แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยธรรมะอื่นบ้าง แต่ก็โยงกันไปแหละ พูดไปแล้วถึงบุพนิมิตแห่งมรรค ซึ่งนำเข้าสู่มรรค ทีนี้นำเข้าสู่มรรค มรรคย่อลงก็คือศีลสมาธิปัญญา ศีลสมาธิปัญญานั้นก็นอกจากอยู่ในมรรคแล้วก็เป็นเรื่องไตรสิกขาด้วย อย่างที่เคยพูดไปแล้วว่า ไตรสิกขาเป็นเรื่องของการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาคน การฝึก ๆ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีงาม เมื่อฝึกตามไตรสิกขาก็ได้วิถีชีวิตที่ดำเนินตามมรรคก็คู่กันไป ทีนี้เรื่องศีลสมาธิปัญญาที่เป็นหมวดโดยย่อของมรรค แล้วก็เป็นเรื่องไตรสิกขานี้เป็นธรรมมะหมวดใหญ่ที่ครอบคลุมการปฏิบัติในพุทธศาสนาทั้งหมด สำหรับการปฏิบัติที่เอาจริงเอาจังกับมันเน้นที่พระภิกษุ หรือว่าฝ่ายบรรพชิต ทีนี่ในกรณีที่เป็นการปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้ายังตรัสธรรมะไว้อีกหมวดหนึ่ง ซึ่งก็คล้าย ๆ กับศีลสมาธิปัญญามี 3 ข้อ เหมือนกัน แต่ว่ามีความแตกต่างออกไปที่จุดเน้น และชุดนี้ ซึ่งมี 3 ข้อเหมือนกันนี่ สำหรับคฤหัสถ์เราจะได้ยินเสมอ เวลาพูดถึงเรื่องของคฤหัสถ์ เราจะพูดถึงเรื่องว่า ทานศีลภาวนา ก็มี 3 ข้อของพระภิกษุ หรือหลักใหญ่ก็คือศีลสมาธิปัญญา แต่ที่ตรัสสำหรับคฤหัสถ์จะใช้บทที่จะเรียกว่าทำให้ง่ายขึ้นเป็นทานศีลภาวนา และจุดเน้นก็เปลี่ยนไป ฉะนั้นเราอาจจะพูดว่าสำหรับคฤหัสถ์นี้ หลักไตรสิกขานั้น พระพุทธเจ้าตรัสให้เหมาะกับชีวิตที่อยู่ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายกับวัตถุมากกว่า ก็เลยให้หลักที่เรียกว่าทานศีลภาวนา ทานศีลภาวนานี้ก็มีชื่อ เรียกกันว่าบุญญกิริยาหรือบุญญกิริยาวัตถุ คงเคยได้ยินนั่นแหละ เพราะเคยเรียนมาแล้วในบุญญกิริยามี 3 ยังแถมสามารถไปขยายเป็นบุญญกิริยาวัตถุ 10 ก็ได้ แต่ว่าหลักในพระไตรปิฎก ก็มีแค่ 3 นี่แหละ ที่เป็น 10 นี้มาจากอรรถกถา อรรถกถาก็เอาไปขยายจาก 3 เป็น 10 อีกทีนึง เพราะฉะนั้นในที่นี้เราเอาชุด 3 เป็นหลัก เพราะว่าเราต้องการเทียบกับชุดไตรสิกขาด้วย ที่นี้ทานศีลภาวนา เรียกว่าบุญญกิริยาหรือบุญญกิริยาวัตถุ วัตถุก็แปลง่าย ๆ ก็คือหลัก เอากันแบบว่าไม่ต้องอธิบายมาก แล้วบุญญกิริยาก็การทำบุญ ฉะนั้นบุญญกริยาวัตถุก็แปลว่าหลักการทำบุญ
หลักการทำบุญก็มี 3 ข้อ
1. ทาน
2. ศีล
3. ภาวนา
ที่นี้ น่าสังเกตว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่ให้สังเกตก็คือว่า ทานศีลภาวนานี้ ในพระไตรปิฎก ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีคำถาด้วยพระองค์ใช้ คำว่า ปุญญะเมวะ โส สิกเขยยะ ก็แปลได้ว่า พึงศึกษาบุญ นี่แสดงใช้คำว่าศึกษาอีกแล้ว ฉะนั้นจึงบอกว่าเทียบได้กับชุด ไตรสิกขา ทีนี้ถ้าเราดูตามพุทธพจน์นี้ ปุญญะเมวะ โส สิกเขยยะ พึงศึกษาบุญ ก็แปลว่า บุญญศึกษานี่เอง บุญญสิกขาหรือบุญญศึกษา การศึกษาบุญ ก็เป็นการศึกษา 3 ข้อแต่เป็นการศึกษาในเรื่องของบุญเรื่องของความดี เป็นการฝึก เป็นการฝึกคนในการทำความดี สำหรับคฤหัสถ์ก็เน้นในเรื่องการทำความดี 3 อย่างนี้ ทีนี้มาเทียบกับไตรสิกขาข้อแตกต่าง เราพูดกันไปแล้วว่าศีลเป็นเรื่องพฤติกรรมกายวาจาที่อยู่ที่ตัวเองด้านนอก ด้านที่ออกไปสัมพันธ์กับโลกภายนอก แล้วก็มาสมาธินี่อยู่ข้างในเรื่องจิตใจ แล้วก็ปัญญาก็เรื่องข้างในเหมือนกัน แต่เป็นด้านของความรู้ เป็นเรื่องที่ออกมาอยู่กับโลกภายนอกสักข้อ 1 คือศีล แล้วก็ไปเข้าไปอยู่ข้างใน 2 ข้อคือ สมาธิปัญญา ที่นี้เรามาดู ทานศีลภาวนา ทานเป็นเรื่องการให้ ๆ วัตถุสิ่งของ ก็เป็นเรื่องข้างนอกชัดเลย ศีลก็มาอยู่ที่ตัว ๆ ที่ติดต่อกับภายนอกนี่เรียกว่า ทานศีล 2 ข้อแล้วอยู่ด้านนอก แล้วไป 3 ภาวนานี่ข้างใน ภาวนานี้หมายถึงอะไร ภาวนานี้ก็การพัฒนาหรือการเจริญ หมายถึงเจริญจิตเจริญปัญญาก็คือเป็นด้านของจิต ได้แก่สมาธิแล้วก็ปัญญาอยู่ในคำว่าภาวนา ก็กลายเป็นว่าของคฤหัสถ์ เอาด้านภายใน 2 ข้อ คือสมาธิและปัญญาไปรวมเป็นข้อเดียวเป็นภาวนา ซึ่งถ้าเราจะแยกภาวนานี้ออกก็สามารถแยกไปเป็น จิตภาวนาหรือสมาธิภาวนา ได้ข้อ แล้วก็ปัญญาภาวนาข้อ ก็กลับมาเท่ากับของพระภิกษุ หรือหลักใหญ่ อย่าไปว่าของพระภิกษุเลย เป็นของหลักใหญ่ หลักใหญที่ว่าสมาธิปัญญาก็ไปรวมเรียกชุดสำหรับคฤหัสถ์ ชุดปุญญกิริยา หรือ ปุญญสิกขา เนี่ยเป็นภาวนาธรรมเดียว ส่วนของหลักใหญ่นี่ด้านนอกมีข้อเดียวคือศีล ไม่มีคำว่าทาน ส่วนของคฤหัสถ์ ชุดบุญญกริยานี้มีทานกับศีลอยู่ข้างนอก ก็หมายความขยายจากศีลออกไป ศีลนี้ก็มาต่อกันข้างนอกอยู่แล้ว ยังยืดออกไปอีกข้อคือทาน ศีลนี่ยังอยู่ที่ตัวเราที่ติดต่อกับโลกภายนอกกายวาจา แต่ว่าเป็นเรื่องของการเน้นการไม่เบียดเบียนและพูดถึงการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแบบเกื้อกูล พูดกว้าง ๆ พอทานนี่ชัด ๆ เลย โดยมีการให้เลย ออกไปสู่โลกไปสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ ไปมีการเอาสิ่งของไปให้เขา ฉะนั้นด้านนอกก็ขยายออกไปโดยที่ว่า ศีลเราพูดกันแล้วว่าต้องการให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสิ่งแวดล้อม ทานนี่ก็มาหนุนให้ความสัมพันธ์นั้นมันดีจริง ๆ มันช่วยให้การไม่เบียดเบียนกันนี้ได้ผลมากเพราะศีลนี่มันมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน ในแง่ที่ไม่เบียดเบีบนให้เกื้อกูลกัน พอทานนี้ก็ไปเกื้อกูลเลย ทำให้มาหนุนการไม่เบียดเบียนกันให้ได้ผลยิ่งขึ้น นี่เป็นการเทียบให้เห็นว่า ชุดหลักใหญ่นี่ เอาศีลมาอยู่ด้านนอกติดต่อกับโลกภายนอกข้อเดียว แล้วเข้าไป 2 ข้อ สมาธิปัญญา เรื่องจิตใจกับปัญญา อันนี้เท่ากับในชุดใหญ่ ศีลนี้ก็คือคลุมมาถึงทานไปด้วย คือว่าพฤติกรรมที่มันไม่เบียดเบียนเกื้อหนุนกัน แต่ว่าไม่ได้เจาะจงให้ชัดแต่ไปเน้นข้างใน เน้นด้านคุณสมบัติเรื่องจิตใจ เรื่องปัญญา ทีนี้มาชุดปุญญสิกขาหรือบุญญกิริยา ไปเน้นข้างนอก 2 ข้อ ทานศีล ส่วนข้างในนั้นเอาสมาธิปัญญาไปรวมกันเป็นภาวนาข้อเดียว อันนี้ ทำไมจึงตรัสอย่างนี้ เอ้า เราก็พูดง่าย ๆ ว่าตรัสให้เหมาะสมกับชีวิตของชาวบ้าน เพราะชาวบ้านนั้น เป็นอย่างไงล่ะชีวิตของชาวบ้าน ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุนี้มากเหลือเกิน แล้วมันก็เป็นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ทั่วไป ที่ว่าคนเรานี่พอเกิดมาอยู่ในโลก มันก็ต้องอาศัยวัตถุเป็นอยู่ ต้องอาศัยปัจจัย 4 เริ่มแต่อาหาร ถ้าคนไม่มีอาหารก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นชีวิตก็ต้องดิ้นรนว่า ทำไงจะมีอาหาร เป็นต้น และปัจจัยอื่นมาเป็นเครื่องที่อาศัยเลี้ยงชีพให้เป็นอยู่ได้ อันนี้แต่ละคนก็ต้องดิ้นรน เมื่อดิ้นรน ก็หาปัจจัย 4 มาเลี้ยงชีวิตของตนเอง มันก็ต้องคิดในเรื่องที่ว่าจะได้จะเอา ความคิดนี้ก็จะเน้นที่ว่าหาวัตถุเลี้ยงชีพ หาอาหาร เป็นต้น แต่ละคนนี่ดำเนินชีวิตก็มุ่งจะต้องไปหาอาหารกิน เป็นต้น วัน ๆ ก็คิดแต่ว่าจะได้จะเอา ๆ ต่อมาก็เคยชินซิทีนี้ พอเคยชินแต่ละคนก็คิดแต่จะได้จะเอา จิตใจก็โน้มเอียงไปในด้านเดียว นอกจากว่าตัวเองจะได้จะเอาแล้ว คนอื่นก็จะได้จะเอา ก็จะมีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันแย่งชิงกัน นี้พอมีการแย่งชิงกันก็จะเกิดปัญหาความเดือดร้อน ทีนี้ก็มนุษย์นี่ก็มีความสามารถไม่เท่ากัน บางคนก็แข็งแรง บางคนก็อ่อนแอ บางคนก็มีความสามารถมีสติปัญญาดี บางคนก็ขาดความสามารถ บางคนมีโอกาสดี เช่นเกิดในครอบครัวที่ร่ำรวย บางคนนี้ด้อยโอกาสเกิดในถิ่นที่ยากแค้นหรืออยู่ในตระกูลที่ยากจนไม่สม่ำเสมอกัน นี้เมื่อแต่ละคนนี่ต้องอาศัยวัตถุปัจจัยเลี้ยงชีพ แล้วแต่ละคนก็ดิ้นรนแสวงหาแย่งชิงกันไป คนที่อ่อนแอขาดความสามารถด้อยโอกาสก็แย่ ใช่ไหม ฉะนั้นก็จะเกิดความเดือดร้อน โลกนี้ก็ไม่มีความสุข คนที่มีกำลังมีโอกาสมีความสามารถก็เอาให้ตัวได้มาก ที่นี้ก็ขาดความสม่ำเสมอ ทีนี้คนที่ได้มาก ๆ นี่มีกำลังมีความสามารถก็จริง ก็จะต้องเกิดความหวาดระแวง คนที่เขาขาดแคลนก็จะคอยจ้องหาทาง หรืออาจจะรักขโมยเรื่อยก็แล้วแต่ ตกลงก็ไม่มีความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไอ้เจ้าฝ่ายที่ด้อยโอกาสขาดกำลังแล้วก็อ่อนแอ ก็ไม่มีความสุขอยู่ด้วยความทุกข์แร้นแค้นก็เดือดร้อน ไอ้ฝ่ายเจ้าพวกที่มีกำลังมากมีพรั่งพร้อมก็ต้องหวาดระแวงเพราะคนส่วนมากมันแย่กว่า มันก็ไปไหนก็ไม่มีความปลอดภัย ฉะนั้นในที่สุดก็อยู่กันไม่เป็นสุขหรอก เพราะฉะนั้นก็ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่าให้เราเนี่ยไม่เบียดเบียนกัน โดยด้านหนึ่งก็มีศีล แต่ว่าศีลนี้จะมั่นคงได้อย่างไร ถ้าคนยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ใช่ไหม มันก็ต้องดิ้นรนในที่สุดรักษาศีลก็ไม่ค่อยอยู่ ทีนี้ก็ทำอย่างไร ก็ต้องแก้ไขด้วยการที่ว่า ทำอย่างไงคนโดยทั่ว ๆ ไปพอจะมีพอจะกินอยู่ได้ อันหนึ่งก็คือว่า ต้องมีการแบ่งปันให้กัน ใช่ไหม ทีนี้ก็เลยสอนหลักธรรมข้อสำคัญไว้ข้อแรกสำหรับหมู่มนุษย์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่เป็นคฤหัสถ์เป็นชาวบ้านครองเรือนกันอยู่ นี่เป็นในชีวิตของคนทั่วไป เพราะฉะนั้นในเมื่อชาวบ้านนี่ต้องยุ่งกับวัตถุมากชีวิตวุ่นวายกับวัตถุ คิดแต่จะได้จะเอา พุทธเจ้าสอนก็สอนหลักธรรมข้อแรกมาให้สำหรับมาแก้ปัญหาให้สังคมนี้พออยู่กันไปได้ พอจะให้มีความไม่เดือดร้อนขาดแคลนเกินไป ทำให้มีความสม่ำเสมอกันขึ้นมาบ้าง ก็คือมีการมีให้การแบ่งปัน นั้นก็ทานเป็นข้อแรก นี่ก็เป็นเรื่องของการช่วยแก้ปัญหาทางสังคม
นอกจากนั้นแล้วทานก็มาแก้ปัญหาในตัวบุคคลไปด้วย ก็คือว่าเมื่อคนแต่ละคนเนี่ย อย่างที่ว่าต้องดิ้นรนแสวงหาอาหารเครื่องเลี้ยงชีพปัจจัย 4 วัตถุมาบำรุงบำเรอความสุขของตนเอง แต่ละคนคิดแต่จะได้จะเอาจิตใจมันก็มีโลภะมาก ไม่ได้อย่างใจก็โทสะก็เข้ามาขัดเคือง โลภะโทสะนี่คู่กัน โลภะจะได้จะเอา พอโลภะถูกขัด โทสะมาทันทีปฏิกิริยา แล้วก็โมหะก็ความลุ่มหลงมัวเมา ไม่มองว่าโลกนี้เป็นยังไงคนอื่นจะอยู่สุขอยู่ทุกข์อย่างไร ลุ่มหลงระเริงเพลิดเพลินมัวเมาอยู่กับความสุขของตนเอง ถ้าอย่างนี้ก็พัฒนาจิตใจก็ยากเพราะจิตใจมันคิดแต่จะได้จะเอาโลภมันมาก ฉะนั้นแม้แต่ในชีวิตส่วนบุคคล การให้ทานนี้ก็จะมีผล ก็คือว่าให้ชีวิตสมดุลขึ้น แล้วเป็นทางของการพัฒนาจิตใจได้ด้วย จิตใจที่คิดจะได้จะพอมีการให้ ก็จะมีดุลยภาพขึ้นมาว่า เอ้อ อย่าคิดแต่จะเอาจะได้อย่างเดียวนะ คิดให้บ้าง ชีวิตของชาวบ้านยุ่งกับการจะได้จะเอาวัตถุ เพราะฉะนั้นก็สอนหลักธรรมข้อแรกมาให้มีทานคือการให้ก็จะได้คิดให้บ้าง พอคิดให้นี่ การพัฒนาคุณธรรมในจิตใจก็ตามมาได้ด้วย ตามมาอย่างไรล่ะ คนที่คิดจะเอา คนที่คิดจะเอานี่มันมองไปที่วัตถุสิ่งของ พอมองไปที่วัตถุสิ่งของเนี่ยมันลืมมองดูคน แต่ใจมันระแวงน่ะ ไม่มองคนก็จริงแต่ใจระแวงเพราะว่าอะไร เพราะกลัวคนอื่นจะเอาเหมือนกัน เพราะกลัวคนอื่นจะเอาใจมองไปที่วัตถุ มันคิดไม่ดีต่อคนอื่นหวาดระแวงมองคนอื่นนี่ด้วยจิตใจที่ไม่ไว้วางใจ ไม่เป็นมิตร มองเป็นปรปักษ์ เป็นคู่แข่ง ฉะนั้นก็จิตใจไม่ดีแสดงว่าทำให้เกิดปัญหานี่ จิตใจเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นโลภะโทสะจึงมาคู่กัน ฉะนั้นเวลามีโลภะต่อวัตถุมาก ไอ้โทสะต่อคนมันเกิดง่ายเหลือเกิน มันไม่ได้สิ่งที่ตัวต้องการคนอื่นจะมาแย่งหรือระแวงก็ตามมันโทสะ มันพร้อมที่จะเกิดตลอดเวลา ถ้าหากเขาเข้ามาขวางทางของตัวเองปั๊บโทสะเกิดทันทีเลย ก็เลยว่าพระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนว่า อ้าวให้บำเพ็ญการให้ นอกจากคุณอยากจะได้อยากจะเอาให้คิดให้นี่ มันจะเริ่มพัฒนาคุณธรรมทันที พอคิดจะให้มันก็มองไปที่คนแล้ว พอจะให้ต้องให้แก่คน หรือจะให้แก่สัตว์อื่นก็ตาม คือไปมองที่คนและสัตว์ที่ตัวจะให้ พอมองไปที่คนแล้วเห็นหน้าเห็นตา มองด้วยใจคิดจะให้ มันก็ดูว่าเขาต้องการไหม เขาขาดแคลน มันมองหน้ามองตาก็ทำให้รู้จักผู้คนมองเห็นสุขเห็นทุกข์ มองว่าคนนี้เขาขาดแคลน คนนี้ก็มีความทุกข์ พอมองหน้ามองตา ก็เริ่มเข้าใจเพื่อนมนุษย์ เห็นความต้องการของเขา พอเห็นความต้องการของเขา มองด้วยความคิดจะให้นี่ มันรู้สึกทุกข์สุขของคนอื่น พอมองเห็นสุขทุกข์ของเขา ก็เกิดความเห็นใจ ความสงสาร ความกรุณาความเมตตา ความเป็นมิตร ความกรุณาเห็นใจเขา พลอยหวั่นไหวในทุกข์ของเขา นี่ก็เกิดตามมาเลย ทีนี้พอเห็นเขาเป็นทุกข์แล้ว ก็อยากให้เขาเป็นสุข อยากให้เขาพ้นทุกข์ พอความอยากอย่างนี้เกิดขึ้นก็อยากจะช่วยเขาพ้นทุกข์นี่ ก็ต้องทำให้เขาพ้นทุกข์ ทำให้เขาเป็นสุข ทีนี้เมื่อเขาเป็นทุกข์เพราะขาดแคลน เอ้า จะทำยังไงให้เขาหายทุกข์ ก็ต้องให้สิ เขาขาดแคลนนี่ เขาขาดอาหารก็ให้อาหาร เขาขาดเสื้อผ้าก็ให้เสื้อผ้า พอเราเอาไปให้เขา นี่เห็นเขาเป็นสุขขึ้นมาก็สมใจเรา ก็เลยเป็นสุขด้วย คนเราพออยากให้เขาเป็นสุข ทำให้เขาเป็นสุขได้ตัวเองก็เป็นสุขด้วย งั้นการให้กลายเป็นความสุข สำหรับคนที่ไม่ได้ฝึกการให้นี่ การให้จะเป็นความทุกข์ เพราะว่าคิดจะได้จะเอาต้องได้ต้องเอาสำเร็จจึงจะสุข ทีนี้ถ้าต้องให้ก็คือสูญเสียจะทุกข์จะฝึนใจ ใช่ไหม แต่พอเราพัฒนาจิตใจที่จะให้ มีเมตตากรุณา ความคิดอยากจะให้เกิดขึ้นก็คิดจะทำให้เขาเป็นสุข พอทำให้เขาเป็นสุขได้ตัวเองก็เป็นสุขด้วย การให้กลายเป็นความสุขได้ เมื่อคนมีความอยากให้เขาเป็นสุข ก็คือเมตตากรุณา นั่นเอง ซึ่งเราจะที่เห็นได้ในพ่อแม่ ๆ นี่เป็นตัวอย่างของคนที่สามารถมีความสุขจากการให้แต่หมายถึงให้แก่ลูก เพราะรักลูก ใช่ไหม รักลูกนี่พอให้กับลูกก็มีความสุข แทนที่พ่อแม่ให้ไปแล้วตัวเองจะทุกข์เปล่ามีความสุข ทั้ง ๆ ที่ของนั้นพ่อแม่ก็อยากได้ อาหารนั้นก็อยากกิน แต่พอลูกอยากกินให้แก่ลูกได้ พอให้แก่ลูกตัวเองก็ไม่ทุกข์ตัวเองก็มีความสุขเพราะรักลูก ทีนี่ถ้าเราสามารถขยายความรักความเมตตานี้ไปถึงเพื่อนมนุษย์ ถึงสัตว์อื่นนี่ เราก็สามารถมีความสุขจากการให้ได้เช่นเดียวกัน อย่างคนแม้แต่รักสัตว์ บางคนนี้มีแมวรักแมว ก็ให้กับแมวก็มีความสุข รักสุนัขให้กับสุนัขก็มีความสุขใช่ไหม รักใครมีเมตตาใครก็ทำให้เขาสุขเราก็สุขด้วย นี่พระพุทธเจ้าก็สอนให้เราเจริญเมตตา ถ้าเราเจริญเมตตาขึ้นมา เราก็สามารถมีความสุขจากการให้ได้ แต่ว่าข้อแรกที่สำคัญก็คือการฝึก ทำจิตให้คิดจะให้ แล้วจิตใจของเราก็มีดุลยภาพ ชีวิตของเราก็มีดุลยภาพ แล้วออกไปสู่สังคม ๆ ก็มีดุลยภาพ สังคมที่ไม่ใช่แย่งชิงเอาอย่างเดียว สังคมที่มีการแบ่งปันให้แก่กัน ก็ร่มเย็นเป็นสุข ใช่ไหม คนก็ไม่ขาดแคลนเกินไป ฉะนั้นก็อยู่กันได้ตกลงว่าสำหรับชีวิตของคนทั่วไปในโลกนี้
พุทธศาสนาก็เลยสอนหลักธรรมข้อแรก ก็คือทาน เพราะว่าสอนจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่าเกิดมาแล้วก็ต้องดิ้นรนเพื่ออยู่รอด ต้องหาอาหาร ต้องหาวัตถุมาเลี้ยงชีพ แล้วก็เลยทำให้มีวิถีชีวิตและแนวโน้มของจิตใจที่จะได้จะเอา ก็สอนทานมาเพื่อให้มีความคิดที่จะให้มาสร้างดุลยภาพพร้อมกันนั้นก็ให้สังคมมีดุลยภาพด้วยการที่ว่า ไม่แย่งชิงก็มีการให้แก่กันด้วย เพราฉะนั้นทานนี่ เป็นธรรมะที่เป็นข้อแรกอย่างที่ว่าแล้ว เน้นในชุดต่าง ๆ ชุดนี้เราพูดไปแล้วทานศีลภาวนา ก็มาเป็นข้อที่ 1 ใช่ไหม ทานนี่นอกจากพัฒนาจิตใจที่ทำให้เรานี่ สามารถสร้างเมตตากรุณาได้แล้วนี่ ก็มาหนุนศีลใช่ไหม เพราะว่าศีลนี้ไม่เบียดเบียนกันมีพฤติกรรมเกื้อกูลกันจะอยู่ได้มั่นคงอย่างไร ถ้าหากว่าคนยังมีความขาดแคลนวัตถุ เอ้า ก็ต้องมีทานมาหนุน เพราะว่ามีทานมีการให้ปันกันแล้ว ศีลการไม่เบียดเบียนกันความสัมพันธ์ที่ดีก็อยู่ได้ ใช่ไหม ศีลก็อาศัยทานมาช่วยหนุน เพราะฉะนั้นเป็นธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกัน อันนี้ทานมาในชุดทานศีลภาวนาแล้ว มาในชุดอื่น ๆ ก็มาข้อแรกหมด ไหนลองยกตัวอย่างมาให้ดูสิครับ เรียนธรรมะมากันหลายชุด
สังคหวัตถุ 4 เห็นไหมอยู่ในโลกต้องมีการยึดเหนี่ยวประสานสังคมให้อยู่ด้วยดีต้องมีการสงเคราะห์ เพื่อรวมใจยึดเหนี่ยวใจกันไว้ ก็สังคหวัตถุ 4 ก็เริ่มด้วยข้อ 1.ทานก่อน นี่ทานต้องมาเป็นข้อแรกก่อน ให้ปันวัตถุช่วยเหลือกันด้วยวัตถุสิ่งของ
2.ปิยวาจาช่วยด้วยถ้อยคำ
3. ก็ อัตกิริยา ช่วยด้วยแรงกำลังกาย
4. สมานัตตา เข้าอยู่ร่วมกันประสารกลมกลืน
เอ้าใครลองยกตัวอย่างมาดูอีกซิ ชุดไหนที่มีทานด้วย และทานต้องมาเป็นข้อแรก มีเยอะน่ะ เอ้า
อีกชุดหนึ่ง นี่เราลองดูนี่ ทานศีลภาวนานี้หลักการพัฒนาคนทั่วไปเราเรียก บุญญสิกขา นี่หลักการทำความดีฝึกคนในการทำความดี ทานเป็นข้อแรก สังคหวัตถุนั้นเป็นชุด ที่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยมีความสามัคคีกลมกลืน สำหรับทุกคนจะต้องปฏิบัติ ก็ทานเป็นข้อแรก ต่อไปคนที่จะมาช่วยให้สังคมอยู่ด้วยดี นี่ก็คือนักปกครองใช่ไหม นักปกครองก็พระราชา ก็ทศพิธราชธรรมใช่ไหม ทศพิธราชธรรมก็ดูสิ อะไร ข้อหนึ่งทานอีกใช่ไหม ทศพิธราชธรรมก็ข้อ 1 ทาน พระราชาจะมาช่วยสังคมบ้านเมืองประเทศชาติอยู่ร่มเย็นเป็นสุขก็ต้องมีทานก่อน ทานด้วยพระองค์เอง พระราชาเอง ก็จะต้องมีพระทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันชอบช่วยเหลือราษฎร ไม่ใช่เห็นแก่พระองค์เอง ใช่ไหม ฉะนั้นมาเป็นนักปกครองเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่พระราชาปกครอง พระราชาทรงเป็นประมุข ก็เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีต้องปลูกฝังนิสัยทานให้มาก ๆ น่ะครับใช่ไหม นักปกครอง ๆ นี่ เวลานี้ประชาธิปไตยรับเอาพระราชอำนาจมาจากพระราชาแล้ว ก็ต้องรับเอาราชธรรมมาด้วยถูกไหม นี่เดี๋ยวนี้รับแต่ราชอำนาจมาแต่ราชธรรมไม่ได้สนใจ ว่าอย่างนั้นน่ะ ราชธรรม 10 ประการ ทศพิธราชธรรมนี่ เรียกในภาษาบาลีว่า ราชธรรม 10 ประการ เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า ราชธรรมคู่กับราชอำนาจ รับราชอำนาจมาแล้วราชธรรมไม่รับมาได้ยังไง เราพูดแต่ทศพิธราชธรรมสำหรับพระราชา ก็เวลานี้ผู้ปกครองแล้วก็คือพวกรัฐบาล นั่นพวกรัฐบาลนี้จะต้องเอาราชธรรมมาน่ะ ทีนี้ราชธรรมนี่ผู้ปกครองประเทศก็เริ่มข้อ 1 ทานก่อนใช่ไหม ต้องเป็นผู้ที่ให้ปันแบ่งปัน นอกจากแบ่งปันด้วยตนเองแล้ว ก็จัดสรรสังคมนี่ให้มีการแบ่งปัน เช่น เฉลี่ยรายให้ทั่วถึง มีการ คำว่าทานนี้ก็คือ ให้แล้วปัน ภาษาโบราณแปลว่า ปัน ใช่ไหม ปันก็คือรู้จักแบ่ง ต้องแบ่งปันกระจายรายได้ให้ทั่วถึง ฉะนั้นทานก็มาเป็นข้อ 1
ทีนี้ ทศพิธราชธรรม ก็ข้ออื่นก็ตามมาทีหลัง มีอะไรบ้าง ทานัง สีลัง ปะริจจาคัง อาชชะวัง มัททะวัง ตะบัง อักโกรัง อะวอหิงสัง ขันตินจะ อะวิโรธะนัง 10 ข้อใช่ไหม มี 1. ทาน การให้ 2. ศีล 3. ปริจาคะ การเสียสละ ๆ แม้แต่ชีวิตเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ได้ ถ้านักการเมืองของเรานี่มีปริจาคะนี่ ราษฎรอยู่ร่มเย็นเป็นสุขเยอะเลยเนอะ ทานก็ดีเยอะแล้วถ้าได้ทาน ศีลก็ขอให้อย่าไปทุจริจ ใช่ไหม มีศีลขอให้นักการเมืองของเรามีศีล แล้วก็ปริจาคะ มีความเสียสละ แล้วอะไรต่อไป มัททะวัง มีความอ่อน อาชชวะ ความซื่อตรง ๆ สำคัญมาก ใช่ไหม แล้วก็ มัททะวัง แปลว่าความนุ่มนวล อ่อนโยน ตะปัง หมายความว่า ความเพียรพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เห็นแก่การบำรุงบำเรอความสุข ยอมอดหลับอดนอนช่วยเหลือราษฎรได้ ตะบะนี่สำคัญมากคือเป็นอยู่ไม่เห็นแก่ความสุขสดวกสบายส่วนตัว ไม่มีชีวิตแห่งการบำรุงบำเรอไม่หลงระเริงมัวเมา ตะบะตั้งใจบำเพ็ญกิจหน้าที่ อักโกธัง ไม่กริ้วโกรธ ไม่เกรี้ยวกราด อวิหิงสาจะ ไม่ข่มเหงราษฎร ขันตินจะ แปลว่าอดทน อวิโรธนัง เราไม่คลาดธรรม ไม่ประพฤติผิดจากธรรมะ ทั้งนิติธรรมกฎหมายระเบียบแบบแผนทั้งประเวณีธรรม แล้วก็ทั้งศีลธรรม ธรรมะทุกอย่างไม่คลาดธรรม ไม่ประพฤติผิดจากธรรม แต่เป็นว่าข้อแรกคือทานก่อนเห็นไหม นี่หลักธรรมที่เกี่ยวกับชีวิตของชาวบ้านแม้แต่เป็นผู้ปกครองประเทศก็ต้องเริ่มด้วยทานก่อน เสร็จแล้วจะมาต่อไปเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเขยิบไปอีกขั้น เป็นจักรพรรดิเลยนะ จักรพรรดินี่ก็จะมี เป็นจักรวรรดิวัตร 12 ข้อ ใน 12 ขัอ นี่มาจากพระไตรปิฎก นี่ท่านมีแค่ 5 ข้อ แล้วเอารายละเอียดมาขยายทำให้เป็น 12 ข้อ แต่ว่าหลักใหญ่นี้ 5 ข้อ ทีนี้ 5 ข้อนี้มีอะไร 1. เป็นธรรมาธิปไตยต้องถือธรรมเป็นใหญ่ ใช่ไหม ราชาผู้เป็นยอดเยี่ยมเป็นจักรพรรดิต้องถือธรรมาประชาธิปไตย เป็นธรรมะราชาเอาธรรมเป็นใหญ่ ไม่เอาตัวเป็นใหญ่ ไม่เอาเสียงนิยมยกย่องสรรเสริญเป็นใหญ่ แต่เอาธรรมะหลักการเป็นใหญ่ 2. ก็จัดการอารักขาคุ้มครองป้องกันประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่าโดยธรรม หมายความให้ความเป็นธรรม การดูแลสุขทุกข์ของราษฎร การบำรุงความสุขต่าง ๆ เนี้ย ทุกหมู่เหล่าตอนนี้ ท่านแยกเป็นเหล่าต่าง ๆ จนกระทั่งถึง มิคาสะศีล เนื้อและนก ไม่ใช่เฉพาะคนอย่างเดียวนะ แม้แต่เนื้อและนกก็ต้องคุ้มครองด้วย นี่ให้การอารักขา คุ้มครองโดยชอบธรรม และ 3. ก็ อธรรมการ ไม่ให้มีการกระทำที่ผิดธรรมขึ้นในบ้านเมือง ก็หมายความว่าต้องคอยป้องกันการกระทำที่ผิดธรรมะ แล้วก็เรื่องของอาชญากรรมต่าง ๆ ต้องพยายามกำหราบปราบปรามป้องกันไม่ให้เกิดไม่ให้มีขึ้น แล้วก็ต่อไป ธนานุปาทานัง แปลว่า การเพิ่มรายได้ให้ปันเฉลี่ยทรัพย์ให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ นี่มาแล้วทาน ทานมา กรณีจักรพรรดิ์ทานมาเป็นข้อที่ 4. ทานานุทานัง ก็เป็นข้อที่สำคัญเวลาจะเกิดปัญหานี้น่ะ จปาติสุต พุทธเจ้าตรัสเราไว้ เกิดปัญหาข้อนี้ก่อนเลย เป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ พอราชาจักรพรรดิ์บกพร่องข้อ 4 ปั๊บ เกิดอาชญากรรม พอปราบใช้ความรุนแรงยิ่งรุนแรงใหญ่ ยิ่งรุนแรงหนักเข้าไปอีก เลยในที่สุด เลยแย่เลย ดังนั้น ทะนานุปะทา การแบ่งปันเฉลี่ยทรัพย์ โดยเฉพาะให้คนผู้ไร้ทรัพย์ขาดแคลนแร้นแค้นนี่ ต้องเอาใจใส่ไม่ให้มี โดยวิธีสำคัญก็คือ การส่งเสริมอาชีพ ไม่ใช่ว่าไปมัวแต่จะให้ทรัพย์ ๆ อยู่นะ เดี๋ยวกลายเป็นว่าไม่ได้เรื่อง วิธีที่การที่จะช่วยให้ทรัพย์แก่ประชาราษฎร์สำคัญก็คือ การส่งเสริมอาชีพให้เขามีช่องทางทำมาหากิน ข้อนี้เรียกว่า ธนานุปทานัง เพราะฉะนั้นการเรื่องทานก็เป็นหลักธรรมสำคัญสำหรับชาวบ้านทั้งหมด เอาละน่ะ นักปกครอง และข้อสุดท้าย สมณพราหมณ์ ปานะปริปุจฉา การสอบถามปัญหากับสมณพราหมณ์ หมายว่า บรรพชิต พระสงฆ์ที่มีสติปัญญาประพฤติอยู่ในธรรมวินัย ประพฤติดีปฏิบัติชอบมีความไม่ประมาท ราชาจักรพรรดิจะเข้าไปสอบถามปัญหาว่าอะไรดีอะไรชั่ว แล้วก็อะไรควรประพฤติไม่ควรประพฤติ มีปัญหาข้อสงสัยก็ไปสอบถามแสวงปัญญา ไม่ใช่ถือตนว่าเป็นผู้มีปัญญาเยี่ยมยอดสูงสุดแล้วก็เลยไม่ปรึกษาใครใช่ไหม ก็มี 5 ข้อสำหรับจักรวรรดิ์วัดร ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ก็เป็นอันว่าทาน นี่มาเป็นข้อสำคัญ ข้อ 1 ขออภัยเป็นข้อที่ 4 คือหมายความเป็น 1 ใน 5 ข้อนั้น และทีนี้มาจะเป็นพระพุทธเจ้าก็เอาอีกละ แม้แต่จะเป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องบำเพ็ญบารมีโดยมีทานบารมีข้อ 1 อีก ใช่ไหม บารมี 10 มีอะไร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อทิทานะ เมตตาอุเบกขา บารมี 10 ที่ผู้ต้องการจะเป็นพุทธเจ้าจะต้องบำเพ็ญ โดยเมื่อบำเพ็ญแล้วก็ได้เป็นพระโพธิสัตว์ จะตรัสรู้ต่อไปเนี่ย ก็ต้องเริ่มด้วยทานอีก เห็นไหม ทานนี้มาในทุกชุดเลย สำคัญมาก ฉะนั้นในโลกนี้จะต้องเน้นเรื่องนี้ ก็เลยต้องฝึกเด็ก เพราะว่าถือว่าเป็นบุญญสิกขาด้วยนี่ เป็นการฝึก สำหรับพระนี่จะเน้นศีลสมาธิ สมาธิปัญญา ที่นี้สำหรับชาวบ้านก็ต้องเน้น ทานศีลภาวนา ทางพระศีลสมาธิปัญญา ทางคฤหัสถ์นี้เน้นทานศีลภาวนา ตั้งแต่อยู่ในบ้านตั้งแต่เด็กแต่เล็กนี่ หัดในสังคมไทยวัฒนาธรรมไทยเรานี้จะหัดเด็ก ตั้งแต่เล็ก ๆ เลย อย่างของฝรั่งนี้อาจจะเน้นมากกว่าในแง่การได้ พอถึงวันเกิดก็จะได้ ของขวัญ ในของไทยเน้นให้ทาน ถึงวันสำคัญลูกตัวเองวันเกิด เอ้า ไปให้ ไปทำบุญ ให้โน่นให้นี่ ไปเริ่มตั้งแต่ตักบาตร หัดให้ก่อน นี่แหละคนไทยเราเน้นเรื่องการฝึกเรื่องทาน ใช่ไหม อยู่ประจำวันก็หัดตักบาตร รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน มันก็เลยกลายเป็นนิสัย ก็จะทำให้สังคมนี้อยู่ได้ด้วยดี ต้องมีการแบ่งปันกัน แต่การแบ่งกันก็สำคัญนะครับ ก็ต้องระวังอย่าให้โดยที่ว่าทำให้คนเสียนี้นิสัย แล้วกลายเป็นคนที่หวังพึ่งคนอื่นไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ซึ่งก็ไปเข้าชุดพรหมวิหาร 4 อีกต้องให้ด้วยเหตุมีผล ให้ความช่วยเหลือตามเหตุตามผลมาให้ละเมิดธรรมศีลธรรม แม้แต่ให้แก่ลูกก็ต้องให้โดยมีเหตุมีผล ให้เพื่อจะให้ลูกนี้ได้มีนิสัยในการที่ว่า ทราบซึ้งในคุณธรรมไมตรีจิตในความดีงามต่อกัน ในความมีน้ำใจต่อกันระหว่างมนุษย์ แต่ก็ต้องไม่ให้เสียนิสัยในการที่ว่าทำให้กลายเป็นคนขาดความรับผิดชอบ แล้วก็มุ่งแต่หวังพึ่งคนอื่น ก็จะผิดต้องมีอุเบกขาด้วยให้โดยสมเหตุสมผล ให้เป็นฐานในการที่จะให้เขาเนี่ยได้ไปทำสิ่งที่ดีงามเป็นการสนับสนุนการทำความดียิ่งขึ้นไป ก็เป็นอันว่าเรื่องทาน นี่เป็นธรรมะที่สำคัญ นี้ถ้าหากว่าเราฝึกเรื่องนี้ได้มันก็จะไปรับกับที่พูดมาว่า คนเรานี่เกิดมา ถ้าไม่มีการศึกษา มันใช้ตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อเสพใช่ไหม ตาดูหูฟังมุ่งเสพหมด หาความสุขให้กับตัวเองสนองตัณหา ทีนี้มนุษย์ที่ไม่มีการศึกษาไม่พัฒนาก็เป็นนักเสพ ใช่ไหม หาความสุขจากการเสพ พอเราพัฒนามาอย่างธรรมะที่พูดไปแล้วนี่ ผ่านไปหมดแล้ว
เราก็จะให้เป็นนักเรียนนักศึกษา ใช่ไหม พอเป็นนักศึกษาก็เริ่มมีความสุขจากการเรียนรู้ มีความสุขจากการสนองความใฝ่รู้ พัฒนาขึ้นมาขั้นหนึ่งแล้วใช่ไหม ทีนี้ต่อมาก็มีความใฝ่ดีในฉันทะนั่นอีกแหละ มีความใฝ่ดีก็อยากสร้างสรรค์ อยากทำให้มันดี ก็มีความสุขจากการสร้างสรรค์ เป็นนักสร้างสรร แล้วมีความสุขจากการสร้างสรร เขยิบขึ้นมาแล้ว เริ่มจากนักเสพมีความสุขจากการเสพ พวกนี้ต้องแย่งชิง แล้วก็ไม่มีอันทำอะไรมัวเมา ต่อมาเป็นนักศึกษาก็มีความสุขจากการสนองความใฝ่รู้ ต่อมาเป็นนักสร้างสรรค์มีความสุขจากการกระทำการสร้างสรรค์ ทำสิ่งทั้งหลายให้ดีงาม ทีนี้ ต่อมาก็เป็นนักให้ใช่ไหม นี่ทานมาแล้ว พอเป็นนักให้ก็มีความสุขจากการให้ด้วย มนุษย์จะพัฒนาไปเยอะเลย ใช่ไหม นี้ในสังคมปัจจุบันนี่เราไม่ค่อยได้คำนึงเหล่านี้ มันไปสนับสนุนแต่เรื่องความเป็นนักเสพท่าเดียว ใช่ไหม ให้หาความสุขจากการเสพ ตัวเองก็ไม่พัฒนา ไม่สามารถมีความสุขอย่างอื่นขึ้นมาเลย ความสุขก็จมอยู่กับการเสพ เสพวัตถุปัจจัย 4 ธรรมดามันรุนแรงไม่พอ ก็พิเศษติดยาเลย งั้นนอกจากนั้นทำให้มีการแย่งชิงกันในสังคม สร้างความเดือดร้อน ทีนี้ ถ้ามีการศึกษาเนี่ย มันก็จะต้องพัฒนาจากการเป็นนักเสพมาสู่การเป็นนักศึกษาเป็นนักสร้างสรร แล้วเป็นนักให้ พอเป็นนักให้ มันให้วัตถุแล้วก็ให้ความสุขแก่คนอื่นได้ด้วย ไม่ใช่เป็นนักหาความสุขจะเป็นนักให้ความสุข ถ้าเราสามารถทำคนให้มีความสุขจากการให้ได้ด้วย แล้วเป็นนักให้ความสุขแก่ผู้อื่น ชีวิตนี้ก็จะเจริญงอกงามสังคมก็จะร่มเย็นเป็นสุข ปัจจุบันนี้ที่เป็นปัญหามากก็คือว่า โลกนี้มันเอียงไปข้างเดียวหมดเลย ให้คนนี่ เน้น เสริม ย้ำสัญชาตญาณกิเลสเดิมในการแสวงหาแย่งชิงเพื่อเสพเป็นนักเสพ แล้วก็การศึกษาก็มาหนุนมาพัฒนาความสามารถในการหาสิ่งเสพ ใช่ไหม แล้วก็มาใช้ระบบแข่งขันแย่งชิงหาผลประโยชน์ก็แย่งกันอีก แย่งชิงเสพกันอีก แล้วก็ยุ่งเดือดร้อนแน่นอน นั้นจะแก้ปัญหาอะไรล่ะ ในเมื่อไม่ล่าอะไรหมดระบบในสังคมนี้ ไม่ว่าการศึกษา ไม่ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบอะไรต่าง ๆ แม้แต่การเมืองยังพลอยเป็นระบบของการแย่งชิงหมดเลยใช่ไหม ฉะนั้นมันจะไปแก้ปัญหาของโลกทำให้สังคมร่มเย็นได้อย่างไร
นั้นก็เอาเป็นว่าเราได้มาเรียนธรรมะ นี่ก็เป็นการพัฒนามนุษย์ มองอะไรเป็นศึกษาหมดใช่ไหม ฝึกคนหมด แม้แต่ทานนี่ก็เป็นบุญญะสิกขา พอได้ฝึกเรื่องทานแล้ว ก็ฝึกศีล ใช่ไหม ศีลสำหรับคฤหัสถ์ในการสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ก็เน้นเรื่องศีล 5 ที่จริงท่านเรียกว่า สิกขาบท 5 น่ะ แต่เรียกภาษาชาวบ้านว่าศีล 5 สิกขาบท 5 ก็ให้ฝึกในการที่ว่าอยู่ร่วมกับเขาด้วยดี อย่าไปละเมิดทำร้ายชีวิตร่างกายเขา อย่าไปละเมิดทรัพย์สินเขาในเรื่องกรรมสิทธิ์ผู้อื่น แล้วไม่ละเมิดคู่ครองเขา ไม่ละเมิดในเรื่องวาจาที่จะหลอกลวงทำลายผลประโยชน์ของผู้อื่นด้วยวาจาเท็จหลอกลวง เป็นต้น แล้วก็แถมเข้าไป ก็คือว่าไม่ไปก่อความรู้สึกคุกคามความมั่นคงปลอดภัยผู้อื่นด้วยการที่ไปเมาหรือว่าขาดสติเพราะยาเสพติด ศีลข้อ 5 หรือ สิกขาบทข้อที่ 5 นี้คือสุราเป็นศีลที่เกี่ยวกับสังคม เราไปดูว่า อ้อพอดื่มสุรายาเสพติดมันก็ทำลายสติของตนเอง อันนี้มันเป็นเรื่องภายใน แต่ว่าสิกขาบทศีล 5 นี่เป็นเรื่องมุ่งในแง่สังคม มุ่งในแง่สังคมก็เป็นยังไงล่ะ ศีลข้อ 1 ชัดใช่ไหม ไม่เบียดเบียนทำร้ายชีวิตร่างกาย ข้อ 2 กรรมสิทธิ์ของเขา ข้อ 3 คู่ครองเขา ข้อ 4 ไม่ทำลายผลประโยชน์ของเขาด้วยวาจาเท็จ หรอกลวง ข้อ 5 พอเมาขาดสตินี่ คนที่เสียสติเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เริ่มตั้งแต่ว่าทำให้คนอื่นที่มาเจอนั้น ที่เกี่ยวข้องเกิดความรู้สึกสูญเสียความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทันทีเลยนะ ถ้าเจอกับคนเมาเหล้าหรือคนติดยาเสพติด ยกตัวอย่างเช่นว่า เห็นรถคันที่สวนมานี่ คนขับเมาเหล้าเท่านั้นแหละ ใจเสียเลยใช่ไหม ไอ้รถคันที่ขับไปนี่สวนกันนี่ ไม่แน่ใจแล้ว เอ้อ เกิดดีไม่ดีมันอาจจะชนเข้าใช่ไหม เพราะมันไม่มีสติเมา หรือว่าสงสัยว่ารถที่แล่นมาสิบล้อสวนมาเยอะ ๆ นะ มีกินยาม้าบ้างเปล่า ใจไม่ดีแล้วใช่ไหม เนี่ยคนที่ติดยาเสพติดเนี่ยเป็นผู้สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยแก่ผู้อื่นหรือแก่สังคม เพราะฉะนั้นเป็นผู้คุกคามต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสังคมทันทีในเมื่อติดยาเสพติด ฉะนั้นจึงมีผลต่อสังคม ใช่ไหม แล้วเขาจะทำการละเมิดศีลข้อไหนก็ได้ทั้งนั้น อันนี้คือเรื่องศีล 5 เป็นความหมายต่อสังคมในแง่ที่จะเลือกตัวเองนั้นก็เสียทั้งนั้นแหละทุกข้อ ทีนี้บางทีเราไม่นึก เรานึกว่าข้อ 5 เป็นเรื่องตัวเอง เปล่า ที่จริงข้อ 5 ในแง่สังคมเหมือนกัน เอาละครับ ก็พัฒนาเรื่องทาน พัฒนาเรื่องศีล แล้วก็พัฒนาเรื่องภาวนามารวมกันทั้งจิตใจและปัญญา ทีนี้ในเรื่องจิตใจและปัญญาด้านในนี่ ถ้าพูดรวมกันในภาวนานี่ พระพุทธเจ้าจะเน้นสำหรับคฤหัสน์ก็เน้นที่ข้อเมตตาก่อน ก็หมายความว่าเน้นธรรมะ ในแง่ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทานก็เรื่องการให้ต่อกันอยู่ร่วมสังคม ศีลไม่เบียดเบียนกัน มีพฤติกรรมเกื้อกูลต่อกันและก็ภาวนา เน้นเมตตาภาวนา การที่เจริญเมตตา การสร้างความเป็นมิตรไมตรีอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ต่อจากนั้นพอได้ฐานนี้แล้ว สังคมร่มเย็นเป็นสุขก็เอื้อต่อการที่แต่ละคนจะได้พัฒนาชีวิตของตนตามไตรสิกขา อันนี้ก็เข้าไตรสิกขาแท้เลย ก็สร้างพื้นฐานให้ดี ฉะนั้นทานศีลภาวนานี้ ก็มุ่งเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขในสังคม หรือสร้างสังคมที่มีสันติสุขด้วยการพัฒนาคนแต่ละคนให้มาเป็นส่วนร่วมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ก็ได้ความแล้วนะเรื่องทานศีลภาวนา
ก็เห็นพอสมควรแก่เวลาก็ถือว่าเป็นส่วนขยายออกมาจากชุดไตรสิกขา ๆ เป็นหลักใหญ่ และมาเน้นคฤหัสด์ มาเน้นด้านนอก เน้นด้านวัตถุมากหน่อย ก็ทวนอีกทีว่าทานนี่ ทำความดีด้วยสิ่งนอกตัวใช่ไหมวัตถุสิ่งของ พอมาศีลที่ตัวแล้ว กายวาจาของตัว และพอภาวนาก็เข้าไปในตัว 3 ชั้น และถ้าเป็นชุดไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญา ก็เริ่มที่ตัว แล้วก็เข้าไปในตัว 2 ชั้น ไปด้านจิตใจ แล้วเขยิบไประดับปัญญา ก็ชีวิตของชาวบ้าน ถ้าหากว่าเรามาพัฒนาเน้นเรื่องนี้กัน ก็จะเป็นประโยชน์มากเวลานี้เราไปมองทานศีลภาวนาในแง่ของการ ไปวัดวาอาราม ไปทำบุญทำกุศล ไปทานก็หมายถึงว่าไปเอาของไปถวายพระอย่างเดียว ไม่นึกถึงการฝึกกันในชีวิตประจำ ใช่ไหม เริ่มตั้งแต่ในครอบครัว อันนั้นมันก็อาจจะทำให้ธรรมะนี้มีความหมายคับแคบเกินไป อะไรครับ นิมนต์
(1)
คนฟังถาม: จะถามนิดหน่อย สงสัยเหลือเกิน เขาบอกว่า มาในพระไตรปิฎกด้วย ให้ทานต่อสัตว์เดรียจฉาน 100 ครั้ง สู้ให้ทานต่อคนไม่มีศีลเลยสักตัว ก็ไม่ได้ นี้ให้ทานแก่คนที่ไม่มีศีลสัก 100 ครั้ง สู้ให้ทานแก่คนที่มีศีล 5 ก็ไม่ได้ ตามลำดับเลยน่ะ ศีล 8 ศีล 10 จนกระทั่งศีล 227 จนกระทั่งเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์ จนกระทั่งว่าปัจเจกกับพระพุทธเจ้า กระทั่งพระพุทธเจ้า ทำต่อพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ยังไม่เท่ากับ สังฆทาน 1 ครั้ง เขาว่าอย่างนี้ พระไตรปิฎกด้วย
พระตอบ: สังฆทานนี่หมายถึงมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ก็ใช่ซิ แก่สัตว์เดียรัจฉานก็มีผลน้อยกว่าให้แก่มนุษย์ แม้ไม่มีศีล ให้แก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ทุกศีลก็มีผลน้อยก็ให้แก่มนุษย์ที่มีศีล แล้วก็ให้แก่มนุษย์ที่มีศีลก็ว่าเป็นลำดับขึ้นไป
(2)
คนฟังถาม: งั้นพี่เขาว่ากัน ให้หมูกินดีกว่าให้หมากินยังดีกว่า
พระตอบ: แต่ว่ามันยังมีข้อรายละเอียดได้อีก เช่นเจตนาเป็นต้น เจตนาเป็นองค์ประกอบในเรื่องของทานมีเหตุมีผล
(3)
คนฟังถาม สัตว์เดรัจฉานมันคาบของมา พระอยากจะได้ไก่ ซึ่งหมามันคาบไก่มา ก็ไล่หมาจะตีหมา อันนี้หมามันก็หนีไป ตกลงพระไม่ปาราชิกใช่ไหม
พระตอบ ไม่ปาราชิก
(4)
คนฟังถาม หมาสัตว์เดรัจฉานหมดสิทธิเป็นเจ้าของยังเป็นวินัยใช่ไหม
พระตอบ ไม่ใช่คือการยึดถืออันนี้เป็นเรื่องของสังคมมนุษย์ บัญญัติเรื่องสิกขาบทนี้ วินัยนี่เป็นเรื่องสมมุตินี่ หมายถึงว่าเป็นเรื่องของบัญญัติในการอยู่ร่วมสังคม คนนี้มีการบัญญัติในการอยู่ร่วมกันให้มีการถือกรรมสิทธิ ใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็ยอมรับกรรมสิทธิของมนุษย์ ก็บัญญัติในเรื่องนี้ ในการอยู่ร่วมกันในหมู่มนุษย์ ที่นี้สัตว์ที่มันอยู่ตามธรรมชาติ ก็ไม่ได้มีเรื่องของบทบัญญัติในทางสังคมแบบนี้ ใช่ไหม สัตว์มันก็ไม่มีเรื่องกรรมสิทธิ์ต่อกัน ตัวไหนแย่งชิงไปได้ก็เอา ไม่มีการมาแบ่งกันว่า ที่ดินแปลงนี้ของคุณของเธอใช่ไหม มีไหม ไม่มี
(5)
คนฟังถาม ถ้าพระไปเอาของคนอื่น ทำไมของสัตว์ละโอ้โห
พระตอบ บอกแล้วไง เรื่องของวินัยนี่เป็นเรื่องของบัญญัติในสังคมมนุษย์ วินัยน่ะ บัญญัติในสังคมมนุษย์ ฉะนั้นมันไม่เกี่ยวกับเรื่องของชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ที่ว่ามาเป็นอารยธรรม เป็นอะไรไปต่าง ๆ การบัญญัติสิทธิ อย่างที่ว่า เหมือนกับเราเหมือนกันน่ะ ไม่ใช่เฉพาะว่า เราไปแย่งอาหารเสือได้มา เสือมากินเรา มันก็ไม่ผิดเหมือนกันน่ะ ใช่ไหม เอ้าหลวงลุง ไปเจอเสือซิ บอกแกอย่ามากินข้าน่ะ แกเป็น ปาณาติบาต แกบาป
(6)
หลวงลุงถาม ปลามันก็ไม่ผิดเหมือนกัน ลองพูดว่าเจ้าอย่ามากินเสือ ปาณาติบาต
พระตอบ ไม่หมายถึงว่า เอากันในแง่ก่อน สิทธิที่ว่า หลวงลุงจะไปบอกว่า แกไม่มีสิทธิกินข้าว ไปบอกเสือฟังไหม ไม่ฟังใช่ไหม ทีนี้เสือมันกินมนุษย์ มันบาปของชีวิตของมันบาประดับนั้นอยู่แล้ว มันก็ไม่แปลก อ่ะ มันบาปของมันเป็นเรื่องธรรมดา บาปในระดับนี้นะ เรื่องธรรมดาของมัน เพราะมันเกิดด้วยบาปนี้อยู่แล้ว คนนี่เลี้ยงจริง ๆ ตั้งใจเลี้ยง แต่เลี้ยงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เดี๋ยวซิ พูดตามเจตนา ก็เลี้ยงนี่ไม่ใช่ไม่เลี้ยง เลี้ยงน่ะ เลี้ยง ตั้งใจเลี้ยง จัดอาหารอะไรต่ออะไรเลี้ยงสัตว์ แต่เลี้ยงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ส่วนสัตว์นั้น มันไม่ได้ตั้งใจเลี้ยงคนหรอก แต่ว่า เอามันไปขายเลยคนได้เงินมาเลี้ยงตัวเองใช่ไหม สัตว์ไม่ได้ตั้งใจเลี้ยงคน มันไม่มีเจตนาจะมาเลี้ยง แต่ว่าคนเนี่ยจากการที่เลี้ยงสัตว์นั่นแหละเลยได้เงินได้ผลตอบแทนมาเลี้ยงตัวเอง หลวงลุงก็เรียกก็เลยเรียกฉัน
(7)
หลวงลุงถาม นี่คนเลี้ยงสัตว์ไม่ตาย พอทีนี่สัตว์เลี้ยงคนนี่สัตว์ตาย มันเอาเปรียบกันน่ะ
พระตอบ สัตว์เลี้ยงคนมันเป็นสำนวน เป็นการพูดตามสำนวน
(8)
หลวงลุงถาม เอ้าเราก็เป็นสัตว์ อยู่แล้วนิ
พระตอบ ก็เป็นสัตว์อยู่แล้ว ของสังคมมนุษย์ มันตกลงกัน
(9)
หลวงลุงถาม ฆ่าหมูฆ่าไก่ คนเขาบาป มันเป็นอาหารของคน
พระตอบ อ๋อ ศาสนาคริสต์ อิสลามนี่เขาถือว่า มันเป็นอาหารสำหรับคน ก็ศาสนาคริสต์นี่ในนั้นเลย Genesis พระเจ้าสร้างโลกใช่ไหม สร้างมนุษย์ ๆ ผู้ชาย แล้วต่อมามันนอนหลับชักซี่โครงมันออกมาซีกมาสร้างเป็นผู้หญิงมันเหงานะให้มันอยู่ด้วยกัน เสร็จแล้วก็เลยสร้างสัตว์สร้างพืชมาให้เป็นอาหารของมนุษย์ นี่ก็หมายความว่าเอามนุษย์เป็นหลัก เพราะฉะนั้นตะวันตกว่า อารยธรรมเขานี่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง คือว่าเพื่อมนุษย์พระเจ้าจึงสร้างสัตว์ทั้งหลายมา ๆ ให้เป็นของมนุษย์ที่มนุษย์มี Dominion ใช้คำว่าอย่างนั้น มนุษย์มี Dominion เหนือสัตว์เหนือพืชเหนืออะไรต่าง ๆ ในโลกที่พระเจ้าสร้างไว้ให้ ฉะนั้นเขาเลยถือว่า เขามีสิทธิจัดการกับมันได้ตามปรารถนา มาตอนหลังนี่มาตีความใหม่ เดิมนี่คำสอนก็บอกว่า สร้างมนุษย์ แล้วก็สร้างพวกสิงสาราสัตว์มา ให้มาอยู่ใต้อำนาจมนุษย์ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ให้มนุษย์มี Dominion เหนือสิงสาราสัตว์เหล่านี้ เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็ถืออำนาจครอบครองเป็นใหญ่จัดการได้ตามปรารถนา นี่ก็เลย ตะวันตกก็มีความคิดว่าตัวเองนี่จัดการกับธรรมชาติได้ตามชอบใจ นี่มาถึงตอนนี้มันมีปัญหาเรื่องธรรมชาติแวดล้อมเสีย เขาก็ตีความใหม่ เขาบอกว่า ที่จริงน่ะ ที่คัมภีร์เล่าว่าไว้น่ะไม่ใช่หมายความว่าให้มนุษย์นี่จัดการกับธรรมชาติส่วนอื่น เช่น สิงสาราสัตว์ได้ตามชอบใจ เพราะว่าธรรมชาติส่วนอื่นสิงสาราสัตว์พืชนั้น พระผู้เป็นเจ้าสร้างมาไว้แต่เป็นสมบัติของพระองค์ แล้วก็ให้มนุษย์ดูแล การที่ว่าให้มนุษย์มี Dominion เหนือสิ่งเหล่านั้นน่ะหมายความว่า มนุษย์นี่จะได้ดูแลได้ โดยมีอำนาจจัดการดูแลนะ ๆ จัดการในแง่ดูแล ดูแลน่ะ เพราะของนั้นยังเป็นสมบัติของพระเจ้านะ ใช่ไหม ก็ต้องดูแลสมบัติของพระเจ้าไว้ให้ดี ฉะนั้นเขาก็ให้ศัพท์ที่แสดงหน้าที่ของมนุษย์ใหม่เรียกว่าเป็น Steward แนวคิดนี้กำลังใช้ในตะวันตกปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องทำลายธรรมชาติแวดล้อม แล้วพวกนี้ก็ เถียงกันได้แง่ว่า แยกเป็น 2 ฝ่าย คือพวกหนึ่งก็บอกว่า นี่อารยธรรมตะวันตกทั้งหมดตั้งแต่ปรัชญา เปโตร โซเอทิส อริสโตเติล มาแล้วหมดเลยตลอดสายจนกระทั่งศาสนาคริสต์นี่ สอนอย่างเดียวกันคือ ให้ถือตัวเป็นใหญ่จัดการกับธรรมชาติตามชอบใจ จึงทำให้ทำลายธรรมชาติ ทีนี้อีกพวกกนึ่งก็เถียงบอกว่า ที่มันเสียอย่างนี้อารยธรรมตะวันตก มันทำลายธรรมชาติเพราะปรัชญากรีก เช่น โซเอทิส อริสโตเติล ส่วนศาสนาคริสต์นั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างโลกไว้ตามคัมภีร์ นี่มีความหมายอย่างที่ว่า ให้มนุษย์เป็น Steward คอยดูแลสมบัติให้พระเจ้า แต่ว่าพวกสอนศาสนาคริสต์ พวกบาทหลวง นี่ไปอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลปรัชญากรีก ก็เลยไปสอนแบบปรัชญากรีก อารยธรรมตะวันตกก็เลยเป็นอารยธรรมที่ทำลายธรรมชาติไป ฉะนั้นตอนนี้ก็ นายอันกอ เป็นตัวอย่าง อันกอ เป็นรองประธานาธิบดีอเมริกาปัจจุบัน ก็จะบอกว่าปรัชญากรีก เปโตร ตัวร้าย นายอันกอ เล่นงาน เปโตร เต็มที่เลย นี่เป็นตัวทำให้อารยธรรมตะวันตกเนี่ยกำจัดทำลายธรรมชาติ ส่วน อริสโตเติล สอนไม่เหมือนกับ เปโตร แล้วศาสนาคริสก็ไม่ได้สอนผิดอย่าง เปโตร ศาสนาคริสสอนอย่างที่ว่าเมื่อกี้ว่า ว่าธรรมชาตินี่พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้สร้างมาให้มนุษย์ดูแลครอบครอง แต่ว่าเป็นสมบัติของพระองค์ เพราะฉะนั้นต้องดูแลให้ดีทำหน้าที่เป็น Steward แล้วตอนนี้เขาก็ให้มองมนุษย์ใหม่ว่า ให้ปฏิบัติต่อธรรมชาติในฐานะเป็น Steward คือเป็นผู้ที่ดูแลสมบัติไว้ให้พระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นต้องดูแลให้ดี แนวคิดนี่เรียกว่า แนวคิด Steward chip ก็เป็น Chip เป็นภาวะ Friendship ความเป็นเพื่อน Steward อยู่ในเครื่องบินก็มี ไอ้นี Steward chip แปลว่าความเป็น Steward หมายถึงความเป็นคนที่ดูแลต่างตา เป็นคนที่มาดูแลสมบัติให้แก่ผู้อื่น หมายถึงแก่พระผู้เป็นเจ้า และตอนนี้เขาก็ใช้แนวความคิดนี้ในการที่จะให้มนุษย์เนี่ย อนุรักษ์ธรรมชาติ นี้ถ้าหากว่าไม่ยึดถือหลักศาสนา ไม่ได้เชื่อในคำสอนศาสนาคริสต์ การทำหน้าที่ดูแลธรรมชาตินี้ก็อ้าวไม่ต้องดูแลให้พระเจ้าก็ได้ แต่ดูแลไว้ให้แก่อนุชน ดูแลสมบัติของโลกไว้ให้แกอนุชนคนรุ่นหลัง ก็แนวคิดนี้อยู่ที่ในเรื่อง Steward chip นี่แหละ ฝรั่งก็จะหาทางออกในการรักษาธรรมชาติด้วยการตั้งแนวคิดนี้ขึ้นมา ปัจจุบันก็ใช้เป็นหลักการสำคัญในการที่จะแก้ปัญหา การทำลายธรรมชาติแวดล้อม พระพุทธศาสนานี่เราไม่มีปัญหาเรื่องนี้ แต่ว่าก็อยู่ที่ว่าเราก็ไปตกอยู่ใต้อำนาจกระแสอิทธิพลอารยธรรมตะวันตกก็เลยทำไปตาม แต่ว่าเวลาเอาเข้าจริงฝรั่งกับตื่นตัวในการแก้ปัญหามากกว่าไทย ๆ ยังเลื่อย ๆ เปื่อย ๆ ยังทำลายกันเต็มที่เลย ฝรั่งพอรู้จะหนักไปภัย ก็เอาใจใส่มากขึ้น อย่างไปอเมริกาที่แล้วก็เห็นชัด ตามบ้านต่าง ๆ และการปฏิบัติในเรื่องขยะนี้เขาชัดมาก การแยกขยะ การที่เอาขยะไปทิ้งไปอะไรต่าง ๆ นี่ แม้แต่มีการบริจาคขยะ เอาขยะไปให้ที่เขามีจัดไว้ แล้วก็จะมีคนมารับเอาไป เพื่อไปใช้หาเงินหาทองได้ กลายเป็นเรื่องของการช่วยเหลือสงเคราะห์ในสังคม พื้นฐานฝรั่งเขาก็มีดีของเขาอยู่หลายอย่าง ซึ่งเราจะต้องยอมรับ เช่นว่าการที่ว่าตั้งอยู่ในวินัยของเขา ก็รากฐานเขามั่นกว่าเราใช่ไหม แต่ว่าฝรั่งยุคใหม่ ก็กำลังจะแย่ แต่อย่างที่ว่าเพราะว่าเข้าสู่ยุคบริโภคนิยม ฐานที่สร้างมาเก่าที่ยังฝังลึกยังช่วยเขาได้เยอะ แต่ว่าคนรุ่นใหม่ก็กำลังจะแย่ เวลามันเสื่อมก็เสื่อม โดยอัตราเปรียบเทียบกับนับว่าไวเหมือนกัน ในการที่คนรุ่นใหม่นี้สูญเสียความเข้มแข็งของจิตใจความขยันหมั่นเพียรค่อย ๆ หมดไป กลายเป็นคนสำรวยหยิบโหย่งอย่างที่ว่าน่ะ