แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เรื่องอุโบสถยังพูดกันต่ออีกสักหน่อย ที่วันนั้น ท่านสุรเดช หรือ ใครถามที่ว่าสมัยปัจจุบันนี้ หยุดงานเสาร์อาทิตย์ไม่ตรงกับวันอุโบสถวันพระใช่ไหมครับ นั่นสิหมายถึงคฤหัสถ์ซิ เป็นอุโบสถของคฤหัสถ์ แล้วก็จะทำอย่างไร อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ก็เลยเอาเรื่องนี้มาพูดต่ออีก
คือที่จริงนั้นอุโบสถเนี่ยเป็นเรื่องของกิจกรรม แล้วก็ต่อมาก็มาเรียกชื่อวันด้วย เป็นวันอุโบสถ เพราะว่าวันนั้นเป็นวันที่ทำกิจกรรมอุโบสถนี้ แต่เดิมทีเดียวอุโบสถซึ่งเป็นกิจกรรมนั้น เรื่องวันเวลานี้ก็ไม่ได้เด็ดขาดลงไป ตั้งแต่โบราณแล้ว นี้ต่อมาเมื่อถือลงตัวเข้าก็เลยกำหนดว่ากิจกรรมนี้ทำในวันนั้น ๆ ก็เลยเรียกวันนั้นเป็นวันอุโบสถ อรรถกถา ท่านเล่าไว้ถึงว่า ยุคก่อนพุทธกาลโน้น อย่างเรื่องในชาดกนี่ ก็จะมีว่าคนเข้าจำอยู่อุโบสถ จำอุโบสถ ก็คือว่าถือุโบสถ นี้ไม่ค่อยใช้จำอุโสถแล้ว ใช้คำว่าถืออุโสถ แล้วเขาถือเดือนละ 3 วัน แล้วท่านก็อธิบายว่า 3 วัน นี้ได้แก่ วัน 1 ค่ำ 8 ค่ำ และ 11 ค่ำ เห็นไหมไม่ตรงกับที่ถือในพุทธศาสนาในปัจจุบัน แล้วก็ท่านก็อธิบายด้วยบอกว่า อุโบสถในสมัยนั้นก็หมายถึงการไม่กินข้าวก็อย่างที่ผมเคยอธิบายไปแล้วว่า นอกพุทธศาสนาก็มีมา เรื่องประเพณีการอดอาหาร อุโบสถหมายถึงการไม่กินอาหาร ไม่ได้หมายถึงการรักษาข้อปฏิบัติ 8 ข้อ และท่านยังกำกับไว้ด้วยบอกว่า อุโบสถที่หมายถึงการถือข้อปฏิบัติ 8 ข้อ คือศีล 8 นี่ มีเฉพาะในพุทธกาลเท่านั้น หมายความว่ามีเฉพาะเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้ว คือในยุคที่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ก็คือพระพุทธเจ้าของเราเกิดแล้วมาบัญญัติ ก็หมายความพัฒนาความคิดในเรื่องของอุโบสถขึ้นมา จากการที่ถือศีลอด คล้าย ๆ ว่า ถือศีลอดนี่จะเป็นประเพณีมาแต่โบราณจะเกิดยังไงอันนี้เราคงยังไม่ต้องไปสืบค้น แต่ว่าในพุทธศาสนาเห็นความหมายมันไม่เพียงพอ ก็เอามาใช้อย่างที่อธิบายไปแล้วพระพุทธศาสนาจะฝึกคน ฝึกให้เรานี่เป็นอิสระจากวัตถุเสพมากยิ่งขึ้น ไม่ให้เอาชีวิตไปมัวหวังพึ่งความสุขจากสิ่งเหล่านั้นอย่างเดียว แล้วก็จะได้ใช้เวลาแรงงานมาในทางที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ความสิ้นเปลืองน้อยลง แล้วก็มาพัฒนาตัวในด้านจิตใจด้านปัญญามากขึ้น หรือไปทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ทีนี้มาในสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติแล้วที่บัญญัติให้ถือสิกขาบท 8 ข้อ โดยใช้คำว่า อัตถังคะ หรือ อัตถังคสมะทะตะ เวลารักษาศีลอุโบสถนี่ จะมีคำกล่าว คำสมาทานก็จะมี อะตถังสะมานาคะตังโอโบสะถัง อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 องค์ 8 ก็คือที่ว่า เรียกกันศีล 8 เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน ในพุทธกาลเองนี้ก็ตามหลักฐานก็มี 3 วัน คือวัน 14 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำในสมัยพุทธกาลคงจะถือทั้ง 14 ค่ำ ทั้ง 15 ค่ำ แล้วทั้ง 8 ค่ำ ไม่ใช่หมายความว่าถึอ 14 ค่ำเฉพาะเดือนขาดคือหมายความว่าถือตรงไปตรงมาตามเลขที่วันเลยว่า อย่างวันขึ้นมีทั้ง 14, 15 ค่ำ ก็ถือทั้ง 14, 15 ค่ำ อันนั้ก็มี 8 ค่ำ 14, 15 ค่ำ ปักษ์หนึ่งก็มี 3 วัน ทีนี้ถ้าข้างแรมเต็ม มันก็เท่ากับอีก 3 วันก็เป็นเดือนละ 6 ทีนี้ถ้าข้างแรมเดือนไหนเดือนขาดก็ข้างแรมก็เหลือ 2 วัน ฉะนั้นก็จะมีหลักฐานมาในคัมภีร์อย่างบอกว่าพระเจ้าพิมพิสารรักษาอุโบสถเดือนละ 6 วันใช่ไหม พระอุโบสถเดือนละ 6 วัน ก็นี้แหละ 8 ค่ำ 14, 15 ค่ำเดือนเต็ม ถ้าเดือนขาดก็เหลือ 5 วัน อ้าวที่นี้ต่อมาอีก ต่อมาในรุ่นอรรถกถานี่อุโบสถเกิดมีการเรียกเป็นตั้ง 3 ชนิดแน่ะ ในสมัยพุทธกาลก็มีอยู่แล้วล่ะสืบมาแต่ว่ายังไม่ได้จัดแยกให้ชัดเจนเพราะในคำกล่าวถึงอุโบสถอย่างที่เอามากล่าวกันในวันอุโบสถบางวัดนี่ ก็จะมีกล่าวถึงว่าอุโบสถวัน 14, 15 ค่ำ 8 ค่ำและปาฏิหาริยะปักขะ ซึ่งเป็นอุโสถอีกชนิดหนึ่ง เคยได้ยินไหม เป็นอุโบสถอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิหาริยะปะ หรือ ปาฏิหาริกะปะขะ หรือบางทีก็ตัด ปักขะออก เหลือ ปาฏิหาริอุโบสถ
แล้วยังมีอุโบสถอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ปฏิชาครอุโบสถ เลยเป็น 3 ชนิดเลย มีหนึ่ง อุโบสถที่ว่าเมื่อกี้ที่ว่าวันที่ 14, 15 ค่ำและ 8 ค่ำนี่อย่างนี้ไม่ต้องมีคำนำ ถ้าไปอยู่กับชุดอื่นก็เรียกชื่อเติมเข้ามาว่า ปกติอุโบสถ พอมี ปฏิชาครอุโบสถ กับ ปาฏิหาริยอุโบสถ ก็เลยเรียกอุโบสถที่ถือตามปกตินี้เป็นปกติอุโบสถ ก็เป็นอันว่าตอนนี้มี 3 ชนิด
หนึ่ง ปกติอุโบสถ
สอง ปฏิชาครอุโบสถ
สาม ปาฏิหาริยอุโบสถ
เอาละซิทีนี้ชักเยอะแล้ว ปกติอุโบสถมี ปักษ์ละ 3 วัน มาสมัยอรรถกถา เพิ่มมาอีกวัน บอกว่า 5 ค่ำ เป็นอันว่าจะมีวัน 5 ค่ำ กลายเป็นว่า เดือนหนึ่งมี 8 วันอุโบสถ นี่วันอุโบสถปกติในยุคที่อรรถกถาเรียกน่ะมี 8 วัน ข้างขึ้น 4 วัน ข้างแรม 4 วัน นี้ถ้าหากว่าเดือนขาดก็แสดงว่าเดือนนั้นก็เหลือ 7 วัน เอาเป็นว่าถ้าเต็มก็ปกติอุโบสถหรืออุโบสถปกตินี่มี มีตั้งเดือนละ 8 วัน ก็มี 5 ค่ำ 8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ มายุคหลังนี้เราก็ไม่มีแล้ว มันจะมีอุโบสถ มันจะมีอุโบสถ 5 ค่ำ ยุคอรรถกถามีถึง 4 วัน นี่ขนาดปกติอุโบสถ ก็เป็นอันว่าตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า ตอนนี้ยุคพุทธการก็มีแค่ 8 ค่ำ 14, 15 ค่ำ
เอ้าที่นี้มา ปฏิชาครอุโบสถคืออย่างไร ก็เพิ่มเข้าจากปกติอุโบสถ ปฏิชาครอุโบสถก็แปลว่า อุโบสถของผู้ตื่นตัว ๆ อยู่ มีความพร้อมขวนขวายไม่เฉื่อยชา เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้มาก ก็เป็นการถือโดยมีวันรับวันส่ง วันรับวันส่งก็หมายความว่า ถ้าถืออุโบสถวัน 5 ค่ำ อย่างยุคอรรถกถาวันรับก็ 4 ค่ำ วันส่งก็ 6 ค่ำ นี่เพิ่มเข้ามาอีกวันรับวันส่งเพิ่ม 2 วันใช่ไหม ทีนี้วัน 8 ค่ำแหละ วันรับก็คือ 7 ค่ำ วันส่งก็ 9 ค่ำ แสดงว่า วันอุโบสถแทนที่จะถือ เช่นว่ากรณีที่ถือวันใดวันหนึ่งก็เพิ่มเข้ามาหน้า 1 หลัง 1 เป็น 3 แล้วใช่ไหม ทีนี้พอ 14 ค่ำ ก็วันก่อนวันรับก็คือวันที่ 13 ค่ำใช่ไหม ทีนี้ 14, 15 ค่ำ ติดกัน 2 วันก็ต้องไปวัน 1 ค่ำ ตกลงเยอะกันใหญ่ นี่ปฏิชาครอุโบสถ ก็คืออุโบสถของผู้ตื่นตัวขวนขวายมาก ก็เลยมีทั้งวันรับวันส่งอีกเพิ่มจากปกติอุโบสถเข้าไปตั้งกี่วันแล้ว พอมีปฏิชาครอุโบสถเข้าไปปรากฏว่ามีใน ข้างขึ้น 5 ข้างแรม 6 ก็เยอะ ปรากฏว่าเป็นวันที่ไม่รักษาอุโบสถอยู่ในเดือนขาดมี 18 วันเดือนเต็มไม่รักษาอุโบสถอยู่แค่ 19 วัน แสดงว่ารักษาอุโบสถสดเยอะเลย
เอาน่ะจำง่าย ๆ ว่าปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นตัวขวนขวายมากเนี่ย คือรักษาเพิ่มในวันรับและวันส่งของวันอุโบสถปกติ พูดอีกอย่างหนึ่งว่าอุโบสถแบบมีวันรับวันส่ง ซึ่งจะทำให้มีการรักษาอุโบสถ หรืออยู่จำอุโบสถมาก จนกระทั่งว่าในเดือนเต็มมีวันที่ไม่ได้รักษาอุโบสถอยู่ 11 วัน แล้วก็ในเดือนขาดมีวันไม่รักษาอุโบสถอยู่เพียง 10 วัน ก็ตกลงว่าเป็นวันรักษาอุโบสถสำหรับเดือนเต็มมี 19 วัน เดือนขาดรักษา 18 วัน เมื่อกี้นี้ผมรู้จะพูดกลับกัน ต้องย้ำอีกทีหนึ่ง ว่าเป็นวันรักษาน่ะมากกว่า วันรักษาเดือนเต็มรักษา 19 วัน เดือนขาดรักษา 18 วัน ถ้านับวันที่ไม่รักษาอุโบสถ ก็เดือนขาดไม่ได้รักษา 10 วัน เดือนเต็ม 11 วัน เอานะนี่คือปฏิชาครอุโบสถเห็นจะหายากนะเดี๋ยวนี้ เพราะรักษาอุโบสถปกติก็ยังหายากแล้ว นี่ปฏิชาครอุโบสถนี่ขวนขวายเอาจริงเอาจังมาก
ทีนี้ต่อไปก็มีปาฏิหาริยอุโบสถอีก ปาฏิหาริยอุโบสถอุโบสถที่รักษาประจำปี รักษาประจำปีเป็นช่วงยาวเลย นี่รักษากันตลอด ท่านบอกว่า 4 เดือนตลอดฤดูฝนเลย ก็หมายความพอเริ่มฤดูฝนเดือนแปดก็เอาเลยใช่ไหมตลอดไปจนกระทั่งหมดฤดูฝน ยังกะจำพรรษานี่แหละ แสดงว่าพระจำพรรษา โยมก็รักษาอุโบสถ นี่ก็ ปาฏิหาริยอุโบสถก็ทำให้คฤหาสน์นี้เหมือนกับมีการจำพรรษาใช่ไหม รักษา 4 เดือนตลอดฤดูฝน พระมีจำพรรษา โยมก็มีปาฏิหาริยอุโบสถรักษาตลอด 4 เดือนเลย ทีนี้สำหรับปฏิหาริยอุโบสถนี้ ก็มีคำอธิบายของอรรถกถาต่าง ๆ กันไปจนกระทั่งชักฟั่นเฟือน คือบางทีก็บอกว่ารักษาตลอดไตรมาสในฤดูฝนเอาแบบพระจำพรรษา แล้วก็ถ้ารักษาไม่ได้ขนาดนั้นก็เอาแค่เดือนเดียว ถ้าไม่ได้เดือนหนึ่งก็เอาแค่ครึ่งเดือน แล้วจะบอกช่วงระยะเวลาด้วย ในที่นี้ผมไม่ได้เอามา เพราะจะทำให้ฟั่นเฟือนมาก ก็รวมความว่าปาฏิหาริยอุโบสถนี่รักษากันประจำปีเลย เป็นช่วงยาว ถ้าตามมาตรฐานก็ 4 เดือนฤดูฝน ถ้าสั้นมาก็ 3 เดือน อาจจะครึ่งเดือนก็ได้ แต่ก็หมายความเป็นช่วงต่อเนื่องกันไปเลย แล้วเป็นประจำทุกปี เป็น นิพัทธ์อุโบสถ นิพัทธ์อุโบสถ เป็นอุโบสถประจำปี ในทีนี้หมายถึงประจำปี ตัวศัพท์แปลว่าประจำเฉย ๆ ก็หมดแล้วนะครับ เป็นอันว่าอุโบสถมี 3 แบบสำหรับคฤหัสถ์โดยเฉพาะเลย ทีนี้จากที่พูดมาก็จะได้เห็นชัดขึ้นว่าอุโบสถได้เป็นตัวกิจกรรม แล้วเพราะเหตุที่มารักษาประจำในวันนั้น ๆ ต่อมาก็เรียกวันนั้นเป็นวันอุโบสถ แต่ว่าแท้ที่จริงแล้วมันแยกกันได้ วันที่ก็อย่างหนึ่ง ตัวอุโบสถที่เป็นกิจกรรมก็อย่างหนึ่ง ฉะนั้นกิจกรรมนี้อาจจะเปลี่ยนไปทำเมื่ออื่นก็ได้ใช่ไหม ในวันอื่นก็ได้
แม้แต่อุโบสของพระสงฆ์ ก็ยังมีอุโบสถที่ไม่จำเป็นจะต้องมาทำ ของพระเราเรียกทำอุโบสถ อุโบสถของพระนี่ไม่ค่อยจำเป็นมาต้องทำในวัน 14, 15 ค่ำเสมอไป ถ้าสงฆ์แตกกันนี่ สามัคคีกันได้เมื่อไหร่ให้ทำได้เมื่อนั้นเลย นี่ ท่านเรียกสามัคคีอุโบสถ ก็เป็นอันว่ามีอุโบสถแม้แต่ของพระสงฆ์ที่ไม่ได้ทำในวันที่ 14, 15 ค่ำ คือทำในวันไหนก็ได้ ถ้าสงฆ์ที่แตกกัน สามัคคีกันเมื่อใดก็กระทำเมื่อนั้น ก็เรียกว่าสามัคคีอุโบสถ อุโบสถตามปกติก็คือ 14, 15 ค่ำ 15 ค่ำ ในขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำเดือนเต็ม ถ้าเดือนขาดก็แรม 14 ค่ำ ในเมื่อกิจกรรมต่างจากวัน ฉะนั้นก็ย่อมเป็นไปได้ที่ว่าเราจะสามารถกำหนดวันอุโบสถขึ้นมา ถึงแม้ว่าในพุทธศาสนาจะลงตัวพอสมควรก็ยังเห็นได้ว่ามีการไม่ต้องพูดถึงว่า หนึ่ง นอกพุทธการ นี่ วันอุโบสถก็เป็นวัน 1 ค่ำ 8 ค่ำ 11 ค่ำ ที่ว่ามาแล้ว ไม่ต้องพูดถึงอันนั้นก็ได้ แม้แต่ในพุทธศาสนาเองก็ยังมีอุโบสถที่รุ่นอรรถกถาเติมเข้ามาวัน 5 ค่ำใช่ไหม แล้วก็ยังมีอุโบสถของคฤหัสถ์ที่มีหลายแบบเป็นปฏิชาครอุโบสถเป็นปาฏิหาริย์อุโบสถ แล้วยังอุโบสถของพระสงฆ์สามัคคีอุโบสถก็ทำเมื่อวันไหนก็ได้ที่สามัคคี ในสมัยอรรถกถานั้นก็มีเพิ่มวันอุโบสถวัน 5 ค่ำ และก็มีอุโบสถปาฏิชา ปาฏิหาริยอุโบสถ พระก็มีอุโบสถสามัคคีซึ่งทำอะไรก็ได้
ฉะนั้น เราถือว่ากิจกรรมเป็นหลักเรานึกถึงยุคสมัยนี้นั่นเราก็อาจจะกำหนด วันอุโบสถขึ้นมาให้เหมาะกับยุคสมัยนี้ เช่นว่าวันเสาร์หรืออาทิตย์เลือกสักวันหนึ่ง หรืออาจจะเอาอย่างที่ว่า ใครจะรักษาให้จริงจังมากมีความขวนขวายมากก็รักษาทั้งเสาร์อาทิตย์ ถ้าใครไม่มีความเพียรมากก็เอาวันเดียว 7 วันครั้งหนึ่ง จะเอาวันอาทิตย์หรือวันเสาร์มาตกลงกันซะก็ดีเหมือนกัน ให้เป็นหมู่สังคมชาวพุทธใช่ไหม แล้วก็เรียกอุโบสถชนิดนี้ว่า เอาอุโบสถอะไรล่ะ อาจจะตั้งชื่อมาสักชื่อหนึ่งใช่ไหม อุโบสถแบบสุริยคติ ถ้าพูดอย่างง่ายหรืออุโบสถสุริยยาตร์ คำผวนก็มี คำว่าสุริยาต ก็คือสุริยยาตร์ตรา การยาตราของพระอาทิตย์ก็ลองคิดกันดู หรือจะตั้งชื่อตามยุคสมัย ยุคนี้เป็นยุคอะไร อุโบสถยุคอตุสาหกรรม หรืออะไรนี่น่ะ อุโบสถยุคโลกาภิวัฒน์ หรือตั้งไม่ให้มันยาวนักเอาคำสั้น ๆ ก็แล้วแต่ คือชาวพุทธน่าจะคิดกัน ก็มาจัดวันเสาร์หรือวันอาทิตย์เนี่ยให้เป็นวันอุโบสถไปซะ ก็ชื่อนั้นก็มาคิดกันให้เหมาะให้ดีที่สุด แล้วก็เราก็จะจัดกิจกรรม วันอุโบสถก็อย่างที่ว่าหมดแล้ว เนี่ยเจตจำนงหรือเจตนารมณ์อยู่ที่ไหน เจตนารมณ์ก็เพื่อจะได้เป็นวันที่เราเนี่ยได้ให้เวลาที่เน้นมาทางด้านการพัฒนาจิตใจและปัญญา โดยที่ว่าให้ชีวิตของเรานี้เป็นอิสระจากวัตถุเสพ หรือสิ่งบริโภค สิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอทางด้านเนื้อหนัง เอามาทางด้านจิตใจให้มากมันน่าจะดี แล้วเราจะสามารถทำกิจกรรมอื่นได้อีกเยอะแยะ เพราะคนยุคนี้นั้นวันหยุด แทนที่ว่าจะทำให้เป็นวันที่ได้มาพัฒนาจิตใจปัญญาเพราะมัวแต่วุ่นวายไปในการงาน 5 วันแล้ว 5 วันนี้มีแต่เรื่องยุ่งใจตลอดใช่ไหม ขุ่นมัวเศร้าหมองโลภะโทสะโมหะมาก มุ่งจะหาเงินเอาอย่างไร เวลาเย็นไม่พอ ยังไปหาสิ่งบำรุงบำเรอเสพสขุกันมัวเมาลุ่มหลง จิตใจก็ว่าวุ่นเดือดร้อนกระวนกระวายมาตลอด พอวันที่ 6 ที่ 7 แทนที่จะได้หยุดจากสิ่งเหล่านั้นกลับซ้ำหนักเข้าไปอีก ไปหาความลุ่มหลมมัวเมาเป็นวันหยุดงาน งานนั้นมีความหมายแบบว่าแบบฝรั่ง งานของฝรั่งก็คืองานเป็นภาระ เป็นสิ่งที่หนักอกหนักใจ เป็นสิ่งที่จำใจฝืนทนทำ ฝรั่งจึงต้องมี Lecture ฝรั่งมี Work and Lecture work งานนี่หมายถึงสิ่งมี่ต้องทำด้วยความรู้สึกจำใจจำทน แต่ต้องขยัน ต้องมีความเพียร ต้องสู้มัน ทีนี้ก็ต้องหาวันพักผ่อนก็เลยมี Lecture ก็มีวันเสาร์อาทิตย์เป็นวันสำหรับ Lecture สำหรับที่จะได้ปลอดโปร่งเบาจากเรื่องที่หนักนั้น หรืออาจจะไปหา Entertainment เรื่องของการบันเทิง เลยเถิดไปก็มัวเมาลุ่มหลงเพลิดเพลิน เลยเป็นวันพักผ่อน พรรคพักผ่อน Lecture เลยเถิดไป ๆ สนุกสนานมัวเมากันใหญ่ ถ้ามองในแง่นี้วันทำงานก็กลายเป็นวันทำความดี วันหยุดก็เลยหยุดทำความดี เป็นวันที่ไปหยุดทำความดีไปทำแต่สิ่งเลวร้ายไปเลยถ้าอย่างนี้ก็แย่ใช่ไหม แทนที่ว่าเอ้อ เราไปมัววุ่นกับเรื่องทางด้านกาย เรื่องวัตถุหรือกิจกรรมพฤติกรรมภายนอกมาหลายวันแล้ว หยุดทางด้านพฤติกรรมมาพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญาให้มากขึ้นก็ไม่ได้เอา ฉะนั้นวันอุโบสถนี้ก็จะมีความหมายขึ้นไม่ใช่เป็นวันหยุดทำงาน แล้วในแง่ว่างานนั้น ไม่ใช่เป็นการหยุดทำความดีจะหมายถึงว่าหยุดทำภาระหน้าที่ด้านหนึ่งมาทำอีกด้านหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่นว่าแทนที่จะไปตอนนั้น 5 วันนั้นไปทำงานด้านช่วยชีวิตของตนในหน้าที่การงานประจำ พอวันที่ 6 ที่ 7 นี่ก็หันมาทำงานที่เป็นกิจกรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น แก่เพื่อนมนุษย์ แก่สังคมบำเพ็ญประโยชน์ หรือถ้าเป็นตัวเองก็พัฒนาจิตใจและปัญญาอย่างที่ว่านั้น
ฉะนั้นถ้าจะมีเป้าหมายมากขึ้นเป็นประโยชน์แล้วก็มานึกกันในแง่ว่าจะจัดกิจกรรมอะไรดี จะถือว่าวันอุโบสถก็คือวันที่เราเป็นอิสระจากสิ่งเสพก็ได้น่ะ เป็นวันที่ทำชีวิตของเราเนี่ยให้เป็นอิสระปลอดโปร่งโล่งเบามากขึ้น ไม่ใช่เป็นวันที่ไปรุ่มหลงมัวเมายิ่งขึ้น ก็ได้ทั้งในแง่ของ หนึ่ง การที่ว่าวันอุโบสถเป็นวันที่ชีวิตเป็นอิสระจากสิ่งเสพจากความลุ่มหลงมัวเมาเป็นเข้าหาสิ่งที่เป็นสาระ และก็สอง ก็คือว่ามาใช้ชีวิตที่มันเน้นเรื่องการพัฒนาจิตและปัญญาและการทำประโยชน์ร่วมผู้อื่น อันนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้นและจะแก้ปัญหาของสังคมยุคนี้ได้ด้วย เพราะยุคนี้นี่มันยุคที่เป็นสังคมบริโภคมัวเมาเสพกันเรื่อย และพอถึงเสาร์อาทิตย์ยิ่งหนักเข้าไปอีก การล้างผลาญพวกทรัพยากรธรรมชาติก็มันหนักมากในวันเสาร์ วันอาทิตย์ด้วย
ที่นี้เราไปดูในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องอุโบสถไว้ ให้มาดูในแง่ว่า ท่านมุ่งให้ใช้วันอุโบสถนี้ทำกิจกรรมอะไร เอาละครับ ขอย้อนกลับไปเรื่องที่ว่า เดิมนั้นอุโบสถเขาหมายถึงการอดอาหาร แล้วมาในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็ทรงบัญญัติให้คฤหัสถ์ อุบาสกอุบาสิกานี่มารักษาข้อปฏิบัติ 8 ข้อที่เรียกว่า ศีล 8 หรือว่าอุโบสถมีองค์ 8 ซึ่งเป็นเรื่องของการเติมจากศีล 5 หรือสิกขาบท 5 ที่เป็นเรื่องของการที่อยู่ร่วมกันในสังคมไม่ให้เบียดเบียนกัน แล้วมาเพิ่มในส่วนของการที่มาฝึกตัวเองให้งดเว้นจาก ให้เป็นอิสระจากสิ่งเสพ
ทีนี้พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสกับนางวิสาขาไว้ว่าอุโบสถอย่างนี้ที่ว่ามีองค์ 8 เนี่ยมี 3 ประเภทด้วยกัน 3 ประเภทอย่างไง พระพุทธเจ้าตรัส 3 ประเภท คือ หนึ่ง โคบาลอุโบสถ อุโบสถแบบนายโคบาล
สอง นิคคัณฐอุโบสถ อุโบสถแบบนิครนถ์
สาม อริยอุโบสถ อุโบสถแบบพระอริยะ หรืออุโบสถของอริยชนก็ได้ ไปเรียกพระอริยะจะรู้สึกว่าจะไกลตัวไปหน่อย อุโบสถของอริยชน
ทีนี้โคบาลอุโบสถ อุโสถแบบนายโคบาล เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า นายโคบาลเป็นคนเลี้ยงโคให้คนอื่น ก็เช้าก็รับเอาวัวไป แล้วเย็นก็เอามาส่งเจ้าของ พอส่งเสร็จแล้วก็มานึกว่า เอ้อวันนี้เราพาวัวไปเที่ยวหากินที่ไหนบ้าง ไปกินหญ้าที่ไหนไปกินน้ำที่ไหน วางแผนใหม่พรุ่งนี้ล่ะ พรุ่งนี้เราจะพาวัวของเราทั้งฝูงเนี้ยไปหากินที่ไหนไปกินหญ้าที่ไหนไปกินน้ำที่ไหนก็วางแผนอย่างนี้ ก็เหมือนกับคนรักษาอุโบสถ รักษาอุโบสถทั้ง ๆ ที่รักษาข้อปฏิบัติ 8 ข้อนั่นแหละ แต่ว่าคงจะนึกว่าวันอดพรุ่งนี้จะเอาให้คุ้ม พรุ่งนี้จะกินที่ไหนดี พรุ่งนี้จะกินอะไรดี พรุ่งนี้จะกินอะไรวางแผน ใจอยู่ด้วยความโลภ คิดถึงความอยากใจไม่ทำให้บริสุทธิ์ ก็เลยว่าคิดถึงแต่เพียงพรุ่งนี้จะกินอะไร กินอะไรที่ไหน นี้เรียกว่า การรักษาอุโบสถเหมือนแบบนายโคบาล
สอง การรักษาอุโบสถแบบนิครนถ์ หรือแบบนิคันถะอุโบสถเป็นอย่างไร ก็ตรัสว่านิครนถ์เขาจะมีหลักการว่า เขาจะสอนสาวกสอนสาวกลูกศิษย์ของเขา บอกว่า เอ้อท่านทั้งหลายนะ จะเบียดเบียนสัตว์ทำร้ายสัตว์อะไรต่ออะไร ก็ให้มันพ้นร้อยโยชน์นี้ไปทางทิศตะวันออก พ้นร้อยโยชน์ไปทิศตะวันตก พ้นร้อยโยชน์ทิศเหนือ ก็พ้นร้อยโยชน์ทิศใต้ พ้นร้อยโยชน์ไปแล้วจึงจะทำร้ายมันได้ แต่ในรัศมีนี้ก็ไม่ ก็หมายความว่าแบ่ง มีเมตตาต่อสัตว์เฉพาะในเขตหนึ่ง ๆ ทีนี่ไม่ใช่แค่นั้น นิครนถ์เขาจะสอนลูกศิษย์เขา ๆ บอกว่า ท่านทั้งหลาย ผ้าผ่อนนี้ไม่ต้องนุ่ง แก้ผ้าให้หมด อันนี้ก็เป็นหลักของนิครนถ์ ๆ เขาจะไม่นุ่งผ้าใช่ไหม ยิ่งสมัยพุทธกาลด้วย ตอนหลังมาแตกเป็น 2 นิกาย เป็นนิกายแก้ผ้า กับนิกายนุ่งผ้าขาว ทีนี้ในสมัยพุทธกาลนั้น คงยังไม่ได้แยกนิกาย เพราะนิครนถ์อยู่ตัวศาสดานิครนถ์นาฏบุตรอยู่ นี่เขาก็จะแก้ผ้าเลย เขาก็จะสอนสาวก บอกว่า ท่านทั้งหลายผ้าผ่อนก็ไม่ต้องนุ่ง แล้วก็ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น พูดว่าอะไรต่ออะไรก็ไม่ใช่ของเรา เรามายึดมั่นในสิ่งไหนต่อใครอะไรทั้งสิ้น นี่ก็คือหลักนิครนถ์ นิครนถ์เขาถือว่าไม่ยึดมั่น ที่เขาแก้ผ้าก็เพราะเขาไม่ยึดมั่นอะไรทั้งสิ้น ตัวนิครนถ์เองก็แปลว่าไม่มีกิเลสเครื่องผูกรัด นิคันถะ นิ แปลว่า ไม่มี คันถะ แปลว่ากิเลสเครื่องผูกรัด ก็หมายความว่าทางลัทธินิครนถ์นี้เขาถือความไม่ยึดมั่นถือมั่น ถือแรงมาก เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่นุ่งผ้า พุทธนี่ยังยึดถืออยู่ ยังนุ่งผ้าอยู่ ถ้าไม่ยึดมั่นจะมานุ่งผ้าอะไรเล่า ว่างั้น เขาไม่เห็นด้วยกับพุทธศาสนานิครนถ์
นิครนถ์จะมีหลักใหญ่ที่เป็นข้อสังเกตที่ต่างจากพุทธศาสนา คือ
1. ถือลัทธิกรรมเก่า ที่ว่าคนจะได้ดีมีสุขมีทุกข์ยังไงเป็นเพราะกรรมที่ทำให้ชาติปางก่อนที่พระพุทธเจ้าไปเถียงเป็นสูตรเลยว่า เทวะถหัตสูตร ตรัสไว้ในเรื่องของลัทธิ 3 ลัทธิที่ไม่ใช่พุทธศาสนา ลัทธิถือว่าอะไร ๆ ก็เป็นเพราะกรรมเก่าในชาติก่อน ที่ทำว่าแต่ปางก่อน กรรมที่ทำให้แต่ปางก่อน ปุพเพตกเหตุวาท
2. ลัทธิที่ถือว่า อะไรเป็นอะไรอย่างไร ต่ออะไรจะได้สุขและทุกข์ก็เป็นเพราะพระผู้เป็นเจ้าบันดาล
3. ลัทธิที่ถือว่าอะไรจะเป็นไงก็ แล้วแต่โชคถึงเวลามันก็เป็นเอง เรียกว่า ลัทธิ อเหตุปัจจะ
3 ลัทธินี้ไม่ใช่พุทธศาสนา อันนี้คนชาวพุทธเนี่ยถ้าไม่รู้จักนิครนถ์นี้จะเอามาปนกับพุทธศาสนาทั้ง 2 เรื่อง 1. ลัทธิกรรมเก่า 2. ลัทธิมายึดมั่นถือมั่นใช่ไหม ดีไม่ดีก็มายึดไม่ยึดมั่นถือมั่นแรงก็ไม่ต้องนุ่งผ้า ทีนี่นิครนถ์ก็แนะนำลูกศิษย์แกบอกว่า เอ้าวันอุโบสถก็อย่างที่ว่านะ ก็เป็นอันว่า ไม่ต้องนุ่งผ้าผ่อนแล้ว ก็บอกว่าข้าพเจ้าไม่ยึดมั่นสิ่งใดต่อใครอะไรทั้งสิ้น นี่การที่นิครนถ์เขาพูดไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเนี่ย เขาก็รู้ตัวอยู่ว่า เขามีพ่อมีแม่แล้ว คนนี้เป็นพ่อแม่ พ่อแม่ก็รู้ว่าเขาเป็นลูก เขาก็มีลูกเมีย ลูกเมียก็รู้ว่าเขาเป็นพ่อเป็นสามีอะไรต่าง ๆ นี้น่ะ ข้ารับใช้กรรมกรของเขาก็มี เขาก็รู้ว่าคนนั้นมีฐานะเป็นอะไร คนรับใช้ก็รู้ฐานะเขาเป็นอะไร นี่การที่เขารักษาข้อปฏิบัติอย่างเงี้ย ความจริงของเขาเป็นความเท็จ เวลาเขาพูดเป็นมุสาวาทไปในตัว เสร็จแล้วพอเขาบริโภคอะไรก็เป็นอทินาทานไปหมด ไม่มีใครให้ อันนี้หมายความว่าแยกสมมุติปรมัติไม่เป็น คือพุทธศาสนานี่ ว่าไปตามความจริงสัจธรรมความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างงี้ ๆ มนุษย์ไปสมมุติเกิดขึ้นมาทั้งนั้น นี่เป็นลูกเรา เป็นเมียเรา เป็นอะไรต่าง ๆ ใช่ไหม แต่การที่สมมตินี่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้มนุษย์อยู่กันได้เป็นสังคม ก็เป็นสัจจะระดับหนึ่ง ท่านเรียก สมมติสัจจะ เมื่อเราบัญญัติสมมติขึ้นมาโดยมีเหตุผลก็ถือตามที่ตกลงกันนั้นมันเป็นไปด้วยสติปัญญา แต่อย่าไปถือโดยลุ่มหลง โดยยึดมั่น การถือโดนยึดมั่น การถือด้วยปัญญามันคนละอย่าง นี้นิครนถ์แกแยกไม่ออกปนไปหมด แกก็เลยไม่ต้องนุ่งผ้า พุทธศาสนาก็หมายถึงว่า สิ่งทั้งหลายมันไม่ได้เป็นอย่างนี้จริงตามที่มนุษย์บัญญัติ แต่ว่าที่มนุษย์ตกลงกันนี้เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม มีเหตุ มีผล มีเจตนา มีเป้าหมายในการทำอย่างนี้ เมื่อเราวางตกลงกันอย่างไร เช่นเป็นวินัยและก็ถือตามข้อตกลงนั้นทำด้วยปัญญาไม่ทำด้วยความงมงาย ถ้าไปถือแบบนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าไปถืออุโบสถแบบนี้เรียกว่านิคคัณฐอุโบสถ อุโบสถแบบนิครนถ์
ทีนี้ต่อไป อริยะอุโบสถ อุโบสถแบบอริยชนเป็นยังไง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ก็คือว่าใช้วันอุโบสถนั้นในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยเอาความเพียรมาฝึกตนเอง คือหมายความเป็นเวลาสำหรับใช้ความเพียรในการที่มาชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสมาให้เห็นว่า เอ้ายังใช้ความเพรียรยังไง เราอาจจะระลึกถึงพุทธานุสสติ อย่างชาวบ้านนี่ยังเรียนรู้ไม่มาก ไม่เหมือนพระภิกษุก็เจริญพุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธคุณพระพุทธเจ้ามีคุณความดีอย่างนี้ ๆ ก็เราก็จะได้มีศรัทธาเลื่อมใสจิตใจผ่องใสอย่างน้อยระลึกถึงพระพุทธเจ้าระลึกถึงพระคุณของพระองค์ความดีของพระองค์ที่ได้บำเพ็ญมาด้วยพระปัญญาคุณบริสุทธิคุณมหากรุณาธิคุณและได้เห็นพระจริยาวัตรของพระองค์ทำมาอย่างนั้น ๆ จิตใจผ่องใสก็จิตใจก็ผ่องใส จิตใจก็บริสุทธิ์ ชำระจิตใจ หรือต่อไปก็คือจะพยายามโน้มนำพระคุณเราเหล่านั้นเข้ามาในจิตใจตัวเองในการที่เราจะทำให้ได้อย่างนั้นบ้าง ก็จะนำไปสู่การที่จะทำคุณประโยชน์บำเพ็ญความดีอะไรต่าง ๆ นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง อย่างนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นพราหมณ์อุโบสถ หมายความว่า อริยอุโบสถนี้แยกย่อยเป็นหลายอัน พราหมณ์อุโบสถก็ถือว่าพระพุทธเจ้านี่สูงสุดเป็นผู้ประเสริฐมีพระคุณเป็นพรม พรมในความหมายของพุทธศาสนานี้ไม่เหมือนพรมในศาสนาพราหมณ์ แปลว่าประเสริฐ แล้วก็หรือว่าจะระลึกถึงคุณของพระธรรมก็ได้เจริญธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมกว้างขวางแผ่ไพศาลไปนึกถึงแง่ความจริงก็ระลึกไปได้ ความจริงเป็นยังไงความจริงของธรรมชาติเป็นยังไง ระลึกในแง่ความดีงามก็ได้ ระลึกถึงตามธัมมานุสสติพระคุณธรรม 6 ประการ ก็ระลึกไป แล้วก็พิจารณาไปก็จะเกิดความเลื่อมใสในธรรมะศรัทธาในธรรม เห็นค่าในพระธรรมจิตใจก็ผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์หรือว่าทำให้ตัวเองโน้มน้อมนำเอาธรรมะเข้ามาไว้ในใจของตัวเอง ประพฤติปฏิบัติตามต่อไปหรือเจริญถ้าทำอย่างนี้เรียกว่าเป็นธรรมะอุโบสถ หรือระลึกถึงสังฆคุณ ระลึกคุณของพระสงฆ์ เพราะพระสงฆ์มีคุณความดีอย่างนั้นอย่างนี้นะ เจริญธรรมะขึ้นไปจนกระทั่งกำจัดกิเลสเป็นพระโสดาบันสกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ มีคุณความดีบำเพ็ญประโยชน์ตนประโยชน์พูดอย่างนั้น ๆ เราระลึกแล้วมีจิตใจศรัทธาเลื่อมใสใจก็สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา ผ่องแผ้ว หรือว่าน้อมนำเอาคุณของท่านมาใส่ในตนเอง แล้วก็พยายามปฏิบัติตามก็เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีก เป็นสังฆอุโบสถ ทีนี้หรือว่าจะ เจริญสีลานุสติระลึกถึงศีล ว่าศีลที่เราได้ประพฤติปฏิบัติมาตรวจสอบมันเป็นยังไงรักษาได้ดีไม่ รักษาได้ดีแล้วก็มีปีติอิ่มใจ เกิดจิตใจผ่องใส โสมนัสก็ทำให้ใจบริสุทธิ์แล้วก็มาระลึกว่าเราจะบำเพ็ญศีลขัดเกลาให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร ๆ อย่างนี้เรียกว่าเป็น ศีลอุโบสถ หรือต่อไปก็อาจจะระลึกถึงเทวดา ยุคสมันนั้น ถึงแม้แต่ในสมัยนี้ คนชอบในเรื่องเทวดานี่ใช่ไหม อย่าไปเลี่ยงเลย อย่าไปเลี่ยงเลยเทวดา ท่านระลึกถึงคุณเทวดา ระลึกแบบชาวพุทธไม่เหมือนแบบชาวพวกศาสนาก่อนพุทธกาล พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นท่ามกลางศาสนาที่นับถือเทวดา สังคมที่นับถือเทวดา ซึ่งเราเห็นได้แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังยุ่งกับเทวดาอยู่ แต่ว่าถ้าเป็นชาวพุทธระลึกเทวดาอีกแบบ ระลึกถึงคุณเทวดา โอ้เทวดาองค์นี้ชาตินี้เป็นเกิดด้วยคุณธรรมอันนี้ ด้วยศรัทธานี้ ด้วยศีล ด้วยสุตะจาคะปัญญาอย่างนี้ พิจารนาตัวเราดูในตัวเรามีไหม คุณธรรมนั้น เอ้อ นี่ใช่ไหม แทนที่จะระลึกถึงเทวดาแบบเขา ระลึกถึงองค์นี้เก่งอย่างนั้น องค์นี้เก่งทางนี้ บันดาลได้อย่างนี้ ชอบเครื่องเซ่นอันนี้ เราจะต้องไปไหว้อ้อนวอน แทนที่จะนึกอย่างนั้น ไปขอผลปรารถนาก่อน เปล่า ชาวพุทธระลึกถึงเทวดาระลึกอีกแบบ ระลึกถึงว่าเทวดาองค์นี้น่ะ เอ้ ถ้าเกิดเป็นอย่างนี้ได้ด้วยคุณธรรมอะไร มีความคุณความดีอะไรในตัวเทวดาองค์นี้ แล้วดูซิว่าในตัวเรามีคุณความดีไหมอย่างนั้น ถ้าเทวดาองค์นี้ มีศรัทธาที่ มีศีล มีสัจจะ มีจาคะ อย่างนี้มีปัญญาอย่างนี้ เราก็มีคุณธรรมอย่างนี้ เอ้ออย่างนั้นเราก็ไปเกิดเป็นเทวดาอย่างนั้นได้เหมือนกัน ว่าอย่างนั้นน่ะ นี่ชาวพุทธเดี๋ยวนี้ระลึกถึงเทวดาแบบนี้ไหมใช่ไหม ไประลึกแบบนอกศาสนา ถ้าระลึกแบบว่า เทวดาองค์นั้นเก่งอย่างไร บันดาลอะไรได้ ชอบเครื่องเซ่นอะไร เราต้องการอะไร เราจะไปหาเทวดาองค์ไหน ไปถวายเครื่องเซ่นอ้อนวอนยังไง จะไปพรุ่งนี้ไปหาเทวดาจะให้ท่านช่วยหน่อย อะไรอย่างนี้ แสดงว่า นอกพุทธศาสนา ฉะนั้นพุทธศาสนาก็ระลึกถึงเทวดาเหมือนกันแต่ระลึกแบบที่ว่า ระลึกถึงคุณความดีที่มีในเทวดา ที่ทำให้ท่านได้ไปเกิดเป็นอย่างนั้น แล้วมาตรวจดูในตน แล้วทำให้มีขึ้นในตน อย่างนี้เรียกว่าเป็นการระลึกถึงเทวดาเป็นเทวดานุสติ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็เป็นเทวดาอุโบสถ เป็นอุโบสถเทวดาใช่ไหม เอ้าล่ะ มีตั้งแต่อุโบสถพระพรหม ก็คือระลึกถึงพระพุทธเจ้า ถ้าระลึกเทวดาก็ได้แค่เทวดาอุโบสถ พรหมณ์นี้ต้องพระพุทธเจ้า เพราะแทนที่จะระลึกถึงพระพรหม โอ้เป็นเทพเจ้าสูงสุดสร้างสรรค์บันดาลโลกใช่ไหม ระลึกถึงพระพุทธเจ้ามาค้นพบธรรมะความจริงประกาศธรรมให้มนุษย์มีพัฒนาศักยภาพในตัวได้ใช่ไหม ถ้าระลึกถึงพระพรหม แบบพราหมก็ไปเลย พระเจ้าสร้างโลกเอาไว้บันดาลยังไงมีวรรณะ 4 ระลึกก็นึกถึงพรหมในพุทธศาสนาก็ระลึกพระพุทธเจ้าไป
นี่เห็นไหมนี่คือ อุโบสถ ทั้งหมดนี้เรียกว่าอริยอุโบสถ อุโบสถแบบอารยชน ซึ่งมุ่งที่การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ก็เอาเป็นวันของการพัฒนาจิตใจและปัญญา ก็รองมาตกลงกันซิว่าวางแผนว่าวันอุโบสถเอาวันไหนให้มันมีใครจริงจัง เป็นวันของชาติเป็นวันของประเทศไทย วันอุโบสถแล้วชวนกันพัฒนากิจกรรมที่มันเป็นไปตามเจตนารมณ์เหล่านี้ แม้แต่เด็กก็รักษาอุโบสถได้ใช่ไหม เด็กก็ไม่ได้ฝึกได้ฝนไม่ให้การศึกษาตามแนวทางที่ว่า 1. การรู้จักใช้ตาดูหูฟังให้เป็น การบริโภค กินด้วยปัญญา อุโบสถเข้ามาก็จัดการเลย เอ้า หนูมาถึงวันอุโบสถแล้วแต่วันอาทิตย์หรือวันเสาร์ก็ตาม วันนี้นะรายการทีวีเปลี่ยน เคยดูแต่บันเทิงมาวันนี้เปลี่ยนเป็นรายการดูหาความรู้ ฝ่ายรัฐบาลฝ่ายสื่อมวลชนก็วันอุโบสถนี่ก็ร่วมมือใช่ไหม วันอุโบสถแล้วกิจกรรมทีวีรายการบันเทิงเปลี่ยนหมด เป็นรายการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาจิตใจและปัญญาใช่ไหม มันก็จะได้ผลดีขึ้น ไม่ให้มัวเมาชักจูงคนในการเสพยิ่งขึ้น นี่วันอาทิตย์วันเสาร์ทีวียิ่งหนักข้อขึ้นไปอีก ไปทำชักจูงคนให้ลุ่มหลงมัวเมาหนักเข้าไปอีกใช่ไหม ไม่ได้พัฒนามนุษย์จริงเลยสักวันหนึ่ง เนี่ยน่าจะเอาคติอุโบสถนี้ขึ้นมาเน้นกัน ให้มากได้ทั้งในครอบครัว ได้ทั้งบุคคล ได้ทั้งสังคม ได้ทั้งประเทศชาติเลย เอากันให้จริง ๆ ในสังคมชาวพุทธ มันจะได้สมชื่อซะหน่อย อุโบสถมันเลือนหายไปเป็นเรื่องคนคนแก่นิดเดียว แต่โดยเฉพาะเด็ก ๆ น่าคิดกันให้มาก รับจัดกิจกรรมอุโบสถอะไรบ้าง เช่นรายการทีวีเป็นรายการทางเพื่อการศึกษา เพื่อการสร้างสรรค์และการทำกิจกรรมอื่นในครอบครัวมีอะไรบ้างที่จะทำได้ที่มันเข้ากับวัตถุประสงค์ที่ว่ามา รองช่วยกันคิดสิครับ เอ้าใครเสนออะไร กิจกรรมที่พอทำได้เป็นกิจกรรมอุโบสถ ตอนนี้มันสังคมมันมีแต่ว่าจะพากันไหลตามกระแส แล้วก็มีการซ้ำเติมกระแสหนักเข้าไปอีกใช่ไหม เพราะฉะนั้นยาเสพติดก็จะต้องมากขึ้น โรคเอดส์ก็จะต้องมากขึ้น รักษาอุโบสถมีวันอุโบสถจะแก้ปัญหายาเสพติด แก้ปัญหาโรคเอดส์และต่าง ๆ แก้ปัญหาเรื่องค่านิยมทางสังคมที่ลุ่มหลงเพลิดเพลินมัวเมา แก้ปัญหาความฟุ้งเฟ้อความฟุ่มเฟือยอะไรต่าง ๆ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติการแย่งชิงขัดแย้งกันอาชญากรรมต่าง ๆ เยอะเลยใช่ไหม น่าจะให้ความสำคัญอุโบสถนี่ พระพุทธเจ้าอุตส่าห์พัฒนาจัดการถือศีลอด การอดอาหารเพื่อคนโบราณว่าขั้นหนึ่งและชาวพุทธนี่ไม่ได้เอาเรื่อง เลยกลายเป็นเรื่องรักษาคนแก่ก็ยังดีรักษาบ้าง มักจะให้ความหมายแค่ว่าพอได้บุญใช่ไหม ก็เลยขาดเจตนารมณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
(1)
คนฟังถาม ที่จริงพ่อแม่ผู้ปกครอง ผมจะถาม แต่ตอนนี้ผมพิจารณามองว่า เด็ก ๆ ไม่มีปัญญา
พระตอบ แล้วไม่มีผู้แนะนำ ขาดกัลยาณมิตร
(2)
คนฟังถาม เขาไม่มีปัญญาพอที่จะหากิจกรรม ก็ไปตามกระแสก็พาเด็กไปติววิชา กวดวิชา เรียนดนตรี ที่จะเป็นประโยชน์กับเด็ก
พระตอบ ใช่ ก็พ่อแม่ก็ย่อมรักลูก แต่รักลูกก็ต้อง หนึ่ง ตามบำรุงบำเรอเด็ก เอาใจเด็กอยากแสดงความรักก็เพิ่มเอาวัตถุถมเข้ามา ถมเข้า ๆ กลายเป็นเด็กเสียเลยใช่ไหม ไม่ได้พัฒนาเด็ก หรือว่าไปก็ได้แค่ เอ้าพอได้กิจกรรมอะไร ดนตรีอะไรบ้าง มันก็ไม่มีไอ้ตัวเป้าหมายชัดเจน คือสักแต่ว่าพอได้พักผ่อนบ้าง พอให้ได้มีกิจกรรมดี ๆ หน่อย ไม่ไปเสียหาย แต่เป้าหมายที่มันชัดมันไม่มี ว่าทั้งหมดนี้เพื่ออะไรใช่ไหม
(3)
คนฟังถาม ไม่ได้ฝึกหัด
พระตอบ ไม่มี ตัวเครื่องมือก็ไม่มี เป้าหมายนี่ก็ไม่มี เจตนารมณ์ของไอ้เรื่องของการใช้วันหยุดว่าเพื่ออะไรเนี่ย มันไม่มีชัดเจน แล้วมันใช้ยังไงถึงจะเป็นการพัฒนาเด็กได้ดี แล้วก็จะแก้ปัญหาสังคมไปด้วย มันไม่ได้มองอะไรให้มันเห็นตลอดเลย พอจะได้ทำไปเป็นเรื่อง ๆ ให้เป็นเรื่องหนึ่ง ๆ ให้มันเสร็จ ๆ ไปเท่านั้นเอง
(4)
คนฟังถาม แม้กระทั่งปัญญาชนชั้นสูง การศึกษาดีก็ยังมองไม่เห็นแนวทาง
พระตอบ ไม่เห็น ก็ทำได้แค่นั้น พระเราก็ต้องมาช่วยกัน ชักชวนอย่างน้อยก็ให้ความรู้ความเข้าใจ ก็วันนั้นวันนี้คิดว่าชัดแล้วนะ อุโบสถเป็นกิจกรรมไม่ใช่วัน แต่ว่าตอนมาเมื่อทำในวันนั้นก็เรียกวันนั้นเป็นวันอุโบสถ ถ้านี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงของเรื่องวันมาตลอดประวัติศาสตร์ ซึ่งในยุคนี้เราก็สามารถตั้งวันอุโบสถขึ้นมา ก็จะเอาวันไหนดีล่ะ แล้วจะเรียกชื่อว่ายังไง แล้วจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง อันนี้ฝากไว้ให้ช่วยกันคิดนะ มีอะไรสงสัยไหมครับ
(5)
คนฟังถาม ฝากคำถามมา 2 คำถามคำถามแรกก็คือ คริสเนี่ยเขามีหลักธรรมสอนอย่างไร ชักจูงคนมาให้มาทุกวันอาทิตย์ได้น่ะครับ แม้กระทั่งผู้นำระดับสูง ๆ ประธานาธิบดีหรือแม้กระทั่งผู้นำทาง เขาก็ยังไปโบสถ์กันในวันอาทิตย์
พระตอบ มีบ้าง เมืองอเมริกาจะแย่อยู่แล้วใช่ไหม อเมริกาไม่ไปละ โบสถ์ไม่มีคน ขายโบสถ์กันวุ่น อันนี้มันโฆษณาในเมืองไทย ฝรั่งมันโฆษนา คืออันหนึ่งส่วนที่ไป ส่วนที่ไม่ไปไม่ต้องพูดถึง ส่วนที่ไปก็คือศาสนาแห่งศรัทธาอย่างที่ว่า ก็พระผู้เป็นเจ้า มันหนึ่ง มองในแง่เป็นบาปก็ได้ ไม่เชื่อฟังคำสอน ไม่เชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินั้นเป็นบาป ก็กลัว
หนึ่ง ก็ความกลัว ศรัทธาคือความกลัว กลัวบาป กลัวพระเจ้าลงโทษ
สอง ก็คือว่า เป็นคำสั่งเชื่อต้องทำตามเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการตัวจะได้ไปสวรรคอะไรต่าง ๆ ใช่ไหม
สาม ก็คือเขาเป็นตัวของตัวเองกับประเทศของเขาเอง
ทีนี้ ไทยมีปัญหาหลายอย่าง ไทยเรามันมีค่านิยมที่ว่าอยากตามวัฒนธรรมตะวันตก อยากโก้ใช่ไหม อันนี้เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าที่ตัวเองมีค่านิยมสมัยหนึ่งถึงกับดูถูกใช่ไหม ก็ต้องทอดทิ้งใคร ขืนทำก็คร่ำครึ ถูกไหม อันหนึ่งเป็นเหตุให้ปฏิเสธ เพราะถือว่าคร่ำครึ
สอง ก็คือต่อมาไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจความใช่ไหม จนมีค่านิยมเป็นเรื่องคนแก่ เป็นเรื่องของอะไรไปใช่ไหม ค่านิยมของสังคมด้วย แล้วตกลงก็มีทั้งเรื่องค่านิยมภายในของตัวเองความไม่รู้และค่านิยมตะวันตกด้วยใช่ไหม ก็มันมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ แล้วก็อยู่ที่เราจะต้องพัฒนา เพราะพระเราก็ไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมให้มีความหมายได้ใช่ไหม ก็ต้องโทษพระด้วยส่วนหนึ่ง เพราะพระเราไม่สามารถพัฒนาวันอุโบสถให้มีกิจกรรมที่มันชักจูงใจให้เห็นเขาเห็นคุณค่าเป็นประโยชน์ แม้แต่ว่าอย่างให้เด็กมาแล้วเด็กมีส่วนร่วมยังไง มีความสบายใจ บางทีเด็กมาวัดก็ไม่รู้จะทำอะไรใช่ไหม ก็เป็นเรื่องคนแก่จริง ๆ สังคมก็ไปบอกว่าเนี่ยเป็นเรื่องคนแก่ใช่ไหม แล้วก็ต้องพัฒนาให้มีกิจกรรมสำหรับเด็กด้วยสิ วันอุโบสถวันพระอะไรนี่ใช่ไหม ทำอะไรขึ้นมา ทำอะไรสำหรับวันอุโบสถ หรือว่าเป็นเครื่องชักจูงคนเข้าวัดโดยทั่วไป ในตะวันตกเองเวลานี้นะ มันก็มีกระแสกลับเหมือนกันว่าคนเริ่มกลับหันเข้าหาศาสนาอีก เพราะว่าจิตใจมันหาที่พึ่ง มันมีความเสื่อมโทรมทางสังคม แต่ว่าด้วยแนวโน้มที่ผ่านมาในอเมริกาในคนทิ้ง ๆ มาก เขาไม่ค่อยไปหรอกครับโบสถ์ แล้วก็พวกบาทหลวง พวกนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์เนี่ยก็ไม่มีเงินเลี้ยงโบสถ์ก็ต้องขายโบสถ์
(6)
คนฟังถาม จะเหนียวแน่นกว่า ทางยุโรป
พระตอบ โอ๊ยฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสมาหาผมเอง เขาบอกว่าเอ้ทำไมเมืองไทยตอนเช้ามีคนตักบาตรหน้าตายิ้มแย้ม บอกว่าไม่เหมือนประเทศเขาเลย ประเทศเขานี้เขาไม่เอาเรื่องแล้ว โบสถ์นี่ไม่มีใครรักษา ปิดไว้คนก็เข้ามางัดมาลักเอารูปเจ้าแม่มาลีมาเรียเนี่ย เอาไปหลอมเพราะเป็นทองคำแล้วไปขายกัน เพราะเขาไม่เอาแล้ว โบสถ์ทิ้งหมด แล้วก็คนก็ไม่มีจะบวช เวลาจะแต่งงานทีจำเป็นต้องทำพิธีบางทีต้องไปหาจากจังหวัดไหนจังหวัดไหนอื่น ๆ มาหาบาทหลวงมาทำพิธี ไม่มีบาทหลวง ฝรั่งเศสนี่แย่มากแล้ว เขาบอกมาเห็นเมืองไทยนี่แปลกใจ เอ้ทำไมคนไทยยังเอาใจใส่ศาสนานี่เป็นภาพของเขานะใช่ไหม เราไปมองฝรั่งยังเอาใจใส่ไปโบสถ์ ที่ไหนได้ฝรั่งมาเมืองไทยก็บอกทำไมคนไทยยังเอาใจใส่ศาสนา ยังตักบาตร ยังเกี่ยวข้องกับพระ คนละแบบ
(7)
คนฟังถาม ศาสนาเสื่อมก่อนหรือว่าประเทศจะเสื่อม
พระตอบ มันเสื่อมมานานแล้ว เพราะว่าคนไม่เห็นความสำคัญเพราะเขาเรียกว่า God is dead พระผู้เป็นเจ้าตายแล้ว ว่างั้น แล้วก็ตอนนี้มันเริ่มจะพลิกฟื้น ตอนนี้แหละกำลังเริ่มกลับขึ้นมาบ้าง ในอเมริกาเขากลับถือว่าประเทศของเขาเป็นประเทศที่สนใจศาสนามากว่าประเทศตะวันตกด้วยกัน เขาถือว่าอย่างนั้น
(8)
คนฟังถาม เขาใช้คำพูด วีกอทวีทัส
วีกอทวีทัส แต่อันนั้นเป็นคติของพวกผู้นำ แต่หมายถึงว่าประชาชนนี่เอง โดยเทียบกับประเทศอื่นเขาบอกว่าเขาเอาใจใส่สนใจศาสนามากกว่า แต่ถึงกระนั้นก็ถ้าพูดโดยทั่วไปแล้วก็อิทธิพลศาสนาเสื่อมมาตลอดระยะยาวนาน ก็อย่างวัดไทยเราอยู่ในอเมริกานี่เราก็ซื้อโบสถ์คริสต์มาทำวัดหลายแห่ง โบสถ์ที่ Chicago ซื้อโบสถ์ฝรั่งมา Denver ก็ซื้อโบสถ์ฝรั่ง วัดที่ New York วัดที่รอง Ireland ซื้อโบสถ์ฝรั่งมา โบสถ์เก่า ๆ เขาสร้างอย่างดีมาก หินอย่างแล้วก็ใช้ก้อนหินแล้วก็สร้างอย่างดีมาก เขารักษาไม่ไหวต้องขายมีบริเวณกว้างขวาง เพราะเงินน้อยลงมันก็หมดกำลัง
(9)
คนฟังถาม เท่าที่ผมสังเกต มีฝากไว้อีก ผมสังเกตุ เห็นว่าเมื่อ 2-3 วัน ผู้หญิงนี่มาวัดกับผู้ชาย ฝากไว้น่ะยังไง
พระตอบ นี่เคยตอบไปแล้วตอบไปนานแล้ว ตอบเรื่องผู้หญิง คือว่ามันมีหลายอย่างปัจจัยหลาย คือว่าหนึ่ง ผู้ชายตกอยู่ในความประมาทคล้าย ๆ ว่าตัวเองจะบวชก็ได้ จะอะไร ๆ ก็ได้ สนใจอะไรก็ได้ก็เลยเรื่อยเฉื่อย ส่วนผู้หญิงเขามีเหตุของความเป็นอยู่ชีวิตของเขา ๆ ไม่สามารถไปไหนในสังคมที่กว้างขวางใช่ไหม เขาต้องอยู่ภายในครอบครัวอะไรนี้ ทำให้เขาต้องหาช่องทาง เหมือนกับชีวิตของเขานี่อยู่ในวงที่แคบกว่าเขามีทางเลือกน้อยกว่าเขาก็ต้องหาทางออก
(10)
คนฟังถาม สังคมยอมรับผู้ชายเรวมาก
พระตอบ ก็นั่นแหละก็เรื่องของผู้ชายมีทางไปมาก ผู้ชายก็มีเรื่องธุรกิจการงานประจำตัวในวุ่นวายกว่าใช่ไหม ไปคิดถึงเรื่องกิจการเรื่องธุระ แล้วก็ใจก็ไปวุ่นวายอยู่ข้องอยู่กับเรื่องเหล่านั้น ผู้หญิงนี่แกงานสมัยก่อนจำเจอยู่กับบ้าน ก็ไปเปลี่ยนบรรยากาศ แล้วก็โอกาสที่จะออกนอกบ้านก็น้อยกว่า แล้วทีนี้ต่อไปก็เรื่อง ๆ เกี่ยวกับบุญกุศลและยิ่งผู้ชายสมัยก่อนก็ประมาทอย่างที่ว่าตัวได้บุญมาก เช่นจากการบวช เป็นต้น ผู้หญิงรู้สึกตัวไม่ได้บวชก็ต้องขวนขวายทำบุญให้มากอะไรนี่แหละ
(11)
คนฟังถาม ผู้หญิงตั้งครรภ์
พระตอบ ก็ยังมีทุกข์ในชีวิตเป็นส่วนเฉพาะของผู้หญิงหลายอย่างกว่าแล้วก็ผู้หญิงนั้นโอกาสไปทำเสียหายก็น้อยกว่าผู้ชาย ๆ ไปหลงใหลมัวเมา คือผู้หญิงแกจะไม่โดยโอกาสด้วยนะที่ทำให้แกไม่ค่อยมีโอกาสไปลุ่มหลงมัวเมาอะไรมาก แต่ผู้ชายนี้จะเป็นรุ่มหลงมัวเมากับสิ่งเสพติดกับเหล้ากับยากับผู้หญิง มันมัวแต่ไปใช้ชีวิตกับความลุ่มหลงนั้น ผู้หญิงแกไม่มีโอกาสทางนั้นแต่เท่ากับทำให้แกได้โอกาสที่จะมาสนใจทางธรรมะ ใช่ไหม ก็หมายความว่าโดยชีวิตในทางสังคมนี่ ทำให้แกมีวินัยมากกว่าผู้ชาย
(12)
คนฟังถาม เคร่งกว่าเยอะ
พระตอบ นั่นซิผู้ชายไปมัวเมาเสพติดเสุราเมรัย เรื่องผู้หญิงเรื่องการเที่ยวมากมายใช่ไหม ผู้หญิงเขาโอกาสในทางสังคมโดยประเพณีมันช่วยเขาในการปิดกั้นทางที่จะไปเลวทรามหลงไหลเหล่านั้น
(13)
คนฟังถาม แต่ปัจจุบันเริ่มแย่
พระตอบ ต่อไปผู้หญิงก็จะไม่เบาล่ะตอนนี้ก็จะสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป