แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันต่อ ได้พูดในเรื่องบุพนิมิตแห่งมรรคมาได้ 2 ข้อ คือข้อกัลยาณมิตรตัตตา ความมีกัลยาณมิตรกับข้อศีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล บอกแล้วว่าเริ่มต้นด้วยข้อที่ 1 ก็อยู่นอกสุดเลยคือ การที่สามารถเอาประโยชน์หรือได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ ก็คือที่เราเรียกว่ากัลยาณมิตร
ต่อมาก็ที่ 2 ก็คือเรื่องศีล ได้แก่ การตั้งอยู่ในวินัยเป็นเรื่องที่มาอยู่ที่ตัวเองที่ว่าจะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เอื้อต่อกันหรือเป็นประโยชน์ต่อกัน ทำให้เกิดโอกาสในการที่จะพัฒนาชีวิตยิ่งขึ้นไป สามารถจัดสรรชีวิตของตนเองให้เป็นระเบียบได้ โดยมีความเข้าใจในความมุ่งหมายก็จะทำให้ชีวิตของตนเองนี่สามารถใช้เวลา เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์ได้มากเท่านั้น แล้วก็ทำให้ไม่เกิดความติดขัดไม่เกิดอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมที่ตัวเข้าไปเกี่ยวข้องหรือต้องอาศัย
นี่ต่อไปก็จะมาขัอที่ 3 เข้ามาข้างในตัวเองแล้วทีนี้เรียกว่า ฉันนะสัมปทาน ถึงพร้อมด้วยฉันทะ อันนี้เป็นเรื่องของแรงจะเรียกว่าเป็นแรงผลักดัน หรือแรงขับเคลื่อนในตัวเองที่จะทำให้เดินหน้าไป คนเราไม่มีแรงเสียอย่างก็ทำอะไรก็ไม่ได้ผล หรือก็จะไม่ทำอะไรนั่นแหละ เพราะว่าแรงนี่ทำให้เรามีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว นี่ฉันทะอธิบายมามากแล้วน่ะ เพราะว่าตอนก่อนนี้เราพูดกันมาถึงเรื่องตัณหา แล้วตัณหาก็เป็นคู่ตรงข้ามกับฉันทะ ตัณหาเป็นฝ่ายอกุศล คือความอยากความปรารถนาในการที่จะเสพหาความสุขบำรุงบำเรอตาหูจมูกลิ้นกายใจของตัว แล้วก็เป็นเรื่องของการสนองตัวตนอยากให้ตัวตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตัณหานั้นก็เป็นความอยากฝ่ายอกุศล แต่ว่าความอยากจำเป็นจะต้องมี ถ้าคนเราไม่มีความอยากนี่มันก็ไม่ทำอะไรเท่านั้น ความอยากนี่เป็นตัวแรง ความปรารถนา ความอยาก ความต้องการก็จะใช้คำไหนก็แล้วแต่ นี้ก็ย้ำที่ว่าพุทธศาสนิกาชนนี่มักจะเข้าใจผิดเป็นว่าความอยากเป็นสิ่งที่ไม่ดีจะต้องละต้องกำจัด ต้องงด ต้องลด อันนั้นเป็นความอยากฝ่ายอกุศลที่เรียกว่าตัณหา นี่ความอยากมันมีอีกอย่างคือความอยากที่เป็นกุศล ได้แก่ฉันทะนี่ในขณะที่ตัณหานั้นเป็นความอยากเสพ อยากสนองความต้องการของตัวตนต่าง ๆ เป็นเรื่องของฝ่ายที่เนื่องกับอวิชชา คือความไม่รู้ อาศัยวิชาเป็นตัวเอื้อ ทีนี้ฉันทะเป็นความอยากฝ่ายดี ฝ่ายกุศลนี้อาศัยปัญญาต้องพัฒนาไปกับปัญญา เรื่องนี้ได้อธิบายมามากมายแล้วน่ะ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องมาอธิบายกันละเอียดอีก ก็เป็นเพียงมาทบทวนเท่านั้นเอง
ทีนี้ฉันทะเป็นความอยากความเป็นใฝ่ดี มันก็จะมีที่เราแยกกันไว้น่ะ เอาว่าเราค่อยเทียบกันกับเรื่องฝ่ายตัณหา ตัณหานี่ฝ่ายเสพปรนเปรอตาหูจมูกลิ้นกายในสิ่งที่ชอบใจทำให้เกิดสุขเวทนา ทีนี้ฝ่ายฉันทะนี้ก็ใฝ่รู้ ใฝ่อยากจะรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย แล้วก็ใฝ่ที่จะทำ ใฝ่ดีนั่นเอง ใฝ่รู้และใฝ่ดี เพราะว่าคนเรานี้มีชีวิตอยู่นี่จะมีชีวิตได้ดีนี้ต้องมีปัญญารู้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เคยอธิบายกันมาแล้ว ถ้าเราไม่รู้ก็ทำอะไรไม่ถูก การรู้คือการรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ การที่อยากรู้ใฝ่รู้นี้เป็นฝ่ายฉันทะ จะเห็นว่ามันไม่เหมือนกันเลยกับฝ่ายเสพบำรุงบำเรอตา แล้วเราก็เคยพูดกันในแง่ของการใช้ตาหูจมูกลิ้น นี่แหละ เจ้าความอยากอันนี้จะแสดงให้เห็นชัดในตอนที่ใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย ใช้ตาฝ่ายตัณหามันก็ใช้ตาเพื่อเสพ เพื่อจะดูสิ่งที่ชอบทำให้สบาย สบายตา สบายหู บำรุงบำเรอปรนเปรอตาหูจมูกลิ้น อันนี้เป็นเรื่องของการเสพ ทีนี้ตาหูของเรานี้มันไม่ได้ใช้งานเฉพาะเสพหาความสุข แต่ว่ามันอีกด้านหนึ่งก็คือมันใช้ในแง่ความรู้ ไอ้ด้านเสพนั้นเป็นด้านความรู้สึก รู้สึกสบาย ก็อยากจะดู รู้สึกไม่สบายก็ไม่ชอบใจก็อยากจะหนี ทีนี้อีกด้านหนึ่งเราก็ใช้ตาหูจมูกลิ้นเพื่อความรู้ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และตอนนี้มันจำเป็นถ้าเราจะมีชีวิตที่ดีได้ ปลอดภัยได้ มีความเจริญงอกงามได้ก็ต้องรู้ เพราะฉะนั้นใช้ตาดูหูฟังเพื่อรู้ ก็จะมาทางฉันทะ ทีนี้พอเราใช้เพื่อรู้ ต่อไปพอเรามีการที่ได้ประสพการณ์ได้รู้ขึ้นมาเราก็อยากรู้ยิ่งขึ้น มันก็เกิดความพัฒนาความอยากรู้หรือใฝ่รู้นี้ขึ้นมา เอาความใฝ่รู้เกิดขึ้นมาได้สนองความต้องการใฝ่รู้ก็มีความสุขจากการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความสุขชนิดใหม่ แต่ก่อนนี้ต้องมีความสุขจากการเสพ บำเรอตาหูจมูกลิ้นได้เสพแล้วก็มีความสุข แล้วก็สุขนั้นต้องขึ้นต่อสิ่งที่ชอบใจ ถ้าเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ทุกข์ นี่เป็นด้านตัณหาฝ่ายเสพ ทีนี้พอเป็นด้านใฝ่รู้สนองความต้องการในการรู้ การรู้นั้นไม่เกี่ยวกับความชอบใจไม่ชอบใจ เพราะว่าสิ่งใดก็ตามที่เราเจอเป็นประสพการณ์เรียนรู้ได้ทั้งนั้น สิ่งที่ชอบใจก็ได้เรียนรู้ สิ่งไม่ชอบใจก็ได้เรียนรู้ ได้ความรู้ทั้งหมด เมื่อได้ความรู้ตัวเองอยากจะรู้นี่ก็เลยหาความสุขได้ ทั้งจากสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อันนี้ก็เป็นเรื่องของการพัฒนาในแง่ความสุขไปด้วย ฉะนั้น ในเมื่อความอยากเข้ามาก็มีเรื่องความสุขเข้ามาด้วย ความอยากใฝ่ตัณหาใฝ่เสพก็สุขจากสิ่งที่ชอบใจ ทุกข์จากสิ่งไม่ชอบใจ ฝ่ายฉันทะก็ได้สุขจากการเรียนรู้ ซึ่งไม่ขึ้นต่อชอบใจไม่ชอบใจ สิ่งชอบใจไม่ชอบใจได้เรียนรู้ก็สุขทั้งนั้น เพราะได้ความรู้ นี้พอเรียนรู้แล้วมันก็จะมีความพัฒนาอีกก็คือว่า เมื่อเรารู้เราจะรู้จักแยกแยะสิ่งต่าง ๆ มันไม่อยู่แค่เสพ ถ้าเสพมันก็เลยเพลินไปงั้นเอง มันไม่ได้เรียนรู้ นี้พอเราใช้ตาดูหูฟัง เป็นต้น เรียนรู้นี่พอเรารู้ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เราก็แยกได้ว่า เอ้อ สิ่งนี้อยู่ในภาวะนี้ มันดีหรือหรือไม่ดี จะเกิดการก้าวไปอีกขึ้นหนึ่ง ก็คือ การแยกระหว่างภาวะที่ดีและไม่ดี ภาวะที่ควรจะเป็นหรือไม่ควรจะเป็น ภาวะที่บกพร่องหรือสมบูรณ์ ตอนนี้สิ่งที่เรารู้มันก็จะมีภาวะอย่างนี้ สิ่งที่รู้ประเภทเดียวกัน อันหนึ่งอยู่ในภาวะที่มันไม่ดีไม่น่าจะเป็น อีกอันหนึ่งอยู่ในภาวะที่ดีที่น่าจะเป็น อันหนึ่งอยู่ในภาวะบกพร่อง อันหนึ่งอยู่ในภาวะที่สมบูรณ์ เราเห็นพรมปูนี่ มี 2 ผืน เราก็เอ้อผืนนี้มันสะอาดเรียบร้อยดีเนี่ย มันสมบูรณ์ภาวะนี้เรียบร้อยดี เห็นพรหมอีกผืนหนึ่งมันสกปรกกระดำกระด่างเปื้อน เราก็รู้เลยว่า อันนี้ไม่ดีไม่ควรจะเป็น ไอ้ความรู้นี้แยกได้ระหว่างความดีและความไม่ดี ความสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ความควรจะเป็นหรือไม่ควรจะเป็น ที่นี้พอเรารู้แล้วว่ามันควรจะเป็นอย่างนี้ มันก็เกิดความอยากขึ้นมาว่า มันควรจะเป็นอย่างนี้อยากให้มันเป็นอย่างนี้ พออยากให้มันเป็นอย่างนี้ อยากให้มันดีนั่นเอง อยากให้มันสมบูรณ์ก็เกิดความอยากชนิดใหม่เรียกว่า อยากให้มันดี หรืออยากดีใฝ่ดี เพราะฉะนั้นความใฝ่รู้ก็นำไปสู่ความใฝ่ดี ใฝ่ดีอยากให้มันดีอยากให้เป็นอย่างนั้น อันนี้ทำยังไงล่ะ ทำไงมันจึงจะเป็นอย่างที่มันควรจะเป็น ทำไงมันจึงจะดี ทำอย่างไรจะสมบูรณ์ ไอ้ความอยากที่จะให้มันดีให้มันสมบูรณ์ มันจะนำไปสู่การอยากทำให้มันดี อยากทำให้มันสมบูรณ์ ก็เกิดความอยากทำขึ้นมา อยากทำให้มันดี นี้ก็ใช้ศัพท์ให้มันเพราะ เรียกว่าอยากสร้างสรรค์ อยากสร้างสรรค์ก็คืออยากทำให้มันดีนะ ถ้าอยากทำลายก็ไม่เรียกว่าสร้างสรรค์แน่ ไม่เป็นการอยากทำให้มันดี พออยากทำให้มันดี มันก็เป็นแรงทำให้เรานี่ต้องไปทำ เพราะมันอยู่ดี ๆ จะดีขึ้นมาไม่ได้ พออยากทำให้มันดีก็ไปทำ พอไปทำขึ้น มันก็มีความสุขในการที่กระทำนั้นเพราะว่า ผลที่ต้องการเกิดขึ้น คือว่าจากภาวะที่มันไม่ดีก็ดีขึ้น เพราะฉะนั้นคนที่มีฉันทะใฝ่ดีอยากทำให้มันดีใฝ่สร้างสรรค์ก็มีความสุขจากการกระทำ ตอนนี้ก็เลยแยกเป็นการทวนอีกที่เคยพูดไปแล้วว่า ตอนนี้มันเป็นทางสองแพร่ง ฝ่ายหนึ่งก็ใช้ตาหูจมูกลิ้นกายเพื่อเสพ แล้วก็เมื่อเสพความสุขก็อยู่ที่สิ่งที่ชอบใจ และเจอสิ่งไม่ชอบใจ ก็ทุกข์ ฉะนั้นเขาก็จะมี สุขทุกข์วนเวียนอยู่กับความชอบใจไม่ชอบใจ แล้วเขาก็ไมมีทางหนีได้เพราะสิ่งที่เขาเจอ ก็มีสองอย่างนั่นแหละ ชอบใจก็ไม่ชอบใจ ส่วนคนที่มีฉันทะนี่อยากรู้ใฝ่รู้ บอกแล้วว่าการเรียนรู้นั้นไม่ขึ้นต่อสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ สิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจเรียนรู้ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความสุขของเขาก็พ้นจากวงจรของความชอบใจไม่ชอบใจ มาสู่การที่สามารถมีความสุขได้จากประสบการณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ชอบใจ แล้วก็ฝ่ายตัณหาที่สุขจากเสพ อันนั้นก็คือเมื่อเสพ ก็คือได้รับการบำรุงบำเรอ บำรุงบำเรอก็คือตัวเองเป็นฝ่ายรับฝ่ายได้ ก็คือสบายไม่ต้องทำ เพราะฉะนั้นฝ่ายเสพตัณหานี้จะมีความสุข เมื่อตัวเองได้รับการบำเรอ ไม่ต้องทำอะไร นี้ตัวเองไม่ต้องทำอะไรถึงจะสบาย ถ้าเกิดต้องทำขึ้น จำใจเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นพวกตัณหา พวกเสพนี้จะมีปัญหาเกิดทุกข์จากการกระทำ การกระทำคือความทุกข์ ฝ่ายที่เป็นฉันทะ นี่ มันอยากทำให้มันดี ฝ่ายสร้างสรรค์ พอมันไปทำให้มันดีขึ้นมันสุขจากการกระทำ ฉะนั้นมันก็เป็นการก้าวหน้าในเรื่องความสุข คนที่มีฉันทะเกิดขึ้นมา ก็ได้สุขจากเสพก็มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แม้จะมีความสุขจากการการสนองความใฝ่รู้ได้เรียนรู้ แล้วก็มีความสุขจากการกระทำการสร้างสรรค์ เลยสุขมากมายแล้วเข้มแข็งพัฒนาไปได้เรื่อย ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องของระหว่างตัณหากับฉันทะที่พูดไปแล้ว ที่นี่ฉันทะนี่เป็นธรรมะที่จำเป็นในการที่จะเจริญงอกงามในความดี ในการพัฒนาชีวิต ถ้าไม่มีตัวฉันทะแล้วก็มันก็หมดแรง มันก็ไม่ไปแล้ว ดังนั้นท่านก็แปล ฉันทะนี่ไปเน้นที่การกระทำว่าใฝ่ธรรม คำว่าใฝ่ธรรมนี่ คำว่าธรรมนี่ ทอรอหันมอก็ได้นะทำ หรือ ทออำทำก็ได้ ฝ่ายธรรมก็เป็นฉันทะ นี่เป็นทอรอหันมอ หมายความว่า ฝ่ายธรรมหมายความว่า ความจริงความดีงาม ใช่ไหม ฉะนั้น ในแง่ของใฝ่ธรรม ทำที่เป็นทอรอหันมอม้า ธรรมะนี้ก็หมายถึงใฝ่รู้ คืออยากจะรู้ความจริงที่เรียกว่าธรรมะ ก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย แล้วก็ใฝ่ธรรมะ ในความหมายใฝ่ดี ใฝ่อยากให้สิ่งทั้งหลายมันดี ก็ใฝ่รู้และใฝ่ดี แล้วทีนี้ก็ต่อมาก็ เพราะอยากทำให้มันดีก็เลยเป็นฝ่ายทอสาระอำทำ งั้นฉันทะท่านก็แปลว่า ตะตุตัมยุตา แปลว่าความปรารถนาจากธรรม ก็เป็นแรงสำคัญที่จะทำให้เรามีความสุขเจริญก้าวหน้า เรื่องนี้ได้พูดมามากแล้วขอผ่าน ถ้ามีข้อสงสัย ก็ย้อนถามอีกได้ นี่ก็ขอผ่านไป
ตอนนี้เป็นฉันทะมีแรงมีตัวความอยากความปรารถนาที่เป็นกุศล ก็พร้อมที่จะเดินหน้าพัฒนาชีวิตให้ก้าวต่อไป ทีนี้ก็มีอีกตัวหนึ่งมา ๆ ช่วยเสริม ตัวที่ 4 เรียกว่า อัตตะสัมปทา แปลว่าการทำตนให้ถึงพร้อม การทำตนให้ถึงพร้อมนี้ก็หมายความว่าจะทำให้ตนนี่มันสมบูรณ์เต็มเปี่ยม ที่ว่าทำให้สมบูรณ์ก็จึงต้องพัฒนาให้เต็มที่ ก็คือจิตสำนึกที่จะพัฒนาตนเองให้เต็มที่ ถ้าใช้ภาษาปัจจุบันก็เรียกว่า จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เต็มที่ เพราะทางพระพุทธศาสนาก็สอนเราไว้แล้ว บอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้ศึกษาได้ เรามีศักยถาพที่จะพัฒนาตนเอง เพราะฉะนั้นอัตตะสัมปทาก็เท่ากับนำมาใช้ประโยชน์จากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ที่ฝึกตนเองได้ ก็จะมาฝึกตนเองนี่ให้พัฒนาจนสมบูรณ์เลย การที่จะพัฒนาให้สมบูรณ์ก็ฝึกตนเองต้องมีจิตสำนึกอยู่เสมอ เมือเราสำนึกในภาวะในธรรมชาติของคนที่เป็นสัตว์ที่จะต้องฝึกต้องพัฒนา พัฒนาได้เราก็เลยมีความนึกระลึกอยู่เสมอว่า จะต้องพัฒนาตัว ๆ พอเราระลึกถึงธรรมชาติของเราอย่างนี้อยู่เสมอระลึกอยู่เรื่อย ๆ ก็เกิดเป็นความสำนึกอย่างที่ว่า ในหน้าที่ของตัวเองเป็นความอยาก ความปรารถนาตลอดเวลาที่ว่า พยายามหาทางทำให้พัฒนาตัวเองให้สมบูรณ์ พอจิตอันนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วนี่มันจะออกผลมาในการดำเนินชีวิตทีเดียว ก็คือว่าอยากจะพัฒนาคนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เห็นว่าชีวิตที่ดีงามก็เกิดจากการฝึกฝนพัฒนา ทีนี้ พอมันเกิดจิตสำนึกนี้ขึ้นมามันก็ไปสนับสนุนความอยากในการทำสิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้น ไปเจอสถานะการณ์อะไรก็ไอ้ตัวนี้มันคอยเล้าคอยเตือนอยู่เรื่อยว่า เอ้อทำอย่างไรจะได้พัฒนาตัวเราก็มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ที่ว่าจะมาช่วยตัวเองได้พัฒนา ไปเจอประสพการณ์อะไรขึ้นมาก็จะเอาประโยชน์จากมันในแง่มาฝึกฝนพัฒนาตัวเองไปเจอสิ่งที่ยากก็ยิ่งชอบใจ โอ้ นี่จะทำให้เราได้โอกาสฝึกตัวเองมาก คนเรานี่พอมันเจออะไรมันอยากจะฝึกตัวเอง มันก็มองเป็นเครื่องมือฝึกตัวเองไปหมด ทีนี้ถ้าเป็นเรื่องง่าย ๆ เราได้ทำอะไรน้อย การทำได้น้อยก็เป็นการพัฒนาตัวเองน้อย สิ่งที่ง่ายมันก็ไม่ได้พัฒนาตัวเอง พอไปเจอสิ่งที่ยากเข้า มันก็เกิดเตือนจิตสำนึกขึ้นมาว่า โอ้ นี่เป็นโอกาสเราจะได้พัฒนาตัวเองมากได้ฝึกตัวเองมาก อะไรที่มันยาก เวลาเราทำนี่จะได้ฝึกปรือความสามารถได้เยอะ ไปเจอปัญหาที่ยากแล้วได้ใช้ปัญญาขบคิดหาทางแก้ไขมาก มันก็ยิ่งได้พัฒนากันใหญ่ พัฒนาความสามารถในการทำในการมีฝีมือในการจัดเจน พัฒนาปัญญาในการคิดค้นในการพิจารณาหาทางแก้ปัญหา พัฒนากันใหญ่ ไป ๆ มาคนที่มีจิตสำนึกในการฝึกตนนี้ ก็เลยชอบสิ่งที่ยาก และชอบปัญหาอย่างที่เคยพูดบ่อย ๆ ว่า คติของคนที่ฝึกตนเองนี้มีจิตสำนึกใน อัตตะสัมปทา นี้ จะบอกว่า ยิ่งยากยิ่งได้มาก ฉะนั้นแกเจอสิ่งที่ยาก แกก็ชอบใจซิ ทีนี้คนที่ไม่มีจิตสำนึกในการฝึกตน ไปเจออะไรทำนิดเดียวก็ถอยแล้ว เพราะรู้สึกเป็นทุกข์ ถ้าจำเป็นต้องทำ แกก็จะเกิดความทุกข์มาก เพราะว่า หนึ่ง ก็ไม่เต็มใจทำ เมื่อไม่เต็มใจทำ จำเป็นต้องทำก็จำใจทำ ก็ฝืนใจก็ทำด้วยความทุกข์ ไม่ตั้งใจทำงานก็ไม่ได้ผลอีกเสียหมดทุกอย่าง ทีนี้ฝ่ายคนที่มีจิตสำนึกในการฝึกตนนี่ พอไปเจอสิ่งที่ต้องทำเข้ามา มันชอบใจแล้วว่าจะได้เป็นโอกาสในการฝึกตน ใจมันเอาด้วยแล้วมันมีความยินดีเลย เต็มใจเลย พอเต็มใจทำด้วยความสุขตั้งใจทำก็ได้ผลดีด้วย ตนเองก็ได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง งานของส่วนรวม งานที่ทำนั้นก็ได้ผลสำเร็จด้วย ดีด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเด็กพัฒนา อัตตะสัมปทา นี่ขึ้นมาได้แล้ว ครูอาจารย์ก็ตาม พ่อแม่ก็ตาม สบายใจเลยไม่ต้องกลัวเด็กพัฒนาแน่นอน ฉะนั้นถ้าได้ยิ่งสองตัวนี้สบายแน่ ได้ฉันทสัมปทา เด็กก็อยากใฝ่รู้ใฝ่ดีใฝ่สร้างสรรค์ อยากทำ แกไม่ไปมัวหลงระเริงกับเรื่องไอ้สิ่งเสพบริโภคแหละ แล้วแกก็ไม่ไปติดสิ่งเสพติดได้ง่าย ไม่ไปวุ่นวายกับเรื่องเหล่านั้น แกจะมาหาความสุขจากการเรียนรู้จากการฝึกฝนตน จากการสร้างสรรค์ แล้วจากการที่ได้พัฒนาตัวด้วยอัตตะสัมปทานี่ นั้นสบายเลย นี่ก็ อัตตะสัมปทาก็มาช่วยทำให้ได้ความสุขยิ่งขึ้น เมื่อกี้ฉันทะก็ได้สุขจากการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ จากการทำการทำงานอยู่แล้ว พอได้อัตตะสัมปทามายิ่งสุขจากสิ่งที่ยากด้วย มันขึ้นมาอีกขึ้นหนึ่ง ก้าวอีกขึ้นฉันทะแค่สุขจากการเรียนรู้และสุขจากการทำงานสร้างสรรค์ แต่ว่าไอ้เจ้าอัตตะสัมทานี้ ทำให้สุขจากสิ่งที่ยาก สิ่งที่เป็นปัญหาด้วย พอเพิ่มสุขเข้าไปแล้วก็เพิ่มความสำเร็จด้วย นี่อัตตะสัมปทาก็เป็นว่าต้องสร้างขึ้นมาแล้วจิตสำนึกในการฝึกตน หรือการที่ตั้งใจจะพัฒนาศักยภาพของตนให้เต็มเปี่ยม ก็คิดว่าพอแล้ว อัตตะสัมปทา นี่ เป็นศัพท์ที่โดยทั่วไปจะไม่ได้ยินกันเลย เพราะเป็นศัพท์ใช้น้อยในพระไตรปิฎกมาอยู่ในชุดนี้ ในชุดบุพพนิมิตรแห่งมรรค 7 ประการ ขอผ่านไป
ที่นี้ไปข้อที่ 5 แล้วนะ ข้อที่ 5 ก็ เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ ทิฐิในที่นี้ไม่ใช่ทิฐิ ที่หมายความว่า ความดื้อรั้นอะไรต่าง ๆ หรือความติดในความเห็นส่วนตัวทิฐิ ทิฐินี่ถ้ามาตัวเดียว มันเป็นความหมายไม่ดี หมายถึงความเห็นผิด แต่ถ้ามากับศัพท์อื่นอย่างมากับสัมปทา มันจะหมายถึง ความเห็น ความเชื่อแนวความคิดที่ดีงาม ในที่นี้หมายถึงว่าเป็นความเชื่อแนวความคิดที่ดีงาม เป็นเหตุเป็นผลประกอบด้วยปัญญา หรือเป็นทางแห่งเจริญปัญญา นี่คนเราเนี่ย ถ้ามีทิฐิผิดก็จะเกิดปัญหาทันที เช่น ไปเชื่อถือยึดถือแนวความคิดที่มันไม่เกื้อกูลไม่สร้างสรรค์ ไอ้พวกทิฐิเหล่านี้ก็เช่น เชื่อว่าเอ้าอะไรต่ออะไรก็เป็นไปเพราะโชคเป็นไปตามบังเอิญ บทมันจะเป็นอะไรก็เป็นเอง สมมุติว่าเชื่ออย่างนี้ มีใครคิดอย่างนี้แล้ว แกก็ไม่พัฒนาตัวเอง เพราะว่าอะไรต่ออะไรถึงคราวก็เป็นเองใช่ไหม แล้วแต่โชค แล้วจะไปมีแนวคิดทัศนะอย่างนี้ มันจะไปเกื้อหนุนอะไร ในการพัฒนาตัวเองไม่มีหรอก มันก็รอเวลา บทจะดีก็ดีเอง แปลอันว่าว่าทิฐิอย่างนี้ไม่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต หรือเชื่อว่าอะไรจะเป็นไงก็แล้วแต่ อำนาจดลบันดาลของเทพเจ้าสิ่งลึกลับ อย่างนี้ก็เช่นเดียวกัน เราก็ทำอะไรก็ไม่มีผลสิ มันก็แล้วแต่อำนาจดลบันดาลก็ปล่อยตัว หรือว่าต้องไปรอคอยไปอ้อนวอน ขออำนาจดลบันดาลของเทพเจ้า เป็นต้นอย่างนี้มันก็ไม่พัฒนาเหมือนกัน นี่ถ้าเชื่อตามหลักที่ถูกต้องก็คือ อย่างน้อยให้มันเป็นความเชื่อ ความถือหลักการที่มันเอื้อต่อการที่แสวงหาปัญญา ก็เช่นว่าถือหลักการว่า เอ้อ อะไรต่ออะไรมันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันนี่ พอถือหลักการว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน นี่มันเอื้อทันทีต่อการแสวงปัญญา พอเราไปเจออะไรปั๊บ เจอประสบการณ์ เจอเหตการณ์สถานการณ์ อะไรขึ้นมา อ้อเราก็มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย พอมองว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราก็ต้องค้นหาเหตุปัจจัยแล้วสิ มันก็เป็นตัวกระตุ้น เป็นตัวจุดเริ่มให้เรานี่แสวงหาปัญญาทันที ฉะนั้นความเชื่อที่ถูกต้องนี่เป็นประโยชน์มาก เอาเป็นว่าเป็นความเชื่อแนวความคิดหลักการที่มันเอื้อต่อการเพิ่มพูนพัฒนาปัญญา หรือในแง่ของเพิ่มพูนกุศลธรรมความดีงามต่าง ๆ นี้ถ้าไปเชื่อผิด ๆ มันมีเยอะอย่างค่านิยมสังคม เรื่องของค่านิยมของสังคม ทัศนคติอะไรพวกนี้เรื่องทิฐิทั้งสิ้น ยังค่านิยมโก้เก๋ ว่าจะต้องมีสิ่งเสพ จะต้องกินอาหารให้โก้ อะไร กินอาหารให้อร่อยเป็นของนอกแล้วจะโก้ ค่านิยมเหล่านี้ก็เป็นเรื่องทิฐิที่ผิด ไม่ประกอบด้วยปัญญาเลย มีปัญญาที่ไหน มันเป็นสักแต่ว่าค่านิยมที่สังคมได้มาหล่อหลอมแล้วก็เชื่อถือกันไป มันไม่มีปัญญาอยู่ด้วย ถ้ามีปัญามันก็ต้องรู้ความมุ่งหมาย เอ้อเรากินไปเพื่ออะไร กินแล้วมันเกิดประโยชน์อะไร ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี นี้แสดงว่ามีปัญญา ทีนี้ถ้าเราไปมีค่านิยม ตามกระแสสังคมอย่างนั้น ชีวิตของเราก็ไม่พัฒนาก็ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของกระแสค่านิยมนั้น ก็จบกัน ฉะนั้นจึงเน้น ในข้อที่ 5 นี้ว่าต้องมีทิฐิ ความเชื่อแนวความคิด การยึดถือหลักการค่านิยมที่ถูกต้อง ประกอบด้วยปัญญาและเอื้อต่อการพัฒนาชีวิต ทำให้เจริญปัญญายิ่งขึ้น อย่างที่ว่าพอเชื่อในหลักการแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัยปั้บเท่านั้นแหละ เจออะไรขึ้น ค้นหาเหตุปัจจัยทันที ฉะนั้นทิฐินี่ก็สำคัญนะ อย่างน้อยก็ให้ได้ทิฐิอันนี้ไว้ก่อน ต่อไปก็พัฒนาขึ้นไป ทิฐินั้นก็จะปราณีต ก็เป็นสัมมาทิฏฐินั่นเอง ก็เห็นจะพอสมควรนะเรื่องทิฐินี่ ก็ผ่านไปได้
ก็ไปข้อที่ 6 เลย ข้อที่ 6 ก็เรียกว่า อัปปมาทสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมถึงการไม่ประมาท ความไม่ประมาทก็คือ การที่เป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ เคยอธิบายไปแล้วนะ การเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ คือมีสติคอยระลึก คอยนึกถึงสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์ ว่า มีอะไรเกิดขึ้นในขณะนี้ ก็จับเอามา จับเอามาก็คือเอามาระลึกนึกนั่นเอง นึกระลึกน่ะคือจับเอาสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เอามายังไง เอามาให้ปัญญาพิจารณา พิจารณาว่าเอ้อ ไอ้สิ่งที่เกิดขึ้นอันนี้มันเป็นไปในทางดีหรือทางร้าย มีผลกระทบต่อชีวิตของเราไหม ทำให้เกิดความเสื่อมหรือทำให้เกิดความเจริญ ถ้ามันจะทำให้เกิดความเสื่อม ปัญญาพิจารณาเสร็จแล้ว ก็จะได้รีบแก้ไขป้องกัน ถ้าว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปนี้ มันเป็นโอกาสที่จะทำให้เรานี้ได้รับประโยชน์ หรือได้ทำการพัฒนามาสร้างสรรค์ได้ ก็รีบใช้โอกาสนั้นเสีย ปัญญาก็จะให้ไปสืบค้นหาเหตุปัจจัย แล้วเอามาสร้างสรรค์สติก็คือ จับเรื่องราวนั้นเอามาให้ปัญญาพิจารณา แต่นี้การที่ว่า มีสติตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่า ไม่เลื่อนลอย ไม่เคว้งคว้าง จิตใจที่ตื่นตัวทันสถานการณ์อย่างนี้ ก็คือเป็นความไม่ประมาท ความไม่ประมาทก็เลยมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก็เป็นการตระหนักในการที่สิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นความไม่ประมาทนี้จะโยงไปหาหลักเรื่องอนิจจัง คือว่า เรามีจิตสำนึกที่มองถึงความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ว่าสิ่งทั้งหลายนี้ไม่คงที่น่ะ มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ชีวิตของเรา ฉะนั้นในเมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปแม้แต่ชีวิตของเรา เราจะมานอนใจอยู่ไม่ได้ พรุ่งนี้จะเป็นยังไงก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องตื่นตัวอยู่เสมอ ความเปลี่ยนแปลงนี้ก็มามากระตุ้นเตือนใจเรานี้ให้ไม่นิ่งนอนใจ แล้วก็ให้เร่งรัด ให้คอยมีสติ จับระลึกนึกสิ่งต่าง ๆ เอามาในการที่ป้องกันความเสื่อมเสีย และในการที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น ที่นี้ เรื่องความเปลี่ยนแปลงก็เป็นสัมพันธ์กับเวลาอีก เพราะระลึกถึงความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจังทุกขัง ก็เตือนใจเราให้ไม่ประมาท แล้วก็ความเปลี่ยนแปลงนั้นอาศัยกาลเวลา เมื่อการเวลาผ่านไปสิ่งทั้งหลายก็เปลี่ยนแปลง ฉะนั้นคนที่มีความไม่ประมาท ก็มองเห็นความสำคัญของการเวลาว่า โอ้เวลาผ่านนี่สิ่งทั้งหลายมันไม่หยุดนิ่งนะ ชีวิตของเราก็ผ่านไป จากเด็กก็จะหนุ่มสาว แล้วก็จะแก่ แล้วก็สิ่งทั้งหลายรอบตัวก็เปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่พี่น้องของเราก็เปลี่ยนแปลงไป เราจะมานอนใจอยู่ไม่ได้ เราจะมาหลงมัวเมาอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นรีบทำการ ก็เห็นสำคัญของกาลเวลา กาลเวลาผ่านไป คนที่มีความไม่ประมาทจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจะตรัสเตือนเราอยู่เสมอเรื่องของอนิจจัง เรื่องของการเวลา จะให้โยงมาหาความไม่ประมาทว่า อย่างในคาถาพุทธสุภาษิต ไม่ใช่คาถาแล้วเป็นพุทธพจน์เป็นปัจฉิมวาจา พระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน ก็ตรัสว่า วะยะธัมมาส สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ แปลว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ท่อนแรก วะยะ ธรรรมาสังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไป นั่นคืออนิจจัง ท่อนที่ 2 บอกว่า อัปปะมาเทนะสัมปาเทถะ เพราะฉะนั้นจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม นี่แหละ อนิจจังกับความไม่ประมาท สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนแปลงไป มันไม่คงอยู่มันสลายไป เพราะฉะนั้นเราอย่ามัวนอนใจนะ ไม่ประมาทน่ะ นี่พระพุทธเจ้าก็จะตรัสเรื่องชีวิต ผ่านไปเวลาแต่ละวันมันผ่านไป ให้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ก็มีคาถา ในพระพุทธศาสนา ที่สอนเรื่องนี้ไว้เยอะ ที่ผมจะยกมาบ่อย ๆ ก็อย่างคาถาที่บอกว่า อโมฆังทิวะสังกยิรา นาปัจนี นาพุเตวาท แปลว่าเวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่าไม่มากก็น้อยก็ต้องให้อะไรบ้าง นี่คือความเป็นอนิจจัง สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลง แล้วก็ให้เห็นความสำคัญของกาลเวลา แต่ละวันนี้สำคัญมาก อย่าให้ผ่านไปเปล่าไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง แล้วก็ไปแจกแจงเอาสิว่าได้อะไรบ้าง ได้วัตถุได้เงินทอง ได้งานได้การ ได้ทำประโยชน์ ได้ปัญญา ได้ความรู้ ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้จิตใจที่ดีงาม ได้พัฒนาจิตใจให้มีความสุขเบิกบานผ่องใสยิ่งขึ้น ได้อะไรต่ออะไร ก็ได้ดีงามจนกระทั่งได้จากทรัพย์ที่เป็นวัตถุภายนอก มาจนได้อริยทรัพย์ภายใน ฉะนั้นก็ พระพุทธเจ้าก็ตรัสตักเตือนเราอยู่เสมอ แม้แต่ในการที่ว่ามาพัฒนาศีลสมาธิปัญญา ก็ต้องเร่งด้วยความไม่ประมาท อย่างที่บอกว่า คาโนโวมา ปัจจะคาเม แม้แต่ขณะเดียวก็อย่าให้ร่วงผ่านท่านไปเปล่านะ นี่ถ้าปฏิบัติกันจนถึงเต็มที่แล้วความไม่ประมาทนี่จะมาถึงขั้นนี้ คือขั้นที่แม้แต่ขณะเดียวอย่าให้เสียเปล่า ก็เพราะฉะนั้นคตินี้ จะเอาระดับไหนก็แล้วแต่ ถ้าหากว่าเอาขั้นหยาบก็แต่ละวัน เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่าไม่มากก็น้อย ก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง นี่ถ้าเอาขั้นละเอียดก็ต้องอย่างที่ว่าเนี่ย ต้องถึงขั้นที่ว่า แต่ละขณะอย่าให้เสียเปล่าเลย ถ้าทำได้ขั้นนี้เก่งมากนะ ขั้นที่เตรียมตรัสรู้ได้แล้ว เพราะว่าท่านผู้ปฏิบัติขั้นสูงจะมีสติกำกับทุกขณะเลย คือไม่ให้ช่องแก่อกุศลเข้ามา จิตจะทันต่อความเป็นไปตลอดทุกเวลา อย่างสติปัฏฐาน สติทันต่ออารมณ์ปัจจุบันทุกขณะเลย เพราะฉะนั่นทุกขณะนี้ก็ไม่เสียเลยไม่มีอกุศลธรรมเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของความไม่ประมาท ความไม่ประมาทนี้เป็นตัวหลักประกันที่จะทำให้ชีวิตนี้เจริญงอกงาม ไอ้ 4,5 ข้อที่ว่ามาทั้งหมดนั้น มันก็มีความดี มันมีประโยชน์ในตัวเอง แต่ถ้าลงประมาทเสียอย่างหนึ่งก็จบ มันไม่ก็เลยไม่เดินหน้า ใช่ไหม ไอ้ความไม่ประมาทเป็นตัวกระตุ้นให้เจ้าตัวที่ผ่านมาทุกขณะตัวทำงาน ฉะนั้นเป็นตัวกระตุ้นคอยเร่งเร้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกว่า ความไม่ประมาทนั้นเหมือนรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างนั้นก็เทียบกับรอยเท้าสัตว์อื่นที่เป็นสัตว์บกไม่มีรอยเท้าสัตว์ใดใหญ่กว่า รวมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด ก็หมายความว่ารอยเท้าช้างนี่ครอบคลุมรอยเท้าอื่นทั้งหมด เหมือนกับความไม่ประมาทก็ครอบคลุมธรรมะอื่นได้หมด ครอบคลุมอย่างไร ครอบคลุมก็คือว่า ทำให้ธรรมะข้ออื่นนี่เกิดผล หรือทำหน้าที่ของมัน ถ้ารองประมาทเสียอย่างเดียวธรรมะมีกี่ข้อก็นอนหลับหมด อย่างที่เคยพูดบ่อย ๆ ว่าธรรมะเรียนมากี่ข้อ ประมาทซะอย่างหนึ่งก็อยู่ในตู้คัมภีร์ ไม่ได้ออกมาใช้ประโยชน์ รู้ว่าดีสามารถบรรยายว่า ธรรมะข้อนี้ดีอย่างไง ๆ แต่ประมาทเสียอย่างเดียว มันก็นอนเฉย ทีนี้พอไม่ประมาท ธรรมะทุกข้อนี่ทำหน้าที่หมด แม้แต่คนที่เรียนรู้น้อย เรียนรู้ธรรมะสักข้อสองข้อ แต่เป็นคนไม่ประมาทธรรมะที่เรียน 2 ข้อ ก็ได้ใช้ประโยชน์หมด ถ้าเรียนมา 3 ข้อ 3 ข้อก็ได้ใช้ประโยชน์หมด เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ประมาทแม้เรียนรู้น้อยก็เดินหน้าไปได้ ใช่ไหม ได้ประโยชน์ คนที่เรียนรู้มากเอามาพูดธรรมะมากมายแต่ตกอยู่ในความประมาท ธรรมะเหล่านั้นนอนหลับหมด ไม่ได้ประโยชน์อยู่ในตู้เฉย ๆ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็เลยตรัสเรื่องความไม่ประมาท นี่ถ้าเราไปเทียบกับ เหมือนกันระหว่างเต่ากับกระต่าย ไอ้เจ้ากระต่ายนั้นประมาท ตกอยู่ในความประมาท ว่าไอ้เจ้าเต่านี่มันเดินช้า เราวิ่งเดี๋ยวเดียวก็ถึงหลักชัยแล้ว ไอ้เต่านี่คลานไปเถอะอีกนาน เพราะฉะนั้นนอนซะก่อนก็ได้ ว่างั่นน่ะ นอนก็ได้ ตอนที่นอน คือปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งหน้าที่ แล้วก็นอนหลับเพลิน ตื่นมาอีกทีปรากฏว่า เต่าไปถึงหลักเสียแล้ว เลยแพ้เลยใช่ไหม ที่นี้ความประมาทนั้นคือการละเลยเพิกเฉย ปล่อยปละละทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ไม่ขมีขมันไม่กระตือรือร้นเฉื่อยชา ผัดเพี้ยน ผัดเพี้ยนนี่เจ้ากระต่ายนิ่ ผัดเพี้ยนแล้วเนี่ย ผัดเพี้ยนนี้เป็นข้อสำคัญของคนประมาททำให้เสียการหมด ฉะนั้นความไม่ประมาทกับความประมาทนี่ในภาษาไทยได้มีความหมาย เพี้ยนไปนิดหน่อย อย่างกรณีของกระต่าย ประมาทนี่ก็หมายถึงความที่ผลัดเพี้ยนละเลย แต่เหตุที่ทำให้กระต่ายประมาท ก็คือมันไปนึกว่าเจ้าเต่ามันเดินช้าใช่ไหม ต่อมาภาษาไทย คำว่าประมาท กลายเป็นมีความหมายไปดูถูกเลย ถูกไหม นี่คือเจ้ากระต่ายได้ดูถูกเต่า เรียกว่าประมาทเต่า ถูกไหม แต่ที่จริงการดูถูกเต่าเป็นเหตุให้เจ้ากระต่ายประมาท ประมาทนี่คือ ภาวะที่ว่าปล่อย ทอดทิ้ง ละเลย ผัดเพี้ยน ไม่เร่งรัดตัวเอง ไอ้ตอนประมาทมันอยู่ตรงนี้ แต่ว่าเหตุที่ว่าเจ้ากระต่ายประมาท คือ ผัดเพี้ยน มัวนอนเพลินอยู่นี่ เพราะอะไร เพราะไปดูถูกเต่า มันอืดอาดช้า ต่อมาภาษาไทยกลายเป็นว่า ตัวความประมาทกลายเป็นดูถูก กลายเป็นว่าเจ้ากระต่ายดูถูกเต่า ประมาทเต่าว่ามันช้าใช่ไหม นี่ภาษาไทยมันเพี้ยนไปอย่างนี้ คือมันก็มีเหตุผลที่ทำไมจึงเพี้ยน ฉะนั้นการแยกองค์ธรรมให้ชัด จะต้องแยกแต่ละขณะเลย เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน เพราะกระต่ายดูถูกเต่าใช่ไหม ก็เลยเป็นเหตุให้เจ้ากระต่ายนี้ประมาท ต้อง 2 ตอน เหมือนยังตอนที่บอกว่าเพราะมานะ อยากเป็นใหญ่ก็เลยเป็นเหตุปัจจัยให้เพียรพยายาม ต้องพูดอย่างนี้ ใช่ไหม ภาษาไทย มันเพี้ยนไปกลายเป็น มานะเพียรพยายาม ใช่ไหม จะเห็นว่าภาษาไทยนี่ มันมีเหตุผลที่ทำให้เพี้ยนได้ คือพูดไปพูดมาแล้วมันสับสนปนเปกันไป แยกองค์ธรรมไม่ออก มันคนละตอนกัน เอาแล้วครับ
เป็นอันว่า ความไม่ประมาทนี่เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ประมาทตรงข้ามกับไม่ประมาท ประมาทก็คืออย่างที่ว่าไปแล้ว ละเลย ทอดทิ้ง ไม่ใส่ใจ ผัดเพี้ยน เพลิดเพลิน จนกระทั่งไป ถ้าเลยไปจะมัวเมา มัวเมาก็จะมีศัพท์ท้ายอีกต่างหาก แต่พวกนี้ก็อยู่ในเรื่องประมาททั้งสิ้น หลงระเริงปล่อยตัว พอมีความสุขแล้วก็เพลิน อยู่กับความสุขนั้น อะไรต่ออะไรก็ปล่อยปละละเลยทอดทิ้งไม่ใส่ใจ สิ่งที่ควรจะทำไม่ทำ ทีนี้ในทางลบ ก็คืออะไรเกิดขึ้นจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เจ้าความไม่ประมาทจะมาเตือน อย่าไปพลาดนะ เจ้าความไม่ประมาทก็จะทำให้ไม่พลาด อย่าไปปล่อยตัวน่ะ อย่าไปพลั้งลงไปนะ อย่าไปถลำลงไปนะ นี่โรคประมาททั้งนั้น ไม่ประมาทคือไม่ถลำ ไม่พลาดไม่ปล่อยตัว ทำให้ไม่เสื่อม ที่นี้ฝ่ายบวกก็คือ โอกาสเกิดขึ้นแล้ว ต้องเร่งรัดนะ ต้องตั้งใจนะ เร่งรัดเอาใจใส่ธรรม อย่ามัวรีรออยู่ อย่างนี้ก็เป็นฝ่ายดี ก็คือเร่งรัดตัวเองทำให้ได้ประโยชน์จากสถานการณ์หรือโอกาสที่เกิดขึ้นมา ความไม่ประมาท ก็เลยเป็นตัวสำคัญนี่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสองค์ธรรมที่ดีมาเยอะแยะแล้ว เริ่มตั้งแต่การรู้จักคบหากัลยาณมิตร ไปหาหนังสือดี ๆ อ่านนะ ไปรู้จัก ไปหาแหล่งความรู้ที่ดี ๆ หนังสือดี ๆ ไปหารายการทีวีดี ๆ ดู ไปหาครูอาจารย์ที่ท่านมีความรู้ แล้วไปปรึกษาท่านอะไรต่าง ๆ แล้วรู้จักมีชีวิตดำเนินชีวิตอย่างมีระเบียบวินัย คือมีศีลตั้งอยู่ในวินัย แล้วก็มีฉันทะ มีพลังในใจที่ปรารถนาทำสิ่งที่ดีงามใฝ่รู้ ฝ่ายสร้างสรรค์ ตลอดจนมีจิตสำนึกในการฝึกตนใช้หลักของทิฐิที่ดีงาม มีทัศนคติที่เกื้อกูลต่อความเจริญงอกงามของชีวิตในการพัฒนาปัญญาอะไรทั้งหมด แต่ทุกอันนั้นถ้าประมาทเสียอย่างเดียวก็จบ เพราะฉะนั้นต้องมีความไม่ประมาท เป็นตัวกระตุ้น ก็เลยมาตรัสความไม่ประมาทไว้เป็นตัวที่ 6 เพื่อจะได้เป็นเครื่องประกันว่าจะพัฒนาชีวิตได้แน่นอน ความไม่ประมาทก็น่าจะจบได้
ทีนี้ก็ขอแทรกอีกนิดนึง เรื่องความไม่ประมาท เพราะความไม่ประมาทนี่เป็นธรรมที่ใหญ่มาก ไม่ได้อยู่เฉพาะในชุดของ บุพพนิมิตแห่งมรรค เท่านั้น มันเป็นธรรมะที่ต้องใช้ตลอดที่พระพุทธเจ้าเน้นอยู่เสมอ ตั้งแต่ในการประกาศธรรมก็ตรัสอย่างที่ว่าเหมือนรอยเท้าช้าง คลุมรอยเท้าหมดท่านอื่นไว้ แล้วก็จนกระทั่งปรินิพพาน ก็ตรัสเป็นปัจฉิมวาจา แสดงว่าเน้นความสำคัญของเรื่องนี้ ที่นี่ความสำคัญนี่ก็จะมาปรากฏตอนที่ว่า ในชีวิตและอารยธรรมของมนุษย์ ในชีวิตมนุษย์ถ้าเราประมาทเสียอย่างเดียวนี้ วันเวลาผ่านไปเปล่า ชีวิตทั้งชีวิตอาจจะไม่ได้อะไรเลย เสียหมด ที่นี่อารยธรรมมนุษย์ สังคมมนุษย์นี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามนุษย์ประมาทซะแล้ว มันก็จะนำมาซึ่งความเสื่อม หรือแม้แต่เจริญแล้วก็จะกลับเสื่อม แล้วความประมาทนี่แหละเป็นตัวที่ทำให้มนุษย์ต้องตกอยู่ในวงจรแห่งความเจริญและความเสื่อมเรื่อยไป เรื่องนี้ดูเหมือนจะพูดมาแล้ว ใช่ไหม พูดมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องมาพูดยืดเยื้อยาวอีก
ก็ขอย้ำแต่เพียงว่า ความไม่ประมาทนี้จะเป็นตัวประกันที่ช่วยให้มนุษย์นี้ หรือสังคมมนุษย์นี้เจริญแล้ว สามารถที่จะไม่เสื่อมได้ แล้วก็ได้เคยให้ปริศนาว่า พระพุทธเจ้าตรัสหลักอนิจจังเป็นความจริงของธรรมชาติว่าสิ่งทั้งหลายเกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดขึ้น ดับไป เปลี่ยนแปลงไป ที่นี่ พระพุทธเจ้ามาตรัสเรื่องความไม่ประมาท เช่นหลักอปริหานิยธรรม ว่า ถ้าปฏิบัติธรรมนั้นแล้วจะมีแต่เจริญไม่มีเสื่อม ก็เลยทำให้ดูคล้าย ๆ ไอ้นี้พระพุทธ้เจ้าตรัสหลักธรรม มันขัดกันนี่ เรื่องอนิจจังมันเอ้า อนิจจังเจริญแล้วมันก็ต้องเสื่อมสิ อันนี้ทำไมมาตรัสว่าถ้ามีความไม่ประมาท มีแต่เจริญ ไม่มีเสื่อม หวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ก็เคยตอบแล้วใช่ไหมครับ มันไม่ขัดกันอย่างไร ก็เอามาย้ำเสียอีกทีหนึ่งว่า ที่ว่าอนิจจังเกิดแล้วต้องดับ อันนี้ก็จริง เป็นความจริงของกฎธรรมชาติ ทีนี้ความไม่ประมาท ถ้าไม่ประมาทเสียอย่างมีแต่เจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อม อันนี้เป็นหลักปฏิบัติของมนุษย์ อันนี้มันไปขัดกับอนิจจังไหม ไม่ขัด ๆ เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ในการที่ว่าเจริญแล้วเสื่อม หรือเจริญแล้วเจริญต่อไป หรือเสื่อมแล้วจะเสื่อมต่อไป หรือเสื่อมแล้วกลับเป็นเจริญ นั้นคือเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ฉะนั้นที่ว่ามีแต่เจริญไม่มีเสื่อม ก็หมายความว่ามันก็เปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เจริญเรื่อยไป ใช่ไหม เท่านั้นเองก็จบ ไม่มีอะไรขัดกัน อันนั้นก็การที่ว่า ไม่ประมาทก็คือการที่เราสามารถใช้ประโยชน์จากอนิจจังนั่นเอง คนที่ไม่มีปัญญาก็ได้แต่ปล่อยตัวไป ตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย ปล่อยให้เหตุปัจจัยในทางภายนอก มันมาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้น โดยที่ตัวเองไม่ได้เข้าไปเป็นปัจจัยร่วมด้วย มันก็เลยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่น่าปรารถนาบ้าง ไม่น่าปรารถนาบ้าง เสื่อมบ้าง เจริญบ้าง ทีนี้พอมนุษย์เรามีปัญญา เรารู้เหตุปัจจัย เรารู้ว่าไอ้สิ่งทั้งหลายมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เราก็เลยไปศึกษาเหตุปัจจัย แล้วเราก็ไปจัดการเอาตัวเราเข้าไปเป็นเหตุปัจจัยด้วย พร้อมทั้งไปหนุนเหตุปัจจัยที่ดี และไปป้องกันกำจัดเหตุปัจจัยให้เสื่อม เราก็เลยสามารถใช้อนิจจังให้เป็นประโยชน์ ทำให้เหตุปัจจัยนี้เกิดเป็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีงาม ที่เราเรียกว่าเป็นความเจริญ ดีต่อตัวเรา ดีต่อสังคมมนุษย์ ฉะนั้นความไม่ประมาทนี้ เป็นการรู้จักใช้ประโยชน์จากอนิจจัง เอากฎอนิจจังของธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับปัญญาของมนุษย์ โดยการเอาตัวมนุษย์ปัญญามนุษย์เข้าเป็นเหตุปัจจัยด้วยในกระบวนการของกฎธรรมชาตินั้นก็เลยดีไปเลย ใช่ไหม อันนี้มนุษย์ทั่วไปเนี่ยมันมักจะตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสปุถุชน ก็คือว่าพอเจริญขึ้นมามีความสุขมีความสำเร็จดีงามแล้ว ก็จะหลงระเริงเพลิดเพลินมัวเมา มันก็จะเกิดความเฉื่อยชา มีความโน้มเอียงที่จะหยุด จะช้าลง จะเสพเสวยผลของการสร้างสรรค์นั้น เมื่อมนุษย์มานอนเสพเสวยผลที่ตนสร้างขึ้นก็ไม่ทำต่อไป ก็จะต้องเกิดความเสื่อม เพราะฉะนั้นความสุขก็ตาม ความสำเร็จก็ตาม ความดีงามก็ตามที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูก ก็จะกลับไปเป็นปัจจัยความเสื่อม เพราะฉะนั้นจึงมีหลักการได้ทั่วไปว่า ความสุข ความเจริญ ความสำเร็จ และความดีงามที่ได้สร้างขึ้นมาจะเป็นหลุมดักมนุษย์ที่มาสร้างสรรค์ความเจริญมาให้กลับไปตกในวงจรแห่งความเสื่อมอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นมนุษย์จะต้องไม่ตกอยู่ในหลุมดักอันนี้ คือว่าความสุขความสำเร็จความดีงามที่ได้ทำขึ้นมาจะเป็นหลุมดักคนให้ประมาท ให้มีความโน้มเอียงที่จะเสวยผลแล้วก็จะเฉื่อยช้าลง แล้วก็หยุดนิ่ง แล้วก็กลับเสื่อม เพราะฉะนั้นพอสังคมเจริญขึ้นชีวิตเราเจริญขึ้นเราก็จะมีความเพลิดเพลินหลงระเริง อารยธรรมมนุษย์ เช่นอารยธรรมโรมัน เป็นต้น แต่ก่อนนี้เป็นคนป่าเถื่อนมีความเข้มแข็ง รบเท่าไหร่ก็ชนะหมด มีความเจริญก้าวหน้า พอพวกโรมันนี้รบชนะไปทั่วหมด ก็เริ่มมีความประมาทมัวเมา มีความมัวเมาสยบในกาม ในกามารมณ์ ต่อมาอารยธรรมโรมันก็เสื่อมแล้วก็แพ้กับ Barbarism คอแพ้กับคนป่าเถื่อน ฉะนั้นอารยธรรมพินาศ สังคมทุกสังคมก็มักจะเป็นอย่างนี้ ยามที่มีความทุกข์ยากลำบากก็จะลุกขึ้นมาดิ้นรนขวนขวายสร้างสรรความเจริญ พอมีความสำเร็จมีความสุขดีงามแล้วก็จะหลงระเริงเพลิดเพลินมัวเมา แล้วก็กลับเสื่อม ฉะนั้นมนุษย์ที่เป็นปุถุชนอยู่ใต้อำนาจกิเลสก็จะอยู่ใต้วงจรนี้ด้วย แล้วก็กลายเป็นว่ามนุษย์เรานี้ต้องอาศัยทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม จึงจะลุกขึ้นดิ้นรนขวนขวาย ฉะนั้นก็จะเป็นหลักว่ามนุษย์ปุถุชนนั้น เมื่อทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็ลุกดิ้นรนขวนขวายสร้างสรรความเจริญขึ้นมา เมื่อเจริญขึ้นมาแล้วมีความสุขความพรั่งพร้อมก็มัวเมาหลงระเริงประมาท ก็กลับเสื่อมลง ก็เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ฉะนั้นก็เลยมนุษย์ก็ไม่พ้นวงจรของความเจริญและความเสื่อม แต่ถ้ามนุษย์ใช้หลักความไม่ประมาท แกก็ไม่ต้องอาศัยทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม แกก็ใช้สติปัญญา คอยตรวจตรา คอยจับเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมามีความตื่นตัวทันสถานะการณ์แล้ว เพราะความตื่นตัวทันสถานการณ์นั้น ก็เอาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาสำรวจพิจารณาแล้วก็ใช้ปัญญาแก้ไขเหตุปัจจัยแห่งความเสื่อม แล้วก็สร้างสรรเหตุปัจจัยแห่งความเจริญรักษาความเจริญไว้ได้เจริญยิ่งขึ้นต่อไป ฉะนั้นความไม่ประมาทที่แท้ด้วยสติปัญญานี้จะทำให้มนุษย์สามารถรักษาความเจริญที่ทำมาแล้ว รักษาความดีงาม แล้วความสุขความสำเร็จให้อยู่ได้และสามารถทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนเต็มเปี่ยมไพบูลย์ นี่ก็คืออนิสงฆ์ของความไม่ประมาท นั้นจะแก้ไขได้ทั้งปัญหาชีวิตมนุษย์และอริยธรรม หรือสังคมมนุษย์ทั้งหมด คิดว่าเรื่องความไม่ประมาทก็พูดมาพอสมควรแกเวลาก็จะยุติลงเท่านี้
ส่วนข้อสุดท้าย 7 เรื่องโยนิสงมนสิกาและสัมปทานถึงพร้อมด้วยความรู้จักคิดพิจารณา หรือว่าการทำในใจโดยแยบคาย อันนี้ได้พูดเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นคงจะพอ ก็จบแล้ว 7 ข้อ
ไว้พรุ่งนี้ก็สรุปเสียอีกทีหนึ่ง 7 ข้อ พูดถึงแง่คิดบางอย่างที่ควรจะได้เข้าใจ แล้วก็เป็นอันจบเรื่องบุพพนิมิตแห่งมรรค หรือรุ่งอรุณของการศึกษา 7 ประการ บุพพนิมิตมรรค 7 ส่วนมรรคมีองค์ 8 ใช่ไหม 7 ข้อ กับ 8 ข้อ เจ้า 7 ตัวนี้แหละที่จะนำไปสู่มรรคได้ มีอะไรสงสัยไหมครับ
(1)
คนฟังถาม: พระอาจารย์ครับ เป็นไปได้ไหมสังคมที่พัฒนาตัวเองถึงขั้นที่ว่ารู้เห็นปัจจัย สมมุติน่ะครับ แล้วเขามีความสันติมีความสงบ แล้วท้ายที่สุดอารยธรรมก็เจริญ แต่ว่าก็ไม่คิดจะรุกราน เป็นไปได้จะถูกคนอื่นรุกรานจนกระทั่งทำร้ายให้หายไป
พระตอบ: ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องไม่ประมาทเสมอ จึงต้องระลึก ต้องกลับมานึก สำรวจเรื่อย อารยธรรมอื่นหรือชาติอื่น เขาทำอะไร ใช่ไหมฉะนั้นประมาทไม่ได้ตลอดเวลาเลยนี่แหละไอ้ตัวไม่ประมาทนี้แหละ ถ้ามันเพลินเมื่อไหร่ ก็มีหวังเสร็จแน่ ๆ
(2)
คนฟังถาม: ถ้าเขายอมรับชะตากรรม เพราะเขาคิดว่าไม่ต่อการต่อสู้ เพราะการต่อสู้ก็เป็นสิ่งที่
พระตอบ: ก็ยอมรับชะตากรรม แล้วก็ประมาทแล้วงัย ใช่ไหม ยอมรับชะตากรรม แล้วก็ประมาทแล้ว
(3)
คนฟังถาม: ถ้ายอมรับการต่อสู้ขึ้นมา ก็กลายเป็นใช้กำลัง
พระตอบ: คนที่จะเอาชนะคนอื่นโดยที่ไม่ต่อสู้ไม่กำจัดเขานี่ต้องเก่งจริง ๆ ใช่ไหม แม้มันเก่งยอดสุดเลย ใช่ไหม สามารถชนะโดยไม่ไปทำร้ายเขานี่ โอ้ต้องพัฒนากันเต็มที่เลย พัฒนาในแง่ความสัมพันธ์ พัฒนาในแง่ของการใช้ปัญญาจนกระทั่งไม่ต้องรบก็ต้องชนะ นี่ยอดสุดเลย หายากที่สุด นี้มนุษย์ที่ผ่านมานี่มันไม่ประมาทในระดับบุคคลนี่พอได้ เพราะฉะนั้น เราจึงพบคนที่ว่าเกิดมาแล้วพัฒนาชีวิตจนกระทั่งว่าได้เป็นพระอรหันต์ ใช่ไหม ความสมบูรณ์ของชีวิตมีได้เป็นบุคคล แต่ความสมบูรณ์ของสังคมนี้ไม่เคยปรากฏเชื่อไหม มนุษย์ไม่สามาถพัฒนาให้คนทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคมนั้นมีความสมบูรณ์ ฉะนั้นสังคม ทั้ง ๆ ที่สอนกันอยู่อย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ตระหนักรู้แต่มันทำไม่ได้ เพราะไม่สามารถพัฒนามนุษย์ทุกคนให้เป็นสมาธิที่สมบูรณ์ ใช่ไหม ไม่ประมาท 10 คน แต่ว่าไอ้เจ้า 5,000 คนมันประมาท ถูกไหมมันไปรอดไหมนี่ นี่สังคมมันเป็นอย่างนี้น่ะ เราจะพูดกันให้ปากเปียกปากแฉะ ใช่ไหม ให้พัฒนาน่ะ มันก็ได้ส่วนหนึ่งแหละ ที่ว่ามาเอ้อจริงต้องไม่ประมาท แล้วก็ทำได้ แต่ไอ้อีก 5,000 คน พอเจออะไรล่อเล้าหน่อยสุขซะหน่อย มันขี้เกรียจแล้วไม่เอาแล้ว ใช่ไหม เฉื่อยชาแล้ว แล้วมนุษย์ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่า ความไม่ประมาทนี่เป็นตัวเกณฑ์พิจารณาวัดผลการพัฒนามนุษย์ สำหรับแต่ละคนนี่ก็รู้เลย ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่ประมาท พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีคนเดียวที่จะไม่ประมาทคือพระอรหันต์เท่านั้น แม้แต่อาคานามียังประมาทเลย อย่าว่าแต่ปุถุชนเลย แม้แต่อารยบุคคลก็อย่างที่ยกตัวอย่างแล้วในพระสูตรเองพระพุทธเจ้าตรัสถึงพระอริยบุคคลว่า พอบรรลุธรรม แหมอุสาห์ขยันมั่นเพียรมาอย่างดีน่ะ พอได้มาบรรลุธรรมสูงว่า โอ๋เราได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว เกิดความยินดีพอใจภูมิใจ มีความโน้มเอียงจะเฉื่อยชาลงทันที ชักจะเสวยผลใช่ไหม ทีนี้ก็พระพุทธเจ้า เธอประมาทแล้ว เพราะฉะนั้น นี่แหละคนที่สร้างสรรความดี นี่ทำอย่างไรไม่ให้ประมาทอยู่เสมอยากมาก ต้องให้ไม่ประมาทซ้อนอีกชั้นก็คือ เตือนว่าแม้แต่พระอริยบุคคลท่านยังประมาทได้เลยน่ะ ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นเราต้องสำนึกในเรื่องความไม่ประมาทให้มาก สังคมนี้ยากมาก
(4)
คนฟังถาม: หรือว่าสังคมก็สักพัก คือถูกเปลี่ยน
พระตอบ: ก็เราพระพุทธศาสนายอมรับมนุษย์เป็นแต่เพียงว่าให้ตั้งเป้าไว้ เราไม่ไปมัวเพลิดเพลิน ยูโทเปีย เราอยู่กับความเป็นจริง แต่เตือนกระตุ้นกันอยู่เสมอ เราจึงมีสังคมกัลยาณมิตร เพื่อจะมาคอยกระตุ้นกันไง อย่างน้อยคนจำนวนหนึ่งที่มีคุณภาพดีจะได้เป็นกัลยณมิตรคอยกระตุ้นคนอื่นไม่ให้ไม่ประมาท แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าตั้งระบบวินัย วินัยนี่เป็นตัวกระตุ้นให้ไม่ประมาท วางระบบสังคมจัดระเบียบสังคมให้มันไม่ประมาทให้ได้ ฉะนั้นคนที่เป็นผู้บริหารรับผิดชอบสังคม เป็นผู้ปกครองนี่จะต้องพยามยามตระหนักอันนี้คือหาทางเอาวินัยมาใช้ จัดระบบสังคมอย่างไร วางระเบียบกฏเกณฑ์กติกาอย่างไร เพื่อกระตุ้นคนให้ไม่ประมาทอยู่เสมอ แล้ววินัยจะช่วยได้ อย่างวินัยของพระพุทธเจ้านี้ เพื่อให้พระประมาทไม่ได้ จะมานอนเพลินอยู่ไม่ได้ ไม่ประมาทอยู่เสมอต้องทำกิจ ทำหน้าที่ ทำอะไรต่ออะไร วินัยมันเป็นตัวกติกามาช่วยนี่ใช่ไหม ฉะนั้นวินัยนี่ก็สำคัญมาก มนุษย์ที่ดี โดยคุณสมบัติภายในมันยังไม่พร้อม มันคอยจะประมาทก็อาศัยระบบสังคมนี้มากระตุ้นมัน มันทำให้หยุดไม่ได้ นอนไม่ได้ เสพสุขไม่ได้ หลงระเริงไม่ได้ อย่างคนเราพอมีความสุขความพรั่งพร้อมมันมีความโน้มเอียงจะหลงระเริง ใช่ไหม วินัยของพระมา เธอมีเกินนี่ไม่ได้ ก็ทำให้ประมาทไม่ได้ ใช่ไหม มาหลงระเริงในวัตถุไม่ได้ ทำให้ต้องไม่ประมาทอยู่เสมอ ฉะนั้นวินัยนี่สำคัญมากในการที่สร้างระบบสังคมแห่งความไม่ประมาทขึ้นมา ในขณะที่มนุษย์โดยคุณสมบัติภายในยังไม่พร้อมก็เอาระบบสังคมมาช่วย นี้ขณะนี้ถ้าเราใช้เกณฑ์เหล่านี้ไปพิจราณาสังคมนี่ มันยังไม่มีหลักอะไรเลยทั้งสิ้น ใช่ไหม มันจะเอาแต่ตามใจตัว มันก็ชอบประมาท ขณะนี้พอสังคมพรั่งพร้อม ก็เป็นสังคมบริโภค พอเป็นสังคมบริโภคก็ขี้เกรียจเสพสุข เหมือนอเมริกันปัจจุบันนี้ ใช่ไหมพอเป็นสังคมบริโภคผ่านพ้นยุคอุสาหกรรมเป็น Post-Industrial ผ่านพ้นอุตสาหกรรมก็มาเป็น Consumer Society เป็นสังคมผู้บริโภค ตอนนี้เกียจคร้าน Work Ethic จริยธรรมในการทำงานหมด เพราะฉะนั้นเกิดการขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เจ้าคนรุ่นเก่าก็ด่าหรือว่าอย่างนั้นก็โอดครวญว่า คนรุ่นใหม่นี่ขี้เกียจ สำรวยหยิบโหย่ง ใจเสาะเปราะบางไม่ตั้งใจทำงาน ไม่มี Work Ethic หนังสือเยอะเลยคร่ำครวญเวลา Work Ethic ของอเมริกาหายไปไหน เยอะเลยหนังสือแบบนี้ เขียนเป็นเล่มโดยเฉพาะก็มี และที่ไปแทรกอยู่ในเล่มอื่น ๆ วันนั้นผมไปพูดที่เชียงใหม่ก็พูดเรื่องนี้ด้วย เรื่องสังคมอเมริกันนี่มันไม่สามารถจะเป็นผู้นำในโลกปัจจุบันที่จะนำมนุษย์ไปสู่สันติสุขได้แล้ว เป็นสังคมที่ตกอยู่ในความประมาท ก็เวลานี้มันก็แย่ต้องมาขัดแย้งกันในประเทศของตัวเอง ร้องทุกข์คร่ำครวญกันว่าจะทำอย่างไรจะให้คนรุ่นใหม่นี่ขยันขันแข็งขึ้นมา อันนี้ก็เป็นสภาพที่ มันก็เลยกลายเป็นว่า ฝรั่งตะวันตก อเมริกัน ที่เจริญขึ้นมา เพราะทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามเท่านั้นเอง ไม่ได้เจริญขึ้นมาด้วยสติปัญญาความดีความพัฒนามนุษย์ที่แท้จริงต้องอาศัยระบบ ระบบวินัยของฝรั่ง คือระบบอะไรวินัยนี้ก็คือระบบแข็งขัน ใช่ไหม นี่คือวินัยในสังคมอเมริกัน ระบบแข็งขันเป็นวินัยของสังคม แต่วินัยแบบนี้ไม่ตั้งขึ้นจากสติปัญญา มันตั้งขึ้นจากระบบตัณหาที่แย่งชิงผลประโยชน์และเอาวินัยแบบระบบนี้ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ใช่วินัยที่พึงปรารถนา ไม่ใช่วินัยแห่งการพัฒนามนุษย์เอามาบีบคั้นคน ใช้ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ก็คือการแข็งขัน การแข็งขันก็คือระบบทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม แกไม่ดิ้น แกไม่สู้ แกไม่รีบเร่ง แกแพ้ แพ้ตาย ใช่ไหม ที่นี้ไอ้การแข็งขันก็คือตัวทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามตลอดเวลา พอคนอื่นไม่ช่วยนี่ตัวใครตัวมัน เพราะฉะนั้นก็บีบให้ทุกคนเร่งรัดพัฒนาตัวเองสร้างความเจริญขึ้นมาได้ แต่นี้มันก็ไม่ใช่หลักความไม่ประมาทที่แท้จริง เมื่อทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม มันเจริญมันพรั่งพร้อมมันก็หลงระเริงมัวเมาก็กลับเสื่อมลง ฉะนั้นเวลานี้กระแสลงแล้ว กระแสแห่งความเสื่อม ก็โลกนี้ไม่รู้จะพ้นไปได้หรือเปล่า ก็อย่างที่ว่าแล้วอารยธรรมที่มนุษย์ไม่เคยพ้นได้เลยน่ะ ก็แสดงว่าวัดเอาการ เอาความไม่ประมาทมาวัดการพัฒนามนุษย์นี่ มนุษย์ยังไม่ประสพความสำเร็จเลย ในระดับสังคมได้แค่คนไม่กี่คนที่เกิดขึ้นมาแล้วก็ทำให้ชีวิตบริบูรณ์ได้เป็นชีวิตที่ดีงามบรรลุธรรมตรัสรู้ เป็นพุทธะ เป็นอรหันต์ แต่ในแง่สังคมคนส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่ในวงจรนี้ นั่นก็การพัฒนามนุษย์โดยส่วนรวมทั้งสังคมนี่ จะมีทางเป็นไปได้สำเร็จแค่ไหนอย่างน้อยให้ส่วนใหญ่รักษากันไว้ได้ไม่ให้เสื่อม ยากที่สุดเลยน่ะ ฉะนั้นสังคมอุดมคตินี่ สังคมแห่งความไม่ประมาทจะสำเร็จได้หรือเปล่า