แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เมื่อวานพูดถึงเรื่องทานศีลภาวนา เน้นเรื่องทาน เพราะคิดว่าวันนี้ก็มาพูดต่อ วันนี้จะเน้นเรื่องศีล อันนี้ก็ ตอนพูดเรื่องทาน ก็พูดโยงมาแล้วเรื่องศีล ว่าทานนั้นเป็นเครื่องสนับสนุนให้ศีลนี่ดำรงอยู่ได้ด้วยดี เพราว่าศีลนั้นมุ่งที่การไม่เบียดเบียนกัน การอยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์กับสัตว์อื่น อันนี้ก็มนุษย์ต้องอาศัยวัตถุเลี้ยงชีพ ถ้าหากว่ามนุษย์จะพยายามอยู่ในศีล แต่ว่าคนยังมีความขาดแคลนแร้นแค้น ขาดอาหาร เป็นต้น การที่จะดำรงอยู่ในศีลธรรมก็ทำได้ยาก คนที่ขาดแคลนก็ทนไม่ไหวก็ต้องละเมิดศีล โดยที่ว่าอาจจะไปแย่งชิงกันลักขโมยกัน ศีลก็อยู่ได้ยาก นี้เมื่อมีทานมาก็ทำให้คนแบ่งปันกันช่วยเหลือในวัตถุ เมื่อวัตถุมีกินมีใช้พออยู่ได้ ศีลก็มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ก็สนับสนุนกัน
ทีนี้สำหรับคฤหัสน์นั้นมีชีวิตที่ต้องยุ่งกับวัตถุมากก็ต้องเน้นเรื่องทานขึ้นต้น ทีนี้พอมีทานมาหนุนแล้ว ศีลเป็นไปด้วยดี ทีนี้ศีลที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้สำหรับชาวบ้าน ญาติโยม คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือนนี่ เราก็จะได้ยินกันอยู่เสมอว่าเน้นเรื่องศีล 5 ซึ่งที่จริงเรียกสิกขาบท 5 ก็คือ
ข้อ 1. ปฏิบัติในการฝึกตนเกี่ยวกับการงดเว้นจากการฆ่าฟันเบียดเบียนทำร้ายละเมิดต่อร่างกายชีวิตกัน เรียกว่าเว้นจากปาณาติบาต แล้วก็
ข้อ 2. ก็เว้นจากเรื่องของการละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินลักโขมยถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ เรียกว่าเว้นจากอทินนาทาน
ข้อ 3. ก็เว้นจากการละเมิดต่อคู่ครองของรักของหวงแหนของผู้อื่น เรียกว่ากาเมสุมิจฉาจาร แล้วก็
ข้อ 4. ก็เว้นจากการใช้วาจาละเมิดทำร้ายผู้อื่นหรือว่าทำให้เขาเสียผลประโยชน์ด้วยการกล่าวเท็จหลอกลวงคำไม่จริง ก็เป็นภาษาพระเรียกว่า เว้นจากมุสาวาท และข้อสุดท้าย
ข้อ 5. ก็เว้นจากการใช้เครื่องดองของเมาสุรายาเสพติดอะไรต่าง ๆ ที่จะทำให้ขาดสติทำให้เกิดความประมาท เป็นผู้คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้อื่น อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว น่ะครับ
นี้ก็เป็นเรื่องของสิกขาบท 5 ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า ศีล 5 เวลามีพิธีต่าง ๆ ในพุทธศาสนาก็เลยเราก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าให้รักษาข้อปฏิบัติทั้ง 5 ข้อนี้ก็จะมีการรับศีล 5 กันทุกที จนกระทั่งรับกันไปพอเป็นพิธี พอพูดออกไปแล้วก็เลยไม่ได้นึก แต่ว่าที่จริงนั้นเป็นการเตือนใจอยู่เสมอว่าเอาน่ะต้องอยู่ด้วยศีล 5 แต่ว่าเวลาญาติโยมขออาราธนาศีล พระก็ให้สิกขาบท 5 โยมขอศีล พระให้สิกขาบททุกทีไป โยมบอกว่า มยังภันเตวิสุงวิสุงรักขะนัตถายะติสะระเณนะสะหะปัญจะสีลานิยาจามะ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล แต่เวลาพระให้นี่ พระให้สิกขาบท จะบอกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาปะทัง สิกขาบท ไม่มีคำว่า ศีล พระสรุปท้ายก็บอกว่า พอจบข้อสุรา พระก็จะบอกว่า อิมานิปัญจะสิกขาปะทานิ ว่าอย่างนี้ สิกขาบท บอกสิกขาบท โยมขอศีล พระให้สิกขาบททุกทีไป เพราะว่าเท่ากับบอกว่า โยมศีลนั้นมันเกิดที่ตัวเองนะ ต้องรักษาปฏิบัติเอา ใครให้กันไม่ได้ ศีลมันเป็นคุณสมบัติที่ตัวเอง เมื่อท่านเอาสิกขาบทนี้ไปปฏิบัติ ท่านก็เป็นผู้มีศีลเอง พอต่อจากนั้นจบแล้ว พระก็บอก สีเรนะสุคะติงยันติ เอ้าแล้ว พอท่านมีศีลด้วยการปฏิบัติตามสิกขาบทนี้ก็จะได้อานิสงส์ นั่นจะสรุปท้ายตอนนั้น ตอนนั้นเป็นพูดเรื่องศีลล่ะ อันนี้เป็นเกร็ดความจริงเคยพูดไปแล้ว เอามาเล่าซ้ำ ๆ
เรื่องศีล 5 ก็พูดไปปนอยู่กับเมื่อวานแล้วด้วย นี่จุดที่น่าสังเกตก็คือว่า ศีลที่พระพุทธเจ้าตรัสสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน อย่างที่ว่าเน้นเรื่องศีล 5 หรือสิกขาบท 5 นี้ ทีนี้เรามาเรียนเรื่องศีลกันเนี่ย ก็บอกแล้วว่าศีลนั้นเป็นเรื่องของการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางวัตถุ คือใช้กายวาจาของเราเนี่ย หรือว่าพูดให้เต็มว่าพฤติกรรมทางกายวาจาของเรา ไปสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์บ้าง ไปสัมพันธ์กับวัตถุ เช่น ปัจจัย 4 บ้าง เพราะฉะนั้นศีลของพระนี้จะกว้างมาก 227 ข้อ ที่เรียกว่าสิขาบท 227 จะไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการสัมพันธ์กับคนอื่นเท่านั้น จะมีศีลหรือสิกขาบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัจจัย 4 เรื่องอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยนี่เยอะหมดเลย เข้าไปตั้งไม่รู้เท่าไหร่ อาจจะมากกว่าส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นด้วยซ้ำ ฉะนั้นส่วนที่เราไม่อาจจะมองข้ามได้ก็คือว่า ศีลในแง่ที่สัมพันธ์กับวัตถุไม่ใช่สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์อย่างเดียว แล้วถ้าสรุปศีลของพระหรือสิกขาบทสำหรับพระเนี่ย เวลาฝึกพระในเบื้องต้นพุทธเจ้าก็จะตรัส โดยที่แยกเรื่องการปฏิบัติต่อปัจจัย 4 เรื่องวัตถุนี้ออกไป พอผู้เข้ามาบวช บวชในพระธรรมวินัยนี้ เริ่มต้น ก็เรื่องฝึกกันในศีล แล้วก็ฝึกอินทรีย์สังวร เรื่องของการใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใช่ไหม นี่ก็ศีล แล้วก็ฝึกเรื่อง โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักกินให้พอดี กินด้วยปัญญา กินเป็นบริโภคเป็น เรียกว่ากินอย่างรู้จักประมาณ บริโภคอย่างพอดี อันนี้อยู่ในศีลทั้งนั้น ซึ่งเป็นศีลที่เน้นในการฝึกสำหรับพระภิษุก หรือผู้ที่บวชเข้ามาในพุทธศาสนา
นี่สำหรับคฤหัสน์เราอาจจะมองข้าม เราก็เลยไปหยุดกันแค่ศีล 5 ความจริงในครอบครัวนี่ จะต้องฝึกให้มากเรื่องอินทรีย์สังวร เรื่องการใช้ตาหูจมูกลิ้นกายตลอดจนกระทั่งใจ โดยเฉพาะก็ตาหูนี่แหละ ทำอย่างไงจะดูเป็นฟังเป็น ใช้ตาดูหูฟังแล้วไม่เกิดโทษเกิดคุณค่าเป็นประโยชน์แก่ชีวิต ใช้ตาดูแลัวได้ความรู้ ได้สติปัญญา ได้ความดีงาม ได้คติที่เป็นประโยชน์พูดง่าย ๆ ก็คือใช้ตาเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ตาหูเพื่อเสพ หาความสนุกสนานบันเทิงดูทีวีก็ได้แต่สนุกบันเทิงอย่างเดียว ดูทีวีไม่เป็น ถ้าดูทีวีเป็น ก็ใช้เพื่อศึกษาก็ใช้ได้ความรู้ ได้สติปัญญา ตอนนี้ต้องฝึกมากในครอบครัว เรามองข้ามเรื่องการศึกษาขั้นต้น เรามายกให้พระ พระเองบางทีก็ลืมเหมือนกัน โภชเนมัตตัญญุตา การฝึกในเรื่องการบริโภค การกินอาหารกินเป็น กินด้วยปัญญา ทำไงจะกินแต่เพียงเสพรสอร่อยอย่างเดียวนะ ให้กินด้วยปัญญาเข้าใจความมุ่งหมายของการกินว่าที่แท้แล้วมันกินเพื่อร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ต้องกินเพื่ออันนี้ ต้องกินโดยพอดี โดยปริมาณพอดี โดยประเภทอาหารที่มีคุณค่า นี่เป็นการศึกษาเบื้องต้น ทั้งนั้นเลย
ฉะนั้นสำหรับคฤหัสน์นี่ ก็จะต้องพยายามเน้นเรื่องศีลในแง่ของความสัมพันธ์กับพวกวัตถุ โดยเฉพาะปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพ มิฉะนั้นเด็กก็ติดนิสัย เวลาอยู่ในบ้านไปไหน ไปไหนไปโรงเรียนก็ไม่ได้ฝึกเรื่องนี้ ก็จะมุ่ง กินก็เพื่อเสพรส ไม่รู้จักประมาณในการกิน กินด้วยตัณหาไม่ได้กินด้วยปัญญา ใช้ตาหูจมูกลิ้นก็ใช้ไม่เป็น ดูไม่เป็น ฟังไม่เป็น ฉะนั้นไปทำอะไร มันก็ออกไปในเรื่องตัณหาหมดไม่ออกมาทางปัญญาเลย มันก็ไม่ก้าวจากความเป็นนักเสพไปสู่ความเป็นนักศึกษาและสร้างสรรค์ใช่ไหม มันก็อยู่แค่เสพ
ทีนี้พอเราฝึกศีลเอาละน่ะ ก็มาดูของคฤหัสน์อีกทีหนึ่ง เป็นอันว่าศีลเป็นเรื่องความสัมพันธ์ในสังคมและสัมพันธ์กับวัตถุปัจจัย ในแง่ความสัมพันธ์กับสังคมก็ ได้แก่สิกขาบท 5 หรือศีล 5 เอาละไม่เบียดเบียนกัน และยังมีทานมาหนุนอีก ทำให้เผื่อแผ่แบ่งปันกัน คนอยู่กันไม่ขาดแคลนเกินไปไม่ต้องมาล่วงละเมิดกัน ก็สังคมก็อยู่กันได้เรียบร้อยพอประมาณ แต่พระพุทธเจ้าก็บอกว่าเอานะ ท่านมีศีล 5 หรือสิกขาบท 5 เนี่ย ก็พออยู่กันได้นะ แต่ยังไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีความสุขจริงนะ เพราะว่า ศีล 5 นี่เรายังไม่พูดถึงเรื่องโภชเนมัตตัญญุตา และอินทนีย์สังวร ไม่พูดถึงการฝึกอินทรีย์ตาหูแล้วก็ ไม่พูดถึงการฝึกในเรื่องการบริโภคเอาแค่ศีล 5 ก่อน ศีล 5 ไม่เบียดเบียนกันในทางสังคมแล้ว ก็บอกว่าถ้าท่านอยู่ในศีล 5 หรือสิกขาบท 5 สังคมพออยู่กันได้ ไม่เบียดเบียนกัน แต่ว่าต่างคนก็ยังคิดหาวัตถุมาก เอาละท่านจะหาเท่าไหร่หาไป แต่ขออย่าให้ละเมิด 5 ข้อนี้ เพราะถ้าขืนละเมิด 5 นี้ อยู่กันไม่เป็นสุขแน่ สังคมนี้ต้องเดือดร้อนลุกเป็นไฟ นั้นถ้าจะหา ๆ ไป หาความสุขจากวัตถุ แต่ขออย่าให้ละเมิด 5 ข้อนี้ แล้วท่านจะพออยู่กันได้ แต่ว่ายังไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีความสุขจริง เพราะความสุขนั้นจะต้องพัฒนาตัวเองต่อไปอีก อยู่แค่ขั้นนี้ก็ควบคุม ควบคุมความเป็นนักเสพนักบริโภคของท่านให้อยู่ในขอบเขตที่จะไม่เบียดเบียนแย่งชิงกันเกินไป
นี้เพื่อจะให้พัฒนาต่อ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องศีลเพิ่มเข้ามา ศีลต่อไปที่เพิ่มเข้ามาเนี่ยสำหรับมาฝึกหัดพระพุทธเจ้าจะไม่เรียกร้องมาก เป็นศีลที่จะฝึกตัวเองในการที่ว่าเพื่อเชื่อมต่อกับเรื่องของการพัฒนาด้านจิตใจและปัญญา ตอนนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติทุกวันด้วยซ้ำ พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกว่าเอาแค่สัก 8 วันครั้งหนึ่ง หรือเดือนละ 4 ครั้ง ถ้ามีความเพียรก็เพิ่มเป็น 2 เท่า จากเดือนละ 4 ครั้งเป็นเดือนละ 8 ครั้ง ศีลนี้คือ ศีลอะไรเอ๋ย คือศีล 8 หรือเราเรียกกันว่าอุโบสถนี่แหละพระพุทธเจ้าเพิ่มเข้ามา ศีล 8 นี่จะเป็นการฝึกเพิ่มขึ้นและศีล 8 นี้จะมาเน้นเรื่องความสัมพันธ์กับพวกวัตถุเสพสิ่งเสพ ศีล 5 นี้เน้นเรื่องสังคม จะเห็นว่าเรื่องอินทรีย์สังวรเรื่องการฝึกอินทรีย์และก็เรื่องของการฝึกเรื่องการบริโภคจะมาอยู่ในศีล 8 ขอให้รองดูเถอะ เอาละคฤหัสน์ถ้าไม่ได้ฝึกกันในชีวิตประจำวันในเรื่องความสัมพันธ์กับเรื่องสิ่งเสพบริโภคแล้วก็เรื่องฝึกตาหูก็มาฝึกเสีย 7,8 วันครั้งหนึ่ง ที่ศีล 8 นี่ เรามาดูกันนะ ศีล 8 ก็เพิ่มจากศีล 5 ศีล 5 มีเว้นจากปาณาติบาต อย่างที่เราว่ากันไปแล้ว พอมาเป็นศีล 8 เพิ่มอะไรเอ่ย เพิ่มข้อที่ 6 ก็ วิกาลโภชนา เว้นจากการบริโภคอาหารผิดเวลา เกินเวลา เกินจำเป็นของเวลา ก็เอาว่าเที่ยงไปแล้วไม่ต้องรับประทาน เพราะว่าแค่ภายในครึ่งวันนี้รับประทานพอแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น และเดี๋ยวนี้หมอ ๆ เจอเยอะเลย หมอบอกไป ๆ มา ๆ ของพระพุทธเจ้าถูก อาหารมื้อหลังจากเที่ยงนี้ไม่จำเป็นเลย แล้วก็ถ้ากินแค่ภายในเที่ยงกลับดีต่อสุขภาพ เดี๋ยวนี้หมอกับว่าไปอย่างนั้น แต่ก่อนนี้หาว่า พระนี่อยู่ยังไงผิดธรรมชาติ ว่าอย่างนั้น ฉันน้อยไม่พอต่อร่างกาย มาหมอเดี๋ยวนี้กลับมาเห็นด้วย บอกว่าดีและถูกต้องอาหารเย็นเกินจำเป็นว่างั้นไปอีก เอาแล้วนะวิกาลโภชนา หนึ่ง เรื่องอาหารไม่เกี่ยวกับผู้คนอื่นเลยใช่ไหม เป็นเรื่องการบริโภคแหละ บริโภคอาหารได้ข้อโภชเนมัตตัญญุตา มาแล้วใช่ไหมนี่ ต่อไปอะไร นะจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานาเวรมณี เว้นจากเรื่องการดูการเล่นฟ้อนรำขับร้องดนตรีทัดทรงของหอมอะไรพวกนี้เครื่องแต่งตัวประดับ เอานะ 7-8 วันที นี้เรื่องอะไร เรื่องการใช้ตาหูจมูกลิ้น เรื่องการใช้ตาหูจมูกนี้มาอยู่ที่นี่แล้ว ดูการละเล่นดนตรีฟังนะ ฟังน่ะก็จมูกดมกลิ่นใช่ไหม และลิ้นก็ลิ้มรสก็ไปอยู่ข้ออาหารแล้ว นี่ก็ นะจะคีมาลา มาแล้วใช่ไหม ต่อไป อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เว้นจากเรื่องของการนอนที่นอนสูงใหญ่ฟูกฟูที่หนาที่นอนสบายบำเรอกาย นี่ก็คือเรื่องการใช้สัมผัสกายใช่ไหม ไม่บำรุงบำเรอ ครบแล้ว 8 ข้อ แล้วจะไปเปลี่ยนข้อ 3 จากกาเมสุมิจฉาจาร อพรหมจริยา ก็ตกลงว่าศีล 8 มาแล้ว ศีล 8 นี้เห็นได้เลยไม่เกี่ยวกับเรื่องการเบียดเบียนคนอื่นใช่ไหม เป็นเรื่องของการปฏิบัติต่อวัตถุสิ่งเสพสิ่งบริโภค แล้วไม่เกี่ยวกับคนอื่น คือเป็นไม่ใช่ด้านสังคม และเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์คนอื่น แต่เป็นเรื่องของตัวเองแหละ ถ้าศีล 5 ข้อ เป็นเรื่องของคนอื่น แต่พอศีล 8 นี่เป็นเรื่องของตัวเอง เรื่องการรับประทานอาหาร เรื่องของการฟ้อนรำขับร้องดนตรีดูการเดินเล่น เรื่องของการนอนที่นอนสูงใหญ่อะไรต่าง ๆ เนี่ย ตอนนี้เราจะเห็นได้ว่า นี่มาแล้วการฝึกในเรื่องที่พระพุทธเจ้าเน้นสำหรับพระ คือ ศีลในแง่ความสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งเสพสิ่งบริโภค ซึ่งพระพุทธเจ้าก็สรุปไว้แล้วว่า อินทรีย์สังวรการรู้จักใช้ตาดูหูฟังให้เป็น ว่าตาดูหูฟังอย่างไรจะไม่เกิดโทษไม่เกิดความลุ่มหลงมัวเมา ไม่หลงระเริงเพลิดเพลิน แล้วก็ฟุ้มเฟือยเกินไปเบียดเบียนแย่งชิงกัน แต่ว่าให้ใช้ตาดูฟังให้เกิดประโยชน์ ดูเพื่อให้เกิดปัญญาความรู้และความดีงาม ฟังก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้เคยดูทีวีมา 7 วันดูรายการบันเทิงเยอะ พอมาวันนี้ปั๊บเปลี่ยนรายการทีวีเป็นดูหาความรู้ อย่างน้อยได้วันหนึ่งแหละ ดูหาเตรียมไว้เลยว่า วันที่ 7 วันที่ 8 นี้ต้องดูรายการที่เป็นประโยชน์ตั้งใจไว้ อย่างเด็กก็เหมือนกันฝึกเด็กก็บอกว่า เอาและตามใจหนูมา 7 วันแล้ว วันนี้มาเปลี่ยนสักที ขอวันหนึ่งมาดูรายการที่เป็นความรู้ ดูเพื่อการศึกษาวันหนึ่ง นี่ก็ถือศีลอุโบสถและสำหรับเด็ก ไม่ใช่ต้องไปนั่งงดเว้นไม่ต้องทำอะไรใช่ไหม เปลี่ยนรายการทีวีเท่านั้นเอง เปลี่ยนจากรายการบันเทิงสนุกสนานไม่เข้าเรื่องมาเป็นรายการที่มีสาระเป็นประโยชน์เสียวัน ก็เปลี่ยนหมดแหละ พอถึงวันที่ 8 ก็เอาให้เข้ากับศีล 8 ข้อ นี้ก็ฝึกศีล ๆ ในแง่ที่สัมพันธ์กับวัตถุสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ซึ่งทางพระเคยบอกแล้วว่าเรียกชื่ออีกอย่างนึงว่า กายภาวนาใช่ไหม นี่ด้าน กายภาวนา เข้ามาที่นี้ของเรานี่เราไม่ค่อยได้ฝึกกัน เรามองศีลก็แค่ศีล 5 ไม่ได้มองเรื่องการฝึกด้านชีวิตด้านวัตถุสิ่งเสพบริโภคได้แล้วครับเข้ามาแล้ว อันนี้จะได้อะไรขึ้นมาอีกบ้าง ก็เป็นอันว่าฝึกด้านนี้ก็ได้ หนึ่ง ก็ชีวิตก็จะไม่หลงมัวเมาในสิ่งเสพเกินไปสิ่งบริโภค แล้วก็ไม่ได้รับโทษภัยจากสิ่งเสพเหล่านั้นที่บริโภคด้วยตัณหาไม่ได้บริโภคด้วยปัญญาลุ่มหลงมัวเมาและเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ซึ่งเสียทั้งแก่ตนเองและแก่สังคม แล้วก็ฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ ตัดไปเลย ทำให้ประหยัดไปด้วย อันนี้ก็ความเป็นนักเสพก็ถูกจำกัดแหละ ถ้าเราเอาแค่ศีล 5 นี้ยังไม่เป็นหลักประกันใช่ไหม เรายังได้แค่ไม่เบียดเบียนกับเพื่อนมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยดี แต่ว่าอาจจะยังมัวเมาลุ่มหลงกับเรื่องวัตถุเสพบริโภคอยู่ ความเป็นนักเสพยังมากอยู่ พอศีล 8 มาช่วยกำกับก็ทำให้ความเป็นนักเสพนักบริโภคนั้นอยู่ในขอบเขต ทีนี้พอใช้ตาดูหูฟังเป็นนะ ต่อไปก็พัฒนาความเป็นนักศึกษาแล้วทีนี้ ความเป็นนักศึกษาก็คือการใช้ตาดูหูฟัง เพื่อความรู้เพื่อสติปัญญา เพื่อความดีงาม ใช้ตาดูหูฟังเพื่อสนองความใฝ่รู้ ใช้เพื่อเรียนรู้ ใช้เพื่อศึกษา ก็พัฒนาความเป็นนักศึกษา แล้วต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยอย่างที่อธิบายไปแล้วว่า พอความเป็นนักศึกษา การใช้ตาดูหูฟังเพื่อการเรียนรู้ตามมา แล้วก็จะก้าวไปสู่ความใฝ่ดีไปสู่การสร้างสรรค์ ก็จะพัฒนาความเป็นนักสร้างสรรค์ ตอนนี้การศึกษาก็จะก้าวไปเลย ก็เป็นอันว่าไม่อยู่แค่เป็นนักเสพนักบริโภคมาเป็นนักศึกษา แล้วก็เป็นนักสร้างสรรค์ แล้วเรามีทานไปแล้วนี่ ที่พูดเมื่อวานก็เป็นนักให้อีกใช่ไหม ถ้าคนเราได้ครบ หนึ่ง เป็นนักเสพแต่อยู่พอประมาณ สอง เป็นนักศึกษาด้วย สาม เป็นนักสร้างสรรค์ สี่ เป็นนักให้ด้วย พอแล้วสังคมอยู่ได้สบายใช่ไหม ฉะนั้นหลักพระพุทธเจ้านี่ครบบริบูรณ์ อ้าวทีนี้ได้อะไรอีก ก็ได้ความมีอิสระภาพ พอเรามาเพิ่มเรื่องศีล 8 นี่เป็นการฝึกตัวเองให้ขึ้นต่อวัตถุเสพบริโภคน้อยลง คนเรานี่ตอนแรกเราก็มุ่งหาความสุขจากวัตถุเสพบริโภคอาหารอร่อยลิ้น สิ่งที่มาบำรุงตาหูจมูกลิ้นหามาให้มากต้องเสพให้มาก จึงจะมีความสุขก็บำรุงบำเรอหามา หามาต่อมาปรากฏว่าความสุขของตนเองนี้ไปขึ้นต่อวัตถุภายนอกหมดเลย ยิ่งหามามากยิ่งเสพมาก ต่อไปนะ มันต้องเพิ่มปริมาณ ต้องเพิ่มดีกรีของสิ่งเสพ เคยมีปริมาณเท่านี้สุข ต่อมาปริมาณเท่านั้นไม่พอต้องเพิ่มปริมาณ เพิ่มไปเพิ่มไป ไอ้ความสุขในตัวลดลง ความสูงของไปเป็นขึ้นกับวัตถุเสพหมด ถ้าขาดวัตถุเสพเหล่านั้น ยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีพัฒนา ขาดเทคโนโลยี ขาดทีวี ขาดอะไรอยู่ไม่ได้มีแต่ความทุกข์ แล้วคนสมัยก่อนไม่มีทีวีดูอยู่ได้ยังไงใช่ไหม อ้าวทำไมคนสมัยนี้พอขาดแล้วทุรนทุราย เนี่ยเพราะว่าเอาชีวิต เอาความสุขของตัวเองเนี่ยไปฝาก ไปพึ่งพาไปขึ้นกับวัตถุเสพหมด นั้นเป็นชีวิตที่หมดอิสรภาพ นึกว่าตัวเองเก่งหาได้มาก ปรากฏว่าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถในตัวเองในการที่จะสร้างสรรค์ความสุข เอาความสุขและชีวิตไปขึ้นต่อวัตถุเสพบริโภคหมด เพราะฉะนั้นก็กลายเป็นผู้ที่พึ่งพา ลักษณะพึ่งพาต่อเทคโนโลยีก็เกิดขึ้น ที่ฝรั่งเรียกว่า Technical Dependency ก็พึ่งพาวัตถุเสพบริโภค พึ่งพาเทคโนโลยี 2 ด้าน การดำเนินชีวิตและกิจการงาน 2. พึ่งพาในด้านความสุข หมายความว่าขาดสิ่งเหล่านั้นแล้ว ขาดสิ่งบำรุงบำเรอแล้วหาความสุขไม่ได้ ที่นี้การมีศีล 8 หรือสิกขาบท 8 อุโบสถ ก็มาเตือนตัวเองไว้ให้ระวังตัว ไม่เอาชีวิตเอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุเสพเกินไป พอถึง 8 วันทีหนึ่งกินแค่เที่ยง งดดูการบันเทิง งดฟังเรื่องดนตรี อะไรต่าง ๆ งดไม่ต้องนอนบนฟูกฟู ดูซิว่าเราอยู่กับชีวิตของเราโดยมีวัตถุเสพแต่เพียงเท่าที่พออยู่ได้นี่ อยู่ได้ดีมีความสุขไหม ไม่ต้องไปขึ้นต่อมัน รองเป็นอิสระสักวันหนึ่ง ก็ปรากฏว่าอยู่ได้ ที่นี่มันยิ่งกว่านั้นก็คือว่า พอเราเป็นอิสระจากมัน เราสงวนเวลา ไอ้เวลาที่เคยไปทุ่มเทในการหาความสุขจากสิ่งเหล่านี้ เรามีเวลาขึ้นแล้ว เอาเวลาไปดูทีวีบันเทิงซะเสียเวลาไปเยอะ วันนั้นนี่เราเป็นวันที่ปลอดโปร่งวันหนึ่ง เราเอาเวลานั้นไปทำกิจกรรมที่ดีงาม กิจกรรมที่พัฒนาสติปัญญาจิตใจของตัวเองใช่ไหม อย่างบางคนก็ไปนั่งสมาธิ หรือบางคนก็ไปทำ ไปดูหนังสือ ไปหาความรู้ เอาเวลานั้นอย่างครึ่งวันหลังนี่ ก็โปร่งหมด ก็ไปหาความรู้หรือไปทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เวลานั้นก็เป็นประโยชน์ ท่านเรียกว่า ธัมมะนัตชะกรรม อุโบสถนี้ก็เป็นนวัตกรรมอยู่ในมงคล 38 ประการในคาถาที่เท่าไหร่ที่ 5 ใช่ไหม 1. อะเสวะนาจะพาลานัง ชุดที่ 2 ปะฏิรูปะเทสาวะโส ชุดที่ 3 พาหุสะมันจะ ชุดที่ 4 มาตาปิตุฐานัง คาถาที่ 5 ทานันจะธรรมติยาจะยาตะกาอจิสังฆนะวัตชานิกัมมันนานิ อวานะชะกรรม นี่ได้แก่อุโบสถ และกิจกรรมสร้างสรรค์บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ไปสร้างสะพาน ไปปลูกต้นไม้ ไปทำอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านบรรยายไว้เลย ก็พอเรารักษาอุโบสถ เวลาเราเหลือเฟือ หนึ่งชีวิตเราก็เป็นอิสระจากวัตถุความสุขของเราไม่ขึ้นต่อมัน แล้วเอาเวลานี้ไปใช้ในการพัฒนาชีวิตด้านจิตใจด้านปัญญาแสวงหาความรู้และด้านบำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ สบายไปเลยวันหนึ่งนี่ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าไม่เรียกมาก เอาล่ะ คุณจะหาวัตถุเสพหาไป 7 วัน แต่วันที่ 8 ขอวันหนึ่งใช่ไหม แล้วคุณเองก็จะมีชีวิตที่เป็นอิสระมากขึ้นด้วย แล้วเสร็จแล้วเวลาก็เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตัวเอง แล้วก็ช่วยเหลือสังคมเพื่อนมนุษย์ ทั้งในเวลาเดียวกันด้านหนึ่งก็เสพบริโภคน้อยก็เบียดเบียนกันน้อยลงทำลายทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงด้วย
ข้อปฏิบัติแค่เนี้ยเมืองไทยก็ทำไม่ได้ ทำให้เป็นอย่างนั้นใช่ไหม เนี่ยถ้าทำได้หลักนี่มันดีเหลือเกิน แก้ปัญหาสังคมได้หมดเลย แปลกนะเมืองไทยนี่ เป็นเมืองที่นับถือพุทธศาสนา แล้วในครอบครัวนี้ต้องถือหลักนี้เลย ถ้าฝึกลูกไว้อย่างนี้นะสบายเลยแก้ปัญหาได้ ถ้าให้ตามใจลูกเป็นนักเสพนักบริโภค เตรียมรับปัญหาได้เลย ต่อไปพ่อแม่จะต้องเดือดร้อน ตามใจลูกไม่มีที่สิ้นสุด ลูกจะเอาโน่นเอานี่ พัฒนาให้เป็นนักเสพนี่อยู่ด้วยตัณหาตลอดเวลา โตขึ้นมาก็เรียกร้องจะเอานู่นเอานี่ความสุขอยู่ที่วัตถุจิตใจความสุขไปขึ้นเป็นธาต เป็นอะไรเป็นเมืองขึ้นของวัตถุหมดเลยไม่เป็นอิสรภาพ ทีนี้พอเราฝึกอย่างนี้ปั้บ เด็กมีสภาพมากขึ้น เป็นนักศึกษานักสร้างสรรค์หาความสุขจากการเรียนรู้หาความสุข จากการอ่านหนังสือ จากการพัฒนาปัญญา จากการสร้างสรรค์ ชอบประดิษฐ์คิดค้นทำโน่นทำนี่อยู่กับเพื่อนมนุษย์ได้ดี ดีไปหมดเลยไม่ต้องไปหาหลักการศึกษาอะไรมากอยู่ในนี้หมดแล้ว ฉะนั้นศีล 8 นี่ อย่าไปมองแค่ว่าญาติโยมก็มองไปว่า โอ้ ไปวัดทำบุญได้บุญ ไปรักษาศีล 8 มองแค่นี้ ไม่ได้มองว่าที่แท้นี้ ศีล 8 นี่ตัวสำคัญเลยเป็นสิกขาบทข้อฝึกนี้ใช่ไหม ข้อฝึกเพื่อให้ชีวิตของเราเนี่ยมีอิสรภาพมากขึ้น ๆ ต่อวัตถุเสพน้อย พอเป็นอิสระมากขึ้น ทีนี้เราสามารถอยู่ดีมีสุขได้ด้วยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุเกินไป ฉะนั้นเราเคยนอนถ้าไม่มีฟูกมีฟูนอนไม่ได้นอนเบาะนอนเมาะนอนอะไรอย่างสบายแล้วไม่มีความสุขเพราะเราฝึกเรื่องศีล 8 8 วันทีเราละ เรานอนพื้นนอนกระดานนอนเสื่อก็ได้ เราเป็นอิสระจะไปไหนก็สบาย แล้วแถมไม่ปวดหลังอีกใช่ไหม แก้โรคปวดหลัง บางคนนอนเบาะนอนเมาะจนกลายเป็นโรคปวดหลัง เพราะต้องมานอนพื้นนอนเสื่อหาย นอนกระดาษสบาย นี้ต่อไปเราก็บอกฉันนอนพื้นนอนเสื่อฉันนอนกระดาน ฉันก็สบายไม่เห็นเป็นทุกข์อะไรใช่ไหม นอนได้ นี่ถ้าคนที่ไม่ฝึกเนี่ย ขาดไม่ได้ถ้านอนพื้นนอนเสื่อทุรนทุรายนอนไม่หลับ ทีนี้เราฝึกแล้วนิต่อไปเราก็จะเป็นอิสระมากขึ้น ถ้าคนที่เป็นนักเสพบริโภคนี่ มันต้องมีวัตถุเสพ ถ้าไม่มีแล้วมันอยู่ไม่ได้ กลายเป็นว่าวัตถุเสพเทคโนโลยีเหล่านั้นต้องมีฉันจึงจะอยู่ได้ ถ้าไม่มีฉันตายเลยว่าอย่างนั้นน่ะ ทีนี้พอฝึกแล้วนะ พอฝึกให้เป็นอิสระต่อไปก็จะพูดว่า เอ้อ วัตถุสิ่งเสพเหล่านั้นมีก็ดี ไม่มีก็ได้ ว่าอย่างนั้นน่ะ ให้มันพูดได้อย่างนี้แล้วยังมีอิสรภาพอยู่น่ะ ถ้าวัตถุสิ่งเสพถ้าเราพูดได้อย่างนี้นะบอก มีก็ดี ไม่มีก็ได้ แสดงว่าเรายังมีอิสรภาพ มีก็ดี มีก็ดี ดีก็ใช้มันไป แต่ถ้าไม่มี ฉันก็อยู่ได้ นี่เรียกว่ารักษาอิสารภาพขั้นที่ 1 ต่อไปวัตถุเสพบางชนิดนี่ เราจะเห็นว่าไม่จำเป็น มันเกะกะมันรกรุงรังมันทำให้เราวุ่นวายเป็นภาระ เราก็พูดว่า มีก็ได้ ไม่มีก็ดี ว่างั้น มีก็ได้ ไม่มีก็ดี แสดงว่า ก้าวไปอีกขี้นหนึ่ง แต่ก่อนต้องมีจึงอยู่ได้ ตอนนี้บอกว่า มีก็ได้ มีก็ได้ฉันก็ไม่ว่าอะไร ฉันก็ใช้ไป แต่ไม่มีก็ดี ไม่มีฉันจะได้สบายโล่งโปร่งไปไหนก็ได้ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่าถ้าเราฝึกดีแล้วนะจะเป็นเหมือนนกที่มีปีก 2 ปีก คิดจะไปไหนก็ไปได้เลยใช่ไหม ไม่ต้องห่วง คนที่มันไม่เป็นอิสระนี่มันไปไหนไม่ได้เลย มันไม่ใช่มีแค่ 2 ปีก มีอะไรต่ออะไรพะรุพะรังหมดเลยนะ ตัวมันก็ยกปีกบินไม่ขึ้นนะ ฉะนั้นนี่แหละการฝึกในเรื่องของศีล 8 นี่มีประโยชน์มากรักษาอิสรภาพ นี่ก็จะเป็นตัวเชื่อมเราเข้าสู่การพัฒนาจิตใจได้เต็มที่ ก็อย่างที่บอกแล้วว่า ตอนนี้เราไม่ต้องเอาเวลาไปวุ่นวายทุ่มเทกับเรื่องการหาวัตถุเสพใช่ไหม เรามีเวลาของเรา มีแรงงานหรือเหลือเฟือเรา ความคิดความอ่านเราก็ไม่ต้องไปวุ่นวายกับเรื่องเหล่านั้น แรงงานเวลาความคิดของเรานี่เอามาใช้ในสิ่งที่ดีงามในการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชีวิตจิตใจและปัญญาของตนเอง ก็เป็นการก้าวไปสู่ด้านจิตใจปัญญา ทีนี้ถ้าคนมายุ่งกับเรื่องวัตถุเสพมาก มันอยู่แค่ขั้นกายเท่านั้น ไปไหนไม่ได้พัฒนาจิตใจพัฒนาปัญญาได้ยาก เพราะฉะนั้นศีล 8 เป็นตัวเชื่อม เพื่อจะให้ชาวบ้านเนี่ยได้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่สูงขึ้นไปมีความเป็นอิสระจากวัตถุมากขึ้น
เอาก็มาดูรายละเอียดนิดหน่อย เป็นอันว่าหลักการได้แล้ว นี้รายละเอียดก็คือว่าเรื่องศีล 5 กับศีล 8 จะเห็นได้ว่าตอนที่อยู่ในศีล 5 เนี่ย จะไม่มีเรื่องของการห้าม เรื่องดนตรีฟ้อนรำขับร้อง เชิญตามสบายใช่ไหม แต่ว่าท่านก็มีอันหนึ่งก็คือว่า ในขณะที่ยังใช้เรื่องเพลง เรื่องดนตรี เรื่องการละเล่นสนุกสนานบันเทิงนี้
ถ้าจะให้ดีขอให้เป็นเรื่องโน้มนำมาสู่กุศล เราก็เลยใช้สำหรับชาวบ้านนี่ ดนตรีเพลงอะไรตัวตนใช้ได้ในระดับศีล 5 ไม่ได้ผิดอะไรนี่ใช่ไหม อย่าไปเป็นปฏิปักษ์ขัดอะไรให้วุ่นไปหมด คือพุทธศาสนานี่มองคนแบบพัฒนาเจริญขึ้นไป ไม่ใช่มองตายตัวเด็ดขาด ต้องเอาอย่างนี้ ถ้าเป็นชาวพุทธต้องอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่อยู่อย่างนี้ผิด นี้อย่างเนี่ยมันทำให้เกิดปัญหาเถียงกันด้วยแล้วก็ไม่เข้าหลักเข้าสู่หลักการศึกษาพัฒนาคน เราต้องมองคนว่าเออ เขาก็ต้องค่อย ๆ ศึกษาพัฒนาชีวิตขึ้นไปนะ นี่เขาอยู่ในระดับชาวบ้านธรรมดา เอาและโดยทั่วไปชีวิตเอาศีล 5 ก็พอ ไม่ให้เบียดเบียนกัน ทีนี้ในแง่ของการจะฟ้อนรำขับร้องกาละเล่นดนตรีกับปล่อยเขา แต่ว่าเราเข้าไปเกี่ยวคือว่า ทำงัยจะใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือดึงเขาไปสู่สิ่งดีงาม ฉะนั้นอย่าให้เป็นดนตรีเพลงอะไรต่าง ๆ การละเล่นมันที่มัน เสียหายไร้ศีลธรรมที่มันชักจูงจิตใจให้หมกมุ่นมัวเมาหลงระเริงไปใช้มันในทางที่พัฒนาจิตใจเขาให้ประณีตยิ่งขึ้น ฉะนั้นเราก็หาทางทำให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ชักจูงจิตใจมาสู่ความดีงาม อย่างบทสวดมนต์เนี่ยถ้าเรียกภาษาบาลีก็เรียกว่าเพลงเหมือนกัน การสวดของพระนี่ ภาษาบาลีก็ใช้คำเดียวกันคำว่า เพลง ถ้าการสวด ใช้ภาษาบาลีว่า คายะนา หรือ คีติคีตะ ใช่ไหม คีตะ สังคีต นี้ เป็นเรื่องดนตรีการร้อง การร้องเป็นเรื่องของคีตะ คีติคายนะ การสวดมนต์ก็เช่นเดียวกันใช้ศัพท์เดียวกัน ฉะนั้นก็หมายความว่าเราเอาการสวดการร้องเพลงเนี่ย มาใช้ประโยชน์ในทางธรรมให้ดี เพราะฉะนั้นเพลงของชาวบ้าน เขาพยายามให้เป็นเพลงที่มันชักจูงใจให้ตกต่ำลง ให้ลุ่มหลงมัวเมา เอาเพลงนี้มาเป็นเครื่องมือช่วยทำให้จิตใจปรานีตขึ้นก็หาทางแต่งเพลงที่มันดี ๆ ให้คติธรรม ให้บทเรียนชีวิต ให้คนเกิดสติปัญญามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกที่ดีงามชื่นชมธรรมชาติ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ จูงจิตรไปสู่สิ่งที่ดีงามทำด้วยความมุ่งหมายคือ ทำด้วยปัญญาไม่ได้ทำอวิชชาโมหะ นี้เพลงเดี๋ยวนี้มันทำด้วยโลภะโทสะโมหะมากใช่ไหม เพลงที่มีเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์ที่หายาก เพลงที่ช่วยทำให้จิตใจมีความรักเพื่อนมนุษย์ มีเมตตาไมตรีกัน เพลงที่ทำให้คิดเสียสละอยากช่วยเหลือผู้อื่น เพลงที่ทำให้ชื่นชมธรรมชาติความดีงามของเพื่อนมนุษย์ และความดีงามของป่าเขาลำเนาไพรก็น้อยใช่ไหม เพลงที่ทำให้เกิดปัญญารู้เข้าใจชีวิตนี้ เดี๋ยวนี้ยิ่งน้อยลงทุกทีเลย ฉะนั้นจะต้องหันมาเน้นเรื่องเหล่านี้ ใช้ไอ้สิ่งที่เขาใช้กันอยู่แล้วเนี่ยมันชักจูง เพราะว่าศีล 5 ยังไม่ได้ไปแตะต้องในเรื่องเหล่านี้ ในแง่ของการที่ว่าจะต้องงดต้องเว้นไม่มี แต่ว่าทำไงจะให้มันดี ทีนี้พอ 8 วันที บทสวดที่ว่าเอานะเรายังอยู่ด้วยชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง รองอยู่แต่ตัวชีวิตของเราอย่างเดียวไม่มีสิ่งภายนอกเราอยู่ได้ไหม ต้องฝึกไว้น่ะ ไม่งั้นชีวิตของเราก็หมดอิสะสภาพขึ้นกับสิ่งภายนอก ไม่มีสิ่งบำเรอตาหูจมูกลิ้น ไม่มีสิ่งบำเรอลิ้น ไม่มีสิ่งบริโภคเสพให้อร่อยแล้วอยู่ไม่ได้ก็แย่ เดี๋ยวเวลาท่านเจ็บป่วยทำไง ท่านต้องอยู่กับชีวิตท่านคนเดียว ถ้าอย่างนั้นท่านทุกข์ทุรนทุรายแย่ซิ ท่านอยู่กับชีวิตตัวท่านไม่พอ ท่านแก่ลงท่านเสพสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ท่านทำไง ท่านไม่ได้ฝึกไว้ ท่านก็ทุกข์ทุรนทุรายใช่ไหม งั้นต้องฝึกให้อยู่กับตัวชีวิตลำพังไม่ต้องมีสิ่งเสพ ไม่ต้องมีสิ่งภายนอก ให้อยู่กับร่างกายและจิตใจของตัวเองให้อยู่ได้ สามารถมีความสุขได้นั่นแหละจะเป็นอิสระจริง เพราะฉะนั้นเราก็ฝึกการฝึกในเรื่องศีล 8 ก็จะเป็นอย่างนี้ คือให้อยู่กับชีวิตของตัวเองที่มีร่างกายและจิตใจนี่ พออยู่ได้สามารถทำใจได้ ฝึกปัญญาของตัวเองได้ แล้วมีความสุขที่เป็นอิสระจะเจ็บไข้ได้ป่วยนอนบนเตียงก็ไม่ทุกข์ ไม่งั้นแย่ซิ พอนอนป่วยเข้าก็ทุรนทุราย ฉะนั้นต้องฝึกไว้ คนเรานี่มันไม่ได้มีสิ่งเสพมาบำรุงบำเรอตลอดเวลา ชีวิตที่อยู่กับตัวแน่นอนก็คือร่างกายจิตใจของเรานี่ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้มันให้เป็น ฝึกมันให้ดี พัฒนาศึกษามันตลอดเวลา เอาล่ะครับก็เป็นอันว่า
เรื่องของศีลนี่ มีประโยชน์หลายอย่าง
1. คือไม่เบียดเบียนกันในสังคมเกื้อกูลกัน
2. คือเป็นเครื่องฝึกชีวิตให้มีอิสรภาพมาก ขึ้นต่อสิ่งเสพบริโภคน้อยลง สามารถอยู่กับชีวิตจิตใจของตัวเอง แล้วเป็นทางของการที่จะพัฒนาจิตใจและปัญญายิ่งขึ้นไป
นี้ต่อไปก็ไปประสานกับภาวนา พอเรามีศีลในขั้นของศีลที่ปฏิบัติต่อวัตถุภายนอกสิ่งเสพ ในระดับศีล 8 แล้วก็พร้อมที่จะพัฒนาปัญญา ก็พัฒนาเริ่มแต่ท่าทีของจิตใจต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีเมตตาไมตรีและพัฒนา เรื่องของสติสมาธิ เรื่องของจิตใจที่เข้มแข็งอะไรต่าง ๆ ความเพียรพยายาม แล้วก็พัฒนาเรื่องปัญญา การเรียนรู้ การหาความรู้ การรู้เข้าใจโลกชีวิตตามเป็นจริงก็พัฒนาขึ้น ๆ ไปเรื่อย
นี่แหละก็เห็นจะพอสมควร วันนี้เน้นเรื่องศีล แล้วก็พอศีลแล้วก็เป็นฐานปัญญาเพราะศีล 8 ก็อย่างที่เห็นแล้วนี่นำไปสู่การพัฒนาในด้านจิตใจและปัญญาที่เอื้อภาวนาได้อย่างดีทีเดียว ก็รับกันหมดทั้งชุดทานศีลภาวนา คิดว่าวันนี้ก็พอสมควรแก่เวลามีอะไรสงสัยไหมครับ
(1)
คนฟังถาม ไม่สดวกเพราะว่าวันทำงานไม่ตรงกัน
พระตอบ อ้าวแล้วก็ย้ายไปวันเสาร์หรือวันอาทิตย์เสียซิ จะไปยากอะไรใช่ไหม นี่มันเรื่องของบัญญัติใช่ไหม เรื่องของวินัย เรื่องระดับศีล ก็เป็นเรื่องของการเอาชีวิตของคนในยุคสมัยนั้นมาใช้ประโยชน์ สมัยนั้นเขาอยู่ด้วยปฏิทินจันทรคติในยุคพุทธการใช่ไหม เขาไม่รู้จักปฏิทินสุริยคติ เขาก็ต้องใช้วันพระจันทร์เป็นยังไงพระจันทร์ครึ่งดวง พระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์หมดดวง เอาอย่างนี้มาเป็นหลักกำหนด ทีนี้คนสมัยนี้ไม่ได้มองดูพระจันทร์แล้ว บางคนนะอยู่อาทิตย์นึงหรือบางคนเดือนหนึ่งไม่ได้เห็นพระจันทร์เลยใช่ไหม คนสมัยนี้ห่างธรรมชาติมาก พระอาทิตย์บางทีก็เห็นแต่แสงอาทิตย์แต่ไม่ดูดวงอาทิตย์ บางทีก็เห็นแต่บังเอิญขับรถไป ไม่ได้มีโอกาสดูธรรมชาติ บางคนอยู่ในกรุงเทพเช้าออกจากบ้าน ออกจากห้องแอร์ ขึ้นรถไปแล้วก็ไปติดแอร์อีก พอรถไปถึงที่ทำงาน เข้าห้องแอร์ต่อ ออกจากห้องแอร์เข้าห้องแอร์ เข้ารถแอร์ มานอนในห้องแอร์ ไม่ได้เจออะไรเลยธรรมชาติ ชีวิตก็อยู่กับเทคโนโลยีเนี่ย นี่ก็เลยไม่ได้สัมผัสกับความเป็นจริงของโลกและชีวิต ทีนี้เรามาอยู่ในโลกสมัยปัจจุบันนี้ก็ เราก็จะใช้ปฏิทินสุริยคติก็ใช้เสาร์อาทิตย์ ปฏิบัติไปตามหลักการ ก็คือว่าเอายังไงก็ได้ให้มันได้ตามที่ว่ามานี่ เป็นอันว่าอย่างน้อยก็ 7-8 วันที ก็ฝึกในเรื่องของการที่จะให้มีชีวิตที่เป็นอิสระขึ้นต่อวัตถุเสพบริโภคให้มันน้อยหน่อย แล้วเอาเวลานั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น มาพัฒนาเรื่องจิตใจและปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป
ถ้าคนไทยรู้จักใช้อุโบสถศีลนี้ให้เป็นประโยชน์น่ะ สังคมจะได้ประโยชน์มาก แล้วเราจะมาพัฒนากันในเรื่องกิจกรรมว่า ในเมื่อวันนี้เรางดเว้นรายการเลือกเสพบริโภคบำรุงบำเรอความสุขด้านกายแล้วเนี่ย เราจะจัดสรรเวลาอย่างไรให้ดีในระดับสังคมเลยเป็นกิจกรรมร่วมกัน แม้แต่ทีวีสื่อมวลชนนี่ 8 วันครั้งหนึ่ง วันที่ 8 นี้เปลี่ยนเลยรายการใช่ไหม รายการเพื่อศึกษาสร้างสรรค์หาความรู้ สังคมมันจะได้มีหลัก ไม่งั้นก็เสพมา 7 วัน วันที่ 8 เสพให้หนักเข้าไปอีกใช่ไหมเดี๋ยวนี้ถูกไหม วันที่ 8 นี้ตัวร้ายเลยกลายเป็นวันแห่งความเสพ ความหลงระเริง ความมัวเมาโดยสิ้นเชิงเลย แล้วก็สังคมไม่วิบัติแล้วจะไปรอเมื่อไหร่ใช่ไหม ต้องแย่แน่ ๆ เพราะฉะนั้นหนียาก ถ้าขืนอยู่กันอย่างนี้ แต่ว่าสังคมอเมริกันมันก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว เวลานี้ก็ครูอาจารย์ในโรงเรียนก็มาตั้งขบวนการทีวี ฟรีอเมริกา เดี๋ยวนี้มีขบวนการอันนี้ พอเห็นโทษภัยของทีวีมากเด็กเสียหมด Violence ความรุนแรงอะไรต่าง ๆ มากมาย พวกครูอาจารย์ก็ทนไม่ไหว ตั้งขบวนการทีวีฟรีอเมริกา อเมริกาที่ปลอดทีวี ว่าอย่างงั้น อย่างน้อยถ้าไม่ได้เลยก็ให้ได้สักสัปดาห์ ให้เป็นสัปดาห์ปลอดทีวี แต่ก็ยังสู้กันอยู่ ต่อ ๆ ไปก็ยิ่งลำบากเข้าไป อย่างที่หนังสือ Telling The Truth ของ คุณผู้หญิงคนหนึ่งแกเคยเป็นอะไรเป็นประธาน เป็นประธานสมาคมมนุษยศาสตร์แห่งชาติ ก็มีตำแหน่งสูง แกก็เขียนหนังสือชื่อ Telling The Truth ที่ว่า ลักษณะการฆ่ากันตายในหมู่เด็กวัยรุ่นของอเมริกันเดี๋ยวนี้ มันรุนแรงมากขึ้น ทีนี้แกก็เล่าตัวอย่าง แต่อาตมาเคยเล่าหลายแห่ง แกเล่าบอกว่ามันไม่มีความรู้สึกในความเจ็บปวดความตายของผู้อื่นเลย เล่าถึงว่าคนขายไอศครีม คนหนึ่งก็ขี่รถขายไอศครีมเข้าไปที่ภาคใต้ของเมือง Philadelphia เมืองใหญ่เมืองหนึ่ง เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอเมริกา ทีนี้ก็เข้าไปในหมู่เด็ก ไอ้เด็กคนหนึ่งเข้ามาขอสตางค์แก เด็กวัยรุ่นอายุสัก 16-17 แกก็ไม่ให้ มันก็โกรธก็ควักปืนมา เด็กวัยรุ่นอเมริกันนี่มีปืนใช้กันเกล่อ ไปโรงเรียนยังเด็กประถมเอาปืนไปยิงกันที่โรงเรียนเลยน่ะ นี่อเมริกา ทีนี่ไอ้เจ้าเด็กวัยรุ่นคนนี้ พอคนขายไอศครีมไม่ให้สตางค์มันโกรธ มันก็ควักปืนมายิงเลย ยิงแล้วคนขายไอสครีมก็ลงไปนอนกลิ้งจะตาย ไอ้เด็กวัยรุ่นคนอื่นอีกเยอะเลย คงได้ยินเสียงปืนก็มากัน พอมาแล้วแทนที่จะไปช่วย หรือมีความรู้สึกสงสารอะไรไม่มีหรอก มายืนล้อมกันแล้วดูคนจะตายแล้วร้องเพลง RAFSong RAF Song นี่คือเพลงที่พูดไปด้วย พูดไปร้องไป เป็นพูดเป็นคำธรรมดา ร้อง RAF Song สนุกสนาน ที่นี่คนขายไอศครีมเป็นคนที่เป็นคนเล่าเรื่องน่ะ ก็ขับรถตามเข้ามาก็เห็นเหตุการณ์นี้ ก็ใจเสียหมดเลย ก็ไอ้พวกเด็กนี้จะเข้ามาขอสตางค์แกอีกแล้ว แล้วก็ไม่ได้เล่าตรงนี้ เขาไม่ได้เขียนไว้ว่าแกทำไง แต่ว่าแกพูดไว้ว่า คนพวกนี้เด็กพวกนี้มันดูคนตายเหมือนกับดูแมวตาย ว่าอย่างงั้น นี้คนที่เขียนนี่แกก็วิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ แกก็บอกว่า ก็เพราะว่าพวกสื่อมวลชนทีวีเป็นต้น วีดีโออะไรต่าง ๆ นี่ มันกล่อมเด็กตลอดเวลา ให้เห็นแต่รายการรุนแรงจนกระทั่งเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ที่เห็นในชีวิตจริงเนี่ย มันจะเป็นเหมือนรายการ Entertainment หรือเป็นโชว์เท่านั้น หมายความว่าเด็กวัยรุ่นเหล่านี้เห็นการตายของคนขายไอสครีมเหมือน Entertainment เป็นรายการบันเทิงอันหนึ่งในทีวี หรือเหมือนกับโชว์ อันหนึ่งเท่านั้นเอง มันก็ไม่รู้สึกอะไร ฉะนั้นก็หนังสืออีกเล่มหนึ่ง ก็เขียนไว้ว่า เวลานี้การฆ่ากันตายในสังคมอเมริกันในหมู่เด็กวัยรุ่น นี่พูดถึงวัยรุ่น วัยรุ่นฆ่ากันตายเพิ่ม 400 % ในช่วง 30 ปี 400 เปอร์เซ็นต์ ก็คือ 4 เท่าตัว เพิ่ม 400 % การฆ่ากันตายในหมู่เด็กวัยรุ่นไม่ได้หมายความว่า ฆ่าเฉพาะวัยรุ่นด้วยกันนะ หมายความว่าเด็กวัยรุ่นเป็นตัวผู้ฆ่า อาจจะฆ่าคนโตคนเล็กก็แล้วแต่ เพิ่ม 400% 1 แล้วนะ
2. ก็คือว่าสถิติฆ่ากันตายนี้สวนทางกับสถิติการเพิ่มประชากร เพราะว่าการเพิ่มประชากรของอเมริกานี้จะเพิ่มที่คนแก่ ส่วนเด็กจะลด ในขณะที่ให้คนวัยรุ่นฆ่าตัวตายกับเพิ่มสถิติ ทั้ง ๆ ที่สถิติการเกิดมันน้อยลงใช่ไหม แสดงว่าเพิ่มกำลัง 2
3. ก็คือว่า ฆ่าโดยไม่มีเหตุผล คือไม่จำเป็นจะต้องโกรธเกลียดแค้นกันไปแล้วก็ไปตามฆ่า คืออยู่ ๆ คิดไม่พอใจขัดใจไม่สบายใจขึ้นมา อาจจะเอาปืนขึ้นไปบนหลังคาและยิ่งกลาดใครผ่านมาก็เอาทั้งนั้น ไว้ใจไม่ได้ เพราะฉะนั้นฆ่าส่งเดช 3. แล้วน่ะ ฆ่าไม่มีเหตุผล
4. ฆ่าแล้วเฉยไม่รู้สึกอะไร ไม่รู้สึกเดือดร้อนใจ ไม่รู้สึกว่าจะมีความผิดอะไร อย่างที่ว่ามันร้องเพลง RAF Song ใช่ไหม ถ้าอย่างนี้แหละอารยธรรมมันจะอยู่ได้อย่างไรใช่ไหม
เมืองไทยนี้ไม่ช้านะ ถ้ายังขืนเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้มันก็ชักจะเป็นอย่างนั้นแล้วใช่ไหม มีแต่รายการทีวีที่ฆ่ากันอย่างดุเดือดห่ำหั่นกันไม่มีความรู้สึกอะไรเลย ฉะนั้นสังคมไทยนี่เป็นสังคมที่มีโอกาสดี แต่ไม่ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ ในการที่จะได้บทเรียนจากสังคมอื่น แล้วก็แก้ปัญหา กลับเอาแต่ตามเขาไป นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าการศึกษามันไม่ถูกต้อง การศึกษามันไม่ได้เข้าหลักการเลย การศึกษาที่เราจัดกันปัจจุบันเท่านั้น มันเป็นเพียงการเรียนชิ้นส่วนหนึ่ง เรียนวิชาหนังสือ เรียนอาชีพอะไรเท่านั้นเอง การศึกษาอย่างที่เราพูดกันทั้งหมดเนี่ยมัน เข้าไปมีส่วนอยู่เพียงนิดเดียว
ฉะนั้นตั้งแต่ในครอบครัว ตั้งแต่เด็กต้องฝึกให้ถูกต้อง ถ้าให้การศึกษาอย่างที่พุทธเจ้าสอน เริ่มตั้งแต่ชีวิตประจำวัน รู้จักกินเป็น บริโภคเป็น บริโภคด้วยปัญญา กินพอดีน่ะ กินด้วยความมุ่งหมาย เพื่ออะไรต้องถาม กินเพื่ออันนั้น ใช้ตาหูฟัง ใช้ตาดูหูฟังให้เป็น ดูทีวีให้เป็นนะเนี่ย การฝึกการศึกษาเบื้องต้น ตั้งแต่เด็กเกิดมาก็ต้องมีวิธีอบรมเลี้ยงดูให้เขาไม่ใช่มุ่งแต่ใช้ตาดูหูฟังเพื่อเสพเท่านั้น ต้องใช้เพื่อศึกษาและสร้างสรรค์ใช่ไหม คนที่มีการศึกษาก็วัดด้วยการใช้ตาดูหูฟังให้เป็น ชีวิตประจำวันนี่การศึกษาไม่ใช่ไปดู ไปเรียนในชั้นเรียน ก็เริ่มตั้งแต่คุณอยู่กับ ตาหูคุณ คุณใช้มันเป็นไหม ใช้เพื่อเสพจนเคย ก็ใช้เพื่อศึกษาบ้างซิ ใช้เพื่อเรียนรู้ หาความสุขจากการศึกษา หาความสุขจากการเรียนรู้เพราะคุณใช้ตาดูหูฟังเพื่อการศึกษา ต่อไปคุณก็จะรู้จักใช้มือและสมองเพื่อสร้างสรรค์ แต่ถ้าคุณใช้ตาดูหูฟังเพื่อเสพ คุณก็จะใช้สมองและมือเพื่อแย่งชิงและทำร้ายผู้อื่นใช่ไหม ทีนี้ถ้าตาดูหูฟังเพื่อศึกษาต่อไปมือและสมองก็สร้างสรรค์ นั้นทางแยกมาอยู่ที่นี่ และเราให้การศึกษาเพื่อฝึกตาหูบ้างไหมใช่ไหม เรามีแต่ตามใจแล้ว ก็อย่างที่พูดเมื่อวานว่าการศึกษากลายเป็นการพัฒนาความสามารถ เพื่อหาสิ่งเสพใช่ไหม ต้องสนองความต้องการในการใช้ตาดูหูฟังเพื่อเสพ ก็จบเข้าแนวกันไปหมดเลย ฉะนั้นทางการศึกษาอย่างนี้ไม่ใช่การศึกษา เรียกชื่อแต่การศึกษา แต่มันไม่ใช่การศึกษาใช่ไหม มันจะศึกษาอย่างไงมันไม่ได้ทำให้คนได้เรียนรู้และพัฒนาขึ้นไปเลย มันแต่เพียงว่ามันจะทำให้คนมีความสามารถในการสนองสัญชาตญาณเดิม เท่านั้นเองให้ยิ่งขึ้น
(2)
คนฟังถาม ตอนแรกก็เป็นอย่างนี้ ไปอยู่โรงเรียนก็เป็นเพราะสิ่งแวดล้อม
พระตอบ ก็นั่นน่ะสิ พระพุทธศาสนถึงบอกว่า ทางเลือกระหว่างกัลยาณมิตรกับปาปมิตรใช่ไหม ไปเจอปาปมิตรก็ชักนำไปในทางร้าย ต้องเจอกับกัลยาณมิตรชักจูงในทางพฤติกรรมดีงามในทางจิตใจดีงามในการทำให้เกิดปัญญา อันนี้มันไม่เกิด มันเกิดโลภะโทสะโมหะ ชักจูงกันไปหนักเข้าไปอีก
(3)
คนฟังถาม ในรายการทีวีที่สัมภาษณ์ดารา
พระตอบ เออนั่น อะไรอีก อ้อแล้วก็คือสาระสำคัญก็คือว่า เพราะเราให้การศึกษาแบบนี้ที่ไม่ใช่การศึกษานี่ คนมันก็จะไม่คำนึงถึงใครอื่น มันจะมุ่งหาความสนุกสนานของตัวเองไม่คำนึงถึงใคร เรื่องของฉันใครไม่เกี่ยวใช่ไหม ฉะนั้นไม่ต้องแคร์ใคร ฉันจะหาความสุขสำราญยังไง ฉันจะดำเนินชีวิต มันเรื่องของฉัน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของใครทั้งสิ้น ตอนนี้กำลังเป็นมากขึ้น อย่างอาจจะเป็นอย่างดาราที่ท่านเล่าเมื่อวาน ที่มาให้สัมภาษณ์ทางทีวี เป็นรายการสนุกสนานพูดถึงตัวเองไปทำสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเหลวไหลเลอะเทอะลุ่มหลงมัวเมา มาเล่าด้วยความภูมิใจ แล้วก็เขาถามว่ามาทำอย่างนี้ จะเล่ามา ไปทำอย่างนี้ มาเล่านี้จะดีหรือ เขาบอกว่าก็เรื่องของผมนี่อะไรทำนองเนี้ย ใครจะเป็นไงก็เป็นเรื่องของเขาสิ ฉันทำอย่างนี้อะไรเงี้ย คือไม่ต้องคิดถึง สังคมจะเป็นยังไง จะเป็นปัญหากับคนอื่นยังไง จะเป็นยังไง ตัวอย่างตัวเองเป็นดาราแล้วเด็กทั้งหลายที่เกิดตามมานี่ มันมีค่านิยมตามนี้ มันจะเสียหายยังไงไม่ได้คำนึงทั้งนั้น เป็นเรื่องของฉัน ๆ จะทำ ใครจะว่าไงก็เรื่องของคุณ ว่าอย่างนั้น อยากมาตามฉันเองใช่ไหม ฉะนั้นไม่ต้องมีความรับผิดชอบอะไร นี่แหละสภาพอย่างนี้จะเกิดมากขึ้นถ้าเมืองไทยขืนเดินไปในทิศทางอย่างนี้ใช่ไหม จะไปแก้ปัญหาอะไรล่ะ มันก็สภาพจิต ก็เด็กรุ่นหลังก็ชอบดาราที่เป็นอย่างนี้ เขามีท่าทีทัศนคติพฤติกรรมแบบนี้ตัวเองก็พลอยว่าไปตาม เขาทำไปแล้วเขามีความรู้สึกอย่างนี้ก็พูดแบบนี้ตัวเองก็พูดอย่างนั้นด้วยใช่ไหม ทุกคนทำแบบนี้ก็คือความย่อยยับของสังคมนั้นเอง งั้นแก้ยากแล้วนะสังคมในขณะนี้ แต่ก็ต้องไปเริ่มมาในการแก้ปัญหาระยะยาว ก็เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงดูอบรมครอบครัว พ่อแม่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วว่า เป็นบูรพาจารย์ อาจารย์คนแรก อาจารย์คนแรกอยู่ที่บ้าน ถ้าอาจารย์คนแรกทำเสียละก็ อาจารย์คนที่สองที่โรงเรียนนี่ แก้แทบไม่ไหวรับมือไม่ไหวเลย ไม่ต้องไปสร้างสรรค์ต่อ ถ้าอาจารย์คนแรกที่บ้าน เตรียมพื้นฐานวางพื้นมาดี ครูอาจารย์ที่โรงเรียนก็มาต่อมาเสริมเท่านั้นเอง ทีนี้ตอนนี้ครูอาจารย์ที่โรงเรียน หนึ่ง ก็ไปลบไปแก้ปัญหาจากบ้านไม่ไหว สอง ตัวเองก็ไม่มีกำลัง สาม ดีไม่ดีตัวเองนั่นแหละ กลับนำในทางที่ผิดก็มีใช่ไหม ครูอาจารย์ที่ดีก็มีน้อยลง ก็กำลังก็ไม่มี ก็หมดแรงงาน ฉะนั้นเวลานี้ยาเสพติดและอะไรก็เข้าไปทุกสถาบันแม้แต่ในโรงเรียนใช่ไหม และดีไม่ดีก็มีข่าวออกมา เดี๋ยวอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ขายยาเสพติดเสียเองอะไรนี้ก็มีใช่ไหม ออกมาเป็นข่าว อะไรเจริญพร
(4)
คนฟังถาม ศีล 8 พยายามปฏิบัติ พยายามปฏิบัติที่บ้านแต่มันยาก เป็นเพราะบรรยากาศ ทำยังไงปฏิบัติไม่ได้ เป็นเพราะบรรยากาศไม่มี
พระตอบ ก็ยังดี ก็เนี่ยแหละ โบราณก็ใช้วิธีนี้ คนแก่ก็ถึงวันอุโบสถก็มาวัดใช่ไหม ก็จะได้ให้บรรยากาศมันช่วยแล้วมาอยู่ในชุมชนเดียวกัน ชุมชนคนที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ต้องการอย่างเดียวกัน จะได้มาทำกิจกรรมแบบเดียวกัน มันจะได้เสริมกันไปก็อาศัยสภาพแวดล้อมของวัด บรรยากาศของวัด พร้อมทั้งผู้คนที่ร่วมอุดมการณ์
(5)
คนฟังถาม เพราะอยู่คนเดียวไม่มีกำลังพอต้องการครูบาอาจารย์
พระตอบ ก็อันนั้นก็มีส่วน ตัวคนเดียวถ้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นก็ถูกกลืนง่าย แต่ก็ถ้ามีความเข้มแข็งก็ค่อย ๆ พัฒนาต่อไปก็อาจจะช่วยนำผู้อื่นด้วย สังคมมันก็เป็นอย่างนี้ ก็ต้องเริ่มจากการที่มีผู้ที่เห็น เห็นภัยเห็นโทษของสิ่งที่ไม่ดีและก็เห็นประโยชน์เห็นอานิสงฆ์สิ่งที่ดีงาม แล้วก็ค่อย ๆ เริ่มจากตนเองไป แล้วก็ค่อย ๆ ส่งอิทธิพลไปสู่คนที่แวดล้อม เอาบ้างนะวันนี้
ก็คุยกันไปวันนี้มาถึงเรื่องศีล 8 ก็คงจะเข้าใจวัตถุประสงค์แนวความคิดความมุ่งหมายที่แท้จริง อันหนึ่งที่ต้องเตือนก็คือ อย่าถือศีล 8 สักแต่ว่าทำตาม ๆ กันไป บางทีญาติโยมก็เพลิน ก็ได้รูปแบบก็เป็นประโยชน์ไปในตัวด้วย โดยเป็นประโยชน์ แต่เป็นประโยชน์โดยไม่รู้ตัว ถ้าเป็นประโยชน์ด้วยปัญญาที่เข้าใจได้ยิ่งดี ฉะนั้นญาติโยมบางทีท่านผู้สูงอายุเนี่ย ก็สักแต่ว่าไปรักษาอุโบสถศีล 8 ให้ได้บุญเท่านั้นเอง คือเข้าใจแค่นั้น ไม่ได้นึกว่ามันมีความหมายอีกเยอะแยะ เป็นการฝึกมนุษย์ เพราะเป็นสิกขาบทใช่ไหม
เอาล่ะครับวันนี้ ก็ยุติเพียงเท่านี้ก่อน