แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันต่อเรื่อง บุพนิมิตแห่งมรรคทั้ง 7 ประการ ว่า โดยสรุปอีกครั้งหนึ่ง ก็ก่อนที่จะว่าทั้งหมดก็มาพูดถึง หัวข้อ เพื่อทวนความจำ 7 ข้อ ก็มี
1. กัลยาณมิตรตัตตา ความมีกัลยาณมิตร คือรู้จักเลือกคบหากัลยาณมิตร
2. ศีลสัมปทานถึงพร้อมด้วยศีลคือ ตั้งอยู่ในวินัย
3. ฉันทะสัมปทานถึงพร้อมด้วยฉันทะ มีความใฝ่รู้ ใฝ่ดีหรือใฝ่ศึกษา ใฝ่สร้างสรรค์ หรืออยากจะทำในสิ่งที่ดีงาม และก็อัตตสัมปทา การทำตนให้ถึงพร้อม หมายถึงว่า การพัฒนาศักยภาพให้สมบูรณ์ให้เต็มเปี่ยมมีจิตสำนึกในการฝึกตน
5. ทิฎฐิสัมปทานถึงพร้อมด้วยทิฎฐิ มีความเชื่อแนวความคิดความเห็นการยึดถือในหลักการทัศนคติค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนาปัญญาและความดีงาม อัปปมาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทมีความกระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชาไม่ปล่อยปละละเลย ไม่ผลัดเพี้ยน เห็นคุณค่าของเวลาและก็มีจิตสำนึกในความเปลี่ยนแปลง
7. โยนิโสมนสิกา สัมปทาน ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ รู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักหาประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายสามารถหาความรู้หาความจริงได้ และก็หาประโยชน์จากสิ่งที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือร้าย ก็นี่ก็ 7 ข้อ
นี่เราก็มาดูทั้งกระบวนอีกทีนึง ที่นี้ก็ 7 ข้อนี้ ได้บอกแล้วว่าข้อ 1 กับข้อ 7 นี่มาจากปัจจัยแห่งสัมมาทิฎฐิ 2 แล้วมาจัดเข้าในชุดบุพนิมิตรแห่งมรรค 7 นี่ 2 ข้อนั้นกลายมาเป็นข้อต้นกับข้อสุดท้าย คือคลุมกระบวนอยู่หัวกระบวน กับท้ายกระบวน อย่างกับรถไฟ แต่ว่าที่เป็นหัวกระบวนท้ายกระบวนอันนี้ มันจะมีข้อพิเศษที่ว่าสามารถทำหน้าที่เป็นหัวกระบวนได้ทั้ง 2 อัน มันมีรถไฟบางอย่างเหมือนกันทั้งหัวทั้งท้ายนี่ทำหน้าทีเป็นหัวได้ทั้งคู่ พอแล่นไปถึงจุดหมาย ไอ้ฝ่ายหัวข้างหนึ่งพาไป พอไปถึงแล้วไม่ต้องกลับแหละ ใช้ท้ายกลับเป็นหัว วิ่งนำไปได้เลยอีก อันนี้ก็เช่นเดียวกัน เจ้า 2 ตัวนี้ คลุมหัวคลุมท้ายนะ ที่จริงเป็นหัวได้ทั้งคู่ นำกระบวนได้ทั้งหมด อันนี้เป็นข้อพิเศษของเขา อันนี้ ข้อพิเศษนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ บอกแล้วว่าข้อ 1. ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นเรื่องของปรโตโฆสะ เป็นเสียงบอกจากผู้อื่น อันนี้เป็นปัจจัยภายนอก ส่วนโยนิโสมนสิกานั้นเป็นปัจจัยภายในอยู่ในตนเอง ทีนี้สำหรับคนทั่วไปนี้ เราจะมาอาศัยเจ้าตัวแรกกัลยาณมิตรตัตตาปัจจัยปัจจัยภายนอก มาเป็นตัวนำกระบวนพาชักพาให้ทั้ง 6 ตัวข้างหลังเนี่ยเกิดขึ้นได้ เพราะว่ากัลยาณมิตรนี่เป็นผู้ที่พัฒนาแล้ว หรือพัฒนาไปมากกว่าตัวเราหรือตัวเด็กนั้น ฉะนั้นเขาจึงจะมีคุณสมบัติทั้ง 7 ประการเนี่ยดีกว่า ทีนี้เมื่อเขามีทั้ง 7 ประการนี้ เขาสามารถกระตุ้นได้ทุกตัว กัลยาณมิตรนี่กระตุ้นได้หมด ชักจูงให้เด็กรู้จักหากัลยาณมิตรก็ได้ แล้วก็ให้เด็กรู้จักวินัยตั้งอยู่ในวินัยมีศีลก็ได้ จะให้เกิดฉันทะก็ได้ จะให้ฝึกตนก็ได้ จะให้มีแนวความคิดถูกต้องก็ได้ ให้มีความไม่ประมาทก็ได้ แล้วก็ให้มีโยนิโสมนสิกาก็ได้ ที่นี้ในทางตรงข้ามกันก็ โยนิโสมนสิการซึ่งปัจจัยภายในมีขึ้นในผู้ใดนี่ก็สามารถไปทำให้คุณสมบัติอื่นเกิดได้หมด เริ่มตั้งแต่การรู้จักเลือกหากัลยาณมิตร แม้แต่ว่าได้ปาปมิตร มิตรชั่วแกก็ยังหาประโยชน์จากปาปมิตได้ ไม่ต้องพูดถึงกัลยาณมิตรคล้าย ๆ เหมือนในใจว่า สามารถพลิกเอาปาปมิตรให้กลับเป็นกัลยาณมิตร เช่นอย่างรายการทีวีเป็นตัวอย่าง รายการทีวีมาก็สื่อมวลชน มันเป็นรายการที่อาจจะไม่ดี ถ้าเป็นรายการที่ดีก็แล้วไป ก็เป็นกัลยาณมิตรในตัว ทีนี้ถ้าเป็นรายการที่ดีเป็นโทษ แต่เด็กมีโยนิโสมนสิการนี่ แกกลับได้คติ แกดูแล้ว แกหาความรู้ได้แล้วก็หาคติความดีงามได้ มองสิ่งที่ไม่ดีและทำให้ได้แง่คิด ซึ่งอันนี้ที่สำคัญ โยนิโสมนสิการ นี่มันทำให้ได้ประโยชน์จากทุกอย่าง ก็เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าของเราที่อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอันเดียวกันกับคนอื่น แต่เขามองในขณะที่คนอื่นเขามองอย่างหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้ามองอีกอย่างหนึ่ง หรืออย่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ก่อนที่จะบวช ตอนแรกก็เป็นไปตามกระแสสังคมอยู่ในอำนาจของสภาพแวดล้อม ชอบสนุกสนานไปกับเพื่อนฝูง มีเรื่องของการบันเทิง มีของงานนักขัตฤกษ์ก็ไปดู อย่างที่ตอนนั้นไปดู ชีราคาสะมาชะ เป็นมหรสพบนยอดเขา ก็ไปดูมาทุกปี ๆ ก็สนุกสนาน ปีนั้นไปดูแล้วเกิดได้คติความคิดอีกอย่างหนึ่ง นี่โยนิโสมนสิกามันเกิดขึ้นมา มองใหม่มองสิ่งเดิมแต่ไม่เห็นเหมือนเดิม เห็นได้ความคิดอะไรนี่เป็นโยนิโสมนสิกา เพราะฉะนั้นแม้แต่สิ่งที่ไม่ดีนี่ โยนิโสมนสิกาก็สามารถทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ได้ ฉะนั้นโยนิโสมนสิการนี้เป็นตัวที่สำคัญมาก เป็นอันว่า กัลยาณมิตรตัตตา นี่ก็เป็นตัวหัวกระบวนที่อยู่ข้างนอกที่มาช่วยเด็ก หรือแม้แต่ตัวเรา ซึ่งตัวเราอาจจะเป็นเด็กก็ได้ มาปลุกเร้าทำให้เรานี่ได้เกิดคุณสมบัติหมดทั้งชุด แล้วในทางตรงข้ามก็โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยภายในตัวเรา ถ้าเกิดมีขึ้นมาก็สามารถทำให้คุณสมบัติอื่นเกิดขึ้นมาได้หมดทั้งชุดเช่นเดียวกัน อันนี้เก่งกว่า อาปะมะสัมปทาน เมื่อวานนี้บอกว่าเรื่องความไม่ประมาทก็สามารถไปปลุกไอ้เจ้า 5 ตัวแรกก่อนมันนี่ให้มันทำงาน แต่ว่ามันอยู่ตัวที่ 6 นี่มันปลุกได้ 5 ตัวแรกรวมทั้งตัวมันเองด้วย แต่มันไปปลุกโยนิโสมนสิกาไม่ค่อยได้ คือมันไปกระตุ้นไอ้ส่วนที่มีอยู่แล้วใช่ไหม ให้มันทำงานอย่าไปนอนเฉย แต่มันมาปลุกเร้าโยนิโสมนสิการนี้ยาก เพราะโยนิโสมนสิกานี่มันเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ ริเริ่มใหม่ ถ้าประมาทมันก็ไปช่วยไอ้สิ่งที่มีอยู่ให้มันลุกขึ้นมาขยับเขยื้อนทำงาน นี้มันมาปลุกไอ้เจ้าโยนิโสมนสิการนี้ทำได้ยาก นั้นมันก็เลยช่วยได้ดีแต่ว่ามันก็ยังไม่ได้ทั้งกระบวน อันนี้กัลยาณมิตรตัตตาก็ได้ทั้งกระบวนเลยเป็นหัวกระบวนอันแรกก็มาช่วยชักนำทั้งชุด ส่วนโยนิโสมนสิการอยู่ข้างในก็มาชักนำได้ทั้งชุดเช่นเดียวกัน ที่นี้ฝ่ายกัลยาณมิตรตัตตานี่ นอกจากว่าจะชักนำทั้งชุดนี้ ก็ถือว่าถ้าพูดโดยทั่วไป
กัลยาณมิตรนี้จะมาเป็นแบบอย่าง จะมาช่วยนำให้ตัวเด็กนี่ได้พัฒนาในด้านต่าง ๆ ซึ่งอยู่ที่ความสามารถของ กัลยาณมิตร นั้น อย่างกัลยาณมิตรสูงสุดได้แก่พระพุทธเจ้านี่ก็สามารถทำให้คนที่มีปัญญามากแล้วแต่มีเหมือนกับมีขนตาบังอยู่หรือว่ามีธุลีบังในตาอยู่ มาเขี่ยออกทําให้ได้ตรัสรู้เลย หรือว่าสามารถฝึกคนที่เขาฝึกกันไม่ค่อยได้ อันนี้ก็อยู่ที่ความสามารถของกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรนี่ก็โยงเข้าไตรสิกขา ถ้าพูดโดยย่อก็เท่ากับช่วยพัฒนาคนอื่น โดยเฉพราะพัฒนาเด็กทั้งในแง่พฤติกรรม ที่เราเรียกว่าเรื่องศีล ทำให้พฤติกรรมดีงาม และพัฒนาด้านจิตใจ แล้วก็พัฒนาด้านปัญญา อันนี้พูดโดยสรุปเลย พัฒนาอะไรก็ตามรวมแล้วก็พัฒนา 3 ด้านเนี่ย กัลยาณมิตรก็มีหน้าที่อันนี้พัฒนาศีลสมาธิปัญญา หรือพัฒนาพฤติกรรมจิตใจ พัฒนาปัญญา จุดเน้นนี้สำคัญมากคือเน้นคุณสมบัติ ชุดที่เรียกว่าบุพนิมิตแห่งมรรค 7 ประการ แล้วถ้าเน้นหนักเข้าไปอีก ก็มาเน้นเรื่องโยนิโสมนสิกาเนี่ย ถ้าหากว่ากัลยาณมิตรมาเจาะปลุกเร้าชักนำให้เกิดโยนิโสมนสิการนี้ได้เป็นดีที่สุด เพราะอะไรเพราะว่า กัลยาณมิตรนั้นเป็นปัจจัยภายนอกอย่างที่ทราบอยู่แล้ว ตราบใดที่เด็กยังไม่มีโยนิโสมนสิกาก็ต้องอาศัยผู้อื่นยังไม่เป็นอิสระพึ่งตนเองไม่ได้ มีกัลยาณมิตร เช่น พ่อแม่ดี มีครูอาจารย์ดี หรือมีเพื่อนใกล้ชิดที่ดี คอยชักนำคอยหนุนคอยชี้แนะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้ก็ได้คติอะไรจากสิ่งต่าง ๆ แต่ก็เป็นผู้อื่น ถ้าตัวเองอยู่คนเดียวทำไม่ได้ นี้ต้องอาศัยผู้อื่นขึ้นต่อผู้อื่น ต้องพึ่งเขา ยังพึ่งตัวเองไม่ได้ ยังไม่ปลอดภัย ความสัมพันธ์กับกัลยาณมิตร ก็อาศัยศรัทธา ถ้าเรามีศรัทธาต่อกัลยาณมิตร หรืออย่างเด็กนี่ เด็กมีศรัทธาต่อพ่อแม่เชื่อฟังเห็นความสำคัญของพ่อแม่ เห็นว่าพ่อแม่นี้เก่ง โดยปกติแล้วเด็ก ๆ เนี่ยจะเอาพ่อแม่นี้เป็นแบบอย่าง เชื่อถือเป็นคนที่ยอดประเสริฐสุด ฉะนั้นเขาก็มีความเชื่อฟัง ก็อาศัยศรัทธา ไปถึงครูก็เหมือนกัน ถ้ามีศรัทธาเขาก็พร้อมจะเชื่อฟัง การแนะนำชักจูงก็ได้ผล แต่ถ้าขาดศรัทธาเสียเมื่อไหร่แล้ว กัลยาณมิตรก็ทำหน้าที่ยาก เพราะเด็กจะหันไปมองที่อื่น เช่นเด็กสมัยนี้มีปัญหาเยอะ เพราะว่ามีทีวีเป็นต้นบุกเข้าไปถึงในบ้านในห้องนอน ถ้าแกก็ไปเชื่อฟังทีวีมากกว่าเชื่อฟังพ่อแม่ หรือบางทีก็ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ แต่เชื่อฟังเพื่อนมากกว่า มีเรื่องอะไรก็แทนที่จะปรึกษาพ่อแม่ก็ไปปรึกษาเพื่อน มีเพื่อนก็เลยชักจูงไปในทางเสียหายเพราะเพื่อนก็มีประสบการณ์น้อย ที่นี้พ่อแม่ก็ไม่รู้จักวิธีดีที่จะพูดจาเป็นต้น เด็กก็ยิ่งเหินห่าง อันนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ ก็ไม่ได้ประโยชน์จาก กัลยาณมิตร นั้นก็ทำอย่างไรจะให้มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรเองด้วย
พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสย้ำมาก เรื่องคนที่จะทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรนี่ให้มีคุณสมบัติอย่างโน้นอย่างนี้ อย่างชุดที่ก็มี 7 ข้อเหมือนกันนะ กัลยาณมิตรธรรมมี 7 ข้อ อย่างเดียวกลับบุพนิมิตแห่งมรรค พระพุทธเจ้าตรัสไว้แม้แต่เป็นอาจารย์ให้กับกรรมฐาน ก็ต้องเป็นกัลยาณมิตร ปิโย-น่ารัก คะรุ-น่าเคารพ ภาวนีโย-หน้าเจริญใจ หมายความว่าเป็นผู้ที่ควรแก่การภูมิใจของศีษย์หรือของลูก เป็นต้น เป็นตัวอย่างได้ วตา เป็นนักพูด เป็นคนรู้จักพูด วจะมาธรรโมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำพิจารณา สังกตา เป็นผู้รู้จักแถลงเรื่องลึกซึ้ง มีอะไรยากลึกซึ้งก็พูดให้เข้าใจได้ ทำของอยากให้เป็นของง่าย โนจหานิเยโช ไม่ชักนำไปในทางที่เสียหายหรือในเรื่องราวที่มันเป็นไปไม่ได้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างพระพุทธเจ้าจะเน้น เพราะว่าในสังคมมนุษย์นี้อย่างที่พูดกันมาแล้ว คนที่มีโยนิโสมนสิกาเองนี้หาได้ยากเหลือเกิน นั้นมนุษย์โดยทั่วไป โดยเฉลี่ยแล้วต้องอาศัยกัลยาณมิตรนั้นระบบของสังคมนี้ เราจึงต้องเน้นคุณสมบัติข้อกัลยาณมิตรตัตตา ทั้ง ๆ คนอื่นมาทำหน้าที่ช่วยกัลยาณมิตร ทั้งให้เด็กเองนี่พยายามเลือกหากัลยาณมิตรให้ได้ ก็แปลว่าตัวเชื่อมก็อยู่ที่ศรัทธา ศรัทธามาเชื่อมแล้วก็จะทำงานให้ได้ผล แล้วกัลยาณมิตรต้องมีคุณสมบัติดีต้องเป็นผู้พัฒนาดีแล้วทั้งพฤติกรรมจิตใจและปัญญา แล้วพัฒนาความสามารถในการมาสัมพันธ์กับผู้อื่นในการช่วยชักนำเขา
อย่างพระพุทธเจ้าที่เป็นยอดกัลยาณมิตรนี่ เพราะมีทศพลญาณ ทศพลญานนี่มีปัญญาในการที่จะทำหน้าที่ช่วยแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ยกตัวอย่าง เช่น มีความรู้เข้าใจตัวคนที่พระองค์จะไปทรงสั่งสอน มีญานรู้จักบุคคล รู้จักแยกความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น รู้ว่าคนนี้มีหลายแบบหลายประเภท บางครั้งพระองค์อย่างตอนตรัสรู้ใหม่ ๆ ตอนใกล้จะออกไปทรงประกาศพระศาสนานี้ก็ทรงพิจารณาสัตว์โลก มองเห็นเป็นบัว 3 เหล่า แล้วก็ยถามาเพิ่มเป็น 4 เหล่า ในพระไตรปิฎกนั้นมี 3 เหล่านะ บัวมี 3 เหล่า เพราะว่า ยถาท่านก็ไปเพิ่มให้เป็นเหล่าที่ 4 เป็นเหล่าที่ 4 นี่ไม่มีวันได้โผล่พ้นน้ำเป็นภักษาของปลาและเต่า แล้วก็พระพุทธเจ้าก็ตรัสถึงบุคคล 4 ประเภทนี้แหละ เป็นเหตุให้ยถามาขยายเป็นบัว 4 เหล่า บุคคล 4 ประเภทที่ว่ามี อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่รู้เข้าใจเพียงเขายกหัวข้อขึ้นมา พอครูอาจารย์หรือใครพูดหัวข้อเท่านี้คนแบบนี้ปั๊บเข้าใจทันที ไม่ต้องไปขยายความแล้ว คล้าย ๆ เขาพร้อมที่จะเข้าใจอยู่แล้ว แต่มันไม่ทันมานึกถึงเรื่องหัวข้อหรือประเด็นนี้ การยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นเพียงไปจี้จุดให้เขามองเห็นแง่มุมเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นคนพวกนี้นั้นพอเขายกประเด็นขึ้นมาพูดปั๊บนี่เข้าใจทันที 2. วิปะจิตันยู ผู้ที่รู้ต่อเมื่อเขาขยายความยกหัวข้อขึ้นมายังไม่เข้าใจต้องขยายความ แล้วต่อไปก็ นัยยะ ขยายความทีเดียวก็ยังไม่เข้าใจพวกนี้ต้องค่อย ๆ แนะ ค่อย ๆ นำ ต้องหาวิธี ๆ ช่วยต่าง ๆ เราพูดกันทั่วไปว่า เวนัยพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เวนียสัต คือสัตว์ที่พอแนะนำกันได้ โดยเฉพาะก็หมายถึงมนุษย์นี่แหละอย่างที่เคยบอกแล้วว่า คำว่าสัตว์ในพุทธศาสนานี้มุ่งเอามนุษย์เป็นสำคัญ นี้พวกนัยยะก็พวกที่พอจะแนะนำได้ก็ค่อย ๆ ฝึกค่อย ๆ ปรือกันไป ค่อย ๆ หาอุบายวิธีมาแนะนำ จนในที่สุดก็บรรลุผลสำเร็จได้ สุดท้ายก็ ปะทะปะระมะ แปลว่า ผู้ที่มีบทเป็นอย่างยิ่งได้แค่ตัวบท ได้แค่ตัวบทก็อย่างนกแก้วนกขุนทอง ตัวข้อความ ตัวแบบ ตัวหนังสือ ก็ท่องก็ได้ แล้วก็ได้แค่นั้นแหล่ะ ได้แค่อ่านตัวบทเสร็จแล้วก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจความหมาย พวกนี้ก็จะเรียกว่าแย่ที่สุด จะบรรลุธรรมได้ยาก ก็เรียกว่าในชาตินี้ยังไม่ไหว แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้ทิ้ง ก็หมายความว่าจะต้องเอาใจใส่เขา ช่วยเขาอย่างน้อยให้เขาได้พื้นไว้ ให้จำตัวบทได้ก็ยังดี ต่อไปก็มีทางพัฒนาคือไม่หมดหวัง ท่านไม่ให้ทิ้ง ปะทะปะรามะนี่ เดี๋ยวจะนึกว่าโอ้พวกนี้ที่เป็น ภักษาปลาและเต่า เมื่อเป็นอาหารของปลาและเต่า ก็เลยปล่อยทิ้งไปเลย อันนี้ไม่ถูก ท่านให้เอาใจใส่ พยายามอาจจะต้องเหน็ดเหนื่อยหน่อยสำหรับผู้สอน นี่ก็เป็น 4 ประเภท บุคคล 4 ประเภท พระพุทธเจ้าตรัสไว้คนละแห่ง เรื่องบัว 3 เหล่า ตรัสไว้แห่งหนึ่ง เรื่องบุคคล 4 ประเภทนี้ตรัสไว้แห่งหนึ่ง ยถาคงจะเอานัยยะของชุด 4 นี้ ก็เลยไปพูดถึงบัว 3 เหล่า ขยายเพิ่มอันสุดท้าย เป็นเหล่าที่ 4 ขึ้นมา ทีนี้เป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล พระพุทธเจ้าตรัสไว้เยอะ อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยอีกชุดหนึ่ง คือชุดจริต 6 คนเรามีจริตต่าง ๆ กัน แม้แต่เป็นบำเพ็ญกรรมฐานก็ต้องเลือกกรรมฐานให้เหมาะ พระพุทธเจ้าทรงสามารถในการสั่งสอนเพราะทรงทราบความแตกต่างระหว่างบุคคล อันนี้เป็นอันสำคัญอย่างหนึ่งในบรรดาทศพลญาน 10 ข้อ เป็นเรื่องของการรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลเสีย 2 ข้อ 2 ข้อก็อันหนึ่งท่านเรียกว่า นานาทิมุติยา ญานหยั่งรู้คนทั้งหลายซึ่งมีธาตุต่าง ๆ กัน คำว่าธาตุต่าง ๆ นานาทิมุติยาญาน ญานอยากรู้คนที่มี อทิตมุต แตกต่างกันน่ะ อทิตมุต แตกต่างกันหมายความว่า มีแนวโน้ม เช่นความสนใจต่าง ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในระดับการพัฒนาอันเดียวกันก็มีความโน้มเอียงความพอใจสนใจในสิ่งต่าง ๆ กัน อย่างคนหนึ่งเป็นชาวนา ก็อาจจะเป็นคนชาวนาที่มีปัญญา แต่แกก็สนใจไปด้านหนึ่งตามภูมิหลังของแก แต่การจะสนใจเรื่องการปลูกข้าว การไถนา การเรื่องของดิน เรื่องของการปลูกพืชพันธุ์อะไรไป ทีนี้อีกคนหนึ่งเป็นนักปกครอง ก็สนใจในเรื่องของวิธีการบริหารการจัดการอะไรต่าง ๆ ไป บุคคลหนึ่งเป็นพราหมณ์ เป็นนักวิชาการก็สนใจเรื่องหนึ่ง แล้วแต่ละคนแม้แต่ เป็นพราหมด้วยก็ความสนใจไม่เหมือนกัน มีแนวโน้มความคิดไม่เหมือนกัน อันนี้เรียกว่า นานาอทิมุตติญาน ญานหยั่งรู้ อทิมุตติ ต่างกัน นี่ก็สำคัญ จะสอนใครถ้ารู้ อทิมุตติของเขาเป็นยังไงก็จับจุดได้ ก็สอนได้ผล
ที่นี่อีกอย่างหนึ่งคือว่า อินทิรย์ปโรปริยัตตญาน ก็คือญานหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลในแง่ของระดับของการพัฒนาว่ามีอินทรีย์อ่อน อินทรีย์แก่ อินทรีย์อ่อนต้องสอนอย่างหนึ่ง อินทรีย์แก่ต้องสอนอย่างหนึ่ง คนอินทรีย์อ่อนยังไม่พร้อมในเรื่องนี้ก็ต้องไปเตรียมเขา รอเวลาให้เขาพร้อมบ้างหรือว่าไปใช้อุบายวิธีการในการที่บ่มอินทรีย์ พระพุทธเจ้ามีธรรมะที่เรียกว่าบ่มอินทรีย์ เขาอินทรียังไม่พอไม่พร้อมอ่อนไป จะเข้าใจเรื่องนี้ยังไม่ได้ แล้วจะไปรอเขาอยู่ก็ช้า บ่มมันเลย บ่มอินทรีย์ แต่บางกรณีต้องรอ บ่มก็ยังไม่ได้ต้องรอเอาหรืออะไรเอาสถานการณ์บางอย่างให้มันเจอให้ได้รับบทเรียน ก็สุดแต่อันนี้ก็เป็นเรื่องของการทราบความแตกต่างในแง่ของอินทรีย์แก่อ่อน มีศรัทธา มีศีล มีสุตะจาคะ ปัญญาไม่เท่ากัน เป็นต้น การรู้ความยิ่งหย่อนอินทรีย์ระดับการพัฒนาไม่เท่ากันความพร้อมของคนก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการที่จะสอนให้ได้ผลก็ต้องให้เหมาะกับอินทรีย์ของเขา นี่ 2 ญานแล้วใน 10 ญาน ในทศพลญาน พระพุทธเจ้ามีญานรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล อินทรีย์ปริยะตะญาน ก็รู้ในแง่ของความแตกต่างในระดับการพัฒนา เรียกว่าแนวตั้ง ๆ นี่ต่างกันคนไหนอยู่ระดับไหน นานาทิมุติญาน นี่สร้างความแตกต่างของคนในแนวนอน และในแนวนอนก็หมายความว่าระดับเดียวกัน พัฒนามาอยู่ในระดับเดียวกัน แต่ก็ยังต่างกันอีก ต้องทราบทั้ง 2 ด้าน คนทั่วไปนี่จะรู้ 2 อย่างนี่ยาก เพราะฉะนั้นการสอนของพระพุทธเจ้าจึงได้ผลมาก เพราะว่าทรงเข้าใจคนที่ทรงไปเกี่ยวข้องดี ว่าแต่ละคน ๆ เป็นยังไงจะใช้วิธีการสอนยังไงให้เหมาะ นี่เรื่องของกัลยาณมิตรนี่ก็เยอะ
เพราะฉะนั้นครูนี่ก็เป็นผู้ที่ทำงานตามอย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นพระบรมครู ครูทั้งหลายก็มาทำหน้าที่เป็นครูตามอย่างพระองค์ ก็เอาวิธีการของพระพุทธเจ้ามาใช้ อย่างวิธีสอนก็ต้องฉลาดอีกไม่ใช่รู้เฉพาะตัวคนที่ไปสอนยังต้องรู้วิธีสอน วิธีสอนอย่างอริยสัจ 4 อย่างที่เคยพูดไปแล้วน่ะ ก็ทำให้การสอนนี้ได้ผล กัลยาณมิตรก็เลยเป็นเรื่องใหญ่ในสังคม ในหมู่มนุษย์ที่มาอยู่รวมกันนี้ เพื่อจะช่วยให้คนที่เกิดมาโดยเฉพาะคนอนุชนรุ่นหลังเนี่ยได้รับประโยชน์จากวัฒนธรรมอารยธรรม ไม่ต้องไปมัวเริ่มต้นรองผิดรองถูกกันใหม่ คนเรารองเกิดมา คนรุ่นเก่าไม่ถ่ายทอดวัฒนาธรรมไม่สั่งสอนให้ก็เหมือนคนป่า ใช่ไหม ไม่ได้มีผิดกันเลย จะไปรู้อะไรล่ะ ไม่รู้สักอย่าง ทำไม้ขีดก็ทำไม่เป็นใช่ไหม อันนั้นก็อะไรมันก็ไม่ได้ทั้งนั้น
อันนั้นก็เรื่องกัลยาณมิตรเรื่องยิ่งใหญ่อย่างยิ่งในสังคมมนุษย์ ฉะนั้นองค์ประกอบ 7 ข้อ นี้ก็ในแง่ของสังคมมนุษย์ต้องมาเน้นข้อที่ 1 กัลยาณมิตรตตา ที่ว่าคนส่วนใหญ่นั้นจะอาศัยโยนิโสมนสิการนี้ไปหวังได้ยาก ให้เขาเกิดมีขึ้นในตนเองนั้นมีน้อย ก็จะต้องมองในแง่ของคนส่วนใหญ่ ต้องอาศัยผู้อื่นกัลยาณมิตรนี่มาช่วยชักนำชี้แจงก็พัฒนาระบบขึ้นมาว่าทำไงจะให้กัลยาณมิตรทำงานได้ผล ก็สร้างเป็นโรงเรียน สร้างเป็นสถาบัน บางครั้งทำไปทำมา เอ้า ไม่ได้ความอีกแล้ว โรงเรียนนี้สถาบันนี้มันไปแยกเด็กจากชุมชนจากชีวิตจริง พวกนักคิดก็มาบอกไม่ได้ ๆ เลิกเถอะระบบโรงเรียน เอาระบบอยู่กับความเป็นจริงในธรรมชาติ อย่างเรามองถึงการศึกษาในเมืองไทยเรา สมัยก่อนเราก็ไม่มีชั้นเรียน อย่างยุคที่วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษานี่ เด็กก็มาอยู่กับหลวงพ่อกับพระอาจารย์ มาอยู่วัด ๆ ก็เป็นโรงเรียน แต่ว่ามันไม่มีสถานที่ ๆ ชัดเจน ใช่ไหม คือไม่เป็นตัวอาคารที่แยกเด็กออกไปจากชีวิตจริง เด็กก็อยู่ในวัด อยู่ในบรรยากาศของความเป็นอยู่ธรรมดา ไปช่วยหลวงพ่อ ไปประเคนภัตตาหาร ไปบิณฑบาตหลวงพ่อ ถือย่ามตามไป หรือถือบาตรตามไป เวลาหลวงพ่อจะไปไหน ไปธุระเยี่ยมโยม ลูกศิษย์ก็ถือย่ามหรือถืออะไรตามไปด้วย ก็ไปอยู่ในชีวิตจริง หรือญาติโยมมาหาพระ เด็กลูกศิษย์นี้ก็มาอยู่ใกล้ชิดคอยดูแล คอยฝึกหัดวิธีดำเนินชีวิตไป การร่วมสังคมชีวิตฝึกหัดไปในตัว ถึงเวลาเย็นหลวงพ่อก็อาจจะให้สอนเป็นพิเศษรู้วิชาหนังสือ การรู้วิชาหนังสือก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา เดี๋ยวนี้เอาการรู้หนังสือมาเป็นการศึกษาไปเลย ใช่ไหม ฉะนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา ต้องรู้หนังสือไว้นะการอ่านออก อ้าวมานั่งกัน มานั่งกันที่หอสวดมนต์นั่งล้อมกันไป นั่งไปก็สอนกันไป มีอะไรเขียนก็เขียนกันไป มีเรื่องอะไรก็ว่ากันไปเหมือนชีวิตจริง พอเสร็จแล้วค่ำ เดี๋ยวพอเด็กไปทานอาหารกัน บางทีไปทานที่บ้านแล้วก็กลับใหม่ กลับมาพอมืดค่ำสักหน่อย หลวงพ่อนอนเขนงอยู่ตรงหน้ากุฏิ บางที่หอสวดมนต์ เอ้า มานวด ก็มานวด ๆ หลวงพ่อก็เล่านิทานชาดกบ้างอะไรบ้างให้ฟัง ประสบการณ์ของหลวงพ่อที่มีมา เด็กก็ได้รับความรู้ ได้รับเรื่องของคติธรรม เรื่องของข้อแนะนำของหลวงพ่อ เป็นในตัวเป็นชีวิตจริง ฉะนั้นการศึกษาแบบสมัยโบราณเป็นการศึกษาในชีวิตจริง แต่ว่าถ้าจะเอาเป็นวิชาชำนาญพิเศษ นี่ก็จะได้มาน้อย การศึกษาสมัยใหม่จัดเป็นโรงเรียนสถาบันนี่ได้เก่งในแง่ความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน สมัยก่อนก็ต้องอาศัยว่าไปฝากเนื้อฝากตัวกับอาจารย์หรือครูที่สอนวิชาช่างเป็นต้น เป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย ทิศาปาโมกข์ ตักกะศิลา โน่น ผู้ชำนาญพิเศษ อันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา ตอนหลังมันสับสน กลายเป็นว่า การรู้เรื่องวิชาหนังสือ การเรียนศิลปะชำนาญพิเศษนี้เป็นการศึกษา ไปซะ ส่วนตัวการศึกษาที่แท้จริงเลยเลือนหายไป การศึกษาที่แท้จริงก็คือ การฝึกการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ใช่ไหม ที่เราพูดกันไปแล้ว ตั้งแต่ในบ้านในครอบครัว นี่ผู้ใหญ่ทุกคนก็ทำหน้าที่ช่วยเด็กในการพัฒนาตัวเอง ให้เขามีการศึกษา ฉะนั้นชีวิตจริงนี่แหละที่สำคัญมากเป็นการศึกษาที่ถูกต้องตามความหมาย ส่วนเรื่องของการเรียนในโรงเรียน ในสถาบันอะไรต่าง ๆ เป็นการเรียนหนังสือรู้วิชาหนังสือ แล้วก็การฝึกในศิลปวิทยาเฉพาะอย่างที่ชำนาญพิเศษเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษา ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เน้นไปในแง่เฉพาะการหาเลี้ยงชีพด้วยซ้ำ กลายเป็นวิชาการเหล่านั้นเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพ ก็เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตอยู่ในข้อที่เป็นสัมมาอาชีวะ
แม้แต่สัมมาอาชีวะว่าก็ยังทำไม่ค่อยได้เลยน่ะ ก็เป็นสักแต่ว่าให้เป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพก็แล้วกัน แต่ไม่ได้ดูความหมายว่า ไอ้ที่เป็นสัมมาอาชีวะมันคืออย่างไร เป็นอาชีวะที่ว่า
1. ไม่เบียดเบี่ยนก่อความเดือดร้อนเวรภัยแก่เพื่อนมนุษย์ แก่สังคม
2. ยังแก้ปัญหาสร้างสรรชีวิตที่ดีงามและสังคมด้วย
อันนี้จุดสำคัญเลย อาชีพทุกอย่างมีเพื่อแก้ปัญหาของสังคมแก้ปัญหาชีวิต หรือสร้างสรรค์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่อมาก็สัมมาอาชีพก็เป็นแดนของการฝึกฝนพัฒนาตัวเองด้วย อย่างที่ว่านี่ เดี๋ยวนี้สัมมาอาชีพ การเรียนวิชาในแง่อาชีพ ก็ไม่ได้คำนึงในเรื่องเหล่านี้ สักแต่ว่าให้ได้เรียนวิชาไปหาเลี้ยงชีพก็พอแล้ว ฉะนั้นมันก็แคบมากการศึกษาในสมัยปัจจุบันนี้ แล้วก็อย่างที่เคยพูดว่าในเมื่อความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับความมุ่งหมายของชีวิตไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ต้องฝึกฝนพัฒนา จะมีชีวิตที่ดีงามด้วยการฝึกฝนพัฒนา ก็นึกแต่ว่ามนุษย์นี่ก็คือ จะต้องหาผลประโยชน์มาเสพ ต้องได้ผลประโยชน์เยอะ ๆ ใช่ไหม ที่นี้ การศึกษาก็เลยกลายเป็นเครื่องมือพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุขเท่านั้นเอง และการศึกษาไป ๆ มา ๆ มีความหมายอย่างนี้เยอะเลยนะ เดี๋ยวนี้คนไม่น้อยมองแค่นี้ การศึกษาทำไมล่ะ เก่งในการที่จะไปหาเงินหาทองมาซื้อสิ่งของมาบำเรอตัวเองใช่ไหม ก็เรียกว่า การศึกษามีความหมายแค่เป็นว่า เป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพหรือวัตถุบริโภคมาบำเรอความสุขของตนเอง ก็ไม่ได้พัฒนาความสามารถภายใน เช่น ศักยภาพในการที่จะมีความสุข เช่นว่าในการศึกษามันมีความหมายอีกด้านหนึ่งว่า การศึกษาคือการพัฒนาความสามารถที่จะความสุข อันนี้ไม่มี ก็เลยจบกันเลยยิ่งเรียนไปศึกษาไปก็ยิ่งไปเป็นคนขาดความสุข เป็นคนหมดความสามารถในการมีความสุข เป็นคนที่สุขได้ยาก แทนที่จะสุขง่ายขึ้น ปัญหาก็ตามมาหมด เพราะว่ารวมแล้วก็คือว่า การศึกษานี้มันไม่ใช่เป็นการศึกษาที่เกิดจากฐานของความรู้ความเข้าใจความจริงของโลกและชีวิต แล้วก็ไม่เป็นการศึกษาที่พร้อมทุกด้าน เป็นบูรณาการพฤติกรรมจิตใจและปัญญา ไม่เกิดจากความเข้าใจทั้งสิ่งแวดล้อมและตัวธรรมชาติของมนุษย์เอง แล้วก็แยกสวนออกมาเป็นความชำนาญพิเศษ พรากเด็กหรือตัวผู้นักศึกษาออกจากสิ่งแวดล้อมออกจากชีวิตที่เป็นอยู่จริง งั้นก็จะต้องมองหาประโยชน์ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้อง ถ้าไปสุดโต่งก็จะกลายเป็นเออว่า เห็นว่าสิ่งนี้ไม่ดี ก็จะล้มเลิกไปหมด ต้องระวังเหมือนกัน เดี๋ยวว่าระวังน่ะก็ไม่ได้ความแล้ว เดี๋ยวไม่ได้ความบอกว่าโรงเรียนโรงเริงเลิก มหาวิทยาลัยเลิกก็จะไปสุดโต่ง สิ่งเหล่านี้มีแต่รู้ตามเป็นจริงว่า มันมีเพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร โรงเรียนก็ดีสำหรับให้รู้วิชาหนังสือ แล้วก็เพิ่มองค์ประกอบปัจจัยที่ขาดไป มหาวิทยาลัยก็ดี ทำให้ชำนาญพิเศษดีแต่มันไม่บริบูรณ์ต้องเพิ่มการศึกษาด้านอื่น การศึกษาจะได้บริบูรณ์เต็มตามความหมายของมัน อย่าไปจำกัดแค่การเรียนในชั้นเรียนและในมหาวิทยาลัย นี่ก็กิจกรรมของสังคมนี่ก็เป็นเรื่องใหญ่นะ คือระบบกัลยานิมิตรเอง หมายความว่าเรามีหลัก กัลยาณมิตรแล้วทำยังไงให้กัลยาณมิตร นี้เกิดมีเป็นจริงในสังคมก็เลยจัดตั้งระบบกัลยาณมิตรขึ้นมา ฉะนั้นระบบการศึกษากระบวนการศึกษา กิจการการศึกษาของรัฐของสังคมทั้งหมด ก็คือระบบกัลยาณมิตรจัดตั้งนั่นเอง ไม่ใช่อะไรอื่น ถ้าทำได้สำเร็จ ก็คือว่าจะให้กัลยาณมิตรมาทำหน้าที่อย่างได้ผล แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ก็จะต้องมาช่วยกันทำหน้าที่ให้ดี โดยเฉพาะปัจจุบันก็สื่อมวลชนเนี่ยมีอิทธิพลอย่างสำคัญ อย่างที่พูดว่าเข้าไปยึดครองอำนาจ ครอบครองดินแดนของพ่อแม่ในบ้านก็ยังได้ แย่งบทบาทของพ่อแม่ไปทำ แต่ว่าแย่งไปแล้วไม่ได้ทำได้ดี ทำให้เสียใจเสียอีก ก็เลยยิ่งแย่ไปกันใหญ่ เอาล่ะครับ ถึงยังไงก็ตามกัลยาณมิตร ก็ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกยังต้องพึ่งพา ยังต้องอาศัยศรัทธามาเป็นตัวเชื่อม ถ้าศรัทธาไปอยู่ที่มิตรอันไหน เด็กก็จะไหลไปตามมิตรนั้น เช่นอย่างปัจจุบันนี้เด็กมีศรัทธาต่อทีวีมาก เพราะฉะนั้นอิทธิพลทีวีก็จะเต็มที่เลย เด็กศรัทธาต่อพ่อแม่ครูครูอาจารย์น้อยลงปัจจุบันก็เลยไปเชื่อฟังทีวีมากกว่า เพราะฉะนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์จะต้องสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้น เพื่อให้กระแสในการที่จะได้รับอิทธิพลจากกัลยาณมิตรนั้น มันมีกำลังเพียงพอไม่เช่นนั้นแล้วเด็กก็จะออกไปนอกลู่นอกทาง ไปศรัทธาทีวี ไปศรัทธาเพื่อนซะ ไปศรัทธาเพื่อนดีไม่ดีก็ไปยาเสพติดไปเลย ถ้าเพื่อนไม่ดี รวมแล้วก็คือยังเป็นระบบพึ่งปัจจัยภายนอก ตราบใดที่ยังต้องอาศัยกัลยาณมิตรเด็กก็ยังต้องพึ่งตัวเองไม่ได้จริง และจะยังไว้ใจเต็มที่ไม่ได้ ฉะนั้นก็ต้องไปเอาข้อสุดท้ายมา ถ้าเมื่อไรเด็กได้มีโยนิโสมนสิกาในตัวเองคิดเองเป็นคราวนี้ก็ได้ความแล้วพึ่งตัวเองได้ ฉะนั้นจุดหมายของเราจึงอยู่ที่ข้อโยนิโสมนสิกา เพราะเป็นปัจจัยภายใน ซึ่งจะทำให้เด็กนี้สามารถ หาความรู้ หาความจริงจากสิ่งทั้งหลายได้ แล้วหาประโยชน์เอาประโยชน์ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าใครทำได้อย่างนี้ก็พึ่งตนเองได้เป็นอิสระ นี่คือจุดหมาย พอมีโยนิโสมนสิกาก็พึ่งตนเองได้ มีแนวความคิดมีปัญญา พัฒนาตัวเองได้อย่างแท้จริง ก็ปลอดภัย พ่อแม่ครูอาจารย์ก็พอใจมั่นใจต่อเด็ก ต่อลูกศิษย์ได้เลย นี่ก็เป็นเรื่องของระบบของบุพนิมิตแห่งมรรค ก็มี 7 ข้อ
(1)
คนฟังถาม: โยนิโสมนสิกา นี้น่าจะสำคัญที่สุดใช่ไหม
พระตอบ: สำคัญที่สุดซิครับ เป็นปัจจัยภายใน ที่ทำให้พึ่งตนเองได้เป็นอิสระ ถ้าตราบใดยังต้องอาศัยกัลยาณมิตรมันก็ต้องพึ่งพา ยังไว้ใจไม่ได้ เพราะเด็กมันยังไม่สามารถที่จะคิดได้ด้วยตนเอง ไม่สามารถเดินเข้าสู่ทางที่ถูกต้องได้ด้วยตนเองแท้จริง ยังต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นกัลยาณมิตรมาช่วย
(2)
คนฟังถาม: งั้นข้อนี้ก็กัลยาณมิตรกลับอยู่ในตัวได้ โยนิโสมนสิการสูงก็อาจจะพึ่งกัลยาณมิตรน้อย
พระตอบ: ก็ใช่สิครับ พึ่งกัลยาณมิตรน้อย ทีนี้ ถ้าคนทั่วไปเพราะเราจะไปหวังโยนิโสมนสิกาจากคนทั่วไปนี้ยากใช่ไหม คนโดยมากจะต้องอาศัยกัลยาณมิตร อ้อแล้วเลยมาประสานกันก็ด้วยวิธีที่เคยพูดไปแล้ว เพื่อให้ 2 ตัวนี้มาช่วยกัน ก็กัลยาณมิตรก็พยายามจัดสิ่งแวดล้อม ระบบข่าวสารข้อมูลอะไรต่าง ๆ ให้เด็กเจอสิ่งที่ดีที่สุดใช่ไหม ถ้าว่าเราจัดวินัยขึ้นมา วินัยมันก็คือการที่ว่าจะให้กัลยาณมิตรนี้ทำงานได้ผล หมายความ ความหมายหนึ่งของมัน จัดระบบสังคม เพื่อจะให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างมนุษย์ คนรุ่นผู้ใหญ่พ่อแม่ครูอาจารย์ก็จะได้ทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้เต็มที่ การทำหน้าที่กัลยาณมิตรในแง่วินัยก็เช่นว่า ตัดโอกาสที่จะทำให้เด็กถูกชักจูงไปในทางที่เสียออก วินัยนี้มันมีทั้งแง่ที่ว่ากั้นปิดโอกาสที่จะทำให้ชักนำไปทางที่เสียหาย ในทางลบนี่ตัดออก แล้วก็ส่งเสริมโอกาสในการที่จะพัฒนา ในการที่จะได้สิ่งที่ดีงามใช่ไหม วินัยนี่เราพยายามจัดสิ่งที่ดีให้แก่เด็ก ฉะนั้นกัลยาณมิตรนี่ก็จะมาเป็นแง่ในการที่ว่า ตั้งใจจัดสรรสภาพแวดล้อม เช่น ข่าวสารข้อมูลที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก นี่เป็นคติของฝ่าย กัลยาณมิตร ว่าจะจัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็กแล้ว เสร็จแล้วฝ่ายโยนิโสมนสิการก็กลายเป็นตรงข้าม พัฒนาในตัวเด็กให้สามารถหาความรู้ความจริงและประโยชน์ได้จากสิ่งที่เรวที่สุด จากสิ่งแวดล้อมอะไรต่าง ๆ ที่เรวที่สุดไม่ได้เรื่องเนี่ย ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการก็หาประโยชน์หาความจริงได้ ถ้ามิฉะนั้นแล้วมหาบุรุษไม่เกิดหรอก เพราะมหาบุรุษนี้โดยมากเกิดในยุคที่มันแย่ ใช่ไหม พระพุทธเจ้าเขามีทุกข์มีความเดือดร้อนมาก กลับสามารถที่จะหาคติ หาความรู้ หาความจริง หาความดีงามจากสภาพเช่นนั้น แล้วมาช่วยคนอื่น นั้น 2 อันนี้ จึงมาบรรจบประสานกันในแง่ที่ว่ากัลยาณมิตรจัดสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก โยนิโสมนสิการพัฒนาในตัวเด็ก ให้หาความรู้ความจริงและประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุด กลับกัน ถ้าได้ 2 อันนี้สบายเลย นี่จะเอาอย่างเดียวก็ไม่ได้ ไปนึกแต่คติที่ว่าจัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก โถ่เด็กมันจะไปเจอสิ่งที่ดีที่สุดมันอยู่กับเราตลอดเวลาเมื่อไหร่ อยู่กับพ่อแม่อยู่กับครูบาอาจารย์ตลอดเมื่อไหร่ ใช่ไหม เดี๋ยวมันก็ออกไป มันก็ไปเจอสิ่งที่ชั่วที่ร้ายแล้วไว้ใจได้เหรอเด็กพึ่งตัวเองไม่ได้ อันนั้นก็ต้องพัฒนาในตัวเด็กให้เอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวที่สุดด้วย ถ้าได้อย่างนั้นก็สบายไปเลย นี้เดี๋ยวนี้มีคติไปใช้ถึงคำว่าสิทธิ เด็กมีสิทธิที่จะได้สิ่งที่ดีที่สุดจากสังคม อันนี้ก็เป็นเรื่องสมมุติ ของมนุษย์คือพยายามที่จะสร้างความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกรับผิดชอบของสังคมของผู้ใหญ่ ที่จะให้สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก อันนี้ก็เป็นคติกันไป เป็นเรื่องของความพยายามของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สังคม แต่ว่าต้องรู้ความจริงว่าที่จริงมันไม่ได้มีสิทธิ์มีเสิดอะไร นะครับ เรื่องสิทธิ มันเป็นเรื่องสมมุติทั้งสิ้นในคติของธรรมชาติมันไม่มีสิทธิอะไรหรอก เดี๋ยวนี้เราก็พูดว่า คนทุกคนมีสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน ถูกไหม อันนี้เป็นกฎหมาย เป็นข้อสมมติของมนุษย์ ลองไปอ้างกับเสือสิ เข้าป่าไป เจอเสือ ข้ามีสิทธิ์ในชีวิตของข้า แกไม่มีสิทธิ์จะมากินข้า เอาอย่างนั้นใช่ไหม เสือไม่ฟัง ฉะนั้นจะไปอ้างสิทธิ์ อ้างสิทธิ์อะไรก็ตามที่ดินที่เดิน ไฟป่าน้ำท่วมไม่ฟังทั้งนั้น ไอันี่ที่ดินของข้า ที่ดินแปลงนี้ฉันมีสิทธิ์ ฉันเป็นเจ้าของ แกจะมายุ่ง น้ำป่ามาโครมครามหมดต้นไม้ ไม่ฟังทั้งนั้นใช่ไหม สิทธิโดยธรรมชาติไม่เกี่ยวกัน สิทธเป็นเรื่องของมนุษย์ผู้เจริญแล้ว มาบัญญัติกันเพื่อสังคมอยู่ด้วยดี เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ เป็นเครื่องหมายของอริยธรรม ฉะนั้นพุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญแก่สมมุติ สมมุตินี่เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ น่ะครับ ไม่ใช่สิ่งเหลวไหล แต่ว่ารู้ด้วยว่ามันไม่ได้จริงตามธรรมชาติแท้ แต่ว่าถ้ามนุษย์ไม่มีความสามารถในสมมุติในอารยธรรมไม่เกิด สมมุตินี้เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ทำให้เกิดอารยธรรม สัตว์ชนิดอื่นมันรู้จักสมมติเมื่อไหร่ ใช่ไหมมันไม่รู้จัก มันก็อยู่ไปตามธรรมชาติพื้นฐานอย่างนั้น แต่มนุษย์นี่มีความสามารถสมมุติ ตั้งวินัยซึ่งเป็นสมมติอันใหญ่ที่สุดขึ้นมา ทำให้มีระบบระเบียบการในสังคมมนุษย์ ทำให้อารยธรรมเกิดขึ้นเจริญงอกงาม นั้นสมมตินี่แหละเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์เป็นความสามารถสร้างสรรค์อารยธรรม แต่ก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้มนุษย์พลาด พอมนุษย์สร้างสมมุติขึ้นมาด้วยความสามารถพิเศษของตัวเองขึ้นมา เกิดติดหลงสมมุติแปลกแยกจากความจริงในธรรมชาติอีก จบกันตรงนี้เลย เพราะหลงสมมติ ก็เป็นอันว่าเข้าไม่ถึงความจริงของธรรมชาติ ตอนนี้ก็คือความพินาศของมนุษย์ แต่ถ้าตราบใดที่มนุษย์นี่ ฐานยังอยู่ ก็คือเข้าถึงความจริงของธรรมชาติพร้อมกันนั้นใช้ความสามารถนั้นมาสร้างสมมติให้สอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติด้วยความรู้เท่าทัน เข้าใจเหตุผลในการสมมุติของตนเองแล้วอยู่ได้อย่างดี อยู่อย่างรู้ทันสมมุติ ไม่หลงสมมุติ ไม่เป็นทาสของสมมุติ เข้าถึงธรรมะคือตัวความจริงแท้ในธรรมชาติตลอดเวลา ชีวิตสังคมก็อยู่ได้ด้วยดี ปัญหาของอารยธรรมปัจจุบันของมนุษย์ก็คือว่าพอมีความสามารถพิเศษสมมุติ สมมุติเลยไม่โยงกับความจริงของธรรมชาติ แล้วหลงติดสมมุติ พาหายนะเข้ามา อย่างที่ต้องพูดว่าปัจจุบันกำลังเป็นอย่างนั้น มนุษย์นี่แม้แต่แค่ทำงานทำการก็ติดอยู่ในแค่สมมุติแล้ว ไม่สามารถโยงระบบการทำงานของตนเองในอาชีพ ไม่เข้าถึงความจริงแท้ในธรรมชาติได้ อย่างที่ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เช่นว่า กฎธรรมชาติว่า ทำสวนปลูกต้นไม้ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม นี่กฎธรรมชาติใช่ไหม กฎมนุษย์นี่สมมติซ้อนขึ้นมา บอกว่า ทำสวน 1 เดือนได้เงินเดือน 5,000 บาท ใช่ไหม นี่กฎมนุษย์ การทำสวนเป็นเหตุการณ์ได้เงินเดือน 5,000 บาท เป็นผล นี่เป็นกฎมนุษย์สมมติ แล้วก็การทำสวนเป็นเหตุต้นไม้เจริญงอกงาม เป็นผลนี่เป็นกฎธรรมชาติ 2 อันนี้ซ้อนกันอยู่ เราตั้งกฎสมมุติขึ้นมาว่าให้ ทำสวน 1 เดือนได้เงินเดือน 5,000 บาทเพราะอะไร เพราะเรารู้ความจริงของธรรมชาติว่า ทำสวนแล้วต้นไม้เจริญงอกงาม ไอ้สิ่งที่เราต้องการคือ ต้นไม้เจริญงอกงาม ถูกไหมครับ พอเราต้องการต้นไม้เจริญงอกงาม เราก็ต้องทำสวน แต่นี่มนุษย์ฉลาด เพื่อที่ให้การทำสวนนี้เป็นจริงเป็นจัง มีคนทำหน้าที่ มีการแบ่งงานกันทำ แล้วก็เขาไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ เขาได้ตั้งใจทำงานทำสวนเต็มที่ เราก็เลยตั้งกฎสมมุติของมนุษย์ซ้อนขึ้นมาว่า ทำสวน 1 เดือน ได้เงินเดือน 5,000 บาท แกไม่ต้องห่วงเรื่องทำมาหากินแล้ว แกตั้งใจทำสวนไป ก็เลยกฎมนุษย์นี่เป็นกฎสมมุติขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่ต้องการผลตามกฎของธรรมชาติ กฎมนุษย์ก็ไปเสริมกฎธรรมชาติทำให้เราได้ผลตามที่ต้องการ ตามกฎธรรมชาติใช่ไหม นี่คือถ้าหากมันเป็นไปตามนี้ ผลที่ต้องการก็เกิดขึ้น นี่คืออารยธรรมของมนุษย์ที่สามารถสร้างกฎสมมุติ มีระบบการทำงานเป็นวินัยทำให้คนนี่ทำงานทำสวน 1 เดือนได้เงินเดือน 5,000 บาท นี่เป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ แต่ว่าต้องโยงไปถึงความจริงของธรรมชาติ ก็คือว่า แกจะได้หายห่วงกังวลเรื่องการหาเงินหาทองมาเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว แกได้ตั้งใจทำสวนแต่คนที่ทำสวนนั้นจะต้องมีใจที่มุ่งผลตามกฎธรรมชาติคือ ทำสวนด้วยอยากให้ได้ต้นไม้เจริญงอกงาม รักเหตุผลตามกฎธรรมชาติ ต้องการผลตามกฎธรรมชาติ ตราบใดที่คนทำสวน ยังรักต้องการผลที่เป็นจริงตามกฎธรรมชาติคือ อยากให้ต้นไม้เจริญงอกงามทำสวนด้วยความต้องการนั้นอยู่ แล้วกฎสมมุตินี้ก็จะหนุนให้เขาทำงานได้ผลจริงตามที่เราต้องการก็คือ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม แต่ถ้าเมื่อไหร่คนสวนมาหลงสมมุติ ก็คือว่าไม่ได้นึกถึงแล้วเรื่องว่าทำสวนนั้นทำให้ต้นไม้เจริญงอกงาม เอาแต่เพียงว่าทำสวนแล้วเป็นเหตุ และได้เงินเดือน 5,000 บาทเป็นผล ทำสวนเพื่อให้ได้เงินเดือน 5,000 บาทอย่างเดียว ก็หลงสมมุติ พอหลงสมมติ ปั๊บ ตัดขาดแปลกแยกกับความจริงของธรรมชาติ ไม่ต้องการต้นไม้เจริญงอกงาม ทำสวนด้วยความจำใจแล้ว โอ้ ตัวฉันต้องการเงินเดือน 5,000 บาททำสวนเป็นเหตุ เงินเดือน 5,000 บาทเป็นผล ต้องการอยู่แค่นี้ ใจไม่นึกถึงเลย เรื่องต้นไม้เจริญงอกงาม ตัวเองใจไม่เป็นสุขแล้ว เพราะใจอยู่ที่ผลสมมติคือเงินเดือน 5,000 บาท ดังนั้นการทำสวนกลายเป็นความทุกข์ทรมาน จำใจทำ ทำไม่ตั้งใจทำ ไม่เต็มใจ ทำมีความทุกข์ ไม่ตั้งใจทำงานไม่ได้ผลอีกเสียหมดอีกหมดเลย ฉะนั้นเมื่อมนุษย์เจริญด้วยอารยธรรม สร้างสมมุติขึ้นมาแล้วกลับหลงสมมติเสีย ฉะนั้นก็คือความพินาศของมนุษย์เองที่แปลกแยกจากความจริงของกฎธรรมชาติ ก็ตัดขาดจากตัวธรรมะ ใช่ไหมครับ เหลืออยู่แต่วินัย ๆ นั้นขาดความหมาย วินัยนั้นก็คือสมมุตินั้นขาดความหมายไปแล้ว ทำสวน 1 เดือนได้เงินเดือน 5,000 บาท เป็นวินัย กฎสมมติของมนุษย์แล้วไม่มีความหมายโยงไปถึงธรรมะ ที่เป็นผลตามกฎธรรมชาติ ก็คือมนุษย์นั้นอยู่อย่างเรียกว่า แปลกแยกจากธรรมชาติ ขาดความสุขที่ควรจะมีโดยธรรมชาติไปเสีย แล้วทำให้ระบบสังคมนั้น แปรปรวนวิปลาสก็เสื่อม เพราะฉะนั้น จุดนี้ตอนนี้อารยธรรมมนุษย์กำลังถึงจุดนี้เป็นไปทั่วหมดเลย ก็ถ้ายังขืนอยู่ในภาวะนี้ ก็บอกได้เลยว่ากำลังจะไปสู่ความพินาศ นอกจากจะกลับตัวได้
(3)
คนฟังถาม: ลักษณะความไปสู่ความพินาศ อีกความประสงค์อีกอย่างคือธรรมชาติใช่ไหมครับ
พระตอบ : มันเรื่องธรรมชาติมันไม่มีอะไร ธรรมชาติมันไม่มีเสียหายอะไรหรอก ธรรมชาติไม่มีเสื่อมไม่มีเจริญ เราบอกว่าธรรมชาติเสื่อมโทรม มันไม่ได้เสื่อมได้โทรม มันก็เป็นไปตามของเหตุปัจจัยใช่ไหม มันเป็นความเสื่อมโทรมในสายตาของมนุษย์ อะไรที่มันไม่เกื้อหนุนต่อมนุษย์ เราไม่ชอบใจมันเราก็บอกว่าเสื่อม อะไรที่เราชอบเราก็บอกว่าเจริญ ต้องให้คำจำกัดความเรื่องของมนุษย์ นี่ต้นไม้มันจะหมด มันจะแห้ง มันก็เป็นเรื่องของธรรมชาติใช่ไหม มันก็เป็นภาวะตามเหตุปัจจัย ก็เป็นไปของมัน จนกระทั่งโลกนี้ลุกเป็นไฟทั้งโลก มันก็เป็นธรรมชาติอยู่นั่นแหละ ก็ไม่ได้เป็นอะไร มีอะไรอีกไหมครับ
เดี๋ยวก็ว่าออกนอกเรื่องไปบุพนิมิตแห่งมรรคแล้ว แต่มันโยงกันไปหมดนะ ตกลงว่า ตัวสำคัญ 7 อย่างนี้แหละ เป็นตัวนำเข้าสู่มรรค ซึ่งจะต้องมาเน้น อย่าไปลืม อย่าไปมองข้ามมัน แล้วในบรรดา 7 ประการนี้ ตัวแรก กัลยาณมิตร นี่สำคัญในสังคมมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ที่จะให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ก็จะต้องเน้น ทำไงจะสร้างระบบกัลยาณมิตรให้ได้ มันหมายถึงทั้งสังคม น่ะครับ ไม่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง มันหมายถึงตั้งแต่ผู้ปกครองประเทศนี้แหละ ถ้าได้กัลยาณมิตรมาก็สบายไปเยอะเลย ทำอย่างไรให้เราได้ผู้ปกครองประเทศที่เป็นกัลยาณมิตร ใช่ไหม มีคุณสมบัติเหมือน กัลยาณมิตร มีความเข้าใจหมู่มนุษย์ที่เขามาปกครอง แต่ว่าท้ายที่สุด ก็ในตัวแต่ละคน ในขณะที่แม้สังคม ไม่มีกัลยาณมิตรเลย ไอ้เจ้าโยนิโสมนสิกา มีในตัวใครคนนั้นก็ไปรอด คนนั้นสามารถจะบรรลุธรรมได้ แม้แต่ในท่ามกลางของความเสื่อมโทรมความวิบัติต่าง ๆ บางทีตอนวิบัตินั่นแหละ เขากลับได้ประโยชน์ซะอีก อย่างคนที่จะตายบางทีบรรลุธรรมตอนตายเลยใช่ไหม หาประโยชน์ได้จากความตาย ก็บอกแล้วว่าโยนิโสมนสิกา ทำให้มนุษย์สามารถพลิกกลับสิ่งที่ว่าร้ายให้กลายเป็นดี หาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เลวทรามที่สุด มีอะไรสงสัยอีกไหมครับ หลวงลุงหัวเราะอะไร
(4)
หลวงลุงถาม: ยากจัง ที่ยากเพราะไม่ช่วยกัน ไอ้อย่างกัลยาณมิตรนี่ เดี๋ยวนี้ก็หาไม่ค่อยมี ถ้าถึงมีก็ไม่ค่อยไปหากัลยาณมิตรกัน ใช่ไหมครับ เพราะมันไม่ได้เงิน
พระตอบ: ก็มาติดที่สมมต
(5)
หลวงลุงถาม: นั่นสิครับ ยากมันยุ่งเกี่ยวไปหมด
พระตอบ: ก็เราไม่ได้พัฒนาคนในแนวทางที่มันถูกต้องนี่ เพราะว่าเราไปพัฒนาการศึกษาว่าคือ การพัฒนาความสามารถหาสิ่งเสพบำเรอความสุขของตน ใช่ไหม ที่นี่ก็แค่จุดนี้ก็ไปแล้ว มันก็เรรวนหมดเลย ตั้งจิตผิด แล้วทิฐิผิดเลย มันทิฐิสัมปทาไม่ได้เลยข้อ 5 ก็หายไปเลย เรียนคืออะไร เรียนคือเพื่อหาเงินได้เก่งว่างั้น ใช่ไหม การศึกษาผิดความหมาย ทิฐิมันผิด
(6)
คนฟังถาม: ระหว่างการตั้งเจตนากับการมีทิฐิ อะไรควรจะต้องมาก่อนมาหลัง
พระตอบ: ทิฐิมันเป็นตัวทำให้ตั้งเจตนา มันเห็นอย่างไรมันเข้าใจ ก็ตั้งเจตนาตามนั้น ใช่ไหม เหมือนอย่างในข้อ กลับไปที่มรรค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาทิฏฐิมีความเห็นเข้าใจอย่างไร ยึดถือเชื่ออย่างไร สัมมาสังกัปปดำริคิดการไปตามนั้น ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็มิจฉาสังกัปปะ