แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พูดเรื่องความสุขยังไม่จบ พึ่งจะได้ความสุขขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นความสุขที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นอยู่ประจำวัน หรือชีวิตประจำวันเป็นความสุขขั้นพื้นฐาน เนื่องด้วยชีวิตเอง ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราได้อันนี้ไว้เป็นฐานนี่ มันเป็นทุนที่สบายไปในตัวเยอะแหละ แต่มนุษย์ปัจจุบันนี้มันสูญเสียความสุขขั้นพื้นฐานนี้ไปซะ โดยที่ไปมัวแสวงหาทยานล่านรนหาสุขจากการเสพแล้วก็ได้มา ซึ่งสิ่งบำรุงบำเรอนั้น แต่อีกด้านหนึ่งก็สูญเสียความสุขขั้นพื้นฐานนี้ไป นี่ยังไม่พูดถึงการที่จะพัฒนาให้มีความสุขอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเลยน่ะ แค่ความสุขพื้นฐานก็มีปัญหาซะแล้ว ทีนี้พูดทิ้งไว้คั่นนี้ก็มีแง่มีเกร็ ดแทรกอีกนิดหน่อย ที่บอกว่าคนที่ทะยานหาสิ่งเสพมาบำเรอสุขทางด้าน อายตนะหรืออินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นกาย ที่เรียกว่าเป็นกามสุข หรือเป็นสุขประเภทอาศัยวัตถุภายนอกเรียกว่า สามิตสุข ก็เลยทำให้เกิดการห่างเหินและแปลกแยกจากสิ่งที่ชีวิตต้องเกี่ยวข้องหรือเป็นอยู่โดยสัมพันธ์ตลอดเวลา 3 อย่างคือ ห่างเหิน แปลกแยกจากธรรมชาติ ห่างเหินแปลกแยกจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันหรือสังคม แล้วก็ห่างเหินแปลกแยกจากกิจกรรมแห่งชีวิตของตัวเองที่อยู่กับตัวเอง ทีนี้ความห่างเหินกับแปลกแยกนี้ก็จะต่างกันนิดหน่อย ในระยะไม่กี่ปีมานี้มีศัพท์ใหม่แปลกแยก ซึ่งเป็นศัพท์ที่บัญญัติ หรือว่าคิดขึ้นมา เพื่อจะแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Alienation ก็นับว่าเป็นคนคิดเข้าใจหาศัพท์เหมือนกันนะกว่าจะได้ศัพท์ความแปลกแยก ก็เป็นวิวัฒนาการทางภาษาที่ได้ประโยชน์ความแปลกแยกนี้ให้ความหมายดีเหมือนกันไปสื่อ Alie nation นี้ในภาษาไทยเดิมก็ เราไม่รู้หรอกว่าเคยใช้ศัพท์อะไรสำหรับคำว่าแปลกแยก ห่างเหินกับแปลกแยก ก็ไม่เหมือนกันทีเดียว อย่างห่างเหินจากธรรมชาติกับแปลกแยกกับธรรมชาติ ห่างเหินหมายความว่ามันไกลจากกัน การแปลกแยกหมายความทั้งอยู่ด้วยกันแต่มันแปลกแยก ทีนี้ ยกตัวอย่าง ธรรมชาติ มนุษย์ปัจจุบันจะมีทั้งห่างเหินและแปลกแยก ห่างเหินก็อย่างคนที่ ยกตัวอย่างเมื่อเช้าว่า แกไม่ได้พบได้ปะกับธรรมชาติเลย เพราะสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีของมนุษย์นี่มันเกิดขึ้นมามากจนกระทั่งว่าได้สร้างขึ้นเป็นโลกของมนุษย์ที่แยกต่างหากจากโลกของธรรมชาติ ทีนี้คนจำนวนไม่น้อยนี้ก็อยู่กับโลกของมนุษย์ที่เป็นโลกของสิ่งประดิษฐ์โลกของเทคโนโลยี ก็ห่างเหินจากธรรมชาติไม่เจอไม่พบกัน ไม่เห็นพระจันทร์ ไม่เห็นพระอาทิตย์อะไรต่าง ๆ แล้วไม่เห็นต้นไม้ ไม่เห็นภูเขา แต่นาน ๆ จะออกไปสักที จะต้องไปตั้งใจไปหาธรรมชาติ นี่ห่างเหิน แล้วแปลกแยกหล่ะ แปลกแยกก็หมายความว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน ก็ใจไม่สามารถจะเข้าถึงมัน ไม่สามารถจะสัมพันธ์กับมันในทางที่จะให้เกิดความรู้สึกเช่นซาบซึ้งได้ความสุขอย่างมันได้ อย่างมนุษย์ยุคปัจจุบันนี่ที่มัววุ่นวายกับการหาสิ่งเสพ จนออกมาเป็นระบบบริโภคระบบการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ ทีนี้แกก็วุ่นวายอยู่กับการหาผลประโยชน์ความคิดแกก็มาหมกมุ่นกับเรื่องเหล่านี้ จิตใจความรู้สึกก็วุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ เช่นว่า มีการห่วงกังวลว่า เราจะไม่ได้ผลประโยชน์อันนั้น มีความห่วงกังวลว่าผลประโยชน์อันนั้นจะสูญเสียไป มีความห่วงกังวลว่าคนอื่นจะมาเอาไป คนอื่นจะแย่งไปได้ กลัวว่าตัวเองจะได้น้อยกว่า กลัวตัวเองจะแพ้ อันนั้นยังไม่ได้อันนี้จะได้ยังไงเนี่ย แม้แต่เวลาที่ไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ใจไม่อยู่ แม้เขาจะไปหาโอกาสไปหาธรรมชาติบ้าง แต่จิตใจเขาวุ่นวาย ใจเขาไม่อยู่ที่นั้น ใจเขาไปอยู่ในเมือง ใจเขาไปอยู่ที่วันข้างหน้า วันที่เปิดทำงานอีก เขาจะต้องไปวิ่งวุ่นวายแย่งชิงผลประโยชน์กับคนอื่นอะไรต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ตัวอยู่กลางธรรมชาติอยู่ท่ามกลางสายลมแสงแดดดอกไม้อะไรนี่น่ะ แต่ว่ามันไม่สามารถได้รับรสความสุขสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นได้จริง เพราะใจมันไปวุ่นวายเร่าร้อนไปอยู่ห่วงกังวลกับสิ่งที่อยู่ในบ้านในเมืองในชีวิตในการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์นั้น ใช่ไหม นี่ก็คือลักษณะที่แปลกแยก ฉะนั้นทั้ง ๆ ที่ตัวไปอยู่ แต่ใจก็ไม่อยู่ ใจไม่สามารถได้ความสุขจากสิ่งแวดล้อม
อย่างตัวอย่างเรื่องธรรมชาติที่ชีวิตของเขาต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องเนี่ย ที่ชีวิตของเขาก็เป็นส่วนหนึ่งด้วยนี่
1. ห่างเหิน ธรรมชาติแวดล้อมนั้นมีน้อยลง 1. ห่างเหินแล้ว
2. ยังมีน้อยอีก
3. ที่มีน้อยนั้นก็อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอีก
4. เวลาเข้าไปอยู่เขาก็ไม่สามารถได้รับสัมผัสแห่งความสุขความรื่นรมย์จากมันได้จริงอย่างเต็มสมบูรณ์อีก
4 ประการนี่ แย่ ที่เขาต้องสูญเสียไป เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเสพบริโภค เพื่อจะให้ได้ความสุขด้านนั้น เอาหละทีนี้ นี่ก็เป็นข้อสังเกต ทีนี้ในเมื่อมนุษย์เดิม มันมีแหล่งความสุขพื้นฐาน 3 ประการที่ว่าก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์สมัยเดิมนี่แกจะได้ความสุขจากแหล่งทั้ง 3 นี้เสมอไปนะ คือว่าด้านธรรมชาติ ด้านเพื่อนมนุษย์ ด้านกิจกรรมชีวิตนี่ คนสมัยก่อนเขาก็มีปัญหา หรือคนที่อยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ยังไม่มีสิ่งเสพมากมายเขาก็มีปัญหาได้เหมือนกัน แต่ว่ามันมีอันหนึ่งก็คือว่า มันไปชดเชยกันได้ เช่นว่าบางคนเนี่ยเข้ากับเพื่อนมนุษย์ไม่ค่อยได้ สมัยก่อนเขาก็เป็น เข้ากับใครก็ไม่ค่อยได้ แต่ก็ยังมีธรรมชาติแวดล้อมให้อยู่ แกก็หลบไปหาธรรมชาติแวดล้อมใช่ไหม ไปหาความสุขจากธรรมชาติหรือไม่งั้นแกก็ไปหาความสุขจากกิจกรรมชีวิต แกชอบอะไรก็ไปทำของแกง่วนไม่ยุ่งกับใครแหละน่ะ หาความสุขของแกไปก็ชดเชย ใน 3 อย่างนี้อาจจะเสียอันโน้นก็เอาอันโน้นมาช่วยมาแทนกันไป หรือคนที่ว่าไม่ชอบอยู่กับธรรมชาติก็ไปสังสรรค์กับเพื่อนมนุษย์ ใจมันก็มีความบริสุทธิ์ใจมันไม่มีคลางแคลน ไม่มีไอ้เรื่องของความแปลกแยกความหวาดระแวงอะไรอยู่ มันก็มีความสุขจริงพอสมควร เป็นอันว่าชดเชยกัน ที่มนุษย์ยุคนี้นะ ทีนี้ถ้าจะชดเชยก็ชดเชยยาก เข้ากับเพื่อนมนุษย์ไม่ได้จะไปหาธรรมชาติ ๆ ก็อยู่ในภาวะที่ไม่เอื้อ ไม่มีให้มากมายเพียงพอ หรือไม่อยู่ในสภาพที่ตัวเองจะได้ความสุข อะไรอย่างนี้มันไม่เต็มที่ ในยุคปัจจุบันนี่ ถ้าดูในแง่นี้ก็นับว่าเสียเปรียบคนสมัยโบราณ นี่ก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ทีนี้คนในสมัยโบราณนี้เขาก็มีปัญหาในเรื่องเหล่านี้
อย่างคนที่ออกไปบวชเป็นฤาษีชีไพรตั้งแต่ก่อนพุทธกาลนี่ เขาก็อาจจะเบื่อหน่ายเพื่อนมนุษย์ เบื่อหน่ายครอบครัว เบื่อหน่ายคนที่เกี่ยวข้อง แล้วก็เบื่อหน่ายชีวิตที่มายุ่ง สมัยนั้นก็มีอยู่การแย่งชิงหาผลประโยชน์การเสพ แกก็เบื่อหน่ายอามิต เบื่อหน่ายกาม แกก็ปลีกตัวออกไปอยู่กับธรรมชาติใช่ไหม อย่างฤษีชีไพรนี่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสังคมตัดขาดจากสังคม ไปหาความสุข ไปบำเพ็ญเพียรทางจิตได้สมาธิได้ฌาน ก็เล่นฌาน ยังวันเวลาให้ผ่านไปด้วยการเล่นฌานมีความสุขจากสมาธินั้น เรียกว่า ฌานกีฬาเป็นลักษณะของพวกฤษีชีไพรได้ฌานสมาบัติ เนี่ยเป็นทางออกของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิม แต่ว่ากลายเป็นว่าในแง่นี้แล้วมนุษย์ยุคก่อนได้เปรียบ มนุษย์ยุคนี้ได้เปรียบตอนที่ว่ามีสิ่งเสพมาก แต่ว่าไม่รู้ลงทุนนี้ได้ผลกำไรคุ้มหรือเปล่า หรือขาดทุนยับเยินก็ไม่รู้น่ะ เพราะไอ้ส่วนที่สูญเสียไปนี่ก็เยอะ ก็ได้เปรียบในแง่มีสิ่งเสพเทคโนโลยีเยอะ บำรุงบำเรอ แต่ว่าในด้านเสียก็เสียแหล่งพื้นฐานแห่งความสุข 3 ประการนี้ไป แล้วทางที่จะไปหามาชดเชยก็ยาก ยิ่งต่อไปนี้ยังคนจะหลบสังคม หลบสิ่งเสพไปหาป่าหาเขาที่หลบ เดี๋ยวนี้จะยากขึ้นทุกทีนะ หาที่หลบไม่ไหวไม่มีที่จะให้ไปหาความสุข
แต่ยังไงก็ตามพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับลัทธิที่ปลีกตัวหลบไป พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิฤษีชีไพร พุทธศาสนาให้อยู่กับความจริงของชีวิต โดยเฉพาะแหล่งความสุข แหล่งความสัมพันธ์พื้นฐานทั้ง 3 อย่าง ฉะนั้น 1.ธรรมชาติ พุทธศาสนาก็ให้มนุษย์นี่ไม่แปลกแยก ไม่ให้ห่างเหิน 2. ก็เรื่องของเพื่อนมนุษย์ พุทธศาสนาก็ให้พัฒนาความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ใช่ให้ไปตัดขาดจากสังคม ฉะนั้นพุทธศาสนานี่ไม่ได้ให้พระนี่ไปอยู่อย่างฤษีชีไพร ปลีกตัวไป พระนี่อยู่กันเป็นสงฆ์ อยู่กันชุมชน พระพุทธเจ้าตั้งเป็นชุมชนเป็นสังฆะขึ้นมา แล้วสังฆะนี่เป็นองค์หนึ่งแห่งพระรัตนตรัยเลยเป็นหลักการสำคัญว่าพุทธศาสนานั้นไม่ใช่ลัทธิที่ออกไปอยู่โดดเดี่ยว และกิจกรรมในชีวิตก็ให้พัฒนาในแง่กิจกรรมที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ ไม่เป็นการเป็นการทำลาย ไม่เป็นการเบียดเบียน การสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ที่ดีให้เป็นไปในการเกื้อกูล การมีมิตรไมตรี เมตตาตามหลักพรหมวิหารรักษาความเป็นธรรมไว้ด้วย อันนี้แหละที่สำคัญ นี้เราไม่ใช่ปล่อยไปตามพื้นฐานเดิม แม้แต่มีแหล่งความสุขพื้นฐานแล้วถ้าไม่พัฒนามันก็เกิดปัญหาจากสิ่งเหล่านั้นได้ นั้นจะต้องมีการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีงาม นี้ฝรั่งนี่ไม่เข้าใจพุทธศาสนา ฝรั่งไม่น้อยมาศึกษาพุทธศาสนานี้ก็แยกไม่ออกจากลัทธิฤษีชีไพร บางคนก็บอกว่าพุทธศาสนานี้เป็น Aceticism Aceticism คือลัทธิ Aceticism พวกฤษีโยคี ลักษณะของลัทธิ Acetic ก็ตัวคน ถ้าเป็นลัทธิ ก็เป็น Aceticism ลักษณะของชีวิตแบบนี้ก็คือ 1 ปลีกตัวไม่ยุ่งไม่เกี่ยวกับใคร เช่นเป็นอย่างพระเวสสันดร ๆ นี้เป็นพระโพธิสัตว์ก็จริง แต่ว่าพระโพธิสัตว์นั้นไม่ใช่หมายถึงว่า ไม่ใช่ผู้ที่บรรลุจุดหมายในพุทธศาสนาแล้วยังลองผิดลองถูกอยู่ คนยังมองพระโพธิสัตว์นี้ไม่ค่อยเป็น
(1)
คนฟังถาม เจ้าแม่กวนอิมก็เป็นพระโพธิสัตว์
พระตอบ เป็นพระโพธิสัตว์ นั่น พระโพธิสัตว์ มหาฌานยิ่งเพี้ยนไปกันใหญ่เลย อันนั้นเคยพูดแล้วน่ะ เรื่องพระโพธิสัตว์ ความหมายที่เพี้ยนไป โพธิสัตว์แบบเดิมนี่ มีปณิธานในการที่จะบำเพ็ญความดีคุณธรรมต่าง ๆ ที่เรียกว่าบารมีอย่างยวดยิ่ง ใช่ไหม ในการบำเพ็ญบารมีนั้นในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนก็ทำให้ดีที่สุด แต่ปัญญายังไม่เป็นโพธิ ยังไม่เป็นพุทธะ ก็ทำเท่าที่ เช่นว่า สติปัญญาตัวเองว่าดี หรือเห็นว่าสังคมเขานิยม สังคมก็ตกลงกันว่าอันนี้เป็นคุณธรรมที่ดี ท่านก็รู้เท่านั้น ก็ทำให้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ยุคนั้นจะทำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าพระโพธิสัตว์นี้จะทำถูกหมด ใช่ไหม หมายความในระดับที่มนุษย์ยอมรับกันในระดับสังคมค่านิยมที่ดีอะไรต่าง ๆ เท่าที่ปัญญามนุษย์ในยุคนั้นจะคิดได้พระโพธิสัตว์ยอดสุด แต่ก็ยังไม่เป็นพุทธะเพราะฉะนั้นการกระทำของท่านนี่ ยังไม่สามารถเอามาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยความถูกต้องโดยสมบูรณ์ เพราะท่านยังทดลองอยู่ ใช่ไหม
(2)
คนฟังถาม พระภิกษุจะกราบรูปเจ้าแม่กวนอิมไม่ได้
พระตอบ ก็ไปกราบได้อย่างไรครับ ไม่มีทาง
(3)
คนฟังถาม เอาไว้บูชาก็ไม่ได้เช่นกัน
พระตอบ ไม่ได้
(4)
คนฟังถาม อย่างบางวัด บางสำนักสงฆ์ มีเจ้าแม่กวนอิมไว้
พระตอบ ก็เอามาเป็นเพียงพระโพธิสัตว์แบบเดียวกับเอามากราบพระพุทธรูป เอามาวางตั้งไว้ข้าง ๆ แต่ว่าพระจะไปกราบไปไหว้ไม่ได้ พระโพธิสัตว์เยอะแยะไปกราบไหว้ไม่ได้ ไหว้กราบเจ้าชายสิทธัตถะได้ที่ไหน เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์ ใช่ไหม เราไปกราบได้ที่ไหนล่ะ ยังไม่ได้พระพุทธเจ้า นี้ไปไหว้กราบพระเวสสันดรได้ที่ไหน ใช่ไหม เจ้าแม่กวนอิมก็เป็นพระโพธิสัตว์ อันนี้เป็นพัฒนาการยุคหลัง พ.ศ.6,7 ร้อยปี ในราว ๆ สัก 5-600 ปี
(5)
คนฟังถาม ที่พิษณุโลกมีวัด มีเจ้าแม่กวนอิมสลักด้วยหินอ่อนใหญ่ที่สุดในเอเซีย เอาไว้ให้คนบูชา หลายต่อหลายก็ไปแล้วก็มีความยึดติดตรงที่ว่าเจ้าแม่กวนอิมสามารถเนรมิตรได้หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ไปกินข้าวแล้วอธิฐาน ว่าเป็นวัดหนึ่งในหลายจังหวัดที่ทุกคนจากหลายจังหวัดก็ไป
พระตอบ แต่คฤหัสถ์ไปไหว้ได้ไม่เป็นไร แต่ไหว้ก็ต้องไหว้ให้ถูก คติพระโพธิสัตว์ คติพระโพธิสัตว์แท้ตามความหมายเดิมของพุทธศาสนา ก็เคยพูดแล้วน่ะบอกเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญความดี เป็นเครื่องเตือนใจเรา และให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียรในการบำเพ็ญคุณธรรม ใช่ไหม เราทำความดีต่าง ๆ แล้วเราอาจจะท้อถอยเพราะเราเป็นมนุษย์ปุถุชนอย่างอ่อนแอ เราได้พระพุทธเจ้า เราได้พระโพธิสัตว์มาเป็นแบบอย่างว่าท่านทำความเพียร ท่านช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สละชีวิตของท่านได้ เรากำลังเกิดความท้อแท้ เราเริ่มอ่อนแอลง พอเรามานึกถึงท่าน เราก็จะเข้มแข็งหึ้ดสู้ต่อไปทำความดี แต่ทีนี้ว่าพอมามองพระโพธิสัตว์โดยเปลี่ยนความเข้าใจใหม่เป็นว่าพระโพธิสัตว์ท่านมีความเพียรในการทำความดี ท่านมีเมตตากรุณาสูงช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สัตวทั้งหลาย ท่านพร้อมที่จะช่วยคนอื่น ท่านมีกรุณามากเพราะฉะนั้นเราก็ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน พอเป็นอย่างนี้ปั๊บมันกลับไปเป็นแบบศาสนาโบราณเหมือนกับพระกวนอิมนี่เป็นแบบเทพเจ้า ก็เป็นลัทธิไปอ้อนวอนบวงสรวงขอผลประโยชน์ขอความช่วยเหลือไป กลับไปทำให้คติโพธิสัตว์นี่ไปเป็นเหมือนคติเทพเจ้า ใช่ไหม คือนี่มันผิดหลัก พระกวนอิมก็คือพระอโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งเกิดในอินเดียเกิดในลัทธิมหายาน ประมาณ พศ. 5 600 ร้อย อย่างที่ว่า ซึ่งเคยเล่าไปแล้ว คงไม่ต้องมาเล่าใหม่ อันนี้ก็เกิดจากการที่ในแง่หนึ่งก็คือ การแข่งกับศาสนาฮินดู ที่เขามีเทพเจ้าให้คนกราบไหว้ขอความช่วยเหลือ ทีนี้ทางฝ่ายพุทธศาสนามหายาน ก็เลยหาทางให้ชาวพุทธนี้ได้มีความอบอุ่นใจ มีสิ่งปรอบประโลมใจ มีสิ่งที่มาช่วยให้ความหวังในการช่วยเหลือ ก็เลยเอาคติพระโพธิสัตว์มาใช้ในความหมายใหม่ ในความหมายที่เป็นแบบฮินดูไป คือไม่ใช่คติเดิมที่ว่าพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างในการทำความเพียร ในการทำความดีอย่างเอาจริงเอาจังอย่างเข้มแข็ง อย่างเด็ดเดี่ยว และอย่างเสียสละ ใช่ไหม ก็เลยเปลี่ยนความหมายไป เอาละครับทีนี้ก็ย้อนกลับมาเรื่องนี้ เลยไม่รู้พูดไปถึงไหน
พระเวชสันดรก็พูดไปแล้ว ก็คือหมายความว่าพระโพธิสัตว์ว่า พระโพธิสัตว์ นี่ก็ท่านยังบำเพ็ญความดี ยังบำเพ็ญบารมีอยู่ ยังไม่ตรัสรู้ เรื่องที่ไหว้ไม่ได้อะไรต่าง ๆ จุดเริ่มที่พูดเรื่องนี้ไปจากเรื่องอะไร
(5)
คนฟังถาม ลักษณพวกฤษีชีไพร
พระตอบ พระเวชสันดรก็เป็นฤษีชีไพร ท่านก็ไปอยู่โดดเดี่ยวของท่าน นี้ในพุทธศาสนานี่พุทธเจ้าตั้งสังฆะขึ้นมาเป็นชีวิตชุมชนใช่ไหม จะมีส่วนยืดหยุ่นมากในด้านหนึ่งก็ส่งเสริมให้พระปลีกตัวหาความสงบสงัด แต่ในการปลีกตัวความสงบสงัดนั้น เพื่อพัฒนาชีวิตของตัวเองน่ะ นี่จุดมุ่งหมาย ไม่ให้เป็นแยกตัวโดดเดี่ยวและให้มีความผูกพันกับชุมชนโดยที่ว่า 15 วันต้องเอามาเข้าที่ประชุมครั้งหนึ่งใช่ไหม นี่คือในชีวิตสังฆะ แล้วจะต้องมาพึ่งพาอาศัยอาหารจากชาวบ้านจะต้องมาบิณฑบาต ต้องมาสื่อสัมพันธ์มาแลกเปลี่ยนให้ธรรมะแก่ประชาชนได้ปัจจัยอาหารไป ก็หมายความว่า อย่างพระภิกษุที่ถือว่ามีชีวิตสงบสงัดที่สุด ก็ยังแยกตัวตัดขาดจากสังคมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมพระด้วยกัน หรือสังคมพระกับคฤหัสถ์ ในแง่พระคฤหัสถ์ก็เอาวินัยผูกมัดชีวิตพระสงฆ์ไว้ว่าจะไปเที่ยวหากินเองไม่ได้ต้องมาฝากท้องกับชาวบ้าน โดยการบิณฑบาต ในแง่ของสงฆ์ก็มีวินัย ซึ่งเป็นสังฆกรรมว่าเวลามีกิจกรรมของหมู่ต้องเข้ามาร่วมในการพิจารณาตัดสิน ฉะนั้นในพุทธศาสนานี่จึงไม่ใช่ Analysism ในแง่ที่ 1 ก็คือ แง่ที่ปลีกตัวตัดขาดจากสังคม ในแง่ที่ 2 ก็คือข้อปฏิบัติ Acetic นี่ จะมีข้อปฏิบัติการทรมานตนเองพุทธศาสนามาใช่ลัทธิแบบนั้น แต่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา การที่ว่าจะใช้วัตถุเสพน้อยอะไรนี่ ก็มันต้องสัมพันธ์กับการพัฒนาจิตใจ เช่นการสันโดษมักน้อย เขาจะทำได้ดีก็เมื่อเขาพัฒนาจิตใจให้เป็นอิสระมีความสุขทางจิตใจได้มาแล้วก็เลยมีอิสระทางจิตใจขึ้นต่อวัตถุเสพน้อยลง ไม่ใช่เขาไปทรมานตัวเอง ถ้าในระหว่างตอนต้นอาจจะใช้เป็นการฝึกอย่างที่ว่ามาแล้ว เห็นว่าตัวเองนี่ตามใจตัวเองในเรื่องเหล่านี้ ปรนเปรอตัณหามากไป ถ้ามัวตามใจตัวเองอย่างนี้ก็จะไหลลงตามกระแสเรื่อยไปก็เรื่อยไป ก็เลยมาฝึกตนเอง ตอนแรกก็อาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าลำบากบ้าง แต่พอฝึกแล้วก็จะเกิดความรู้สึกยินดีพอใจ ก็ได้พัฒนาตัวเองไป เอาละครับนี่ก็เรื่องของพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าพุทธศาสนาจะไปชื่นชมยินดีกับระบบชดเชยแบบฤาษีชีไพรที่แกไม่เอากับวัตถุเสพกับสังคมเพื่อนมนุษย์ เบื่อก็เลยออกไปอยู่ปลีกตัว ไปหาธรรมชาติอย่างเดียวก็ไม่ถูกเหมือนกัน
นี้ก็พระพุทธศาสนาก็เป็นระบบชุมชนให้มนุษย์อยู่กับชุมชนที่พัฒนาแล้ว ก็เป็นว่าไม่แปลกแยกห่างเหินทั้งจากธรรมชาติเพื่อนมนุษย์ด้วยกันและกิจกรรมแห่งชีวิต นี่ มนุษย์ยุคปัจจุบันนี้ ในเมื่อแกวุ่นวายกับการหาสิ่งเสพนี่ แกไม่รู้ตัวหรอก อริยธรรมวัฒนธรรมนี่ เมื่อเน้นคุณค่า ตีค่าวัตถุเสพสูงสุดก็ลืมพัฒนาความสุขด้านอื่น ๆ เพราะฉะนั้นแกก็จะพัฒนาชีวิตเหมือนกันแต่พัฒนาชีวิต คือให้เกิดความสามารถที่จะหาสิ่งเสพเหล่านี้มาสนองความต้องการ อันนี้การที่จะพัฒนามนุษย์นี่ก็คือ ระบบที่เรียกว่าการศึกษา ฉะนั้นการศึกษาก็จะเลยมีความหมายว่า เป็นการพัฒนาความสามารถ ที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข เป็นการพัฒนาด้านเดียวอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ การศึกษามีส่วนไม่น้อยที่โดยไม่รู้ตัวได้มีความหมายเช่นนี้ ส่วนความหมายอื่น ๆ นี่ยิ่งลบเลือนหายไปกลายเป็นว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้โดยไม่รู้ตัว ได้โดยบังเอิญ ได้โดยเป็นผลข้างเคียงแทนที่จะเป็นผลให้เกิดปัญญารู้ความจริง ฉะนั้นการศึกษาปัจจุบันนี้ก็ขอย้ำอีกทีว่าได้กลายเป็นการศึกษาที่มีความหมายว่าเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข โดยมีวัตถุเสพนั้นเหมือนกันเป็นจุดหมายของชีวิตไป นึกว่าได้วัตถุเสพพรั่งพร้อมก็คือความสุขความสมบูรณ์ของชีวิต ทีนี้มันก็เป็นการพัฒนามนุษย์ที่เสียดุลยภาพ เพราะว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาชีวิตในด้านการที่จะมีความสุขอื่น ๆ แม้แต่ความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเองมากขึ้น แทนที่จะต้องไปหาสิ่งเสพมาแล้วพอพัฒนาความสามารถนี้หาสิ่งเสพได้มาชีวิตก็ยิ่งขึ้นต่อวัตถุเสพมากยิ่งขึ้น พอชีวิตก็เขาขึ้นต่อสิ่งเสพมากยิ่งขึ้น แล้วเขาแปลกแยกห่างเหินจากแหล่งความสุขพื้นฐานและไม่สามารถพัฒนาความสุขที่ปราณีตลึกซึ้งที่เป็นอิสระขึ้นมา ต่อมามันก็จะมีลักษณะที่คล้าย ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นความสุขของคนประเภทที่เรียกว่าเป็นความสุขของคนที่เกาที่คัน เป็นความสุขจากการเกาที่คัน ใช่ไหม หรือเป็นความสุขของคนโรคเรื้อน คนโรคเรื้อนนี้จะมีลักษณะอย่างหนึ่งคือ แกมีแผลตามตัวแล้วก็คัน เมื่อแกคันไอ้ตัวความคันนี่จะรุนแรงรุมเร้าแก ให้แกต้องเกาใช่ไหม เมื่อแกเกา แกก็มีความสุขจากการเกาที่คัน เมื่อยิ่งเกาก็ยิ่งคันขึ้นมาอีก ยิ่งคันก็ยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ได้ความสุขจากการเกา แล้วก็ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ได้ความสุขจากการเกา ดังนั้นคนยุคปัจจุบันนี้ก็จะมากระตุ้นเล้าไอ้ตัวตัณหาความทะยานอยากอันนี้ คือความรุมเร้าในการที่ อินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นยังต้องการสิ่งเสพให้รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์มันต้องการสิ่งเสพรุนแรงยิ่งขึ้น ก็ยิ่งใช้ไอ้ตัวสิ่งสนองความต้องการหรือสิ่งเร้ารุนแรงนั้นยิ่งขึ้น ใช่ไหม จนกระทั่งต่อมา ไอ้สิ่งเร้าที่มันอ่อนกำลังที่มันเป็นพื้น ๆ เนี่ยมันจะไม่สามารถให้ความสุขได้ เหมือนกับการเกาที่ต้องแรงขึ้น ๆ และคนที่เป็นโรคเรื้อนนี้ก็จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า นอกจากการเกา ก็คือการชอบไปผิงไฟ การผิงไฟนี่จะทำให้แกได้ความสุข ยิ่งร้อนแกก็จะมีความสุข ฉะนั้นแกก็ไป ถ้ามองในแง่ของคนทั่วไปคนที่เป็นปกติสุขภาพดีก็จะรู้สึกว่า ไม่ได้มีความสุขเลยในการที่เป็นผิงไฟ มันน่าจะร้อนเป็นทุกข์ด้วยซ้ำใช่ไหม แต่ว่าไอ้คนที่มันเป็นโรคเรื้อนน่ะ มันสุขนะ ใช่ไหม สุขในการที่ผิงไฟให้มันร้อน ๆ พอมันรู้สึกว่า มันสะใจ หรืออย่างเกาที่คัน ก็เหมือนกัน ถ้าคนสุขภาพดีไม่คันนี่ไปเกามันทุกใช่ไหม มันลำบากแต่ว่าคนที่คันนี่มันเกาแล้วมันมีความสุข เพราะฉะนั้นเลนคันขะเหยอเกาจนกระทั่ง แผลเผลอปากแผลเฟอะเลย แยกไปเลย นี่เรื่องของกามสุข สามิทตะสุข จะมีลักษณะอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็เปรียบไว้แห่งหนึ่ง คนที่เป็นโรคเรื้อน หนึ่งก็มีความสุขจากการเกาที่คันยิ่งคันยิ่งเก่า ยิ่งเกายิ่งสุข ยิ่งสุขยิ่งคัน ยิ่งคนยิ่งเกา ยิ่งเกายิ่งสุข ยิ่งสูขยิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกาไปเรื่อยนะ แล้วที่ว่าเอาตัวไปย่างไฟเป็นผิงไฟ มันไม่ใช่แค่ผิงมันเหมือนกับย่างไฟทำให้มีความสุข ถ้าหากว่าคนได้พัฒนาตัว พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ต่อมาสมมุติว่า นี่สมมติในแง่ภาษาไทยน่ะ ต่อมาถ้าหากว่าคนที่เป็นโรคเรื้อนน่ะ แกไปรักษาตัวได้แพทย์ที่มีความสามารถ ได้ยาดี แล้วก็ แกก็มีสุขภาพดีหายโรคเรื้อนนั้น ร่างกายเป็นปกติดี ถามว่าแกจะอยากไปเกาอย่างนั้นไหม แกจะอยากไปผิงไฟอย่างนั้นไหม ถามอย่างนี้ ตอบว่า ไม่ ใช่ไหมครับ แกจะไม่เอาด้วย แกก็จะรู้สึก อู้ฮู ถ้าหากจะไปผิงไฟนั้นแกไม่ไปแน่ ถ้าเกิดมีคนจะดึงตัวแกไปนี่ แกจะดิ้นสุดตัวเลยใช่ไหม ดิ้นไม่ยอมให้เขาพาไปผิงไฟย่างไฟอย่างเก่าอีก ก็เหมือนกับคนที่ว่าไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกาม แล้วพัฒนาให้เกิดความสุข ให้สุขภาพจิตสมบูรณ์ เมื่อจิตมันสมบูรณ์ดีแล้ว เหมือนกับคนที่ร่างกายมีสุขภาพดี นี่เปรียบทางกายกับจิต จิตสมบูรณ์คือมีสุขภาพดีของจิตสมบูรณ์แล้วเนี่ย มันจะไม่เห็นไอ้การที่ไปเสพ การไปปรนเปรอบำเรอกามสุขทางด้านอินทรีย์เหล่านี้ ว่าเป็นความสุขอีก เหมือนกับคนที่หายจากโรคเรื้อนสุขภาพดีแล้ว จะไม่เห็นการที่ไปเกาที่คันและการไปย่างไฟ เอาตัวไปย่าง ไปผิงไฟว่ามีความสุข อันนี่พระพุทธเจ้าก็ตรัสอุปมาไว้ ทีนี้ภาวะที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ ฉันใด การมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ก็คือการบรรลุนิพพาน ความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพจิตสมบูรณ์นั้นเป็นชื่อหนึ่งของนิพานน่ะ ภาวะที่เป็นอิสระ ฉะนั้นนี่ก็คือการที่มนุษย์พัฒนาไปให้ถูกต้องจนกระทั่งจิตมีสุขภาพสมบูรณ์ ก็จะเป็นเหมือนกับคนที่หายจากโรคเรื้อน ก็จะไม่แสวงหาความสุขจากการเกาที่คัน และไม่มองเห็นการเอาตัวไปย่างไฟเป็นความสุขอีกต่อไป
อันนี้ก็เป็นเรื่องของความสุขอย่างที่ 1 เรื่องกามสุข ไหน ๆ พูดไปแล้วก็มาสรุปประมวลเรื่องของกามสุขสักหน่อย ก่อนที่จะก้าวไปสู่ความสุขระดับอื่น ๆ เรื่องกามสุขหรือสุขจากสิ่งเสพทางตาหูลิ้นจมูกกายนี่ เราได้พูดกันมา ก็เยอะแล้วแต่ว่าพูดแบบกว้าง ทีนี้เรารองมาประมวล อ้าวแล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า กามมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสแต่แง่เสียอย่างเดียว แง่ดี แง่อร่อย แง่น่าชื่นใจของกาม ท่านเรียก กามสุข และเป็นกามอัสสาทะ กามะอะสาทะ อัสสาทะของกาม คืออะไรก็คือความเอร็ดอร่อยความสุขความชื่นใจที่ได้จากการเสพทางตาหูจมูกลิ้นกายนั้น นี่เรียกว่า อาสาทะของกาม ทีนี้ต่อไป อาทีนวะโทษของกามล่ะ โอ้โทษของกามก็มีเยอะอยู่
โทษของกามแต่ที่เป็นสำคัญ ก็คือหนึ่งคือ การที่ว่าต้องขึ้นต่อสิ่งเสพภายนอก กามเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอก เราต้องขึ้นต่อมัน ถ้าเราจะมีความสุขต้องอาศัยมันไม่อยู่ในตัวของเราเองนี่ลักษณะที่ 1 คือขึ้นต่อมัน เมื่อขึ้นต่อ มันยังไม่ขึ้นต่อแค่นิดหน่อยคือ มันขึ้นต่อลักษณะที่ว่า ตอนแรกมันเสพแค่นี้ก็สุข ต่อมาปริมาณดีกรีเดิมเท่าเดิมไม่สุข ต้องเพิ่มปริมาณดีกรีอีก นี่มันก็ทำให้การขึ้นต่อนี่ มันมีความหมายอื่นที่จะต้องขึ้นมากยิ่งขึ้นอาศัยมันยิ่งขึ้น ทีนี้มนุษย์นั้น ปกติอาศัยสิ่งเสพเหล่านี้ในแง่ที่จะให้ชีวิตเป็นอยู่เช่นอาหารนี่ เราอาศัยมันอยู่แล้วในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ที่จะให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ แค่นั้นไม่พอต้องมาขึ้นต่อมันในแง่ความสุขอีก นี่ใช่ไหม เราขึ้นต่อมันในแง่การที่จะให้มีชีวิตอยู่ได้นี่ก็มากอยู่แล้วนะ ยังต้องไปขึ้นต่อมันในการที่จะมีความสุขอีกด้วย ทีนี่มันน่าจะทำไงให้เราเนี่ยขึ้นต่อมันในแง่ชีวิตเป็นอยู่ได้ แล้วความสุขของเราเป็นอิสระจากมันมากขึ้น นี่เรากลายเป็นต้องขึ้นต่อมันทั้งสอง ทีนี้การขึ้นต่อมันในแง่ของอาศัยเลี้ยงชีพเนี่ยมันมีปริมาณ 1 จำกัด แต่พอขึ้นต่อมันในแง่ความสุขนี่ มันกลายเป็นเกินขอบเขตของการที่ต้องอาศัยได้แง่ชีวิตเป็นอยู่ใช่ไหม เช่นอย่างอาหารเนี่ย เราขึ้นต่อมันอยู่แล้วในแง่ชีวิตต้องอาศัยเป็นอยู่ในปริมาณ 1 เท่านั้นเอง แต่พอในแง่ความสุข เราโอ้โฮ คราวนี้ขึ้นต่อมันมหาศาลเลย ปริมาณไม่รู้เท่าไหร่เลยใช่ไหม กลายเป็นระดับที่เกินจำเป็น กลายเป็นระดัยที่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ แล้วก็สิ้นเปลือง เสียเปล่า แล้วก็กลายเป็นการทำลายไปเลยใช่ไหม ฉะนั้นหลักการก็คือว่าพุทธเจ้ายอมให้ในการที่ชีวิตเราขึ้นต่อมันในแง่ความเป็นอยู่ ชีวิตเป็นอยู่ แต่อย่าให้ต้องไปขึ้นในแง่ความสุข แล้วก็ถ้าขึ้นในแง่ความสุขเอาให้มันสัมพันธ์กันแค่ว่าในระดับหรือปริมาณของความจำเป็นในการเป็นอยู่ได้ไหม ชีวิตเราต้องอาศัยมันอยู่แล้วให้ความสุขขึ้นต่อมันในระดับปริมาณพอ ๆ กัน ไม่ใช่ว่า ชีวิตขึ้นต่อมันเท่านี้ โดยปริมาณเท่านี้ เสร็จแล้วต้องไปขึ้นต่อมันในแง่ของความสุขนี่เพิ่มไม่รู้จักหยุดเลย จนเกิดปัญหามากมายใช่ไหม นี่คือปัญหาของมนุษย์ เอาละครับ เป็นอันว่าขึ้นต่อมัน ไม่เฉพาะในแง่ชีวิตเป็นอยู่แต่ขึ้นในแง่ความสุขด้วย และในแง่ความสุขนี้จะขึ้นต่อมันอย่างชนิดที่ไม่มีสิ้นสุดเลยเกินจำเป็น เกินปริมาณ เกินกว่าที่ชีวิตจะอาศัยมัน
ต่อไปลักษณะที่ขึ้นต่อมันนี้มันจะนำมาซึ่งอะไรอีก นำมาซึ่งความรู้สึกสภาพจิตใจอีก มีผลต่อจิตใจ มีผลต่อจิตใจยังไงล่ะ เอ้าก็ต้องอยู่โดยที่ว่าเพราะชีวิตขึ้นต่อมันนี่ เราก็ต้องอยากจะได้จะเอา มันก็พัฒนาสภาพจิตที่อยากจะได้ จะเอา เมื่ออยากจะได้ จะเอายังไม่ได้ก็ต้องคิดแสวงหาอยู่ด้วยความหวังว่าจะได้ เมื่อมีความหวังก็คู่กับความหวาด คนที่ตราบใดยังมีหวังก็จะมีหวาดด้วย ใช่ไหม เมื่อหวังว่าจะได้ ก็ต้องหวาดว่าจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อหวังก็หวาดคู่กัน ทีนี้ ถ้าไม่สมหวังในขณะที่ยังไม่ได้ ถ้ามันช้าไปนี่จะอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานในขณะที่ยังไม่ได้ ก็ทรมานในการที่ยังไม่ได้มา ทีนี้ก็เกิดความกลัวจะไม่ได้ก็เป็นทุกข์ แล้วก็เมื่อไม่ได้จริงก็ผิดหวังก็ทุกข์อีก ใช่ไหม เมื่อไม่ได้ก็ผิดหวัง ทีนี้ถ้าได้ก็เกิดความสมหวัง พอสมหวังแล้วต่อมาเคยชิน พอเคยชิน ชินชาต่อมา เกิดเบื่อเสียอีก พอเบื่อหน่ายแล้วเกิดต้องอยู่กับสิ่งเสพอันนั้น สิ่งปรนเปรอที่เคยให้ความสุข เพราะต้องอยู่กลายเป็นจำใจฝืนกลายเป็นทุกข์ไปอีก ไอ้สิ่งเดียวกันที่เคยให้สุขกลายเป็นต้องทุกข์ แล้วในระหว่างที่ยังชอบยังให้ความสุขได้ก็เกิดความยึดมั่น เกิดความยึดติดหวงแหนเป็นทุกข์เพราะมัน เป็นห่วงเป็นหวงนะ ห่วงด้วยหวงด้วย เป็นห่วงเป็นกังวลก็ทุกข์ เพราะมันอีก ถ้าไม่สามารถวางจิตใจปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นทุกข์เป็นทาสเลย จิตใจเป็นความทุกข์เพราะสิ่งเหล่านี้ในหลายประการด้วยกัน ตกลงว่าตอนหวังก็มีหวาด ตอนไม่ได้ก็ผิดหวัง ตอนสมหวังแล้วก็ได้มาก็ยึดติดหวงแหน เกิดความห่วงกังวลเพราะมัน หวงแหนเพราะมัน ทุกข์เพราะความหวาดระแวงผู้อื่น เกิดพอเบื่อหน่ายขึ้นมาอีกจำใจอยู่อีก แยกจากมันไม่ได้ทุกข์อีก ใช่ไหม วุ่นวาย มัน ๆ ปัญหาเยอะเหลือเกิน นี้พระพุทธเจ้าก็สอนไว้ เพื่อให้รู้ทัน ถ้าเรายังอยู่กับมันจะเอาสุขจากมัน ก็จะต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง ว่าทำใจยังไง เพื่อที่จะให้มีทุกข์น้อยใช่ไหม ไอ้นี่คือความจริง ถ้าเราทำใจไม่ถูกเราต้องทุกข์แน่ เพราะฉะนั้นคุณถ้ายังอยู่กับกามน่ะ คุณต้องวางใจให้ถูกต้องว่า ทำอย่างไรคุณจะไม่ทุกข์เพราะมันมาก ในขณะที่ยังไม่ได้ วางใจให้มันดีนะ เราไม่ได้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยเอาหลักของความจริงความรู้เท่าทันธรรมะในกฎธรรมชาติมาช่วย มันก็จะบรรเทาลง ในขณะที่ยังไม่ได้มีความหวัง แต่ก็อย่าไปหวาดให้รู้ว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมันหวังอยู่อย่างนั้นก็อย่าไปทำให้เกิดความรู้สึกระแวงผู้อื่นหรือว่าไปแย่งชิงกัน แล้วก็อย่าไปรู้สึกผิดหวังถ้าหากว่าไม่ได้ก็ให้รู้ทันกลับใจได้ หรือว่าได้แล้วก็อย่าไปอยู่ด้วยความยึดติดหวงแหนเป็นทาสของมันมัวแต่ห่วงกังวล แล้วก็ขัดแย้งกับผู้อื่นเพราะความหวงแหน แล้วก็อย่าไปทุกข์ทรมาน ในเมื่อเบื่อหน่ายใช่ไหมเนี่ย คุณต้องรู้จักปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้องให้คุณทุกข์น้อย แต่คุณต้องรู้ความจริงนะในเมื่อคุณยังอยู่กับกามาสุข คุณจะต้องเจอ ใช้ไหม แต่อยู่ที่คุณจะปฏิบัติได้ถูกแค่ไหน ทีนี้อ้าว ทีนี้ต่อไปลักษณะที่มันขึ้นต่อสิ่งเหล่านี้นั่น สิ่งเหล่านี้มันมีธรรมชาติของมันอีก คือเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเอาอีกแล้วซิ ทีนี้มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน แล้วชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน ตัวเราชีวิตเรา ก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไป ไม่อยู่ในภาวะอย่างเดิม แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยจะไปสั่งบังคับเอาตามใจเราไม่ได้ สิ่งทั้งหลายอื่นก็เช่นเดียวกันอีก เป็นอนิจจังไม่เที่ยงเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปไม่อยู่ในภาวะเดิม ไม่มีใครเป็นเจ้าของบังคับบัญชาเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันดำรงอยู่ตามสภาวะ ทีนี้ถ้าเราไปยึดมั่นสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปก็เกิดทุกข์อีกใช่ไหม ที่ว่ามาทั้งหมดเนี่ย ไอ้สาเหตุที่มันมีความผิดหวังเสียดายหรืออะไรต่าง ๆ นี่ มีการพลัดพรากอะไรต่าง ๆ ก็เพราะมันเป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตานี้ด้วย แล้วอนิจจังทุกขังอนัตตาอันนี้ก็ต้องรู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทันก็จะปรับใจให้เบาจากทุกข์ลงได้ แต่ว่าแต่ตัวอนิจจังทุกขังอนัตตา ตามที่กฎธรรมชาติก็จะเป็นเหตุให้คนที่ไม่รู้เท่าทันเกิดทุกข์เพราะสิ่งเหล่านี้ แต่ก็ต้องรู้ความจริงว่า ในเมื่อเราไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ต้องเป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตาแน่นอนใช่ไหม เอาหละนี่ก็คือว่าตัวข้อบกพร่องจุดอ่อนของสิ่งเหล่านี้ เมื่อกี้นี้ข้อดีของกาม นี่ข้อบกพร่องจุดอ่อนข้อเสียของกาม ก็ตกลงเรื่องกามนี้ก็มีข้อเสียหลายอย่าง วันนี้ผมอาจจะนึกมาไม่ทันหมด เพราะเคยประมวลไว้เวลามาพูดทีนึง บางทีก็นึกออกบ้าง นึกไม่ออกบ้าง อันนี้ก็ขอข้ามไปละ ทีนี้ในเน้นแง่ชีวิตของตัวเองที่ต้องไปขึ้นต่อมันแล้วก็เป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตา อะไรนี่
อันนี้ 2 ในแง่สังคม ในแง่สังคมเพราะว่าในเมื่อคนนี่จะหาสุขจากสิ่งเสพ ซึ่งเป็นสิ่งภายนอกเป็นวัตถุที่มีจำกัด โดยมากมาจากธรรมชาติและก็มีการมาผลิตด้วยระบบของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรม เป็นผลิตภัณฑ์อะไรต่าง ๆ เป็นเทคโนโลยีเหล่านี้มันก็มีปริมาณจำกัด เมื่อแต่ละคนนี้หาความสุขจากสิ่งเสพมันก็มีลักษณะที่ว่าต้องเอาให้มากที่สุดด้วย ต้องเพิ่มด้วย มันก็เลยเกิดการที่แต่ละคนต้องเอาให้มากที่สุดเมื่อเอาแต่ให้มากที่สุดมันก็เกิดการแย่งชิงกัน ก็เกิดการเบียดเบียนข่มเหงการเอารัดเอาเปรียบกันในสังคม ก็เกิดทุกข์ในสังคม เกิดการเดือดร้อน นี่ปัญหาที่ 2 จากกาม เป็นทุกข์โทษในสังคม
แล้วก็ 3 ในปัจจุบันก็คือทำลายธรรมชาติแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ ในกระบวนการผลิตก็จะต้องมีการถ่ายของเสียออกไปในอากาศเป็นควันในปล่องโรงงานบ้าง เป็นน้ำเสียลงไปในแม่น้ำบ้าง ลงไปในดินเสียบ้าง แล้วทำให้เกิดอุณภูมิสูงขึ้น ในบรรยากาศเกิดจากที่เราปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปเลยอะไรเนี่ย มันก็เป็นเรื่องของมลภาวะธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมโทรม อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกด้านหนึ่งเป็นปัญหาของยุคปัจจุบันที่กำลังหนักขึ้นไปทุกที
ตกลงปัญหา 3 อย่าง ชีวิต จิตใจเราแย่ 2 สังคมแย่ 3 ธรรมชาติแวดล้อมแย่ พอสังคมแย่ธรรมชาติแวดล้อมแย่ อากาศเสีย ดินเสีย น้ำเสีย ไฟเสีย ไฟเสียก็คืออุณหภูมิมันสูงขึ้นในบรรยากาศ ดินน้ำลมไฟเสียหมดมันก็ส่งผลกระทบกับมาต่อสุขภาพกายของมนุษย์อีกทำให้ร่างกายต้องเป็นโรคเป็นภัยต่าง ๆ เช่นอยู่ในธรรมชาติแวดล้อมปัจจุบันในกรุงเทพฯ คนก็เป็นโรคเพราะอากาศเสียเยอะเลย ในประเทศ ในบ้านเมืองที่เจริญพัฒนาเช่นเดียวกัน สังคมที่แก่งแย่งกันเอารัดเอาเปรียบ แข่งขันกันเบียดเบียนกันก็ทำให้จิตใจคนอยู่ด้วยความเครียด พอเครียดก็กลับมาเป็นโรคทางกาย จิตก็เป็นทุกข์ กายก็เป็นทุกข์อีก ก็เลยเป็นปัญหาไปหมดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นนี่ก็เกิดจะโทษของกามทั้งสิ้น เรียกว่า สามิตตสุข สุขเกิดจากอามิต หรือสิ่งที่เหยื่อร่อ เป็นอันว่าข้อดีของกามก็มีอย่างที่ว่ามา แต่ข้อเสียของกามจุดอ่อนก็เยอะแยะ แล้วถ้าใครยังอยู่ในกาม ยังแสวงหากามสุขต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง ให้เกิดโทษทุกข์น้อยที่สุด ก็ต้องระวังอันตรายอย่างที่ว่ามา ทำอย่างไรไม่ให้เกิด ทีนี้แต่ตราบใดที่ยังอยู่ในระดับที่แสวงหากามสุขอยู่ไม่ปลอดภัย เพราะมันไม่มีตัวช่วย ไม่มีตัวดุลภาพที่ว่าจะทำให้เขามาไปได้ความสุขทางอื่น แล้วเขาไม่ต้องมามัววุ่นวายกับความสุขจะกาม เพราะว่าถ้าเขายังมุ่งหาสุขจากกาม ๆ ช่องทางเดียวแห่งความสุข สุขต้องมาจากสิ่งเสพจากอามิตเหยื่อล่อ การที่เขาจะต้องปฏิบัติไม่ให้เกิดโทษมาก เขาต้องยับยั้งชั่งใจตัวเอง การยับยั้งชั่งใจตัวเองก็จำใจก็ฝืนใจ เมื่อฝืนใจก็อยู่ด้วยความทุกข์ เมื่ออยู่ด้วยความทุกข์ 1. ตัวเองก็ไม่สบายไม่สุกจริง 2. มันฝืนอยู่นี่มันอาจจะระเบิดเมื่อไหร่ก็ได้ อันนั้นคนจำนวนมากยังไม่ยอมฝืนแล้วฝืนไม่ไหวก็จะละเมิดออกไป ละเมิดออกไปก็ไม่มีหลักประกัน ไอ้ระบบความปลอดภัยของชีวิตของสังคมของธรรมชาติแวดล้อมไม่ปลอดภัยตราบใดที่มนุษย์จะอยู่แค่ว่า ยับยั้งตัวเองนะ อดกลั้น ฝืนใจไม่ได้นี่คือจริยธรรมของมนุษย์ปัจจุบันได้แค่นี้ ฉะนั้นพระพุทธศาสนาบอกว่า เราจะต้องพัฒนาชีวิตก้าวต่อไป และเมื่อพัฒนาชีวิตขึ้นไปตามหลักศีลสมาธิปัญญานั้นความสุขก็จะมีช่องทางมีมิติเพิ่มขึ้นอีก ทำให้คนนี้มีความสุขที่เป็นของตัวเองเป็นอิสระไม่ต้องมาขึ้นต่อสิ่งเสพแล้ว แล้วนอกจากนั้นแล้วก็จะมาทำให้การแสวงหาสิ่งเสพนี้ มันดีไปเป็นวิธีการที่ดีที่ถูกต้องเองโดยอัตโนมัติด้วย อันนี้คือเรื่องที่เราจะพูดต่อไป
วันนี้พูดมาซะยืดยาวยังไม่พ้นเรื่องความสุขจากสิ่งเสพทางวัตถุเลย ก็ยังอยู่ในขั้นกามสุขและก็ 3 มิตสุข ก็คิดว่าในขั้นนี้พอสมควรแล้ว ที่นี่เอาไว้ครั้งต่อไปก็จะพูดเรื่องการพัฒนาชีวิต เพื่อให้ได้มนุษย์ได้มีความสุขเพิ่มขึ้น
(6)
คนฟังถาม พระอาจารย์ ยังไงคนที่ กามนี้
พระตอบ ก็จะได้มีสติ
(7)
คนฟังถาม วนกันอยู่ตรงนี้
พระตอบ วนอย่างนี้ การศึกษาปัจจุบันนี้วนด้วย ไม่ใช่เฉพาะออกไปทำงาน ตั้งแต่เรียนก็เลยจุดมุ่ง ๆ เพื่อไปหาสิ่งเสพ แล้วก็การศึกษาพัฒนาความสามารถไปหาสิ่งเสพ เวลาเรียนก็พูดกันแต่ว่า จบแล้วจะไปหาเงินหาทองยังไงบ้าง หาสิ่งเสพ รถยนต์ โทรทัศน์อะไรต่าง ๆ สิ่งเสพทั้งนั้นเลยใช่ไหม อยู่ในกามสุขหมดเลย พัฒนาด้านเดียว