล่งไม่โปร่ง ยังมีความติดข้อง มีความไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง มันก็ยังมีความไม่สว่าง ไม่โปร่งไม่โล่ง อย่างคนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกในระดับของสามัญชนที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรต่าง ๆ พอไปติดขัดยังไม่มีปัญญารู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งอย่างนั้นอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ควาติดขัดก็เกิดขึ้นในขณะนั้นแม้จะได้สิ่งบำรุงบำเรอสบายอย่างไร จิตมันคลองก็จริงข้องมันก็ไม่ได้โปร่งได้โล่ง นี้เมื่อไหร่เกิดความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรจะต้องทำอะไรต่ออะไรอย่างไร ความโล่งโปร่งเบา มันก็เกิดขึ้นก็เรียกว่าพ้นจากทุกข์เป็นอิสระหรือดับทุกข์ได้ อันนี้มันเป็นความสุขในตัวเองเลย การที่ว่า หมดปัญหา จิตไม่ติดขัดรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่ออะไรยังไง การที่รู้เข้าใจทางปัญญา มันเป็นความสุขอยู่ในตัวเอง แต่เป็นความสุขที่มีลักษณะแปลก ถือว่ามันเป็นความสุขที่ไม่ต้องการ ๆ บำรุงบำเรออะไร มันรู้มันเข้าใจความจริงก็เกิดความโปร่งโล่งเบา มันก็สบายความสุขแบบนี้ ท่านเรียกว่าความสุขแบบไร้ทุกข์คือ ไม่มีความทุกข์หรือว่าดับทุกข์หรือจะใช้คำอย่างไงก็แล้วแต่ ทีนี้ปัญญาที่รู้เข้าใจความจริง อันนี้มันจะรู้เข้าไปจนถึงธรรมชาติของโลกและชีวิต ในขั้นสุดท้ายอย่างที่เคยพูดไปแล้วก็คือ รู้สภาพของสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่มันเป็นไปตามความจริงของมันดำรงอยู่ตามสภาพของมัน ๆ เป็นของไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไป ไม่อยู่ในภาวะเดิม และไม่มีใครเป็นเจ้าของบังคับบัญชาเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันนี่ ความรู้ความเข้าใจความจริงอย่างนี้ จนถึงกระทั่งว่า รู้สว่าง โล่ง มันก็ทำให้จิตนี่ วางตัว วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง อย่างที่เคยพูดไว้แล้วว่า ในธรรมชาติสังขารทั้งหลายมันเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ปรากฏแก่มนุษย์ในความสัมพันธ์แก่มนุษย์ว่ามันไม่อยู่ในภาวะที่ตัวต้องการ ภาวะที่มันไม่อยู่ในสภาพของมันอย่างเดิม มันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยนี่ มันก็เป็นภาวะของสิ่งนั้นตามปกติเป็นธรรมชาติของมัน เราเรียกด้วยศัพท์ว่าเป็นทุกข์ ทีนี้ภาวะที่เป็นทุกข์ในสิ่งทั้งหลายมันก็มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ทีนี้พอสัมพันธ์กับมนุษย์ ๆ นี้ไปวางท่าทีมีความต้องการต่อมัน เมื่อมีความต้องการก็ต้องการให้มันอยู่ในภาวะอย่างหนึ่งที่ตัวปรารถนา เมื่อมันไม่อยู่ในภาวะนั้นก็เกิดเป็นทุกข์ในใจคนด้วย อันนี้ก็คือ ลักษณะจิตใจของปุถุชนที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้น พอมีปัญญารู้แจ้งว่า สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นสภาพของมันอย่างนั้นแหละ ที่มันเกิดดับไม่อยู่ในภาวะที่เราต้องการเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นอย่างนั้น มันเป็นภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลง การตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ก็เรียกเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ ตอนนี้เพราะปัญญารู้เนี่ยมันรู้แต่ภาวะที่เป็นทุกข์ในธรรมชาติของสิ่งนั้นเอง แต่ว่ามันไม่มีไอ้เจ้าตัวความต้องการความปรารถนาของตัวเองต่อสิ่งนั้นที่จะไปขัดขืนกัน มันก็เลยกลายเป็นว่าทุกข์ที่เป็นสภาวะอยู่ในธรรมชาติก็เป็นภาวะในธรรมชาติของมันอย่างนั้น ไม่เข้ามาก่อให้เกิดเป็นทุกข์ในจิตใจของเรา อันนี้ก็เป็นภาวะที่หลุดพ้น เรียกว่าความพ้นทุกข์นั้นจิตใจก็จะวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดเป็นปัญหาแก่ตนเอง ทีนี้ความสัมพันธ์ด้วยปัญญาก็จะมีออกมาสู่เรื่องของการที่จะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร จะดำเนินชีวิตอย่างไรด้วย ในคนทั้งหลายที่มันอยู่ในโลกนี้
1.ก็มีความปรารถนาสิ่งนั้นมีความต้องการให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการ
2.ในการดำเนินชีวิตในการปฏิบัติ เขาแยกไม่ออกเขาก็นึกว่ามันไม่เป็นไปตามความต้องการของเขาก็เกิดความขัดแย้งปะทะกันก็เกิดปัญหา ที่เรียกว่าความทุกข์ขึ้นมา ถ้าเราจะเปรียบอุปมาก็เหมือนกับว่าเราพูดเป็นกระแสไป ว่าใจของคนเราเนี่ยเวลาไปเกี่ยวข้องกับอะไร เราก็มีความต้องการต่อสิ่งนั้น อยากให้เป็นอย่างโน้น อยากให้เป็นอย่างนี้ การที่อยากให้เป็นอย่างโนั้นอย่างนี้ เราเรียกว่า เป็นกระแส คือกระแสความต้องการหรือกระแสความอยาก ก็คือกระแสตัณหานั่นเอง กระแสความอยาก กระแสตัณหา กระแสความปรารถนา เป็นกระแสของคนเราในใจ กระแสในใจของคนเราเกิดความรู้สึกนึกคิด ก็เรียกง่าย ๆ ว่ากระแสของคน กระแสของคนก็คือตามกระแสของความอยากความปรารถนาต่อสิ่งทั้งหลาย ทีนี้ ตัวสิ่งนั้น ๆ เองล่ะที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องมันก็มีความเป็นไปของมัน
ความเป็นไปของมันเองนั้นคือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันตามกฎธรรมชาตินั้นเราก็พูดได้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็มีกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัยใช่ไหม ตอนนี้มันก็เท่ากับว่ามีกระแส 2 กระแส 1 กระแส ของความอยากความต้องการในใจของคนหรือกระแสตัณหา พูดสั้น ๆ ว่ากระแสของคน ก็คือการที่จะให้สิ่งนั้นมันเป็นไปอย่างงั้นเป็นไปอย่างงี้กระแสหนึ่ง ทีนี้กระแสของให้เจ้าตัวสิ่งนั้นเองก็คือกระแสของกฎธรรมชาติหรือกระแสธรรมะ กระแสความจริง การที่สิ่งนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ตอนนี้เท่ากับว่า สิ่งเดียวกันเนี่ยอยู่ใน 2 กระแส สิ่งนั้นอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนก็อยู่ในกระแสของตัณหาความปรารถนา และตัวมันเองก็อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัยของมัน มี 2 กระแสโดยที่สิ่งเดียวกันนั้นอยู่ 2 กระแส ทีนี้มันมี 2 กระแสนี่ ไอ้เจ้า 2 กระแส โดยมากมันจะไม่ตรงกัน ไอ้กระแสความอยากของคนอยากให้เป็นอย่างงี้ ๆ ส่วนไอ้สิ่งนั้น มันก็มีกระแสความเป็นไปของมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน อันนี้พอว่า 2 กระแสนี่ ไม่เหมือนกันกระแสความอยากของคนอยากให้เป็นอย่างนั้น ไอ้กระแสเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง เกิดการขัดแย้งกัน ถามว่ากระแสไหนชนะ กระแสความอยากให้เป็นของคนในใจ อยากให้สิ่งนั้นน่ะเป็นยังงั้น ๆ กับกระแสของมันเองที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยกระแสไหนชนะ กระแสเหตุปัจจัยก็เป็นกระแสของมันเองก็ชนะ เมื่อกระแสเหตุปัจจัยชนะ 2 กระแสนี้ขัดแย้งกัน แล้วกระแสของคนแพ้นี่ กระแสคนก็ถูกบีบ ๆ ก็เกิดความทุกข์ในใจขึ้นมาใช่ไหม นี่คือปัญหาของมนุษย์ อันนี้แหละครับก็เป็น 2 กระแส กระแสคนกับกระแสธรรมชาติ หรือกระแสตัณหา กระแสของความเป็นไปตามเหตุปัจจัยเนี่ยมันขัดกัน นี่คือเรื่องของมนุษย์ที่เกิดทุกข์โดยทั่วไป อันนี้มนุษย์อย่างนี้ก็เกิดมีความทุกข์แน่นอนเมื่อไปสัมพันธ์กับอะไรก็ตาม จะเอาแต่กระแสตัณหากระแสความปรารถนาของตัว แล้วก็ไม่ศึกษา ไม่ทำตามเหตุปัจจัยมันก็ไม่ได้ผล 1 ตัวเองก็ทุกข์ 2 ก็ไม่ได้ทำตามเหตุปัจจัยด้วยปัญญามันก็ไม่ได้ผลที่ต้องการอีก ทั้งทุกข์ด้วยทั้งไม่ได้ผลด้วย ทีนี้พอมาพัฒนาตามไตรสิกขา ก็พัฒนาปัญญาขึ้นมา ตอนนี้แทนที่จะเอาตามความอยากของตัวเองว่าอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างไร กำหนดเอาว่าตัวเองต้องการอะไร แล้วก็รู้เท่าทันความจริงว่าสิ่งทั้งหลายเนี่ยมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ใช่ไหม อย่างนี้แล้วเราก็รู้แล้วว่า เอ้อ ถ้าเราต้องการให้เป็นยังไง เราก็ต้องไปทำตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็เอาเป็นว่า เอ้อรู้ทันแล้วว่าสิ่งทั้งหลายนี่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันจะไม่เป็นไปตามความอยากความปรารถนาหรือตัณหาของเราแน่นอน งั้นถ้าจะให้มันเป็นอย่างไรน่ะก็ไปศึกษาเหตุปัจจัยของมัน เมื่อศึกษาเหตุปัจจัยของมันได้ความรู้เข้าใจได้ปัญญานี้ รู้เหตุปัจจัยแล้วก็ทำตามเหตุปัจจัยต่อเหตุปัจจัยจะให้เป็นอย่างนั้นมันจะทำให้เกิดผลที่เราไม่ต้องการเกิดผลเสียเราก็ไปแก้ไขกำจัด ป้องกันเหตุปัจจัยนั้นเสีย ทีนี้เราจะให้มันเป็นยังไงเราก็ไปศึกษาจากเหตุปัจจัยอะไรถึงจะทำให้เป็นเหตุปัจจัยนั้น ก็ทำให้ตามเหตุปัจจัยนั้นก็จะได้ผลเท่าที่ทำเหตุปัจจัยได้สำเร็จ ตอนนี้ 1 กระแสในใจของคนเปลี่ยนเป็นกระแสปัญญา ไม่ใช้กระแสความอยาก มาเป็นตัวกำหนดเป็นกระแสปัญญา กระแสปัญญาก็ไปรู้สิ่งนั้นตามเหตุปัจจัยของมัน ทีนี้สิ่งนั้นเองมันก็เป็นไปตามกระแสเหตุปัจจัยของมัน กลายเป็นว่ากระแสปัญญาในใจในคน กับกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นเป็นกระแสเดียวกันไปแล้ว กลมกลืนกัน ตอนนี้ไม่เกิดความขัดแย้ง กระแสของคนก็คือกระแสปัญญาที่รู้สิ่งนั้นตามเหตุปัจจัยของมัน และกระแสของสิ่งนั้นเองก็คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นอันว่ากระแสคนกระแสปัญญาประสานเป็นกระแสเดียวกันแล้วตอนนี้ไม่มีความขัดแย้ง
ฉะนั้นเราก็รู้ตามเหตุปัจจัยว่าอะไรมันสำเร็จหรือไม่สำเร็จแค่ไหนตามเหตุปัจจัยของมัน แล้วเราทำตามเหตุปัจจัย
1.ใจก็ไม่ทุกข์
2.ทำได้ผลดีที่สุด ถ้ามันไม่สำเร็จก็รู้อีกแหละก็รู้ว่า อ๋อเหตุปัจจัยมันไม่พอที่จะให้เป็นอย่างนั้นเราอาจจะศึกษาเหตุปัจจัยรู้ไม่ทั่วถึง ก็แก้ไขโดยไปพัฒนาปัญญาของเราหาสาเหตุปัจจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มันก็จะไม่ทุกข์ หรือแม้มีทุกข์นี่ก็จะเริ่มมีความสามารถในการแก้ปัญหาแก้ทุกข์ได้ดีขึ้น
อันนี้ก็เป็นเรื่องของชีวิตของท่านผู้ที่อยู่ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นพระอรหันต์นี่ ท่านพ้นจากการอยู่ด้วยตัณหามาเป็นชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ลักษณะของพระอรหันต์ ที่เราเรียกว่าเป็นผู้หมดกิเลสก็เป็นอย่างนี้ไม่ใช่หมดกิเลสไปเฉย ๆ แต่หมายถึงอยู่ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริง แล้วทำการไปตามปัญญา แล้วก็ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย นั้นเป็นอันว่าทั้งจิตที่รู้เท่าทันก็ไม่ทุกข์สบายโปร่งโล่งแล้วก็แถมทำการก็ได้ผลด้วยเพราะทำตรงตามเหตุปัจจัยของมันนะ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นลักษณะจิตใจของผู้ที่ว่า ไม่มีความทุกข์จะมีความสุขแบบที่ว่าไม่มีการปรุงแต่งหรือเหนือปรุงแต่ง ทีนี้เมื่อท่านอยู่ด้วยปัญญาอย่างนี้จะไม่เก็บเอาอารมณ์ต่าง ๆ มาปรุงแต่งจิตใจ สิ่งต่าง ๆ นี่จะไม่ตกค้างเพราะฉะนั้นพระอรหันต์จะมีลักษณะอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า ไม่มีอะไรค้างใจ คนธรรมดานี้จะมีปัญหาเรื่องสิ่งค้างใจในเยอะ เมื่อสิ่งค้างใจมันก็มาระคายกระทบกระเทือนติดขัดรบกวนในใจให้ไม่สบาย ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่เบา นี่พระอรหันต์นี้ก็ไม่มีอะไรค้างใจใจก็โล่งโปร่ง แล้วด้วยปัญญานั้นก็เป็นจิตที่มองอะไรต่ออะไรในระบบความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยสิ่งทั้งหลาย ท่านเรียกว่าเป็นจิตที่ไม่มีขอบเขตไม่มีเขตแดนเป็นจิตไร้พรมแดน เดี๋ยวนี้ลองใช้คำว่าโลกาภิวัตน์ หมายถึงว่าไร้พรมแดน แต่ว่าในขณะที่โลกไร้พรมแดนทางด้านการข่าวสารข้อมูลเรื่องรูปธรรมแต่จิตของมนุษย์นี้ยิ่งแคบใหญ่เลย ใช่ไหม จิตมนุษย์ยุคนี้ ตรงกันข้ามกับสภาวะของเรื่องการสื่อสารเรื่องของความเจริญของโลก เราพูดกันด้วยความภูมิใจว่าโลกไร้พรมแดน แต่จิตของมนุษย์ยิ่งแคบหนักเข้าไปอีก มีแต่สิ่งที่คั่งค้างในใจ มีแต่สิ่งที่บีบคั้น มีแต่ความคับแคบลงไปทุกที ทีนี้จิตพระอรหันต์นี้ท่านไร้พรมแดนนี้ ทีนี้ถ้าหากว่าโลกไร้พรมแดนแล้วจะทำให้คนอยู่ในโลกนี้ได้อย่างดี ก็ต้องพัฒนาคนให้จิตไร้พรมแดนด้วย แต่นี้มันสวนทางกัน จนในที่สุดจิตคนมันคับแคบที่สุด ยิ่งโลกยิ่งขยายกว้างไร้พรมแดน จิตคนก็ยิ่งแคบเข้าทุกทีปัญหาก็ยิ่งหนักเข้าไป พระอรหันต์เป็นผู้มีจิตไร้พรมแดน อันนี้ไม่มีอะไรค้างใจไม่มีอะไรกังวลจิตก็สบาย ไม่มีอะไรถูกรบกวนเลย ไม่มีอะไรระคายเคือง จิตอย่างนี้เป็นจิตปลอดโปร่งสบาย เป็นภาวะที่พร้อมที่จะเสวยสุขอื่น ๆ สุขอย่างนี้เป็นสุขพื้นฐานของความสุขอย่างอื่น คนเราที่อยู่ในโลกนี้ ที่แสวงหาความสุขระดับต้น ๆ นี้น่ะ พอมองลึกลงไปในใจเนี่ย มันมีอะไรติดค้างในใจ มีความห่วงมีความกังวลมีความหวาดหวั่นมีความระแวง อย่างคนมนุษย์ที่อยู่ในระดับของความสุขจากการเสพหรือกามสุข สมีสุขนี่ เมื่อไม่พัฒนาจิตของตัวเอง ในขณะที่อยู่กับสิ่งเสพเหล่านั้น จิตไม่ได้มีความโปร่งโล่ง มีความหวั่นหวาด มีความระแวง มีอะไรต่าง ๆ มีความขุ่นมัวเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นไอ้สุขอันนั้นก็สุขไม่เต็มที่ สุขไม่โล่งไม่โปร่ง เป็นสิ่งที่คล้าย ๆ ว่ามาช่วยทำให้ตื่นเต้นเป็นชั่วคราวหรือมาเป็นแม้จะได้สมาธิก็เป็นสิ่งกล่อมพอให้ตัวนี่หลบหรือกลบความทุกข์อะไรต่ออะไร มันจิตใจลึกซึ้งลงไปนี้มันไม่ปลอดโปร่งไม่บริสุทธิ์ ที่นี้ถ้าหากว่าได้พัฒนาจิตอย่างเป็นพระอริยบุคคล พอจิตที่เป็นสุขจากไม่เกือบปรุงแต่งนี่ มันไม่มีอะไรไปรบกวนละคายเคืองในจิตที่ระลึก เพราะฉะนั้นมันเป็นความพร้อมของการที่จะเสวยความสุข จะไปเสวยความสุขอะไรก็ได้เต็มที่จะไปเสวยสุขจากสมาธิก็ได้สุกเต็มที่ ใช่ไหม ไม่มีอะไรลึกลงไปไม่มีอะไรรบกวน หรือแม้จะมาเสพกามสุขก็สุขเต็มที่ เพราะฉะนั้น ถ้าพระโสดาบัน โสดาบันนี้ยังเสพกาม โสดาบันเป็นอริยบุคคล แต่ก็ในสุขในแง่ของอิสระก็ยังไม่สูงสุดยังไม่บริบูรณ์ แต่เรียกว่าท่านอยู่ในแนวทางนี้แหละ เป็นผู้มีสุขในระดับเป็นโลกุตระด้วยแล้วก็ในเวลาเดียวกันก็ยังเสพกามอยู่ยังมีครอบครัวอยู่ นั้นคนที่ในใจเนี่ยลึกลงไปไม่มีอะไรระคายเคือง มีสิ่งระคายเคืองน้อยที่สุด เมื่อมาอยู่กับความสุขแบบปุถุชนก็จะมีความสุขนั้นเต็มที่ด้วยใช่ไหม ปุถุชนนี่เราพูดได้เลยเนี่ยตามปกติเสพสุขในใจมันยังมีอะไรระคายเคืองอยู่ไม่สุกเต็มที่ นี้พระพุทธเจ้าเคยเปรียบเทียบพระโสดาบันกับมนุษย์ปุถุชนว่า พระโสดาบันมีทุกข์เหลือน้อยเหมือนอย่างคนปุถุชนนี่ ทุกข์ที่เหลือนี่เหมือนภูเขาหิมาลัย ทุกข์ในใจของพระโสดาบันเหมือนก้อนกรวด ว่าอย่างนั้น คิดดูสิว่า ทุกข์ในใจของพระสงฆ์ พระโสดาบันกับปุถุชน ต่างกันแค่ไหน ส่วนระคายเคืองในใจมีน้อยเหลือเกิน ท่านจะเสพเสวยความสุขอะไรท่านก็สุขได้เต็มที่ เพราะว่าลึกลงไปข้างในไม่มีสิ่งที่จะมาก่อกวนระคายเคืองจิตใจ อย่างที่ว่ามาแล้ว แต่ยังไงก็ตามถ้าไปเป็นพระอรหันต์เสร็จแล้ว ซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมที่สุดที่จะเสวยสุขทุกอย่าง แล้วจะเสวยสุขอะไรก็ได้เต็มที่นี่ แต่บางทีก็กลายเป็นว่าพอเอาเข้าจริงท่านก็กลับไม่มาเสวยความสุขขั้นที่เป็นต้น ๆ ขั้นพื้นฐาน เพราะอะไร ก็มีคำเปรียบเทียบ มีพุทธพจน์เปรียบเทียบไว้ เป็นคำสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ชื่อ มาคัณทิยา ก็ผมก็เคยเอามาเล่าแล้ว เช่นอย่างในเรื่องกรณีที่ว่า เหมือนกับคนที่เคยเป็นโรคเรื้อน แต่ก่อนนี้ใช้ได้เกาที่คัน หรือเอาตัวไปย่างไฟก็มีความสุข แล้วต่อมาพอหายโรคมีสุขภาพดีแข็งแรงแล้ว ก็ไม่เห็นไม่อยากมาเสพสุขจากการเอาตัวไปย่างไฟอีก ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคนก็จะมีความสุข 2 แบบ คือ สุขแบบเกาที่คัน กับสุขแบบไม่มีที่คันจะต้องเกา 2 แบบนี่ คนที่มีที่คันจะต้องเกาได้ มันก็ได้ความสุขจากการเกาที่คัน แต่คนที่ไม่มีที่คันที่จะต้องเกา มันเป็นความสุขในตัวเขา ไม่เห็นจำเป็นต้องเกาอะไรใช่ไหม ให้เขานึกว่าเกากลับเป็นทุกข์ด้วยซ้ำ มันไม่เห็นน่าจะต้องเกา อันนั้นก็เลยเป็นที่ใจของคนที่อยู่ระดับสูงคนระดับล่างก็มองไม่ถึง เอ้ท่านจะไปอยู่อย่างนั้น ใช่ไหม ถ้าท่านมีสิทธิ์แล้ว ท่านจะเสวยสุขอย่างนี้ท่านจะสุกอย่างสมบูรณ์ เพราะท่าน ไม่มีอะไรที่จะมาระคายเคืองในใจ หวาดหวั่นกังวลอะไร จะทำให้มัวหมองที่จะไม่สุกมันไม่เต็มที่ ที่นี้ยังมีอุปมาไว้อีก ที่พระพุทธเจ้าอุปมาเปรียบเทียบ บอกว่าอย่างเด็กที่เกิดใหม่ ๆ นี่ เล่นแม้แต่มูกคูดของตนเอง คือเล่นอุจจาระ ปัสสาวะของตนเอง แล้วเด็กนั้นก็สนุกสนานใช่ไหม ที่นี้ต่อมาเด็กนั้นโตขึ้น ก็เลิกเล่น อุจจาระ ปัสสาวะของตนเอง แต่มาเล่นครื่องเล่นต่าง ๆ ของเล่นของเด็ก รถคันเล็ก ๆ เครื่องบินลำเล็ก ๆ เรือลำเล็ก ๆ ปืนบ้าง อะไรบ้าง ทรายบ้าง เล่นไปเถอะ เล่นเหล่านี้ หมอนเล็ก ๆ อะไรต่าง ๆ แล้วก็ รักสิ่งเหล่านี้มีความยึดติดผูกพันอย่างยิ่งเลย รักอย่างชีวิตเลยนะ เด็กบางคนนี่ของรักของเขานี่ใครเป็นแตะนี่จะร้องไห้เหมือนเป็นชีวิตของเขาเลยใช่ไหม แล้วผู้ใหญ่ไปดูไปเห็นเด็กมีอาการอย่างนี้ ก็จะขำ บางทีก็ไปแกล้งเด็กไปล้อเด็กนะ เห็นเขารักของนี้มากแกล้งดึงเอาไปซะ เด็กก็จะร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร ตอนนั้นเด็กนั้นก็มีความสุขจากของเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้ต่อมาเด็กคนนี้โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะไม่เห็นเป็นความสุขที่จะมาเล่นของเล่นนี้อีก ถูกไหม เขาก็ไปสุขจากเรื่องของหนุ่มสาว ๆ ทีนี่ถ้าจิตพัฒนาไปเป็นพระอรหันต์ มาเห็นหนุ่มสาวมีความสุขแบบนี้ก็เหมือนกับคนผู้ใหญ่ที่ไปเห็นของเด็กเล่นของเล่น หรือไปเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ เล่นมูกเล่นคูด ที่คนเขาพัฒนาได้เป็นลำดับ ๆ ที่นี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า นี่ถ้าเราได้ไม่บรรลุสุขที่ประณีตสูงกว่า เราก็รับรองตัวเองไม่ได้ว่าจะไม่เวียนกลับมาสู่กามสุขนะ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้เลย แต่นี่เพราะเราได้บรรลุสุขที่ประณีตสูงกว่า เราจึงไม่เวียนกลับมาหากามสุข ที่พระพุทธเจ้าไม่เวียนไม่มายุ่งกับเรื่องเหล่านี้ ก็เพราะจิตนี่มันเหนือระดับขึ้นไปแล้ว มีสุขที่สูงกว่าเหนือกว่า อันนี้ก็เป็นสุขนี่ระดับที่เรียกว่า ปุถุชนมองไม่เห็นไม่สามารถจะเข้าใจ เป็นสุขระดับเหนือปรุงแต่ง อันนี้ลักษณะของสุขแบบนี้ก็จะเป็นสุขที่มีอยู่ประจำในตัวเองเลย กลายเป็นคุณสมบัติของตัวเอง ความสุขกลายเป็นคุณสมบัติของชีวิตจิตใจของท่านผู้นั้น แต่ก่อนนี้ตอนต้นความสุขมันไม่เป็นคุณสมบัติภายใน เป็นสิ่งที่ต้องหา มนุษย์ยุคนี้ก็จะพูดกันบ่อยก็หาความสุข การที่พูดว่าหาความสุขนี้ ก็เท่ากับให้ยอมรับว่าตัวเองไม่มีความสุขอยู่ในตัวใช่ไหม ความสุขนี้ต้องไปหาก็แสดงตัวเองขาดความสุขนั้นก็ไปเที่ยววิ่งทะยานหากัน ก็เลยแย่งกันเพราะว่าความสุขนั้นต้องหาก็แย่งความสุขกัน พอแย่งความสุขกันคนหนึ่งได้สุข อีกคนหนึ่งก็ได้ทุกข์ไป คนหนึ่งได้คนหนึ่งก็อด ความสุขที่ต้องหานี่ตัวเองขาดแคลนด้วย แล้วเป็นเหตุเกิดการแย่งชิงเบียดเบียนกัน นี้พอพัฒนาไป ๆ ความสุขนั้นอยู่ภายในตัวเองได้เลย โดยไม่ต้องไปเที่ยวหาจากภายนอกไม่ขึ้นต่อวัตถุสิ่งเสพก็เป็นอิสระมากขึ้นความสุขนี้จะเป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับจนถึงขั้นสูงสุดที่ว่าเหนือการปรุงแต่ง ในที่สุดความสุขจะกลายเป็นคุณสมบัติของชีวิตจิตใจเป็นของมีอยู่ในตัวและตลอดเวลา ไอ้ความสุขแบบต้องหานี่มันไม่อยู่ในตัวด้วย และมันไม่มีตลอดเวลาด้วย มันได้เฉพาะเวลาเสพ แต่ความสุขแบบอิสระนี้เป็นความสุขที่มีประจำตัวเลยเป็นคุณสมบัติของชีวิต เมื่อมันเป็นคุณสมบัติของชีวิตมีติดตัวอยู่ตลอดเวลานี่ท่านก็ไม่ต้องหาความสุขอีก ก็กลายเป็นคนเต็ม เมื่อเป็นคนเต็มแล้ว ทำไงความสุขมันอยู่ในตัวไม่ต้องหาความสุข กว่าคนจะพัฒนามาถึงระดับนี้ได้นี่ คุณสมบัติด้านอื่นมาเต็มบริบูรณ์หมดแล้ว ศีลก็พัฒนามาจนสมบูรณ์ จิตใจก็พัฒนาจนมาสมบูรณ์ ปัญญาก็บริบูรณ์ กว่าปัญญจะสมบูรณ์ด้านพฤติกรรมจิตใจก็มาสมบูรณ์ด้วย มาถึงจุดนี้อะไรต่ออะไรสมบูรณ์หมดแล้ว ความสุขก็สมบูรณ์เป็นคนเต็มภายใน ตอนนี้ท่านเรียกว่าไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก ศัพท์พระเรียกว่า เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตน คนเรานี่ปกติมันต้องหาประโยชน์ตนใช่ไหม มันหนีไม่พ้นแม้จะตั้งอุดมคติว่าให้พยายามบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นแม้แต่เป็นพระโพธิสัตว์เนี่ย ให้บำเพ็ญกิจ เพื่อประโยชน์ผู้อื่นบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ แต่ก็ยังต้องทำเพื่อประโยชน์ตนอยู่นั่นแหละ อย่างพระโพธิสัตว์ก็คือยังไม่บรรลุนิพพาน ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแห่งชีวิตของตนยังไม่ถึง ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ก็บำเพ็ญคุณธรรมความดีด้วยความเสียสละด้วยความตั้งใจ แต่ก็ยังมีเรื่องเพื่อตนเอง แต่พระอรหันต์นี่จะเป็นผู้ที่ว่าบรรลุประโยชน์ตนแล้ว เพราะว่าพัฒนาตัวเองสมบูรณ์แล้ว เป็นคนเต็มก็เลยไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จุดนี้ที่สำคัญที่พระอรหันต์ต่างจากพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จะเก่งจะบำเพ็ญความดียังไง บางทีบำเพ็ญความดี จนกระทั่งคนอื่นทำไม่ได้ เกินดีไปก็มีบางที หมายความว่าท่านสละเต็มที่ทำด้วยปณิธานสละชีวิตของตนเองต่าง ๆ เพื่อทำความดีนั้นแต่ก็เพื่อจุดหมายคือบรรลุประโยชน์ตนหรือพัฒนาตนให้เป็นพระพุทธเจ้า ยังมีสิ่งที่ต้องทำเพื่อตนเองอยู่แต่พระอรหันต์นี่บรรลุประโยชน์ตนแล้วไม่มีอะไรทำให้ตัวเองอีกเป็นคนที่เต็มบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นท่านก็เมื่อไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองอีกพลังชีวิตที่มีอยู่ก็เอาไปใช้ เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะว่าพฤติกรรมจิตใจปัญญาพัฒนาดีแล้วมีความรู้ความสามารถและเข้าใจมนุษย์ผู้อื่นเห็นเค้ามีความทุกข์เห็นเขายังไม่บรรลุประโยชน์ตนก็ตัวเองมีความสามารถไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตัวเองอีกพลังชีวิตก็มีอยู่ก็เลยเดินทางไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ไปช่วยเขาให้เป็นอิสระ เขายังไม่เป็นอิสระก็ไปช่วยเขาให้เป็นอิสระ
เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วยจึงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่เนี่ยทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่ต้องมีการคำนึงถึงตัวเองอีกต่อไป เพราะตัวเองนี้มีสุขอยู่ประจำเป็นเนื้อตัวเป็นคุณสมบัติภายในแล้ว จะไปทำอะไรก็ได้ ไปเดินทางไปจาริกไปไหน ก็มีความสุขอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นก็เอาความสุขไปเผยแพร่ เอาความสุขไปให้แก่ผู้อื่นเป็นนักให้ความสุขได้เต็มที่บริบูรณ์เลย นั้นก็ตรงข้ามกับมนุษย์ปุถุชนที่มีทุกข์ก็เอาทุกข์ไประบายให้แก่ผู้อื่น ไปหาความสุขให้กับตัวเองได้แย่งความสุขกัน ส่วนพระอรหันต์นี่มีความสุขบริบูรณ์แล้วก็เอาความสุขนั้นไประบายให้แก่ผู้อื่น ไปแจกจ่ายความสุข ไปให้ความสุขแก่ผู้อื่น นี่คือชีวิตของพระอรหันต์ เป็นอันว่าเป็นชีวิตที่ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองก็ทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ และลักษณะ จิตใจที่เป็นพื้นของพระอรหันต์ก็เป็นอันว่าอยู่ด้วยปัญญา จิตใจที่จะมีความรู้สึกที่เป็นพื้นก็คือ อุเบกขา ซึ่งเคยพูดไปแล้ว อุเบกขานี่เป็นคือภาวะจิตที่มันลงตัวกับทุกอย่าง ซึ่งเคยอุปมาให้แล้วบอกว่า ภาวะอุเบกขานี้เป็นภาวะที่เรียกว่าลึกซึ้งที่สุดจะเข้าใจได้ก็โดยอุปมา ก็ขอเล่าอุปมาซ้ำอีกที ที่บอกว่าเหมือนอย่างสารถีขับเรียกว่าลึกซึ้งที่สุด จะเข้าใจได้ด้วยอุปมา ก็ขอเล่าอุปมาซ้ำอีกที ที่บอกว่าเหมือนอย่าง สารถีขับรถม้าหรือขับรถยนต์นี้ก็ได้เอาสมัยก่อนขับรถม้า สารถีขับรถม้านี่ ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้วนะ เวลาขับรถม้าออกมา ตอนแรกก็จะต้องขยับแซ่ดึงบังเหียนอะไรต่าง ๆ นี่ เพื่อจะให้รถและให้ม้านำรถนี่เข้าไปสู่ทาง เมื่อนำรถเข้าสู่ทางวิ่งตรงทางดีแล้วความเร็วได้ที่แล้วเนี่ย สารถีที่มีความชำนิชำนาญมีปัญญารู้ว่าการขับรถม้าทำยังไง แล้วถ้ามีอะไรปัญหาเกิดขึ้นจะแก้ไขยังไงด้วยความรู้เข้าใจอย่างนี้ จิตใจก็จะสงบแนวดิ่งสบายเรียบลื่นมาก โดยที่ว่าพอทุกอย่างลงตัวอย่างที่บอกเมื่อกี้ว่ามาวิ่งเข้าที่ดีความเร็วสนิทดีตรงทางดีนะ เขาก็นั่งเรียบจิตใจเขาเป็นอุเบกขา แต่เป็นจิตใจ ๆ ที่เป็นอุเบกขา คือจิตใจที่มีปัญญารู้พร้อม ถ้าม้าวิ่งผิดความเร็วนิดนึงจะออกนอกทางนิดนึงอะไรเนี่ยเขาจะแก้ได้ทันควันเลย จิตที่มีความรู้ปัญญาอยู่เต็มบริบูรณ์และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาแต่เรียบสงบดื่งอย่างนี้เป็นจิตที่เรียกว่า อุเบกขา ทีนี้คนมนุษย์ทั่วไปเนี่ยในการเดินทางชีวิตก็เหมือนกับคนขับรถม้าที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นจะเป็นยังไงอะไรเกิดขึ้นจะทำยังไงจิตนี่มันมีความหวาดหวั่นมีความกังวลอะไรต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา จิตมันไม่ลงตัวกับชีวิตของตนเอง ทีนี้พระอรหันต์นั้นมีความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายรู้ธรรมะ รู้ความเป็นไปตามกฎธรรมชาติจนกระทั่งจิตนี้ลงตัวพอดีกับชีวิตของตนเองแล้ว เพราะฉะนั้นอยู่ด้วยความที่มีสติมีปัญญารู้เข้าใจเต็มที่ จิตลงตัวก็เป็นอุเบกขา จิตที่เรียบสบายตลอดเวลา นี่ก็เป็นอุปมาหนึ่ง เพื่อให้เห็นถึงลักษณะจิตใจว่าอุเบกขาที่สำคัญมันเหนือกว่าสุข สุขนี่ยังต่ำกว่าอุเบกขา เพราะว่าสุขยังมีลักษณะที่ต้องอาศัยทำให้ อะไรที่ทำให้การที่ยังไม่ลงตัวทีเดียว พอจิตลงตัวนี้มันจะเป็นอุเบกขาเรียบสงบ เป็นจิตที่อยู่ในภาวะที่สูงมาก ก็อันนี้ก็ได้พูดมาคิดว่าในเรื่องของสุขขั้นเหนือปรุงแต่งก็พอสมควรกับเวลา
(1)
คนฟังถาม พระอาจารย์บอกว่า พระอรหันถ์ เป็นจิตใจถ้าได้อย่างมองกว้างคิดไกล
พระตอบ อ๋อนี่ของเรามองแง่ของการที่จะฝึกคน ในมนุษย์ปุถุชน แต่พระอรหันต์ท่านจะเป็นปกติอย่างงั้น อันนี้เราพยายามฝึกว่า ทำอย่างไรให้คนพยายามทำตามหลักการเรื่องศาสนาขึ้นมาฝึกตัวขึ้นมา ให้มองอะไรแคบ ๆ มองให้กว้างมองให้ไปทั่วโลกมองให้เห็นระบบความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยในชีวิตในสังคมในโลกนี้ทั้งหมด แล้วคิดไกล เห็นกระบวนการเหตุปัจจัยที่สืบมาจากอดีตไปสู่อนาคตอย่างไรใช่ไหม แล้วใฝ่สูงก็คือ ตั้งเป้าหมายดำเนินชีวิตหรือทำกิจกรรมเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เพียงเพื่อลาภยศอะไรต่าง ๆ เป็นของที่ต่ำ มีอะไรสงสัยไหมครับ
(2)
คนฟังถาม เมื่อบรรลุภาวะสูงสุดอย่างนิพพานแล้วน่าจะเหมือนกันหมด แต่คุณสมบัติสมัยนี้มันก็ยังเป็นเรื่องของอินทรีย์ที่ติดตัวมาในเรื่องของลักษณะที่แตกต่าง ผมมองดูรู้สึกภาวะ สงบนิ่งราบเรียบจิตภาวะจิตที่ไร้พรมแดนปัญญาที่เกิดตรงนั้นมันน่าจะเทียบเท่ากัน
พระตอบ มันมีส่วนที่เหมือนกัน พระพุทธเจ้ายังตรัสเลยว่าพระพุทธเจ้าพระองค์เอง กับ พระอรหันต์ ปัญญาวิมุติต่างกันอย่างไร ในแง่ของความเป็นอรหันต์นี่ไม่ต่างกันเลย แต่ต่างในแง่คุณสมบัติอื่นใช่ไหม อย่างความสามารถอะไรต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกันเพราะอันนี้มันเกิดจากการสะสมด้วยใช่ไหม อย่างความบริสุทธิ์ของจิตที่ไม่มีกิเลสก็เหมือนกัน แต่พลังที่จะใช้ขอบเขตความสามารถไม่เหมือนกัน อย่างแนวโน้มก็ยังไม่เหมือนกัน อย่างพระมหากัสสปะชอบอยู่ป่าใช่ไหม พระสารีบุตรท่านชอบอยู่กับผู้คนไปช่วยเด็กเล็กเอามาเรียนหนังสือจัดชั้นให้สอนอะไรต่าง ๆ ท่านเอายุ่งกับเรื่องเหล่านี้ ไม่เหมือนกัน อัธยาศัยต่าง ๆ กันไป